KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 => ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร => ข้อความที่เริ่มโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 19, 2010, 07:15:26 PM



หัวข้อ: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 19, 2010, 07:15:26 PM
  
 ทราบมาจากคำตอบของหลวงพ่อปราโมทย์ที่มีผู้ถามว่า
               พระโสดา ดูอย่างไร
                          ท่านตอบว่า  เป็นอาการชั่วขณะจิตเดียว
                                           และเมื่อได้โสดามรรค  จะได้โสดาผลติดตามมาทันที

แล้วต้องการทราบว่า อาการชั่วขณะจิตเดียว คืออาการอย่างไร ???
ขอคำตอบจากผู้ที่ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง มิใช่ ทฤษฎี จากตำรา


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ สิงหาคม 20, 2010, 12:55:56 AM
เป็นคำถามที่ตอบยากพอสมควรนะครับ...เพราะท่านจะเอาคำตอบจากผู้ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง...

เรื่องการได้บรรลุธรรมในชั้นต่างๆนั้น...การเกิดมรรคผลตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์นั้น

จะบังเกิดมรรคผลเป็นลำดับไป...บางท่านเกิดมรรคผลทั้งสี่ ในระยะเวลาอันมาก หรือบางท่านอาจเกิดมรรคผลทั้งสี่จนเป็นพระอรหันต์ในชั่วอึดใจ...(อาจจะช้าไปด้วยซ้ำ)

เรื่องการบรรลุมรรคผลในชั้นต่างๆนั้น...ต้องเข้าใจก่อนว่า...เกิดขึ้นได้ เกิดขึ้นแล้วกับตนเอง...บางท่านอธิบายให้คนอื่นฟังไม่ได้ แม้แต่พระอริยะบางองค์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น พระปัจเจกพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ชอบได้ด้วยตัวเองแล้ว...แต่ไม่ถ่ายทอดต่อหรือไม่อธิบายให้ใครฟัง...นั้นเนื่องด้วยหลายปัจจัย

ถ้าเป็นพระด้วยแล้วการจะพูดเรื่องนี้โดยที่ตนเองนั้นยังไม่บรรลุนั้นเป็นปารชิกข้อที่๑ เลยทีเดียว คือ อวดอุตริมนุสสธรรม ต้องขาดจากความเป็นบรรชิตทันที พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ ด้วยมีเหตุหลายอย่างครับ อันไม่เป็นผลดี...

ทีนี้ที่คนจะตอบคำถามนั้นจึงยากและอาจไม่มีผู้ที่จะตอบ...เพราะถ้าท่านใดที่ผ่านมาแล้วจะทราบดีด้วยตนเองและเห็นว่าไม่จำเป็นจะต้องรับรองใครแต่ประการใด

ถ้าท่านสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ทางที่ดีให้ท่านสอบถามหลวงพ่อปราโมทย์โดยตรงจะดีกว่า...เพราะผมเชื่อว่าท่านจะเชื่อในคำพูดของท่าน...คนอื่นๆว่าไปคงเท่านั้นแหละนะครับ

แต่ถ้าให้ผมตอบตามแนวทางนี้ ผมคงตอบได้บ้าง...ผิดหรือถูกประการใดโปรดพิจารณาด้วยตนเองครับ

------อาการชั่วขณะจิตเดียวคืออาการอย่างไร...?

อาการนี้คือลักษณะในการที่มีสติตั้งมั่น และ มีสัมมาสมาธิ(วิปัสสนาญาณ) เมื่อนั้นมรรคทุกองค์จะรวมประชุมลงเป็นหนึ่งเดียว ตัดสังโยชน์(๓ ตัวแรก)ให้ขาดสะบั้นลงไป ในขณะจิตนั้นนั่นเองคือโสดาปฏิมรรค  และจะรู้ได้ด้วยตนเอง เมื่อถอยออกมาทบทวนสภาวะที่เกิดขึ้น เพื่อรู้แจ้งในมรรคขั้นต้น (หรือแหวกกิเลสออกมาครั้งแรกพอจะเห็นนิพพานบ้างแล้ว) เมื่อรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว ก็คือโสดาปฏิผล ที่ติดตามมาทันทีนั่นเอง

บางท่านขณะจิตตัดสังโยชน์ได้ โลกธาตุ อาจสั่นไหว(ภายในจิตตนเอง) บางท่านอาจน้ำตาร่วงออกมาเอง โดยไม่รู้ตัว บางท่านอาจสะอื้นไห้ ในปัญญาที่รู้ความจริงของธรรม มีแต่ความสลดสังเวชในตนเอง  แต่สังเกตจากเท่าที่ได้ทราบมายังไม่มีแม้ผู้ใดเมื่อถึงจังหวะนี้จะหัวเราะออกมาดังๆ
เก่งที่สุดต่อมาคงเป็นแค่ยิ้มเล็กน้อยเท่านั้นเอง...เมื่อรู้ทันกิเลสทั้งปวงบ้างแล้ว...ไม่ใช่มาหลอกกันตลอดกัป ให้วนเวียนอยู่แต่ในวัฏฏสงสารนี้ และเห็นทางแห่งการหลุดพ้นแล้วอย่างแจ่มแจ้ง...แต่ต้องดำเนินต่อไปอีกครับ...นี่แค่ก้าวแรก

พอเข้าใจไหมครับผมคงตอบได้แค่นี้ก่อน...แต่ไม่เป็นไรครับ...บางเรื่องยังไม่รู้แจ้งด้วยตนเอง ใครอธิบายให้ตายก็ยังไม่เข้าใจหรอกครับ...ต้องผ่านและทราบด้วยตนเองครับ ตอนนั้นแค่สบตากันก็รู้แล้วครับ ไม่ต้องพูดมาก

มีคำตอบของท่านพระอาจารย์ปราโมทย์อยู่ด้วยนะครับในเว็บ kammatan นี้แหละครับ...เรื่องปัญหาในการตรวจสอบตนเอง
ท่านเขียนไว้เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วตอนที่ท่านเป็นฆราวาสอยู่ น่าจะอธิบายได้ดีกว่าผมครับ ตามลิ้งค์นี้

http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=530.0


 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 20, 2010, 01:45:04 PM
เว็บ นี้
ผู้รู้มาก มีมากจริงๆ ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 20, 2010, 01:58:49 PM
อืม คำตอบทั้งของหลวงพ่อปราโมทย์ เอง หรือท่าน AVATAR ก็ดี ผมผู้ปัญญาน้อย ขอเล่าสู่กันฟังดูน่ะครับ

ถ้าเราปฏิบัติเอง ก็พยายามตรวจสอบ จากสภาวะที่เกิดขึ้น กับตัวเองดูได้ครับ ว่าอย่างที่ ช่วง กิเลสกำลังจะไหลเข้ามาสู่ใจ หรือ

ไหลเข้ามาสู่ใจแล้ว นั้น มีความเป็นเราอยู่ในสถาวะ นั้น หรือไม่ พิจารณาว่าสภาวะนั้น เป็นเราหรือไม่ 

หรือช่วงที่ปฏิบัตินั้น มีความสงสัยว่า เอ้ย สิ่งที่เราปฏิบัติอยู่นั้น มาถูกทางแล้วหรอ ทำอย่างนี้ จะดีไหม

ต้องไปบนที่นั่นที่นี่ หรือเปล่า ต้องปฏิบัติแบบนี้ จะเจริญไหม ถ้ายังมีเหตุการณ์อย่างนี้อยู่ ก็ลองสอบถาม พระอาจารย์ ที่เชื่อถือได้

หรือพระอาจารย์ปราโมทย์ หรือผู้รู้ ที่เคยผ่านสภาวะ อย่างนี้มาแล้ว ดูก็ได้ครับ



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 20, 2010, 10:05:07 PM
อ่าน เรื่องนิพพานจากครูอาจารย์ แล้ว
ยังไม่ทราบว่า สรุปเป็นอย่างไร  ???


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 20, 2010, 10:28:38 PM
ขอบคุณ Avatar   

และขออนุญาตนำความเห็นที่ 2 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 23 พฤศจิกายน 2543 09:39:33
มาวางที่นี่

คุณเก๋ตั้งคำถามแบบอ้อมค้อม
แต่ผมขอตอบอย่างตรงไปตรงมาก็แล้วกันครับ

การตรวจสอบว่าผู้ใดสำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลหรือไม่ มีหลายวิธี
อย่างแรกคือการตรวจสอบตนเอง อีกอย่างหนึ่งคือการตรวจสอบผู้อื่น

การตรวจสอบตนเอง ก็มี 2 แบบ
แบบแรกเป็นการทราบชัดทันทีที่ผ่านการเกิดมรรคผลแล้ว
โดยผู้ที่ผ่านมรรคผล ที่เกิดผลญาณยาวนาน
และเคยเรียนรู้ปริยัติธรรม ว่าพระโสดาบันละสังโยชน์ใดได้บ้าง
และพระโสดาบันมีองค์คุณใดบ้าง (คือการเข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้น
การมีศีลบริสุทธิ์ และการไม่เที่ยวแสวงหาบุญกิริยาอื่นนอกหลักของพระศาสนา)
ในขณะที่ผ่านผลญาณออกมานั้น จิตจะพิจารณาทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นทันที
แล้วรู้ชัดด้วยตนเองในขณะนั้นเลยว่า เกิดอะไรขึ้นแล้ว

บุคคลชนิดนี้ จะไม่สนใจกระทั่งการไปสอบถามครูบาอาจารย์
แต่ก็จะคิดถึงครูบาอาจารย์ เพราะคิดถึงคุณของท่าน
เมื่อไปกราบครูบาอาจารย์ ก็จะไม่ไปเพื่อขอคำรับรอง
เพราะธรรมรับรองตนเองเรียบร้อยประจักษ์ใจไปแล้ว
(พวกที่ทำผิดแล้วมั่นใจมากๆ ก็มีเหมือนกันนะครับ
โดยเฉพาะพวกที่พลาดไปติดวิปัสสนูปกิเลส)

การตรวจสอบตนเองอีกชนิดหนึ่ง เป็นการสังเกตตนเองในภายหลัง
คือบางคนบรรลุพระโสดาบันโดยมีผลญาณเกิดในช่วงสั้นๆ
หรือผู้ที่ไม่เคยรู้ตำราเกี่ยวกับพระอริยบุคคล
แม้รู้ธรรมแล้ว สังโยชน์ขาดแล้ว แต่ก็พูดไม่ได้อธิบายไม่ถูก
ประเภทนี้ก็ต้องคอยสังเกตเอาในภายหลัง
และแม้ผู้ที่เกิดผลญาณยาวดังที่กล่าวมาแล้ว
ก็ควรตรวจสอบตนเองในภายหลังด้วย
เพื่อกันความเข้าใจผิดไปหลงติดวิปัสสนูปกิเลส

วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบตนเองภายหลังก็คือ
สังเกตที่จิตตนเอง โดยรู้ลงไปที่จิตตนเอง
ว่ายังเหลือ "ความเห็นว่าจิตเป็นตัวเรา" หรือไม่
เพราะพระโสดาบันนั้น ไม่มีความเห็นผิดว่าจิตเป็นเราเหลืออยู่เลย
และกระทั่งจิตยังไม่เป็นตัวเรา ก็ไม่ต้องพูดถึงเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร
เพราะสิ่งเหล่านั้นจะถูกเห็นเป็นตัวเราไปไม่ได้เลย
ถ้าไม่เห็นว่าจิตเป็นตัวเราเสียแล้ว

ถัดจากนั้นก็คอยดูว่า จิตมีความรักศีลเพียงใด มีความจงใจทำผิดศีลหรือไม่
เพราะพระโสดาบันนั้น จะไม่มีความจงใจทำผิดศีลเกิดขึ้นเลย

การตรวจสอบตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญมากนะครับ
ชาวลานธรรม/วิมุตติหลายต่อหลายท่าน เจริญสติยังไม่ถูกต้องเลย
ปรมัตถธรรมก็ยังไม่เคยเห็น แต่อาศัยการเรียน ความจำ และความคิด
จู่ๆ ก็คิดว่า เราน่าจะเป็นพระโสดาบันแล้ว
หรือบางท่านจิตรวมด้วยสมถะ แล้วเข้าใจผิดก็มี
ต้องคอยสังเกตจิตใจตนเองให้มากๆ นะครับ ว่ายังเห็นว่าจิตเป็นเราหรือไม่

สำหรับการตรวจสอบผู้อื่นนั้น มีหลายวิธีเช่นกัน
วิธีแรกเป็นวิธีของผู้ที่ไม่มีเจโตปริยญาณ
จะต้องตรวจสอบด้วยการสังเกตพฤติกรรม หรือด้วยการซักถามสอบอารมณ์
โดยเทียบเคียงกับความรู้ด้านปริยัติธรรม
เช่นบุคคลผู้นั้นมีอาการของจิตอย่างไรในขณะที่คิดว่าบรรลุพระโสดาบัน
บุคคลผู้นั้น มีศีลอันงามหรือไม่
จิตโลภของผู้นั้น ยังเจือปนด้วยมิจฉาทิฏฐิหรือไม่
ผู้นั้น เห็นว่าขันธ์ 5 เป็นตัวเราของเราหรือไม่ เป็นต้น

วิธีนี้ถ้าจะว่าไปแล้วก็ไม่ค่อยได้ผลสมบูรณ์นักหรอกครับ
ที่สำคัญก็คือ แต่ละสำนักวางมาตรฐานของพระโสดาบันไว้ต่างๆ กัน
ส่วนผู้ตอบ บางคนก็พูดไม่ได้ อธิบายไม่ถูก ก็มี
เท่าที่เคยทราบมา กระทั่งคนที่เข้าไปติดอสัญญสัตตาหรือพรหมลูกฟัก
ก็ได้รับการพยากรณ์มรรคผลไปแล้ว ก็มีครับ

การตรวจสอบอีกวิธีหนึ่ง เป็นการใช้เจโตปริยญาณ
วิธีนี้จะให้ผลแม่นยำที่สุดในบรรดาการตรวจสอบทั้งหลาย
แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เราจะเชื่อได้อย่างไรว่า
ผู้ตรวจสอบนั้น มีเจโตปริยญาณจริง
และไม่เพียงแต่มีเจโตปริยญาณอันเป็นโลกียญาณเท่านั้น
ผู้ตรวจสอบนั้นยังจะต้องผ่านมรรคผลมาแล้วด้วย
ซึ่งก็ไม่มีใครที่จะพยากรณ์รับรองได้
จึงเข้าทำนองที่ว่า กระทั่งผู้ตรวจสอบก็ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน
เพราะผู้ที่มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรับรองได้ ก็คือพระศาสดาเท่านั้น

มาถึงจุดนี้แล้ว ผมก็มีความเห็นว่า การสังเกตตนเองในระยะยาว
ด้วยการรู้ให้ถึงจิตถึงใจตนเองจริงๆ
ไม่ใช่คิดๆ เอา แบบมีอคติเข้าข้างตนเอง
น่าจะเป็นวิธีที่มาตรฐานที่สุดในยุคนี้
ส่วนความเห็นของครูบาอาจารย์ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นครับ
ถ้าท่านรับรองว่าใช่ ก็มาดูกิเลสตนเองว่าใช่จริงหรือเปล่า
ถ้าท่านว่าไม่ใช่ แต่เราว่าใช่ ก็มาตรวจสอบว่าเราใช่จริงหรือเปล่า

ที่สำคัญก็คือ ถ้าเราคิดว่าใช่ แล้วมารู้ทีหลังว่าไม่ใช่
ก็อย่าท้อแท้จนเตลิดเปิดเปิงเลิกปฏิบัติไปเลย ก็แล้วกันครับ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 23 พฤศจิกายน 2543 09:39:33



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 21, 2010, 09:09:17 AM
ขอให้ช่วยแนะนำแหล่ง(ผู้รู้)เพื่อสอบถาม เป็นส่วนตัวด้วย
และขอเป็นทางอีเมล์เพราะเดินทางไกลไม่ไหว
โมทนาบุญ  ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 21, 2010, 11:37:41 AM
วันนี้ ท่องเว็บได้ข้อความเพิ่มความรู้ด้านอริยสัจจ์มาล้างความอยาก ดังนี้

หลวงพ่อปราโมทย์: เรียนธรรมะเรียนง่ายๆนะ เรียนแบบเป็นกันเอง สมัยพุทธกาลนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ก็สอนธรรมะได้ อยู่ที่ไหนก็พูดกันได้ธรรมะ ธรระมจริงๆเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนอะไร ฆราวาสก็ทำได้นะ ฆราวาสทำให้ถึงมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เรื่องที่ว่าเหลือวิสัยทำไม่ได้ แต่ว่าต้องจริงจังหน่อย แต่จริงจังก็ไม่ได้จริงจังแบบวัวแบบควายนะ เอาแรงเข้าทุ่ม ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าสอนหลักไว้แล้ว เราจะมาทำนอกหลักพระพุทธเจ้าแล้วก็จะบรรลุอะไรอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนเสียก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจจ์ นี่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดของท่าน.......... อริยสัจจ์มีเรื่องทุกข์ คำว่าทุกข์ก็ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ ต้องเรียนนะ ...........ทุกข์ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์คือกายกับใจ ท่านบอกว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ว่าโดยสรุปขันธ์ ๕ คือตัวทุกข์ ทุกข์ให้ทำอะไร ทุกข์ให้รู้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราเนี่ย รู้กายรู้ใจลงไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำอย่างอื่นกับกายกับใจนะ หน้าที่คือรู้กายรู้ใจ ถ้าเรารู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งเนี่ยถึงจะละอวิชาได้ อวิชาคือความไม่รู้ทุกข์นั่นเอง คือไม่รู้ว่ากายกับใจนี้เป็นตัวทุกข์ เราไปคิดว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เป็นตัวดีตัววิเศษ แต่ถ้าเรามา.....เจริญสติรู้กาย เจริญสติรู้ใจ รู้มากเข้าๆเราจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจนี้ตัวทุกข์ล้วนๆ พอมันเห็นกายเห็นใจเป็นตัวทุกข์แจ่มแจ้งปุ๊บ สมุทัยจะเป็นอันถูกละอัตโนมัติเลย.........  ฉะนั้นรู้ทุกข์เมื่อไหร่ สมุทัยถูกละเมื่อนั้น ... จำไว้นะ ไม่ใช่ว่าละสมุทัยเมื่อไหร่ พ้นทุกข์เมื่อนั้นนะ ธรรมะมันคนละระดับกัน

พวกเราเรียนธรรมะมันมีหลายขั้นตอน อย่างคนทั่วๆไปเนี่ย สมุทัย คนทั่วๆไปเห็นว่า ถ้ามีความอยากแล้วไม่สมอยากแล้วจะทุกข์ ถ้าสมอยากแล้วไม่ทุกข์ เนี่ยคนทั่วๆไปเห็นได้แค่นี้ ตื้นมากเลย ถ้ามีความอยากแล้วก็ไม่สมอยากแล้วทุกข์ นักปฏิบัติจะละเอียดขึ้นมาหน่อย เห็นว่าถ้ามีความอยากเมื่อไรก็มีความทุกข์เมื่อนั้น จะสมอยากหรือจะไม่สมอยาก แค่มีความอยากขึ้นมาจิตก็เริ่มดิ้นรน มันจะดิ้นนะ หมุนติ้วๆ ทำงานขึ้นมา เพราะฉะนั้นทันทีที่เกิดความอยากความทุกข์ก็เกิด แล้วก็เลยคิดว่า ถ้าไม่อยากเนี่ยความทุกข์ก็ไม่มี กายกับใจนี้ก็ไม่ทุกข์ ถ้าอยากแล้วจิตใจจะมีความทุกข์ขึ้นมา อย่างนี้ก็เรียกว่ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์จริง ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์จะรู้เลยว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ อย่างจิตใจของเราเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง จะมีความอยากหรือจะไม่มีความอยากมันก็ทุกข์โดยตัวของมันเอง

ธรรมะลึกมากนะ แต่เดิมเราไม่เข้าใจธรรมะอย่างนี้ เราก็ดิ้นรนแสวงหาไปเรื่อยๆ ทำอย่างไรจิตใจของเราจะมีความสุขถาวร ทำอย่างไรเราจะดีถาวร ทำอย่างไรจิตจะสงบถาวร เนี่ยเราเที่ยวค้นหา จิตที่ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ซึ่งมันไม่มีในโลกนี้ มันมีแต่ของไม่เที่ยง มันมีแต่ของเป็นทุกข์ มันมีแต่ของบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เราจะไปหาอะไรที่บังคับให้ได้ ควบคุมให้ได้ แล้วมีความสุขด้วย เป็นตัวเราด้วย เราไปหาสิ่งซึ่งไม่มี เพราะฉะนั้นการดิ้นรนค้นคว้า ที่ภาวนา ที่ปฎิบัติกันนั้นน่ะ ที่มุ่งเอาความสุข ความสงบ ของจิตของใจนี่นะ ไม่มีทางละอวิชาได้เลย

ท่านอาจารย์มหาบัวท่านวิจารณ์บอกว่า ภาวนาแบบนี้นะ กิเลสหนังไม่ถลอกเลย ไม่ถลอกจริงๆนะ ไม่ใช่แกล้งว่า เพราะอะไร เพราะมันภาวนาตอบสนองกิเลส ภาวนาเพื่อว่าวันหนึ่ง “กู”จะได้มีความสุขถาวร “กู”จะดีถาวร “กู”จะสงบถาวร ไปภาวนาเอาของซึ่งไม่มี เพราะว่าปัญญาเรายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์

ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์นี้นะจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าเห็นอย่างนี้ มันจะหมดสมุทัย หมดความอยากโดยอัตโนมัติ ตัณหามันจะเป็นอะไร้ ตัณหามันก็แค่ว่า อยากให้กายให้ใจมีสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ตัณหามันก็มีอยู่เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้นเมื่อใดเราเห็นกายเห็นใจนี้ทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง ถ้าเห็นอย่างนี้นะ ตัณหาจะถูกละอัตโนมัติ ไม่เกิดขึ้นมา ทันทีที่ตัณหาไม่เกิด ......จิตใจก็เข้าถึงสันติสุขในฉับพลันนั้นเลย สันติสุขก็คือนิพพาน หรือก็คือนิโรธนั่นเอง..............  ตัวสันตินั้นแหละ ตัวนิโรธ ตัวนิพพาน เมื่อไรจิตหมดตัณหาจิตก็หมดความดิ้น จิตที่หมดความดิ้นรนก็มองเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรนคือนิพพานปรากฎอยู่ต่อหน้าต่อตา

ในขณะที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้งจนกระทั่งละสมุทัยแจ้งนิโรธ ในขณะนั้นแหละเรียกอริยมรรค เพราะฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เกิดขึ้นในขณะจิตเดียวกัน ไม่ใช่ว่ารู้ทุกข์วันหนึ่ง ละสมุทัยวันหนึ่ง แจ้งนิโรธวันหนึ่ง ไม่ใช่ ....เกิดในขณะจิตเดียว......
สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๒
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๒

ขอบคุณ http://www.dhammada.net/category/before/ariyasaj/nirvana/

เนียะ......อะไรก็ .....เกิดขึ้นในขณะจิตเดียวกัน.......... อีกแล้ว 
ประเมินสถานการณ์ คือเมื่อจิตเห็นไตรลักษณ์ แล้วมันมีพลัง  ฟาดกิเลสที่ห่อหุ้มจิตไว้ ออกไปสัมผัส.....นิพพาน ได้ อย่างรวดเร็วใกล้หรือเท่าหรือเกินความเร็วแสง......
                                              โมทนาบุญ


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 21, 2010, 11:48:16 AM
พิจารณาความเรื่อง ปิติ และการเห็นไตรลักษณ์ ความเหมือนหรือความแตกต่าง


บทความนี้เป็นการย่อความจากคำบรรยายของท่านพุทธทาสเรื่อง “ สมาธิ วิปัสสนา ตามวิธีธรรมชาติ ” ซึ่งบรรยายไว้เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งธรรมสภาได้นำมาพิมพ์ใหม่เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีของการถือกำเนิดพระอริยสงฆ์นามพุทธทาส


......................................................................


               การบรรลุจุดสูงสุดในทางศาสนาพุทธ คือมีความสุขอย่างยิ่ง หรือก็คือนิพพาน เกิดได้จากการที่จิตมีสมาธิจนควรแก่การทำงานทางจิต นั่นคือใช้จิตในการพิจารณาธรรมต่างๆจนกระจ่างแจ้งและหลุดพ้นไปได้


              สมาธิที่ควรแก่งานทางจิต


              เกิดได้ ๒ วิธี คือ โดยตามธรรมชาติ หรือสมาธิที่เราใช้ในการทำงานตามปกติ และโดยการบังคับเอาด้วยเทคนิค เช่นการเจริญวิปัสสนาต่างๆ ท่านพุทธทาสให้ความเห็นว่า อย่าได้ดูแคลนสมาธิตามธรรมชาติ เพราะในพุทธกาล มีผู้บรรลุอรหันต์มากมายโดยวิธีนี้

               .



               สำหรับการสร้างสมาธิ วิปัสสนาโดยวิธีธรรมชาตินั้น


               กระบวนการเริ่มจากการศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาจนเข้าใจ  มองโลกอย่างถูกต้องตามเป็นจริง แล้วรักษาศีล คือปรับปรุงในเรื่องกายวาจาให้ดี แล้วก็ดำเนินสมาธิ


              แล้วการศึกษานั้น ควรศึกษาอะไร ?


              “ พระพุทธศาสนาคือวิชา หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ที่ว่ารู้อะไรเป็นอะไรนั้น คือ รู้ทุกสิ่งว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัตว์หลงไปในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ก็เพราะอำนาจของอุปาทาน จึงได้ติดแน่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ไตรสิกขา เป็นวิธีปฏิบัติสำหรับจะให้ตัดอุปาทานได้ และชี้บอกว่า ขันธ์ ๕ หรือส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกนี้เอง เป็นที่ตั้งเกาะของอุปาทาน ฉะนั้น เราจะต้องศึกษาให้รู้จักตัวขันธ์ห้า หรือโลกทั้งสิ้นนี้ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง จึงจะเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดชนิดที่เป็นญาณทัสสนะ ทำการปล่อยวางหลุดพ้นได้ ”

สมาธิที่ควรแก่งานทางจิต


              เกิดได้ ๒ วิธี คือ โดยตามธรรมชาติ หรือสมาธิที่เราใช้ในการทำงานตามปกติ และโดยการบังคับเอาด้วยเทคนิค เช่นการเจริญวิปัสสนาต่างๆ ท่านพุทธทาสให้ความเห็นว่า อย่าได้ดูแคลนสมาธิตามธรรมชาติ เพราะในพุทธกาล มีผู้บรรลุอรหันต์มากมายโดยวิธีนี้

               .



               สำหรับการสร้างสมาธิ วิปัสสนาโดยวิธีธรรมชาตินั้น


               กระบวนการเริ่มจากการศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาจนเข้าใจ  มองโลกอย่างถูกต้องตามเป็นจริง แล้วรักษาศีล คือปรับปรุงในเรื่องกายวาจาให้ดี แล้วก็ดำเนินสมาธิ


              แล้วการศึกษานั้น ควรศึกษาอะไร ?


              “ พระพุทธศาสนาคือวิชา หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ที่ว่ารู้อะไรเป็นอะไรนั้น คือ รู้ทุกสิ่งว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัตว์หลงไปในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ก็เพราะอำนาจของอุปาทาน จึงได้ติดแน่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ไตรสิกขา เป็นวิธีปฏิบัติสำหรับจะให้ตัดอุปาทานได้ และชี้บอกว่า ขันธ์ ๕ หรือส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกนี้เอง เป็นที่ตั้งเกาะของอุปาทาน ฉะนั้น เราจะต้องศึกษาให้รู้จักตัวขันธ์ห้า หรือโลกทั้งสิ้นนี้ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง จึงจะเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดชนิดที่เป็นญาณทัสสนะ ทำการปล่อยวางหลุดพ้นได้ ”


             เมื่อศึกษาอย่างถ่องแท้ เกิดทัศนคติที่ถูกต้องต่อธรรมชาติ จึงรักษาศีล สิ่งที่จะเกิดตามมาคือสิ่งที่เรียกว่า ปราโมทย์ และ ปิติ ในทางธรรม

              .


              ...ปิติ..ที่เกิดอย่างสม่ำเสมอนี้เอง เป็นตัวนำไปสู่สมาธิ


             นั่นคือ เมื่อทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทำทานหรือให้ธรรมทาน หรือพอใจในตนเองว่ารักษาศีลจนตนไม่ด่างพร้อย ก็เกิดความเคารพตนเอง จึงเกิดความปราโมทย์ และ ปิติ ขึ้น


             ปิตินั้นมีอำนาจอยู่ในตัวอย่างหนึ่ง คือทำให้เกิด ปัสสัทธิ ความสงบระงับ เมื่อมีความสงบระงับ ก็ย่อมเกิดสมาธิ คือจิตอยู่ในสภาพที่เป็น กมฺมนิโย  อันเป็นจิตที่มีสมาธิที่แท้จริงในการปฏิบัติธรรมจนเกิดปัญญาเพื่อตัดกิเลส


            เมื่อพิจารณา...ไตรลักษณ์..ด้วยปัญญาอย่างสม่ำเสมอ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่เกิดตามมาคือยถาภูตญาณทัสสนะ หรือก็คือที่ท่านสรุปสั้นๆคือเห็นว่า ไม่มีอะไรน่าเอา ไม่มีอะไรน่าเป็น


            จนเมื่อความรู้สึกแรงกล้าขึ้น ก็จะเกิดนิพพิทา หรือความเบื่อหน่าย อยากปลดเปลื้องตนเองจากการเป็นทาสกิเลสขึ้น ตามสัดส่วนของการเห็น


             เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมเกิด วิราคะ หรือความคลายกำหนัดตามมาเองโดยธรรมชาติ
สิ่งที่ตามมาคือ วิมุตติ คือความหลุดออกได้


             เมื่อมีความหลุดออกได้ ไม่ตกเป็นทาสของโลกอีกต่อไป ก็จะมีอาการที่เรียกว่า วิสุทธิ คือบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง


             เมื่อบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า สันติ คือความสงบอันแท้จริงสืบไป เป็นความร่มเย็นที่ปราศจากการรบกวน ปราศจากการดิ้นรนต่อสู้


            ...จากสันติ ก็คือนิพพาน...  ท่านพุทธทาสว่าสันติกับนิพพานนี้แทบจะไม่ต้องแยกกัน ที่แยกกันก็เพื่อจะได้เห็นว่าเมื่อสงบ ก็นิพพาน


            “ สรุปความว่า สมาธิ และวิปัสสนาตามธรรมชาติที่ทำให้บุคคลบรรลุมรรคผลได้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตรงที่นั่งฟังนั้นเอง และเป็นวิธีที่เหมาะกับทุกคนนั้น ตั้งอาศัยอยู่บนรากฐานแห่งการพิจารณาความจริงในข้อที่ว่า ไม่มีที่น่าเอาน่าเป็นอยู่เป็นประจำทุกวัน

             .

             ผู้หวังจะได้ผลอันนี้จะต้องพยายามทำตนให้เป็นคนสะอาด มีอะไรเป็นที่พอใจตัว จนยกมือไหว้ตนเองได้ มีปิติปราโมทย์ตามทางธรรมอยู่เสมอ ไม่ว่าในเวลาปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือเวลาพักผ่อน ปิติปราโมทย์นั้นเองทำให้เกิดความแจ่มใสสดชื่น มีใจสงบระงับ เป็นปัสสัทธิ เป็นเหตุให้มีสมาธิตามธรรมชาติอยู่อย่างอัตโนมัติ จนเห็นความจริงที่ว่า ไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็นอยู่เสมอ

            .

            ขณะใดเป็นไปแรงกล้า จิตก็หน่าย คลายกำหนัดจากสิ่งที่เคยยึดถือ หลุดออกมาได้จากสิ่งที่เคยยึดถือ แม้แต่การยึดถือว่าเป็นตัวตน หรือของตน ไม่มีความหลงอยากในสิ่งใดด้วยกิเลสตัณหาอีกต่อไป ความทุกข์ไม่มีที่ตั้งอาศัย ก็สิ้นสุดลง ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ไม่มีอะไรที่จะต้องทำให้เพื่อให้ตนพ้นทุกข์อีกต่อไป นับว่าเป็นของขวัญที่ธรรมชาติมีไว้สำหรับทุกคนโดยแท้จริง”


              และขอนำคำบรรยายของพระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) มาเพิ่มเติมไว้ดังนี้


              “ กล่าวคือ ในกระบวนการปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้ผลก้าวหน้าไปสู่จุดหมายนั้น ท่านจะกล่าวอยุ่เสมอถึงองค์ธรรมต่างๆที่จะเกิดตามกันมาเป็นชุด ได้แก่ เกิดความแช่มชื่นเบิกบาน ( ปราโมทย์ ) แล้วก็...เอิบอิ่มใจ ( ปิติ)... จากนั้นกายใจก็ผ่อนคลาย ( ปัสสัทธิ) ความสุขก็เกิดตามมา ( สุข ) แล้วจิตกํตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ( สมาธิ ) ต่อแต่นั้นก็สามารถเกิดญาณทัสสนะ ตลอดไปจนถึง...วิมุตติ คือความหลุดพ้นไปในที่สุด....  ”

..........................................................................


อ้างอิง


พุทธทาสภิกขุ วิธีชนะความตาย ( หน้า ๑ – ๓๕ ) ธรรมสภา ๑ / ๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร


พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยุตฺโต )  รู้หลักก่อน ( หน้า ๖๔ ) ธรรมสภา ๑ / ๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ขอบคุณ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=379931

..
.....ประเมินจากบทความนี้คือ ปิติก่อน ตามด้วย สมาธิ เห็นไตรลักษณ์ และนิพพาน......
โมทนาบุญ



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ สิงหาคม 21, 2010, 08:42:13 PM

OK...That is the RIGHT way.

ฝากให้ท่านไปพิจารณา โพชฌงค์ ๗ อีกนิดด้วยครับ  :)

 
 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 22, 2010, 10:18:09 AM
            ระหว่าง การปฏิบัติธรรม เช่นการเดินจงกรม ผลที่ได้ คือ
               1.  ศีลคือการสำรวมกาย+วาจา
                        2.  สมาธิ คือการสำรวมใจ(ลงที่ท่าเดิน)
                                  3.และป้ญญา คือการที่จิตรู้(ว่ารูปเดิน+ความรู้สึกว่าเดิน....เป็นไตรลักษณ์)


            อย่างนี้ใช่หรือ    ;D


และนั่นคือการละ อวิชชา (ตัดวงจรของปฏิจจสมุปปบาทได้โดยอัตโนมัติ)

          ใช่หรือ     ;D                     


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ สิงหาคม 22, 2010, 10:37:08 AM
ตัดวงจรของปฏิจจสมุปปบาทได้โดยอัตโนมัติ   

ไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติครับ ต้องเดินไปตามทางที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกไว้แล้วครับโดยถูกต้อง และจะตัดได้เด็ดขาดก็ตอนที่เป็นพระอรหันต์เท่านั้นครับ

ใจเย็นๆนะครับ ลองศึกษาเพิ่มเติมให้แจ่มแจ้งใน สติปัฏฐาน ๔ ,อริยสัจสี่, ปฏิจจสมุปบาท

สิ่งที่สุดยอดเหนือคำบรรยายเช่นนี้ ต้องละเมียด และปราณีตสุดยอดเหนือคำบรรยายเช่นกันครับ



(ระวังติดฟุ้งในธรรมไว้เล็กน้อยครับ...ด้วยความปรารถนาดีครับ)

 

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 22, 2010, 01:36:58 PM

             อันนี้เรียก .....อยากรู้+มานะ...... ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 24, 2010, 09:35:07 AM
โมทนากับการปฏิบัติ และ ภาวนา ด้วยครับ ท่าน AVATAR และท่าน ผู้เล็งเห็นทุกข์

กัลยาณมิตร ล้วนสำคัญยิ่ง


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 27, 2010, 11:48:33 AM
โมหะ  ละได้ยาก  จริง

เพราะทุกข์จากการต้องเลี้ยงกาย ..นี้

กายนี้ไม่ใช่ตัวตน...แต่...พิจารณาแยกธาตุ 4 ยังไม่ออก
 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 27, 2010, 11:54:07 AM
ค่อยๆ เก็บคะแนนไปนะครับ ท่าน ผู้เล็งเห็นทุกข์

งานปฏิบัติธรรม เป็นงานประณีต อ่าเน๊อะ

สู้ๆ ครับผม


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 04, 2010, 11:21:50 PM
ค่อยๆพิจารณาไปครับ...ไม่ได้พิสดารพันลึก,ซับซ้อนวซ่อนเงื่อน,หรือมหัศจรรย์เหนือจินตนาการแต่อย่างใด..,เรื่องในพระไตรปิฎกอาจมีบางส่วนที่มีอภิญญาและอภินิหารบ้าง ทำให้เราคิดว่ายาก ...ก ซะจนเกินจะฝันหรือเกินจะกล่าวถึง...แต่จริงๆแล้วไม่ยากขนาดนั้นหรอกครับ...

"พระโสดาบัน" ลองดูของภาคปริยัติบ้างไหมครับในพระไตรปิฎก...


ในพระไตรปิฎกได้แสดงการพยากรณ์ตนเอง ของผู้บรรลุธรรมไว้เพียง ๒ ระดับ คือ พระโสดาบันและพระอรหันต์
เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาวะของบุคคลผู้ได้บรรลุธรรมขั้นแรก กับขั้นสุดท้ายในพระพุทธศาสนาว่าเป็นอย่างไร
โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการพยากรณ์ของผู้บรรลุธรรมขั้นสกทาคามีและขั้นอนาคามี

จากข้อมูลตรงนี้ สรุปได้ว่า "พระโสดาบัน"เป็นผู้ที่มีศรัทธามั่นคงหนักแน่นในพระรัตนตรัย ชีวิตจะไม่ตกต่ำอีก
จะไม่เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย ในอบาย ทุคติ วินิบาตอีกต่อไป แต่จะทำให้ได้บรรลุธรรมในขั้นสูงขึ้นอีก
ส่วนพระอรหันต์เป็นผู้บริสุทธิ์หลุดพ้นแล้วอย่างแท้จริงจากอาสวะทั้งหลาย เพราะรู้ถูกต้องจึงเป็นเหตุให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงนับว่าได้บรรลุประโยชน์ของตนอย่างเต็มที่


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 04, 2010, 11:24:30 PM
พระพุทธศาสนาได้แบ่งการบรรลุธรรมเป็น ๔ ระดับ ซึ่งแต่ละระดับในการบรรลุธรรม ต้องละกิเลสโดยเอากิเลสเป็นเครื่องกำหนดว่า
บุคคลนั้นได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับไหน ต้องละสังโยชน์ซึ่งเป็นกิเลสที่เป็นเครื่องรัดจิตไว้ มี ๑๐ อย่าง หรือที่เรียกว่า
สังโยชน์ ๑๐ ประการ  ได้แก่

๑. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าเป็นตัวตน เช่น เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน มีความเที่ยงแท้ยั่งยืน

๒. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องกรรมดี กรรมชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่

๓. สีลัพพตปรามาส คือ ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย มีความเห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ก็ด้วยศีลและพรต

๔. กามราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

๕. ปฏิฆะ คือ ความกระทบกระทั่งใจ,ความหงุดหงิดขัดเคืองใจ

๖. รูปราคะ คือ ความติดใจปรารถนาอยากเกิดในรูปภพ

๗. อรูปราคะ คือ ความติดใจปรารถนาอยากเกิดในอรูปภพ

๘. มานะ คือ ความสำคัญตน ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่

๙. อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน

๑๐. อวิชชา คือ ความหลงไม่รู้อริยสัจตามความเป็นจริง


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 04, 2010, 11:29:34 PM
    

...ลักษณะของคฤหัสถ์ผู้บรรลุโสดาปัตติผล : "พระโสดาบัน"

พระโสดาบันบุคคล
 หมายถึงผู้ถึงกระแสมรรคที่นำไปสู่นิพพาน เป็นอริยบุคคล ชั้นแรกใน ๔ ชั้นของพระพุทธศาสนา การบรรลุธรรมระดับนี้ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ

๒. วิจิกิจฉา

๓. สีลัพพตปรามาส


เมื่อพระโสดาบันบุคคลตายแล้วต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดในโลกอีก แต่ก็ไม่เกิน ๗ ชาติ โดยประเภทของพระโสดาบันนั้นมี ๓ คือ

๑. เอกพีชีโสดาบัน หมายถึง ผู้มีอัตภาพเดียว คือเกิดอีกครั้งเดียว ก็จะได้บรรลุอรหัตผลในชาติที่เกิดนั้น

๒. โกลังโกละ หมายถึง ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือเกิดในตระกูลอีกเพียง ๒-๓ ครั้ง หรือเกิดในสุคติอีก ๒-๓ ภพก็จะได้บรรลุอรหัตผล

๓. สัตตักขัตตุปรมะ หมายถึง ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือเวียนเกิดในสุคติภพ อีกอย่างมากเพียง ๗ ครั้ง ก็จะสามารถบรรลุอรหัตผล

"พระโสดาบัน"
---เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในขั้นสมาธิและปัญญาจัดเป็นบุคคลประเภทแรกที่ได้สัมผัสกระแสนิพพาน---

การได้ศึกษาและทำความเข้าใจสภาวะของพระโสดาบัน จะช่วยให้เกิดความแจ่มชัดถึงสภาวะของพระอริยบุคคลลำดับต่อไปได้ดียิ่งขึ้น
การศึกษาพฤติกรรมของพระอริยบุคคลยังบ่งบอกถึงสภาวธรรมของนิพพานว่ามีลักษณะอย่างไร  พอได้ไกด์ไลน์กันครับ


 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 04, 2010, 11:43:15 PM
โมหะ  ละได้ยาก  จริง

เพราะทุกข์จากการต้องเลี้ยงกาย ..นี้

กายนี้ไม่ใช่ตัวตน...แต่...พิจารณาแยกธาตุ 4 ยังไม่ออก
 ;D

นี่คือข้อสุดท้ายไงครับ...อภิมหาหัวหน้าโมหะ  ตัว ฉกาจฉกรรย์ที่สุดของที่สุด...อวิชชา

หมั่นฝึกกายและใจให้พร้อมครับ....!!!!

คุณๆได้เจอแน่...ถ้าจะผ่านด่านอรหันต์

คงมีคำพูดสั้นๆแค่นี้เท่านั้น.....นอกนั้นขึ้นอยู่กับคุณๆเองทั้งหมดแล้ว....."โชคดี ขอให้สมดังปรารถนาทุกท่านครับ"... :)

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 12, 2010, 12:38:28 AM
ละโมหะ ทำได้ด้วยการมีสติลงปัจจุบันซิเนาะ

เพราะมันช่วยละความคิด(ไปอดีต+อนาคต)ได้บ้าง

หรือตัดเรื่องสังขาร(กุศล+อกุศล) ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 12, 2010, 09:07:20 AM


การมีสติเพื่อให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วต้องเดินปัญญาต่อไป จึงจะครบสูตรครับ
ตามมรรค 8......สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ.รวมทุกองค์มรรคเพื่อเป็นฐานกำลังให้แก่ ปัญญา  ( อันนี้ความคิดของผมคนเดียวอย่าเพิ่งไปเชื่อนะครับ)

อภิมหาหัวหน้าโมหะ ตัว ฉกาจฉกรรย์ที่สุดของที่สุด...อวิชชา...อวิชชา คือ ความหลงไม่รู้อริยสัจตามความเป็นจริง

เข้าใจได้ด้วย ปัญญา และต้องเป็น ภวนามยปัญญาเท่านั้น

เมื่อเข้าใจท่านอภิมหาหัวหน้าโมหะแล้ว ท่านคงหลอกให้คุณๆหลงวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏนี้อีกต่อไปไม่ได้แล้วครับ  :)

 



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 12, 2010, 09:26:38 AM


มรรคทั้ง 8 เกิดพร้อมกันตอน เกิดอริยมรรคสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม โดยที่มี สัมมาสมาธิ เป็นแกนกลางเชื่อมทั้ง 7 เข้าด้วยกัน

----------------------------------------
หลวงพ่อปราโมทย์ จากหนังสือ แก่นธรรมหลวงปู่ดูลย์
______________________________________________________________________________________

อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

    * ข้อ3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
    * ข้อ6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
    * ข้อ1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) หลวงพ่อธี บอกว่าเป็นปัญญาที่ทำให้หลุดพ้นทุกข์

______________________________________________________________________________________

นำของครูบาอาจารย์มาให้พิจารณาด้วยครับ   :) 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 14, 2010, 12:55:55 AM
เอ..การมีสติลงปัจจุบันก็น่าจะได้ ทั้ง 3 เรื่องพร้อมก้นได้ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนี้

ศีล สำรวมกาย วาจา
             สมาธิ ความเพียรลงปัจจุบัน
                             และ ปัญญาที่รู้ความเปลี่ยนไปของกาย+ใจ (ไตรลักษณ์) ;D



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 14, 2010, 03:05:42 AM
ได้ครับ...ตามนั้น...
 

แต่ถ้าจะฝ่าฟันฟาดฟันเอากับของใหญ่ๆแล้ว...ต้องนำมาให้หมดครับ(มรรค8ประการตามทางที่ชี้ไว้) ตัวเดียวไม่พอครับ(สัมมาสติ) กำลังไม่พอ

ก็รู้อยู่แล้วนี่ครับนำมาให้หมดครับ...เดี๋ยวจะไปอ้างแบบข้างๆคูๆ เลียนแบบ...อ๋อ ผมขอมรรคเหลือมีแค่องค์ 4 ได้มั๊ยพระพุททธเจ้าข้า แล้วได้บรรลุอรหันต์เหมือนกัน

ใครๆก็ชอบง่าย ชอบดี ชอบที่สุด ชอบแบบเร็วๆ ชอบทางลัด...แต่ผมจะบอกว่ามันไม่มีลัดไปกว่านี้แล้ว...เพราะถ้าทำได้

ประกาศตนเป็นศาสดา...(ตั้งศาสนาใหม่หรือแอบอ้างเอาเองแล้วเรียกชื่อใหม่) ลูกศิษย์ในยุคนี้จะมีเพียบเลยครับ...เพราะยุคนี้ใครๆก็ชอบง่ายๆแล้วได้ผลเลิศเลย

ยุคนี้ก็มีเยอะครับ...ไม่ใช่ไม่มี...แต่มันไม่ใช่ทาง...!

 

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 15, 2010, 04:08:25 PM
ตามรู้
           ลงปัจจุบัน
                       ไปตามกำลัง  ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 17, 2010, 09:11:05 AM
  ข่าวหลวงพ่อปราโมทย์ 16 กย 2553

มันอะไรกันเนียะเรื่อง เงิน เงิน เงิน

รอดูผลไป เพราะ เคยทราบ มาว่า วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง

และ แม้น คนดี ทำดีแต่ไปขวางผลประโยชน์คนชั่ว ก็โดนจองเวรแล้ว.. ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 26, 2010, 12:56:18 PM
นิพพาน ตามหา จิต(ซน)ของลูกหลาน เจอแหง แหง

ไม่ใช่ จิต ตามหานิพพานเจอหรอก

เหมือน  ลูก(จิต)เลิกดื้อแล้วยอมให้แม่(นิพพาน)กอดนั่นแหละ(ปกติให้แต่คนอืน*กิเลส*กอด) ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 28, 2010, 03:15:10 PM
...วันนี้ก็แปลกอีก

เหมือนคนที่มีสภาวะคล้ายกัน  เริ่มหมุนเข้ามาหากันแล้ว

สนทนาธรรมกับอีก 1 ท่าน มีคนรอบๆ อีก 2-3 คน

 ระหว่างหากินเพื่อเลี้ยงกายที่แสนทุกข์ยากนี้*

...เดินจงกรมตอนตี 1 เสร็จ ตี 2 พระจันทร์มีรัศมีรอบๆ เป็นวงสีขาวนวล.. ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 09, 2010, 09:13:40 PM
หลวงพ่อกบ(หลวงพ่อใหญ่)




หลวงพ่อกบ (หลวงพ่อใหญ่)
หลวงพ่อกบเป็นใครมาจากไหน ไม่มีใครทราบแน่ชัด รู้จากคนใกล้ชิด คนแก่ในหมู่บ้าน ท่านบอกได้เพียงว่าเป็นพระธุดงค์ รูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว เชื้อสายจีน มาจากทางแม่น้ำน้อย ประมาณ ปี พุทธศักราช 2430 ได้มาจำวัดอยู่ที่วัดเขาสาริกา หมู่ ุ6 ตำบลสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นวัดเก่าๆ อยู่ในหมู่บ้านเขาสาริกา หมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากอำเภอบ้านหมี่ประมาณ 8 กิโลเมตร ในสมัยนั้นไม่มีรถ ต้องเดินทางด้วยเท้า เมื่อมาพักที่วัดนี้แล้วก็ไม่พูดกับใคร ได้แต่บำเพ็ญเพียรภาวนา เจริญสมถวิปัสสนา ไม่สนใจจะทำความรู้จักกับใคร แม้แต่กับพระภิกษุภายในวัด ท่านปฏิบัติเช่นนี้ประมาณ 10 ปี เริ่มมีคนพูดถึงกิติสัพท์ของท่านมากขึ้น โดยมีชาวบ้านต่างถิ่นเริ่มเดินทางมาหาท่าน มานมัสการ เอาภัตตาหารมาถวายท่านถึงวัด บางคนมาถามหาบอกว่าเคยใส่บาตร เคยสนทนาพูดคุยด้วย ทำให้ชาวบ้านเขาสาริการู้สึกแปลกใจ เพราะว่าท่านไม่เคยออกไปไหนเลย ทำไมคนต่างถิ่นรู้จักท่านได้อย่างไรยิ่งนานวัน ยิ่งมีผู้คนมามากขึ้น ท่านเองก็ยังไม่ยอมพูดคุยกับใครยังคงปฏิบัติเช่นเดิม ฉันภัตตาหารเพียงเล้กน้อย ใครนำเงินมาถวายท่านก็เผาเสีย ไม่สนใจใยดีกับแก้วแหวนเงินทองแต่อย่างใด ซึงหมายถึงเป็นการเผากิเลส

ประมาณปี พุทธศักราช 2450 วัดเขาสาริกาเริ่มทรุดโทรม พระย้ายไปจำวัดที่อื่นหมด เหลือเพียงหลวงพ่อกบองค์เดียว ทางการจึงได้ยุบวัดเขาสาริกา และให้หลวงพ่อกบลาสิกขาบท ท่านจึงนุ่งขาว ห่มขาวเป็นชีปะขาว แต่ยังคงปฏิบัติตามแบบอย่างพระทุกประการ เริ่มมีการพูดคุยกับผู้มานมัสการบ้างเล็กน้อย แต่การพูดคุยกลับเป็นว่าท่านรู้ความคิดผู้ที่คุยด้วยว่าต้องการอะไร มีชายคนหนึ่งที่ท่านบอกให้เดินทางไปทำมาหากินทางเหนือ ปรากฎว่าภายหลังชายคนนั้นได้เป็นเจ้าของกิจการใหญ่โต มาทุกวันนี้ และทุกวันชายคนนี้ยังคงกราบไหว้ นับถือหลวงพ่อกบมาเท่าทุกวันนี้ มีอยู่วันหนึ่งขณะที่ท่านบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ได้เกิดฝนตก ฟ้าร้องอย่างหนัก บรรดาลูกศิษย์เตรียมตัวหนีออกจากกุฏิ เพราะเกรงว่าจะพัง ท่านบอกว่าไม่ต้องไปเดียวก็หยุด พักเดียวฝนก็หยุด และมีเสียงกบร้องลั่นทุ่ง หลวงพ่อรู้เท่าทันความคิดของศิษย์จึงบอกให้ไปจับกบมาแกงกิน ลูกศิษย์ดีใจจึงไปไล่จับกบ แต่กลับไม่ได้เลยสักตัวเดียว หลวงพ่อจึงไปจับให้เอง เดี๋ยวเดียวได้กบมาเต็มตะค่อง ส่งให้ลูกษิศย์ แล้วสั่งว่าถ้ากินไม่หมดให้ปล่อยไป ลูกศิศย์ไม่เชื่อแอบเอาใส่ไหซ่อนไว้ พอรุ่งเช้ากลับกลายเป็นใบไม้ สร้างความงุนงงให้กับบรรดาลูกษิศย์เป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาของชื่อหลวงพ่อกบ
หลวงพ่อกบท่านได้สอนเป็นปริศนาธรรมไว้หลายอย่าง เช่น ชั่งเขา ชั่งมัน การเขียนเลข ๑ หรือกากบาทตามภาชนะเครื่องใช้ ท่านยังบูชาไฟลูกศิษย์จึงได้นำน้ำมัน และตะเกียงมาถวายมากมาย สิ่งของที่ท่านได้มาก็จะทำการเผาทิ้งหมด เพราะว่าสิงของทั้งหมดเป็นกิเลส กุฏิที่ท่านพักอาศัยก็ทำด้วยไม้ไผ่สับฟาก โดยบอกว่ามีหูมีตา ท่านจะมองเห็นข้างนอกได้ดี และนำหินมากองใต้กุฏิและบอกว่าท่านได้อยู่บนเขาแล้ว เวลาฉันภัตตาหารก็จะเทเศษอาหารที่เหลือให้กับนกหนูที่อยู่ในกองหินนั้นเป็นประจำ ซึ่งแสดงว่าท่านได้ละซึ่งกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ไม่สนใจใยดีกับสิ่งนอกกาย สร้างบารมีโดยการให้ทาน และมีครั้งหนึ่งที่ท่านได้นอนตากแดดเจ็ดวันเจ็ดคืน โดยไม่เป็นอะไรเลย ผู้คนเชื่อว่าท่านสามารถแยกร่างได้

เมื่อถึงพุทธศักราช 2497 ท่านได้ละสังขารที่กุฏิวัดเขาสาริกานั่นเอง เป็นที่น่าแปลกใจที่หลวงพ่อโอภาสี จากสำนักพุทธญาณโอภาสี บางมด มีญาณหยั่งรู้ถึงกันว่าหลวงพ่อกบละสังขารแล้ว และท่านได้มาจัดการฌาปนกิจศพให้กับหลวงพ่อกบด้วย เชื่อกันว่าทั้งสองท่านได้ติดต่อกันทางจิต กลุ่มศิษย์หลวงพ่อกบจึงได้ตั้งเป็นสมาคมศิษย์หลวงพ่อเขาสาริกา มีกิจกรรมทางศาสนาสืบต่อกันมาจวบเท่าทุกวันนี้

**เนียะ อาจารย์ปู่ของเฮา **

ท่านพูดน้อย แล้วทำไมเฮามันตรงกันข้ามเลย ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 25, 2010, 01:42:06 PM
ทุกข์ มี แต่ไม่มีผู้ใดทุกข์

เหตุของทกข์มี แต่ไม่มีผู้ใดรับเหตุของทุกข์

นิพพานมี แต่ไม่มีผู้ใดถึงนิพพาน

ทางเดินให้พ้นทุกข์มี แต่ไม่มีผู้ใดเดิน

.... ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 25, 2010, 04:51:18 PM
ยิ่งเดินทาง
 
  เพื่อการเรียนรู้ สภาวะของกาย และ ใจ

                ยิ่งพบอุปสรรค ที่ ละเอียดอ่อน   แยบคาย  และทรงภูมิ มากขึ้น

ตามที่...อาจพอทราบกันมาแล้วว่า พญามาร เป็นถึงพรหม ชั้นสูง

จิตละเอียด ปราณีต ที่สุด แต่ยังติดความ สงบ อยู่ร่ำไป

วิธีการ แก้ไข การติดสงบ คือการกำหนด/ตาม รู้ ให้เห็นไตรลักษณ์ ของทุกๆ สภาวะอารมณ์ ให้ได้

 *การนั่งสมาธิ ที่ระยะแรกๆ ที่เรียกว่า วิตกวิจารณ์ นั้นหรือระดับฌาน1 ก่อน จิตจะมีการพัฒนาการ/เปลี่ยนแปลง เรื่องที่คิด /ให้รู้ว่าเปลี่ยน

เรื่องคิด

           หรือมาดูของเล่นเดิมของจิต ..ที่อาการ ของ รูปท้องพอง+ยุบ  ต่อมาเมื่อจิตไต่เพดานบินไปที่ฌาน2 ก็ให้จิตตามรู้ว่าจิตค่อยๆ


เปลี่ยนไป(ยากมาก ก ก) ส่วนใหญ่จะวุบวับ ๆ ไม่รู้ตอนเปลี่ยน รู้เอาตอนที่ไปถึงฌาน 2เสร็จแล้ว


.. ;D



                                 

             


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 25, 2010, 09:53:01 PM
เมือต้องการตรวจสอ บ โลภะ ดทสะ โมหะของตน

ให้ดูอาการที่จิตกระเพื่อมเมื่อกระทบผัสสะ ต่างๆ ถ้ายังไม่สงบเย็น ยังแย่ ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 28, 2010, 09:27:52 PM
จิต เจตสิก รูปและ นิพพานเป็น ปรมัตถธรรม

.. ;D



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 28, 2010, 09:31:40 PM
ต้องการ...ให้

 ผู้ป.ธรรม แล้วเกิดความก้าวหน้าในการรู้ทุกข์


มาสนทนากันเกี่ยวกับสภาวะที่เป็นหนทางของการสัมผัสกระแสพระนิพพาน ;D



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 30, 2010, 07:48:36 PM
จุดแตกหัก ของกิเลส

เพื่อให้สภาวะธรรม ที่เรียกว่า พระนิพพาน

เข้าสัมผัสจิตได้

เป็นผลมาจาก การป.ธรรม อย่างถูกต้อง (ไหว้พระ สวดมนต์  เดินจงกรม ทำสมธิ ) 

คืออาการที่จิต เห็น(ความจริงตามธรรมชาติ)พระไตรลักษณ์ของกาย/จิต
... ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 12:37:00 PM
สติทางโลก คือการมีชีวิตประจำวันตามปกติ


การเจริญสติ คือ ให้จิตรู้ ตามกาย และจิต ที่เปลียนแปลงไป(ตามอิริยาบท  4 คือ ยืนเดิน นั่ง นอน แต่ การเจริญสติจะไม่ก้าวหน้า มากเท่า

กับผู้ที่มีการทำสมาธิในรูปแบบ คือการเดินจงกรม นั่งสมาธิ)


เมื่อชำนาญการ แล้ว  จิตจะพัฒนาเป็น สัมมาสติ (โดยไม่ต้องคิด จงใจ หรือกำหนด    อาจเรียกว่า เป็น อัตโนมัติ)


 เมื่อสัมมาสติ  คือ การที่  จิตเชื่อหรือ รู้ว่า      กาย+จิตเป็น ไตรลักษณ์ จริง . ;D




หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ธันวาคม 13, 2010, 10:45:21 PM
อ่านแล้ว รู้ด้วยสมองไม่ผ่าน

อ่าน แล้ว ทำ  รู้ด้วยจิต



...........................................ผ่าน* ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ธันวาคม 19, 2010, 03:30:15 PM
อาการ ปิติ น้ำตาไหล เมื่่อทำสมาธิ จิตไปอยู่ที่ฌาน 2

ต่างจาก อาการที่จิต รู้ /สัมผัส  กระแสพระนิพพาน


เนื่องจาก มีความต่างกันเยอะ เลย

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ธันวาคม 19, 2010, 07:30:26 PM


เป็นดังนั้นแล...

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ธันวาคม 29, 2010, 11:53:52 AM
สมาธิ มี 2 อย่าง

สมาธิ ในฌาน

สมาธิใน วิปัสนา ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ธันวาคม 30, 2010, 11:45:10 PM
ถามว่า

      1.จิตพบนิพพาน

               หรือ

              2. นิพพานพบจิต 

                   
                                     3. ไม่รู้







                                      4.  ยัง งง ๆ**
;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ธันวาคม 30, 2010, 11:46:20 PM
ข้อเลือกต่อไป 

              5.  ต่างฝ่ายต่างพบกัน  อิ อิ ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ธันวาคม 31, 2010, 05:01:07 AM
ให้ฟุ้งไปก่อน... :)


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มกราคม 02, 2011, 09:34:39 PM
ใคร  ที่ว่า  ฟุ้ง  เนียะ ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มกราคม 05, 2011, 12:00:22 AM


ทุกผู้ทุกนาม...ที่ยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร...รวมทั้งผมด้วย... ;)


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มกราคม 15, 2011, 06:19:07 PM
ช่างมัน เหอะ เราไม่ได้ทุกข์คนเดียว

อยู่ไปโดยรู้ กายใจ โดยมีคุณธรรมกันไป

ว่างก็ มีสติ ดูกาย ใจไป


อะไร ๆ ก็เป็นไตรลักษณ์ ทั้งนั้น เว้น แต่ใจที่มีอารมณ์นิพพาน เท่านั้น


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มีนาคม 11, 2011, 12:46:26 AM
ความประมาท  และความย่อหย่อนต่อ กำลังทั้ง 5 ได้แก่ ศรัืทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา


ไม่ใช่หนทางที่ ช่วยให้เรา พ้นทุกข์ ได้เลย ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มีนาคม 11, 2011, 12:57:43 AM
นิพพาน  อยู่รอบๆ กาย นี้เอง

เพียงแต่ ใจ นี้ จะมีประิสิทธิภาพพอ ที่ จะสัมผั ส ได้

หรือเปล่า

คำว่า ประสิทธิภาพ ครือ จิต ที่ ผ่านกระบวนการ ชำระกิเลส ให้เบาบางลง ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

ได้แก่วิถีีแห่ง มรรค 8

 ******************************** ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มีนาคม 13, 2011, 10:13:38 PM
หลวงพ่อ..... : ที่พวกเราทำอยู่ทุกวันนี้นะเรียกว่า “เบื้องต้นแห่งมรรค” ยังไม่ใช่ตัวมรรค เบื้องต้นของมรรค หรือ “บุพภาคมรรค” มรรคในส่วนเบื้องต้น คือการที่หัดเจริญสติรู้กายรู้ใจไป อาศัยการหัดรู้กายรู้ใจเนี่ยก็ค่อยๆเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา แก่รอบขึ้นเป็นลำดับๆไป สุดท้ายก็จะแจ้งเลย ขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์ ขันธ์ ๕ ตัวสุดท้ายนะ ที่ใจยอมรับว่าเป็นตัวทุกข์ก็คือตัวจิต

พระอนาคาฯยังเห็นว่าจิตเป็นตัวสุขอยู่ เพราะอะไร เพราะพระอนาคาฯมีสมาธิบริบูรณ์ จิตตั้งมั่น เด่นดวง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ทั้งวันทั้งคืนอย่างนั้นเอง ไม่ต้องรักษาด้วย ก็เลยรู้สึก โอ้..ตรงนี้ดีจังเลย ถ้าเมื่อไหร่ตรงนี้หายไปนะก็เป็นทุกข์ ถ้ายังอยู่กับจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็มีความสุข นี่เรียกว่าปัญญาไม่แก่รอบนะ ยังเห็นว่าจิตผู้รู้เป็นตัวสุขอยู่ ถ้าเป็นจิตผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ถึงจะเป็นตัวทุกข์ ถ้าปัญญาระดับพระอรหันต์นะ จะเห็นว่า ขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มีนาคม 15, 2011, 09:06:58 AM


ครับผม ขอบพระคุณครับ...

คล้ายๆสไตล์ หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชโช

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มีนาคม 16, 2011, 12:57:31 AM
อิ อิ

ลอกมาให้ดู     ก๊ า บ บ บ


 ;D

ดี   อะ เป่า


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มีนาคม 17, 2011, 02:33:57 PM
สำหรับทกคนที่ยังเกลืกกลั้วอยูกับความทุกข์ ไม่เว้น เลย แม้แต่ เรา (ตอนนี้ ยังใช้ประโยชน์อยู่)

I have surrendered Lord thy God who has the region that
This is far from the passion.
Liked by his own enlightenment.


 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ เมษายน 11, 2011, 12:39:46 AM
หลวงพ่อ...ท่านว่า


จิตพระโสดาบัน  เปรียบเหมือน สระน้ำที่มีจอกแหน(กิเลส)ปกคลุมอยู่

และเมื่อปฏิบัติธรรมถึงแล้ว จะมีอาการเหมือนมีการเอาไม้เรียวฟาดผลั๊ะ แหวกจอกแหนนั้น  (วัมผัสกระแสนิพพาน)


แล้ว เจ้าจอกแหนที่ว่า   ก็  ปิดเข้าอย่าง  เดิม

ใครรู้มั่ง ว่า อะไร ที่เรียกว่าไม้เรียว 

(จำไม่ได้ว่า เฉลยไปหรือยัง)


 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ เมษายน 11, 2011, 12:42:00 AM
แก้หน่อย


(สัมผัส กระแสนิพพาน)


เติมด้วยว่า


เร็วเท่า ช้างกระดิกหู  งูแลบลิ้น   ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ เมษายน 13, 2011, 08:35:12 PM
****

บางท่าน กล่าวว่า เหมือน เอามีดเล่มเล็กๆ บางๆ กรีดเข้าไปที่สระน้ำที่มีจอกแหนนั้นปิดอยู่


... มีด อัน นั้น ..............คือ .............อะไร ใครรู้มั่ง ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ เมษายน 13, 2011, 10:15:32 PM
ก็แล้วแต่จะเปรียบเทียบครับ
แต่ถ้าให้ผมเปรียบ ผมเอาเป็นปาก้อนหินลงไปดีกว่าครับ เพราะมันจะมีเหตุการณ์ต่อเนื่องกันหลายอย่าง
คือมีเสียง น้ำแตกกระจาย เกิดคลื่นความสั่นสะเทือน แหนแหวกออก แต่ถ้าสระที่มีแหนน้อยๆ มันก็จะแตกกระจัดกระจายออกไป ไม่มารวมกันอีก

เอาจากพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าเปรียบไว้ดังฟองไข่ ที่ลูกไก่โตพอแล้วจะเจาะเปลือกไข่ออกมาได้เอง เหมือนที่ผมเคยโพสต์ไปเมื่อปีที่แล้วครับ




หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ เมษายน 15, 2011, 02:16:42 PM
วงจร

                ของ   


                          เหตุ 


                                           และ 

                                                             
ผล************* ซี

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ เมษายน 17, 2011, 02:12:35 AM


บางครั้งรู้ แต่อธิบายไม่ได้
บางครั้งอธิบายได้ แต่มันยาวขี้เกียจพิมพ์
บางครั้งรู้แล้ว แต่อธิบายไปก็ไม่มีใครเข้าใจ
บางครั้งรู้แล้ว แต่แกล้งทำไม่รู้บ้าง เพื่อให้คนอื่นรู้ด้วย...
...และบางครั้งรู้ แต่ไม่รู้ว่าอะไร.....!!!


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ เมษายน 19, 2011, 01:03:28 AM
 ใช่  บางอย่าง

ในบาง เวลา ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ พฤษภาคม 09, 2011, 09:45:12 AM
นิยายธรรม เกี่ยวกับชีวประวัติของหลวงพ่อวัดป่ามะม่วง(อัมพวัน)


ท่านปฏิบัติธรรมฝ่าฟันกิเลส ขนาดไหนทราบไหม


เดินจงกรม /นั่งสมาธิ   อย่างละ2 ชั่วโมง/วัน

วันต่อๆไปเพิ่ม อีกอย่างละ2 ชม. จนถึง 8 ชม

และทนต่อเวทนา แบบยอมตาย หรือเรียกว่า นิพพานอยู่เลยยอมตาย(จริงๆ) นั่นเทียว


และ ก่อนทำขนาดนี้ ท่านเข้าผลสมาบัติได้แล้ว ................;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: worata4944 ที่ พฤษภาคม 16, 2011, 11:04:21 PM
เห็นอารมณ์หงุดหงิดผุดขึ้น (รู้โดยไม่ได้ตั้งใจจะรู้) ความหงุดหงิดเหมือนอยู่ห่างๆ   และรู้อย่างเป็นกลาง (ปฏิบัติมารู้เลยครั้งนี้เป็นกลางที่สุด) แล้วจิตก็รวมนิ่งสงบ จากนั้นมีแสงแหวกออกบริเวณอก เป็นแสงที่สว่างมากในแว่บแรกที่สัมผัส  ตัดขาดจากโลกภายนอก เฝ้าดูแสงที่ไร้ขอบเขต รอบทิศทาง   สงบเย็น  ไร้เวลา ไร้ตัวตนขันธ์ห้า มีแต่ธาตุรู้ที่เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาตินั้น (คล้ายๆเราดำน้ำตัวเราอยู่ในน้ำเป็นส่วนหนึ่งของน้ำ เปรียบเทียบพอให้เห็นได้เท่านี้ครับ ส่วนสื่งที่ได้สัมผัสมานั้นลึกซึ้ง หาคำมาบรรยายยาก) จากนั้นธาตุรู้รับรู้ว่ามีอะไรบางอย่างสั่นไหวประมาณ 2 ครั้ง แต่ไม่รู้ว่าอะไร  จากนั้นจิตก็ถอนออกมาสู่โลกปกติ (มีสติตลอดสาย) แล้วย้อนทวนสิ่งที่เกิดขึ้น
จากที่เล่ามานี้เกิดขึ้นเพียงแว่บเดียว สังเกตุจากคนรอบตัวก็ไม่เห็นถึงความผิดปกติอะไร (แปลกครับเวลาอยู่ในนั้นเหมือนนาน อาจเป็นเพราะ ไร้เวลา)

เป็นเพียงประสบการณ์ที่สัมผัสมาครับ   :D
 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ พฤษภาคม 17, 2011, 01:31:52 AM
ทุกอย่าง เกิด ขึ้น แล้ว ดับไป

ล้วนแล้วแต่ เข้าสู่กฎของพระไตรลักษณ์  ทุกขัง อนัจจัง และอนัตตา

ที่เราไม่ควรไปยึดมั่น ถือมั่น ว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของๆเรา


...

ที่ท่านพบมาเป็นสภาวะธรรมหนึ่ง(ถูกรู้)  ที่ มีผู้รู้

และ  จบไปแล้ว ว ว ว ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 06:38:48 PM
ลองอ่านนี่ดูหน่อยก็ดีครับ

หลักธรรมจากพระโอษฐ์ เพื่อตรวจสอบความเป็นโสดาบันของตน ด้วยตนเอง พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

เพื่อต้องการให้นักปฏิบัติ ทั้งหลาย ทราบถึง แง่มุมความเป็นอัจฉริยะจิต ของบุคคลผู้สามารถ เอาชนะความตาย หลุดพ้นจากการเวียนว่าย เกิด ตาย ในสังสารวัฎฎ์ สามารถนำไปตรวจสอบตนเอง ภายใต้ หลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเดินมาอย่างถูกต้อง ถูกทาง ก้าวหน้าไปแค่ไหนอย่างไร โดยไม่ต้อง พึ่งพาผู้อื่นมาตัดสินให้ สมดังที่พระองค์ตรัสว่า ให้บุคคลทั้งหลาย พึ่งตน พึ่งธรรม อาตมาจึงได้รวบรวม คุณธรรมความเป็นโสดาบัน ในแง่มุมต่างๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้

ตามลิ้งนี้ครับ http://www.watnapahpong.org/BuddhaQuoteItem.aspx?item_code=2acc0419-6af1-4dc0-bfd4-8164cfade598


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 07:39:00 PM
ขอบคุณธรรมะดีๆ ครับพี่ต่าย

หายไปนานเลยนะครับพี่ต่าย งานยุ่งป่ะครับผม


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ พฤษภาคม 26, 2011, 12:24:54 AM
ก็คิดว่ากำลังจะเข้าที่เข้าทางครับ

ไม่น่าจะเกินปลายปีนี้คงหมดภาระไปอีกเปราะครับ

ขอบพระคุณน้องกอล์ฟครับที่เป็นห่วง ร่างกายแข็งแรงดี ไม่ป่วยไข้มาหลายปีแล้ว

เลยน้ำหนักขึ้นมาอีก ๓ โลในปีนี้ เพื่อนๆเริ่มทักกันแล้ว ว่าหน้าอิ่มขึ้นจัง

ก็ตั้งใจว่าจะเริ่มออกกำลัง แต่ยังไม่ได้เริ่มเสียที ด้วยงาน เวลาทำงานที่ไม่เหมือนชาวบ้านเขา คือไม่ได้เลิกงาน ๕ โมงเย็นครับ

ครับแล้วแต่จะอ้างแหละครับชักแม่น้ำทั้ง ๕ มาให้หมด ซึ่งจริงๆแล้วมันก็อยู่ที่"ใจ" ตัวเดียวเท่านั้นเอง คุณตั้งใจหรือเปล่า...?

คือ ผมว่าตัวผมเองน่ะครับ  :)


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มิถุนายน 09, 2011, 11:37:41 PM
และ เสริมจากการฟัง วิทยุ

พระโสดาบัน ต้องผ่าน 5 เรื่อง
1. มรรคญาน
2.ผลญาน
3.นิพพาน
4.ทบทวนกิเลสที่ละได้
5.ทบทวนกิเลสที่ยังละไม่ได้

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กรกฎาคม 03, 2011, 09:08:59 PM
ถ้าได้ผลของญาณถึงอาสวะขยญาณแล้วก็เป็นพระอรหันต์ และ เข้าสู่พระนิพพาน แล้วครับ นิพพานมี 2 แบบ จำได้มั๊ยครับ

การบรรลุธรรม  V.S. เข้าสู่วิปัสสนูปกิเลส


มันเดินมาคู่กันเลย แต่แตกต่างกันที่....จุดเริ่มต้น...!

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กรกฎาคม 04, 2011, 11:34:00 PM
ผุ้ที่ยังต้องศึกษา ได้แก่ ปุถุชน พระอริยะระดับโสดา สกิทา อนาคา


ผู้ที่ไม่ต้องศึกษา แล้ว มีเพียง ที่พระอรหันต์..เท่าน ั้น

เร่งความเพียรต่อไป ป ป  ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กรกฎาคม 06, 2011, 12:21:16 AM
ถูกต้องนะคร้าบ...ถ้าพูดถึงจบพบพรหมจรรย์ สำเร็จกิจแล้ว กิจที่ทำได้ทำแล้ว กิจอื่นยิ่งกว่านี้ไม่มี ก็จบนะครับ

แต่ผมว่าก็ยังมีพระอรหันต์ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก เพื่อนำมาสอนปถุชน ญาติโยม

อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์แบบ สุขขวิปัสสโก ที่ท่านหลุดพ้นด้วยปัญญา แต่ไม่มีญาน ท่านต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกเพื่อมาสอน

ที่เคยพูดว่าบางท่านบรรลุธรรมแล้ว แต่ไม่สอนนั่นแหละครับ เพราะรู้ได้แต่เฉพาะตน พูดสภาวะบอกสอนใครไม่ได้

และมีเว้นวรรคอีกจำพวก ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกอย่างยิ่งยวด....มหาศาลและอีกเหลือคนานับ  :)


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กรกฎาคม 14, 2011, 11:16:20 PM
ที่ว่า ไม่ต้องศึกษาแล้ว ไซร้

ครือเรื่อง   ล ะ   กิ  เ ล  ส ส ส.............. ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กรกฎาคม 16, 2011, 05:19:37 PM


เป็นดังนั้นแล...


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กรกฎาคม 18, 2011, 12:26:16 AM
เดินทางไป ศึกษาไปเพื่อรู้ไว้เผยแผ่


 กะได๋  ** ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กรกฎาคม 18, 2011, 01:58:11 AM


เบื่อหน่าย...ทุกคนต่างมีตัณหา ทะยานอยากกันทั้งนั้น ไม่พ้นแม้ในตัวเองก็เห็นและยังไม่พ้นไปได้ น่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กรกฎาคม 25, 2011, 12:42:18 AM
ไม่มีใคร รู้ สัก เท่าไร เหมียนกัน



**เตื่อน ตนว่า ไม่ควรลืม 1.ทาน/ศีล และต้องไม่ลืมว่าต้องทำต่อที่ข้อ 2.สัมมาสมาธิ  สัมมาญาณ(วิปัสนา) และ จะได้เรื่องต่อไป คือ สัมมาวิมุตติ

และ.. เรื่องเก่า เอามาเล่าใหม่
1.วิธีผ่อน กามราคะ  คือพิจารณาอสุภ
2.วิธีผ่อน โทสะ      คือ ความเมตตา


3.และ วิธีผ่อน  โมหะ  คือ ........การพิจารณาไตรลักษณ์  (ของทุกสรรพสิ่ง1. สิ่งมีชีวิต 2. สิ่งที่ไม่มีชีวิต ....แล้ว อาจผ่านไป พระโสดาได้เร็ว ขึ้น)


*เคย   ใช้กับตัวเอง เรื่อง  ระวัง  เรื่อง ผัสสะ..ที่กระทบทางทวารทั้ง 6 ** ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 29, 2011, 03:55:20 PM
เรื่องลำดับของวิปัสนาญาณ


อ่านพบในหนังสือนิยายธรรมะ ประวัติของหลวงพ่อจรัญ   มี 16 ระดับ  อาจมีประโยชน์ต่อ เพื่อนๆ นักปฏิบัติธรรมบ้าง

เพื่อไว้เปรียบเทียบว่า    อารมณ์  ที่จิตรับรู้   มีกำลังที่ระดับใดแล้ว


โปรดรอ คู่มือการสอบอารมณ์ ด้วย ตนเอง ด้วย ย ย ย ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 01, 2011, 11:02:44 PM
ได้ฟังหลวงพ่อพุทธทาสพูดถึง อานาปาณสติ ตามแบบของพระพุทธเจ้า เพื่อการปลดวางกายและใจ  เพื่อความสลัดคืนให้โลก
กล่าวว่า มี 4 เรื่อง ๆละ 4ข้อ(รวม16 ระดับ) เป็นเรื่องของการมีสติ คือการตามรู้ในเรื่องต่าง ๆ จนถึง ขั้นเกิดปัญญาในที่สุด ได้แก่
1 กายานุปัสนา
        11 คือ รู้ลมหายใจยาว
       12  รู้ลมหายใจสั้น
       13  รู้กายสังขาร คือ ลมหายใจเป็นเหตุของการเปลี่ยนแปลงของกาย
       14 กายสังขารสงบระงับ  เป็นผลจากข้อที่3
2.เวทนานุปัสสนา


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 01, 2011, 11:11:05 PM
ได้ฟังหลวงพ่อพุทธทาสพูดถึง อานาปาณสติ ตามแบบของพระพุทธเจ้า เพื่อการปลดวางกายและใจ  เพื่อความสลัดคืนให้โลก
กล่าวว่า มี 4 เรื่อง ๆละ 4ข้อ(รวม16 ระดับ) เป็นเรื่องของการมีสติ คือการตามรู้ในเรื่องต่าง ๆ จนถึง ขั้นเกิดปัญญาในที่สุด ได้แก่

2.เวทนานุปัสสนา  ตามรู้ รู้สึก 4 เรื่อง
    21 ปิติ
    22 สุข อันนี้ท่านว่า ละเอียดกว่าปิติ
    23  ปิติและสุข เป็นเหตุให้จิตเปลี่ยน
    24 จิตสังขาร  สงบระงับ ด้วยรู้ข้อ 23


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 01, 2011, 11:14:22 PM
ได้ฟังหลวงพ่อพุทธทาสพูดถึง อานาปาณสติ ตามแบบของพระพุทธเจ้า เพื่อการปลดวางกายและใจ  เพื่อความสลัดคืนให้โลก
กล่าวว่า มี 4 เรื่อง ๆละ 4ข้อ(รวม16 ระดับ) เป็นเรื่องของการมีสติ คือการตามรู้ในเรื่องต่าง ๆ จนถึง ขั้นเกิดปัญญาในที่สุด ได้แก่

3 จิิตตานุปัสสนา  ตามรู้
    31 รู้จิต เจือด้วยโลภะ โทสะ โมหะ และอื่นๆ
    32 จิตปราโมย์
    33 จิตตั้งมั่น
    34 จิตปล่อยวาง  เป้นปัญญา ที่ เกิด จาก ผล  ใน 33


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 01, 2011, 11:23:00 PM
ได้ฟังหลวงพ่อพุทธทาสพูดถึง อานาปาณสติ ตามแบบของพระพุทธเจ้า เพื่อการปลดวางกายและใจ  เพื่อความสลัดคืนให้โลก
กล่าวว่า มี 4 เรื่อง ๆละ 4ข้อ(รวม16 ระดับ) เป็นเรื่องของการมีสติ คือการตามรู้ในเรื่องต่าง ๆ จนถึง ขั้นเกิดปัญญาในที่สุด ได้แก่

4 ธรรมานุปัสสนา การตามรู้ รู้สึก ในเรื่อง
    41 ความไม่เที่ยง(อนิจจัง) ของ  กิจกรรม ต่าง ๆ ข้อที่ผ่านมา 1-12 (แต่ที่พิมพ์มาแยกเป็น 21....34) ท่านกล่าวว่า เรื่องของไตรลักษณ์มีความสัมพันธ์  เมือรู้  อนิจจัง  แล้ว เดี๋ยว อีก 2 อย่าง ตามมา เป็นขบวน ทั้ง ทุกขัง แล อนัตตา
    42 ความจางคลาย (วิราคะ) อันนี้ สำคัญ เพราะ จิตจะเบื่อหน่าย เป็นผล เรื่องการ คลายกำหนัดจากเหตุ ในข้อ 41
     43 ความดับไม่เหลือ หรือนิโรธ  ตามมา เพราะมันอิ่ม  มันเบื่อ ในสิ่งที่กิเลสย้อมใจไว้
     44  ความสลัดคืนทุกอย่าง กลับคืนให้ธรรมชาติ


ฟังอีกตอนที่ท่านกล่าว แล้ว ละอายอย่าง ยิ่ง

ท่านว่า  เดิมที่เป็น ไอ้ ขี้โขมย ขี้โกง ขี้ตู่ ขี้ฉ้อ ตู่เอาว่า นี่เป็น เรา นี้ เป็นของๆเรา  ยึดเอาไว้  ถือเอาไว้ แบก เอาไว้

มัน  จบเลย ยย ย ;D



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ พฤศจิกายน 23, 2011, 10:03:07 PM
อวิชชา มีประกอบกับจิต แน่นอน และจิตขณะนั้นมิใช่จิตประภัสสรอะไรเลย

เพราะ ยังไม่ผ่านการพัฒนาจิต ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ ;D

เมื่่อได้ผ่านการพัฒนาจิต ตามแนวทางของมรรค 8 อย่างบริสุทธิ์แล้วเท่านั้น จึงจะเป็นจิตประภัสสรได้ ;D



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ธันวาคม 02, 2011, 04:59:19 AM

ใช่ เป็นดังนั้นเลย...

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ธันวาคม 14, 2011, 12:46:24 PM
ได้ฟังจากพระสงฆ์บางท่านกล่าวว่า
เมื่อพระพุทธเจ้า พบคนพาล
พระองค์ทรงสังเวช แต่ยังคงมี จิตปิติ  ปกติ

และเมื่อ พบคนดี ท่านทรงชื่นชม และคงสภาพจิตปิติ ปกติ ด้วย

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มีนาคม 05, 2012, 10:54:35 PM
จิต  คือธรรมชาติ ที่รู้อารมณ์

และ

อารมณ์ คือสภาวะที่ถูกจิตไปรู้เข้า

(ปล. นิพพานเป็นธรรมารมณ์ชนิดหนึ่ง) ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มีนาคม 09, 2012, 02:19:25 PM
พระอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า....

ยังไงก็ต้องผ่านให้ได้ สำหรับ สัญญา (1 ในกองทุกข์ หรือ ขันธุ์ 5)

ไม่ผ่านวันนี้ ก็ต้องผ่านวันหน้า แล้วจะรีรอ อะไร ให้เวลาผ่านไปโดยไร้ค่า

ผ่าน ในทีนี้ คือ อะไร เอ่ย ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 10, 2012, 08:33:28 AM
พระอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า....

ยังไงก็ต้องผ่านให้ได้ สำหรับ สัญญา (1 ในกองทุกข์ หรือ ขันธุ์ 5)

ไม่ผ่านวันนี้ ก็ต้องผ่านวันหน้า แล้วจะรีรอ อะไร ให้เวลาผ่านไปโดยไร้ค่า

ผ่าน ในทีนี้ คือ อะไร เอ่ย ;D

สู้ๆ ครับผม


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ พฤษภาคม 02, 2012, 02:38:54 PM
มีพระสูตร ที่กล่าวถึงการพัฒนาจิตเป็นพระอรหันต์ได้
 ..

อนัตตลักขณสูตร กล่าวถึ่ง ขันธุ์ 5 ที่ไม่ใช่ตัวตน

...
อาทิตตย..สูตร  กล่าวถึง ของร้อน เช่น จักษุ รูป  จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส  ทำให้เกิดเวทนา

ของร้อน แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ความพลัดพราก ความเศร้า ความคร่ำครวญ


..สรุปว่า พิจารณาด้วยปัญญา ให้เห็นตามความเป็นจริง และเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และจิตหลุดพ้น ..


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: studyonline02 ที่ กรกฎาคม 07, 2012, 08:22:39 PM
ขออนุโมธนาบุญด้วยนะครับ  :)


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: yusamui ที่ กรกฎาคม 11, 2012, 09:21:22 AM
ติดอีกนิดเดียวครับ

  หากเห็นธรรมทั้งปวงเป็นธรรมชาติ อย่าสำคัญมั่นหมายว่าเป็นนั้นเป็นนี่ เราได้นั้นได้นี่ คือปล่อยวางธรรมทั้งปวง ให้สักแต่ว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติแค่นั้น ไม่มีแก่นสารอะไร ทำได้แล้วก็แล้วกันไป ที่ยังทำไม่ได้ก็พยายามต่อสู้ไป สู่จุดสุดท้าย
สัพเพธัมมาอนัตตา สัพเพธัมมานาลัง อภินิเวสายะ ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: magicmo ที่ กรกฎาคม 11, 2012, 03:27:43 PM
อนุโมทนานะครับ


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: yusamui ที่ กรกฎาคม 18, 2012, 03:27:35 PM
อ่านมาจบหน้าสุดท้าย
   
  สรุปแล้ว ว่าใช่คนเดียว กับหลวงพ่อปราโมทย์ ที่เป็นข่าวดัง เรื่องเงิน เรื่องผู้หญิง เรื่องที่ดิน หรือเปล่าครับ


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กรกฎาคม 19, 2012, 06:59:04 PM


ใช่ครับที่ยกมาบางตอนแรกๆก็เป็นของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช ครับ

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 14, 2012, 10:25:28 PM
ความรู้ต่างๆ  เรื่องพระะรรม  ที่จำจากสมอง หรือทีเรียกว่า
สัญญา
นั้น เป็นเพียง หนทางแห่งศรัทธา หรือ ทฤษฎี 

  ทีจะสั่ง ให้ใจ

สั่งการ  ให้ พา กาย และ ใจ นี้ เดินทาง สายปฏิบัติธรรมต่อ

ตามหลักการ ของ อริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้า วางแนวทางไว้

หรือ ต้องเดินทางสายปฏิบัติ ตามพระอริยสัจ ข้อ 3 หรือนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค มีองค์ 8 

แล้วผลที่ได้ จึงจะเรียกว่า  เป็นความรู้ ที่ เกิดจาก
ใจของท่าน

 นั้นๆ เอง เป็นปัจจัตตัง

อันนี้ ถือว่าเป็นความรู้แท้

แล้ว ความรู้ที่ว่า คือเรื่อง อะไรเล่า  ****


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ สิงหาคม 19, 2012, 05:09:47 PM
ความรู้ต่างๆ  เรื่องพระะรรม  ที่จำจากสมอง หรือทีเรียกว่า
สัญญา
นั้น เป็นเพียง หนทางแห่งศรัทธา หรือ ทฤษฎี  

  ทีจะสั่ง ให้ใจ

สั่งการ  ให้ พา กาย และ ใจ นี้ เดินทาง สายปฏิบัติธรรมต่อ

ตามหลักการ ของ อริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้า วางแนวทางไว้

หรือ ต้องเดินทางสายปฏิบัติ ตามพระอริยสัจ ข้อ 3 หรือนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค มีองค์ 8  

แล้วผลที่ได้ จึงจะเรียกว่า  เป็นความรู้ ที่ เกิดจาก
ใจของท่าน

 นั้นๆ เอง เป็นปัจจัตตัง

อันนี้ ถือว่าเป็นความรู้แท้

แล้ว ความรู้ที่ว่า คือเรื่อง อะไรเล่า  ****



ส่วนใหญ่เวลานักปฏิบัติที่ถูกคนอื่นๆถามหรือนักปฏิบัติด้วยกันถามว่า ท่านปฏิบัติมาเคยเจอสภาวะแบบนี้ เช่นนี้บ้างหรือไม่มันคืออย่างไร ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยจะได้เข้าใจ ได้ความรู้บ้าง

นักปฏิบัติที่ปฏิบัติเพียงส่วนเดียวและไม่ใคร่ได้ศึกษาเรื่องราวทางปริยัติมากนัก
จะไล่เรียงสภาวะอันเกิดขึ้นที่จิตใจอันเป็นธรรมที่ หยาบ ละเอียด ลุ่มลึก ลึกซึ้ง ประณีต เป็นลำดับๆไปได้โดยลำบากที่จะอธิบายเป็นคำพูดสื่อสารให้เข้าใจหรือเห็นตรงกันได้
สำหรับนักปฏิบัติที่ยังมีภูมิจิตภูมิธรรมไม่สูงนักและอาจจะยังปฏิบัติไม่ได้ผ่านสภาวะมาจริง
จึงอาจจะพูดไปในทำนองว่า "อย่าสงสัยไปเลย ปฏิบัติไปเถิด เดี๋ยวก็รู้เอง อย่าเอาแต่ถามหรือสงสัยมาก" หรือ " เรื่องแบบนี้ มันเป็น ปัจจัตตัง รู้ได้ด้วยตัวเอง "

คนถามก็เลยต้องเงียบ ไม่รู้จะถามอะไรต่ออีก....

แต่สำหรับผมนั้นมีทัศนะว่า...คำถามเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการปฏิบัตินั้น สามารถอธิบายพูดคุยกันถึงสภาวะความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติทั้งหมดได้... ถ้ายังอยู่ในระดับของโลกียะ ไม่ใช่ระดับของโลกุตตระ

อย่างเรื่อง " สภาวะนิพพาน " เป็นธรรมระดับ โลกุตตระ การพูดการอธิบายออกมาเป็นภาษาสมมุตินั้นจึงเป็นไปไม่ได้เพราะว่าสภาวะนี้ เหนือสมมุติพ้นโลกออกไปแล้ว อธิบายได้ก็พอได้เพียงเทียบเคียงเท่านั้นไม่ลึกซึ้ง จึงพูดว่าความรู้แบบนี้เป็น ปัจจัตตัง ได้ ต้องเกิดขึ้นแก่ตัวเอง เข้าใจได้เอง ได้รับผลแก่ตัวเอง รู้ได้เฉพาะตน

ความรู้ที่เป็น ปัจจัตตัง จึงเป็นความรู้ในระดับ โลกุตตระ เหนือโลก พ้นโลก พ้นจากสมมุติของโลกแล้วทั้งปวง ครับ  

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 19, 2012, 10:55:06 PM
ปัญญา ระดับปุถุชนหรือที่เรียกว่า โลกียะ นั้น เป็นปัญญาระดับสัญญา หรือด้วยความจำ ที่เก็บไว้ที่สมอง

ส่วนปัญญาระดับโลกุตตร เป็นปัญญาที่รู้ด้วย

ใจ ที่ตั้งมั่น อยู่กลางอก

เท่านั้น

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 10, 2012, 11:44:09 PM
นิพพาน คือ ธรรมอารมณ์ ชนิดหนึ่ง

ที่จิตพิเศษบางดวงเท่านั้นที่สัมผัสได้

ทราบแล้ว
เปลี่ยน
 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 01, 2012, 12:10:32 AM
นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่จิตมีความสงบสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ ไร้สุข เป็นอิสรภาพสมบูรณ์

"นิพพาน" จากบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ทรงตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"

คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน 2 ประเภท คือ

    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก

สภาวะของนิพพานจากหลักฐานในพระไตรปิฎก
คำว่า "นิพพาน" เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่า นิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานเช่นเดียวกับคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุกข์

คัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะของฝ่ายเถรวาท ระบุไว้ชัดเจนว่า "นิพพานอันว่างจากตน" "นิพพานเป็นอนัตตา" เช่น ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ปริวารระบุว่า อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้" (วิ.ป.บาลี 8/257/194)

นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ. (ขุ.ปฏิ. 31/546/450) แปลว่า: "สัจจะทั้ง 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว (คือด้วยมรรค ญาณเดียวกัน) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ (ทุกข์) ก็มีความหมายว่า เป็นอนัตตา " อรรถกถาอธิบายว่า อนตฺตฏฺเฐนาติ จตุนฺนมฺปิ สจฺจานํ อตฺตวิรหิตตฺตา อนตฺตฏฺเฐน. (ปฏิสํ.อ.2/229)

ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า "หมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" คำว่า "อนัตตา" มีความหมายระดับปรมัตถ์ มีนัยที่ต้องไขความต่ออีก โดยเฉพาะในคัมภีร์ชั้นหลังจะบอกว่า "ที่ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกัน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอยู่ ไม่มีตัวตนที่คงที่ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้เสวย ไม่มีอำนาจในตัวเอง บังคับให้เป็นไปในอำนาจไม่ได้ แย้งต่ออัตตา"

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

"ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่) พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.2/287) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะพยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย

ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350) เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น

พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด

นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกวิทยาจึงไม่อาจกระทำได้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)

เมื่อนิพพานพ้นไปจากบัญญัติในทางโลก การอธิบายถึงนิพพานจึงเป็นเพียงการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบกับความว่างเปล่า หรือไฟที่ดับไป เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคกล่าวว่า "เพราะพระนิพพานเป็นคำสุขุมนัก...เป็นธรรมที่ต้องเห็นด้วยอริยจักษุ เป็นธรรมอันบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมรรค (เท่านั้น) จะพึงถึงได้" นิพพานจึงมิใช่เรื่องของการเข้าใจ แต่อยู่ที่การเข้าถึง อันเป็นผลจากการปฏิบัติธรรมของตนเอง

ขอบคุณ - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99

 ลอกมาเลย  และต้องพิจารณาต่อไปๆๆๆ  ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 01, 2012, 12:14:13 AM
พอทราบมาว่า

นิพพาน มีพลังงานมากจริง ๆ

เหมือนน้ำในเขื่อน ทีเริ่ม พุ่งเข้ามาช่องรั่ว(ของกิเลส) ที่ห่อหุ้มใจอยู่ ฉนั้น


ถ้า รอยรั่ว ขยายขนาด  ลองพิจารณา ได้เลย ว่า

พลังงานน้ำนั้น จะเพิ่ม ความแรง ตามไปด้วย ๆ ๆ  ขนาดนั้น ๆๆ

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 12, 2012, 07:50:22 PM
อ่านข้อมูลของบางท่านกล่าวว่า

สภาวะจิตที่ ผ่านมรรคจิต ผลจิต เหมือนฟ้าแลบ สำหรับพระอริยะ 3 ระดับแรก

ในขณะที่ระดับพระอรหันต์เป็นฟ้าผ่า

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 17, 2012, 08:14:25 PM

คงงั้นมั๊งครับ  :)

 


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 17, 2012, 08:20:30 PM
สรุปหัวข้อ
ข้อความเมื่อ: วันนี้ เวลา 08:14:25 pmข้อความโดย: AVATAR 
ใส่การอ้างถึงคำพูด

คงงั้นมั๊งครับ   

เรื่องอะไร
 
 :D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 17, 2012, 09:41:38 PM

สนทนาประสา ชาวแชท

ต้องโหดกะกายก่อ น

เพื่อฟาดจิต ให้หงอย

แล้ว มันจะวาง ความอยาก

ทีนี้ จิต มันจะระทวย

ยอมให้ธรรมะ แสดงตัวตน

ตามความเป็นจริง


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 17, 2012, 11:27:59 PM
เรื่องฟ้าแลบและฟ้าผ่า ที่เปรียบเทียบกับ
จิตที่เกิดเนื่องด้วยโสดาปัตติมรรค
จิตที่เกิดเนื่องด้วยสกทาคามิมรรค
จิตที่เกิดเนื่องด้วยอนาคามิมรรค
จิตที่เกิดเนื่องด้วยอรหันตตมรรค

....ถ้ามันแว๊บๆสว่างไสวจ้าคล้ายฟ้าแลบและฟ้าผ่า ก็คงพอจะเปรียบเทียบงั้นได้มั๊งครับ

 



หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 17, 2012, 11:30:56 PM

สนทนาประสา ชาวแชท

ต้องโหดกะกายก่อ น

เพื่อฟาดจิต ให้หงอย

แล้ว มันจะวาง ความอยาก

ทีนี้ จิต มันจะระทวย

ยอมให้ธรรมะ แสดงตัวตน

ตามความเป็นจริง

อันนี้ก็แล้วแต่ว่าใครเคยทำมาสายไหนมาก่อน กายานุปัสสนา พิจารณากายก็ก้าวหน้า พิจารณาจิตก็ไม่รู้เรื่องดูไม่เป็น
พวกฝึกมาทาง จิตตานุปัสสนา ดูจิตได้ดีมีสติดูทัน เจริญดี แต่ดูกายเป็นอสุภะ ดูยังไงก็ไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัด
แล้วแต่ทางครับทางใครทางมันถึงระดับโลกุตตระเหมือนกัน


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: keroro ที่ ตุลาคม 18, 2012, 04:02:14 PM
ขอบคุณมากๆครับ


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: chaiyolol ที่ เมษายน 04, 2013, 06:15:07 PM
ขอบคุณมากครับ


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 13, 2013, 10:58:56 PM
ความรู้เรื่อง สังขาร และอสังขาร

สังขาร คือร่างกาย จิตใจ รูปธรรม นามธรรม

อสังขาร คือ นิพพาน

พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ธรรมทั้งหลาย(สังขาร อสังขาร)ล้วนอนัตตา

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 13, 2013, 11:24:49 PM
สงสัยอยู่ว่า อสังขาร คือ ?
งงมาก จากการอ่านคำแปลในหนังสือสวดมนต์
ไปถาม แม่ชี ท่านเรียนปริยัติมามาก
จึงทราบว่า คือ นิพพาน
ส่วนสังขาร(มิใช่สังขารขันธ์) คือ ร่างกาย จิตใจ รูปธรรม นามธรรม(เอามาจากหนังสือสวดมนต์)
สังขารขันธ์ คือความคิดปรุงแต่ง
ถ้าดูจาก ปรมัตถธรรม 4
จิต เจตสิก รูป นิพพาน
3 กลุ่มแรก คือสังขาร ที่เหลือคือ อสังขาร
และต้นตอของปฏิจจสมุปบาท คือ อวิชชา ทำให้เกิด สังขารขันธ์
ไล่ยาวต่อไป เรื่อยๆ
เพราะฉนั้น เมื่อมีวิชชา ย่อมรับธรรมารมณ์ ที่เรียกว่า นิพพาน
และ จากหนังสือสวดมนต์ แปล บทหนึ่งสรุปว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
ดังนั้น จิต เจตสิก รูป นิพพาน ล้วนเป็นอนัตตม คือไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
มีสติรู้ (ที่ กาย เวทนา จิต ธรรมหรืออารมณ์) เป็นเบื้องต้นของ วิชชา เนอะ

 :D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 13, 2013, 11:30:24 PM
สงสัยเรื่องไตรลักษณ์ ?

   หนังสือสวดมนต์ มีบอกอีก(พระพุทธเจ้าตรัสสอน) ว่า

อนิจจัง คือมีแล้วหายไป เกิดแล้วดับไป

ทุกขัง คือ เกิดแล้ว แก่เจ็บ ตายไป

และอนัตตา คือ ไม่มีสิ่งใดเป็นของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา มิใช่เรา

 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 13, 2013, 11:32:07 PM
ไตรลักษณ์ ของทุกสรรพสิ่ง

บางที หลงลืมความหมายไปได้

 :D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 13, 2013, 11:35:22 PM
กว่า อินทรีย์จะแก่กล้าพอ

กว่าจิตจะยอม รับทุกอย่างที่ เกิด ดับ

กว่าจิตจะยอมรับสภวะ ไตรลักษณ์

กว่าจิตจะตื่น

กว่าจิตจะรู้ และเบิกบาน

สู้ตาย ถวายชีวิต
 ;D


หัวข้อ: Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 18, 2013, 12:16:27 AM

อนุโมทนาในการสร้างอินทรีย์บารมี เพื่อให้จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ครับผม