KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิจิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
หน้า: 1 [2] 3
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?  (อ่าน 77698 ครั้ง)
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 11:44:06 PM »

จิต เป็น ใจที่ซน เพราะโดนกิเลสมาดึงไป

กิเลสดังกล่าวคือได้แก่ ตัวเวทนา สัญญา และสังขาร(คิด)


แต่ สังขาร ที่เป็นกุศล ก็เป็น ประโยชน์ยิ่ง เพราะทำให้จิตเกิดปัญญาได้

เรียกว่า ปัญญินทรีย์ และ ตัดกิเลสได้

 และสัมผัสกระแสพระนิพพานในที่สุด ๆๆๆๆ   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 11:47:15 PM »

จิตที่เลิกซน หรือ จิตตั้งมั่น  เรียกว่า ใ จ  เป็นพลังงาน

มีขนาด ประมาณเหรียญ บาท  2-3 ซม.  เวลาตั้งมั่นมีที่อยู่ กลางอก

แบบลองทำเครื่องหมายกากบาท ตามแนวขวางของอก

นั่นแหละตรงรอยตัด ของกากบาท ครือที่ของเค้า.....ลองหาให้เจอ .. ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 11:56:06 PM »

จิต        คือ จิต

เจตสิก    คือ เจตสิก

รูป        คือ  รูป


นิพพาน     ครือ นิพพาน

(ปรมัตถธรรม-สภาวะธรรมของจริง- มี 4 อย่าง-มาจากหน้าเว็บ วิมุตติ)

จิตที่มีปัญญา  จะพบนิพพานได้(สภาวะธรรม ไร้กิเลส)


*** แฮ่  แฮ่    * * *   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 11:58:15 PM »

นิพพาน เป็นช่องว่าง ที่แทรกอยู่ ระหว่าง

วงโคจรของอิเลคตรอน ที่วิ่งวนรอบนิวเคลียส(โปรตรอน+นิวตรอน  ..?)



ฮัดเช้ย ยย ย  ..อะไร จะขนาด  นี้   ...บอกใคร ได้เป่า.. ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 02:17:49 AM »


โดยธรรมชาติ จิตนั้นเป็นทิพย์อยู่แล้วที่ต้องมาชำระกันใหม่ด้วยการฝึกสมาธิ ก็เพราะจิตถูกนิวรณ์ คือ อกุศลห่อหุ้มไว้ ได้แก่ความโลภ อยากได้ไม่มีขอบเขต ความโกรธ ความพยาบาทความง่วงขณะ
ปฏิบัติทำสมาธิ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ในขณะฝึกสมาธิ ความสงสัยในผลปฏิบัติโดยคิดว่าจะได้หรือใช่หรือ ทำอย่างนั้นจะสำเร็จได้อย่างไรกัน

ซึ่งความสงสัยเหล่านี้เป็นนิวรณ์กั้นณานไม่ให้เกิด รวมความแล้วทั้ง 5 อย่างที่กล่าวมานี้แหละ แม้เพียงอย่างเดียวถ้าอารมณ์ของจิตยังข้องอยู่ ณานจะไม่เกิด จิตจะไม่ผ่องใสมีอารมณ์เป็นทิพย์ตามสภาพปกติได้ อกุศลห้าอย่างนี้ทำให้จิตมืดมน ซึ่งนิวรณ์ 5 นี้จะพ้นจากจิตไปได้ก็ต่อเมื่อจิตเราสามารถทรงอารมของณานไว้ได้เท่านั้น ซึ่งการทรงณานนี้สามารถทำได้ทุกอริยาบทโดยต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝนซึ่งถ้าจิตไม่
สามารถทรงอารมณ์ของปฐมณานได้จิตก็จะตกเป็นทาสของนิวรณ์ ส่วนอารมณ์ของปฐมณานนั้นก็มี5อย่างเช่นกัน
1.วิตก คือการคำนึงถึงองค์กรรมฐานที่ฝึกอยู่นั้น
2.วิจาร คือใคร่ควรกำหนดรู้ในองค์กรรมฐานนั้น
3.ปีติ คือมีความเอิบอิ่ม ไม่เบื่อในการปฏิบัติ
4.สุข คือความสุขกายอย่างไม่เคยเกิดมาก่อน
5.เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์ตั้งมั่นในองคกรรมฐาน
ทั้ง 5 อย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมณานครับ
 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
cellulose
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 11


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 08:41:14 AM »

ขอบพระคุณทุกท่านคับ......
สัญญากับตนเองว่าจะศึกษา และปฏิบัติอย่างอย่างเพียร และสมำเสมอ เพื่อเข้าใจตนเบื้องต้นและนำไปใช้กับงานที่ทำอยู่คับ
บันทึกการเข้า
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 09:01:23 AM »

ขอบพระคุณทุกท่านคับ......
สัญญากับตนเองว่าจะศึกษา และปฏิบัติอย่างอย่างเพียร และสมำเสมอ เพื่อเข้าใจตนเบื้องต้นและนำไปใช้กับงานที่ทำอยู่คับ

สาธุ ครับผม ผมจะรีบจัดส่ง cd การปฏิบัติเจริญสติ ไปให้นะครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 12:23:39 PM »

ผมอยากให้คุณ Cellulose อ่าน สติปัฏฐาน ๔  ในหมวด จิตตานุปัสสนา

จะพอทราบความหมายของ จิต ทั้งทางโลกและทางธรรมบ้างไม่มากก็น้อยครับ

จิตตานุปัสสนา
พุทธพจน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยการปฏิบัติอย่างไร ภิกษุจึงจะพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เสมอได้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้…
- - เมื่อจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
- - เมื่อจิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
- - เมื่อจิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
- - จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
- - เมื่อจิตเป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต เมื่อจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
- - เมื่อจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
- - เมื่อจิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
- - เมื่อจิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

ดังพรรณนามาฉะนี้ภิกษุย่อม…
- - เฝ้าพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง

เธอย่อมเป็นอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือเข้าไปตั้งสติว่าจิตมี ก็เพียงสักว่าเอาไว้รู้ เพียงสักว่าเอาไว้อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฐิเข้าอิงอาศัย และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เสมอ ฯ

ถ้าคุยกับคนทั่วไป พยายามทำให้เขาเชื่อว่ากายไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สมบัติของใคร ก็ยากที่ใครจะยอมรับ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างน้อยในระดับอานาปานบรรพที่เห็นลมเข้าออกเป็นเพียงสิ่งเกิดดับตามธรรมชาติ หรืออย่างสูงสุดถึงระดับนวสีวถิกาบรรพซึ่งเห็นกายนี้ต้องป่นเป็นผงภัสมธุลีแน่นอนแล้ว ใครพูดให้ฟังว่า “กายไม่ใช่ตัวตน” ย่อมฟังขึ้น ฟังเข้าใจถนัด และยอมรับโดยดุษณีด้วยปัญญาประจักษ์แจ้งออกมาจากภายใน

ยิ่งถ้าไปบอกใครว่าจิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน อันนี้จะให้เถียงกันด้วยเหตุผลและความเห็นนานาทรรศนะได้ชั่วกัปชั่วกัลป์โดยไม่เจอข้อสรุปอันดีที่สุดที่จะทำให้ “ทุกคน” ยอมรับด้วยใจตรงกันอย่างแน่นอน
แม้จิตตานุปัสสนาจะเป็นขั้นตอนอันมีความละเอียดระดับที่ ๓ ยังไม่ถึงขั้นสูงสุดของสติปัฏฐาน ๔ ก็เริ่มประจักษ์ เริ่มหยั่งรู้ด้วยปัญญาอันสว่างขึ้นในภายในแล้ว ว่าแม้แต่จิตก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับลงในท่ามกลางมวลธรรมชาติทั้งหลาย ความหลงคิด ความหลงหวังไปว่าจะมีจิตอื่น มีตัวตนอื่นอันยิ่งไปกว่านี้ เป็นอันพับฐานลงได้อย่างสิ้นเชิง เพราะการเห็นนั้นเป็นการเห็นระดับ “ธรรมชาติของจิตเกิดดับ” มิใช่เพียงเห็นผิวของลักษณะจิตชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น

หากเปรียบมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นหลักสูตรแบบโลกๆ ก็ต้องนับว่าเรามาได้ครึ่งทางแล้ว แต่ทางการปฏิบัติธรรมไม่อย่างนั้น เราดูกันที่จิต ดูกันที่ความปล่อยวาง ฝึกมาถึงตรงนี้หลายคนอาจไปไกลเกินกว่าครึ่ง หรืออาจจะถึงค่อนแล้วด้วยซ้ำ อย่างที่กล่าวแต่แรกว่าแก่นสารของพุทธศาสนาคือดับทุกข์ ดับกิเลส ไม่ใช่เพื่อสอบไล่ให้ใครตัดสินว่าควรรับปริญญาหรือยัง จิตเราเองเป็นผู้เรียน ผู้สอบ ผู้พิพากษา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นว่ากายใจเป็นตัวเป็นตนได้เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 12:28:01 PM »

ในทางกลับกัน แม้จะศึกษามาแล้วครึ่งทาง หรือศึกษาต่อจนจบ แต่ไม่ลงมือปฏิบัติ ไม่แม้แต่จะตั้งมุมมองออกมาจากภายในเสียใหม่ ถึงจะอ่านมหาสติปัฏฐานสูตรมาครึ่งหนึ่งหรือทั้งหมด ก็ยังนับว่าเป็นผู้จบหรือใกล้จบหลักสูตรไม่ได้เลย ความรู้ทั้งหลายในหนังสือหรือพระคัมภีร์จะดองตัวเองอยู่ในลักษณะ “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” เท่านั้น

และอีกทางหนึ่ง หากเลือกที่จะเปิดหนังสือมหาสติปัฏฐานสูตรเพื่อมาอ่านส่วนนี้ก่อนด้วยความสนใจเกี่ยวกับการรู้เห็นจิตโดยความไม่ใช่ตัวตนก่อนเป็นอันดับแรก ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน ถ้าเพียงทราบว่าจะ “รู้” ให้ถูกต้องอย่างไร

กล่าวตามจริงแล้ว ถ้าใครลงมือฝึกรู้สภาวจิตตามแนวจิตตานุปัสสนาทันทีอย่างต่อเนื่องจริงจัง แม้ไม่ศึกษาทฤษฎีให้ชำนาญเสียก่อน ก็อาจเห็นจิตเป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่ใช่ตัวตนได้ สำคัญคือความลังเลสงสัยของคนเราจะไปขวางทางไว้แต่ต้น ถ้าหากไม่กล่าวถึงขอบเขตของ “ความเป็นจิต” เอาไว้เลย คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพวกที่มีการศึกษาสูงๆ ก็จะสงสัยอยู่ร่ำไป หาลานจอดให้หยุดคิดแล้วหันมาปฏิบัติเต็มที่ไม่ได้ ส่วนถ้ากล่าวเยิ่นเย้อเกินไป เรื่องจิตก็จะกลายเป็นการจุดชนวนความคิด เกิดตั้งคำถามแบบแตกกิ่งก้านสาขาออกไปยิบย่อยไม่รู้จบยิ่งกว่ารากต้นไม้ขนาดมหึมา
ดังนั้นจะขอตั้งแง่มุมที่จะกล่าวเกี่ยวกับจิตเพื่อดึงให้สนใจเข้ามาศึกษาจิตของตนเองตามแนวทางที่พระพุทธองค์กำหนดไว้ในจิตตานุปัสสนา คือพอประมาณที่จะทำให้หายสงสัย เหมือนแค่ศึกษาว่ารถยนต์ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักต่างๆ แต่จะไม่ลงลึกในรายละเอียดว่าแต่ละชิ้นทำงานอย่างไร มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งต่อชิ้นส่วนอื่นๆอย่างไร คือขอแค่เป็นคนขับที่ไม่หลงนึกว่ารถยนต์เกิดเองและเป็นเนื้อเดียวกันทั้งคันก็พอ ไม่ถึงขนาดจะให้เป็นนายช่างใหญ่ในโรงซ่อมแต่อย่างใด
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 12:31:17 PM »



 ความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับจิต  

ที่เจาะจงใช้คำว่า “ความเชื่อ” ก็เพื่อเปรียบเทียบในภายหลังว่าต่างกับ “ความจริง” อย่างไร คือชี้ให้เห็นว่าระหว่างคนธรรมดาทั่วไป ปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์ และนักพลังจิตนั้น ต่างมีมาตรฐานเฉพาะด้านที่จะมองและเลือกเชื่อกันไป มีความกะดำกะด่างบ้าง มีช่องโหว่ให้โต้แย้งบ้าง เมื่อหาทางพิสูจน์แล้วอาจเกิดทฤษฎีใหม่ขึ้นมาแทนความเชื่อเก่าๆได้เสมอ แตกต่างจากพระพุทธเจ้าที่ท่านให้ความรู้เกี่ยวกับจิตไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง หากศึกษาอย่างรอบคอบรัดกุมแล้วจะพบว่ายุติข้อโต้เถียงได้ราบคาบทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ


จิตในสามัญสำนึกของคนทั่วไป
คนส่วนใหญ่จะนึกถึงจิตว่าเป็น “ความรู้สึกนึกคิด” ของตัวเองที่ปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้ ความรู้สึกนึกคิดอยู่ตรงไหน ตรงนั้นก็คือจิตของตน ตั้งอยู่ภายในกายอันปรากฏเป็นรูปร่างหน้าตาที่เห็นอยู่ มองแบบไร้หลักเกณฑ์ประกอบรายละเอียดเช่นนี้เรียกว่าเอาตามอัตโนมัติหรือใช้สามัญสำนึกเป็นใหญ่

ด้วยความเชื่ออันเกิดจากสามัญสำนึกดังกล่าว มักเป็นที่มาของข้อถกเถียงมากมาย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และจะมีต่อไปในอนาคต เช่นเราได้ยินการบอกเล่าสืบต่อกันเสมอว่ามีชาติก่อนชาติหน้า มีนรกสวรรค์ สิ่งลี้ลับเหล่านี้ไม่อาจรู้ได้ด้วยสามัญจิต หากเราถูกจองจำไว้ในกรงแห่งความรู้สึกนึกคิด สิ่งที่นำมาเถียงกันก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกเหนือไปจากความเชื่อส่วนตัวอันเป็นผลผลิตจากความรู้สึกนึกคิดนั่นเอง
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 12:36:49 PM »



เมื่อเข้าใจว่าจิตคือความรู้สึกนึกคิด คนส่วนใหญ่จะไม่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจิตให้วุ่นวาย เนื่องจากภาระต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้องก็หนักพออยู่แล้ว แล้วก็มีสิ่งดึงความสนใจแบบโลกรออยู่อีกมาก ทั้งคนรัก ทั้งความบันเทิงสารพัดรูปแบบ น้อยคนจะมีสัญชาตญาณชนิดหนึ่งติดตัวมา คือกระหายใคร่รู้สัจจะความจริงเกี่ยวกับชีวิต เกี่ยวกับเรื่องก่อนเกิดและหลังตาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ยืนพื้นอยู่บนธรรมชาติอันเป็นแกนกลางชนิดเดียว คือจิต ถ้ารู้ความจริงเกี่ยวกับจิตได้ คำตอบทุกอย่างก็เผยตัวออกมาเอง เพราะตามความเชื่อของคนเรา ไม่ว่าการมีชีวิต สิ้นชีวิต หรือการเข้าถึงนรกสวรรค์ ก็ล้วนแต่จิตนี้ที่มีอันเป็นไป เดินทางไป หรือเคลื่อนย้ายไป

อันที่จริงประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของคนทั้งหลายต่างก็พบกับประสบการณ์ตรงทางจิตที่ยิ่งไปกว่าความรู้สึกนึกคิดมากมายนัก ยกตัวอย่างเช่นพลังจิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ถ้าจ้องตากันแล้วสามารถรู้ได้ถึงกำลังที่แตกต่าง หรืออย่างภาวะบางประการที่สำเหนียกสัมผัสได้ เช่นอยู่ใกล้คนหนึ่งเหมือนมีกระแสสบาย อยู่ใกล้อีกคนเหมือนเต็มไปด้วยกระแสความเร่าร้อนกระวนกระวาย ยังผลให้เราสงบสุขหรือเครียดเขม็งตามไปด้วย

อีกประการหนึ่ง คนทั่วไปจะไม่ปฏิเสธบัญญัติศัพท์อันบ่งถึงลักษณะ เช่น “ดวงจิต” หรือ “กระแสจิต” ซึ่งดูเผินๆเหมือนรู้อยู่ว่าเป็นอันเดียวกัน แต่หากวิเคราะห์แล้วจะทราบว่าสองลักษณะนี้แตกต่างชนิดขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง เพราะลักษณะเป็นดวงนั้นบ่งว่ามีรูปทรงแบบพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ ส่วนลักษณะเป็นกระแสจะบ่งว่ามีระลอกความต่อเนื่องแบบคลื่นน้ำหรือคลื่นไฟฟ้า

ต่อเมื่อปรับมุมมองเสียใหม่ ว่าตอนมองให้เป็น “ดวง” จะหมายถึงจิตโดยความเป็นสภาวะหรือคุณสมบัติสักอย่างหนึ่ง เช่นเราอาจบรรยายความเป็นใครคนหนึ่งอย่างรวดเร็วด้วยการกล่าวว่า “เขามีดวงจิตที่สุขสงบ” ก็จะเกิดภาพของผู้ที่มีชีวิตทั่วไปผาสุก มีเมตตา ไม่เบียดเบียนใคร เป็นต้น การไร้ซึ่งเหลี่ยมมุม การไม่มีขนาดและปริมาณที่แน่ชัดของสภาวจิตหนึ่งๆนั้น ใกล้เคียงกับวงกลมมากกว่ารูปทรงอื่น จึงเรียกเป็นดวงไปพลางๆ

ส่วนตอนมองจิตเป็น “กระแส” จะหมายถึงจิตโดยความเป็นคลื่นต่อเนื่องหรือแปรปรวนไปสภาวจิตในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นเราอาจรู้สึกถึงพลังอำนาจของใครบางคนที่มีอิทธิพลต่อใจเราขนาดทำให้เกิดความคร้าม นั่งอยู่ต่อหน้าเขาแล้วได้รับความกดดันอย่างหนัก ก็อาจมาเล่าให้ญาติฟังว่า “เขามีกระแสจิตที่แรงมาก” อย่างนี้ฟังแล้วเกิดภาพของผู้ปล่อยคลื่นพลังไร้รูปออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แรงแค่ระลอกเดียวแล้วหดหาย


สรุปคือแม้ในประสบการณ์ตรงของคนทั่วไป จิตก็ปรากฏเป็นอะไรที่ยิ่งไปกว่าความรู้สึกนึกคิดมากนัก แต่เพราะมัวจดจ่อสนใจอยู่กับเรื่องในชีวิตประจำวัน จึงหมดเวลามาศึกษาให้ลึกซึ้ง ว่าจิตคืออะไรกันแน่ ถ้าจะพัฒนาจิต ควรใช้อุบายใด ถ้าจะป้อนสิ่งดีที่สุดให้ “จิตของเรา” ควรดำเนินตามหลักการแบบไหน ปรัชญา ศาสนา หรือวิทยาศาสตร์ เหล่านี้คือคำถามที่ชาวโลกส่วนใหญ่หลงหลับใหลและไม่เคยตื่นขึ้นมาถามตนเองเลย
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 12:39:05 PM »


มุมมองเกี่ยวกับจิตแบบอภิปรัชญา

การบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวกับ “ความเป็นจิต” โดยตรงนั้น บางครั้งขึ้นอยู่กับมุมมองของปราชญ์โบราณ เช่นนักปราชญ์กรีกใช้คำว่า Nous แบบเจาะจงถึงจิตอันทรงมหิทธานุภาพระดับพระเจ้าผู้จัดระเบียบและธาตุทั้งหลายในเอกภพ และปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งโดยปราศจากรูปลักษณ์ ตรงนี้จะเชื่อมโยงกับความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าโดยตรง กล่าวคือถือว่ามี “จิตที่ยิ่งใหญ่” เป็นปฐมเหตุแห่งสรรพสิ่ง แม้กระทั่งที่ปรากฏความเป็นเรา หรือรู้สึกว่าเป็นจิตเรา ก็ถูกสร้างมาจาก Nous นั้น

ส่วนในภาษาลาติน ศัพท์ที่ตรงกับนิยามว่าจิตได้แก่ Mens ส่อความหมายไปทางความคิดอ่านและสติปัญญาที่แยกได้ขาดจากกาย มีความเป็นอมตะ ไม่มีวันดับสูญ และรากศัพท์ของคำนี้จะมาจาก Metior ซึ่งแปลว่า “เปรียบเทียบ” กล่าวคือเปรียบเทียบสติปัญญาแบบมนุษย์กับสัญชาตญาณของสัตว์ชั้นต่ำ ด้วยกรอบของมุมมองชนิดนี้ สมัยก่อนจึงเชื่อกันว่าสัตว์ไม่มีจิต มีแต่สัญชาตญาณ ฆ่าแกงอย่างไรก็ไม่บาป

หรืออย่างในภาษาอังกฤษ คำเช่น Mind ก็มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความจำเช่นที่เราเห็นคำว่า to bear in mind ซึ่งแปลว่า “จำไว้” หรืออาจเชื่อมโยงกับเจตจำนงเช่นที่ใช้เป็นกริยา to mind แปลว่า “เอาใจใส่” ตัวคำว่า Mind สำหรับความเชื่อของคนทั่วไปจึงไม่เกี่ยวกับสิ่งลี้ลับ แต่จำเพาะอยู่เพียงขอบเขตที่เข้าใจได้ คือความจำและเจตจำนง
แต่ละภาษายังมีบัญญัติศัพท์เกี่ยวกับจิตหลากหลายออกไปอีก อย่างเช่นในภาษาอังกฤษนั้น นอกจาก Mind แล้วก็ยังมี Soul ซึ่งมุ่งส่อถึงวิญญาณที่มีความสามารถทางสติปัญญาคิดอ่านได้ มีเจตจำนงกระทำการตามปรารถนาได้ และยังอยู่ในภาวะต้องเคลื่อนย้ายจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง (แม้กระทั่งขณะหลับฝันก็ถือว่าวิญญาณออกจากร่างชั่วคราว) นอกจากนั้นก็มีคำว่า Spirit ซึ่งมุ่งส่อถึงสภาพวิญญาณที่บริสุทธิ์แล้ว และออกจากร่างมนุษย์ไปอยู่ในสภาพอื่นเช่นเทพยดาในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว เหล่านี้สะท้อนถึงขอบเขตความรู้เห็น ความเชื่อ ความยึดถือซึ่งมีอยู่ต่างๆ แม้แต่ผู้ใช้ภาษาแม่ก็ใช่จะเข้าใจที่มาที่ไปของศัพท์ต่างๆดีนัก

ถ้าเราผูกความเชื่อไว้ว่าจิตคืออะไร เราก็จะทำชีวิตให้เป็นไปตามความเชื่อแบบนั้น เช่นที่กล่าวแล้วในข้อก่อนว่าคนทั่วไปเห็นจิตเป็นความรู้สึกนึกคิด ก็จะเชื่อแต่สิ่งที่ตัวเองนึกคิด แต่ถ้าเชื่อว่าจิตเป็นสมบัติของพระผู้เป็นเจ้า ก็จะดำเนินชีวิตตามที่พระผู้เป็นเจ้าสั่งผ่านคัมภีร์

สมัยก่อนถ้าปราชญ์หรืออัจฉริยบุคคลใดมีอิทธิพลเหนือมนุษย์ ชนิดชี้นกเป็นไม้ ชี้ไม้เป็นนกได้ ก็มักทำให้คนในสังคมเชื่อตามที่ตนเองพูด เช่นพิธากอรัสซึ่งเป็นที่ยอมรับในเรื่องความรู้ความฉลาดทางคณิตศาสตร์ระดับบิดาแห่งวงการ เมื่อกล่าวว่าเขาสามารถระลึกชาติได้ ก็มีคนเชื่อ และลดความมั่นใจใน “ความรู้สึก” ของตนว่าจิตเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิด ตายเมื่อไหร่จิตก็ดับ แต่จะเริ่มมองว่าจิตของตนเป็นดวงวิญญาณที่ย้ายจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง เชื่อตามไปอย่างนั้นทั้งที่ไม่เคยเห็นประจักษ์ ไม่เคยระลึกชาติได้ด้วยตนเองเลย


สำคัญคือถ้าเชื่อเรื่องวิญญาณเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติจากใคร ถ้าเขาแนะนำสั่งสอน “วิธีเตรียมตัวเปลี่ยนภพ” แบบผิดๆ ก็นับว่าเคราะห์ร้าย เช่นเคยมีเรื่องเล่าว่าพระราชาองค์หนึ่งอยากไปสวรรค์ พอถามคนที่คิดว่าเป็นผู้รู้ ก็ได้รับคำแนะนำว่าให้ฆ่าลูกเมียบูชายัญเสีย พระราชาผู้เขลาก็อุตส่าห์หลงเชื่อ สั่งฆ่าลูกเมียตัวเองจริงๆ

สรุปคือในอภิปรัชญา ลัทธิ หรือศาสนาต่างๆมักกล่าวถึงจิตโดยความเป็นวิญญาณดวงหนึ่งที่เป็นอมตะ พอร่างหนึ่งตายก็เปลี่ยนย้ายถ่ายโอนไปอีกร่างหนึ่ง รายละเอียดจะแตกต่างกันตามความเชื่อหรือความหยั่งรู้ของต้นแหล่ง เช่นวิญญาณอาจบริสุทธิ์ได้ในที่สุด หยุดเวียนว่ายตายเกิด แต่บางเจ้าก็เชื่อว่าวิญญาณจะท่องเที่ยวไปเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น นอกจากนั้นแนวคิดเกี่ยวกับความดีความชั่วก็จะแตกต่างออกไป นิยามของความดีความชั่วมักเป็นไปตามความเห็น หรือความอยากให้เป็นอย่างนั้น น้อยครั้งจะได้นิยามความดีความชั่วตามหลักเมตตาจิต คือไม่มีการจองเวร ไม่มีการเบียดเบียนต่อมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 12:40:05 PM »



มุมมองเกี่ยวกับจิตของนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน

แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์จะอาศัยเหตุผลและปัญญาคิดอ่านแบบมนุษย์ ไม่ฝากความเชื่อถือไว้กับผู้ใดผู้หนึ่ง หากมีการค้นพบ “ความจริง” ขึ้นในปีนี้ แล้วปีหน้ามีอีกคนพบ “ความจริงกว่า” ก็เป็นอันยอมรับโดยไม่ยึดมั่นว่าผู้ค้นพบคนก่อนจะต้องศักดิ์สิทธิ์เสมอ ใครหักล้างไม่ได้ เรียกว่าเป็นการช่วยกันมองโดยหลายสายตา หลายการยืนยันมากกว่าจะปักใจสนิทให้กับข้อสรุปแม้ชาญฉลาดยิ่งของอัจฉริยบุคคลท่านใดท่านหนึ่ง

วิทยาศาสตร์จึงนับเป็นเครื่องมือสำรวจความจริงที่เข้ากับธรรมชาตินึกคิดอย่างมีเหตุผลของมนุษย์ สิ่งใดเอามาทดลองไม่ได้ พิสูจน์หาหลักฐานมาเปิดเผยให้รับรู้ตรงกันไม่ได้ ก็ให้ถือว่าควรปล่อยไว้ก่อน รอจนกว่าจะหาทางทำให้ยอมรับร่วมกันด้วยตา หู จมูก ลิ้น และกายได้ว่าความจริงเป็นอย่างนี้ จึงค่อยนับว่าถูกรับรองโดยนักวิทยาศาสตร์สากล
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 12:41:30 PM »

มุมมองเกี่ยวกับจิตของนักพลังจิต

ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โลกเราไม่เคยขาดนักพลังจิต หรือที่มักเรียกกันว่า “ผู้วิเศษ” ไม่ว่าจะเป็นพ่อมดหมอผีคนทรงเจ้ากระจอกหรือฤาษีชีไพรผู้ทรงตบะเดชะยิ่งใหญ่

ผู้ที่เข้าหา ศึกษา และหวังใช้พลังจิตจะมีมุมมองที่แตกต่างไปจากคนธรรมดาหน่อยเดียว คือแรกเริ่มเดิมทีจะมองว่าจิตคือความรู้สึกนึกคิด และอาจเห็นว่ามีสภาพความเป็นอมตะ ย้ายร่าง เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิได้ แต่ที่จะมองเพิ่ม และขวนขวายหาทางรู้จริงให้ได้ในปัจจุบันคือทำอย่างไรจะเพิ่มความสามารถพิเศษเหนือมนุษย์อื่น เช่นเหาะเหินเดินอากาศ ล่องหนหายตัว ดักทายใจล่วงรู้ความคิดใครต่อใครได้ สื่อสารผ่านโทรจิตข้ามทวีปได้ หาทองใต้ดินได้ ฯลฯ พูดให้ง่ายที่สุดคือจิตจะถูกมองเป็น “พลังชนิดหนึ่ง” ทำนองเดียวกับที่เรามองพลังงานจากธรรมชาติอื่นๆเช่นน้ำมัน แสงแดด หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์นั่นเอง เราอาจรับประสบการณ์ตรงในชีวิตประจำวันได้บ้าง เช่นมองคนมีตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบสูงๆ หรือผู้มีอิทธิพลสูงๆ แล้วเกิดความรู้สึกเหมือนเขาเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานขนาดใหญ่ มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลและสถานการณ์รอบข้างได้ตามอำเภอใจ จุดนั้นคือความเห็นพลังจิตอย่างหนึ่ง
แนวคิดแบบนี้สนับสนุนอัตตาที่ยิ่งใหญ่ น่าภาคภูมิ และควรมีควรเป็นให้จงได้ แนวคิดแบบนักพลังจิตที่มีการศึกษายุคปัจจุบันจะประยุกต์ทั้งความเชื่อแบบอภิปรัชญาและทั้งการพิสูจน์เก็บตัวอย่างสถิติแบบวิทยาศาสตร์ จึงเริ่มมีหน่วยงานแม้ระดับรัฐบาลให้ความสนใจ ให้ทุนศึกษาจริงจัง ไม่ปล่อยให้เป็นเพียงความเชื่อแบบงมงาย เพราะหวังกันว่าเมื่อศึกษาจนถึงแก่น พัฒนาศักยภาพพลังจิตแก่กล้าถึงจุดหนึ่ง ก็อาจได้คำตอบรวบยอดว่าจิตคืออะไร เอาไปใช้ประโยชน์ใดเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง

นักพลังจิตระดับปฏิบัติจะมองว่าการฝึกฝนสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั่วไป ก็จัดเป็นการฝึกจิต พัฒนาพลังจิตให้เติบโตแข็งแรงขึ้นตามวันเวลาที่ผ่านไป เช่นนักร้องที่ฝึกเปล่งเสียงอย่างสม่ำเสมอ ฝึกร้องให้มีกังวานกว้าง ฝึกลงลูกคอให้พลิ้ว มองตามรูปธรรมคือฝึกให้กายตอบสนองแบบสั่งได้ตามใจ แต่มองตามนามธรรมแบบนักพลังจิตคืออาศัยวินัยและการเพ่งจิตควบคุมเสียงเรื่อยๆแล้ว ในที่สุดเสียงก็จะอยู่ในอาณัติ และขับเสียงออกมาได้อย่างไพเราะ มีอำนาจสะกดคนฟังเป็นพิเศษแตกต่างจากคนฝึกมาน้อยกว่า ที่สำคัญคือเมื่อเกิด “พลังจิต” ในระดับที่เป็นฤทธิ์จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะเอาไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆตามแต่ปรารถนา เช่นนักร้องนักดนตรีระดับอัจฉริยะอาจเอาพลังจิตที่สั่งสมไว้แล้วมาฝึกควบคุมวัตถุให้เคลื่อนที่บ้าง ไม่ใช่ควบคุมเพียงเสียงของตนอย่างเดียว

เพื่อพัฒนาพลังจิตให้เติบกล้า จิตต้องจดจ่อหรือหัด “กระทำการ” กับวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง จะลืมตาหรือหลับตาก็ตาม พูดให้ง่ายคือจิตจะมีอำนาจเหนือวัตถุขึ้นมาเองไม่ได้ถ้าปราศจากเจตจำนงและพลกำลังที่กล้าแข็งพอ อย่างเช่นถ้าอยากจะเคลื่อนย้ายแก้วน้ำจากมุมโต๊ะมาถึงมือโดยไม่ต้องขยับเขยื้อนส่วนไหนของร่างกาย ก็ต้องมีกระแสพลังกล้าแข็งเป็นทุน และมีความมุ่งมั่นที่จะสั่งแก้วให้วิ่งมาหาตัวอย่างแน่วแน่ หากขาดการสั่งสมพลังและไม่มีการฝึกบังคับควบคุมสิ่งต่างๆด้วยเจตจำนงแล้ว ก็ถือว่ายังไม่อยู่ในโลกของนักพลังจิต และยากที่จะมองว่าจิตเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง

ทุกวันนี้นักพลังจิตกำลังควานหากันอยู่ว่ามีสูตรสำเร็จครอบจักรวาลอยู่หรือไม่ กล่าวคือฝึกอย่างไรแล้วเกิดพลังจิตแน่นอน กับทั้งครอบคลุมอำนาจวิเศษทุกด้าน ที่ผ่านมาถ้าจะพึ่งพาใครให้ทำงานด้านพลังจิตเป็นพิเศษ ก็มักต้องหาคนเก่งเฉพาะทาง หรือมีพรสวรรค์ด้านนั้นๆโดยเฉพาะ อีกทั้งมีความไม่แน่นอนสูง วันนี้ทำได้ พรุ่งนี้ทำไม่ได้เสียแล้ว
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 12:47:49 PM »

จุดร่วมของความเชื่อ


ความเชื่อต่างๆนั้น ไม่ว่าจะมาทางสามัญสำนึก อภิปรัชญา วิทยาศาสตร์ หรือพลังจิต ล้วนแล้วแต่มีจุดร่วมอยู่ประการหนึ่ง คือยอมรับความมีตัวตนของจิต เห็นจิตเป็น “ชีวิต” หรือภาวะบุคคล ถ้ามองอย่างเป็นรูปธรรมแบบวิทยาศาสตร์ก็ต้องว่าบุคคลนั้นดำรงอยู่ตราบเท่าที่หัวใจยังเต้น คลื่นสมองยังกระเพื่อมได้ ถ้ามองอย่างเป็นนามธรรมแบบอภิปรัชญา ก็ต้องว่าบุคคลนั้นอาศัยร่างมนุษย์ในการเรียนรู้ชั่วคราว แล้วจะต้องเดินทางต่อไป จะเป็นร่างใหม่หรือสรวงสวรรค์นิรันดรก็ขึ้นอยู่กับแนวความเชื่อที่ซอยย่อยเป็นสาขายิบยับอีกที

ความน่าเชื่อถือของแนวคิดต่างๆนับเป็นเรื่องท้าทายของคนหัวดื้อในยุคบริโภคข้อมูล ยุคของเราที่ไม่มีใครเชื่อใครง่ายๆหากปราศจากการพิสูจน์ให้รอบ คัมภีร์ประจำศาสนาจะบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าพระศาสดามีดำรัสเกี่ยวกับความจริงแง่มุมต่างๆไว้อย่างไร หากพระศาสดาตรัสอะไรไว้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่อาจยืนทนต่อการพิสูจน์แล้วล่ะก็ จะถูกต่อต้านหรือถูกดูหมิ่นดูแคลนอย่างรุนแรงจากนักศึกษาหัวก้าวหน้าในปัจจุบันทันที เพราะระบบการศึกษาปัจจุบันจะยุให้คิด ยุให้หาความจริงด้วยสติปัญญาแบบมนุษย์ ไม่ใช่ให้งมงายด่วนรับความเชื่อ ไม่กล้าคัดง้างด้วยความกลัวบาปกลัวกรรมเหมือนยุคที่ผ่านๆมา

ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณตามแนวอภิปรัชญาหรือลัทธิศาสนาทั้งหลายนั้น โดยมากมักเป็นการบอกเล่าเหตุการณ์เช่นเห็นวิญญาณตนเองลอยออกจากร่างไปสัมผัสดินแดนที่แตกต่างจากโลกปัจจุบัน หรือขณะลืมตาตื่นอยู่สามารถรับสัมผัสอันทรงมหิทธานุภาพอันเป็นที่มาของมหาปีติ อบอุ่นทรงพลังเกินกว่าจะนึกปฏิเสธว่าเป็นเพียงอุปาทานชั่วครู่ชั่วยาม ศาสนิกผู้มีศรัทธาแก่กล้าและฝึกอบรมดีแล้วมักเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาสนาของตนได้เสมอๆ คนไม่รู้ก็หาว่างมงาย แต่คนที่ได้ประสบพบพานพลังอบอุ่นและดินแดนยิ่งใหญ่เป็นประจำย่อมทราบดีว่าตนไม่ได้ฝันไปเอง ยังมีมิติที่เหนือกว่าโลกหยาบอันรู้ได้เห็นได้ด้วยตาดูหูฟังของมนุษย์ธรรมดา
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: 1 [2] 3
พิมพ์
กระโดดไป: