KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐานคุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอมคุยกันสบาย...สบายครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 30
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกันสบาย...สบายครับ  (อ่าน 465430 ครั้ง)
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #270 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 01:52:37 AM »

พูดถึงเรื่องระดับปรมัตธรรม 4 อย่างคือ รูป จิต เจตสิก นิพพาน

จิต+เจตสิก = จิตปรุงแต่ง

เจตสิก เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนเรา ที่ช่วยตัดสินใจ หรือปรุงแต่งจิตใจ ในการทำบุญและทำบาป ซึ่งธรรมชาตินี้ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกันกับจิต อาศัยวัตถุ เดียวกันกับจิต เหมือนกระ...แสไฟและแสงสว่าง ที่ต้องอาศัยหลอดไฟเกิดขึ้น จิต กับ เจตสิก เป็นนามธรรมเหมือนกัน จึงเข้าประกอบกันได้สนิท เหมือนน้ำกับน้ำตาล หรือ น้ำกับสีพลาสติก โดยจิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้รู้อารมณ์เป็นไปต่าง ๆ ตามลักษณะของเจตสิก เช่นจิตเห็นพระธุดงค์กำลังเดินบิณฑบาต เจตสิกก็ปรุงแต่งจิตให้อยากทำบุญใส่บาตร กับพระธุดงค์องค์นั้นเป็นต้น ในการนี้จึงนับว่าจิต (เห็น) เป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกที่คิดจะทำบุญใส่บาตร จึงได้อิงอาศัยจิตเกิดขึ้น

เจตสิก 52 ประเภท แบ่งเป็น 3 จำพวกใหญ่ คือ
1. อัญญสมานาเจตสิก 13 ชนิด เป็นเจตสิกกลางเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล
2. อกุศลเจตสิก 14 ชนิด เป็นเจตสิกที่เข้ากับฝ่ายอกุศลอย่างเดียว
3. โสภณเจตสิก 25 ชนิด เป็นเจตสิกที่เข้ากับฝ่ายกุศลอย่างเดียว
การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิกเปรียบเสมือน ชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่าง ๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้ จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ

สรุปแล้ว ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์ 1.รูป2.เวทนา 3.สัญญา 4.สังขาร 5.วิญญาณ) ก็คือ รูป จิตและเจตสิก หรือ รูปกับนาม นั่นเอง

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #271 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 02:15:19 PM »

ขอบคุณพี่ต่ายที่นำเรื่องอภิธรรม จิต เจตสิก มาแชร์กันนะครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #272 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 08:27:48 PM »


ไปไหนมาบ้างเปล่าครับน้องกอล์ฟ หยุด 4 วัน วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา  ยิ้ม

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #273 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2012, 06:21:12 AM »

ผมกลับบ้านที่อุบล ครับ พอดีพาพ่อแม่ แล้วก็ญาติๆไปทำบุญ ให้อาม่า กันครับ
พี่ต่ายกลับมาแล้วหรอพี่
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #274 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2012, 12:02:56 AM »


ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษดีมากครับ
พี่กลับมาแล้วครับสบายดีครับ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #275 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2012, 08:25:13 PM »


ครบรอบ 5 ปีกันแล้วหรือครับนี่เว็บ KAMMATAN.COM

ยินดีและขออนุโมทนาด้วยครับในการเป็นสื่อเผยแพร่ธรรมขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

ผมก็อยู่มานานแล้วซินะนี่
 

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #276 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2012, 10:42:11 PM »

ใช่ครับพี่ต่าย
ขออนุโมทนาบุญด้วยเช่นกันนะครับ

เว็บแห่งนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ประสงค์แทนคุณพระพุทธเจ้าที่พระองค์ท่าน ทรงทุ่มเทมา 4 อสงไขย กับอีก แสนมหากัปล์
เพื่อมาชี้ทางแห่งสันติสุขตลอดกาล แก่เหล่ามวลหมู่สัตว์
kammatan.com ขอยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เพื่อสืบสานทางเดินแห่งมรรคมีองค์ 8
โดยมี สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ เป็นตัวปัญญา เพื่อให้เห็นตาม พระอริยสัจ 4
ตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
yusamui
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 48


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #277 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2012, 10:03:02 AM »

พูดถึงเรื่องระดับปรมัตธรรม 4 อย่างคือ รูป จิต เจตสิก นิพพาน

จิต+เจตสิก = จิตปรุงแต่ง

เจตสิก เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนเรา ที่ช่วยตัดสินใจ หรือปรุงแต่งจิตใจ ในการทำบุญและทำบาป ซึ่งธรรมชาตินี้ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกันกับจิต อาศัยวัตถุ เดียวกันกับจิต เหมือนกระ...แสไฟและแสงสว่าง ที่ต้องอาศัยหลอดไฟเกิดขึ้น จิต กับ เจตสิก เป็นนามธรรมเหมือนกัน จึงเข้าประกอบกันได้สนิท เหมือนน้ำกับน้ำตาล หรือ น้ำกับสีพลาสติก โดยจิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้รู้อารมณ์เป็นไปต่าง ๆ ตามลักษณะของเจตสิก เช่นจิตเห็นพระธุดงค์กำลังเดินบิณฑบาต เจตสิกก็ปรุงแต่งจิตให้อยากทำบุญใส่บาตร กับพระธุดงค์องค์นั้นเป็นต้น ในการนี้จึงนับว่าจิต (เห็น) เป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกที่คิดจะทำบุญใส่บาตร จึงได้อิงอาศัยจิตเกิดขึ้น

เจตสิก 52 ประเภท แบ่งเป็น 3 จำพวกใหญ่ คือ
1. อัญญสมานาเจตสิก 13 ชนิด เป็นเจตสิกกลางเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล
2. อกุศลเจตสิก 14 ชนิด เป็นเจตสิกที่เข้ากับฝ่ายอกุศลอย่างเดียว
3. โสภณเจตสิก 25 ชนิด เป็นเจตสิกที่เข้ากับฝ่ายกุศลอย่างเดียว
การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิกเปรียบเสมือน ชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่าง ๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้ จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ

สรุปแล้ว ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์ 1.รูป2.เวทนา 3.สัญญา 4.สังขาร 5.วิญญาณ) ก็คือ รูป จิตและเจตสิก หรือ รูปกับนาม นั่นเอง

 


    เป็นที่น่าแปลก ในหมวดอภิธรรม ที่เขียนเรื่อง รูป จิต เจตสิก นิพพาน เป็นแนวปรัชญา ได้เป็นที่สนใจศึกษากันมากมาย ทั้งที่จริงในหมวดอภิธรรมนี้ เป็นเรื่องที่มาแต่งกันหนหลัง ในสมัยพุทธกาลมีกล่าวไว้ในบางพระสูตรไม่มาก จะมีแต่เรื่อง พระวินัย กับพระสูตรเป็นหลัก ที่ท่องจำกันมา และที่สำคัญ ในหมวดอภิธรรมนี้ เป็นเพียงการศึกษาเพื่อแสดงความรู้ในเชิงปรัชญาเท่านั้นครับ
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #278 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2012, 09:38:17 PM »


ไม่แปลกหรอกครับ...
เหล่าพระอรหันต์ที่ทำการสังฆายนานำโดยพระมหากัสสปะ ท่านเอาองค์ธรรมมาจัดหมวดหมู่อธิบาย โดยใช้จำเอามาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า
เพื่อให้ผู้ศึกษาจะได้เข้าใจและเรียกสมมุติบัญญัติได้อย่างสอดคล้องกับพระวินัยและพระสูตร

อยู่ที่ว่าพระอภิธรรมนั้นสอดคล้องเนื่องกันกับพระวินัยและพระสูตรอยู่ลงกันได้โดยดี

หรือว่าในส่วนของพระอภิธรรม มีองค์ธรรมที่ขัดแย้งไม่สอดคล้องกับพระวินัยและพระสูตร มีหรือไม่...

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #279 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2012, 09:40:59 PM »

เห็นน่าสนใจดีเลยนำมาฝากให้พวกเราพิจารณาดูครับ

อันตรธาร ๕   
 
อันตรธาร คือ การสูญสิ้น มี ๕ ประการคือ
 
              ๑. อธิคมอันตรธาน การบรรลุสูญสิ้น
              ๒. ปฏิบัติติอันตรธาน การปฏิบัติสูญสิ้น
              ๓. ปริยัตติอันตรธาน การศึกษาเล่าเรียนสูญสิ้น
              ๔. ลิงค์อันตรธาน เพศบรรพชิตสูญสิ้น
              ๕. ธาตุอันตรธาน พระบรมสารีริกธาตุสูญสิ้น

 
 
 
     
             ๑. อธิคมอันตรธาน   มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่าอธิคม
              อธิคมเมื่อจะเสื่อม ย่อมไปตั้งแต่ปฏิสัมภิทา นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑,๐๐๐ ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถทำปฏิสัมภิทา ให้เกิดได้ต่อไปก็อภิญญา ๖ แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้เกิดได้ย่อมทำวิชชา ๓ ให้เกิด ครั้นกาลล่วงไปๆ เมื่อไม่สามารถทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก ต่อไปก็เหลือเพียงพระอนาคามี, พระสกทาคามีและพระโสดาบันตามลำดับ เมื่อท่านเหล่านั้นยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม เมื่อพระโสดาบันองค์สุดท้ายสิ้นชีพลง ย่อมได้ชื่อว่า อันตรธานแห่งอธิคม

๒.ปฏิปัตติอันตรธาน ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผลบังเกิดได้ รักษาเพียงจตุปาริสุทธิศีลยังไม่ชื่อว่าปฏิบัติอันตรธาน เมื่อกาลล่วงไปๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์และจะประกอบความเพียรเนืองๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้งในมรรคหรือผล บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดในอริยธรรม จึงท้อใจมากไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกันและกันในการทำความชั่วตั้งแต่นั้นก็พากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย เมื่อกาลล่วงไปๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย และ ครุกาบัติตามลำดับ เพียงอาบัติปราชิกเท่านั้นยังคงอยู่ ยังไม่ชื่อว่า ปฏิปัตติอันตรธาน เมื่อภิกษุรูปสุดท้ายทำลายศีลปราชิก หรือสิ้นชีวิตย่อมชื่อว่า ปฏิปัตติอันธาน

               ๓. ปริยัตติอันตรธาน พระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา (คำอธิบายพระไตรปิฎก) อันเป็นที่รวมแห่งพุทธพจน์ยังคงอยู่เพียงใด การเรียนการศึกษาก็ชื่อว่ายังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น เมื่อกาลล่วงไปๆ พระราชาและพระยุพราชในกุลียุคไม่ตั้งอยู่ในธรรม ราชอำมาตย์ก็ดี ข้าราชการทั้งหลายก็ดี สมณพราหมณ์ก็ดี คฤหบดี และเหล่าราษฎร์ทั้งหลายในแว่นแคว้นก็ดี ต่างก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อเป็นดังนั้นฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าและพืชพันธุ์ธัญญาหารก็ไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัยก็ไม่สามารถถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้

                 ภิกษุสงฆ์เมื่อมีความเป็นอยู่ลำบากก็ไม่อาจสงเคราะห์ศิษย์ให้ศึกษาเล่าเรียนได้ แม้ภิกษุทั้งหลายก็มีความเห็นอันวิปลาสไป พระไตรปิฎก และอรรถกถา คือหลักฐานของพระธรรมวินัยนี้ เป็นคัมภีร์สำคัญรวมคำสอนของพระศาสดา มีความลึกซึ้ง ไพเราะ เป็นไปเพื่อความสูญสิ้นกิเลส เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่ภิกษุทั้งหลายจะไม่สนใจ ไม่ยินดีศึกษาเล่าเรียน ส่วนคัมภีร์หรือพระสูตรอันนักกวีรุ่นหลังแต่งขึ้น ซึ่งเป็นของภายนอกพระธรรมวินัย ไม่เป็นไปเพื่อความสูญสิ้นกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ ภิกษุทั้งหลายจะสนใจยินดีศึกษาเล่าเรียน

                 เมื่อกาลล่วงไปๆ ภิกษุทั้งหลายจะไม่ศึกษาเล่าเรียนอรรถกถาเมื่ออรรถกถาไม่มีผู้สนใจศึกษาเล่าเรียนก็จะหายสาปสูญไป ยังอยู่แต่พระไตรปิฎกเท่านั้น จากนั้นก็ไม่มีผู้ใดศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎก โดยเริ่มจากอภิธรรมปิฎกก่อน เมื่อถึงความสูญสิ้นก็จะสูญสิ้นตั้งแต่ท้ายลงมาคือ มหาปกรณ์, ยมก, กถาวัตถุ, บุคคลบัญญัติ, ธาตุกถา และ ธัมสังคณี ตามลำดับ จากนั้นสุตตันตปิฎกก็ไม่มีผู้ใดศึกษาเล่าเรียน โดยเริ่มจากท้ายมา คือ อังคุตตรนิกาย, สังยุตตนิกาย มัชฌิมนิกาย และฑีฆนิกาย ตามลำดับ ยังคงอยู่แต่ชาดกต่อไปชาดกก็สูญสิ้น คงอยู่แต่วินัยปิฎกเท่านั้น จากนั้นก็ไม่มีผู้ใดศึกษาเล่าเรียนวินัยปิฎก โดยเริ่มจากท้ายมา คือ บริวาร, ขันธกะ, ภิกษุณีวิภังค์ และ ภิกษุวิภังค์ตามลำดับ

                 เมื่อไม่มีผู้ใดศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกดังนี้ ผู้ศรัทธาที่จะจดบันทึกและจัดทำพระไตรปิฎกเพื่อสืบต่อเพื่อเผยแพร่แก่ชนรุ่นหลังก็ไม่มี เล่มพระไตรปิฎกเก่าก็พากันปล่อยให้ชำรุดเสียหาย ไม่มีใครเอาใจใส่ดูแล ในที่สุดก็ถึงคราวสาปสูญไป ปริยัตติคือการศึกษาเล่าเรียนชื่อว่ายังไม่อันตรธาน เมื่อคาถา ๔ บาทอันเป็นพุทธพจน์ยังมีการพูดถึงอยู่ในหมู่มนุษย์ จะมีสมัยหนึ่ง พระราชาองค์หนึ่งผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทรงใส่ถุงทรัพย์หนึ่งแสนกหาปนะลงในหีบทองตั้งบนหลังช้างแล้วให้ตีกลองร้องประกาศไปทั่วแผ่นดินว่า "ชนผู้รู้คาถาแม้ ๔ บาทที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วจงมารับทรัพย์ หนึ่งแสนนี้ไป" ก็ไม่มีผู้ใดมารับเอาไป ก็การเที่ยวตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้เที่ยวตีกลองประกาศถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่มีผู้ใดรับเอาไป ราชบุรุษทั้งหลายจึงให้ขนถุงทรัพย์ หนึ่งแสนนั้นกลับสู่ท้องพระคลังตามเดิม ในกาลนั้นได้ชื่อว่า ปริยัตติอันตรธาน

              ๔. ลิงค์อันตรธาน เมื่อกาลล่วงไปๆ อิริยาบทต่างๆของภิกษุทั้งหลาย เช่น การทรงจีวร ทรงบาตร การคู้ การเหยียด การแล การยืน การเดิน การนั่ง การนอน จะไม่เป็นที่น่าเลื่อมใส จะพากันวางบาตรไว้บนบ่าบ้าง หาบด้วยสาแหรกบ้าง เที่ยวไปเหมือนพวกนิครนถ์ การนุ่งการห่มก็ไม่ทำให้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติด้วยการใช้จีวรสีครามล้วน สีเหลืองล้วน สีแดงล้วน สีบานเย็นล้วน สีดำล้วน สีแสดล้วน สีชมพูล้วน จีวรที่ไม่ได้ตัดและเย็บให้เป็นกระทงจีวรที่ไม่ได้ตัดชาย จีวรที่มีชายยาว จีวรที่มีชายเป็นลายดอกไม้ จีวรที่มีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมกางเกง สวมหมวก โพกผ้าเหมือนชาวบ้านผู้บริโภคกาม

                  ส่วนผ้ากาสายะคือผ้าย้อมฝาดหรอสีเหมือนยางไม้อันสมควรแก่สมณะภิกษุทั้งหลายจะไม่ใช้ เมื่อกาลล่วงไป ๆ ก็คิดว่า " พวกเราจะต้องการอะไรด้วยการทำอย่างนี้ " จึงผูกผ้ากาสายะผืนเล็ก ๆ ไว้ที่ข้อมือบ้าง พันคอไว้บ้าง ผูกผมไว้บ้าง และประกอบอาชีพด้วยการไถหว่านบ้าง ค้าขายบ้าง เลี้ยงบุตรภรรยา ในกาลนั้นชนทั้งหลายเมื่อจะถวายสังฆทานย่อมถวายแก่บุคคลพวกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า "ในอนาคตกาล จะมี โคตรภูบุคคล (บุคคลผู้อยู่ระหว่างปุถุชนกับอริยะบุคคล) ผู้มีผ้ากาสายะพันคอเป็นผู้ทุศีล เป็นคนลามก ชนทั้งหลายถวายสังฆทานแก่คนเหล่านั้น เรา ก็กล่าวว่าเป็นสังฆทาน มีผลเป็นอสงไขย มีผลนับไม่ได้ " แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไป ๆ ชนเหล่านั้นคิดว่า " พวกเราจะทำอย่างนั้นเพื่ออะไร เสียเวลาเปล่า " จึงแก้ผ้ากาสายะผืนน้อย ๆ นั้นเสีย ในกาลนั้นชื่อว่า ลิงค์อันตรธาน

              ๕. ธาตุอันตรธาน เมื่อกาลล่วงไป ๆ ผู้นับถือพระพุทธศาสนาลดน้อยลง ผู้ที่สักการะบูชาพระสรีรธาตุของพระศาสดาก็ลดลง ในที่ใดที่ไม่มีผู้สักการะบูชาแล้ว พระสรีรธาตุก็จะออกจากที่นั้นไปสู่สถานที่ ๆ ยังมีผู้สักการะบูชาอยู่ กาลต่อไปก็ไม่มีที่ใด ๆ เลยที่มีผู้สักการะบูชาในกาลนั้นพระสรีรธาตุทั้งหลายที่อยู่ในที่ต่าง ๆ และในพิภพนาคบ้าง เทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ไปสู่โพธิบัลลังก์ อันเป็นสถานที่ตรัสรู้แล้วรวมตัวกันเป็นองค์พระพุทธรูป มีมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการครบบริบูรณ์มีรัศมีซ่านออกจากพระวรกายวาหนึ่งโดยรอบ นั่งขัดสมาธิ ณ โคนต้นโพธิ์ กระทำยมกปาฏิหาริย์และแสดงพระธรรมเทศนา

               ในกาลนั้นมนุษย์จะไม่มีในที่นั้น จะมีแต่เหล่าเทวดาทั้งหลายที่มาจากหมื่นจักรวาล มาประชุมกันฟังพระธรรมเทศนา และได้บรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก เทวดาเหล่านั้นจะพากันคร่ำครวญรำพันว่า " วันนี้พระทศพลจะปรินิพพาน ตั้งแต่นี้ไปจะมีแต่ความมืด " จากนั้นไฟก็ลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ พลุ่งขึ้นสูงถึงพรหมโลก ไหม้สรีรธาตุหมดสิ้น ไม่มีเหลือแม้เท่าเมล็ดผักกาด หมู่เทวดาก็สักการะบูชาด้วยของหอม ดอกไม้และดนตรีทิพย์ เป็นต้น เหมือนวันที่พระองค์ทรงปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ทำปทักษิณา ๓ รอบแล้ว ถวายบังคมกราบทูลว่า " ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์จะได้เห็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปผู้จะเสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต " นี้ชื่อว่า ธาตุอันตรธาน
     
 
(อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๓๒ หน้า ๑๖๗)
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
yusamui
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 48


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #280 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2012, 11:30:49 AM »

หรือว่าในส่วนของพระอภิธรรม มีองค์ธรรมที่ขัดแย้งไม่สอดคล้องกับพระวินัยและพระสูตร มีหรือไม่...
ภิกษุสงฆ์เมื่อมีความเป็นอยู่ลำบากก็ไม่อาจสงเคราะห์ศิษย์ให้ศึกษาเล่าเรียนได้ แม้ภิกษุทั้งหลายก็มีความเห็นอันวิปลาสไป พระไตรปิฎก และอรรถกถา คือหลักฐานของพระธรรมวินัยนี้ เป็นคัมภีร์สำคัญรวมคำสอนของพระศาสดา มีความลึกซึ้ง ไพเราะ เป็นไปเพื่อความสูญสิ้นกิเลส เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่ภิกษุทั้งหลายจะไม่สนใจ ไม่ยินดีศึกษาเล่าเรียน ส่วนคัมภีร์หรือพระสูตรอันนักกวีรุ่นหลังแต่งขึ้น ซึ่งเป็นของภายนอกพระธรรมวินัย ไม่เป็นไปเพื่อความสูญสิ้นกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ ภิกษุทั้งหลายจะสนใจยินดีศึกษาเล่าเรียน
 

     ความขัดแย้ง คงไม่ขัดแย้ง เพียงแต่ไม่เป็นไปเพื่อดับทุกข์เท่านั้น เช่นในหมวดอภิธรรม ที่กล่าวถึง “จิตที่เกิดขึ้น ย่อมมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เท่านั้นดวง เท่านี้ดวง ผมอยากถามว่า แล้วจริงๆในปัจจุบันนี้มีใครรู้บ้างไหม ว่าขณะที่จิตเกิดนั้นมีเจตสิกเกิดตามขึ้นมาในขณะนั้นกี่ดวง(เอาเพียงเรื่องจิตดวงเดียวที่เกิดดับก็ตามไม่ค่อยจะทันกันแล้ว) แล้วสมมุติว่ามีคนที่รู้ได้ว่ามีเจตสิกเกิดขึ้นมากี่ดวง ก็อยากถามต่อไปว่าเมื่อรู้แล้ว จะได้ประโยชน์อะไรขึ้น เอามาใช้ดับทุกข์ได้ไหม เพราะเท่าเห็นมาส่วนมากจะเอามาคุยเป็นโวหาร ว่ารู้ธรรมะได้ลึกซึ้ง เท่านั้นเท่านี้มากกว่า  ตามข้อความที่ขีดเส้นใต้นั้นแหละครับ
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #281 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2012, 12:32:56 AM »

ความขัดแย้ง คงไม่ขัดแย้ง เพียงแต่ไม่เป็นไปเพื่อดับทุกข์เท่านั้น เช่นในหมวดอภิธรรม ที่กล่าวถึง “จิตที่เกิดขึ้น ย่อมมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เท่านั้นดวง เท่านี้ดวง ผมอยากถามว่า แล้วจริงๆในปัจจุบันนี้มีใครรู้บ้างไหม ว่าขณะที่จิตเกิดนั้นมีเจตสิกเกิดตามขึ้นมาในขณะนั้นกี่ดวง(เอาเพียงเรื่องจิตดวงเดียวที่เกิดดับก็ตามไม่ค่อยจะทันกันแล้ว) แล้วสมมุติว่ามีคนที่รู้ได้ว่ามีเจตสิกเกิดขึ้นมากี่ดวง ก็อยากถามต่อไปว่าเมื่อรู้แล้ว จะได้ประโยชน์อะไรขึ้น เอามาใช้ดับทุกข์ได้ไหม เพราะเท่าเห็นมาส่วนมากจะเอามาคุยเป็นโวหาร ว่ารู้ธรรมะได้ลึกซึ้ง เท่านั้นเท่านี้มากกว่า  ตามข้อความที่ขีดเส้นใต้นั้นแหละครับ


พระอภิธรรมปิฎกจัดอยู่ในพระไตรปิฎก...ทำไมพระอภิธรรมปิฎกจึงจะเป็นแนวทางเพื่อก่ารดับทุกข์ไม่ได้ล่ะครับ พระอภิธรรมปิฎกนั้นไม่ได้เขียนไว้ให้สำหรับอ่านและเรียนในทางปริยัติเท่านั้น
แต่จะมีคำอธิบายและทางดำเนินเพื่อให้หลุดพ้นออกจากทุกข์ด้วย

พระไตรปิฎก และอรรถกถา คือหลักฐานของพระธรรมวินัยนี้ เป็นคัมภีร์สำคัญรวมคำสอนของพระศาสดา มีความลึกซึ้ง ไพเราะ เป็นไปเพื่อความสูญสิ้นกิเลส เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์



การรู้เจตสิกที่มาประกอบจิต ก็เป็นการที่จิตไปรู้จิตนั่นเอง ประโยชน์นี่ก็ถึงบริสุทธิ์หลุดพ้นออกจากกองทุกข์ได้เลยและเป็นทางอันเอกเสียด้วย
การดูจิตที่เกิดขึ้น จิตเสื่อมไป นั่นก็คือแนวทางของจิตตานุปัสสนา 1 ใน มหาสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง



 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า
กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ


๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ

[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต
มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต
อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่
เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด
พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น
จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
     ---จบจิตตานุปัสสนา

[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
เป็นพระอนาคามี ๑
๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...
๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน
ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๑
๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง
เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น
พระอนาคามี ๑ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล

คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2012, 12:48:52 AM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #282 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2012, 01:02:35 AM »


 

จิต(รวมกับเจตสิกแล้ว)เกิดดับเป็นขณะๆสืบเนื่องกันไปครั้งละ 1 ดวง(ความจริงก็ไม่อยากเรียกว่าดวงเพราะมันกลมๆแต่จิตมันคงไม่กลม)

คนที่เห็นซ้อนกันหรือไม่เห็นเลย ก็คือไม่มีสติมองทันจิตเกิดดับ(เกิดขึ้นเสื่อมไป)ทัน

บุคคลที่ฝึกมาทางแนว จิตตานุปัสสนา นั้นก็ยังมีอยู่ ที่ฝึกจนมองเห็นจิตเกิดดับทันนั้นก็มีอยู่

ถ้าบุคคลหมั่นเพียรปฏิบัติ หมั่นเจริญสติอยู่ ท้ายบทของสติปัฏฐานสูตรได้กล่าวไว้

ไม่เนิ่นช้าแน่นอนที่จะดับทุกข์ได้ครับ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #283 เมื่อ: กันยายน 05, 2012, 08:52:53 PM »

จิต คือ วิญญาณขันธ์

เจตสิก คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์

รูป คือ รูปขันธ์

นิพพาน คือ ธัมมอารมณ์พิเศษ ที่จิต พิเศษ บางดวง สัมผัสได้(เจริญมรรค8 เต็มกำลัง)

ข้อมูลจาก บางท่าน  เรียบเรียงไว้
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #284 เมื่อ: กันยายน 15, 2012, 08:32:17 PM »

เปรียบเทียบอย่างนั้นก็ได้ครับ...ทบทวนพระอภิธรรมซักหน่อยเรื่อง ปรมัตถธรรม

ปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่อยู่เหนือการสมมุติ

ปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่ดำรงลักษณะเฉพาะของตนไว้โดย ไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง ปรมัตถธรรม นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สภาวธรรม

ปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรม นี้มี ๔ ประการคือ
๑ จิต
๒ เจตสิก
๓ รูป
๔ นิพพาน


ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้
จิต คือ ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รับกลิ่น รับรส รู้สัมผัสถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดการคิด นึก จำนวนของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่จิตไปรับรู้)
จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ มโน มนัส มนินทรีย์ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ มนายตนะ เป็นต้น

เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความรู้สึก นึก คิด ที่แตกต่างกัน ทั้งทางที่ดีและไม่ดี มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ เจตสิกเป็นนามธรรม ที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต
สภาพของจิตเป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์ แต่การที่จิตโกรธหรือจิตโลภ เป็นเพราะมีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่งให้เกิดความโกรธหรือความโลภนั่นเอง จิตเปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยาที่อยู่ในเม็ดยา จิตเกิดโดยไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกก็เกิดโดยไม่มีจิตไม่ได้เช่นกัน เนื่องจาก จิต และ เจตสิก เป็นสิ่งที่ต้องเกิดร่วมกันตลอดเวลา ดังนั้น การอธิบายบางแห่ง ในหนังสือเล่มนี้จึงเขียนว่า "จิต + เจตสิก" เพื่อให้ระลึกไว้อยู่เสมอว่าจิตและเจตสิกนั้นเป็นธรรมชาติ ที่ต้องเกิดร่วมกัน ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และไม่สามารถแยกออกจากกันได้
รูป คือ ธรรมชาติที่แตกดับ ย่อยยับ สลายไปด้วยความเย็นและความร้อน ในร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้นมีรูปประชุมกันอยู่ทั้งหมด ๒๘ ชนิด และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้แต่ละรูปต่างก็แตกดับย่อยยับสลายไปตลอดเวลา หาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้เลย

นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลส พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
นิพพานโดยปริยาย มี ๒ ลักษณะคือ
๑ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ ๕ หมายถึง
   การที่ประหาณกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ ๕ (จิต เจตสิก รูป) ยังมีการเกิดดับสืบต่ออยู่ (ยังมีชีวิตอยู่)
๒ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ปราศจากขันธ์ ๕ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ (ผู้หมดจดจากกิเลส) ที่สิ้นอายุขัยไปแล้ว (คือ กิเลสก็ไม่เหลือ ขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ) หรือที่เรียกว่า ปรินิพพาน (ปริ = ทั้งหมด) เมื่อปรินิพพานแล้ว จิต + เจตสิกและรูปก็จะหยุดการสืบต่อและดับลงโดยสิ้นเชิง (คือเมื่อตายไปแล้วก็จะไม่มีการเกิดอีกหรือไม่มีภพชาติต่อไปอีก) นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าถึงให้จงได้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวก เป็นอริยบุคคล และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรมในพุทธศาสนานี้
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 30
พิมพ์
กระโดดไป: