KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐานคุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอมวิถีแห่งท่าน phonsak(w)
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิถีแห่งท่าน phonsak(w)  (อ่าน 121122 ครั้ง)
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #75 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 01:45:59 AM »

อัตตา สร้าง อนัตตา, พระเจ้า(พระธรรม) สร้าง สรรพชีวิต « เมื่อ: ตุลาคม 27, 2010, 05:11:58 pm »

อัตตา สร้าง อนัตตา, พระเจ้า(พระธรรม) สร้าง สรรพชีวิต


จิตมี 2 จิต

1. จิตเดิมแท้ บริสุทธิ์ปภัสสร เป็นนิพพานจิต หรือจิตหลุดพ้น  จิตส่วนนี้มีขันธ์ หรืออายตนะรองรับเรียกว่า ธรรมกาย หรือ อายตนะนิพพาน  ธรรมกาย หรือ อายตนะนิพพาน  เป็นอัตตา

อัตตา แปลว่า มีตัวตนหรือใช่ตัวตน  ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าหรือพระอรหันต์ต่างๆล้วนมี ตัวตน หรือใช่ตัวตน

อ้างอิง 1. .....หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจาก ธรรมกายอันเป็นอัตตา....ขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571

อ้างอิง 2. ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรสอนพระสารีบุตรว่า

" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้
ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "



2. จิตไม่บริสุทธิ์ สกปรกจากกิเลส อวิชชา ที่โลภะ โทสะ โมหะ นำมา จิตสกปรกเรียกว่าจิตสังขารหรือจิตในปฏิจจสมุปบาท จิตส่วนนี้มีขันธ์ หรืออายตนะรองรับเช่นกัน คือ ขันธ์ 5 ของมนุษย์ และขันธ์ 4 ของผู้ที่อยู่ในปรโลก

จิตเดิมแท้ บริสุทธิ์ปภัสสร เป็นนิพพานจิต  เป็น จิตที่สร้างจิตสังขาร

อ้างอิง 3. "...หรือกล่าวว่าผู้สร้างคือ ธรรมธาตุ หรืออสังขตธรรม อันเที่ยงแท้และคงทนต่อทุกกาล" วชิราสูตร

อ้างอิง 4. “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่มีจุดกำเนิด ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง นั้นมีอยู่  ถ้าไม่มี ธรรมชาติที่ ไม่มีจุดกำเนิด ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความเป็นไปของ ธรรมชาติที่เกิดที่เป็น ที่มีอะไรปรุงแต่ง ก็จะปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุที่ มีธรรมชาติ ที่ไม่มีจุดเกิด ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรมาปรุงแต่ง ความเป็นไปของ ธรรมชาติ ที่เกิด ที่เป็น ที่มี ใครทำ ที่อะไร ปรุงแต่ง จึงเกิดขึ้นได้”

ย้ำ!!!... "ถ้าไม่มี ธรรมชาติที่ ไม่มีจุดกำเนิด ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง (นิพพานหรืออสังขตธาตุ) ความเป็นไปของธรรมชาติที่เกิดที่เป็น ที่มีอะไรปรุงแต่ง(สรรพชีวิต,โลกและจักรวาล) ก็จะปรากฏไม่ได้

หรือ ถ้าไม่มี อสังขตธาตุ(นิพพาน) โลก จักรวาล และสรรพสิ่ง รวมทั้งมนุษย์และสรรพสัตว์ก็จะปรากฏไม่ได้    อิตติวุตตก กัณฑ์ ที่ 1825/275

สรุป

พระพุทธเจ้าตรัสเองว่า ธรรมกายอันเป็นอัตตา ส่วนขันธ์ 5 ของมนุษย์ คุณเป็นพุทธศาสนาชน  ย่อมรู้อยู่แล้วว่า สิ่งนี้เป็นอนัตตา

พระพุทธเจ้าเป็นศิษย์ของศาสนาพราหมณ์ และท่านไม่เคยปฏิเสทสัจจธรรมสูงสุดของพราหมณ์ แม้แต่ครั้งเดียว  ผมย้ำอีกครั้งหนึ่ง

ในศาสนาฮินดู ปรมาตมันหรือพระศิวะตรัสว่า: "เราเปล่าเปลี่ยว เพระมีมาก่อนสรรพสิ่ง และจะดำรงอยู่ ทั้งจะต้องดำรงอยู่ต่อไป ไม่มีใครทำให้แปรผันได้ เราคืออมตะ แต่ไม่ทรงสภาวะอมตะ เราสามารถเล็งทุกอย่าง และไม่มีใครสามารถเล็งเห็นเรา เราคือพรหม และเราไม่ใช่พรหม [/color]"

"เราคืออมตะ แต่ไม่ทรงภาวะอมตะ  เราคือพรหม และเราไม่ใช่พรหม" = พระเจ้าจะเป็นพระเจ้าก็ได้  แต่จะอยู่อย่างหมา และตายอย่างสัตว์โลกทั่วไป ก็ได้  พระองค์ทรงเล่นเกมส์ค้นหาตัวเองอยู่ในตัวคุณ

***ถ้าคุณยังคิดไม่ออกอีก  ลองไปดูตอนที่คุณฝันซิ คุณคิดว่าทุกอย่างมันจริง  แต่พอคุณตื่นขึ้นมา จึงรู้ว่า มันไม่จริงนี่หว่า(อนัตตา) คุณแค่ฝันไป    คุณคือพระเจ้า(อัตตา)ที่กำลังฝันไป ความฝันเหล่านั้นคือโลกและจักรวาล คุณฝันไปได้ เพราะโดนไวรัสกิเลสอวิชชา  ถ้ากำจัดไวรัสนี้ได้  คุณก็จะรู้ว่าคุณคือพุทธะหรือพระเจ้า***

พระพุทธเจ้าก็บอกเราอยู่ตลอดเวลาในคำบริกรรม "พุทโธ"" แปลว่า ตื่นได้แล้วโว้ย รู้ตัวได้แล้วโว้ย

.............................................................................................

ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนปัญจวัคคีย์ว่า สิ่งที่จะ
เป็นอัตตาได้ต้องมีลักษณะดังนี้ :

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)นี้จักได้
เป็นอัตตา (มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง) แล้ว
รูป ฯลฯ นี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ (ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน)
และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา) ในรูป ฯลฯ ว่า
รูปฯลฯ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูป ฯลฯ ของเราอย่าได้ เป็นอย่างนั้นเลย

กล่าวอีกนัยหนึ่ง

" สิ่งใดเที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดา สามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นก็ย่อมเป็น อัตตา "

ดังนั้น กรุณาอย่านำ อัตตทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน ในขันธ์ 5 หรือกายของมนุษย์มาเป็น
อัตตาเลยครับ

ใน 3 ภพ ไม่มีอัตตาอยู่ มีแต่อัตตานุทิฏฐิ หรือ อัตตาของโลก ที่เกิดจากการยึดถือของมนุษย์ สัตว์ เทพ พรหม ฯลฯ ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา ของเขา



 naratip เขียน:

ตื่นอยู่ไม่ได้ฝัน คุณงงหรือเปล่าหรือยังไม่ตื่น อะถ้าคุณว่านี้คือความฝัน แล้วพอตายลงยังเป็นความฝันอีกไหม ถ้ายังเป็นฝันก็ฝันซ้อนฝันอีกใช่ไหม



แม่นแล้ว! ใช่แล้ว!    พอเราตายลง เราก็ยังคงอยู่ความฝันอยู่  ตื่นขึ้นมาไมได้ เพราะตัววิบากกรรมที่คุณทำไว้บนโลก  กรรมนั้นมันสร้างวิญญาณธาตุคุณขึ้นมาอีก แล้วก็สร้างไฟนรก กระทะทองแดงขึ้นมาให้คนบาปรับโทษ และสร้างสวรรค์ สำหรับคนดีรับรางวัล

อ้าว! ถ้าอย่างนี้ พวกเรารู้ว่าเป็นความฝัน ไฟมันก็ต้องไม่มีน่ะซิ

รู้แบบรู้เล่นๆ กับรู้จริงๆ ปฏิบัติได้จริงๆไม่เหมือนกัน  ในโลกคุณบอกว่า เงินเป็นแค่มายา ไฟเป็นแค่มายา แล้วทำไม พอคุณเสียเงินไป 300,000 เศร้าเหลือเกินล่ะ  ไฟไหม้บ้าน ก็ทุกข์จนแทบขาดใจ

เฉพาะแค่น้ำท่วมเสียหาย ชาวบ้านยังทนไม่ไหวเลย

รู้เล่นๆมันเป็นอย่างนี้  แต่ตั้งแต่พระโสดาบันหรือสูงกว่าขึ้นไป  ท่านปฏิบัติจนรู้แล้วว่าของปลอมทั้งสิ้น  ด้วยเหตุนี้ ไฟนรกจึงทำอะไรท่านไม่ได้


naratip เขียน: 

ใช่เหรอ..........คุณถ้านี้คือความฝันจะสร้างวิบากกรรมอะไร ก็ไม่น่าจะโดนรับกรรมนี่น่า ใช่ไหมก็มันฝันน่ะยังจะมารับกงรับกรรมอะไรอีกหล่ะใช่ไหม แล้วขนาดพระอรหันต์ ยังต้องรับกรรม อยู่เลยทั้งๆที่รู้ว่าฝันอะ นรกคุณคิดว่าฝัน งั้นสวรรค์ ก็คือฝัน แล้วคุณไปถามคนโน่นคนนี้ คุณก็เอาความฝันของคุณมาบอกใช่ไหม



คุณเคยเรื่ยนเรื่องจิตหรือเปล่าล่ะ  จิตมันเป็นตัวเก็บความจำเอาไว้

เราจึงหนีกรรมไม่พ้น คุณเคยทำชั่ว ทำดี อะไรเอาไว้ มันบันทึกเอาไว้หมด  คุณจะกำจัดมันได้วิธีเดียว คือ สำนึกผิด และตัวใจอย่างแน่วแน่ว่า จะไม่ทำเช่นนั้นอีก  วิกากกรรมในปรโลกจึงจะไม่มี แต่วิบากกรรมในขันธ์ 5 ยังต้องมี แต่เบาบางลง อย่างเช่น หลวงพ่อจรัลฆ่าหักคอไก่มาเยอะ ท่านรู้ตัวว่าต้องคอหักตายวันที่ 14 สุดท้ายท่านคอหักจริง แต่ไม่ตาย

พระอรหันต์ท่านไม่ต้องรับกรรมในปรโลก เพราะท่านปฏิบัติได้จริง จนรู้ว่าทุกอย่างเป็นอนัตตาเป็นมายา ส่วนวิบากกรรมบนโลกยังคงรับอยู่บ้าง แต่เบาบางลงมากๆๆๆๆเลย
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #76 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 01:48:06 AM »

ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว = สัมมาทิฎฐิ เอากายเป็นนาย เอาใจเป็นบ่าว = มิจฉาทิฎฐิ « เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 03:44:32 pm »

ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว = สัมมาทิฎฐิ เอากายเป็นนาย เอาใจเป็นบ่าว = มิจฉาทิฎฐิ


สรินทร อ้างอิงข้อความ:
อ้างถึง
เข้าทำนอง
ใจเป็นนาย กายเป้นบ่าวหรือป่าวคะ

กรรมดี-กรรมชั่ว...เริ่มต้นจากใจที่เป็นประธาน

ก็ใน่ซิครับ  มีผู้เข้าใจผิดเรื่องศีล 5 จะเอากายและวาจาเป็นใหญ่ ไม่เอาใจเป็นใหญ่  มาโต้แย้งกับผมที่ผมบอกว่า

หลวงพี่เท่งตะโกนโกหกว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" เจตนาเพื่อช่วยคนที่ถูกรุมกระทืบ การโกหกเช่นนั้น คนร้ายที่รุมกระทืบคนๆนั้นจึงหนีไปหมด คนนั้นเลยรอดตาย นอกจากการโกหกของพระเท่ง จะไม่บาปแล้ว ยังเป็นบุญใหญ่ด้วย

คนแรกเถียงว่า

ศีลข้อ4 ควรละเว้น การพูด

 โกหก

คำหยาบ

ส่อเสียด

และเพ้อเจ้อ...นะ  ยิงฟันยิ้ม


ผมตอบ


ไม่ใช่ครับ  ศีลข้อ4 ควรละเว้น การพูด

โกหก ด้วยเจตนาในจิตที่เป็นอกุศล

คำหยาบ ด้วยเจตนาในจิตที่เป็นอกุศล

ส่อเสียด ด้วยเจตนาในจิตที่เป็นอกุศล

และเพ้อเจ้อ ด้วยเจตนาในจิตที่เป็นอกุศล

ด้วยเหตุนี้ หลวงพี่เท่งตะโกนโกหกว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" เจตนาเพื่อช่วยคนที่ถูกรุมกระทืบ นี่คือการโกหด้วยเจตนาในจิตที่เป็นกุศล คนร้ายที่รุมกระทืบคนๆนั้นจึงหนีไปหมด คนนั้นเลยรอดตาย  ดังนั้น นอกจากการโกหกของพระเท่ง จะไม่บาปแล้ว ยังเป็นบุญใหญ่ด้วย

คนที่ 2 ก็มาเถียงต่อว่า

คุณคิดตรงๆเขียน:


" เรื่องหลวงพี่เท่ง ที่ท่านอ้างมากล่าวนั้น...หากพิจารณาตามองค์ของการผิดศีลแล้ว ผมเห็นว่า ผิด แม้ไม่มีเจตนาที่เป็นอกุศลก็ตาม...ก็ถือว่าครบองค์การผิดศิล "

ผมตอบ

ถ้าเธอไม่มีใจเมตตาปราณี เธอจะเห็นพระธรรมแท้จริงของพระพุทธเจ้าย่อมไม่ได้

บาปคือ ความเห็นแก่ตัว บุญคือ การเสียสละ   แค่นี้เธอยังไม่เข้าใจอีกหรือ  เธอยึดศีล 5 เอาไว้  ไม่ยอมช่วยคนอื่น เท่ากับเธอเห็นแก่ตัว  แต่ถ้าเธอช่วยเหลือคนอื่น โดยไม่เห็นแก่ศีล 5 ศีล 8 ศีล 227  นั่นแหละเธอได้รักษาใจของเธอไว้แล้ว  จึงเป็นมหากุศล


ทั้ง 2 คน ไม่ได้ต้องการ ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว   แต่เขาจะเอากายเป็นนายเอาใจเป็นบ่าว
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #77 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 01:49:35 AM »

ผมท้าพระหรือฆราวาสคนไหนก็ได้ มาหักล้างผมให้ได้ ผมยืนยันว่า นิพพานเป็นอัตตา « เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 08:42:41 pm »

ผมท้าพระหรือฆราวาสคนไหนก็ได้ มาหักล้างผมให้ได้  ผมยืนยันว่า นิพพานเป็นอัตตา


อ้างถึง
Ooto อ้างอิงข้อความ:
ทุกอย่างเป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ นั่นคือไม่มีตัวตน แม้แต่นิพพาน

หากไม่ใช่ตามนี้ก็ถือว่าพยายามหักล้างธรรมวินัย ดังกรณีธรรมกาย พยายามทำให้นิพพานเป็นอัตตา

ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน เพราะแปรปรวนไปตามเหตุปัจจัย

นิพพานมันพ้นไตรลักษณ์ไปแล้ว  ถ้ามันอู่ในไตรลักษณ์อีก มันก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาน่ะซิ  แล้วจะเข้านิพพานไปหาพระแสงของ้าวอะไรล่ะ อยู่ตรงนี้ไม่ดีกว่าหรือ?

อัตตา คือ อะไร?  คณะสงฆ์ฝ่ายปริยัติและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ก็ไม่รู้  แต่ทะลึ่งใช้ กฎหมาหมู่ ไปบังคับให้นิพพานที่เป็นอัตตา กลายเป็นอนัตตาให้ได้  สำนักธรรมกายนั้น เขาพูดถูกแล้วว่า นิพพานเป็นอัตตา

พระพุทธเจ้าตรัสว่า... ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?...๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ

ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า...

...ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?...

1. อัตตา จึง = สิ่งใดที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา


นิยาม "อัตตา" ในอนัตตลักขณะสูตร


จากอนัตตลักขณสูตรเช่นกัน 2. พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....

ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "

ผมถามมาทุกเว็บแหละครับ  ถ้านิพพานเป็นอนัตตา มันก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ยังมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา(เกิด แก่ เจ็บ ตาย)อยู่  แล้วเราจะเข้านิพพานไปหาพระแสงอะไรเล่า?...คุณOoto จะตอบก็ได้นะ


+++ไว้ผมจะนำ เหล่าพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกที่ยืนยันว่า: นิพพานเป็นอัตตา มาลง+++

...

naratip อ้างอิงข้อความ:
อ้างถึง
ถ้าคุณtuenum เก่งจิงรู้จิง ถกกับพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ให้ได้ก่อนแล้วมาสอนพวกผม หรือไปบวช ไปถกเถียงให้ชนะก่อนนะ พอชนะประกาศเลยให้คนทั้งประเทศรู้ นิพพานเป็นอัตตา คุณจะได้รับคำยกย่องว่าเป็นผู้รู้จิง รู้แจ้ง ผมจะกราบเท้าเลย เอาชนะให้ได้ก่อน ประกาศให้ชัดไปเลยนะ

เอ๊ะ! แต่เดิมหลวงตาบอกไว้ชัดว่า พระนิพพาน เป็นอัตตา = ไม่สูญ  แต่ตอนหลังท่านถูกบีบหนัก  ท่านเลยบอกว่า  นิพพานก็คือนิพพาน  ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่อนัตตา

แต่ก่อนหน้านี้ หลวงตามหาบัว พูดชัดเจนมากว่า ที่เขาบอกว่า นิพพานเป็นอัตตาไม่น่าจะผิด แต่ไม่ได้หมายถึง “อัตตา” ที่เป็นคู่กับ “อนัตตา”

แล้วตกลงคุณอ่านนิยามคำว่า "อัตตา" ของพระพุทธเจ้าหรือยัง  จะเข้ามาเถียง  เรื่องเบื้องต้นยังไม่รู้เลย  จะคุยกันได้ยังไง  ถามสั้นๆ...อัตตา ที่คุณพูดถึงคืออะไรล่ะ?

"อัตตา" ของพระพุทธเจ้าพูดถึง คือ ธรรมธาตุ,ธรรมกาย,อสังขตธาตุ,นิพพานธาตุ,ไกรวัลย์ธรรม,พุทธะ หรือที่ชาวโลกเรียกว่า พระเจ้า

หลักฐานที่หลวงตาพูดไว้ วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 แรม 3 ค่ำ เหลืออยู่ในgoogleแค่นี้

พระนิพพาน เป็นอัตตา ไม่สูญ “หลวงตามหาบัว” พระนักปฏิบัติพูดชัด เป็นอัตตาไม่น่าจะผิด แต่ไม่ได้หมายถึง “อัตตา” ที่เป็นคู่กับ “อนัตตา”

...

naratip อ้างอิงข้อความ:
อ้างถึง
แสดงธรรมโดย พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด


อย่าง ที่ว่าไว้ มีผู้มาอ้างในพระไตรปิฎกก็มีนี่นะ... อัตตา ก็เป็นส่วนสมมุติ อัตตา คือความยึดถือ อัตตา ตนจะไปเป็นนิพพานได้ยังไง อัตตา ความถือตนถือตัว อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ

พระองค์แสดงไว้แล้วว่า สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต แล้วก็ อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ คือ ดูก่อนโมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติ ดูโลกให้เห็นเป็นของว่างเปล่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียได้ อัตตาฟังซิ ถอนอัตตานุทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิก็เป็นทางเดิน ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พญามัจจุราชจะติดตามเธอไม่ทันอีกแล้ว นั่นท่านให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ แล้วยังทำไม อัตตา จะมาเป็นนิพพานเสียเอง เอาพิจารณาซิ ยันกันอย่างนั้นซิ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ก็เป็นทางเดินเพื่อก้าวสู่พระนิพพาน อัตตาความยึดมั่นถือมั่น ก็ต้องพิจารณาอัตตานี้เพื่อให้ผ่านอัตตานี้ไปได้แล้วจึงไปเป็นพระนิพพานได้ เหตุใดพระนิพพานจึงจะมาเป็นอัตตาเป็นอนัตตาเสียเอง เอาพิจารณาซิ



คุณNARATIPนี่  ฟังไม่ได้ศัพท์  และจับมากะเดียดจริงๆ  พุทธศาสนาวอดวายก็เพราะคนอย่างพวกคุณนั่นแหละ  มีเต็มบ้านเต็มเมือง  แม้แต่พระ....... และพวกราชบัณฑิต  ก็พวกฟังไม่ได้ศัพท์  และจับมากะเดียด  สมุนของมารทั้งนั้น

อัตตานุทิฏฐิ
เป็นคนละเรื่องกับ อัตตา เลย......กูล่ะเบื่อ  แต่ละคนไม่รู้จักดูนิยามมาก่อนเลย  พอผมเอานิยามให้อ่านก็ไม่อ่าน  จะเถียงอย่างเดียว
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #78 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 01:51:37 AM »

ก่อนเกิดใครเป็นเรา เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร « เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 12:29:13 pm »

*8q เขียน:

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร


ตอบ

ในคัมภีร์อุปนิษัท  พระศิวะกล่าวว่า

"เราเปล่าเปลี่ยว เพราะมีมาก่อนสรรพสิ่งและดำรงอยู่  ทั้งจะต้องดำรงอยู่ต่อไป  ไม่มีใครมาทำให้แปรผันได้  เราคืออมตะแต่ก็ไม่ทรงสภาวะอมตะ  สามารถเล็งเห็นทุกอย่าง  และไม่สามารถเล็งเห็น เราคือพรหม และเรามิใช่พรหม"

ตอบคุณแปดคิว

เรา(พระเจ้า)...จะต้องดำรงอยู่ต่อไป  ไม่มีใครมาทำให้แปรผันได้  เราคืออมตะแต่ก็ไม่ทรงสภาวะอมตะ...เราคือพรหม และเรามิใช่พรหม"

เราคือพรหม และเรามิใช่พรหมนั่นแหละครับ เป็นคำตอบ  พระเจ้า(พรหม)คือ ตัวคุณในอดีต ส่วนปัจจุบัน คุณเป็น 8q  หรืออยากเป็น 9q หรือ 5m ก็เป็นเรื่องของคุณ

สรุป

ก่อนเกิดใครเป็นเรา....ก่อนเกิด พระเจ้า(พระศิวะ)เป็นเรา = ก่อนเกิด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
   
"ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺติ" ความว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ก็จิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา "
   ในเอกนิบาตอังคุตตรนิกาย อรรถกถา ภาค ๑ หน้า ๔๕ ข้อ ๕๐

พูดง่ายๆ

.... ก่อนเกิดเราเป็น "จิตประภัสสร คือ จิตหลุดพ้นจากกิเลส(นิพพาน)" หรือเป็นพระเจ้า นั่นเอง

....เมื่อเกิดแล้วเราเป็น สิ่งที่คุณทำให้ตัวคุณเองเป็นจากบุญบาปที่คุณทำลงไปน่ะซิ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #79 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 01:53:51 AM »

คุณmesถามเรื่องนิพพานเป็นอัตตาได้ดีมาก « เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 09:13:14 pm »

   อ้างจาก: mes ที่ ตุลาคม 31, 2010, 06:38:05 AM
   
         ท่านพลศักดิ์  วังวิวัฒน์
         
         มาคุยเรื่องนิพพานเป็นอัตตากันหน่อย
         ถ้านิพพานเป็นอัตตา
         
         ถามว่า
         
         ใคร    ที่เป็นผู้อยู่นิพพาน
         
         ใคร    ที่ว่านี้เป็นอัตตาหรืออนัตตา
         
         ใคร     เมื่อนิพพานแล้ว     ใคร    ยังอยู่หรือไม่     หรือไปไหน
         
         วานพี่พลช่วยไขข้อข้องใจที


ตอบ


ใคร    ที่เป็นผู้อยู่นิพพาน

= จิตปภัสสรหรือนิพพานจิต ที่สร้างธรรมกายขึ้นมารองรับ แล้วธรรมกายนี้ก็นิรมิตกายทิพย์ที่เป็นอมตะเข้าไปอยู่ในแดนนิพพานหรือพุทธเกษตร

ใคร     ที่ว่านี้เป็นอัตตาหรืออนัตตา

= พระพุทธเจ้าตรัสว่า:

ฝั่งโน้น - ฝั้งอัตตา อันเป็นอมตะ ไม่มีทุกข์ เป็นฝั่งของอายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย และสัมโภคกาย หรือกายทิพย์ที่ธรรมกายสร้างขึ้นมา 

ฝั่งนี้    - ฝั่งอนัตตา ไม่เป็นอมตะ มีแต่ทุกข์ จะมากหรือน้อยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เป็นฝั่งของขันธ์ 5

ใคร     เมื่อนิพพานแล้ว     ใคร    ยังอยู่หรือไม่     หรือไปไหน

= กายเนื้อและกายทิพย์ ที่ไม่เป็นอมตะและมีทุกข์ มันไม่อยู่แล้ว ดับ(ตาย)ไปหมด   จะมีอยู่แต่ธรรมกายและกายทิพย์ที่เป็นอมตะ และไม่มีทุกข์ ตัวนี้ยังดำรงต่อไป  สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ดังใจ

หนอนได้ตายไปแล้ว  มีอยู่แต่ผีเสื้อ ซึ่งเป็นตัวในของหนอน
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #80 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 01:57:27 AM »

ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร? « เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 02:09:17 pm »

ในศาสนาพุทธ อัตตา คือ อะไร?



ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า...

...ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?...

อัตตา แตกต่างจาก อัตตานุทิฏฐิ อย่างไร?

พระพุทธเจ้าตรัสว่า... ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?...๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ

1. อัตตา จึง = สิ่งใดที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา


นิยาม "อัตตา" ในอนัตตลักขณะสูตร


จากอนัตตลักขณสูตรเช่นกัน 2. พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....

ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "

สรุป

อัตตา คือ  สิ่งใดที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา

อัตตานุทิฏฐิ คือ   สิ่งใดที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ

อนัตตา คือ สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา  จึงไม่ควรหรือไม่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา = อนัตตา



ท่านที่เคารพทั้งหลาย


ถ้าต้องการฟังธรรมจากเรา  เราก็จะชี้แนะท่าน

อัตตา นั้นคือ อมตะ หรือ เที่บง    ความอมตะเกิดขึ้นได้อย่างไร

 “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ" .

+++ ถ้าพวกเธอยังปฏิบัติไม่ได้ถึงขั้นสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ  กายของเธอ ไม่ว่าจะเป็นกายมนุษย์ เทวดา พรหม แม้แต่อรูปพรหม ก็ยังได้ชื่อว่า "อนัตตา"  

+++ ถ้าพวกเธอปฏิบัติได้ถึงขั้นสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ  กายของเธอ จะเป็นกายอรหันต์ หรือวิสุทธเทพ กายอรหันต์นี้แหละได้ชื่อว่า "อัตตา"



ลามะ เขียน: "เขาสูง อย่างดีก็แค่เสียดฟ้า แต่อัตตาสูงเสียดจักรวาล"


อัตตาสูงเสียดจักรวาล = อัตตานุทิฏฐิ  หรือจิตที่มีความทะยานอยาก เป็นความยึดมั่นถือมั่น

อัตตา = จิตที่ว่างจากกิเลส จิตจากความทะยานอยาก ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น

สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

" สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุ ได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่า ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา 



Ooto อ้างอิงข้อความ:
1.พุทธพจน์ที่คุณนำมาแสดงเด็กอนุบาลอ่านแล้วก็รู้ว่าหมายถึงการไปยึดมั่นถือมั่นว่าอัตตาเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ มีตัวตน นั้นเป็นความเห็นที่ผิด ไม่ได้หมายความว่าอัตตาคือ ไม่ทุกข์ เที่ยงแท้ สุขนิรันดร์

2. กรรมเกิดจากเจตนา การที่พยายามให้นิพพานเป็นอัตตา เพราะความเข้าใจที่ผิดในพุทธพจน์ นั้นเข้าใจได้

3. แต่หากทำไปเพราะเจตนาหาผลประโยชน์แบบวัดธรรมกาย แล้วล่ะก็ คงแล้วแต่กรรมใครทำใครรับ

4. เราๆพุทธบริษัทก็ได้ทำหน้าที่ตามสมควรแล้ว ทั้งเตือนด้วยหวังดี ถือว่าแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล แต่คุณtuenum กลับแสดงพฤติกรรมอย่างที่เห็น เราคงต้องปล่อยวางครับ ใครที่เห็นด้วยกับtuenum คงต้องแล้วแต่เวรกรรม



ตอบ


1. ตกลงพระพุทธเจ้าสอนผิดใช่ไหมครับ พระอริยะสงฆ์ล้วนสอนผิดอย่างนั้นซิ  ส่วนพุทธทาส พระธรรมปิฎก ราชบัณฑิต เสถียรพงศ์  เด็กวานซืนพวกนี้ ผู้ปฏิบัติไม่ถึงขั้น  สอนถูกอย่างนั้นซิ

[๗๔๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้
ในกาลที่เราล่วงไปแล้วก็ดี  จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ  มีตนเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
  คือ  มีธรรมเป็นเกาะ  มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่       

จาก  จุนทสูตร (ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  มหาวารวรรค เล่ม ๓๐ หน้า ๔๒๓-๔๔๒

ตน หรือ อัตตา = ธรรม(โลกุตตรธรรม)= จิตบริสุทธิ์ที่ไม่มีกิเลสตัณหา  ไม่มีความโลภ โกรธ หลง   สิ่งนี้เที่ยงและเป็นอมตะ  มันจึงเป็นอัตตา   ส่วนใน 3 ภพนั้น ไม่มีสิ่งที่เที่ยงและเป็นอมตะ มันจึงเป็นอนัตตา

2. คนที่ไม่รู้เรื่องกรรมอย่างคุณ  จะมาสอนเรื่องกรรมผมได้อย่างไร นรกสวรรค์ผมไปมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว พระยายมราชเรียกผมว่าเพื่อน  ถ้าผมไม่กล้าพูดความจริงว่า นิพพานเป็นอัตตา และมีเหตุผลประกอบอย่างครบถ้วน  ผมไม่กล้าลุยไปในทุกเว็บหรอกครับ

3.  เว็บของวัดธรรมกาย ไม่ว่า dmc หรือ dhammakaya.org  ก็ไล่ผมออกแบบถาวรเว็บละ3 ครั้งแล้ว  เพราะสำนักนี้สอนผิดเพี้ยนไปจากคำสอนของหลวงพ่อสด  พอผมเอาความจริงมาบอก  เขาก็ไม่ฟัง

4.  คุณกล้าเรียกตนเองว่าพุทธบริษัทหรือ?  พุทธบริษัทภาษาอะไรกัน  พวกปริยัติเอานิพพานไปยำจนเละว่าเป็นอนัตตา = ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนเป็นธรรมดา   คือ ยังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีก  แทนที่คุณจะโต้แย้งกลับไปสนับสนุนแก๊งค์มารผู้ไม่เข้าใจพุทธศาสนาพวกนี้อีก  ศาสนาพุทธจะอยู่ไม่ครบ 5000 ปี เพราะมีคนอย่างพวกคุณนี่แหละ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #81 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 02:57:22 PM »

อมตะและไม่ทุกข์=อัตตาจริง หรือนิพพาน ไม่อมตะและทุกข์=อัตตาเก๊



armageddon เขียน:

ยังเถียงกันไม่เสร็จ  ว่าจะสร้างกระไดอย่างไร

แล้วคำพูดไหน ที่หลวงตาพูดว่า นิพพาน เป็นอัตตา?  ไม่เห็นมีสักประโยค

เห็นมีแต่พูดว่า

นิพพานมีหนึ่งเท่านั้นไม่เคยมีสอง ไม่มีสองกับอัตตา ไม่มีสามกับอนัตตา



phonsak ยกคำพูดของหลวงตามหาบัวมา:


ปีที่ 2 ฉบับที่ 590 วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 แรม 3 ค่ำ ...

พระนิพพาน เป็นอัตตา ไม่สูญ “หลวงตามหาบัว” พระนักปฏิบัติพูดชัด เป็นอัตตาไม่น่าจะผิด แต่ไม่ได้หมายถึง “อัตตา” ที่เป็นคู่กับ “อนัตตา”



armageddon เขียน:


555+ ยังไงๆๆ  ก็ยังไม่ชัดอยู่ดี

ไม่น่าจะ ..

ไม่แน่ว่าจะ ..
อาจจะ ..
แบบนี้ หรือชัด

แต่ที่แน่ๆๆ
ชัดๆ ก็คือ

นิพพานมีหนึ่งเท่านั้นไม่เคยมีสอง ไม่มีสองกับอัตตา ไม่มีสามกับอนัตตา



phonsakเขียน:

นิพพานมีหนึ่งเท่านั้นไม่เคยมีสอง ไม่มีสองกับอัตตา ไม่มีสามกับอนัตตา

"อัตตา" ที่หลวงตามหาบัวพูดถึง ที่เป็นคู่กับ “อนัตตา” = อัตตานุทิฏฐิ หรืออุปทาน สิ่งนี้เป็นความเข้าใจผิดของมนุษย์ทั่วโลกว่ามันเป็นอัตตา

ส่วนที่หลวงตามหาบัวพูดว่า  พระนิพพาน เป็นอัตตา ไม่สูญ หลวงตามหาบัวพูดชัด เป็นอัตตาไม่น่าจะผิด = อัตตาแท้ที่ระบุในอนัตตลักขณะสูตรว่า เป็นสิ่งที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

อย่าแกล้งทำเป็นไม่เข้าใจเลยคุณarmageddon   

สรุป


"อัตตา" ที่เป็นคู่กับ “อนัตตา” = อัตตานุทิฏฐิ หรืออุปทาน  อัตตาตัวนี้เป็นความเข้าใจผิดของมนุษย์ว่า ขันธ์ 5 หรือร่างกายของเรามีตัวตน  พระพุทธองค์จึงเปลี่ยนเรียกชื่อ "อัตตา" ที่เป็นอัตตานุทิฏฐิ ว่า  "อนัตตา"

ส่วน "อัตตา" ที่พระพุทธองค์ให้นิยามไว้ในอนัตตลักขณะสูตร = สิ่งที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

พูดง่ายๆ

-  สิ่งที่ไม่เป็นอมตะ  ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย = อนัตตา หรือ "อัตตา"เก๊ = อัตตานุทิฏฐิ 

-  สิ่งที่เป็นอมตะ  ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย =  "อัตตา" ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงในอนัตตลักขณะสูตร
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #82 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 09:50:02 PM »

นิพพาน

*เป็น 1 ใน 4 ของปรมัตถสัจจะ
เป้นภาษาบาลีมาจากคำว่าบรม (อย่างยิ่ง)+อัตถะ(ความหมาย เนื้อหา ประโยชน์) + สัจจะ(ความจริง)
ดังนั้น จึงรวมว่าหมายถึง ความจริงอย่างยิ่งทีมีอยู่จริง ๆ
เป้นความจริงที่มีความหมาย มีเนื้อหาสูงสุด มีประโยชน์ต่อการศึกษา เพื่อความสุขอย่างยิ่ง

**นิพพาน คือ ธรรมารมณ์ชนิดหนึ่ง
 
เป็น ใจที่มีสภาวะ ความสิ้นอวิชชา ตัณหา โดยสิ้นเชิง

(ลอกมาจาก เอกสารประกอบการอบรมป.ธรรม) ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #83 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:31:10 PM »

เข้าใจกันหรือยังว่า อัตตา=อมตะ  อนัตตา=ไม่อมตะ 


ศาสนาพุทธของเรา  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นพบทางแห่งการเข้าไปเป็นสิ่งที่เป็นอมตะและไม่มีทุกข์  หลุดออกจากการเป็นสิ่งไม่เป็นอมตะและยังมีทุกข์ใน 3 ภพ


อนัตตา ที่พระพุทธเจ้าตรัสในอนัตตาลักขณะสูตร = สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนเป็นธรรมดา

อนัตตา = สิ่งที่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

อนัตตา = สิ่งที่ไม่เป็นอมตะ  อะไรล่ะที่ไม่เป็นอมตะ  ก็สิ่งที่จิตสังขาร หรือจิตคิดปรุงแต่งดำรงอยู่ คือ ขันธ์ 5  ขันธ์ 5 จึงเป็นอนัตตา

.............................................................................

อัตตา ที่พระพุทธเจ้าตรัสในอนัตตาลักขณะสูตร = สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

อัตตา = สิ่งที่ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

อัตตา = สิ่งที่เป็นอมตะ  อะไรล่ะที่เป็นอมตะ  ก็สิ่งที่จิตบริสุทธิ์พุทธะ หรือจิตที่ไม่มีคิดปรุงแต่งดำรงอยู่ คือ ธรรมขันธ์(ธรรมกาย.ธรรมธาตุ)  ธรรมขันธ์(ธรรมกาย.ธรรมธาตุ)จึงเป็นอัตตา

สรุป

อนัตตา คือ สิ่งที่ไม่เป็นอมตะ  ซึ่งจิตสังขารเข้าไปอยู่ คือ ขันธ์ 5

อัตตา คือ สิ่งที่เป็นอมตะ ซึ่งจิตบริสุทธิ์ ที่ไม่มีความโลภ โกรธ หลง เข้าไปอยู่ คือ ธรรมขันธ์(ธรรมกาย.ธรรมธาตุ) ที่เรียกว่า "อายตนะนิพพาน"

ท่านเข้าใจหรือยัง  นี่คือคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าจึงยืนยันในขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571ว่า "ธรรมกายอันเป็นอัตตา...."

และพระอวโลกิเตศวรจึงสอนพระสารีบุตร บึนทึกในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ว่า

" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้ ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #84 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:33:29 PM »

ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา หรืออสังขตธาตุ?


คุณจิ๊กเปงเขียน:

1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา ซึ่งเป็นความเห็นผิด

2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา คุณพลศักดิ์เอานิพพานเป็นอัตตามาจากไหน

3. นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน



ตอบ

1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา = อัตตานุทิฏฐิ หรือ อุปทาน

2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา.... เป้าหมายของพระพุทธศาสนา คือ หนีออกจากอัตตนุทิฏฐิ โดยปฏิบัติสมถและวิปัสสนากรรมฐาน จนรู้อย่างจริงๆว่า อัตตานุทิฏฐิ ล้วนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย  จึงเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  เมื่อรู้อย่างเด่นชัดแล้ว  จิตจะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ถอนกิเลส ตัญหา อุปทานได้  จึงได้ธรรมกาย(อายตนนิพพาน) ที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย

สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"

3.  นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน.... นิพพานก็คืออัตตา ในความหมายว่าเที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนตามกาลเวลา  อัตตาของโลก คือ อัตตานุทิฏฐิ  เป็นคนละเรื่องกับอัตตาทีพระพุทธเจ้าพูดถึง

นิพพาน = อสังขตธาตุ = อัตตา = ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย
อัตตาของโลก = อุปทาน หรืออัตตานุทิฏฐิ = มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย 



-------------------------------------------------------------

อ้างอิง

ผมขออนุญาตนำเอาพุทธพจน์ต่างๆเรื่องอัตตานุทิฏฐิ อัตตา อนัตตา มาถก เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไป

1. อัตตานุทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน สิ่งนี้เป็นอุปทาน หรือ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บางท่านเรียกว่า อัตตาของโลก

อัตตานุทิฏฐิ = ผู้ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา ทั้งๆที่มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน(อัตตา)ของเรา เขาหลงยึดมั่นถือว่าเป็นอัตตา เป็นตัวตนของเขา


ขันธสังยุตต์ - จุลปัณณาสก์ - ทิฏฐิวรรค - ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร

๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ
[๓๕๘] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดอัตตานุทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีอัตตานุ
ทิฏฐิ. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย

วิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ.
[๓๕๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๗.


2. ที่ท่านเรียกว่า อัตตาของโลก = อุปทาน หรือมิจฉาทิฏฐิ นั้น พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า "อนัตตา"


อนัตตลักขณสูตร

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา

3. นิยาม "อัตตา" ในอนัตตลักขณะสูตร

จากอนัตตลักขณสูตรเช่นกัน พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....

ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "

4. จากท่อนจบที่พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตสรุป

ถ้ามีรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ใด ที่ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสิ่งนั้นว่า ขอให้มันเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย สิ่งนั้นก็เป็น "อัตตา"

และพระพุทธองค์ยังตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ เพื่อสอบความเข้าใจด้วยว่า :

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ตอนนี้พระพุทธเจ้าฝากผมมาถามคุณนักดาบพเนจรว่า:

ภ. ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

คุณจิ๊กเปง ตอบว่า

....... ข้อนั้น ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อัตต�อัตตา จึงเท่ากับ สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แล้วอะไรล่ะที่เป็นอัตตา....ก็อสังขตธาตุ ยังไงล่ะ ดูลักษณะของอสังขตธาตุนะครับ

ลักษณะของอสังตธาตุ

อสังขตธาตุ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และมีลักษณะความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมสลายไม่ปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏ ๑

ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณ ะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด = ไม่เกิด
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)

ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #85 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:35:27 PM »


คุณ nook « ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2010, 11:09:35 am »

ดูถ้าแล้ว คุณจะมีอคติกับพระพุทธศาสนา เถรวาทนะคะ
เป็นอะไรมากไปหรือเปล่า การที่คุณเอาความคิดของคุณมาเป็นแนวทางในการตั้งกระทู้ และ พูดๆๆๆๆๆ
เอาเข้าข้างตนเองนั้น มันจะดีหรือคะ เพราะว่าเห็นที่คุณกล่าวมานั้น เป็นคำสอนนิกาย มหายานแทบทั้งสิ้น
เช่น อาทิพุทธะ นิพพานเป็นอัตตา บ้าง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ชาวพุทธหลงเข้าใจผิดได้
ไม่ทราบคุณมีปัญหามาจากเว็บไหนหรือคะ แล้วมาระบายที่นี่ ค่อยๆสงบสติอารมณ์หน่อย

เรื่องของคำสอนอันนั้นมันแล้วแต่คุณนะคะ คุณจะศรัทธาในพระพุทธศาสนานิกายอะไรมันเรื่องของคุณ
แต่อยาดบอกไว้คำเดียวเลยว่า พระพุทธศาสนา นิกาย เถรวาท เป็นนิกายที่ถูกต้องที่สุด มีคำสอนที่แม่นยำ ตรงไป ตรงมา
และ เป็นความจริง พุทธพจน์อันศักดิ์สิทธ์ก็มีในพระไตรปิฏกเถรวาท นะคะ

ส่วนของมหายานนั้น ไม่อยากปรามาสหรอกนะคะ เพราะเห็นเป็นชาวพุทธเหมือนกัน แต่อยากกล่าวอะไรซักหน่อยนะคะ
เรื่องของคำสอนนั้น มหายาน มีการบิดเบือนคำสอนมากมายนัลกันไม่หวาดไม่ไหว ไม่ว่าเรื่องของการสร้างพระุพุทธเจ้ามากมาย
แล้วอ้างว่า เป็นการไว้ต่อสู้กับ พระเจ้าจากฮินดู หรือการบอกว่า นิพพานไม่น่าไป ควรไปสุขาวดี แล้วให้สวดมนต์ถึงพระอมิตตาภพุทธเป็นแสนๆ ล้านๆครั้ง แล้วจะำได้ไปสุขาวดี แล้วอีกมากมาย

อย่างนี้แล้ว ใครกันแน่คะ ที่บิดเบือนคำสอน
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #86 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:36:59 PM »

phonsak « ตอบ #2 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:29:00 am »

armageddon เขียน:

หมัดเด็ดน๊อคเอาท์มารพลศักดิ์

อนัตตา  ไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้

อัตตา    ก็อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ อ่ะจิ ครับ


ตอบ

ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรเลย

ธรรมขันธ์ (ธรรมกาย) เป็นอัตตา  เพราะอยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  ไม่ให้เกิด  ไม่ให้แก่  ไม่ให่เจ็บ ไม่ให้ตาย  และจะเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรก็ได้  เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านจะเปลี่ยนเป็นใครก็ได้


จริงหรือ....ถ้านิพพานเป็นอัตตา ศาสนาพุทธก็คงไม่ต่างอะไรกับศาสนาอื่น?

ถ้านิพพานเป็นอัตตา ศาสนาพุทธก็คงไม่ต่างอะไรกับศาสนาอื่น ที่ปฏิบัติให้ถึงที่สุดเพื่อไปอยู่กับพระเจ้า..
อย่างนี้การนับถือศาสนาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเลือก เพราะศาสนาไหนก็สอนธรรมอันเป็นที่สุดไม่ต่างกัน..
ท่านพลศักดิ์ว่าไหม..
ถามมาด้วยความเคารพ!




ตอบ

ศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์ มุสลิม ฮินดู  ฯลฯ  เขาสอนให้คนไปอยู่กับพระเจ้า  ไปพึ่งพาอาศัยพระเจ้า และรับสวรรค์รวมทั้งพรหมโลกต่างๆของพระเจ้าเท่านั้น  

ไม่มีศาสนาใดที่สอนให้คนไปเป็นพระเจ้าเองเลย  ยกเว้นศาสนาพุทธ  เมื่อคุณบรรลุอรหันต์ ก็คือได้ธรรมกาย หรือนิพพานธาตุ  นั่นแหละคือ คุณเข้าสู่ความเป็นพระเจ้า ศาสนาพุทธเรียกพระเจ้าว่า "พุทธะ"  พระอรหันต์สาวกก็คือ "อนุพุทธะ"

ผมจะบอกคุณนะ  นิพพานเป็นอัตตา เพราะนิพพานคือธรรมกายดวงใหญ่สุด  ที่เป็นต้นกำเนิดธรรมกายอื่นๆ  รวมทั้งธรรมกายของพระพุทธเจ้าต่างๆด้วย

พวกเราทุกคนระเบิดตัวเองออกมาจากธรรมกายดวงใหญ่สุด   แยกตัวเองเป็นองค์เล็กๆ  ธรรมกายองค์เล็กๆนี้ก็  เป็นส่วนหนึ่งของธรรมกายดวงใหญ่สุด  ศาสนาพราหมณ์เขาพูดถูกในส่วนนี้ เขาเรียกธรรมกายดวงใหญ่สุดว่า "ปรมาตมัน" และเรียกธรรมกายองค์เล็กๆว่า"อาตมัน"

 นิพพานก็คือ ธรรมกายองค์เล็กๆ"อาตมัน"  เข้าไปอยูกับธรรมกายดวงใหญ่สุด "ปรมาตมัน"

หลวงปู่ดุลย์ อตโล อธิบายว่า:

" โดยปราศจากรูปปรมาณู(หมายถึง ดับวิญญาณธาตุและดับนามรูปแล้ว) ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"

ความว่างที่บริสุทธิ์และสว่างแต่ละดวง รวมเข้ากับ ความว่าง บริสุทธิ์ สว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน" = อาตมัน เข้าไปรวมเข้ากับ ปรมาตมัน..... ตามที่ศาสนาพราหมณ์สอนไว้จริงๆ

ศาสนาพราหมณ์เขาพูดผิด คิดผิดตรงที่ เขาคิดว่าขันธ์ 5 เป็นอาตมัน เป็นอัตตา เพราะวิญญาณไม่มีวันตาย  เพียงแต่ออกจากร่างนี้ไปอยู่ร่างอื่น เหมือนเปลี่ยนเสื้อผ้า   พระพุทธเจ้าได้ปฏิเสทความคิดท่อนนี้  และสอนให้ชัดเจนว่า "อาตมัน" ที่ไม่มีวันตายนั้นคือ "อรหันต์" = อัตตา   ส่วนสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อรหันต์ เช่น มนุษย์ สัตว์ เทวดา พรหม และอรูปพรหม สิ่งเหล่านั้นตายได้ทั้งนั้น

และพระพุทธองค์ยังสอนทางเข้าไปสู่ความเป็น"อาตมัน" ที่ไม่มีวันตาย หรือ "อรหันต์" ซึ่งเป็น อัตตา  นั้นด้วย

 "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ"

นี่เป็นวิธีเดียวเท่านั้น ที่จะนำเรากลับเข้าไปเป็น อัตตา(สิ่งที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา) ถ้าเรากำจัดราคะ โทสะ โมหะไม่หมด   เราก็ยังเป็นสิ่งที่เป็น อนัตตา อยู่ดี





ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา หรืออสังขตธาตุ?


คุณจิ๊กเปงเขียน:

1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา ซึ่งเป็นความเห็นผิด

2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา คุณพลศักดิ์เอานิพพานเป็นอัตตามาจากไหน

3. นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน



ตอบ

1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา = อัตตานุทิฏฐิ หรือ อุปทาน

2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา.... เป้าหมายของพระพุทธศาสนา คือ หนีออกจากอัตตนุทิฏฐิ โดยปฏิบัติสมถและวิปัสสนากรรมฐาน จนรู้อย่างจริงๆว่า อัตตานุทิฏฐิ ล้วนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย  จึงเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  เมื่อรู้อย่างเด่นชัดแล้ว  จิตจะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ถอนกิเลส ตัญหา อุปทานได้  จึงได้ธรรมกาย(อายตนนิพพาน) ที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย

สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"

3.  นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน.... นิพพานก็คืออัตตา ในความหมายว่าเที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนตามกาลเวลา  อัตตาของโลก คือ อัตตานุทิฏฐิ  เป็นคนละเรื่องกับอัตตาทีพระพุทธเจ้าพูดถึง

นิพพาน = อสังขตธาตุ = อัตตา = ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย
อัตตาของโลก = อุปทาน หรืออัตตานุทิฏฐิ = มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย  



-------------------------------------------------------------

อ้างอิง

ผมขออนุญาตนำเอาพุทธพจน์ต่างๆเรื่องอัตตานุทิฏฐิ อัตตา อนัตตา มาถก เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไป

1. อัตตานุทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน สิ่งนี้เป็นอุปทาน หรือ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บางท่านเรียกว่า อัตตาของโลก

อัตตานุทิฏฐิ = ผู้ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา ทั้งๆที่มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน(อัตตา)ของเรา เขาหลงยึดมั่นถือว่าเป็นอัตตา เป็นตัวตนของเขา


ขันธสังยุตต์ - จุลปัณณาสก์ - ทิฏฐิวรรค - ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร

๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ
[๓๕๘] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดอัตตานุทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีอัตตานุ
ทิฏฐิ. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย

วิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ.
[๓๕๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๗.


2. ที่ท่านเรียกว่า อัตตาของโลก = อุปทาน หรือมิจฉาทิฏฐิ นั้น พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า "อนัตตา"


อนัตตลักขณสูตร

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา

3. นิยาม "อัตตา" ในอนัตตลักขณะสูตร

จากอนัตตลักขณสูตรเช่นกัน พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....

ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "

4. จากท่อนจบที่พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตสรุป

ถ้ามีรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ใด ที่ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสิ่งนั้นว่า ขอให้มันเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย สิ่งนั้นก็เป็น "อัตตา"

และพระพุทธองค์ยังตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ เพื่อสอบความเข้าใจด้วยว่า :

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ตอนนี้พระพุทธเจ้าฝากผมมาถามคุณนักดาบพเนจรว่า:

ภ. ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

คุณจิ๊กเปง ตอบว่า

....... ข้อนั้น ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อัตต�อัตตา จึงเท่ากับ สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แล้วอะไรล่ะที่เป็นอัตตา....ก็อสังขตธาตุ ยังไงล่ะ ดูลักษณะของอสังขตธาตุนะครับ

ลักษณะของอสังตธาตุ

อสังขตธาตุ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และมีลักษณะความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมสลายไม่ปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏ ๑

ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณ ะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด = ไม่เกิด
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)

ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.


ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง?
 
อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม ก็เป็นธรรมอันลุ่มลึกที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพบ และนำมาสอน

1. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนไม่มั่นคงและถึงทั่วแล้วซึ่งสักกายะ คือความทุกข์" ดังนี้"

พวกเราก็คือ จิต(สังขาร)ที่ทำให้เกิดขันธ์ 5 ในมนุษย์และสัตว์ และพวกเทพพรหมเปรต ฯลฯ ที่มีขันธ์ 4, 3, 2,1 แล้วแต่ภพภูมิที่เขาอยู่ และสถานะที่เขาเป็น (ยกเว้นพระนิพพาน)
 
2. ทุกสรรพสิ่งและสรรพชีวิต ต้นไม้ น้ำ .... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหมในชั้นโลกีย์ทุกชั้น ...ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่นิพพานเป็นสภาวะที่ต่างออกไป คือ มันเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ และไม่เป็นอนิจจัง พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียกอนัตตา ที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ และไม่เป็นอนิจจัง ว่า "อัตตา"

3. ด้วยเหตุนี้ จากข้อ 1 และ 2 ในความว่างที่เป็นสุญญตา จึงแบ่งเป็น

(1.) ความว่างที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป = อนัตตา

(2.) ความว่างที่เที่ยง และไม่เป็นทุกข์ ไม่มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ ไม่เกิดขึ้น ไม่ตั้งอยู่ และไม่ดับไป = อัตตา

พระเทพสิทธิมุนี (พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)

" พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

" สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก"

สรุป

อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม เป็นความว่าง ความว่างมี 2 แบบ

 1. ความว่าง ที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มูลเหตุของการเกิดมาจากอวิชชาและกิเลส

2. ความว่าง ที่เป็นนิจจัง สุขขัง อัตตา(อนัตตาที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่เป็นอนิจจัง) เป็นผลมาจาก จิตว่างจากกิเลส หรือ จิตสูญจากกิเลส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 10, 2011, 10:25:13 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #87 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2010, 11:14:31 PM »

นิพพาน ที่ทราบว่า
เป้นปรมัตถสัจจะ  หมายถึง ความจริงอย่างยิ่ง ที่มีอยู่จริงๆ  ยิงฟันยิ้ม

อิ อิ ลอกเค้า มานะท่าน
บันทึกการเข้า
num2011
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #88 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 05:27:30 PM »

thank you ยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #89 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 09:01:26 AM »

กวนอิมที่เป็นมนุษย์ เคยอยู่บนโลกใบนี้ในมิตินี้ คือ "กวนอิมประทานพร"
« เมื่อ: วันนี้ เวลา 04:11:57 pm »

ในโลกมนุษย์ใบนี้ ในมิตินี้   กวนอิมประทานพร เป็นกวนอิมคนแรก  ท่านเป็นผู้ชาย  เกิดประมาณ 4000 ปีก่อนพุทธกาล    แล้วในยุคนั้น ท่านเป็นคนจีน  ส่วนกวนอิมที่เป็นเจ้าหญิงเมี่ยวซันไม่มีจริง  เป็นเพียงกวนอิมในนวนิกาย

กวนอิมที่โคตมพุทธเจ้าตรัสว่า  บรรลุธรรมเป็นพุทธะหลายแสนกัปมาแล้ว  ไม่อาจนับกัปกัลป์ได้  คือ  กวนอิมพันมือ

กวนอิมที่โคตมพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า  พระอวโลกิเตศวร(กวนอิม) นั้นไม่ใช่มนุษย์   แต่เป็นฌานิโพธิสัตว์  ท่านเคยเป็นพระพุทธเจ้ามาแล้ว  ชื่อว่า  สัทธรรมวิทยาตถาคต  มหายานเรียก กายทิพย์ของฌานิโพธิสัตว์ ว่า “สัมโภคกาย”

เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น  ผมขอยกพุทธพจน์ในปิฎกต่างๆของมหายานมาอ้าง

1. กวนอิมที่เป็นฌานิโพธิสัตว์  หรือพระอวโลติเกศวร  ท่านเคยเป็นพระพุทธเจ้ามาแล้ว  ชื่อว่า  สัทธรรมวิทยาตถาคต  ศาสนาอื่นเรียกว่า พระเมตตาของพระเจ้า  (God's mercy)

ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตร อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร ได้กล่าวไว้ว่า

   ดูก่อนกุลบุตร พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระองค์นี้ มีฤทธานุภาพไพศาลเหนือการคาดคะเนตรึกคิด ในอดีตกาลล่วงมานับประมาณกัลป์มิได้ มีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งได้   ตรัสรู้พระสรรเพชุดาญาณ พระนามว่า สัทธรรมวิทยาตถาคต ด้วยพระมหาปณิธานที่เปี่ยมด้วยมหากรุณาคุณอันยิ่งใหญ่ จึงมีพุทธประสงค์จะนิรมิตพระโพธิสัตว์จํานวนมหาศาลให้บังเกิดขึ้น เพื่อยังความสุขศานติให้สําเร็จแก่สรรพสัตว์ แต่แล้วจึงบังเกิดเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์(องค์เดียว )

       ย้ำ! สัทธรรมวิทยาตถาคต ด้วยพระมหาปณิธานที่เปี่ยมด้วยมหากรุณาคุณอันยิ่งใหญ่ มีพุทธประสงค์จะนิรมิตพระโพธิสัตว์จํานวนมหาศาล แต่แล้วจึงบังเกิดเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์(องค์เดียว )

2.  กวนอิมพันมือ  ผมคิดว่าเป็นองค์นี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงในมหากรุณาธรณีสูตร

ในมหากรุณาธรณีสูตร องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงมีพระดำรัสสรุปความแก่บรรดา พุทธโพธิสัตว์ และทวยเทพในที่ประชุมว่า
   
   "แท้ที่จริงแล้ว พระโพธิสัตว์กวนอิมองค์นี้ ได้สำเร็จธรรมในขั้น "พุทธะ" เมื่อครั้งหลายแสนกัปป์มาแล้ว ทรงพระนามว่า "เจิ่น ฝ่า หมิง ยู ไล้" แต่ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะโปรดเหล่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ให้มาร่วมกันฉุดช่วยเวไนยสัตว์มากมายที่ยังหลงเหลืออยู่ในทะเลทุกข์ พระองค์จึงทรงหวนกลับจากพุทธภูมิลงสู่แดนโพธิสัตว์อีก"

กวนอิมทั้ง 2 พระองค์ข้างต้น   ไม่ใช่กวนอิมที่อยู่ในโลกใบนี้ในมิตินี้  กวนอิมที่เป็นฌานิโพธิสัตว์  หรือพระอวโลติเกศวร  ท่านเป็นพระเจ้าหรือเมตตาของพระเจ้า  ส่วนกวนอิมพันมือ  เป็นกวนอิมที่อยู่ในโลกอื่นในมิติอื่น  แล้วกวนอิมที่เป็นกวนอิมที่อยู่ในโลกใบนี้ในมิตินี้คือใครล่ะ  ในเมื่อผมบอกว่า  เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเป็นแค่กวนอิมในนวนิยายเท่านั้น   ไม่ได้มีจริง   

3.    กวนอิมที่เป็นกวนอิมที่อยู่ในโลกใบนี้ในมิตินี้ คือ “กวนอิมประทานพร”

กวนอิมประทานพร รูปที่ใช้กันทั่วไป มือจะถือกิ่งหลัว และแจกัน  องค์นี้ตอนที่เป็นมนุษย์เป็นผู้ชาย  แต่ท่านอธิษฐานขอเป็นหญิงเพื่อจะช่วยโปรดมนุษย์ด้วยกายหญิง  พระวิษณุกรรมเลยแปลงกลายเป็นโค กัดอวัยวะเพศชายของท่านขาด  ร่างกายของท่านเลยตาย  ส่วนจิตบริสุทธิ์หรือกายทิพย์บริสุทธิ์ของท่านเกิดเป็นหญิง

แล้วจิตบริสุทธิ์หรือกายทิพย์บริสุทธิ์ของท่านที่เป็นหญิง  ก็ไปช่วยแม่ในนรก  ท่านยอมเสียสละจิตหรือกายทิพย์ของท่านที่เป็นหญิง  ตกนรกแทนมารดา  แต่ไฟนรกก็ไม่อาจทำร้ายท่านได้

การเสียสละกายบนโลก  และสละจิตในปรโลก  ท่านจึงได้ทั้งกายทิพย์และธรรมกาย

พระโพธิสัตว์กวนอิมปางประทานพร ทรงมีมหาปณิธานอยู่ข้อหนี่งว่า

"เมื่อใดที่เสียงคร่ำครวญทุกข์ร้อนของชีวิตทั้งหลายยังไม่หมดไปจากโลกนี้ เราจะไม่ขอ เข้าสู่ปรินิพพาน"


แล้วท่านจะทำให้สัตว์ทั้งหมด หมดทุกข์คือนิพพานได้อย่างไร  แล้วเมื่อสรรพชีวิตหมดทุกข์ นิพพานไปแล้ว  ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าสอนธรรมใครล่ะครับ  ดังนั้นจึงเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างมากว่า  พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม องค์ใดก็แล้วแต่   ก็ต้องมาเกิด(อุบัติ)บนโลกอีกอยู่ดีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
พิมพ์
กระโดดไป: