KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไรใบไม้ 1กำมือในพระหัตถ์
หน้า: 1 2 [3]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ใบไม้ 1กำมือในพระหัตถ์  (อ่าน 55465 ครั้ง)
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: มกราคม 27, 2011, 12:50:51 AM »


๑๑.กองเพลิง

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อรากยังมั่นคง แม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันก็สามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นอีกแน่ ๆ
ภิกษุทั้งหลาย! น้ำตาของสัตว์ที่ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถมในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏ์สงสารนี้ มีจำนวนมากเหลือคณาสุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีเล่า ถ้านำมากองรวมกันไม่ให้กระจัดกระจายคงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลย แม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นด้วยสัตว์ที่ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์ เหยียบย่ำลงบนกองกระดูก นอนอยู่บนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ไม่ว่าภพไหน ๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งสิ้น สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในกองเพลิง คือ ทุกข์เหมือนเต่าอันเขาโยนลงไปแล้วในกองไฟใหญ่ฉะนั้น”

๑๒.ทางสายกลาง

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ทางสองสาย คือ กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ในกามสุขสายหนึ่งและอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินตามทางสายกลาง คือ เดินตามอริยมรรคมีองค์แปด คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบ และการทำสมาธิชอบ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อริยมรรค ประกอบด้วย องค์แปดเป็นทางอันประเสริฐ สามารถทำให้บุคคลที่เดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุข สงบ เย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ถ้าภิกษุหรือใคร ๆ ก็ตามพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”

๑๓.กิเลส

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ปัญหาที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าของทุก ๆ คน คือ ปัญหาเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายถูกความทุกข์เสียบอยู่ทั้งทางกายและทางใจ อุปมาเหมือนผู้ถูกยิงด้วยลูกศรซึ่งกำซาบด้วยยาพิษแล้ว ญาติมิตรเห็นเข้าเกิดความกรุณา จึงพยายามช่วยถอนลูกศรนั้น แต่บุรุษผู้โง่เขลาบอกว่าต้องไปสืบให้ได้เสียก่อนว่าใครเป็นคนยิง และยิงมาจากทิศไหน ลูกศรทำด้วยไม้อะไรแล้วจึงค่อยมาถอนลูกศรออก
ภิกษุทั้งหลาย! บุรุษผู้นั้นจะต้องตายเสียก่อนเป็นแน่แท้ ความจริงเมื่อถูกยิงแล้วหน้าที่ของเขาก็คือควรพยายามถอนลูกศรออกเสียทันที ชำระแผลให้สะอาดแล้วใส่ยาและรักษาแผลให้หายสนิท หรืออีกอุปมาหนึ่งเหมือนบุคคลที่ไฟไหม้อยู่บนศีรษะ ควรรีบดับเสียโดยพลัน ไม่ควรเที่ยววิ่งหาคนผู้เอาไฟมาเผาศีรษะตน ทั้ง ๆ ที่ไฟลุกไหม้อยู่”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! สังสารวัฏฏ์นี้เต็มไปด้วยเพลิงทุกข์นานาประการโหมให้ร้อนอยู่โดยทั่วสัตว์ทั้งหลายยังวิ่งอยู่ในกองทุกข์แห่งสังสารวัฏฏ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ดับ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันดับทุกข์แห่งตน
อุปมาเหมือนบุรุษสตรี ผู้รวมกันอยู่ในบริเวณกว้างแห่งหนึ่ง และต่างคนต่างถือดุ้นไฟใหญ่อันไฟลุกโพลงอยู่ทั่วแล้ว ต่างคนต่างก็วิ่งวนกันอยู่ในบริเวณนั้น และร้องกันว่า ร้อน ร้อน
ภิกษุทั้งหลาย! ครานั้นมีบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ฉลาดร้องบอกให้ทุก ๆ คนทิ้งดุ้นไฟในมือของตนเสีย ผู้ที่ยอมเชื่อทิ้งดุ้นไฟก็ได้ประสบความเย็น ส่วนผู้ไม่เชื่อก็ยังคงวิ่งถือดุ้นไฟพร้อมด้วยร้องตะโกนว่า ร้อน ร้อน อยู่นั่นเอง
ภิกษุทั้งหลาย! เราตถาคตได้ทิ้งดุ้นไฟแล้ว และร้องบอกให้เธอทั้งหลายทิ้งเสียด้วย ดุ้นไฟที่กล่าวถึงนี้ คือ กิเลสทั้งมวลอันเป็นสิ่งเผาลนสัตว์ให้เร่าร้อนกระวนกระวาย”

“อารมณ์อันวิจิตร สิ่งสวยงามในโลกนี้มิใช่กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดขึ้นเพราะการดำริต่างหากเล่าเป็นกามของคน เมื่อกระชากความพอใจออกเสียได้แล้ว สิ่งที่วิจิตรสวยงามก็อยู่อย่างเก้อ ๆ ทำพิษอะไรมิได้อีกต่อไป”

๑๔.กามคุณ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อายตนะภายในหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อายตนะภายนอกหก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย! เราตถาคตไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใด ๆ ที่จะครอบงำรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสตรี
ภิกษุทั้งหลาย! เราไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใด ๆ ที่จะสามารถครอบงำรัดตรึงใจของสตรีได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งบุรุษ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมาร ภิกษุผู้ปรารถนาจะประหารมาร พึงสลัดเหยื่อแห่งมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมาร และทำลายกำลังพลแห่งมารเสีย
ภิกษุทั้งหลาย! เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม! เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริคำนึงถึงนั้นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉะนี้ กามเอย! เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้”

๑๕.ผู้ชนะตนนั้นหาได้ยาก

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่งรักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาจึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรนให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำแล้ว คอยแต่จะดิ้นรนไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาจึงพยายามยกจิตขึ้นจากการอาลัยในกามคุณให้ละบ่วงมารเสีย”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งที่ดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน
”ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้าง คือ จิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุด และควรแก่การสรรเสริญนั้น คือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่า เป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย”
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 08:14:33 AM »


๑๖.ความอดทน

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม คือ นินทาและสรรเสริญนั้น เป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย! ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใดฝึกตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสดร ม้าสินธพ พญาช้างตระกูลมหานาคที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด
ผู้มีความอดทน มีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย! เมตตากรุณาเป็นพระอันประเสริฐในตัวมนุษย์

๑๗.กรรมที่ควรเว้น

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! คฤหัสถ์ผู้ยังบริโภคกามเกียจคร้านหนึ่ง พระราชาทรงประกอบกรณียกิจโดยไม่ได้พิจารณาโดยรอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อนหนึ่ง บรรพชิตไม่สำรวมหนึ่ง ผู้อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตแม้มักโกรธหนึ่ง สี่จำพวกนี้ไม่ดีเลย

ภิกษุทั้งหลาย! กรรมอันใดที่ทำไปแล้วต้องเดือดร้อนใจภายหลัง ต้องมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาเสวยผลแห่งกรรมนั้น ตถาคต กล่าวว่า กรรมนั้นไม่ดี ควรเว้นเสีย”

๑๘.ชีวิต

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่หน้าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสนและจบลงด้วยเรื่องเศร้า
อนึ่ง ชีวิตนี้เริ่มต้น และจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่น เป็นสัญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้น ทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่า เขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพราก จากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่ง และเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง”

๑๙.ความรัก ความหวัง

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ก็เป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดถือไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่น ซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง และแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น”

๒๐.หลักที่แน่นอนของชีวิต

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อย ผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใส อยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่า ภายในส่วนลึกแห่งหัวใจ เขาจะว้าเหว่และเงียบเหงาสักปานใด ถ้าทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักที่แน่นอนของชีวิต”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น ควรละเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใดก็ต้องไม่ทิ้งธรรม
มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้วก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ”

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 09:35:11 AM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2011, 11:39:32 PM »


๒๑.เสียสละ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ ยากที่ใคร ๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือ ไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย
เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดความจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ คือ ไม่ทราบว่าจะหาในจำนวนบุคคลเท่าไรจึงพบได้หนึ่งคน”

๒๒.ที่พึ่ง

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือของที่บุคคลหวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งทาส กรรมกร คนใช้ และที่อยู่อาศัย อื่น ๆ ทั้งหมดนี้ บุคคลนำไปไม่ได้ ต้องทอดทิ้งไว้ทั้งหมด แต่สิ่งที่บุคคลทำด้วย กาย วาจา หรือ ด้วยใจ นั่นแหละที่จะเป็นของเขา เป็นสิ่งที่เขาต้องนำไปเหมือนเงาตามตัว
เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดพึงสั่งสมกัลยาณกรรมอันจะนำติดตัวไปสู่สัมปรายภพได้ เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”

๒๓.การให้ทาน

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อไฟไหม้บ้าน ภาชนะ เครื่องใช้อันใดที่เจ้าของนำออกไปได้ ของนั้นก็เป็นประโยชน์แก่เจ้าของ ที่นำออกไม่ได้ก็จะถูกไฟไหม้วอดวายอยู่ ณ ที่นั้นเอง ฉันใด คนในโลกนี้ถูกไฟ คือ ความแก่ ความตายไหม้อยู่ ก็ฉันนั้น คนผู้ฉลาดย่อมนำของออกด้วยการให้ทาน
ของที่บุคคลให้แล้วชื่อว่านำออกดีแล้ว มีความสุขเป็นผล ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้ หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่โจรอาจขโมยเสียบ้าง ไฟอาจจะไหม้เสียบ้าง อีกอย่างหนึ่ง เมื่อความตายมาถึงเข้า บุคคลย่อมต้องละทรัพย์สมบัติ และแม้สรีระของตนไว้ นำไปไม่ได้เลย ผู้มีปัญญารู้ความจริงข้อนี้แล้ว พึงบริโภคใช้สอย พึงให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เมื่อได้ให้ได้บริโภคตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียนย่อมเข้าสู่ฐานะอันประเสริฐ”

๒๔.ความตระหนี่

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาผู้ไม่ฉลาดไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา เขาเก็บพันธุ์ข้าวเปลือกไว้จนเน่าและเสียไม่สามารถจะปลูกได้อีก
ข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ด ย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้น ย่อมมีผลมากผลไพศาล การรวบรวมทรัพย์ไว้โดยมิได้ใช้สอยให้เป็นประโยชน์ ทรัพย์นั้นจะมีคุณแก่ตนได้อย่างไร เหมือนผู้มีเครื่องประดับอันวิจิตรตระการตา แต่หาได้ประดับไม่ เครื่องประดับนั้นจะมีประโยชน์อะไร รังแต่จะก่อความหนักใจในการเก็บรักษา”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! นกชื่อ “มัยหกะ” ชอบเที่ยวไปตามซอกเขาและที่ต่าง ๆ มาจับต้นเลียบที่มีผลสุก แล้วร้องว่า ของกู ของกู ในขณะที่มันร้องอยู่นั่นเอง หมู่นกเหล่าอื่นที่บินมากินผลเลียบตามต้องการแล้วจากไป นกมัยหกะก็ยังคงร้องว่า ของกู ของกู อยู่นั่นเอง ข้อนี้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น รวบรวมสะสมทรัพย์ไว้มากมาย แต่ไม่สงเคราะห์ญาติตามที่ควร ทั้งมิได้ใช้สอยเองให้ผาสุก มัวเฝ้ารักษาและภูมิใจว่าของเรามี ของเรามี ดังนี้ เมื่อเขาประพฤติอยู่เช่นนี้ ทรัพย์สมบัติย่อมเสียหายไป ทรุดโทรมไปด้วยเหตุต่าง ๆ มากหลาย เขาก็ยังคงคร่ำครวญอยู่อย่างเดิมนั่นเอง และต้องเสียใจในของที่เสียไปแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดหาทรัพย์ได้แล้ว พึงสงเคราะห์คนที่ควรสงเคราะห์ มีญาติ เป็นต้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! นักกายกรรมผู้มีกำลังมาก หรือนักมวยปล้ำผู้มีกำลังมหาศาลนั้น ก่อนที่จะได้กำลังมาเขาก็ต้องออกกำลังกายไปก่อน การเสียสละนั้น คือ การได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไร ย่อมไม่ได้อะไร
จงดูเถิด! มนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคน แต่ต้นไม้ย่อมให้ผลที่ปลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูความจริงตามธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งเถิด คือ แม่น้ำสายใดเป็นแม่น้ำตาย ไม่ไหล ไม่ถ่ายเทไปสู่ที่อื่น หยุดนิ่งขังอยู่ที่เดียว แม่น้ำสายนั้นย่อมพลันตื้นเขินและสกปรกเน่าเหม็น เพราะสิ่งสกปรกลงมามิได้ถ่ายเท นอกจากนี้บริเวณที่ใกล้แม่น้ำสายนั้น จะหาพืชพันธุ์ธัญญาหารที่สวยสดก็หายาก แต่แม่น้ำสายใดไหลเอื่อยลงสู่ทะเล หรือแตกสาขาไหลออกเรื่อย ๆ ไม่รู้จักหมดสิ้น คนทั้งหลายได้อาศัยอาบดื่ม และใช้สอยตามปรารถนา มันจะใสสะอาดอยู่เสมอ ไม่มีวันเหม็นเน่า หรือสกปรกได้เลย พืชพันธุ์ธัญญาหาร ณ บริเวณใกล้เคียงก็เขียวสดสวยงาม”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บุคคลผู้ตระหนี่เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็ เก็บ ตุนไว้ไม่ถ่ายเทให้ผู้อื่นบ้าง ก็เหมือนแม่น้ำตายไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใคร ส่วนผู้ไม่ตระหนี่เป็นเหมือนแม่น้ำที่ไหลเอื่อยอยู่เสมอฉะนั้น สาธุชนได้ทรัพย์แล้วพึงบำเพ็ญตนเสมือนแม่น้ำซึ่งไหลใสสะอาดไม่พึงเป็นเช่นแม่น้ำตาย”

๒๕.ทานที่มีอานิสงส์ไพศาล

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ทานจะมีผลมากอานิสงส์ไพศาล ถ้าประกอบด้วยองค์หก กล่าวคือ
-ก่อนให้ ผู้ให้ก็มีใจผ่องใส ชื่นบาน
-เมื่อกำลังให้ จิตใจก็ผ่องใส
-เมื่อให้แล้ว ก็มีความยินดี ไม่เสียดาย
-ผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากราคะ
-ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโทสะ
-ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโมหะ

ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์หกนี้แลเป็นการยากที่จะกำหนดผลแห่งบุญว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ อันที่จริงเป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ไม่มีประมาณ เหลือที่จะกำหนด เหมือนน้ำในมหาสมุทรย่อมกำหนดได้โดยยาก ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! คราวหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาแห่งแคว้นนี้ เข้าไปหาตถาคตและถามว่าบุคคลควรจะให้ทานในที่ใด เราตอบว่า ควรให้ในที่ที่เลื่อมใส คือ เลื่อมใสบุคคลใด คณะใด ก็ควรให้แก่บุคคลนั้น คณะนั้น พระองค์ถามต่อไปว่า ให้ทานในที่ใดจึงจะมีผลมาก เราตถาคตตอบว่า ถ้าต้องการผลมากแล้วละก็ ควรจะให้ทานในท่านผู้มีศีล การให้บุคคลผู้ทุศีลหามีผลมากอย่างนั้นไม่
สถานที่ทำบุญเปรียบเหมือนเนื้อนา เจตนาและไทยทานของทายกเปรียบเหมือนเมล็ดพืช ถ้าเนื้อนาบุญ คือบุคคลผู้รับ เป็นคนดีมีศีลธรรม และประกอบด้วยเมล็ดพืช คือ เจตนาและไทยทานของทายกบริสุทธิ์ ทานนั้นย่อมมีผลมาก การหว่านข้าวลงในนาที่เต็มไปด้วยหญ้าแฝกและหญ้าคา ต้นข้าวย่อมขึ้นได้โดยยากฉันใด การทำบุญในคณะบุคคลผู้มีศีลน้อยมีธรรมน้อยก็ฉันนั้น คือ ย่อมได้รับผลบุญน้อย ส่วนการทำบุญในคณะบุคคล ซึ่งมีศีลดีมีธรรมงามย่อมจะมีผลมาก เป็นภาวะอันตรงกันข้ามอยู่ ดังนี้
เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผล หยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยด ยังทำให้หม้อน้ำเต็มได้ฉันใด การสั่งสมบุญหรือบาปแม้ทีละน้อยก็ฉันนั้น ผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปร้ไปด้วยบาป”

บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2011, 01:06:30 PM »

แหม แหม

เพียบเลย

ใบไม้ กองเท่าภูเขาแล้ว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2011, 01:33:35 PM »


พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง ใบไม้ 1กำมือในพระหัตถ์

ในกาล วาระ สถานที่ และบุคคล ที่แตกต่างกันไป

เราจึงเห็นว่า ใบไม้ในพระหัตถ์ของพระองค์ก็จะแตกต่างกันไปด้วย บางทีพระพุทธองค์สอนพวกหนึ่ง ทรงหยิบใบกระถินมา

อีกพวกหนึ่งหยิบใบสนมา อีกพวกหนึ่งหยิบใบมะขามมา อีกพวกหนึ่งทรงหยิบใบโพธิ์มาสอน อยู่ที่ว่าพระองค์จะทรงสอนบุคคลหมู่ใด

ญานทัศนะของพระองค์อันไม่มีประมาณ พระองค์จึงทรงทราบว่าจะสอนคนเหล่าใด ในกาล สถานที่ใด ให้ได้เกิดประโยชน์

อันพึงจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานกันตามจริตนิสัย บุญบารมี และตามอินทรีย์ของแต่ละเหล่าบุคคลได้โดยง่าย

บางท่านในที่แถวนี้อาจใช้แค่ใบโพธิ์ ๔ ใบก็เหลือเฟือแล้ว...ไม่แปลกแต่อย่างใด...ยิ้ม

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2011, 01:52:01 PM »


๒๖.พระธรรมวินัย

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรย่อมลึกลงตามลำดับ ลาดลงตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนภูเขาขาดฉันใด ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีการศึกษาตามลำดับ การปฏิบัติตามลำดับ การบรรลุตามลำดับ ลุ่มลึกลงตามลำดับ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรแม้จะมีน้ำมาก อย่างไรก็ไม่ล้นฝั่งคงรักษาระดับไว้ได้ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น ภิกษุสาวกของเราย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้จะต้องลำบากถึงเสียชีวิตก็ตาม”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรย่อมซัดสาดซากศพที่ตกลงไปให้ขึ้นฝั่งเสีย ไม่ยอมให้ลอยอยู่นานฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมด้วยภิกษุผู้ทุศีล มีใจบาป มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ มีการกระทำที่ต้องปกปิด ไม่ใช่สมณะปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี เป็นคนเน่าใน รุงรังสางได้ยากเหมือนกองหยากเยื่อ
สงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมขับภิกษุนั้นออกเสียจากหมู่ภิกษุเช่นนั้น แม้จะนั่งอยู่ท่ามกลางสงฆ์ ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลจากภิกษุเช่นกัน”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! แม่น้ำสายต่าง ๆ ย่อมหลั่งไหลลงสู่มหาสมุทร และเมื่อไปรวมกับน้ำในมหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อเดิมของตนเสีย ถึงซึ่งการนับว่ามหาสมุทรเหมือนกันหมดฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น กุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะบวชออกจากตระกูลต่าง ๆ วรรณะต่าง ๆ เช่น วรรณะพราหมณ์บ้าง กษัตริย์บ้าง วัยยะบ้าง สูทรบ้าง คนเทหยากเยื่อบ้าง จัณฑาลบ้าง แต่เมื่อมาบวชในธรรมวินัยนี้แล้วละวรรณะตระกูล และโคตรของตนเสีย ถึงซึ่งการนับว่าสมณะศากยะบุตรเหมือนกันหมด”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ความพร่องหรือความเต็มเอ่อ ย่อมไม่ปรากฏแก่มหาสมุทร แม้พระอาทิตย์จะแผดเผาสักเท่าใด น้ำในมหาสมุทรก็หาเหือดแห้งไปไม่ แม้แม่น้ำสายต่าง ๆ และฝนจะหลั่งลงมหาสมุทรสักเท่าใด มหาสมุทรก็ไม่เต็มฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น แม้จะมีภิกษุเป็นอันมาก นิพพานไปด้วยอนุปาทิเสสะนิพพานชาติ แต่นิพพานธาตุก็คงอยู่อย่างนั้น ไม่พร่องไม่เต็มเลย แม้จะมีผู้เข้าถึงนิพพานอีกสักเท่าใด นิพพานก็คงมีให้ผู้นั้นอยู่เสมอ ไม่ขาดแคลนหรือคับแคบ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรมีภูติคือ สัตว์น้ำเป็นอันมาก มีอวัยวะใหญ่ และยาว เช่นปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาวาฬ เป็นต้น ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีภูติคือ พระอริยะบุคคลเป็นจำนวนมาก มีพระโสดาบันบ้าง พระสกิทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง พระอรหันต์บ้าง จำนวนมากหลายเหลือนับ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรมีนานารัตนะ เช่น มุกดา มณี ไพฑูรย์ เป็นต้น ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีนานาธรรมรัตนะ เช่น สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปทาน ๔ อิทธิบาท ๔ โภชฌงค์ ๗ มรรค์มีองค์ ๘ เป็นต้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! น้ำในมหาสมุทรย่อมมีรสเดียว คือ รสเค็มฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็มีฉันนั้น มีรสเดียว คือ วิมุติรส หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลส เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญแห่งพรหมจรรย์ที่เราประกาศแล้ว”

๒๗.อะไรหนอ เป็นรสอร่อยในโลก?


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ครั้งก่อนแต่ตรัสรู้เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้นั่นเทียว ได้เกิดความปริวิตกขึ้นว่า อะไรหนอเป็นรสอร่อยในโลก อะไรเป็นโทษในโลก อะไรเป็นอุบายเครื่องออกไปจากโลก

ภิกษุทั้งหลายความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสที่ปรารภโลกเกิดขึ้นนี้เองเป็นรสอร่อยในโลก โลกไม่เที่ยงทรมานมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา นี่เองเป็นโทษในโลก การนำออกเสียสิ้นเชิง ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินในโลกนี่เอง เป็นอุบายเครื่องออกไปจากโลกได้

ภิกษุทั้งหลาย ตลอดเวลาเพียงไรที่เรายังไม่รู้จักว่ารสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย ยังไม่รู้จักโทษของโลกว่าเป็นโทษ ยังไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นเครื่องออกตามที่เป็นจริง ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เราได้รู้จักรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย รู้จักโทษของโลกว่าเป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นเครื่องออกตามที่เป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์ ก็แหละญาณทรรศนะ เครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกดังนี้”

๒๘.พรหมจรรย์

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและความสรรเสริญ มิใช่จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสังวระ คือ ความสำรวม เพื่อปหานะ คือ ความละ เพื่อวิราคะ คือ คลายความกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะ คือ ความดับทุกข์”

๒๙.จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีตมิใช่วิสัยแห่งสัตว์ คือ คิดเอาไม่ได้หรือไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จงดูกายอันนี้เถิด ฟันหัก ผมหงอก หนังหดเหี่ยว หย่อนยาน มีอาการทรุดโทรมให้เห็นอย่างเด่นชัดเหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้วชำรุดอีกได้อาศัยแต่ไม้ไผ่มาซ่อมไว้ ผูก กระหนาบคาบค้ำไว้จะยืนนานไปได้สักเท่าใด การแตกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอจงมีธรรมเป็นที่เกาะที่พึ่งเถิด อย่าคิดยึดสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้เราตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น”

๓๐.ถุงหนัง..ป่าช้าแห่งซากสัตว์

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จงดูกายอันเปื่อยเน่านี้เถิด มันอาดูรไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกไหลเข้าไหลออกอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ตาม มันยังเป็นที่พอใจปรารถนายิ่งนักของผู้ไม่รู้ความจริงข้อนี้ ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้ไม่นานนักหรอกคงจะนอนทับถมแผ่นดิน ร่างกายนี้เมื่อปราศจากวิญญาณครองแล้วก็ถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่าอันเขาทิ้งเสียแล้วโดยไม่ไยดี”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้า มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็ก สัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บมูตรและกรีษ อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่าง ๆ เข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอ ๆ เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างแม้เพียงวันเดียว หรือสองวัน กลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจเป็นของน่าขยะแขยง”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ร่างกายนี้เป็นเหมือนเรือนซึ่งสร้างด้วยโครงกระดูก มีหนังและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา ที่มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้น เป็นเพียงผิวหนังเท่านั้น เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบศพอันวิจิตรตระการตา ผู้ไม่รู้ก็ติดในหีบศพนั้น แต่ผู้รู้เมื่อทราบว่าเป็นหีบศพ แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงไร ก็หาพอใจยินดีไม่ เพราะทราบว่าภายในแห่งหีบอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจ”

“บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่พึงใจเป็นธรรมดา หลีกเลี่ยงไม่ได้
อานนท์เอย! ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกไป ดับไป สลายไปเป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไป เคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวอยู่ทุกขณะ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด”




ใบไม้ในคราวนี้มี ทั้งหมด ๓๐ ใบครับ



วันนี้ วันมาฆบูชา ขอน้อมระลึกถึงพระโอวาทธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์

บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 07:52:10 AM »

ใบไม้ในกำมือ

เรียบเรียงจาก "พระอานนท์พุทธอนุชา"

วศิน อินทสระ


ใบไม้ในคราวนี้มี ทั้งหมด ๓๐ ใบครับ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 12:52:32 AM »

ทรงเป็นผู้ฝึก บุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า


*********      ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
wimon12311
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #38 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 02:02:04 PM »

ขอบคุณมากนะค่ะ ดีจังเลย
บันทึกการเข้า
phraedhammajak
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 2
***

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 16
กระทู้: 109


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #39 เมื่อ: มกราคม 08, 2012, 10:35:32 AM »

อีกแง่หนึ่ง
  ให้ศึกษามีสติให้รู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ของตัวเราเอง
สรูปคือ  รู้จักเรื่องของตัวเอง รู้กาย รู้ใจ มีสติรู้เท่าทัน ตามความเป็นจริง
 อย่ามัวแต่สนใจเรื่องของคนอื่น เรื่องอื่นนอกตัว แม้แต่รู้จักปริยัติมากมายแต่ไม่รู้จักตัวเอง ก็คัมภีร์เปล่า
          ถ้าเรารู้จักใบไม้ในกำมือ(จิตเรา)ใบไม้ทั้งโลกก็จะรู้จัก

"ผู้ใดหลงไหลในตำราและอาจารย์ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน" หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2012, 12:07:13 PM โดย phraedhammajak » บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #40 เมื่อ: มีนาคม 14, 2012, 10:36:03 PM »

การต่อสู้กับความไม่รู้ ถ้าอาวุธมากเกิน อาจหยิบฉวยมาใช้ไม่ทันการ(งง)

ฟังจากบางท่านมาว่า หลักๆ มี 3


แค่รู้

ทำความสงบ

และรักษาศึล

หรือเป่า.. ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
phraedhammajak
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 2
***

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 16
กระทู้: 109


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #41 เมื่อ: มีนาคม 18, 2012, 01:43:39 AM »

ย่อลงเหลือหนึ่งเดียว
   " สติ "
 รู้เท่าทันปัจจุบัน

แต่ก็ต้องอาศัยพื้นฐาน จาก ไตรสิกขา ทาน ศีล ภาวนา  เป็นปัจจัยให้เกิด  เจริญสติปัฏฐาน ทั้ง ๔ รู้กาย เวทนา จิต ธรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2012, 01:56:58 AM โดย phraedhammajak » บันทึกการเข้า
phraedhammajak
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 2
***

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 16
กระทู้: 109


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #42 เมื่อ: มีนาคม 18, 2012, 01:53:31 AM »

 ในสมัยพุทธกาล มีบุตรเศรษฐีท่านหนึ่งเรียกว่า “อนุปุพพเศรษฐี” อาศัยในกรุงสาวัตถี เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธคาสนา อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ชอบขวนขวายในการสั่งสมบุญอยู่เสมอ วันหนึ่งท่านพิจารณาเห็นว่า ชีวิตของผู้ครองเรือน มีความวุ่นวาย สับสน มีปัญหาสารพัดไม่รู้จบสิ้น ประกอบไปด้วยทุกข์ จึงได้ตัดสินใจออกบวชในพระพุทธศาสนา โดยมีพระภิกษุผู้ทรงพระวินัยเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมเป็นอาจารย์

ภายหลังบวชแล้ว ท่านถูกเรียกว่า “อุกกัณฐิตภิกษุ” ฝ่ายพระอาจารย์ได้กล่าวสอนปัญหาในพระอภิธรรมหมวดต่างๆ ให้อย่างมากมาย ส่วนพระอุปัชฌาย์ก็กล่าวข้อควรปฏิบัติในพระวินัยว่า “ในพระธรรมวินัย ภิกษุควรทำสิ่งนี้ ไม่ควรทำสิ่งนี้ สิ่งนี้เหมาะ สิ่งนี้ไม่เหมาะ ภิกษุควรนั่งอย่างนี้ ควรเดิน อย่างนี้ เป็นต้น”

         อุกกัณฐิตภิกษุ เมื่อได้รับการถ่ายทอดหัวข้ออภิธรรม และได้เรียนรู้ข้อปฏิบัติในพระวินัยมากเข้าๆ นานวันเข้าจึงเกิด ความคิดขึ้นว่า “โอ…เราใคร่จะพ้นจากทุกข์ พ้นจากความสับสน วุ่นวายในทางโลก จึงออกบวชเพื่อแสวงหาความสงบ แต่เมื่อบวชแล้วกลับรู้สึกว่า ข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุในพระพุทธศาสนามีมากนัก ทั้งยังมีกิจกรรมอันยุ่งยากวุ่นวาย ราวกับ ว่าจะเหยียดแขนเหยียดขาไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้… เรากลับไปครองเรือนก็อาจพ้นจากทกข้ในวัฏฏะได้ เราควรสึกไปเป็นคฤหัสถ์ดีกว่า”

         ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็เกิดความกระสันอยากสึก หมดความยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ทำการสารยายธรรม ไม่เล่าเรียนพระปาฏิโมกข์ กินไม่ได้นอนไม่หลับ จนร่างกายผ่ายผอม ซูบซีด เนื้อตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ถูกความเกียจคร้านครอบงำ หมดความเพียร ไม่ยอมทำกิจกรรม ใดๆ ปล่อยร่างกายให้สกปรกเศร้าหมอง

         เหล่าเพื่อนภิกษุและสามเณรเห็นดังนั้น จึงพากันไปบอกพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ เมื่อท่านทราบเรื่องทั้งหมดแล้ว จึงพาอุกกัณฐิตภิกษุไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า



เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องทั้งหมดแล้วจึงตรัสถามว่า
“ภิกษุ ถ้าเธอรักษาเพียงสิ่งเดียวได้ แล้วสิ่งอื่นไม่ต้องรักษาอีกเลย เธอจะทำได้ไหม?”
“อะไร? พระเจ้าข้า”
“เธอจะรักษาจิตของเธอ ได้ไหม ?”
“อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า”
พระบรมศาสดาจึงทรงประทานโอวาทว่า “ถ้าอย่างนั้นเธอจงรักษาจิตของเธอไว้ เธออาจพ้นจากทุกข์ได้” แล้ว พระองค์ตรัสเป็นคาถาว่า
ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปสู่อารมณ์ใคร่ จิตที่คุ้มครองไว้ได้ ย่อมนำสุขมาให้
         ภายหลังจบพระธรรมเทศนา อุกกัณฐิตภิกษุได้มีดวงตา เห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล และชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล มีพระโสดาบัน เป็นต้น ณ ที่ตรงนั้นเอง

         จากเรื่องนี้จะเห็นได้ว่า คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แท้จริงแล้วมารวมอยู่ที่ความสำรวม ระวังรักษาใจของตนนั่นเอง เพราะเมื่อเรารักษาใจไว้ดีแล้ว ก็ย่อมสามารถควบคุมกาย วาจา และตรองตามคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ทั้งหมดโดยปริยาย และเมื่อเกิดความเข้าใจ ก็ย่อมมองเห็นหนทางที่จะฝึกฝนตนเองให้บริสุทธิ์ สะอาด จนกระทั่งเข้าถึงธรรมะภายในได้ในที่สุด
บันทึกการเข้า
Pathom
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 5


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #43 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2012, 09:48:34 PM »

เกิดแก่เจ็บตายไง    เกิดแล้ว  เเก่แล้ว  เจ็บแล้ว เหลือแต่ยังไม่ตาย  เวลา เกิดมาก็กำมือมาอยากได้ทุกอย่างรักโลภโกรธหลงโทสะโมหะพอเวลาตายก็แบมือเอาอะไรไปไม่ได้มีแต่ความดีเท่านั้นที่มีอยู่
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #44 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2012, 11:00:46 PM »

สติ ในปุถุชน

และสติ ในสติปัฏฐานสูตร

มีความแจกต่างกัน มาก

เพราะมีเป้าหมายต่างกัน

ถ้าต้องการอยู่กับโลก ใช้สติ แรก

ถ้าต้องการพ้นโลกใช้สติที่2
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
พิมพ์
กระโดดไป: