KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ธันวาคม 07, 2024, 04:32:19 PM

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ความสำคัญของวันออกพรรษา => http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=92.0
8400 กระทู้ ใน 1467 หัวข้อ โดย 1854 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: Moon888
* หน้าแรก | ช่วยเหลือ | ค้นหา | เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก
+  KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ
|-+  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน
| |-+  นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร
| | |-+  อิทธิวิธิฤทธิ์ต่างๆ
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อิทธิวิธิฤทธิ์ต่างๆ  (อ่าน 24687 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 06:35:01 PM »



อิทธิวิธิฤทธิ์ต่างๆ
คำว่าฤทธิ์ใน ภาษาไทยของเราย่อมเป็นที่เข้าใจกันอยู่ว่าหมายถึงการทำสิ่งที่น่าอัศจรรย์ สำเร็จได้เกินวิสัยของคนธรรมดาซึ่งมีความหมายตรงกับที่มาของคำนี้ในภาษาบาลี แล้วจึงไม่จำเป็นต้องอธิบายความหมายให้ยืดยาวฉะนั้นจะได้นำเอาประเภทของ ฤทธิ์ตามที่ท่านจำแนกไว้ในพระบาลีมาตั้งไว้แล้วทำความเข้าใจเป็นอย่างๆไปที เดียวดังต่อไปนี้

ฤทธิ์มี ๑๐ ประเภทคือ

๑. อธิฎฐานฤทธิ์ฤทธิ์ที่ต้องอธิษฐานให้สำเร็จ
๒. วิกุพพนาฤทธิ์ฤทธิ์ที่ต้องทำอย่างผาดแผลง
๓. มโนมัยฤทธิ์ฤทธิ์สำเร็จด้วยกำลังใจ
๔. ญาณวิปผาราฤทธิ์ฤทธิ์สำเร็จด้วยกำลังญาณ
๕. สมาธิผาราฤทธิ์ฤทธิ์สำเร็จด้วยอำนาจสมาธิ
๖. อริยฤทธิ์ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิสัยของพระอริยเจ้า
๗. กัมมวิปากชาฤทธิ์ ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม
๘. ปุญญฤทธิ์ ฤทธิ์ของผู้มีบุญ
๙. วิชชามัยฤทธิ์ ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิทยา
๑๐. ฤทธิ์ทีสำเร็จเพราะประกอบกิจกุศลให้สำเร็จไป.

จะได้ทำความเข้าใจเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

๑. อธิฏฐานฤทธิ์ ฤทธิ์ ที่ต้องอธิษฐานให้สำเร็จนี้ เป็นข้อมุ่งหมายของอิทธิวิธีนี้โดยเฉพาะ เพราะว่าเมื่อกล่าวถึงอิทธิวิธีแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกไว้แต่ประเภทอธิษฐานฤทธิ์ประเภทเดียว ฤทธิ์ที่ต้องทำการอธิษฐานให้สำเร็จนี้มีหลากหลาย ล้วนแต่เป็นฤทธิ์ที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เช่นคนคนเดียว อธิษฐานให้เป็นคนมากได้ คนมากอธิษฐานให้เป็นคนคนเดียวได้ ที่กำบังไม่เปิดเผยอธิษฐานให้เป็นที่เปิดเผยได้ ที่เปิดเผยอธิษฐานให้เป็นที่กำบังได้ อธิษฐานให้ฝากำแพงภูเขา กลายเป็นอากาศแล้วเดินผ่านไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างฉะนั้น อธิษฐานให้ดินเป็นน้ำแล้วดำเล่นได้เหมือนดำน้ำฉะนั้น อธิษฐานให้น้ำเป็นแผ่นดินแล้วเดินไปบนน้ำได้ เหมือนเดินบนพื้นดินฉะนั้น อธิษฐานให้อากาศเป็นดิน แล้วนั่งขัดสมาธิลอยไปบนอากาศได้เหมือนนกฉะนั้น

นอกจากนั่งขัดสมาธิแล้ว จะเดิน ยืน นั่ง นอน ไปในพื้นอากาศอย่างปกติเหมือนบนดินก็ได้ อธิษฐานให้ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์มาอยู่ใกล้ ๆ มือ แล้วลูบคลำรูปอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ มือฉะนั้น และอธิษฐานให้ที่ไกลเป็นใกล้ ที่ใกล้เป็นที่ไกล ของมากให้น้อย ของน้อยให้มาก ต้องการเห็นรูปพรหมด้วยทิพยจักษุก็ได้ ต้องการฟังเสียงพรหมด้วยทิพยโสตก็ได้ ต้องการรุ้จิตของพรหมด้วยเจโตปริยญาณก็ได้ ต้องการไปพรหมโลกแล้วอธิษฐานให้กายเหมือนจิต ให้จิตเหมือนกายแล้วไปพรหมโลก โดยปรากฏกายก็ได้ ไม่ปรากฏกายก็ได้ เนรมิตรูปให้มีอวัยวะครบถ้วนอินทรีย์บริบูรณ์ สำเร็จด้วยใจแล้วไปปรากฏที่พรหมโลกก็ได้ ถ้าจำนงจะ เดิน ยืน นั่ง นอน ในพรหมโลกนั้น


ก็ทำได้ ถ้าจำนงจะบังควัน ทำเปลวเพลิงแสดงธรรมถามปัญหาแก้ปัญหายืนพูดจาสนทนากับพรหมก็ทำได้ทุกประการอย่างนี้แลเรียกว่าอธิษฐานฤทธิ์

๒. วิกุพพนาฤทธิ์ ฤทธิ์ที่ต้องทำอย่างผาดแผลงนั้น ท่านยกตัวอย่างพระสาวกของสมเด็จพระสิชีสัมมาสัมพุทธเจ้ามีนามว่าอภิภู ไปยืนอยู่ในพรหมโลกแล้วยังพ้นโลกธาตุให้รู้แจ้งทางเสียงคือให้ได้ยินเสียง ปรากฎกายแสดงธรรมบ้างไม่ปรากฏกายแสดงธรรมบ้าง ปรากฎแต่กึ่งกายท่อนล่างแสดงธรรมบ้างปรากฎแต่กึ่งกายท่อนบนแสดงธรรมบ้าง ท่านละเพศปกติเสียแล้วแสดงเพศเด็กบ้าง เพศนาคบ้างเพศครุฑบ้าง เพศยักษ์บ้าง เพศอสูรบ้าง เพศพระอินทร์บ้าง เพศเทพเจ้าบ้าง เพศพรหมบ้าง เพศสมุทรบ้าง เพศภูเขาบ้าง เพศป่าบ้าง เพศราชสิห์บ้าง เพศเสือโคร่งบ้าง เพศเสือเหลืองบ้าง แสดงกองทัพเหล่าต่างๆคือพลช้างพลม้าพลรถพลเดินเท้าบ้าง



อย่างนี้เรียกว่าวิกุพพนาฤทธิ์ ใน พุทธสมัยแห่งพระผู้มีพระภาคของเราก็ปรากฏว่ามีพระสาวกแสดงฤทธิ์ชนิดนี้ เหมือนกันแม้พระภิกษุที่ยังเป็นปุถุชนก็ทำได้เช่นพระเทวทัตต์ทำฤทธิ์ชนิดนี้ ให้พระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อยังเป็นยุพราชเกิดเลื่อมใสจนได้คบคิดกันทำอนันตริยกรรมอย่างโหดร้าย เพราะความโลภแล้วถึงความวิบัติฉิบหายในปัจจุบันทันตา เว้นแต่พระเจ้าอชาตศัตรูเท่านั้นที่กรรมมิให้ผลทันตาเห็นเพราะกรรมไม่ร้าย แรงเท่าพระเทวทัตต์ ทั้งรู้พระองค์ทันแล้วรีบแก้ไขก่อนที่กรรมจะให้ผลในปัจจุบันต่อเมื่อพระบรม ศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้วก็ทรงได้เป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภกยกสังคายนาพระ ธรรมวินัยครั้งแรกด้วยจึงทำให้กรรมหนักกลายเป็นเบาได้บ้าง

๓. มโนฤทธิ์ ฤทธิ์สำเร็จด้วยกำลังใจนี้จัดเป็นทิพยอำนาจอีกประกานหนึ่งต่างหากจะได้อธิบายภายหลัง

๔. ญาณวิปผาฤทธิ์ ฤทธิ์สำเร็จด้วยกำลังญาณ

นั้น ท่านแสดงไว้ว่าการละความสำคัญว่าเที่ยงเป็นสุขเป็นอัตตาฯลฯได้สำเร็จด้วย ปัญญาเห็นตามเป็นจริงของสังขารว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาฯลฯนั้นเป็น ฤทธิ์ประเภทหนึ่งรวมความว่าวิปัสสนาญาณก็เป็นฤทธิ์เพราะสำเร็จกำจัดกิเลสได้

๕. สมาธิผาราฤทธิ์ ฤทธิ์สำเร็จด้วยอำนาจสมาธินั้นท่านแสดงไว้ว่าการละนีวรณ์ได้สำเร็จด้วยปฐม ฌานฯลฯการละอากิญจัญญายตนสัญญาได้สำเร็จด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติก็จัด เป็นฤทธิ์อีกประการหนึ่งรวมความว่าฌานสมาบัติซึ่งทำหน้าที่กำจัดกิเลสหรือ อธรรมอันเป็นข้าศึกของสมาบัติให้สำเร็จได้ก็จัดเป็นฤทธิ์ด้วยฉะนั้นผู้บรรลุ ฌานแม้แต่ปฐมฌานก็ชื่อว่าสำเร็จฤทธิ์ประเภทนี้แล้ว

๖. อริยฤทธิ์ฤทธิ์ สำเร็จด้วยวิสัยของพระอริยเจ้านั้น ท่านแสดงตัวอย่างไว้ว่าสามารถกำหนดความไม่รังเกียจในสิ่งน่าเกลียด สามารถกำหนดความรังเกียจในสิ่งไม่น่าเกลียด สามารถกำหนดความไม่รังเกียจทั้งในสิ่งน่าเกลียดทั้งในสิ่งไม่น่าเกลียด สามารถกำหนดความรังเกียจทั้งในสิ่งไม่น่าเกลียดทั้งในสิ่งน่าเกลียด และสามารถวางใจเป็นกลางอย่างมีสติสัมปชัญญะ ทั้งในสิ่งน่าเกลียดและไม่น่าเกลียดนั้นได้

ท่านอธิบายว่าเป็นด้วยอำนาจเมตตาหรือเห็นเป็นธาตุไปจึงไม่ รังเกียจและในด้านรังเกียจนั้นเป็นด้วยอำนาจการเห็นโดยเป็นสิ่งไม่งามหรือ ไม่เที่ยง ท่านสามารถวางใจเป็นกลางได้นั้นท่านว่ามีอุเบกขาในอารมณ์๖ โดยปกติซึ่งเป็นคุณลักษณะของพระอรหันต์โดยเฉพาะบุคคลผู้มีความสามารถบังคับ ความรู้สึกของตนได้ดีนั้นท่านยอมยกให้พระอริยเจ้าเพราะได้ผ่านการฝึกฝนอบรม จิตใจมาอย่างดีแล้วปุถุชนไม่สามารถบังคับความรู้สึกของตนได้ดีเหมือนพระอริย เจ้า ฉะนั้นความสามารถบังคับความรู้สึกของตนได้ จึงจัดเป็นฤทธิ์ประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลของการประพฤติธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็น ฤทธิ์ประเสริฐโดยฐานะเป็นเครื่องป้องกันตัวอยู่ทุกเมื่อ.

๗. กัมมวิปากชาฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ท่านยกตัวอย่างไว้ว่าเป็นฤทธิ์ของนกทั้งปวงเทพเจ้าทั้งมวลมุนษย์บางจำพวกและ วินิบาตบางเหล่า แต่ท่านมิได้ชี้ลงไปว่าได้แก่ฤทธิ์เช่นไรข้าพเจ้าจะวาดภาพพอนึกเห็นดังนี้ ธรรมดา นกบินไปในอากาศได้ทั้งหมดความสามารถเช่นนี้ไม่มีในสัตว์ดิรัจฉานเหล่าอื่น แม้ในหมู่มนุษย์ธรรมดาก็ไม่มีจึงจัดว่าเป็นฤทธิ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีในหมู่นก เทพเจ้าทั้งปวงเป็นกำเนิดวิเศษไม่ต้องนอนในครรภ์ของมารดาเกิดปรากฎเป็น วิญญูชนทันที ไปมาในอากาศได้โดยปกติธรรมดาแสดงกายให้ปรากฎก็ได้ ไม่ให้ปรากฎก็ได้ ความสามารถเช่นนี้ไม่มีในสัตว์ประเภทอื่นจึงจัดเป็นฤทธิ์โดยกำเนิดของเหล่า เทพเจ้า

ส่วนฤทธิ์ของมนุษย์บางจำพวกนั้นเห็น จะหมายความสามารถเกินคนธรรมดาในบางกรณีเช่นเมื่อไม่นานมานี้มีข่าวในหน้า หนังสือพิมพ์ว่ามีเด็กหญิงอายุ๑๐กว่าขวบสามารถร้องเพลงและเล่นเปียโนได้ดี กว่าคนที่ฝึกหัดมาตั้งนานๆ โดยที่เด็กหญิงคนนั้นได้รับการฝึกหัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นที่ตื่นเต้นกันในชาวต่างเทศว่าเด็กหญิงคนนั้นคงเคยเป็นนักร้องเพลงและ ดนตรีมาแล้วแต่ชาติก่อนเป็นแน่ จึงสามารถทำได้ดีในชั่วเลาเล็กน้อยเช่นนี้

ส่วน วินิบาตนั้นเป็นกำเนิดของผู้ตกต่ำจำพวกหนึ่งมีทุกข์บางเบากว่าเปรตบางจำพวก คงเนื่องแต่พลั้งพลาดในศีลธรรมเพียงเล็กน้อย แล้วตกต่ำลงไปสู่กำเนิดนั้นความดีที่ทำไว้ยังตามไปอุปถัมภ์อยู่ ทำให้เป็นผู้มีฤทธิ์เดชคล้ายเทพเจ้าในบางกรณีฤทธิ์ดังกล่าวมานี้ถ้าไม่ยอมยก ให้ว่าเป็นผลของกรรมเก่าที่ทำเอาไว้แต่ชาติก่อนแล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะยกให้เป็นอำนาจของอะไรดี เพราะไม่ปรากฏว่ามีการฝึกฝนอบรมเป็นพิเศษในปัจจุบันที่จะทำให้มีความสามารถ เช่นนั้น


๘. ปุญญฤทธิ์ฤทธิ์ของผู้มีบุญ ท่านยกตัวอย่างเช่นพระเจ้าจักรพรรดิสามารถเสด็จพาจาตุรงคินีเสนาตลอดถึงคน เลี้ยงม้าเหาะไปในอากาศได้โชติยเศรษฐีจฏิลเศรษฐีเมณฑถเศรษฐีและโฆสิตเศรษฐี ใน

สมัย พุทธกาลมีคุณสมบัติเกิดขึ้นผิดประหลาดกว่ามนุษย์ธรรมดา มิได้ออกแรงทำมาหากินแต่มีสมบัติมั่งคั่ง ทั้งไม่มีใครสามารถไปลักแย่งเอาได้ ด้วย เรื่องบุญฤทธิ์นี้เรายอมรับกันว่ามีได้เช่นพระมหากษัตราธิราชเจ้าผู้มีบุญญา ภิสมภารในประวัติศาสตร์ของชาติไทยหลายพระองค์ ที่ทรงมีพระประวัติมหัศจรรย์เช่น สมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพรเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าร.๕ เป็นต้น

แม้ในหมู่สามัญชนเราก็ยอมรับกันว่าคนผู้จะได้ดีมีสุขนั้นนอกจากการทำดีในปัจจุบันแล้วย่อมต้องอาศัยบุญบารมีอุดหนุนด้วยจนมีคติว่า ? แข่งอะไรแข่งได้แต่แข่งบุญวาสนาแข่งไม่ได้ ? ดังนี้บุญที่ทำไว้แต่ชาติก่อนย่อมติดตามอุปถัมภ์บุคคลผู้ทำในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อส่งผลหเป็นบุคคลดีเด่นในหมู่ชนเกินคาดหมาย สม พอเสียก็ไม่เสียสมพอตายก็ไม่ตายผู้เชื่อมั่นในบุญได้ผูกเป็นคำสุภาษิตไว้ว่า ? เมื่อบุญมาวาสนาช่วยที่ป่วยก็หายที่หน่ายก็รักเมื่อบุญไม่มาวาสนาไม่ช่วยที่ ป่วยก็หนักที่รักก็หน่าย ? ดังนี้อำนาจบุญวาสนาท่านจึงจัดว่าเป็นฤทธิ์ประเภทหนึ่งด้วยประการฉะนี้

๙. วิชชามัยฤทธิ์ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิทยา ท่านแสดงตัวอย่างไว้ว่าวิทยาธรร่ายวิทยาแล้วเหาะไปในอากาศได้ แสดงกองทัพคือพลช้างพลม้าพลรถพลเดินเท้าในท้องฟ้าอากาศได้ ในสมัยปัจจุบันเรามีพยานในข้อนี้อย่างดีแล้วคือผู้ทรงคุณวิทยาในวิทยาศาสตร์ แขนงต่างๆได้สำแดงฤทธิ์เดชแห่งคุณวิทยาประเภทนั้นๆให้ประจักษ์แก่โลกมากมาย เช่นสร้างอากาศยานพาเหิรฟ้าไปได้สร้างเครื่องส่งและรับวิทยุสามารถส่งเสียง ไปปรากฏทุกมุมโลก เมื่อตั้งเครื่องรับย่อมสามารถฟังเสียงนั้นได้และสามารถสร้างเครื่องส่งและ รับภาพในที่ไกลได้ เช่นเดียวกับส่งและรับเสียงฯลฯเป็นอันรับรองกันว่าฤทธิ์ประเภทนี้มีได้แน่ แล้ว.


๑๐. สัมมัปปโยคปัจจัยอิชฌนฤทธิ์ฤทธิ์สำเร็จเพราะการประกอบกิจชอบ ท่านอธิบายว่าได้แก่การละอกุศลมีกามฉันทะเป็นต้นได้ด้วยคุณธรรมมีเนกขัมมะ เป็นต้นเป็นผลสำเร็จอย่างสูงได้แก่การละสรรพกิเลสได้ด้วยพระอรหัตตมรรคเป็น ผลสำเร็จจัดเป็นฤทธิ์ประเภทหนึ่ง

ฤทธิ์ประเภทนี้ คล้ายฤทธิ์ประเภทหมายเลข๔-๕ ซึ่งกล่าวมาแล้วแต่ประเภทนี้กว้างกว่า โดยหมายถึงคุณธรรมทั่วไปอันมีอำนาจกำลังจัดความชั่วได้ เมื่อความดีทำหน้าที่กำจัดความชั่วไปได้ขั้นหนึ่งๆ ก็จัดว่าเป็นฤทธิ์หนึ่งๆในประเภทนี้ได้ ส่วนฤทธิ์ประเภทหมายเลข๔-๕ นั้นหมายถึงอำนาจวิปัสสนา ปัญญากับอำนาจฌานเฉพาะที่ทำหน้าที่กำจัดปัจจนึกของตนโดยตรงเท่านั้น ฉะนั้น บุคคลผู้ประกอบคุณงามความดีสำเร็จกำจัดความชั่วออกจากตัวได้แม้สักอย่าง หนึ่ง ก็ชื่อว่าฤทธิ์ในประเภทนี้บางประการแล้ว เมื่อบรรลุถึงพระอรหัตตผลก็ชื่อว่ามีฤทธิ์ประเภทนี้อย่างสมบูรณ์ทันที

บรรดาฤทธิ์ ๑๐ประเภทนี้ ฤทธิ์ที่ประสงค์จะกล่าวในทิพยอำนาจขั้นต้นนี้ได้แก่ฤทธิ์๓ประเภทข้างต้นเท่า นั้น ฤทธิ์ประเภทหมายเลข๓ได้ยกขึ้นเป็นทิพยอำนาจประการหนึ่งต่างหากจึงยังเหลือ สำหรับทิพยอำนาจข้อนี้เพียง๒ประเภท คืออธิษฐานฤทธิ์กับวิกุพพนาฤทธิ์เท่านั้น ฉะนั้นจะได้อธิบายลักษณะเหตุผลพร้อมด้วยอุทาหรณ์และวิธีปลูกสร้างทิพยอำนาจ๒ ประเภทนี้ต่อไป
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 06:36:36 PM »

อธิฏฐานฤทธิ์ปรากฎตามนิเทศที่ท่านแจงไว้มี ๑๖ประการคือ

๑. พหุภาพได้แก่ การอธิษฐานให้คนคนเดียวปรากฎเป็นมากคน มีจำนวนถึงร้อยพันหมื่นคนก็ได้ ท่าน ยกตัวอย่างท่านพระจูฬปันถกเถระ มีเรื่องเล่าว่าพระมหาปันถกเถระผู้พี่ชายของพรุจูฬปันถกเถระได้ออกบวชในพระ ธรรมวินัยของพระบรมศาสดา เมื่อได้ลุถึงยอดแห่งสาวกบารมีแล้วนึกถึงน้องชายจึง
ไปนำมาบวชในพระธรรมวินัยด้วย น้องชายคือพระจูฬปั่นถกเถระนั้น ปรากฏว่าสติปัญญาทึบ พี่ชายให้เรียนคาถาสรรเสริญพระพุทธเจ้าเพียงคาถาเดียวตั้ง๔เดือนก็จำไม่ได้ พี่ชายจึงขับไล่ไปตามธรรมเนียมอาจารย์กับศิษย์ พระบรมศาสดาทรงทราบว่าเป็นผู้มีอุปนิสัยหากแต่มีกรรมบางอย่างขัดขวางอยู่ เล็กน้อยจึงทำให้เป็นคนทึบในตอนแรก แต่ต่อไปจะเป็นผู้เปรื่องปราดได้ จึงเสด็จไปรับมาอบรมทรงประทานผ้าขาวผืนหนึ่งให้ถือบริกรรมว่ารโชหรณ์ๆเรื่อยไป



ท่าน ปฏิบัติตามพระพุทธโธวาทนั้นได้เห็นมลทินมือติดผ้าขาวเศร้าหมองขึ้น เกิดวิปัสสนาญาณแจ้งใจขึ้นทันทีนั้นเอง เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณไม่ท้อถอยท่านก็ลุถึงภูมิพระอรหัตตผล เกิดความรอบรู้ทั่วถึงในพระไตรปิฎกและได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาในภายหลัง ว่า เป็นยอดของผู้เชี่ยวชาญทางเจโตวิวัฎ คือการพลิกจิต พี่ชายคงยังไม่ทราบว่าน้องชายลุถึงภูมิพระอรหัตแล้ว เมื่อมีผู้มานิมนต์สงฆ์ไปฉันภัตตาหารในบ้าน ท่านก็มิได้นับน้องชายเข้าในจำนวนสงฆ์

เมื่อพระบรม ศาสดาพร้อมด้วยสงฆ์ประทับณที่นิมนต์แล้วทรงตรวจดูไม่เห็นพระจูฬปั่นถกเถระ จึงตรัสบอกทายกว่ายังพระตกค้างอยู่ในวัดรูปหนึ่ง ทายก ก็ให้ไปนิมนต์มาครั้นผู้ไปถึงวัดแทนที่จะเห็นพระรูปเดียวดั่งพระพุทธดำรัส ก็กลับเห็นพระตั้งพันรูปนั่งทำกิจต่างๆกันเต็มร่มไม้ ไม่ทราบจะนิมนต์องค์ไหนถูก จึงกลับไปกราบทูลให้ทรงทราบตรัสสั่งให้ไปนิมนต์ใหม่ระบุชื่อพระจูฬปันถกเถระ ทายกก็ไปนิมนต์อีกพอไปถึงก็ระบุชื่อตามตรัสสั่งว่าขอนิมนต์ไปฉันภัตตาหารพอ จบคำนิมนต์ ก็ได้ยินเสียงตอบขึ้นพร้อมกันตั้งพันเสียงว่าตนชื่อพระจูฬปันถกเถระ ทายกก็จนปัญญาไม่ทราบว่าจะนิมนต์องค์ไหนอีกจึงกลับคืนไปเฝ้ากราบทูล ทีนี้ตรัสสั่งว่า ๑จงมองดูหน้าองค์ไหนหน้ามีเหงื่อให้ไปจับมือองค์นั้นมา ทายกไป
-------------------------------------------------------------
๑ ในอรรถกถาธรรมบท องค์ไหนขานก่อน ให้จับชายจีวรขององค์นั้น

นิ มนต์และปฎิบัติตามที่ตรัสสั่งก็ได้พระจูฬปันถกเถระมาดังประสงค์ ทันทีนั้นเองพระจำนวนตั้งพันองค์ก็หายวับไป คงมีพระองค์เดียวคือพระจูฬปันถกเถระเท่านั้น ทายกเห็นแล้วเกิดอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้า จึงนำความกราบทูลพระบรมศาสดาตรัสว่าเป็นวิสัยของภิกษุผู้มีฤทธิ์ในพระธรรม วินัยนี้เรื่องนี้ เป็นตัวอย่างในอินธิปาฏิหาริย์พหุภาพ แม้พระบรมศาสดาก้อทรงทำเช่นในคราวทำยมกปาฏิหาริย์เนรมิตพระองค์ขึ้นหลายหลาก ล้วนทรงทำกิจต่างๆกันในท้องฟ้าเวหาหน ดั่ง กล่าวไว้ในบทนำการทำฤทธิ์พหุภาพนี้ใช้มโนภาพเป็นเครื่องนำทำให้ใจสงบแล้ว อธิษฐานก็เป็นได้ดั่งนั้นทันที จะกำหนดให้เป็นกี่ร้อยกี่พันและจำนวนเท่าไรให้ทำกิจอะไรก็กำหนดตามแล้ว อธิษฐานให้เป็นเช่นนั้น.

๒. เอโกภาพ ได้แก่การอธิษฐานให้คนมากกลับเป็นคนเดียวเป็นวิธีตรงกันข้ามกับพหุภาพ และต้องทำ คู่กันเสมอไป คือเมื่อทำให้มากแล้วก็อธิษฐานกลับคืนเป็นคนเดียวตามเดิม ส่วนคนมากจริงๆทำให้ปรากฎเพียงคนเดียวหรือน้อยคนนั้นจะต้องใช้วิธีกำบังเข้า ช่วยคือปิดบังมิให้มองเห็นคนอื่นๆมากๆ ให้เห็นแต่เพียงคนเดียวหรือน้อยคน วิธีนี้จะได้กล่าวในข้ออื่นตัวอย่างอิทธิปาฏิหาริย์เอโกภาพนี้ก็ได้แก่พระ จูฬปันถกเถระนั่นเอง จึงเป็นอ้นได้ความชัดว่าเอโกภาพหมายถึงอธิษฐานกลับคืนเป็นคนเดียวนั่นเอง

๓. อาวีภาพ ได้แก่การอธิษฐานให้ที่กำบังเป็นที่เปิดเผย ดั่งที่พระบรมศาสดาทรงทำในคราวเสด็จลงจาก ดาวดึงส์ ทรงอธิษฐานให้โลกทั้งสิ้นสว่างไสวทั่วหมดทำให้มนุษย์และเทวดาเห็นกันได้ที่ เรียกว่าปฏิหาริย์เปิดโลก ดังเล่าไว้ในบทนำนั้นแล้ว ปาฏิหาริย์ อาวีภาพนี้ใช้อาโลกกสิณเป็นเครื่องนำทำใจให้สงบเป็นฌานแล้วอธิษฐานด้วยญาณ ว่า จงสว่างกำหนดไว้ในใจให้สว่างเพียงใด ก็จะสว่างเพียงนั้นทันทีถ้ากำหนดให้สว่างหมดทั้งโลก โลก

ทั้งสิ้นก็จะสว่างไสวแม้จะอยู่ไกลกันตั้งพันโยชน์ก็จะแลเห็นกันได้เหมือนอยู่ใกล้ๆกันฉะนั้น.

๔. ติโรภาพหรือกำบัง ? หายตัว ได้แก่การอธิษฐานที่โล่งแจ้งให้เป็นที่มีอะไรกำบัง เช่นให้มีกำแพงกั้น เป็นต้นดั่งพระบรมศาสดาทรงทำปาฏิหาริย์จงกรมในน้ำคราวไปทรมานปุราณชฏิลและ คราวทรงกำบังมิให้พระยศเถระกับบิดาเห็นกันซึ่งได้เล่าไว้ในบทนำนั้นแล้ว.

ปาฏิหารย์ติโร ภาพนี้ใช้มโนภาพนึกถึงเครืองกั้นโดยธรรมชาติเช่นนีลกสิณหรืออากาสกสิณเป็น เครื่องนำก็ได้เพื่อทำใจให้สงบเป็นฌานแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่าจงกำบังดังนี้ก็ จะสำเร็จดังอธิษฐานทันที.

๕. ติโรกุฑฑาสัชชมานภาพหรือล่องหน ได้แก่การอธิษฐานที่ทึบซึ่งมีอะโรกั้นกางอยู่โดยธรรมชาติเช่น ฝากำแพงภูเขาที่กลายเป็นที่โปร่งสามารถเดินผ่านไปได้ดั่งในที่ว่างๆ ฉะนั้นอุทหรณ์ในข้อนี้ยังไม่เคยพบจะมีผู้ทำหรือไม่ไม่ทราบ แต่น่าจะทำได้เช่นเดียวกับอาชีวภาพปาฏิหาริย์เป็นแต่ปาฏิหาริย์นี้ ใช้อารสกสิณเป็นเครื่องนำทำใจให้สงบเป็นฌาน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่าจงเป็นอากาศก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐานนั้นทันที พระอาจารย์ภูริทัตตเถระ (มั่น) เคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อคราวท่านไปอยู่ถ้ำเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่เมื่อไป อยู่แรกๆรู้สึกอึดอัดคับแคบทั้งๆถ้ำนั้นก็กว้างพอสมควร ท่านจึงเข้าอากาสกสิณเบิกภูเขาทั้งลูกให้เป็นอากาศ๑ไป จึงอยู่ได้สบายไม่รู้สึกอึดอัดเหมือนแรกๆแต่ท่านมิได้เล่าว่าสามารถเดินผ่าน ภูเขาไปได้หรือไม่ ? ผู้ชำนาญทางอากาสกสิณน่าจะทดลองทำดูบ้างน่าจะสนุกดี

๖. ปฐวีอุมมุชชภาพหรือดำดิน ได้แก่การอธิษฐานแผ่นดินให้เป็นน้ำแล้วลงดำผุดดำว่ายได้
-------------------------------------------------------
๑ พระอาจารย์มั่น เคยทำฤทธิ์หายตัวให้ดู และบอกว่าใช้อากาศกสิณเหมือนกัน

สนุกๆ เหมือน ทำในน้ำธรรมดาเช่นนั้นตัวอย่างในข้อนี้ยังไม่เคยพบได้พบแต่คำกราบทูลของนาง อุบลวรรณาเถรีในคราวที่พระผู้มีพระภาคจะทรงทำยมกปาฏิหาริย์ว่านางสามารถทำ ได้แล้วทูลอาสาจะทำปาฏิหาริย์แทนพระบรมศาสดาเพื่อให้เดียรถีย์และมหาชนเกิด อัศจรรย์ว่าแม้แต่สาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มีฤทธิ์น่าอัศจรรย์เพียงนี้ แล้วพระบรมศาสดาจะมีฤทธิ์น่าอัศจรรย์เพียงไหน

ปาฏิหาริย์ ข้อนี้บ่งชัดแล้วว่าต้องใช้อาโปกสิณเป็นเครื่องนำทำใจให้สงบเป็นฌานแล้วจึง อธิษฐานด้วยญาณว่าจงเป็นน้ำก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐานทันที

๗. อุทกาภิชชมานภาพหรือไต่น้ำ ได้แก่การอธิษฐานน้ำให้เป็นแผ่นดินแล้วเดินไปบนน้ำได้เหมือนเดินบนแผ่นดิน ฉะนั้นข้อนี้ก็ไม่ปรากฏมีอุทาหรณ์คงเนื่องด้วยหาที่น้ำทำปาฏิหาริย์ข้อนี้ ไม่ได้กระมัง ! ครั้งหนึ่งพระบรมศาสดากับพระสาวกเดินทางไปจะข้ามแม่น้ำแห่งหนึ่งผู้คนกำลัง สาละวนจัดหาเรือแพเพื่อส่งข้ามแก่พระศาสดาและพระสาวกเมื่อจัดเสร็จพระบรม ศาสดากับพระสาวกลงเรือแล้วตรวจดูไม่เห็นพระอีก๒รูปจึงคอยอยู่นานก็ไม่เห็นมา พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าไม่ต้องคอยผู้ที่ข้ามแล้วครั้นข้ามไปถึงฝั่งโน้นก็พบ พระทั้ง๒รูปนั้นนั่งรอยู่ก่อนแล้วสมจริงดั่งพระพุทธดำรัสการข้ามน้ำของพระ๒ รูปนั้นปรากฏว่าเหาะข้ามไปมิได้ไต่ไปบนน้ำจึงมิใช่อุทาหรณ์ของปาฏิหาริย์นี้

ปาฏิหาริย์ ข้อนี้บ่งความแจ่มแจ้งอยู่ว่าต้องใข้ปฐวีกสิณเป็นเครื่องนำทำใจให้สงบเป็น ฌานแล้วจึงอธิษฐานด้วยฌานว่าจงเป็นแผ่นดินก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐาน

๘. อากาสจังกมนภาพหรือปฏิหาริย์เหิรฟ้า ได้แก่การอธิษฐานอากาศให้เป็นแผ่นดินแล้วนั่งขัดสมาธิบนอากาศได้สำเร็จอิริยาบถเดินยืนนั่งนอนได้เหมือนบนแผ่นดิน ฉะนั้นอุทาหรณ์ในข้อนี้มีมากพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำมากครั้ง ครั้งทรงทำยมกปาฏิหาริย์

ก็ ทรงใช้ปาฏิหาริย์นี้ประกอบด้วยคือทรงเนรมิตพระองค์ขึ้นหลากหลายทำกิจต่างๆ กันบนนภากาศกลางหาวบ้าง ทรงแสดงธรรมบ้างทรงจงกรมบ้างทรงนั่งสมาธิบ้างทรงบรรทมสีหไสยาสน์เป็นต้น บนอากาศกลางหาวนั้นเอง ก่อนหน้าที่จะได้ทรงทำยมกปกฎิหาริย์นี้ มี เรื่องเล่าว่าพระมหาโมคคัลลานเถระกับพระปิณโฑลภารทวาชเถระไปบิณฑบาตด้วยกัน ได้ยินคำโฆษณาของเศรษฐีคนหนึ่งว่าเขายังไม่ปลงใจเชื่อว่ามีพระอรหันต์เกิด ขึ้นในโลกถ้ามีจริงขอให้เหาะเอาบาตรรไม้แก่นจันทน์ที่แขวนอยู่บนอากาศนี้ไป เขาพร้อมด้วยบุตรภรรยาจะถวายตัวแก่ผู้นั้นยอมเคารพนับถือสักการบูชาตลอด ชีวิต ถ้าพ้น๗วันไปไม่มีใครเหาะมาเอาบาตรนี้ได้เขาก็จะลงความเห็นว่าไม่มีพระ อรหันต์ในโลกแน่แล้ว คำอวดอ้างของสมณคณาจารย์นั้นๆว่าเป็นพระอรหันต์เป็นมุสาเป็นคำลวงโลกดังนี้

ท่านทั้ง๒จึงปรึกษากันว่าเราจะทำอย่างไรดี วันนี้ก็เป็นวันที่ครบ๗แล้ว ถ้าจะปล่อยไปเขาก็จะปรามาสพระอรหันต์เล่นได้ เพราะเศรษฐีคนนี้มีอิทธิพลคนเชื่อถือถ้อยคำแกมากอยู่เขาก็จะพากันลบหลู่ดู หมิ่นสมณะทั้งหลายไม่สนใจฟังคำแนะนำสั่งสอนต่อไป เว้นแต่ผู้มีสติปัญญารู้จักคิดและพิจารณา ท่านทั้ง๒ลงความเห็นว่าควรทำปาฏิหาริย์เพื่อป้องกันเสี้ยนหนามได้จึงวางภาระ นี้ให้แก่พระปิณโฑลภารทวาชเถระเป็นผู้นำ ท่านได้ใช้ปลายคีบแผ่นศิลาแผ่นใหญ่พาเหาะลอยขึ้นไปในอากาศสูง๗ชั่วลำตาบเหาะ ลอยวนรอบพระนคร๗รอบ แล้วปล่อยแผ่นศิลาให้ไปตกลงยังที่เดิมของมัน ส่วนตัวท่านเหาะลอยไปเอาบาตรไม้แก่นจันทน์ยังเศรษฐีคนนั้นพร้อมด้วยบุตร ภรรยาให้เสื่อมใสในพระพุทธศาสนามหาชนได้ติดตามขอให้พระปิณโฑลภารทวาชเถระ แสดงอิทธิปาฏิหาริย์มีประการต่างๆอีกหลายครั้ง

ความทราบถึงพระบรมศาสดาจึงตรัสประชุมสงฆ์สั่งห้ามแสดงอิทธิปาฏิหาริย์พร่ำเพรื่อให้ทุบบาตรรแก่นจันทน์แจกกัน โดยตรัสว่าเป็นบาตรไม่ควรบริโภค

พอข่าวการทรงสั่งห้ามแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นี้กระจายไป พวกเดียรถีย์ก็ได้ท้าทายเป็นการใหญ่โดยเข้าใจว่าเมื่อทรงห้ามพระสาวกมิให้ แสดงปาฏิหาริย์แล้วพระบรมศาสดาก็คงไม่ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เช่นเดียวกัน แต่เดียรถีย์นิครนถ์ต้องผิดหวังหมดเพราะพระบรมศรีสุคตทรงรับจะแสดงอิทธิปา ฎิหาริย์แข่งกับเดียรถีย์นิครนถ์ที่มาท้าทายดั่งเรื่องปรากฏในยมกปาฎิหาริย์ ที่นำมาเล่าไว้ในบทนำนั้นแล้วพวกเดียรถีย์นิครนถ์หลงกลตกหลุมพรางแทบจะแทรก แผ่นดินหนีก็มี

อิทธิปาฏิหาริย์ เหิรฟ้านี้นอกจากใช้ปฐวีกสิณเป็นเครื่องนำดังกล่าวแล้วท่านว่าใช้ลหุภาพคือ ความเบาเป็นเครื่องนำก็ได้อธิบายว่าเข้าจตุตถฌานแล้วอธิษฐานให้กายเบาเหมือน สำลีแล้วลอยไปในอากาศได้หรือลอยไปตามลมได้เหมือนสำลีหรือปุยนุ่นฉะนั้นเพราะ ลหุสัญญาปรากฏชัดในจตุตถฌานคือรู้สึกเบากายเบาจิตกายก็โปร่งบางเกือบจะกลาย เป็นอากาศอยู่แล้วย่อมเหมาะที่จะใช้ทำปาฏิหาริย์ข้อนี้สะดวกดี



๙. สันติเกภาพ ได้แก่การอธิษฐานให้สิ่งที่อยู่ในที่ไกลมาปรากฏในที่ใกล้เช่น อธิษฐานให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่ในที่ไกลมาปรากฏในที่ใกล้ๆมือแล้วลูก คลำจับต้องได้หรืออธิษฐานให้ที่ไกลเป็นที่ใกล้ที่เรียกว่าย่นแผ่นดินเช่น สถานที่ห่างไกลหลายร้อยโยชน์อธิษฐานให้มาอยู่ใกล้ๆเดินไปประเดี๋ยวเดียวก็ ถึงเช่นนี้เป็นต้น

อิทธิปาฏิหาริย์นี้มีอุทาหรณ์หลากหลาย เช่นคราวที่พระบรมศาสดาเสด็จไปทรมานปุราณชฏิลได้เสด็จไปบิณฑบาตถึงอุตตรกุรุ ทวีปซึ่งเป็นที่ไกลกลับมาถึงพร้อมกับผู้ไปบิณฑบาตในที่ใกล้ๆดังเล่าไว้ในบท นำนั้นแล้วเมื่อคราวทรงทำยมกปาฏิหาริย์เสด็จเสด็จไปจำพรรษาณดาวดึงส์ ปราก ฎว่าก้าวพระบาทเพียง๓ก้าวก็ถึงดาวดึงสเทวโลกอนึ่งปรากฏในตำนานพระพุทธเจ้า เสด็จเลียบโลกก็ว่าได้เสด็จไปในที่ต่างๆซึ่งเป็นระยะทางห่างไกลมากในชั่ว เวลาไม่

กี่วันสุดวิสัยที่คนธรรมดาจะเดินทางด้วยเท้าได้ไกลถึงเพียงนั้น สถานบ้านเมืองในแคว้นสุวรรณภูมิมากแห่งได้มีตำนานรับสมอ้างข้อนี้เช่นพระ พุทธบาทสระบุรีก็ว่าเสด็จมาประทับเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ด้วยพระองค์เองรอย พระพุทธบาทตามริมฝั่งแม่น้ำโขงอีกหลายแห่งเช่นที่เวินกุ่มโพนสันเป็นต้นก็มี ตำนายรับสมอ้างเช่นเดียวกันทา&#
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 06:37:49 PM »

เมื่อพิจารณาถึงทางที่จะพึงเป็นได้แห่งฤทธิ์๔ประเภทนี้แล้วได้เหตุสำคัญ๔ประการคือ

๑. กำลังฌาณอันเป็นภูมิแห่งฤทธิ์
๒. กำลังกสิณหรือมโนภาพซึ่งมีอิทธิบาท๔เป็นกำลังหนุน
๓. กำลังใจซึ่งเป็นต้นตอของฤทธิ์๑๖ประการ
๔. กำลังอธิษฐานซึ่งมีบทของฤทธิ์๘ประการเป็นกำลังอุดหนุน

ฉะนั้นจะได้ขยายความแห่งกำลังอันสำคัญ๔ประการนี้ให้เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งจะได้ถือเป็นหลักในการสร้างฤทธิ์๒ประเภทนี้สืบไป

๑. กำลังฌาน อันเป็นภูมิแห่งฤทธิ์นั้นท่านจำแนกไว้๔ภูมิคือวิเวกชาภูมิภูมิแห่งความเงียบ จากกามคุณและอกุศลธรรมซึ่งได้แก่ปฐมฌาน๑ปิติสุขภูมิภูมิแห่งปิติสุขเกิดแต่ สมาธิซึ่งได้แก่ทุติยฌาน๑อุเบกขาสุขภูมิภูมิแห่งอุเบกขาสุขซึ่งได้แก่ตติย ฌาน๑อทุกขมสุขภูมิภูมิแห่งจิตไม่ทุกข์ไม่สุขซึ่งได้แก่จตุตถฌาน๑รวมความว่า ภูมิแห่งฌานทั้ง๔ประการเป็นที่ตั้งแต่ฤทธิ์ได้ทั้งหมดแล้วแต่กรณีฤทธิ์บาง ประการอาศัยภูมิแห่งจิตในฌานชั้นต่ำแต่บางประการต้องอาศัยภูมิแห่งจิตใจใน ฌานชั้นสูงจึงจะมีกำลังพอที่จะทำได้ฤทธิ์ชนิดใดควรใช้ฌานเพียงภูมิไหนต้อง อาศัยการฝึกฝนทดลองแล้วสังเกตเอาเองเรื่องของฌานได้กล่าวมามากแล้วคงเป็นที่ เข้าใจและคงเชื่ออำนาจของฌานบ้างแล้วแม้แต่ความสำเร็จในฌานนั้นเองท่านก็จัด เป็นฤทธิ์ประเภทหนึ่งอยู่แล้วจึงไม่ต้องสงสัยว่าฌานจะไม่เป็นกำลังสำคัญใน การทำฤทธิ์ประการหนึ่ง

๒. กำลังกสิณหรือมโนภาพ ซึ่งมีอิทธิบาท๔เป็นกำลังหนุนนั้นคือกสิณ๑๐ประการดังกล่าวไว้ในบทที่๓นั้น ต้องได้รับการฝึกหัดให้ชำนิชำนาญสามารถให้เป็นกีฬาได้ดั่งกล่าวในบทที่๔ส่วน มโนภาพ

นั้น หมายถึงภาพนึกหรือภาพทางใจซึ่งจำลองมาจากภาพของจริงอีกทีหนึ่งคล้ายดวงกสิณ นั่นเองเป็นแต่มโนภาพมิได้จำกัดวัตถุและสีสันวรรณะอย่างไรภาพนึกหรือภาพทาง ใจนี้จะต้องได้รับการฝึกหัดอบรมไว้ให้ช่ำชองเป็นภาพแจ่มแจ้งเจนใจสามารถนึก วาดขึ้นด้วยทันทีทันใดเช่นเดียวกับดวงกสิณการฝึกหัดแพ่งกสิณและทำมโนภาพนี้ ต้องอาศัยกำลังอุดหนุนของอิทธิบาทภาวนาเป็นอย่างมากที่สุดอิทธิบาทภาวนี้ได้ อธิบายไว้แล้วในบทที่๔เมื่อได้ฝึกเพ่งกสิณและฝึกมโนภาพไว้ช่ำชองแล้วเป็นที่ มั่นใจได้ทีเดียวว่าจะทำฤทธิ์ได้ดั่งประสงค์

๓. กำลังใจ ซึ่งเป็นต้นตอของฤทธิ์ท่านจำแนกไว้๑๖ประการคือ

(๑) จิตมั่นคงไม่แฟบฝ่อเพราะเกียจคร้าน
(๒) จิตมั่นคงไม่ฟูฟุ้งเพราะความฟุ้งซ่าน
(๓) จิตมั่นคงไม่ร่านเพราะความกำหนัด
(๔) จิตมั่นคงไม่พล่านเพราะพยาบาท
(๕) จิตมั่นคงไม่กรุ่นเพราะความเห็นผิด
(7) จิตมั่นคงไม่ติดพันในกามคุณารมณ์
(เจ๋ง จิตมั่นคงหลุดพ้นจากกามราคะ
(9) จิตมั่นคงพรากห่างจากกิเลสแล้ว
(10)จิตมันคงไม่ถูกกิเลกคลุมครอบทับไว้
(11)จิตมั่นคงเป็นหนึ่งไม่ส่ายไปเพราะกิเลส
(12)จิตมั่นคงเพราะศรัทธาอบรม
(13)จิตมั่นคงเพราะความเพียรประคบประหงม
(14)จิตมั่นคงเพราะสติฟูมฟักไม่พลั้งเผลอ
(15)จิตมั่นคงเพราะสมาธิครอบครองไว้
(16)จิตมั่นคงเพราะปัญญาปกครองรักษา
(17)จิตมั่นคงเพราะถึงความสว่างไสวหายมืดมัว

จิตใจที่มั่นคงแข็งแรงดังกล่าวมานี้นับว่าเป็นกำลังสำคัญที่สุดในการทำฤทธิ์ท่านจึงจัดเป็นต้นตอ
ของฤทธิ์ผู้ประสงค์สร้างฤทธิ์ต้องพยายามอบรมจิตใจด้วยคุณธรรมต่างๆดังกล่าวไว้ในบทที่๔นั้นทุกประการ



๔. กำลังอธิษฐาน ซึ่งมีบทของฤทธิ์๘ประการเป็นกำลังหนุนคือว่าการบำเพ็ญอธิษฐานบารมีที่จะ สำเร็จได้ต้องอาศัยกำลังหนุนของอิทธิบาท๔และสมาธิอันได้เพราะอาศัยอิทธิบาท๔ ประการนั้น ประกอบกันบุคคลผู้จะสามารถอธิษฐานให้ เกิดฤทธิ์เดชต่างๆได้นั้นจะต้องได้บำเพ็ญอธิษฐานบารมีมาอย่างมากมายเป็นคนมี น้ำใจเด็ดเดี่ยวลงได้ตั้งใจทำอะไรหรือเปล่าวาจาปฏิญาณว่าจะทำอะไรอย่างไรไป แล้วถ้าไม่เป็นผลสำเร็จจะไม่ยอมหยุดยั้งเลยแม้จำต้องสละชีวิตก็ยอม ดั่ง สมเด็จพระบรมศาสดาของเราเป็นตัวอย่างในสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญพระ บารมีเพื่อพระโพธิญาณเคยตั้งพระหฤทัยไว้ว่าใครประสงค์ดวงพระเนตรก็จะควักให้ ใครประสงค์ดวงหฤทัยก็จะแหวะให้ภายหลังมีผู้มาทูลขอดวงพระเนตรมิได้ทรงอิด เอื้อนเลยได้ตรัสเรียกนายแพทย์ให้มาควักพระเนตรออกทำทานทันที แม้จะได้ทรงรับทุกข์เวทนาสาหัสจากการนั้นก็มิได้ปริปากบ่นแม้สักคำเดียว

ครั้นมาในปัจฉิมชาติที่ จะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระศาสดาเอกในโลกก็ได้ทรงบำเพ็ญ พระอธิษฐานบารมีมั่นคงทรงบากบั่นมั่นคงก้าวหน้าไม่ถอยหลังตลอดมาจนถึงวาระจะ ได้ตรัสรู้ก็ทรงอธิษฐานจาตุรงคมหาปธานคือความเพียรใหญ่ยิ่งประกอบด้วยองค์๔ คือทรงตั้งพระหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่าเนื้อเลือดจะเหือดแห้งยังเหลือแต่หนังเอ็น และกระดูกก็ตามทีถ้ายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเราจะไม่ยอมหยุดยั้งความ เพียรเป็นอันขาดดังนี้อาศัยอำนาจน้ำพระหฤทัยเด็ดเดี่ยวมั่นคงเป็นกำลังก็ได้ ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณสมประสงค์

อธิษฐานบารมีที่จะดีเด่นได้ต้องประกอบด้วยอธิษฐานธรรมซึ่งเป็นกำลังหนุน๔ประการคือ

1. สัจจะความสัตย์มีมั่นหมายไม่กลับกลอก
2. ทมะมีความสามารถบังคับจิตใจได้ดี
3. จาคะมีน้ำใจเสียสละอย่างแรงกล้าเมื่อรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่กว่าที่มีอยู่แล้วจะไม่รีรอเพื่อสิ่งนั้นเลยยอมทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างกระทั่วชีวิตเข้าแลกและ
4. ปัญญามีความฉลาดเฉลียวรู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์-ไม่เป็นประโยชน์, ควร-ไม่ควร, เป็นได้-และเป็นไปไม่ได้

แล้วดำรงในสัตย์อันเป็นประโยชน์และเป็นธรรมบังคับจิตใจให้เป็นไปในอำนาจทุ่มเทกำลังพลังลงเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น.

อธิษฐานบารมีที่ได้อบรมฝึกฝนโดยทำนองดั่งกล่าวนี้ย่อม เป็นสิ่งมีพลานุภาพเกินที่จะคาดคิดถึงได้ว่ามีประมาณเพียงใดผู้มีอธิษฐาน บารมีได้อบรมแล้วอย่างนี้เมื่อตั้งใจหรือมุ่งหมายที่จะให้เกิดอำนาจ มหัศจรรย์อย่างไรก็ย่อมจะสำเร็จได้ทุกประการเมื่อใจศักดิ์สิทธิ์เช่นนั้นแม้ การกระทำและคำพูดแต่ละคำที่เปล่งออกมาก็ย่อมศักดิ์สิทธิ์เป็นฤทธิ์เดชเช่น เดียวกันดั่งสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัยมีพระวาจาศักดิ์สิทธิ์สามารถสาป ขอมดำดินให้กลายเป็นหินไปได้ฉะนั้น

เมื่อได้ทราบหน ทางที่จะให้บังฤทธิ์อำนาจมหัศจรรย์ดังนี้แล้วควรทรวบวิธีทำฤทธินั้นต่อไป เพื่อเมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องทำฤทธิ์ก็จะได้ทำได้ทีเดียว

อธิษฐาน ฤทธิ์ทั้ง๑๖ประการนั้นเมื่อจะทำฤทธิ์ชนิดใดพึงสำเหนียกดูว่าควรใช้กสิณหรือ มโนภาพชนิดใดแล้วพึงอาศัยกสิณหรือมโนภาพชนิดนั้นเป็นพาหนะนำใจให้สงบเป็น สมาธิเข้าถึงภูมิที่สามารถจะอธิษฐานฤทธิ์ชนิดนั้นแล้วพึงออกจากฌานในทันใด พึงอธิษฐานคือตั้งใจแน่วแน่ว่าจงเป็น (อย่างนั้น) ครั้นอธิษฐานแล้วพึงเข้าสู่ความสงบอีกก็จะสำเร็จฤทธิ์ตามที่อธิษฐานทันที.

ส่วนวิกุพพนาฤทธิ์พึงอาศัยมโนภาพเป็นพาหนะนำไปสู่ความสงบถึงขั้นของฌานอันเป็นภูมิ

ของฤทธิ์นั้นๆแล้วน้อมจิตไปโดย ประการที่ต้องการให้เป็นนั้นก็จะสำเร็จฤทธ์นั้นสมประสงค์เช่นต้องการแปลงกาย เป็นช้างพึงนึกวาดภาพช้างขึ้นในใจให้แจ่มชัดจนจิตเป็นฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง แล้วจึงนึกน้อมให้ภาพช้างขั้นในใจให้แจ่มชัดจนจิตเป็นฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง แล้วจึงนึกน้อมให้ภาพช้างนั้นเด่นชัดยิ่งขึ้นแล้วแสดงกิริยาอาการตามใจ ประสงค์ให้เหมือนช้างจริงๆต่อไปก็ชื่อว่าสำเร็จฤทธิ์ข้อนี้ได้ส่วนข้ออื่นๆ ก็พึงทราบโดยนัยเดียวกัน

การทำฤทธิ์ทั้ง๒ ประเภทนี้เมื่อทำเสร็จแล้วพึงอธิษฐานเลิกทุกครั้งอย่าปล่อยทิ้งไว้จะเป็น สัญญาหลอกตนเองอยู่ร่ำไป ท่านผู้สนใจในทิพยอำนาจข้อนี้ก็ดีข้ออื่นๆที่จะกล่าวข้างหน้าก็ดีหากยังไม่ เข้าใจแจ่มแจ้งข้าพเจ้ายินดีช่วยเหลือโดยเฉพาะเป็นรายๆไปเชิญติดต่อไต่ถาม ได้ทุกเมื่อ

คัดลอกจากหนังสือทิพยอำนาจ ขอบคุณเว็บ : http://www.johnpitre.com ครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
magicmo
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 2
***

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 1
กระทู้: 124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 02, 2012, 05:37:55 PM »

เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ
บันทึกการเข้า

เครื่องกรองน้ำชั้นเยี่ยม crane สะอาด ปลอดภัย เหล็กปลอกราคาถูกลวดผูกเหล็ก คุณภาพดี cctv
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!