KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไรผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน  (อ่าน 161462 ครั้ง)
yusamui
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 48


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #90 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2012, 03:27:35 PM »

อ่านมาจบหน้าสุดท้าย
   
  สรุปแล้ว ว่าใช่คนเดียว กับหลวงพ่อปราโมทย์ ที่เป็นข่าวดัง เรื่องเงิน เรื่องผู้หญิง เรื่องที่ดิน หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #91 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 06:59:04 PM »



ใช่ครับที่ยกมาบางตอนแรกๆก็เป็นของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช ครับ

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #92 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2012, 10:25:28 PM »

ความรู้ต่างๆ  เรื่องพระะรรม  ที่จำจากสมอง หรือทีเรียกว่า
สัญญา นั้น เป็นเพียง หนทางแห่งศรัทธา หรือ ทฤษฎี 

  ทีจะสั่ง ให้ใจ

สั่งการ  ให้ พา กาย และ ใจ นี้ เดินทาง สายปฏิบัติธรรมต่อ

ตามหลักการ ของ อริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้า วางแนวทางไว้

หรือ ต้องเดินทางสายปฏิบัติ ตามพระอริยสัจ ข้อ 3 หรือนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค มีองค์ 8 

แล้วผลที่ได้ จึงจะเรียกว่า  เป็นความรู้ ที่ เกิดจาก
ใจของท่าน
 นั้นๆ เอง เป็นปัจจัตตัง

อันนี้ ถือว่าเป็นความรู้แท้

แล้ว ความรู้ที่ว่า คือเรื่อง อะไรเล่า  ****
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #93 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2012, 05:09:47 PM »

ความรู้ต่างๆ  เรื่องพระะรรม  ที่จำจากสมอง หรือทีเรียกว่า
สัญญา นั้น เป็นเพียง หนทางแห่งศรัทธา หรือ ทฤษฎี  

  ทีจะสั่ง ให้ใจ

สั่งการ  ให้ พา กาย และ ใจ นี้ เดินทาง สายปฏิบัติธรรมต่อ

ตามหลักการ ของ อริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้า วางแนวทางไว้

หรือ ต้องเดินทางสายปฏิบัติ ตามพระอริยสัจ ข้อ 3 หรือนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค มีองค์ 8  

แล้วผลที่ได้ จึงจะเรียกว่า  เป็นความรู้ ที่ เกิดจาก
ใจของท่าน
 นั้นๆ เอง เป็นปัจจัตตัง

อันนี้ ถือว่าเป็นความรู้แท้

แล้ว ความรู้ที่ว่า คือเรื่อง อะไรเล่า  ****



ส่วนใหญ่เวลานักปฏิบัติที่ถูกคนอื่นๆถามหรือนักปฏิบัติด้วยกันถามว่า ท่านปฏิบัติมาเคยเจอสภาวะแบบนี้ เช่นนี้บ้างหรือไม่มันคืออย่างไร ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยจะได้เข้าใจ ได้ความรู้บ้าง

นักปฏิบัติที่ปฏิบัติเพียงส่วนเดียวและไม่ใคร่ได้ศึกษาเรื่องราวทางปริยัติมากนัก
จะไล่เรียงสภาวะอันเกิดขึ้นที่จิตใจอันเป็นธรรมที่ หยาบ ละเอียด ลุ่มลึก ลึกซึ้ง ประณีต เป็นลำดับๆไปได้โดยลำบากที่จะอธิบายเป็นคำพูดสื่อสารให้เข้าใจหรือเห็นตรงกันได้
สำหรับนักปฏิบัติที่ยังมีภูมิจิตภูมิธรรมไม่สูงนักและอาจจะยังปฏิบัติไม่ได้ผ่านสภาวะมาจริง
จึงอาจจะพูดไปในทำนองว่า "อย่าสงสัยไปเลย ปฏิบัติไปเถิด เดี๋ยวก็รู้เอง อย่าเอาแต่ถามหรือสงสัยมาก" หรือ " เรื่องแบบนี้ มันเป็น ปัจจัตตัง รู้ได้ด้วยตัวเอง "

คนถามก็เลยต้องเงียบ ไม่รู้จะถามอะไรต่ออีก....

แต่สำหรับผมนั้นมีทัศนะว่า...คำถามเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการปฏิบัตินั้น สามารถอธิบายพูดคุยกันถึงสภาวะความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติทั้งหมดได้... ถ้ายังอยู่ในระดับของโลกียะ ไม่ใช่ระดับของโลกุตตระ

อย่างเรื่อง " สภาวะนิพพาน " เป็นธรรมระดับ โลกุตตระ การพูดการอธิบายออกมาเป็นภาษาสมมุตินั้นจึงเป็นไปไม่ได้เพราะว่าสภาวะนี้ เหนือสมมุติพ้นโลกออกไปแล้ว อธิบายได้ก็พอได้เพียงเทียบเคียงเท่านั้นไม่ลึกซึ้ง จึงพูดว่าความรู้แบบนี้เป็น ปัจจัตตัง ได้ ต้องเกิดขึ้นแก่ตัวเอง เข้าใจได้เอง ได้รับผลแก่ตัวเอง รู้ได้เฉพาะตน

ความรู้ที่เป็น ปัจจัตตัง จึงเป็นความรู้ในระดับ โลกุตตระ เหนือโลก พ้นโลก พ้นจากสมมุติของโลกแล้วทั้งปวง ครับ  

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2012, 05:18:21 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #94 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2012, 10:55:06 PM »

ปัญญา ระดับปุถุชนหรือที่เรียกว่า โลกียะ นั้น เป็นปัญญาระดับสัญญา หรือด้วยความจำ ที่เก็บไว้ที่สมอง

ส่วนปัญญาระดับโลกุตตร เป็นปัญญาที่รู้ด้วย

ใจ ที่ตั้งมั่น อยู่กลางอก
เท่านั้น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #95 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 11:44:09 PM »

นิพพาน คือ ธรรมอารมณ์ ชนิดหนึ่ง

ที่จิตพิเศษบางดวงเท่านั้นที่สัมผัสได้

ทราบแล้ว
เปลี่ยน
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #96 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2012, 12:10:32 AM »

นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่จิตมีความสงบสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ ไร้สุข เป็นอิสรภาพสมบูรณ์

"นิพพาน" จากบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ทรงตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"

คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน 2 ประเภท คือ

    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก

สภาวะของนิพพานจากหลักฐานในพระไตรปิฎก
คำว่า "นิพพาน" เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่า นิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานเช่นเดียวกับคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุกข์

คัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะของฝ่ายเถรวาท ระบุไว้ชัดเจนว่า "นิพพานอันว่างจากตน" "นิพพานเป็นอนัตตา" เช่น ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ปริวารระบุว่า อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้" (วิ.ป.บาลี 8/257/194)

นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ. (ขุ.ปฏิ. 31/546/450) แปลว่า: "สัจจะทั้ง 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว (คือด้วยมรรค ญาณเดียวกัน) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ (ทุกข์) ก็มีความหมายว่า เป็นอนัตตา " อรรถกถาอธิบายว่า อนตฺตฏฺเฐนาติ จตุนฺนมฺปิ สจฺจานํ อตฺตวิรหิตตฺตา อนตฺตฏฺเฐน. (ปฏิสํ.อ.2/229)

ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า "หมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" คำว่า "อนัตตา" มีความหมายระดับปรมัตถ์ มีนัยที่ต้องไขความต่ออีก โดยเฉพาะในคัมภีร์ชั้นหลังจะบอกว่า "ที่ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกัน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอยู่ ไม่มีตัวตนที่คงที่ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้เสวย ไม่มีอำนาจในตัวเอง บังคับให้เป็นไปในอำนาจไม่ได้ แย้งต่ออัตตา"

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

"ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่) พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.2/287) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะพยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย

ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350) เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น

พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด

นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกวิทยาจึงไม่อาจกระทำได้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)

เมื่อนิพพานพ้นไปจากบัญญัติในทางโลก การอธิบายถึงนิพพานจึงเป็นเพียงการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบกับความว่างเปล่า หรือไฟที่ดับไป เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคกล่าวว่า "เพราะพระนิพพานเป็นคำสุขุมนัก...เป็นธรรมที่ต้องเห็นด้วยอริยจักษุ เป็นธรรมอันบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมรรค (เท่านั้น) จะพึงถึงได้" นิพพานจึงมิใช่เรื่องของการเข้าใจ แต่อยู่ที่การเข้าถึง อันเป็นผลจากการปฏิบัติธรรมของตนเอง

ขอบคุณ - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99

 ลอกมาเลย  และต้องพิจารณาต่อไปๆๆๆ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #97 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2012, 12:14:13 AM »

พอทราบมาว่า

นิพพาน มีพลังงานมากจริง ๆ

เหมือนน้ำในเขื่อน ทีเริ่ม พุ่งเข้ามาช่องรั่ว(ของกิเลส) ที่ห่อหุ้มใจอยู่ ฉนั้น


ถ้า รอยรั่ว ขยายขนาด  ลองพิจารณา ได้เลย ว่า

พลังงานน้ำนั้น จะเพิ่ม ความแรง ตามไปด้วย ๆ ๆ  ขนาดนั้น ๆๆ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #98 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2012, 07:50:22 PM »

อ่านข้อมูลของบางท่านกล่าวว่า

สภาวะจิตที่ ผ่านมรรคจิต ผลจิต เหมือนฟ้าแลบ สำหรับพระอริยะ 3 ระดับแรก

ในขณะที่ระดับพระอรหันต์เป็นฟ้าผ่า

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #99 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2012, 08:14:25 PM »


คงงั้นมั๊งครับ  ยิ้ม

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #100 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2012, 08:20:30 PM »

สรุปหัวข้อ
ข้อความเมื่อ: วันนี้ เวลา 08:14:25 pmข้อความโดย: AVATAR 
ใส่การอ้างถึงคำพูด

คงงั้นมั๊งครับ 

เรื่องอะไร
 
 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #101 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2012, 09:41:38 PM »


สนทนาประสา ชาวแชท

ต้องโหดกะกายก่อ น

เพื่อฟาดจิต ให้หงอย

แล้ว มันจะวาง ความอยาก

ทีนี้ จิต มันจะระทวย

ยอมให้ธรรมะ แสดงตัวตน

ตามความเป็นจริง
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #102 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2012, 11:27:59 PM »

เรื่องฟ้าแลบและฟ้าผ่า ที่เปรียบเทียบกับ
จิตที่เกิดเนื่องด้วยโสดาปัตติมรรค
จิตที่เกิดเนื่องด้วยสกทาคามิมรรค
จิตที่เกิดเนื่องด้วยอนาคามิมรรค
จิตที่เกิดเนื่องด้วยอรหันตตมรรค

....ถ้ามันแว๊บๆสว่างไสวจ้าคล้ายฟ้าแลบและฟ้าผ่า ก็คงพอจะเปรียบเทียบงั้นได้มั๊งครับ

 

บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #103 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2012, 11:30:56 PM »


สนทนาประสา ชาวแชท

ต้องโหดกะกายก่อ น

เพื่อฟาดจิต ให้หงอย

แล้ว มันจะวาง ความอยาก

ทีนี้ จิต มันจะระทวย

ยอมให้ธรรมะ แสดงตัวตน

ตามความเป็นจริง

อันนี้ก็แล้วแต่ว่าใครเคยทำมาสายไหนมาก่อน กายานุปัสสนา พิจารณากายก็ก้าวหน้า พิจารณาจิตก็ไม่รู้เรื่องดูไม่เป็น
พวกฝึกมาทาง จิตตานุปัสสนา ดูจิตได้ดีมีสติดูทัน เจริญดี แต่ดูกายเป็นอสุภะ ดูยังไงก็ไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัด
แล้วแต่ทางครับทางใครทางมันถึงระดับโลกุตตระเหมือนกัน
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
keroro
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 37


ดูรายละเอียด
« ตอบ #104 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 04:02:14 PM »

ขอบคุณมากๆครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
พิมพ์
กระโดดไป: