KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4"วิมุตติคือความหลุดพ้น" หลวงปู่ขาว อนาลโย
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: "วิมุตติคือความหลุดพ้น" หลวงปู่ขาว อนาลโย  (อ่าน 15939 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2009, 04:53:09 PM »

หลวงปู่ขาว อนาลโย
"วิมุตติคือความหลุดพ้น"

@@@การทำความดี มีการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา
เป็นต้น การทำความชั่ว มีกายทุจริต วจีทุจริต เป็นต้น
ครั้นเราทำความดี ความดีจะตามสนองให้เรามีความสุข
มีสุคติเป็นที่ไป ครั้นเราทำความชั่ว ความชั่วจะตามสนอง
ให้เรามีความทุกข์ มีทุคติเป็นที่ไป พวกเราได้อัตภาพ
ร่างกายมาสมบูรณ์ ก็เป็นเพราะปุพเพกตปุญญตา
บุญของเราได้ทำมาแต่ปางก่อน พวกเราจึงไม่ควร
ประมาท ควรรีบทำคุณความดี ละความชั่ว ความไม่ดีก็ให้
เห็นว่ามันพาไปในทางไม่ดี ทำแล้วได้รับความเดือดร้อน
ตกนรกทั้งเป็นนั่นแหละ พวกเรามีการทำบุญให้ทาน มีการ
สดับรับฟังธรรมะ รักษาศีลภาวนา ก็พาให้เกิดความสบาย
ใจ นั่นแหละบุญ เห็นกันที่นี่แหละ ไม่ต้องลาตายแล้วจึงจะ
ไปสวรรค์แล้ว ใจดีก็เป็นสวรรค์แล้ว ใจร้ายก็เป็นนรก เดี๋ยว
นี้แหละ เพราะเหตุนี้ จงทำใจให้ร่าเริง อย่าไปทำให้เศร้า
หมอง ขุ่นมัว มันจึงจะมีความสบาย จึงจะมีความสุข เพราะ
ฉะนั้นจึงควรทำความดี อย่าประมาท ให้พากันทำสติ
สัมปชัญญะให้รู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ คือความรู้ตัวในการกระทำ
ก่อนทำอะไรลงไป ให้คิดเสียก่อน ว่ามันได้ผลดีหรืออย่าง
ไรต่อไปข้างหน้า ถ้ารู้ว่ามันไม่ดี ให้ความทุกข์เราเราก็ไม่
ทำ ประกอบแต่คุณงามความดี ให้ระลึกรู้ว่าเมื่อมีเหตุก็ต้อง
มีผล ไม่ให้ทำเสียเปล่าหรอก ทำเหตุลงไปแล้วไม่ได้รับผล
ไม่มีหรอกในโลกนี้ เหตุดีก็ต้องได้รับผลดี เหตุชั่วก็ต้องได้
รับผลชั่ว มันจะสูญหายไปไม่มี


@@@การปฏิบัติธรรมนั้นไม่มีโทษมีแต่คุณ คือ จิตไม่ขุ่น
มัว จิตผ่องใส จิตเบิกบาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีความ
สุข ไม่มีความทุกข์ จะเข้าสู่สังคมใดๆ ก็องอาจกล้าหาญ
การทำความเพียร เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นแล้ว จะไม่มีความ
หวั่นไหว ไม่มีความเกียจคร้านต่อการงานทั้งทางโลกทั้ง
ทางธรรม จากนั้นก็เป็นปัญญา ที่จะมาเป็นกำลัง เมื่อ
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ จะเรียนทาง
โลกก็สำเร็จ จะทำทางธรรมก็สำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านจึงสั่ง
สอนอบรมให้เกิดให้มีขึ้นมา เบื้องต้นตั้งแต่ศีล ศีลเป็นที่ตั้ง
ของสมาธิ สมาธิเป็นที่ตั้งของปัญญา ไม่ว่าศีล สมาธิ
ปัญญา เป็นทางมาแห่งวิมุตติคือความหลุดพ้นด้วยกัน


@@@ธรรมทั้งหลายตกอยู่ในไตรลักษณ์ มีทุกขา มี
อนิจจา มีอนัตตา ทั้งสามนี้ให้สำนึก พึงรู้ทุกขัง ชาติ ความ
เกิดมาเป็นทุกข์ อนิจจัง มันไม่เที่ยง มันแปรเป็นอื่น
อนัตตา มันไม่มีตัวตน บอกมันก็ไม่ฟัง บอกไม่ให้มันแก่มัน
ก็แก่ ฟันบอกฟันไม่ให้มันหลุดมันก็หลุด หัวบอกไม่ให้มัน
หงอกมันก็หงอก หนังบอกไม่ให้มันเหี่ยวมันก็เหี่ยว ผลที่
สุดไม่นานก็นอนตายทับแผ่นดิน ส่วนดินก็ไปเป็นดิน ส่วน
น้ำก็ไปเป็นน้ำ ส่วนลมก็ไปเป็นลม เหลือแต่ดวงวิญญาณนี้
เท่านั้น นี่ธาตุ ๔ ให้แยกพิจารณาออก ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
บุคคล ธาตุดินต่างหาก ธาตุน้ำต่างหาก มารวมกันแล้วมัน
ก็แตกดับไป เป็นของไม่แน่นอน เป็นนิจจังไม่เที่ยง ทุกขัง
มีแต่ทุกข์ ถ้าใครไปยึดไปถือ


@@@ส่วนอริยสัจ ๔ ให้พิจารณาให้รู้ให้เห็นตามเป็นจริง
ทุกข์ ควรกำหนดรู้ สมุทัย ควรละเสีย นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
มรรค ควรทำให้เกิดให้มี ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่
พยาธิ ความเจ็บ มรณะ ความตาย นี่ทุกขสัจ ทุกข์มันเกิด
มาจากไหน ทุกข์เป็นตัวผล สมุทัยเป็นตัวเหตุ สมุทัยคือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความใคร่ในรูปที่สวยที่
งามในวัตถุกามต่างๆ มีเงินทองข้างของเป็นต้น เรียกว่า
กามตัณหา ความอยากมีอยากเป็น อยากเป็นโน่นเป็นนี่
อยากเป็นเศรษฐีคหบดี เป็นต้น เรียกว่า ภวตัณหา ความไม่
พอใจ ของได้มาแล้วหายไปก็เกิดความไม่พอใจร่างกาย
ของตนก็ดี ของคนอื่นก็ดี เมื่อแก่ลงมามีความชำรุดทรุด
โทรม ผมหงอก ฟันหัก แก้มตอบเป็นต้น เลยไม่พอใจ
หรือเสียงเขาด่า เขานินทา ได้ยินเข้าก็เกิดความไม่พอใจ
นี้เรียกว่า วิภวตัณหา ตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้เป็นเหตุให้สัตว์
ท่องเที่ยว อยู่ในวัฏสงสาร ในภพน้อยภพใหญ่ นับกัปนับ
กัลป์ไม่ได้ ตัณหามันเกิดขึ้นจากไหน ต้องค้นหาเหตุมัน
เหตุมันเกิดจากอายตนะภายในและอายตนะภายนอกมา
สัมผัสกัน ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส
กายถูกต้องสัมผัส ใจรู้ธรรมารมณ์ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน
ให้สำรวมอินทรีย์ทั้งหก คือ สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ให้เพียรสำรวมเพียรละไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย ทำจิต
ให้เป็นกลางวางเฉยต่ออารมณ์ นี่เรียกว่า การดับตัณหา


@@@การทำความเพียร การสำรวม และการทำความดี
ทุกอย่างเพื่อละตัณหานี้แหละเป็นทางมรรค เมื่อปัญญา
เห็นความเกิดขึ้นความดับไปของสังขารทั้งหลายทั้งปวง
เห็นแน่ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียง
ธาตุ ๔ มาประชุมกันเข้าแล้วก็แตกสลายไปอย่างนี้แต่ไหน
แต่ไรมาฐิติธรรมมีกานตั้งขึ้น มีอยู่ แล้วดับไป พิจารณารู้
เท่าทันในสิ่งเหล่านี้ ไม่หวั่นไหว เรียกว่านิโรธ คือผู้วางเฉย
ต่ออารมณ์ดังนี้แหละ...


ขอขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บ =>  http://board.palungjit.com
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2010, 01:40:15 PM »

แสดงว่า  .....อารมณ์.... นี่เป็นสุดๆ ของทุกข์เลยเมื่อเราวิ่งตามไปกับมัน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
phonsak
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 01:01:13 PM »

แสดงว่า  .....อารมณ์.... นี่เป็นสุดๆ ของทุกข์เลยเมื่อเราวิ่งตามไปกับมัน ยิงฟันยิ้ม

คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเพื่อดับทุกข์   คือดับอารมณ์ปรุงแต่งยังไงล่ะครับ
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 08, 2010, 11:48:00 PM »

แสดงว่า  .....อารมณ์.... นี่เป็นสุดๆ ของทุกข์เลยเมื่อเราวิ่งตามไปกับมัน ยิงฟันยิ้ม

คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเพื่อดับทุกข์   คือดับอารมณ์ปรุงแต่งยังไงล่ะครับ


นั่นก็ถูกแต่ส่วนหนึ่งครับ"สังขาร คือการปรุงแต่งอารมณ์และจิต"...อยู่ในวงจรปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประการ ต้องรู้และเข้าใจตัดวงจรนี้ให้ขาดสะบั้นทั้งหมด

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้แจ้งตรงนี้เอง...ไม่ใช่เข้า"ฌาน" ตรัสรู้แต่อย่างใด จากนั้นพระองค์ทรงชี้ทางดำเนินไว้ให้ด้วยแล้ว(อริยสัจสี่)เพื่อเข้าสู่"วิมุตติคือความหลุดพ้น"

ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วไป... ส่วนใครจะนำคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปแอบอ้างดัดแปลงให้เข้ากับความคิดของตนเอง..เพื่ออวดอุตตริอยากยกตัวเองเป็นศาสดาบ้างก็เชิญตามลำบากเถอะ...



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2010, 09:54:38 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 09, 2010, 01:04:08 AM »

***เชิญตามลำบากเถอะ...***


เสียดสี ? ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 09, 2010, 01:15:59 AM »


ก็เฉี่ยวๆ...ไม่ระคายผิวใครหรอกมั๊งครับ...เอาพองาม  ยิ้ม

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 09, 2010, 01:45:39 AM »

ศีลข้อมุสา ตอนที่...3 ย่อย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 09, 2010, 08:59:40 PM »


ฆราวาสก็มีหวังได้ลิ้มรสนิพพาน

ปัญหา เท่าที่ได้ฟังมานั้น การที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน รู้สึกว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากมาก จะต้องสละโลกออกบวช ไปอยู่ในป่าบำเพ็ญศีลสมาธิปัญญาอย่างเคร่งครัด ซึ่งน้อยคนจะกระทำได้ สำหรับฆราวาสที่ยังต้องอยู่ครองเรือนมีหน้าที่ในการเลี้ยงครอบครัว จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะมีโอกาสได้ลิ้มรสแห่งนิพพานสุขบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “.....สาวกของพระอริยเจ้าในศาสนานี้ย่อมพิจารณาเห็นว่า
เราปรารถนาชีวิตไม่คิดอยากตาย ปรารถนาแต่ความสุขสบายเกลียดหน่ายต่อความทุกข์

บุคคลผู้ใดจะพึงปลงเราเสียจากชีวิต ข้อนั้นจะไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แล ถ้าเราจะพึงปลงผู้อื่นเสียจากชีวิต ถึงข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้นั้น ธรรมอันใดที่ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราธรรมอันนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของคนอื่น....... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วตนก็เว้นเสียจากปาณาติบาต แลชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากปาณาติบาต และกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากปาณาติบาต......

“บุคคลใดจะพึงถือเอาสิ่งของที่เราไม่ให้ซึ่งนับว่าเป็นขโมย ข้อนั้นก็ไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แล เราจะถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ให้ ถึงขอนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากอทินนาทานและชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากอทินนาทาน และกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากการอทินนาทาน...

“บุคคลใดจะประพฤติละเมิดในภรยาของเรา ข้อนั้นไม่ถึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะถึงประพฤติละเมิดในภรรยาของผู้อื่น ถึงข้อนั้นก็ไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น... พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากกาเมสุมิจฉาจาร และชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากกาเมสุมิจฉาจาร และพรรณนาคุณของการเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร....

“บุคคลใดจะพึงทำลายประโยชน์ของเราเสียด้วยการพูดปด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นเสียด้วยการพูดปด ถึงข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากการพูดปด แลชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากการพูดปดแลกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากการพูดปด....

“บุคคลใดจะพึงทำให้เราแตกจากมิตรด้วยการกล่าวส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะพึงทำผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยการกล่าวส่อเสียด ถึงข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากกการกล่าวส่อเสียด และชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการกล่าวส่อเสียด และกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากการกล่าวส่อเสียด

“บุคคลใดจะพึงร้องเรียกเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะพึงร้องเรียกคนอื่นด้วยคำหยาบเล่า พึงข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วตนก็เว้นเสียจากการกล่าวว่าจากหยาบ และชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการกล่าววาจาหยาบ และกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากการกล่าววาจาหยาบ....

“บุคคลใดจะพึงร้องเรียกเราด้วยการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์ ข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลจะพึงร้องเรียกผู้อื่นด้วยการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์ ข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... แลชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์ และพรรณนาคุณของการเว้นจากการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์

“สาวกของพระอริยเจ้านั้น ประกอบด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่หวั่นไหว... ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระธรรมไม่หวั่นไหว... ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระสงฆ์ ไม่หวั่นไหว... ประกอบด้วยศีล ทั้งหลายอันพระอริยเจ้ารักใคร่ไม่ให้ขาด ไม่ให้เป็นท่อน ไม่ให้ด่างพร้อย เป็นไทย (ไม่เป็นทาสแหงตัณหา) อันผู้รู้สรรเสริญอันตัณหาแลทิฐิไม่ครอบงำได้เป็นไปเพื่อสมาธิ

“เมื่อใด สาวกของพระอริยเจ้า ประกอบด้วยสัทธรรมความชอบเหล่านี้แล้ว... ก็จะพึงพยากรณ์ได้ด้วยตนเองว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว เรามีกำเนิดเดียรัจฉานเปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงต้นกระแสแห่งพระนิพพานแล้ว ไม่มีทางที่จะตกไปในอบายทั้งสี่อย่างแน่นอน เป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า” ดังนี้

เวฬุทวารสูตร ม. สํ. (๑๔๕๙-๑๔๖๗)
ตบ. ๑๙ : ๔๔๓-๔๔๖ ตท. ๑๙ : ๔๐๓-๔๐๖
ตอ. K.S. V : ๓๐๘-๓๑๑


สมาทานใหม่เลยทันที ขอบคุณครับ 

สังเกตดูว่ามีข้อสุราเมรยฯหรือเปล่าเอ่ย...?

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 12, 2010, 12:32:30 AM »

ไม่เห็นมี(สุราเมรย) และข้อนี้สำคัญมากด้วย
เพราะเป็นตัวกระชากสติ(+สตังค์)
แล้วต่อไป  ศีลข้อต้นๆ ก็มีสิทธิ์ หลุดได้(รู้อยู่แล้วนี่ท่าน)

**
ตบมือข้างเดียว... ไม่มีเสียงดัง
ถ้าลดตัวลงไปเล่นกับ...มีตัวกู แล้ว  ..คล้ายตบมือสองข้าง***

มีความเมตตา....ต่อ..ผู้ที่ไม่รู้
เป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 12, 2010, 08:23:58 AM »



 ยิ้ม  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: