KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิจิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
หน้า: [1] 2 3
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?  (อ่าน 72129 ครั้ง)
cellulose
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 11


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2011, 07:40:15 PM »

พยายามหาความหมายของจิต ......แต่อ่านจากแต่ละท่านมันไม่เข้าใจ....รบกวนช่วยชี้แนะด้วยคับ
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2011, 05:02:53 AM »

เดี๋ยวจะลองมาให้อ่านก่อน แล้วไม่เข้าใจตรงไหน ค่อยมาว่ากันดีกว่าม๊ยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2011, 03:41:03 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
cellulose
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 11


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2011, 05:41:09 PM »

ขอบพระคุณคับ
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2011, 10:47:15 PM »

ผมว่าผมเคยพิมพ์ไปแล้ว ภาคปริยัติ แต่บังเอิญที่พิมพ์ไว้เป็นชั่วโมงโพสต์ไม่เข้าด้วย เวลาล็อกอินหมด
และข้อมูลหายไปหมด ผมต้องใช้เวลาอ่านพระไตรปิฎกอยู่นานจึงจะเข้าใจเรื่องของ จิต

ทีนี้มันต้องใช้เวลาในการเขียนมาก ผมจึงจะแนะนำให้อ่านเอาจากที่นี่ก่อนนะครับ

เข้าไปที่หน้าแรกของเว็บkammatan นี่แหละครับแล้วสกอลลงมาข้างล่างจะเจอแบบนี้ครับ

ไฟล์หนังสือธรรมะ แนะนำ :
แก่นธรรมหลวงปู่ดูลย์ โดยพระอาจารย์ปราโมทย์ ปราโมชโช หน้า 16-21
ลองดาวน์โหลดมาอ่านดูก่อนนะครับ

ผมคิดว่าท่านเขียนได้เคลียร์และเห็นภาพครับ

ลองอ่านดูครับ....
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2011, 09:37:31 AM »

ขอบคุณพี่ต่ายที่เมตตาน้องๆ นะครับ

ผมขอเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง จิต ถ้าเปรียบ ก็คือเหมือนน้ำที่ใสบริสุทธิ์ ครับ
ส่วน เจตสิต นั้นเสมือนสิ่งที่เข้ามาปรุงจิต เปรียบได้กับ น้ำเป๊ปซี่ ก็คือ
ใส่สีชนิดต่างๆ ใส่ก๊าซ ปรุงแต่งกลิ่น จนได้เป็นน้ำสีดำ รสชาดซ่า ประมาณนั้นครับ

ส่วนจิตของปุถุชน กับ จิตของพระอริยะในระดับชั้นต่างๆ ที่ทำให้ต่างกันก็คือ
ปัญญาที่เกิดจากองค์ธรรม ที่มารวมกันแล้วทำการประหารสังโยชน์ ในแต่ละระดับครับ

จิตของปุถุชน เมื่อถูกเจตสิก ครอบงำ (จึงทำให้หลงตาม ราคะ โทสะ โมหะ)
แต่จิตของพระอรหันต์ เจตสิตย้อมจิตของท่านเหล่านั้น ไม่ติดครับ จึงเป็นสภาวะที่หลุดพ้นการปรุงแต่งเข้าสู่สันติสุขตลอดกาล

สำหรับการเจริญปัญญาเพื่อออกจากทุกข์นั้น น้องสามารถ เรียนได้จากสิ่งที่องค์พระพุทธเจ้าท่านทรงได้เมตตาบอกไว้
คือการทำทาน ถือศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็เจริญสติภาวนา

หรือจะฟังได้จาก cd ของพระอาจารย์ปราโมทย์ ที่ท่านเทศน์ไว้ก็ได้ครับผม
http://www.kammatan.com/music/playmedia.php?id=3

ลองดูนะครับน้อง cellulose
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
pizzazaz
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 6


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2011, 03:20:50 PM »

จิตใจคนยากแท้หยั่งถึง.......
บันทึกการเข้า

BAN
cellulose
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 11


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2011, 07:38:20 PM »

ขอบพระคุณคุณจริงๆๆคับ
ผมขอดึงข้อมูลมาสอบถามต่ออีกนะคับ .......ดังนี้คับ

จิต เป็นสิ่งที่มีในธรรมชาติจริงๆ  โดยจิตอาจเป็น หนึ่งในสี่ อย่างต่อไปนี้คือ
1.ธรรมชาติที่รู้ถึงอารามณ์
2.เจตสิก สภาวธรรมที่ประกอบจิต  ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร (ไม่ทราบว่ารวมถึงวิญญาณหรือไม่คับ)
3.รูป ที่ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน และความเย็น (ไม่เข้าใจคับ)
4.นิพพาน

จิตเป็นามธรรม ไร้รูปเสียงกลิ่น รส สัมผัส  แต่ผู้ปฏิบัติรับรู้ได้ 
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้ เรียกว่าอารมณ์
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์
จิต ต้องรับอารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไป
จิต   มีชื่อเรียกหลายคำเช่น มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ
จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้นจิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่าง คือ
สามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
๑. สามัญญลักษณะ     จิตมีไตรลักษณ์ครบ คือ  อนิจจลักษณะ  ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
๒. วิเสสลักษณะ    หรือลักขณาทิจตุกะของจิต มีครบทั้ง ๔ ประการคือ
มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
เป็นประธานในธรรมทั้งปวงเป็นกิจ (รสะ)
มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสายเป็นอาการปรากฏ(ปัจจุปัฏฐาน)
มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด (ปทัฏฐาน) (ไม่เข้าใจคับ)

รบกวนชี้แนะด้วยคับ
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 10:53:22 PM »

จิต เป็นสิ่งที่มีในธรรมชาติจริงๆ  โดยจิตอาจเป็น หนึ่งในสี่ อย่างต่อไปนี้คือ
1.ธรรมชาติที่รู้ถึงอารามณ์
2.เจตสิก สภาวธรรมที่ประกอบจิต  ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร (ไม่ทราบว่ารวมถึงวิญญาณหรือไม่คับ)
3.รูป ที่ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน และความเย็น (ไม่เข้าใจคับ)
4.นิพพาน



อ่านให้แยบคายครับ ท่านไม่ได้เขียนว่า "จิตอาจเป็น หนึ่งในสี่ อย่างต่อไปนี้คือ" แต่เขียนว่า "จิตเป็นปรมัตถธรรมหรือสิ่งที่มีอยู่จริง ๑ ใน ๔ อย่าง"

ลองศึกษาแต่เพียงเรื่องจิตอย่างเดียวก่อนครับ

สำหรับข้อ ๒ เป็นเรื่องของ "เจตสิก" เข้าใจง่ายๆก็ตามที่ท่านเขียนแหละครับ แต่ไม่รวมวิญญาณเพราะวิญญาณทำหน้าที่รับรู้อารมณ์เหมือนกัน

สำหรับข้อ ๓ เป็นเรื่องของ "รูป" แยกออกมาจากจิตนะครับ เหมือนรูปกายหยาบละเอียดนี่แหละครับเช่น  มนุษย์,สัตว์,เทวดา,ถ้ายังอยู่ในวัฏฏสงสารก็ยังมีรูปหมด หยาบละเอียดต่างกันเท่านั้นเอง ถูกทำลายได้หมด



มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด (ปทัฏฐาน) (ไม่เข้าใจคับ)[/color]

จิตไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว จะอาศัยนามธรรม รูปธรรม เป็นปัจจัยให้เกิด หรือให้มี

หลวงพ่ออาจจะเขียนเข้าใจยากคือต้องมีความรู้พื้นฐานทางปริยัติบ้าง ลองอ่านแบบละเมียดอีกซัก ๒รอบเป็นอย่างต่ำแล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจอยู่ก็ถามมาอีกนะครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2011, 10:56:50 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 11:13:46 PM »

จิต ก็เกิดดับสืบเนื่องกันไป
เดี๋ยวกุศล อกุศล ดีใจ เสียใจ หดหู่ เฉยๆ โมหะ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ซึ่งเป็น เจตสิก ก็จะไปเกาะกับจิตตอนนั้นๆเกิดแล้วก็ดับไปสืบเนื่องกัน และรับรู้ได้ทีละขณะ แต่ก็เร็วมาก เหมือนเราโกรธอยู่เราจะไม่รู้อารมณ์อื่นๆ

แต่ถ้าเราฝึกเรื่อยๆมันก็จะเห็นอารมณ์ปรากฏได้แจ่มแจ้งและรู้สภาวะจิตได้ตรงความเป็นจริงและรู้ได้เร็วขึ้นครับ

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 11:29:33 PM »

นามธรรมที่เป็นสมมุติบัญญัติ เขียนอธิบายเอาก็เข้าใจยากเหมือนกันครับ

ขนาดฟังแล้วก็ยังเข้าใจยากเหมือนกันด้วยครับ

ผมก็พิมพ์ไม่ค่อยเก่งและพิมพ์ได้ช้า ผมก็เริ่มจากการอ่านเหมือนกันครับ แล้วก็ไม่เข้าใจเลย อ่านมากฟังมาก แล้วก็สงสัยมากครับ

ต้องใช้เวลาครับ และถ้าเราฝึกปฏิบัติไปด้วย เราก็จะเข้าใจเป็นลำดับๆไปครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2011, 11:31:26 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
cellulose
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 11


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2011, 11:42:05 AM »

ขอบพระคุณในความกรุณาคับ
รบกวนอีกนิดคับ
1.จิตเกิด  แล้วดับ สลับเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็ว 
สมมุติว่าเราดีใจหมายถึงจิดที่รับรู้อารมณ์สิ่งที่ทำให้ดีใจนั้นเกิดขึ้นใช่มั้ยคับ   สักพักหนึ่งจิตคุ้นเคยกับอารมณ์นั้นระดับความดีใจลดลง อย่างนั้นใช่มั้ยคับเรียกว่า จิตดับ 
2.หากมีอารมณ์ที่ทำให้เกิดความดีใจเกิดขึ้นใหม่   จิตก็รับรู้ความดีใจใหม่ จะถือว่าเป็นจิตเดิมหรือไม่คับ
3.ต้องขออภัยที่ถามแบบไม่เข้าถ้า...แต่ผมเชื่อว่าหากเราเข้าใจจิตของเราได้ดี น่าจะมีผลดีต่อการลดละในสิ่งที่ไม่มีสาระ  และจิตพร้อมที่จะรับรู้และเกิดปัญญาที่ดีตามมา เพราะจิตพร้อมรับการแก้ไข หรือหากวิธีการที่ดีโดยลดอารมณ์ยึดถือตน เป็นที่ตั้ง
4.สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีจิตหรือไม่คับ เพราะผมยังอ่านไม่พบ  แต่มีความรู้สึก หรือเข้าใจไปเองว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น  แต่การถ่ายทอดแสดงออกของจิตในสิ่งมีชีวิตแสดงออกแตกต่างกันไป ซึ่งมนุษย์ไม่เข้าใจเอง
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2011, 12:25:17 PM »

1.ไม่ใช่ครับ จิตที่ดีใจนั้นก็เกิดขึ้นและดับไปในขณะจิตนั้นแต่จิตมันส่งต่อกรรมหรือวิบากต่อไปให้จิตดวงต่อไปไปเรื่อยๆครับ
จิตตัวเก่าดับแล้วก็ดับไป ความดีใจยังอยู่นั่นมันสัญญา ความจำได้หมายรู้ที่ส่งให้จิตดวงต่อๆมาครับ

2.ก็เป็นจิตดวงใหม่ครับ เพราะจริงๆแล้วความดีใจมันก็มีหลายระดับไงครับ ดีใจน้อยดีใจมากๆไม่เหมือนกัน ถึงเขียนก็ไม่จบนะครับ แล้วก็ไม่มีใครแบ่งเลเวลไว้ คงพูดกันแต่ อย่างหยาบ อย่างละเอียด เอาน่ะครับ

3.เราไม่รู้เราถามซิครับ คนฉลาด ตามนั้นแหละครับ

4.เห็นด้วยครับ ผมว่ามีจิตครับ

ถ้ายังไม่เคลียร์ก็ถามมาอีกได้ครับ ผมพยายามจะตอบเท่าที่ผมพอจะอธิบายได้ครับ  ยิ้ม แต่ก็ไม่ทราบว่าจะถูกต้องตามหลักสัจธรรมหรือเปล่า เพราะผมก็มีภูมิอยู่เท่าที่มีและก็พยายามพัฒนาตนเองต่อไปครับ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2011, 03:00:02 PM »

มาตามอ่านด้วยครับ ขอบคุณพี่ต่ายเช่นกันครับที่เมตตาน้องๆ

วันนี้หลวงพ่อปราโมทย์ มาเทศน์ที่การบินไทย เข้าไปฟังแล้วปิติป่ะครับผม

ได้ความอย่างไร นำมาบอกเล่าน้องๆ ด้วยนะครับพี่ต่าย

อนุโมทนาครับผม  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
cellulose
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 11


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 11:32:17 AM »

ขอบพระคุณคับ....รบกวนสอบถามเพิ่มเติมคับ (พอดีอ่านสัมมาสมาธิ ของท่าน ป.อ.ประยุตตุโต อยู่คับ)
1.ในกรณีที่เราศึกษาเจริญสมาธิในระดับปฐมฌาน  จะมีคุณสมบัติของจิต ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคาตา 
    คำถาม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอยู่ในภาวะนั้น วัดจากจิตที่พร้อมการรับรู้  เกิดปํญญาตัดอวิชชาออก หรือรับรู้จากอารมณ์ที่เย็นสบายคับ  หรือมีตัวชี้วัดอื่นหรือไม่คับ

2.ตามคำภีร์วิสุทธิมัคค์ ว่าองค์ฌาน 5 ที่เกิดขึ้นเป็นปฏิปักษ์กับ นิวรณ์ 5เช่น
  วิตก คู่กับ ถีนมิทธะ.   วิจาร คู่กับ วิจิกิจฉา,  ปิติ คู่กับ พยาบาท,  สุข คู่กับ ความฟุ้งซ่าน , และสมาธิ คู่กับ กามฉันท์
ตามความรู้สึกจากข้อความไม่เป็นปรปักษ์ รบกวนชี้แนะคับ

บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 03:49:37 PM »

1. พอดีเราอาจจะอ่านข้ามมาเลยน่ะครับ ท่านพระอาจารย์มักจะเขียนอธิบายก่อนแล้วในเรื่องของ วิตก(ความตรึก) วิจาร(ความตรอง) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข(สุขใจ) เอกัคคตา (จิตมีสมาธิอยู่ในอารมณ์เดียว) ผมว่าท่านก็เขียนได้ละเอียดละออมากๆเลยทีเดียว แต่สำหรับผมอ่านก็ดูจะละเอียดมากจนเกินด้วยซ้ำ

เราก็รู้อารมณ์แบบนั้นแหละครับ มันรวมอยู่ในปฐมญาณหมด ผลัดกันเกิดดับให้เห็นไปเรื่อยจนเราไม่ทันสังเกต และเพียงเราไม่รู้จักและเรียกธรรมารมณ์แบบนั้นไม่ถูก

ต้องเข้าใจก่อนว่า การเรียนหรืออ่านเอาเพื่อจะให้เข้าใจ ถึงเข้าใจก็ยังไม่เกิดปัญญาพอที่จะละสังโยชน์ได้หมดนะครับ และกิเลสหรืออวิชชาก็ยังอยู่ครบแหละครับ ฉนั้นเราต้องปฏิบัติภาวนาเดินปัญญาทำสมาธิไปด้วย จึงจะเกิดปัญญาระดับสุดยอด นั่นคือภาวนามยปัญญา

ปัญญาจากการอ่านเอา(สุตมยปัญญา)ก็เป็นปัญญาเบื้องต้น และปัญญาที่เกิดจากเราคิดวิเคราะห์ประมวลผล(จินตามยปัญญา)ก็เป็นปัญญาระดับกลาง

ลองอ่านของ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ให้จบเล่มก่อนก็ได้ครับ แต่ผมว่าคงใช้เวลาหน่อยเพราะท่านเขียนแต่ละเล่มหนาไม่ใช่น้อย

2.ตามไปอ่านที่นี่ก่อนนะครับคงเข้าใจขึ้น

http://www.buddhism-online.org/Section03B_01.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 09, 2011, 03:56:57 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: [1] 2 3
พิมพ์
กระโดดไป: