KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 => ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ => ข้อความที่เริ่มโดย: cellulose ที่ พฤษภาคม 31, 2011, 07:40:15 PM



หัวข้อ: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: cellulose ที่ พฤษภาคม 31, 2011, 07:40:15 PM
พยายามหาความหมายของจิต ......แต่อ่านจากแต่ละท่านมันไม่เข้าใจ....รบกวนช่วยชี้แนะด้วยคับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 01, 2011, 05:02:53 AM
เดี๋ยวจะลองมาให้อ่านก่อน แล้วไม่เข้าใจตรงไหน ค่อยมาว่ากันดีกว่าม๊ยครับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: cellulose ที่ มิถุนายน 01, 2011, 05:41:09 PM
ขอบพระคุณคับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 01, 2011, 10:47:15 PM
ผมว่าผมเคยพิมพ์ไปแล้ว ภาคปริยัติ แต่บังเอิญที่พิมพ์ไว้เป็นชั่วโมงโพสต์ไม่เข้าด้วย เวลาล็อกอินหมด
และข้อมูลหายไปหมด ผมต้องใช้เวลาอ่านพระไตรปิฎกอยู่นานจึงจะเข้าใจเรื่องของ จิต

ทีนี้มันต้องใช้เวลาในการเขียนมาก ผมจึงจะแนะนำให้อ่านเอาจากที่นี่ก่อนนะครับ

เข้าไปที่หน้าแรกของเว็บkammatan นี่แหละครับแล้วสกอลลงมาข้างล่างจะเจอแบบนี้ครับ

ไฟล์หนังสือธรรมะ แนะนำ :
แก่นธรรมหลวงปู่ดูลย์ โดยพระอาจารย์ปราโมทย์ ปราโมชโช หน้า 16-21
ลองดาวน์โหลดมาอ่านดูก่อนนะครับ

ผมคิดว่าท่านเขียนได้เคลียร์และเห็นภาพครับ

ลองอ่านดูครับ....


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 02, 2011, 09:37:31 AM
ขอบคุณพี่ต่ายที่เมตตาน้องๆ นะครับ

ผมขอเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง จิต ถ้าเปรียบ ก็คือเหมือนน้ำที่ใสบริสุทธิ์ ครับ
ส่วน เจตสิต นั้นเสมือนสิ่งที่เข้ามาปรุงจิต เปรียบได้กับ น้ำเป๊ปซี่ ก็คือ
ใส่สีชนิดต่างๆ ใส่ก๊าซ ปรุงแต่งกลิ่น จนได้เป็นน้ำสีดำ รสชาดซ่า ประมาณนั้นครับ

ส่วนจิตของปุถุชน กับ จิตของพระอริยะในระดับชั้นต่างๆ ที่ทำให้ต่างกันก็คือ
ปัญญาที่เกิดจากองค์ธรรม ที่มารวมกันแล้วทำการประหารสังโยชน์ ในแต่ละระดับครับ

จิตของปุถุชน เมื่อถูกเจตสิก ครอบงำ (จึงทำให้หลงตาม ราคะ โทสะ โมหะ)
แต่จิตของพระอรหันต์ เจตสิตย้อมจิตของท่านเหล่านั้น ไม่ติดครับ จึงเป็นสภาวะที่หลุดพ้นการปรุงแต่งเข้าสู่สันติสุขตลอดกาล

สำหรับการเจริญปัญญาเพื่อออกจากทุกข์นั้น น้องสามารถ เรียนได้จากสิ่งที่องค์พระพุทธเจ้าท่านทรงได้เมตตาบอกไว้
คือการทำทาน ถือศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็เจริญสติภาวนา

หรือจะฟังได้จาก cd ของพระอาจารย์ปราโมทย์ ที่ท่านเทศน์ไว้ก็ได้ครับผม
http://www.kammatan.com/music/playmedia.php?id=3

ลองดูนะครับน้อง cellulose


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: pizzazaz ที่ มิถุนายน 02, 2011, 03:20:50 PM
จิตใจคนยากแท้หยั่งถึง.......


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: cellulose ที่ มิถุนายน 02, 2011, 07:38:20 PM
ขอบพระคุณคุณจริงๆๆคับ
ผมขอดึงข้อมูลมาสอบถามต่ออีกนะคับ .......ดังนี้คับ

จิต เป็นสิ่งที่มีในธรรมชาติจริงๆ  โดยจิตอาจเป็น หนึ่งในสี่ อย่างต่อไปนี้คือ
1.ธรรมชาติที่รู้ถึงอารามณ์
2.เจตสิก สภาวธรรมที่ประกอบจิต  ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร (ไม่ทราบว่ารวมถึงวิญญาณหรือไม่คับ)
3.รูป ที่ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน และความเย็น (ไม่เข้าใจคับ)
4.นิพพาน

จิตเป็นามธรรม ไร้รูปเสียงกลิ่น รส สัมผัส  แต่ผู้ปฏิบัติรับรู้ได้ 
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้ เรียกว่าอารมณ์
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์
จิต ต้องรับอารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไป
จิต   มีชื่อเรียกหลายคำเช่น มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ
จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้นจิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่าง คือ
สามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
๑. สามัญญลักษณะ     จิตมีไตรลักษณ์ครบ คือ  อนิจจลักษณะ  ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
๒. วิเสสลักษณะ    หรือลักขณาทิจตุกะของจิต มีครบทั้ง ๔ ประการคือ
มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
เป็นประธานในธรรมทั้งปวงเป็นกิจ (รสะ)
มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสายเป็นอาการปรากฏ(ปัจจุปัฏฐาน)
มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด (ปทัฏฐาน) (ไม่เข้าใจคับ)

รบกวนชี้แนะด้วยคับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 06, 2011, 10:53:22 PM
จิต เป็นสิ่งที่มีในธรรมชาติจริงๆ  โดยจิตอาจเป็น หนึ่งในสี่ อย่างต่อไปนี้คือ
1.ธรรมชาติที่รู้ถึงอารามณ์
2.เจตสิก สภาวธรรมที่ประกอบจิต  ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร (ไม่ทราบว่ารวมถึงวิญญาณหรือไม่คับ)
3.รูป ที่ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน และความเย็น (ไม่เข้าใจคับ)
4.นิพพาน



อ่านให้แยบคายครับ ท่านไม่ได้เขียนว่า "จิตอาจเป็น หนึ่งในสี่ อย่างต่อไปนี้คือ" แต่เขียนว่า "จิตเป็นปรมัตถธรรมหรือสิ่งที่มีอยู่จริง ๑ ใน ๔ อย่าง"

ลองศึกษาแต่เพียงเรื่องจิตอย่างเดียวก่อนครับ

สำหรับข้อ ๒ เป็นเรื่องของ "เจตสิก" เข้าใจง่ายๆก็ตามที่ท่านเขียนแหละครับ แต่ไม่รวมวิญญาณเพราะวิญญาณทำหน้าที่รับรู้อารมณ์เหมือนกัน

สำหรับข้อ ๓ เป็นเรื่องของ "รูป" แยกออกมาจากจิตนะครับ เหมือนรูปกายหยาบละเอียดนี่แหละครับเช่น  มนุษย์,สัตว์,เทวดา,ถ้ายังอยู่ในวัฏฏสงสารก็ยังมีรูปหมด หยาบละเอียดต่างกันเท่านั้นเอง ถูกทำลายได้หมด



มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด (ปทัฏฐาน) (ไม่เข้าใจคับ)[/color]

จิตไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว จะอาศัยนามธรรม รูปธรรม เป็นปัจจัยให้เกิด หรือให้มี

หลวงพ่ออาจจะเขียนเข้าใจยากคือต้องมีความรู้พื้นฐานทางปริยัติบ้าง ลองอ่านแบบละเมียดอีกซัก ๒รอบเป็นอย่างต่ำแล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจอยู่ก็ถามมาอีกนะครับ



หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 06, 2011, 11:13:46 PM
จิต ก็เกิดดับสืบเนื่องกันไป
เดี๋ยวกุศล อกุศล ดีใจ เสียใจ หดหู่ เฉยๆ โมหะ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ซึ่งเป็น เจตสิก ก็จะไปเกาะกับจิตตอนนั้นๆเกิดแล้วก็ดับไปสืบเนื่องกัน และรับรู้ได้ทีละขณะ แต่ก็เร็วมาก เหมือนเราโกรธอยู่เราจะไม่รู้อารมณ์อื่นๆ

แต่ถ้าเราฝึกเรื่อยๆมันก็จะเห็นอารมณ์ปรากฏได้แจ่มแจ้งและรู้สภาวะจิตได้ตรงความเป็นจริงและรู้ได้เร็วขึ้นครับ

 


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 06, 2011, 11:29:33 PM
นามธรรมที่เป็นสมมุติบัญญัติ เขียนอธิบายเอาก็เข้าใจยากเหมือนกันครับ

ขนาดฟังแล้วก็ยังเข้าใจยากเหมือนกันด้วยครับ

ผมก็พิมพ์ไม่ค่อยเก่งและพิมพ์ได้ช้า ผมก็เริ่มจากการอ่านเหมือนกันครับ แล้วก็ไม่เข้าใจเลย อ่านมากฟังมาก แล้วก็สงสัยมากครับ

ต้องใช้เวลาครับ และถ้าเราฝึกปฏิบัติไปด้วย เราก็จะเข้าใจเป็นลำดับๆไปครับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: cellulose ที่ มิถุนายน 07, 2011, 11:42:05 AM
ขอบพระคุณในความกรุณาคับ
รบกวนอีกนิดคับ
1.จิตเกิด  แล้วดับ สลับเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็ว 
สมมุติว่าเราดีใจหมายถึงจิดที่รับรู้อารมณ์สิ่งที่ทำให้ดีใจนั้นเกิดขึ้นใช่มั้ยคับ   สักพักหนึ่งจิตคุ้นเคยกับอารมณ์นั้นระดับความดีใจลดลง อย่างนั้นใช่มั้ยคับเรียกว่า จิตดับ 
2.หากมีอารมณ์ที่ทำให้เกิดความดีใจเกิดขึ้นใหม่   จิตก็รับรู้ความดีใจใหม่ จะถือว่าเป็นจิตเดิมหรือไม่คับ
3.ต้องขออภัยที่ถามแบบไม่เข้าถ้า...แต่ผมเชื่อว่าหากเราเข้าใจจิตของเราได้ดี น่าจะมีผลดีต่อการลดละในสิ่งที่ไม่มีสาระ  และจิตพร้อมที่จะรับรู้และเกิดปัญญาที่ดีตามมา เพราะจิตพร้อมรับการแก้ไข หรือหากวิธีการที่ดีโดยลดอารมณ์ยึดถือตน เป็นที่ตั้ง
4.สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีจิตหรือไม่คับ เพราะผมยังอ่านไม่พบ  แต่มีความรู้สึก หรือเข้าใจไปเองว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น  แต่การถ่ายทอดแสดงออกของจิตในสิ่งมีชีวิตแสดงออกแตกต่างกันไป ซึ่งมนุษย์ไม่เข้าใจเอง


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 07, 2011, 12:25:17 PM
1.ไม่ใช่ครับ จิตที่ดีใจนั้นก็เกิดขึ้นและดับไปในขณะจิตนั้นแต่จิตมันส่งต่อกรรมหรือวิบากต่อไปให้จิตดวงต่อไปไปเรื่อยๆครับ
จิตตัวเก่าดับแล้วก็ดับไป ความดีใจยังอยู่นั่นมันสัญญา ความจำได้หมายรู้ที่ส่งให้จิตดวงต่อๆมาครับ

2.ก็เป็นจิตดวงใหม่ครับ เพราะจริงๆแล้วความดีใจมันก็มีหลายระดับไงครับ ดีใจน้อยดีใจมากๆไม่เหมือนกัน ถึงเขียนก็ไม่จบนะครับ แล้วก็ไม่มีใครแบ่งเลเวลไว้ คงพูดกันแต่ อย่างหยาบ อย่างละเอียด เอาน่ะครับ

3.เราไม่รู้เราถามซิครับ คนฉลาด ตามนั้นแหละครับ

4.เห็นด้วยครับ ผมว่ามีจิตครับ

ถ้ายังไม่เคลียร์ก็ถามมาอีกได้ครับ ผมพยายามจะตอบเท่าที่ผมพอจะอธิบายได้ครับ  :) แต่ก็ไม่ทราบว่าจะถูกต้องตามหลักสัจธรรมหรือเปล่า เพราะผมก็มีภูมิอยู่เท่าที่มีและก็พยายามพัฒนาตนเองต่อไปครับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 07, 2011, 03:00:02 PM
มาตามอ่านด้วยครับ ขอบคุณพี่ต่ายเช่นกันครับที่เมตตาน้องๆ

วันนี้หลวงพ่อปราโมทย์ มาเทศน์ที่การบินไทย เข้าไปฟังแล้วปิติป่ะครับผม

ได้ความอย่างไร นำมาบอกเล่าน้องๆ ด้วยนะครับพี่ต่าย

อนุโมทนาครับผม  ;)


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: cellulose ที่ มิถุนายน 09, 2011, 11:32:17 AM
ขอบพระคุณคับ....รบกวนสอบถามเพิ่มเติมคับ (พอดีอ่านสัมมาสมาธิ ของท่าน ป.อ.ประยุตตุโต อยู่คับ)
1.ในกรณีที่เราศึกษาเจริญสมาธิในระดับปฐมฌาน  จะมีคุณสมบัติของจิต ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคาตา 
    คำถาม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอยู่ในภาวะนั้น วัดจากจิตที่พร้อมการรับรู้  เกิดปํญญาตัดอวิชชาออก หรือรับรู้จากอารมณ์ที่เย็นสบายคับ  หรือมีตัวชี้วัดอื่นหรือไม่คับ

2.ตามคำภีร์วิสุทธิมัคค์ ว่าองค์ฌาน 5 ที่เกิดขึ้นเป็นปฏิปักษ์กับ นิวรณ์ 5เช่น
  วิตก คู่กับ ถีนมิทธะ.   วิจาร คู่กับ วิจิกิจฉา,  ปิติ คู่กับ พยาบาท,  สุข คู่กับ ความฟุ้งซ่าน , และสมาธิ คู่กับ กามฉันท์
ตามความรู้สึกจากข้อความไม่เป็นปรปักษ์ รบกวนชี้แนะคับ



หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 09, 2011, 03:49:37 PM
1. พอดีเราอาจจะอ่านข้ามมาเลยน่ะครับ ท่านพระอาจารย์มักจะเขียนอธิบายก่อนแล้วในเรื่องของ วิตก(ความตรึก) วิจาร(ความตรอง) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข(สุขใจ) เอกัคคตา (จิตมีสมาธิอยู่ในอารมณ์เดียว) ผมว่าท่านก็เขียนได้ละเอียดละออมากๆเลยทีเดียว แต่สำหรับผมอ่านก็ดูจะละเอียดมากจนเกินด้วยซ้ำ

เราก็รู้อารมณ์แบบนั้นแหละครับ มันรวมอยู่ในปฐมญาณหมด ผลัดกันเกิดดับให้เห็นไปเรื่อยจนเราไม่ทันสังเกต และเพียงเราไม่รู้จักและเรียกธรรมารมณ์แบบนั้นไม่ถูก

ต้องเข้าใจก่อนว่า การเรียนหรืออ่านเอาเพื่อจะให้เข้าใจ ถึงเข้าใจก็ยังไม่เกิดปัญญาพอที่จะละสังโยชน์ได้หมดนะครับ และกิเลสหรืออวิชชาก็ยังอยู่ครบแหละครับ ฉนั้นเราต้องปฏิบัติภาวนาเดินปัญญาทำสมาธิไปด้วย จึงจะเกิดปัญญาระดับสุดยอด นั่นคือภาวนามยปัญญา

ปัญญาจากการอ่านเอา(สุตมยปัญญา)ก็เป็นปัญญาเบื้องต้น และปัญญาที่เกิดจากเราคิดวิเคราะห์ประมวลผล(จินตามยปัญญา)ก็เป็นปัญญาระดับกลาง

ลองอ่านของ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ให้จบเล่มก่อนก็ได้ครับ แต่ผมว่าคงใช้เวลาหน่อยเพราะท่านเขียนแต่ละเล่มหนาไม่ใช่น้อย

2.ตามไปอ่านที่นี่ก่อนนะครับคงเข้าใจขึ้น

http://www.buddhism-online.org/Section03B_01.htm


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มิถุนายน 09, 2011, 11:44:06 PM
จิต เป็น ใจที่ซน เพราะโดนกิเลสมาดึงไป

กิเลสดังกล่าวคือได้แก่ ตัวเวทนา สัญญา และสังขาร(คิด)


แต่ สังขาร ที่เป็นกุศล ก็เป็น ประโยชน์ยิ่ง เพราะทำให้จิตเกิดปัญญาได้

เรียกว่า ปัญญินทรีย์ และ ตัดกิเลสได้

 และสัมผัสกระแสพระนิพพานในที่สุด ๆๆๆๆ   ;D


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มิถุนายน 09, 2011, 11:47:15 PM
จิตที่เลิกซน หรือ จิตตั้งมั่น  เรียกว่า ใ จ  เป็นพลังงาน

มีขนาด ประมาณเหรียญ บาท  2-3 ซม.  เวลาตั้งมั่นมีที่อยู่ กลางอก

แบบลองทำเครื่องหมายกากบาท ตามแนวขวางของอก

นั่นแหละตรงรอยตัด ของกากบาท ครือที่ของเค้า.....ลองหาให้เจอ .. ;D


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มิถุนายน 09, 2011, 11:56:06 PM
จิต        คือ จิต

เจตสิก    คือ เจตสิก

รูป        คือ  รูป


นิพพาน     ครือ นิพพาน

(ปรมัตถธรรม-สภาวะธรรมของจริง- มี 4 อย่าง-มาจากหน้าเว็บ วิมุตติ)

จิตที่มีปัญญา  จะพบนิพพานได้(สภาวะธรรม ไร้กิเลส)


*** แฮ่  แฮ่    * * *   ;D


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มิถุนายน 09, 2011, 11:58:15 PM
นิพพาน เป็นช่องว่าง ที่แทรกอยู่ ระหว่าง

วงโคจรของอิเลคตรอน ที่วิ่งวนรอบนิวเคลียส(โปรตรอน+นิวตรอน  ..?)



ฮัดเช้ย ยย ย  ..อะไร จะขนาด  นี้   ...บอกใคร ได้เป่า.. ;D


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 02:17:49 AM

โดยธรรมชาติ จิตนั้นเป็นทิพย์อยู่แล้วที่ต้องมาชำระกันใหม่ด้วยการฝึกสมาธิ ก็เพราะจิตถูกนิวรณ์ คือ อกุศลห่อหุ้มไว้ ได้แก่ความโลภ อยากได้ไม่มีขอบเขต ความโกรธ ความพยาบาทความง่วงขณะ
ปฏิบัติทำสมาธิ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ในขณะฝึกสมาธิ ความสงสัยในผลปฏิบัติโดยคิดว่าจะได้หรือใช่หรือ ทำอย่างนั้นจะสำเร็จได้อย่างไรกัน

ซึ่งความสงสัยเหล่านี้เป็นนิวรณ์กั้นณานไม่ให้เกิด รวมความแล้วทั้ง 5 อย่างที่กล่าวมานี้แหละ แม้เพียงอย่างเดียวถ้าอารมณ์ของจิตยังข้องอยู่ ณานจะไม่เกิด จิตจะไม่ผ่องใสมีอารมณ์เป็นทิพย์ตามสภาพปกติได้ อกุศลห้าอย่างนี้ทำให้จิตมืดมน ซึ่งนิวรณ์ 5 นี้จะพ้นจากจิตไปได้ก็ต่อเมื่อจิตเราสามารถทรงอารมของณานไว้ได้เท่านั้น ซึ่งการทรงณานนี้สามารถทำได้ทุกอริยาบทโดยต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝนซึ่งถ้าจิตไม่
สามารถทรงอารมณ์ของปฐมณานได้จิตก็จะตกเป็นทาสของนิวรณ์ ส่วนอารมณ์ของปฐมณานนั้นก็มี5อย่างเช่นกัน
1.วิตก คือการคำนึงถึงองค์กรรมฐานที่ฝึกอยู่นั้น
2.วิจาร คือใคร่ควรกำหนดรู้ในองค์กรรมฐานนั้น
3.ปีติ คือมีความเอิบอิ่ม ไม่เบื่อในการปฏิบัติ
4.สุข คือความสุขกายอย่างไม่เคยเกิดมาก่อน
5.เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์ตั้งมั่นในองคกรรมฐาน
ทั้ง 5 อย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมณานครับ
 


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: cellulose ที่ มิถุนายน 10, 2011, 08:41:14 AM
ขอบพระคุณทุกท่านคับ......
สัญญากับตนเองว่าจะศึกษา และปฏิบัติอย่างอย่างเพียร และสมำเสมอ เพื่อเข้าใจตนเบื้องต้นและนำไปใช้กับงานที่ทำอยู่คับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 10, 2011, 09:01:23 AM
ขอบพระคุณทุกท่านคับ......
สัญญากับตนเองว่าจะศึกษา และปฏิบัติอย่างอย่างเพียร และสมำเสมอ เพื่อเข้าใจตนเบื้องต้นและนำไปใช้กับงานที่ทำอยู่คับ

สาธุ ครับผม ผมจะรีบจัดส่ง cd การปฏิบัติเจริญสติ ไปให้นะครับผม


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:23:39 PM
ผมอยากให้คุณ Cellulose อ่าน สติปัฏฐาน ๔  ในหมวด จิตตานุปัสสนา  

จะพอทราบความหมายของ จิต ทั้งทางโลกและทางธรรมบ้างไม่มากก็น้อยครับ

จิตตานุปัสสนา
พุทธพจน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยการปฏิบัติอย่างไร ภิกษุจึงจะพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เสมอได้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้…
- - เมื่อจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
- - เมื่อจิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
- - เมื่อจิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
- - จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
- - เมื่อจิตเป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต เมื่อจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
- - เมื่อจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
- - เมื่อจิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
- - เมื่อจิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

ดังพรรณนามาฉะนี้ภิกษุย่อม…
- - เฝ้าพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
- - เฝ้าพิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง

เธอย่อมเป็นอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือเข้าไปตั้งสติว่าจิตมี ก็เพียงสักว่าเอาไว้รู้ เพียงสักว่าเอาไว้อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฐิเข้าอิงอาศัย และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เสมอ ฯ

ถ้าคุยกับคนทั่วไป พยายามทำให้เขาเชื่อว่ากายไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สมบัติของใคร ก็ยากที่ใครจะยอมรับ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างน้อยในระดับอานาปานบรรพที่เห็นลมเข้าออกเป็นเพียงสิ่งเกิดดับตามธรรมชาติ หรืออย่างสูงสุดถึงระดับนวสีวถิกาบรรพซึ่งเห็นกายนี้ต้องป่นเป็นผงภัสมธุลีแน่นอนแล้ว ใครพูดให้ฟังว่า “กายไม่ใช่ตัวตน” ย่อมฟังขึ้น ฟังเข้าใจถนัด และยอมรับโดยดุษณีด้วยปัญญาประจักษ์แจ้งออกมาจากภายใน

ยิ่งถ้าไปบอกใครว่าจิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน อันนี้จะให้เถียงกันด้วยเหตุผลและความเห็นนานาทรรศนะได้ชั่วกัปชั่วกัลป์โดยไม่เจอข้อสรุปอันดีที่สุดที่จะทำให้ “ทุกคน” ยอมรับด้วยใจตรงกันอย่างแน่นอน
แม้จิตตานุปัสสนาจะเป็นขั้นตอนอันมีความละเอียดระดับที่ ๓ ยังไม่ถึงขั้นสูงสุดของสติปัฏฐาน ๔ ก็เริ่มประจักษ์ เริ่มหยั่งรู้ด้วยปัญญาอันสว่างขึ้นในภายในแล้ว ว่าแม้แต่จิตก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับลงในท่ามกลางมวลธรรมชาติทั้งหลาย ความหลงคิด ความหลงหวังไปว่าจะมีจิตอื่น มีตัวตนอื่นอันยิ่งไปกว่านี้ เป็นอันพับฐานลงได้อย่างสิ้นเชิง เพราะการเห็นนั้นเป็นการเห็นระดับ “ธรรมชาติของจิตเกิดดับ” มิใช่เพียงเห็นผิวของลักษณะจิตชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น

หากเปรียบมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นหลักสูตรแบบโลกๆ ก็ต้องนับว่าเรามาได้ครึ่งทางแล้ว แต่ทางการปฏิบัติธรรมไม่อย่างนั้น เราดูกันที่จิต ดูกันที่ความปล่อยวาง ฝึกมาถึงตรงนี้หลายคนอาจไปไกลเกินกว่าครึ่ง หรืออาจจะถึงค่อนแล้วด้วยซ้ำ อย่างที่กล่าวแต่แรกว่าแก่นสารของพุทธศาสนาคือดับทุกข์ ดับกิเลส ไม่ใช่เพื่อสอบไล่ให้ใครตัดสินว่าควรรับปริญญาหรือยัง จิตเราเองเป็นผู้เรียน ผู้สอบ ผู้พิพากษา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นว่ากายใจเป็นตัวเป็นตนได้เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:28:01 PM
ในทางกลับกัน แม้จะศึกษามาแล้วครึ่งทาง หรือศึกษาต่อจนจบ แต่ไม่ลงมือปฏิบัติ ไม่แม้แต่จะตั้งมุมมองออกมาจากภายในเสียใหม่ ถึงจะอ่านมหาสติปัฏฐานสูตรมาครึ่งหนึ่งหรือทั้งหมด ก็ยังนับว่าเป็นผู้จบหรือใกล้จบหลักสูตรไม่ได้เลย ความรู้ทั้งหลายในหนังสือหรือพระคัมภีร์จะดองตัวเองอยู่ในลักษณะ “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” เท่านั้น

และอีกทางหนึ่ง หากเลือกที่จะเปิดหนังสือมหาสติปัฏฐานสูตรเพื่อมาอ่านส่วนนี้ก่อนด้วยความสนใจเกี่ยวกับการรู้เห็นจิตโดยความไม่ใช่ตัวตนก่อนเป็นอันดับแรก ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน ถ้าเพียงทราบว่าจะ “รู้” ให้ถูกต้องอย่างไร

กล่าวตามจริงแล้ว ถ้าใครลงมือฝึกรู้สภาวจิตตามแนวจิตตานุปัสสนาทันทีอย่างต่อเนื่องจริงจัง แม้ไม่ศึกษาทฤษฎีให้ชำนาญเสียก่อน ก็อาจเห็นจิตเป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่ใช่ตัวตนได้ สำคัญคือความลังเลสงสัยของคนเราจะไปขวางทางไว้แต่ต้น ถ้าหากไม่กล่าวถึงขอบเขตของ “ความเป็นจิต” เอาไว้เลย คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพวกที่มีการศึกษาสูงๆ ก็จะสงสัยอยู่ร่ำไป หาลานจอดให้หยุดคิดแล้วหันมาปฏิบัติเต็มที่ไม่ได้ ส่วนถ้ากล่าวเยิ่นเย้อเกินไป เรื่องจิตก็จะกลายเป็นการจุดชนวนความคิด เกิดตั้งคำถามแบบแตกกิ่งก้านสาขาออกไปยิบย่อยไม่รู้จบยิ่งกว่ารากต้นไม้ขนาดมหึมา
ดังนั้นจะขอตั้งแง่มุมที่จะกล่าวเกี่ยวกับจิตเพื่อดึงให้สนใจเข้ามาศึกษาจิตของตนเองตามแนวทางที่พระพุทธองค์กำหนดไว้ในจิตตานุปัสสนา คือพอประมาณที่จะทำให้หายสงสัย เหมือนแค่ศึกษาว่ารถยนต์ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักต่างๆ แต่จะไม่ลงลึกในรายละเอียดว่าแต่ละชิ้นทำงานอย่างไร มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งต่อชิ้นส่วนอื่นๆอย่างไร คือขอแค่เป็นคนขับที่ไม่หลงนึกว่ารถยนต์เกิดเองและเป็นเนื้อเดียวกันทั้งคันก็พอ ไม่ถึงขนาดจะให้เป็นนายช่างใหญ่ในโรงซ่อมแต่อย่างใด


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:31:17 PM


 ความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับจิต  

ที่เจาะจงใช้คำว่า “ความเชื่อ” ก็เพื่อเปรียบเทียบในภายหลังว่าต่างกับ “ความจริง” อย่างไร คือชี้ให้เห็นว่าระหว่างคนธรรมดาทั่วไป ปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์ และนักพลังจิตนั้น ต่างมีมาตรฐานเฉพาะด้านที่จะมองและเลือกเชื่อกันไป มีความกะดำกะด่างบ้าง มีช่องโหว่ให้โต้แย้งบ้าง เมื่อหาทางพิสูจน์แล้วอาจเกิดทฤษฎีใหม่ขึ้นมาแทนความเชื่อเก่าๆได้เสมอ แตกต่างจากพระพุทธเจ้าที่ท่านให้ความรู้เกี่ยวกับจิตไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง หากศึกษาอย่างรอบคอบรัดกุมแล้วจะพบว่ายุติข้อโต้เถียงได้ราบคาบทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ


จิตในสามัญสำนึกของคนทั่วไป
คนส่วนใหญ่จะนึกถึงจิตว่าเป็น “ความรู้สึกนึกคิด” ของตัวเองที่ปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้ ความรู้สึกนึกคิดอยู่ตรงไหน ตรงนั้นก็คือจิตของตน ตั้งอยู่ภายในกายอันปรากฏเป็นรูปร่างหน้าตาที่เห็นอยู่ มองแบบไร้หลักเกณฑ์ประกอบรายละเอียดเช่นนี้เรียกว่าเอาตามอัตโนมัติหรือใช้สามัญสำนึกเป็นใหญ่

ด้วยความเชื่ออันเกิดจากสามัญสำนึกดังกล่าว มักเป็นที่มาของข้อถกเถียงมากมาย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และจะมีต่อไปในอนาคต  เช่นเราได้ยินการบอกเล่าสืบต่อกันเสมอว่ามีชาติก่อนชาติหน้า มีนรกสวรรค์ สิ่งลี้ลับเหล่านี้ไม่อาจรู้ได้ด้วยสามัญจิต หากเราถูกจองจำไว้ในกรงแห่งความรู้สึกนึกคิด สิ่งที่นำมาเถียงกันก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกเหนือไปจากความเชื่อส่วนตัวอันเป็นผลผลิตจากความรู้สึกนึกคิดนั่นเอง


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:36:49 PM


เมื่อเข้าใจว่าจิตคือความรู้สึกนึกคิด คนส่วนใหญ่จะไม่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจิตให้วุ่นวาย เนื่องจากภาระต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้องก็หนักพออยู่แล้ว แล้วก็มีสิ่งดึงความสนใจแบบโลกรออยู่อีกมาก ทั้งคนรัก ทั้งความบันเทิงสารพัดรูปแบบ น้อยคนจะมีสัญชาตญาณชนิดหนึ่งติดตัวมา คือกระหายใคร่รู้สัจจะความจริงเกี่ยวกับชีวิต เกี่ยวกับเรื่องก่อนเกิดและหลังตาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ยืนพื้นอยู่บนธรรมชาติอันเป็นแกนกลางชนิดเดียว คือจิต ถ้ารู้ความจริงเกี่ยวกับจิตได้ คำตอบทุกอย่างก็เผยตัวออกมาเอง เพราะตามความเชื่อของคนเรา ไม่ว่าการมีชีวิต สิ้นชีวิต หรือการเข้าถึงนรกสวรรค์ ก็ล้วนแต่จิตนี้ที่มีอันเป็นไป เดินทางไป หรือเคลื่อนย้ายไป

อันที่จริงประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของคนทั้งหลายต่างก็พบกับประสบการณ์ตรงทางจิตที่ยิ่งไปกว่าความรู้สึกนึกคิดมากมายนัก ยกตัวอย่างเช่นพลังจิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ถ้าจ้องตากันแล้วสามารถรู้ได้ถึงกำลังที่แตกต่าง หรืออย่างภาวะบางประการที่สำเหนียกสัมผัสได้ เช่นอยู่ใกล้คนหนึ่งเหมือนมีกระแสสบาย อยู่ใกล้อีกคนเหมือนเต็มไปด้วยกระแสความเร่าร้อนกระวนกระวาย ยังผลให้เราสงบสุขหรือเครียดเขม็งตามไปด้วย

อีกประการหนึ่ง คนทั่วไปจะไม่ปฏิเสธบัญญัติศัพท์อันบ่งถึงลักษณะ เช่น “ดวงจิต” หรือ “กระแสจิต” ซึ่งดูเผินๆเหมือนรู้อยู่ว่าเป็นอันเดียวกัน แต่หากวิเคราะห์แล้วจะทราบว่าสองลักษณะนี้แตกต่างชนิดขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง เพราะลักษณะเป็นดวงนั้นบ่งว่ามีรูปทรงแบบพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ ส่วนลักษณะเป็นกระแสจะบ่งว่ามีระลอกความต่อเนื่องแบบคลื่นน้ำหรือคลื่นไฟฟ้า

ต่อเมื่อปรับมุมมองเสียใหม่ ว่าตอนมองให้เป็น “ดวง” จะหมายถึงจิตโดยความเป็นสภาวะหรือคุณสมบัติสักอย่างหนึ่ง เช่นเราอาจบรรยายความเป็นใครคนหนึ่งอย่างรวดเร็วด้วยการกล่าวว่า “เขามีดวงจิตที่สุขสงบ” ก็จะเกิดภาพของผู้ที่มีชีวิตทั่วไปผาสุก มีเมตตา ไม่เบียดเบียนใคร เป็นต้น การไร้ซึ่งเหลี่ยมมุม การไม่มีขนาดและปริมาณที่แน่ชัดของสภาวจิตหนึ่งๆนั้น ใกล้เคียงกับวงกลมมากกว่ารูปทรงอื่น จึงเรียกเป็นดวงไปพลางๆ

ส่วนตอนมองจิตเป็น “กระแส” จะหมายถึงจิตโดยความเป็นคลื่นต่อเนื่องหรือแปรปรวนไปสภาวจิตในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นเราอาจรู้สึกถึงพลังอำนาจของใครบางคนที่มีอิทธิพลต่อใจเราขนาดทำให้เกิดความคร้าม นั่งอยู่ต่อหน้าเขาแล้วได้รับความกดดันอย่างหนัก ก็อาจมาเล่าให้ญาติฟังว่า “เขามีกระแสจิตที่แรงมาก” อย่างนี้ฟังแล้วเกิดภาพของผู้ปล่อยคลื่นพลังไร้รูปออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แรงแค่ระลอกเดียวแล้วหดหาย


สรุปคือแม้ในประสบการณ์ตรงของคนทั่วไป จิตก็ปรากฏเป็นอะไรที่ยิ่งไปกว่าความรู้สึกนึกคิดมากนัก แต่เพราะมัวจดจ่อสนใจอยู่กับเรื่องในชีวิตประจำวัน จึงหมดเวลามาศึกษาให้ลึกซึ้ง ว่าจิตคืออะไรกันแน่ ถ้าจะพัฒนาจิต ควรใช้อุบายใด ถ้าจะป้อนสิ่งดีที่สุดให้ “จิตของเรา” ควรดำเนินตามหลักการแบบไหน ปรัชญา ศาสนา หรือวิทยาศาสตร์ เหล่านี้คือคำถามที่ชาวโลกส่วนใหญ่หลงหลับใหลและไม่เคยตื่นขึ้นมาถามตนเองเลย


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:39:05 PM

มุมมองเกี่ยวกับจิตแบบอภิปรัชญา

การบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวกับ “ความเป็นจิต” โดยตรงนั้น บางครั้งขึ้นอยู่กับมุมมองของปราชญ์โบราณ เช่นนักปราชญ์กรีกใช้คำว่า Nous แบบเจาะจงถึงจิตอันทรงมหิทธานุภาพระดับพระเจ้าผู้จัดระเบียบและธาตุทั้งหลายในเอกภพ และปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งโดยปราศจากรูปลักษณ์ ตรงนี้จะเชื่อมโยงกับความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าโดยตรง กล่าวคือถือว่ามี “จิตที่ยิ่งใหญ่” เป็นปฐมเหตุแห่งสรรพสิ่ง แม้กระทั่งที่ปรากฏความเป็นเรา หรือรู้สึกว่าเป็นจิตเรา ก็ถูกสร้างมาจาก Nous นั้น

ส่วนในภาษาลาติน ศัพท์ที่ตรงกับนิยามว่าจิตได้แก่ Mens ส่อความหมายไปทางความคิดอ่านและสติปัญญาที่แยกได้ขาดจากกาย มีความเป็นอมตะ ไม่มีวันดับสูญ และรากศัพท์ของคำนี้จะมาจาก Metior ซึ่งแปลว่า “เปรียบเทียบ” กล่าวคือเปรียบเทียบสติปัญญาแบบมนุษย์กับสัญชาตญาณของสัตว์ชั้นต่ำ ด้วยกรอบของมุมมองชนิดนี้ สมัยก่อนจึงเชื่อกันว่าสัตว์ไม่มีจิต มีแต่สัญชาตญาณ ฆ่าแกงอย่างไรก็ไม่บาป

หรืออย่างในภาษาอังกฤษ คำเช่น Mind ก็มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความจำเช่นที่เราเห็นคำว่า to bear in mind ซึ่งแปลว่า “จำไว้” หรืออาจเชื่อมโยงกับเจตจำนงเช่นที่ใช้เป็นกริยา to mind แปลว่า “เอาใจใส่” ตัวคำว่า Mind สำหรับความเชื่อของคนทั่วไปจึงไม่เกี่ยวกับสิ่งลี้ลับ แต่จำเพาะอยู่เพียงขอบเขตที่เข้าใจได้ คือความจำและเจตจำนง
แต่ละภาษายังมีบัญญัติศัพท์เกี่ยวกับจิตหลากหลายออกไปอีก อย่างเช่นในภาษาอังกฤษนั้น นอกจาก Mind แล้วก็ยังมี Soul ซึ่งมุ่งส่อถึงวิญญาณที่มีความสามารถทางสติปัญญาคิดอ่านได้ มีเจตจำนงกระทำการตามปรารถนาได้ และยังอยู่ในภาวะต้องเคลื่อนย้ายจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง (แม้กระทั่งขณะหลับฝันก็ถือว่าวิญญาณออกจากร่างชั่วคราว) นอกจากนั้นก็มีคำว่า Spirit ซึ่งมุ่งส่อถึงสภาพวิญญาณที่บริสุทธิ์แล้ว และออกจากร่างมนุษย์ไปอยู่ในสภาพอื่นเช่นเทพยดาในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว เหล่านี้สะท้อนถึงขอบเขตความรู้เห็น ความเชื่อ ความยึดถือซึ่งมีอยู่ต่างๆ แม้แต่ผู้ใช้ภาษาแม่ก็ใช่จะเข้าใจที่มาที่ไปของศัพท์ต่างๆดีนัก

ถ้าเราผูกความเชื่อไว้ว่าจิตคืออะไร เราก็จะทำชีวิตให้เป็นไปตามความเชื่อแบบนั้น เช่นที่กล่าวแล้วในข้อก่อนว่าคนทั่วไปเห็นจิตเป็นความรู้สึกนึกคิด ก็จะเชื่อแต่สิ่งที่ตัวเองนึกคิด แต่ถ้าเชื่อว่าจิตเป็นสมบัติของพระผู้เป็นเจ้า ก็จะดำเนินชีวิตตามที่พระผู้เป็นเจ้าสั่งผ่านคัมภีร์

สมัยก่อนถ้าปราชญ์หรืออัจฉริยบุคคลใดมีอิทธิพลเหนือมนุษย์ ชนิดชี้นกเป็นไม้ ชี้ไม้เป็นนกได้ ก็มักทำให้คนในสังคมเชื่อตามที่ตนเองพูด เช่นพิธากอรัสซึ่งเป็นที่ยอมรับในเรื่องความรู้ความฉลาดทางคณิตศาสตร์ระดับบิดาแห่งวงการ เมื่อกล่าวว่าเขาสามารถระลึกชาติได้ ก็มีคนเชื่อ และลดความมั่นใจใน “ความรู้สึก” ของตนว่าจิตเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิด ตายเมื่อไหร่จิตก็ดับ แต่จะเริ่มมองว่าจิตของตนเป็นดวงวิญญาณที่ย้ายจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง เชื่อตามไปอย่างนั้นทั้งที่ไม่เคยเห็นประจักษ์ ไม่เคยระลึกชาติได้ด้วยตนเองเลย


สำคัญคือถ้าเชื่อเรื่องวิญญาณเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติจากใคร ถ้าเขาแนะนำสั่งสอน “วิธีเตรียมตัวเปลี่ยนภพ” แบบผิดๆ ก็นับว่าเคราะห์ร้าย เช่นเคยมีเรื่องเล่าว่าพระราชาองค์หนึ่งอยากไปสวรรค์ พอถามคนที่คิดว่าเป็นผู้รู้ ก็ได้รับคำแนะนำว่าให้ฆ่าลูกเมียบูชายัญเสีย พระราชาผู้เขลาก็อุตส่าห์หลงเชื่อ สั่งฆ่าลูกเมียตัวเองจริงๆ

สรุปคือในอภิปรัชญา ลัทธิ หรือศาสนาต่างๆมักกล่าวถึงจิตโดยความเป็นวิญญาณดวงหนึ่งที่เป็นอมตะ พอร่างหนึ่งตายก็เปลี่ยนย้ายถ่ายโอนไปอีกร่างหนึ่ง รายละเอียดจะแตกต่างกันตามความเชื่อหรือความหยั่งรู้ของต้นแหล่ง เช่นวิญญาณอาจบริสุทธิ์ได้ในที่สุด หยุดเวียนว่ายตายเกิด แต่บางเจ้าก็เชื่อว่าวิญญาณจะท่องเที่ยวไปเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น นอกจากนั้นแนวคิดเกี่ยวกับความดีความชั่วก็จะแตกต่างออกไป นิยามของความดีความชั่วมักเป็นไปตามความเห็น หรือความอยากให้เป็นอย่างนั้น น้อยครั้งจะได้นิยามความดีความชั่วตามหลักเมตตาจิต คือไม่มีการจองเวร ไม่มีการเบียดเบียนต่อมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:40:05 PM


มุมมองเกี่ยวกับจิตของนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน

แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์จะอาศัยเหตุผลและปัญญาคิดอ่านแบบมนุษย์ ไม่ฝากความเชื่อถือไว้กับผู้ใดผู้หนึ่ง หากมีการค้นพบ “ความจริง” ขึ้นในปีนี้ แล้วปีหน้ามีอีกคนพบ “ความจริงกว่า” ก็เป็นอันยอมรับโดยไม่ยึดมั่นว่าผู้ค้นพบคนก่อนจะต้องศักดิ์สิทธิ์เสมอ ใครหักล้างไม่ได้ เรียกว่าเป็นการช่วยกันมองโดยหลายสายตา หลายการยืนยันมากกว่าจะปักใจสนิทให้กับข้อสรุปแม้ชาญฉลาดยิ่งของอัจฉริยบุคคลท่านใดท่านหนึ่ง

วิทยาศาสตร์จึงนับเป็นเครื่องมือสำรวจความจริงที่เข้ากับธรรมชาตินึกคิดอย่างมีเหตุผลของมนุษย์ สิ่งใดเอามาทดลองไม่ได้ พิสูจน์หาหลักฐานมาเปิดเผยให้รับรู้ตรงกันไม่ได้ ก็ให้ถือว่าควรปล่อยไว้ก่อน รอจนกว่าจะหาทางทำให้ยอมรับร่วมกันด้วยตา หู จมูก ลิ้น และกายได้ว่าความจริงเป็นอย่างนี้ จึงค่อยนับว่าถูกรับรองโดยนักวิทยาศาสตร์สากล


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:41:30 PM
มุมมองเกี่ยวกับจิตของนักพลังจิต

ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โลกเราไม่เคยขาดนักพลังจิต หรือที่มักเรียกกันว่า “ผู้วิเศษ” ไม่ว่าจะเป็นพ่อมดหมอผีคนทรงเจ้ากระจอกหรือฤาษีชีไพรผู้ทรงตบะเดชะยิ่งใหญ่

ผู้ที่เข้าหา ศึกษา และหวังใช้พลังจิตจะมีมุมมองที่แตกต่างไปจากคนธรรมดาหน่อยเดียว คือแรกเริ่มเดิมทีจะมองว่าจิตคือความรู้สึกนึกคิด และอาจเห็นว่ามีสภาพความเป็นอมตะ ย้ายร่าง เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิได้ แต่ที่จะมองเพิ่ม และขวนขวายหาทางรู้จริงให้ได้ในปัจจุบันคือทำอย่างไรจะเพิ่มความสามารถพิเศษเหนือมนุษย์อื่น เช่นเหาะเหินเดินอากาศ ล่องหนหายตัว ดักทายใจล่วงรู้ความคิดใครต่อใครได้ สื่อสารผ่านโทรจิตข้ามทวีปได้ หาทองใต้ดินได้ ฯลฯ พูดให้ง่ายที่สุดคือจิตจะถูกมองเป็น “พลังชนิดหนึ่ง” ทำนองเดียวกับที่เรามองพลังงานจากธรรมชาติอื่นๆเช่นน้ำมัน แสงแดด หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์นั่นเอง เราอาจรับประสบการณ์ตรงในชีวิตประจำวันได้บ้าง เช่นมองคนมีตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบสูงๆ หรือผู้มีอิทธิพลสูงๆ แล้วเกิดความรู้สึกเหมือนเขาเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานขนาดใหญ่ มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลและสถานการณ์รอบข้างได้ตามอำเภอใจ จุดนั้นคือความเห็นพลังจิตอย่างหนึ่ง
แนวคิดแบบนี้สนับสนุนอัตตาที่ยิ่งใหญ่ น่าภาคภูมิ และควรมีควรเป็นให้จงได้ แนวคิดแบบนักพลังจิตที่มีการศึกษายุคปัจจุบันจะประยุกต์ทั้งความเชื่อแบบอภิปรัชญาและทั้งการพิสูจน์เก็บตัวอย่างสถิติแบบวิทยาศาสตร์ จึงเริ่มมีหน่วยงานแม้ระดับรัฐบาลให้ความสนใจ ให้ทุนศึกษาจริงจัง ไม่ปล่อยให้เป็นเพียงความเชื่อแบบงมงาย เพราะหวังกันว่าเมื่อศึกษาจนถึงแก่น พัฒนาศักยภาพพลังจิตแก่กล้าถึงจุดหนึ่ง ก็อาจได้คำตอบรวบยอดว่าจิตคืออะไร เอาไปใช้ประโยชน์ใดเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง

นักพลังจิตระดับปฏิบัติจะมองว่าการฝึกฝนสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั่วไป ก็จัดเป็นการฝึกจิต พัฒนาพลังจิตให้เติบโตแข็งแรงขึ้นตามวันเวลาที่ผ่านไป เช่นนักร้องที่ฝึกเปล่งเสียงอย่างสม่ำเสมอ ฝึกร้องให้มีกังวานกว้าง ฝึกลงลูกคอให้พลิ้ว มองตามรูปธรรมคือฝึกให้กายตอบสนองแบบสั่งได้ตามใจ แต่มองตามนามธรรมแบบนักพลังจิตคืออาศัยวินัยและการเพ่งจิตควบคุมเสียงเรื่อยๆแล้ว ในที่สุดเสียงก็จะอยู่ในอาณัติ และขับเสียงออกมาได้อย่างไพเราะ มีอำนาจสะกดคนฟังเป็นพิเศษแตกต่างจากคนฝึกมาน้อยกว่า ที่สำคัญคือเมื่อเกิด “พลังจิต” ในระดับที่เป็นฤทธิ์จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะเอาไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆตามแต่ปรารถนา เช่นนักร้องนักดนตรีระดับอัจฉริยะอาจเอาพลังจิตที่สั่งสมไว้แล้วมาฝึกควบคุมวัตถุให้เคลื่อนที่บ้าง ไม่ใช่ควบคุมเพียงเสียงของตนอย่างเดียว

เพื่อพัฒนาพลังจิตให้เติบกล้า จิตต้องจดจ่อหรือหัด “กระทำการ” กับวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง จะลืมตาหรือหลับตาก็ตาม พูดให้ง่ายคือจิตจะมีอำนาจเหนือวัตถุขึ้นมาเองไม่ได้ถ้าปราศจากเจตจำนงและพลกำลังที่กล้าแข็งพอ อย่างเช่นถ้าอยากจะเคลื่อนย้ายแก้วน้ำจากมุมโต๊ะมาถึงมือโดยไม่ต้องขยับเขยื้อนส่วนไหนของร่างกาย ก็ต้องมีกระแสพลังกล้าแข็งเป็นทุน และมีความมุ่งมั่นที่จะสั่งแก้วให้วิ่งมาหาตัวอย่างแน่วแน่ หากขาดการสั่งสมพลังและไม่มีการฝึกบังคับควบคุมสิ่งต่างๆด้วยเจตจำนงแล้ว ก็ถือว่ายังไม่อยู่ในโลกของนักพลังจิต และยากที่จะมองว่าจิตเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง

ทุกวันนี้นักพลังจิตกำลังควานหากันอยู่ว่ามีสูตรสำเร็จครอบจักรวาลอยู่หรือไม่ กล่าวคือฝึกอย่างไรแล้วเกิดพลังจิตแน่นอน กับทั้งครอบคลุมอำนาจวิเศษทุกด้าน ที่ผ่านมาถ้าจะพึ่งพาใครให้ทำงานด้านพลังจิตเป็นพิเศษ ก็มักต้องหาคนเก่งเฉพาะทาง หรือมีพรสวรรค์ด้านนั้นๆโดยเฉพาะ อีกทั้งมีความไม่แน่นอนสูง วันนี้ทำได้ พรุ่งนี้ทำไม่ได้เสียแล้ว


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:47:49 PM
จุดร่วมของความเชื่อ


ความเชื่อต่างๆนั้น ไม่ว่าจะมาทางสามัญสำนึก อภิปรัชญา วิทยาศาสตร์ หรือพลังจิต ล้วนแล้วแต่มีจุดร่วมอยู่ประการหนึ่ง คือยอมรับความมีตัวตนของจิต เห็นจิตเป็น “ชีวิต” หรือภาวะบุคคล ถ้ามองอย่างเป็นรูปธรรมแบบวิทยาศาสตร์ก็ต้องว่าบุคคลนั้นดำรงอยู่ตราบเท่าที่หัวใจยังเต้น คลื่นสมองยังกระเพื่อมได้ ถ้ามองอย่างเป็นนามธรรมแบบอภิปรัชญา ก็ต้องว่าบุคคลนั้นอาศัยร่างมนุษย์ในการเรียนรู้ชั่วคราว แล้วจะต้องเดินทางต่อไป จะเป็นร่างใหม่หรือสรวงสวรรค์นิรันดรก็ขึ้นอยู่กับแนวความเชื่อที่ซอยย่อยเป็นสาขายิบยับอีกที

ความน่าเชื่อถือของแนวคิดต่างๆนับเป็นเรื่องท้าทายของคนหัวดื้อในยุคบริโภคข้อมูล ยุคของเราที่ไม่มีใครเชื่อใครง่ายๆหากปราศจากการพิสูจน์ให้รอบ คัมภีร์ประจำศาสนาจะบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าพระศาสดามีดำรัสเกี่ยวกับความจริงแง่มุมต่างๆไว้อย่างไร หากพระศาสดาตรัสอะไรไว้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่อาจยืนทนต่อการพิสูจน์แล้วล่ะก็ จะถูกต่อต้านหรือถูกดูหมิ่นดูแคลนอย่างรุนแรงจากนักศึกษาหัวก้าวหน้าในปัจจุบันทันที เพราะระบบการศึกษาปัจจุบันจะยุให้คิด ยุให้หาความจริงด้วยสติปัญญาแบบมนุษย์ ไม่ใช่ให้งมงายด่วนรับความเชื่อ ไม่กล้าคัดง้างด้วยความกลัวบาปกลัวกรรมเหมือนยุคที่ผ่านๆมา

ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณตามแนวอภิปรัชญาหรือลัทธิศาสนาทั้งหลายนั้น โดยมากมักเป็นการบอกเล่าเหตุการณ์เช่นเห็นวิญญาณตนเองลอยออกจากร่างไปสัมผัสดินแดนที่แตกต่างจากโลกปัจจุบัน หรือขณะลืมตาตื่นอยู่สามารถรับสัมผัสอันทรงมหิทธานุภาพอันเป็นที่มาของมหาปีติ อบอุ่นทรงพลังเกินกว่าจะนึกปฏิเสธว่าเป็นเพียงอุปาทานชั่วครู่ชั่วยาม ศาสนิกผู้มีศรัทธาแก่กล้าและฝึกอบรมดีแล้วมักเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาสนาของตนได้เสมอๆ คนไม่รู้ก็หาว่างมงาย แต่คนที่ได้ประสบพบพานพลังอบอุ่นและดินแดนยิ่งใหญ่เป็นประจำย่อมทราบดีว่าตนไม่ได้ฝันไปเอง ยังมีมิติที่เหนือกว่าโลกหยาบอันรู้ได้เห็นได้ด้วยตาดูหูฟังของมนุษย์ธรรมดา


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:51:14 PM

ความจริงเกี่ยวกับจิตที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้

สำหรับพุทธเรา การเห็นวิญญาณออกจากร่างไปสัมผัสมิติอื่นเป็นเพียงเปลือกหยาบของความจริง ยังมีเนื้อในแห่งสัจจะที่เป็นธรรมแท้ยิ่งกว่านั้น คือเห็นจิตเกิดดับต่อหน้าต่อตา ทั้งยังมีสติในชีวิตสามัญ ยังพูดคุย ยังเดินเหินอยู่ด้วยอาการเดิมนี้เอง เมื่อเกิดประสบการณ์ภายในดังกล่าวแล้ว จะมีข้อดีเหนือการถอดวิญญาณที่สำคัญคือวางทุกข์เสียได้เหมือนคนรู้ตัวว่าถือถ่านร้อนแล้วโยนทิ้ง ตลอดจนทำลายเหตุแห่งทุกข์เสียได้เหมือนคนรู้ว่าอะไรทำให้ถ่านร้อนก็ทำลายสิ่งนั้นลงเสีย

อย่างไรก็ตาม ควรทราบให้ถี่ถ้วนว่าพระพุทธองค์แสดงเรื่องของจิตไว้อย่างไรบ้าง การเลือกรับรู้เพียงแบบใดแบบหนึ่งอาจทำให้เห็นอะไรด้านเดียว หรือไม่ก็มุ่งเน้นเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเกินไปแบบได้หน้าลืมหลัง จัดเป็นความเห็นที่ขาดความสมบูรณ์ ซึ่งอาจเสียประโยชน์ หรือเป็นผลร้ายต่อตัวเองและผู้อื่นด้วยเงื่อนไขที่คาดเดายาก เช่นบางคนจะอ้างเฉพาะที่พระพุทธองค์สอนเรื่องข้ามภพข้ามชาติจึงจัดว่าวิญญาณเป็นอัตตา ขณะที่บางคนเห็นใครใช้คำสื่อสารง่ายๆเช่น “วิญญาณคนตายจะลอยไปสู่ภพภูมิใหม่” ก็ว่าเขาหลงผิด เพราะตามหลักที่ถูกคือหลังจุติจิตดับลง จะเกิดปฏิสนธิจิตสืบต่อทันที


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 12:57:17 PM
ถ้าอ่านมาจนจบ คงได้คำตอบให้กับตัวเองบ้างแล้วนะครับ

ขอให้อ่านให้สนุก ให้เข้าใจนะครับ... :)


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 10, 2011, 01:14:43 PM
ขอบคุณพี่ต่าย ครับ ฮ่าๆๆ

อ่านแล้ว ผ่อนคลายดีนะครับ สำหรับคำสอนของพระพุทธองค์ : )


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: cellulose ที่ มิถุนายน 10, 2011, 06:57:24 PM
ขอบพระคุณคับสำหรับ CD และข้อชี้แนะ ที่ยากจะละสายตา และชวนติดตาม   ทุกถ้อยคำล้วนแต่มีประโยชน์และมอบความกรุณาแก่ผม

ผมรู้สึกโชคดีมาก ..เพราะแรกๆผมคิดว่า
1.ผมชอบหลักธรรมพุทธศาสนาเพราะ การจำแนก แจงแจง เป็นระดับ เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติอย่างเป็นระบบ ซึ่งหาได้ยากจากที่อื่น  พุทธศาสนาสามารถอธิบายได้ ทุกอย่าง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของมุนษย์เท่านั้น

2.ผมสนใจในเรื่องปัจจุบัน วิธีการคิด การแก้ไขปัญหา และจินตนาการ โดยมีสมมุติฐานเริ่มต้นที่เชื่อว่า  หากเราทุ่มเทพลังทั้งหมดมาอยู่ในปัจจุบัน  โดยละความยึดติดในตัวตน เราจะรู้ถึงทางเลือกที่ดีที่สุด มีจินตนการสูงสุด ซึ่งทำให้ผมสนใจในเรื่องจิต และสมาธิคับ

3.เอ..ผมเองได้รับรู้ความอนุเคาระห์ของทุกท่าน ทำให้ผมมีความรู้สึกอยากศึกษา เรียนรู้ อย่างลึกซึ้งเหมือนทุกท่าน

ขอบพระคุณคับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ มิถุนายน 10, 2011, 09:39:10 PM

ยินดีครับ ทีทำให้ท่านสนใจพระพุทธศาสนา และพยายามค้นหาถึงแก่นแท้ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบอกไว้แล้ว

เราศึกษาไปเรื่อยๆปฏิบัติไปด้วยเรื่อยๆ เราก็จะเข้าใจในหลักธรรมมากขึ้นได้ เป็นลำดับๆไปครับ ถ้ายังติดข้อสงสัยก็ถามมาอีกได้นะครับ

ขอให้เจริญยิ่งขึ้นในธรรมครับ  :)


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 15, 2011, 07:50:08 PM
ยินดีเช่นกันครับ ถ้ามีหลัก ก็นำไปปฏิบัติเองได้ครับ

แต่ว่า เส้นทางแห่งมรรคนี้ ควรถือศีลไว้ แล้วก็ภาวนา ก็จะเดินไปในทาง ได้เรื่อยๆ ครับ ส่วนการที่เรามีกัลยาณมิตรที่ดี

ก็จะช่วยเรา ไว้สอบถาม พูดคุยในสิ่งที่ยังติดข้อง หรือยามท้อแท้มีเพื่อนๆ

ก็จะช่วยกันให้กำลังใจกัน จนกว่าจะเดินไปสู่ มรรค สู่ผล ในสักวันหนึ่ง

สู้ๆ นะครับผมทุกท่าน ^_^


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: cellulose ที่ มิถุนายน 18, 2011, 01:48:35 PM
.....ได้รับCD พร้อมหนังสือแล้วคับ
ขอบพระคุณมากคับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 22, 2011, 11:50:49 AM
.....ได้รับCD พร้อมหนังสือแล้วคับ
ขอบพระคุณมากคับ

ยินดีครับผม ลองน้อมไปฟังดูนะครับผม


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กรกฎาคม 04, 2011, 11:49:02 PM
จิต มีบางท่านสรุปไว้ว่า เป็นธัมมารมณ์(อารมณ์) ทรงไว้ที่ใจ ที่รู้ได้ทางใจ แต่ไม่ใช่ใจ

จิต เกิดร่วมกับเจตสิก (สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมจิต ดับพร้อมจิต เกิดที่เดียวกับจิต อาศัยอารมณ์เดียวกับจิต)


เมื่อ เจตสิก คือ เวทนาขันธ์(กลุ่มความรู้สึก) +สัญญาขันธ์(กลุ่มความจำ)+สังขารขันธ์(กลุ่มความคิดปรุงแต่ง)


ยากจังเนาะ(ละเอียดอ่อน มากก ก ก ...ก

แต่สังขารขันธ์ฝ่ายกุศลที่ เดินทางไปถึง ปัญญินทรีย์  คือ ความรู้ทั่วถึงจนเห็นแจ้ง ทั้ง หมดใน 8 เรื่องที่เป็นใหญ่ (โมหะ =อวิชชา=ไม่รู้

อริยสัจ4 ไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต ไม่รู้ปฏิจสมุปบาท-อันนีี้ไปหาอ่านเอง นะ)

จนทำหน้าที่ ละเหตุเกิดทุกข์ ได้โดยสิ้นเชิง หรือรู้แจ้งเห็นจริง ซึ่ง ความสุขอย่างยิ่ง คือพระนิพพาน

ดังนั้น พระนิพพาน คือ ธัมมารมณ์ ชนิดหนึ่ง ที่ จิตที่ดีงามบางดวง ได้รับรู้ ;D


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsakw ที่ กรกฎาคม 05, 2011, 01:23:19 AM

ความจริงเกี่ยวกับจิตที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้

สำหรับพุทธเรา การเห็นวิญญาณออกจากร่างไปสัมผัสมิติอื่นเป็นเพียงเปลือกหยาบของความจริง ยังมีเนื้อในแห่งสัจจะที่เป็นธรรมแท้ยิ่งกว่านั้น คือเห็นจิตเกิดดับต่อหน้าต่อตา ทั้งยังมีสติในชีวิตสามัญ ยังพูดคุย ยังเดินเหินอยู่ด้วยอาการเดิมนี้เอง เมื่อเกิดประสบการณ์ภายในดังกล่าวแล้ว จะมีข้อดีเหนือการถอดวิญญาณที่สำคัญคือวางทุกข์เสียได้เหมือนคนรู้ตัวว่าถือถ่านร้อนแล้วโยนทิ้ง ตลอดจนทำลายเหตุแห่งทุกข์เสียได้เหมือนคนรู้ว่าอะไรทำให้ถ่านร้อนก็ทำลายสิ่งนั้นลงเสีย

อย่างไรก็ตาม ควรทราบให้ถี่ถ้วนว่าพระพุทธองค์แสดงเรื่องของจิตไว้อย่างไรบ้าง การเลือกรับรู้เพียงแบบใดแบบหนึ่งอาจทำให้เห็นอะไรด้านเดียว หรือไม่ก็มุ่งเน้นเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเกินไปแบบได้หน้าลืมหลัง จัดเป็นความเห็นที่ขาดความสมบูรณ์ ซึ่งอาจเสียประโยชน์ หรือเป็นผลร้ายต่อตัวเองและผู้อื่นด้วยเงื่อนไขที่คาดเดายาก เช่นบางคนจะอ้างเฉพาะที่พระพุทธองค์สอนเรื่องข้ามภพข้ามชาติจึงจัดว่าวิญญาณเป็นอัตตา ขณะที่บางคนเห็นใครใช้คำสื่อสารง่ายๆเช่น “วิญญาณคนตายจะลอยไปสู่ภพภูมิใหม่” ก็ว่าเขาหลงผิด เพราะตามหลักที่ถูกคือหลังจุติจิตดับลง จะเกิดปฏิสนธิจิตสืบต่อทันที


วิญญาณนั้นแหละคือ จิตสังขาร หรือกายทิพย์ จะเรียกจุติจิต หรือ ปฏิสนธิจิต ก็คือวิญญาณ หรือ จิตสังขาร หรือกายทิพย์ นั่นเอง -  สิ่งนี้เป็นเพียงเปลือกหยาบของความจริง

นิพพานจิต จิตที่หมดกิเลส  - เป็นแก่นหรือเป็นชั้นในสุดของความจริง


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: cellulose ที่ กรกฎาคม 05, 2011, 08:20:22 AM
ขอบพระคุณคับ  น่าสนใจมากคับ พยายามและค่อยๆถอดทุกคำ  อักษรที่มีความหมายละเอียดอ่อนอยู่คับ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsakw ที่ กรกฎาคม 06, 2011, 01:47:59 AM
คุณcelluloseครับ


วิญญาณนั้นแหละคือ จิตสังขาร หรือกายทิพย์ จะเรียกจุติจิต หรือ ปฏิสนธิจิต ก็คือวิญญาณ หรือ จิตสังขาร หรือกายทิพย์ นั่นเอง -  สิ่งนี้เป็นเพียงเปลือกหยาบของความจริง = ผี หรือเทวา หรือพรหม ฯลฯ ที่เราเคยเป็น และจะเป็นเมื่อเราตาย...นั่นแหละคือ จิต(สังขาร)

นิพพานจิต จิตที่หมดกิเลส  - เป็นแก่นหรือเป็นชั้นในสุดของความจริง = จิตที่เป็นแก่น แม้แต่พกาพรหมยังไม่เห็น หาไม่เจอ  มัจจุราจและพยายมก็หาไม่เจอ


หัวข้อ: Re: จิตคือะไรคับ.....ความหมายของจิตทางโลก กับทางธรรมเหมือนกันหรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: yusamui ที่ กรกฎาคม 23, 2012, 01:46:06 PM
ปล่อยวางเรื่องจิต เจตสิก แล้วมาหาวิธีดับทุกข์จะมีประโยชน์กว่านะครับ