KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไรนิพพานคืออะไร
หน้า: [1] 2 3
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: นิพพานคืออะไร  (อ่าน 82046 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2007, 11:17:13 AM »



นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์

"นิพพาน" จากบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ(ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ทรงตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใด ๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"

คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน 2 ประเภท คือ

    * สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
    * อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก

สภาวะของนิพพานจากหลักฐานในพระไตรปิฎก

คำว่า "นิพพาน" เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของความหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่า นิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานเช่นเดียวกับคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุกข์

คัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะของฝ่ายเถรวาท ระบุไว้ชัดเจนว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" เช่น ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ปริวารระบุว่า อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้" (วิ.ป.บาลี 8/257/194)

ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า "หมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" คำว่า "อนัตตา" มีความหมายระดับปรมัตถ์ มีนัยที่ต้องไขความต่ออีก โดยเฉพาะในคัมภีร์ชั้นหลังจะบอกว่า "ที่ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกัน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอยู่ ไม่มีตัวตนที่คงที่ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้เสวย ไม่มีอำนาจในตัวเอง บังคับให้เป็นไปในอำนาจไม่ได้ แย้งต่ออัตตา"

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

"ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่)พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.2/287) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะพยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย

ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม(จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350) เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ)หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น

พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมแนะนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด

นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกวิทยาจึงไม่อาจกระทำได้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)

เมื่อนิพพานพ้นไปจากบัญญัติในทางโลก การอธิบายถึงนิพพานจึงเป็นเพียงการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบกับความว่างเปล่า หรือไฟที่ดับไป เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคกล่าวว่า "เพราะพระนิพพานเป็นคำสุขุมนัก...เป็นธรรมที่ต้องเห็นด้วยอริยจักษุ เป็นธรรมอันบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมรรค (เท่านั้น) จะพึงถึงได้" นิพพานจึงมิใช่เรื่องของการเข้าใจ แต่อยู่ที่การเข้าถึง อันเป็นผลจากการปฏิบัติธรรมของตนเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2007, 11:22:56 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2009, 11:00:45 PM »

วิธีเจริญสติ มหาสติปัฏฐาน4 : เส้นทางหลักที่พระพุทธเจ้าท่านทรงบอกไว้ ปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจาก วัฏสังสาร

http://www.kammatan.com/board/index.php?board=10.0
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
mahalaph
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 2



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 18, 2009, 12:33:20 PM »

สาธุค่ะ
บันทึกการเข้า

ใด ใด ในโลกล้วน อนิจจัง
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 02:52:37 PM »

พอทราบมาว่า 
พระพุทธเจ้า เข้าปรินิพพาน ที่ตำแหน่งระหว่าง รูปฌาน และอรูปฌาน
มีผู้รู้ท่านใด ช่วยวิเคราะห์สถานการณ์นี้ที
(ขออนุญาต ใคร่รู้สักหน่อย) ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 05:30:38 PM »

ไม่มีคำบรรยายและวิเคราะห์แต่ประการใดจากผมครับ...นำมาให้พิจารณากันครับ

ขณะปลงอายุสังขาร

พระผู้มีพระภาคมีพระกายสงบ หลับพระเนตรสนิท พระอนุรุทธเถระ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่อยู่ในเวลานั้น และได้รับการยกย่องจากพระผู้มีพระภาคว่าเป็นเลิศทางทิพยจักษุ ได้เข้าฌานตาม ทราบว่าพระพุทธองค์เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน
ออกจากจตุตถฌานแล้ว เข้าสู่อรูปสมาบัติ คืออากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ตามลำดับ
แล้วถอยกลับมาจาก สัญญาเวทยิตนิโรธ จนถึงปฐมฌาน

และเข้าปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌานอีก เมื่อออกจากจตุตถฌาน ยังมิได้ทันได้เข้าสู่อากาสานัญจายตนะ พระองค์ก็ปรินิพพานในระหว่างนั้น

วันที่พระองค์ตรัสรู้ พระองค์ทรงเข้าสมาบัตินับได้สองล้านสี่แสนโกฏิ แม้ในวันเสด็จปรินิพพาน พระองค์ก็ทรงเข้าสมาบัติเหล่านั้นทั้งหมด. รวมความว่า มีผลเสมอกันโดยเสมอกันด้วยสมาบัติ.

....ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------


               ปรินิพฺพุตกถาวณฺณนา 

             
          ต่อแต่นี้ไป เพื่อจะแสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำบริกรรมในพระปรินิพพาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถ โข ภควา ปฐมชฺฌานํ.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรินิพฺพุโต ภนฺเต ความว่า ท่านพระอานนท์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้านิโรธสมาบัติไม่มีอัสสาสปัสสาสะ จึงถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ.
               ท่านพระอนุรุทธตอบว่า ยัง ผู้มีอายุ. พระเถระทราบเรื่อง.
               ได้ยินว่า พระเถระเข้าสมาบัตินั้นๆ พร้อมกับพระศาสดานั่นแล จึงรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วดำเนินไป บัดนี้ เข้านิโรธสมาบัติ ชื่อว่าการทำกาละในภายในนิโรธสมาบัติไม่มี.
               ในพระบาลีนี้ว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ออกจากตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌานในฐานะ ๒๔ ทุติยฌานในฐานะ ๑๓ ตติยฌานก็เหมือนกัน เข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕.
               เข้าอย่างไร.
               คือ เข้าปฐมฌานในฐานะ ๒๔ เหล่านี้ มีอสุภะ ๑๐ อาการ ๓๒ กสิณ ๘ เมตตา กรุณา มุทิตา อานาปานสติปริจเฉทากาส เป็นต้น. แต่เว้นอาการ ๓๒ และอสุภะ ๑๐ เข้าทุติยฌานในฐานะที่เหลือ ๑๓ และเข้าตติยฌานในฐานะ ๑๓ นั้นเหมือนกัน.
               อนึ่ง เข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕ เหล่านี้ คือกสิณ ๘ อุเบกขาพรหมวิหาร อานาปานสติ ปริจเฉทากาส อรูป ๔. กล่าวโดยสังเขปเท่านี้.
               แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมสามี เสด็จเข้าพระนครคือปรินิพพาน เสด็จเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้ยี่สิบสี่แสนโกฏิ แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด เหมือนคนไปต่างประเทศ กอดคนที่เป็นญาติฉะนั้น.
               ในคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากจตุตถฌานในลำดับมา เสด็จปรินิพพาน คือ ในลำดับทั้ง ๒ คือ ในลำดับแห่งฌาน ในลำดับแห่งปัจจเวกขณญาณ.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว หยั่งลงสู่ภวังค์ แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้น ชื่อว่าระหว่างฌาน ในลำดับ ๒ นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว พิจารณาองค์ฌานอีก หยั่งลงสู่ภวังค์ แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าระหว่างปัจจเวกขณญาณ. แม้ทั้ง ๒ นี้ก็ชื่อว่าระหว่างทั้งนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานเสด็จออกจากฌาน พิจารณาองค์ฌานแล้วปรินิพพานด้วยภวังคจิต เป็นอัพยากฤตเป็นทุกขสัจจะ. สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก อย่างต่ำมดดำมดแดง ต้องกระทำกาละด้วยภวังคจิตที่เป็นอัพยากฤต เป็นทุกขสัจทั้งนั้นแล.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------


สองล้านสี่แสนโกฏิ=ยี่สิบสี่แสนโกฏิ

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 11:42:32 AM »

คาดว่า นิพพานอยู่ตรงนี้ หรือ ฮืม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 12:49:35 PM »

ไม่อยากตอบนักเพราะผมก็ยังไม่รู้แจ้งอะไรมาก และยังไปไม่ถึงขั้นนั้นหรอกครับ กำลังเดินๆอยู่เหมือนกันครับ
พูดไปโดยไม่รู้จริงนี้อาจทำให้สับสนได้ เอาเป็นไว้พิจารณากันเองแล้วกันนะครับ เพราะก็อ่านเอาจากพระไตรปิฎกเหมือนกัน


นิพพานไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ แต่เป็นเวลาที่ดับขันธ์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


"พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานเสด็จออกจากฌาน พิจารณาองค์ฌานแล้วปรินิพพานด้วยภวังคจิต เป็นอัพยากฤตเป็นทุกขสัจจะ."

ต้องเข้าใจว่าพระองค์เสด็จถอยออกจากการเข้าฌาณทั้งหมดแล้วแม้แต่จตุตถฌาน เมื่อออกมาแล้วก็พิจารณาองค์ฌาน คือพิจารณาในสติปัจฐาน 4 นั่นเอง เพื่อเห็นทุกสิ่งเป็นทุกขสัจจะอีกครั้งสุดท้ายก่อนเข้านิพพาน

ไม่ติดอยู่ในองค์ฌานอันใดหรือระดับใดเลย เพราะถ้ายังอยู่ในองค์ฌาณใดขณะดับขันธ์ ก็จะเกิดการสร้างภพในวัฏฏสงสารใหม่ขึ้นมาอีกทันที แล้วก็ไม่หลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสาร ๓๑ ภูมินี้ครับ

คำถามคือเรา(ไม่เกี่ยวกับพรหมโลกและเทวโลก) พิจารณาในสติปัฏฐาน ๔  กันได้ตอนไหนครับ...?





ก็ตอนเป็นมนุษย์ธรรมดานี่แหละครับ....ดีที่สุดแล้ว


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานตอนเป็นมนุษย์ธรรมดานี่เหมือนกันครับ

 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2010, 01:08:11 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
phonsakw
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 1
**

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 2
กระทู้: 94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 10:35:42 PM »

คุณgolfreeze ยังไม่เข้าใจเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งว่า  นิพพานมี 2 อย่าง

1. อายตนะนิพพาน  
2. นิพพาน

1. อายตนะนิพพาน = ธรรมกาย  สิ่งนี้เป็นอัตตา


พระไตรปิฎกบาลี ที.ปา.๑๓/๔๙/๘๕

"ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีอัตตา (ตน) เป็นที่พึ่ง มีอัตตาเป็นสรณะ จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่เถิด "

(อตฺตทีปา ภิกฺขเว วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา)

อายตนะนิพพาน(ธรรมกาย) มีทั้งอายตนะภายในของแต่ละบุคคล(ธรรมกายแต่ละคน)  และมีทั้งอายตนะนิพพานกายนอก(ธรรมกายภายนอก) = เมืองพระนิพพาน

ในทางมหายานเรียกตัวอายตนะนิพพาน(ธรรมกาย)แต่ละบุคคลว่า "สัมโภคกาย"  และเรียกอายตนะนิพพานกายนอก(ธรรมกายภายนอก) หรือ เมืองพระนิพพาน ว่า "พุทธเกษตร"

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสถึง อายตนะนิพพาน ว่า:

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย "อายตนะนั้นมีอยู่" ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญ
จายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็น
การไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิ
ได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ"

พระอวโลกิเตศวรยืนยันกับพระสารีบุตรว่า ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน  บันทึกอยู่ในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรตรัสสอนพระสารีบุตรว่า

" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้ ก็คือ อายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "

 สรุป

 สภาวธรรมแห่งการตรัสรู้ของพระตถาคต (องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)ซึ่งเป็นแก่น คือ ธรรมกาย=อายตนะนิพพาน  ในขณะที่มหายนเรียกธรรมกายตัวนี้ว่า "สัมโภคกาย"  เป็นกายทิพย์ที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร   คัมภีร์เถรวาทเรียกกายทิพย์ที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดรว่า "กายธรรมหรือธรรมกาย"
  
 2. นิพพาน คือ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่มหายานเรียกว่า "อาทิพุทธ" หรือธรรมกาย

เถรวาทเรียก "นิพพาน"  ส่วนมหายานเรียกนิพพานว่า "ธรรมกาย"
อายตนะนิพพาน เถรวาทเรียก "ธรรมกาย"  ส่วนมหายานเรียกนิพพานอายตนะนิพพานว่า "สัมโภคกาย"

ธรรมกายตามความหมายของมหายาน
=  พุทธภาวะแท้ดั้งเดิมของสรรพสิ่งในจักรวาล
=  แสงสว่างสุกสกาวในความว่างเปล่า(สุญญตา)
=  ท้องฟ้าอันเวิ้งว่างสุกใสแห่งบรรยายกาศ
=  ธรรมธาตุทั้งหมด
=  อาทิพุทธ หรือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
=  ธรรมชาติอันเปลือยเปล่าแห่งสรรพสิ่ง มีแสงสว่างในตัวเองเพราะเป็นธาตุรู้ (ธรรมธาตุ)

หลวงปู่ดู่ฯ อธิบายว่า:

"นิพพานจริงๆแล้ว เป็นความว่าง ไม่มีอะไรเลย"

หลวงปู่ดุลย์อธิบายว่า :

" โดยปราศจากรูปปรมาณู(หมายถึง ดับวิญญาณธาตุและดับนามรูปแล้ว) ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"

ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง = ความว่างของจิตแต่ละดวง จึงบริสุทธิ์และสว่าง = อายตนะนิพพาน(ธรรมกาย)
รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน     = อาทิพุทธ หรือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์รวมกัน = ธรรมกายในความหมายของมหายาน

ในศาสนาพราหมณ์   นิพพานหรือโมกษะ คือ การที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมัน  เข้ารวมเป็น  เอกภาพกับพรหมัน
ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"

อาตมันย่อย            = อายตนะนิพพาน
เอกภาพกับพรหมัน = นิพพาน หรือ อาทิพุทธ หรือ ธรรมกายตามความหมายของมหายาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2010, 10:44:37 PM โดย phonsakw » บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 11:38:39 AM »

อ้างกันไปก็อ้างกันมา

เวลาสังคายนาพระไตรปิฎก มีตกหล่น พลาดกันบ้างไหมเนียะ

นิพพานคือสภาวะจิต ที่  ไร้กิเลส  (สังโยชน์10)   รึ! ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 11:16:16 PM »

ต้องลองไปศึกษาเรื่องการจารึกพระไตรปิฎกและการสังคายนาในแต่ละครั้งก่อนนะครับ

เพราะครั้งแรกๆนั้นพระอรหันต์ทั้งนั้น และพระอานนท์เกือบไม่ได้เข้าร่วมสังคายนาด้วยเพราะท่านยังไม่ได้อรหันต์ก่อนหน้าสังคายนา...

แล้วเวลาที่คุณๆสวดมนต์ได้โดยที่ยังไม่เคยอ่านเช่นนะโมตัสสะ......ฯ คุณท่องได้ตั้งแต่ตัวกะเปี๊ยก ตอนนี้เอาเป็นแค่ ๕๐ ปี คุณๆคิดว่าคุณท่องเพี้ยนไปหรือเปล่าครับ นี่แค่ท่องๆตามกันมาโดยไม่ต้องดูตำรา และเมื่อบทเดียวกันท่องเป็นทำนองท่องเป็นหมู่ ใครเพี้ยนซักครึ่งก็ไม่ประสานกันแล้วครับ...และการสวดนั้นก็ล่ม คนที่ท่องเพี้ยนมีไหม,,,? มีแต่ก็จะกลับมาเข้ากับกลุ่มได้เองในภายหลังไงครับ

เพราะฉนั้น ไม่ต้องกลัวการตกหล่น หรือผิดพลาด มากนักหรอกครับ...ถึงมีก็คงน้อยยยมากๆครับ...ไม่ผิดเพี้ยนออกไปจากพุทธกาลซักเท่าใดนักหรอกครับ

นิพพานคือสภาวะจิต ที่  ไร้กิเลส  (สังโยชน์10)

ละสังโยชน์ ๑๐ คือ นิพพาน จะว่าใช่ก็ใช่ จะว่าไม่ใช่มันก็ไม่ถูก ,,,!!!

 ยิ้ม  ยิ้มกว้างๆ  ยิงฟันยิ้ม  ยิ้มกว้างๆ  ยิ้ม  ยิ้มเท่ห์

 

บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
phonsak
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 12:48:38 AM »

อ้างกันไปก็อ้างกันมา

เวลาสังคายนาพระไตรปิฎก มีตกหล่น พลาดกันบ้างไหมเนียะ

นิพพานคือสภาวะจิต ที่  ไร้กิเลส  (สังโยชน์10)   รึ! ยิงฟันยิ้ม




ใครๆก็รู้ครับว่า นิพพานคือสภาวะจิต ที่  ไร้กิเลส  ปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงนั้น  มันอยู่ที่สภาวะจิตไร้กิเลสมันไปอยู่ที่ใดต่างหาก

ถ้าสภาวะจิตไร้กิเลส(แต่ละดวง) มันไปอยู่ในอายตนะไร้กิเลส หรืออายตนะนิพพาน  อายตนะนิพพาน(แต่ละดวง) มันจะมีขันธ์รองรับเหมือนขันธ์ 5   จึงเรียกว่าธรรมกาย(แต่ละดวง)หรือธรรมขันธ์(แต่ละดวง)...เรียกแบบเถรวาท   แต่ถ้าเรียกแบบมหายาน  อายตนะนิพพาน(แต่ละดวง)หรือธรรมกาย(แต่ละดวง) = สัมโภคกาย(แต่ละดวง)

แล้วถ้า สภาวะจิตไร้กิเลส(แต่ละดวง) มันไม่ไปอยู่ในอายตนะ  แต่มุ่งไปสู่พุทธภาวะอันสุกสว่างอันเป็นธรรมชาติเดิมของจักรวาล เถรวาทเรียก "นิพพาน" ซึ่งเป็นการรวมกันอยู้ของสภาวะจิตไร้กิเลสทุกดวง กับ  สภาวะจิตไร้กิเลสตัวแม่(พระพุทธเจ้า)  แต่ถ้าสภาวะจิตไร้กิเลสแต่ละดวง กับ สภาวะจิตไร้กิเลสตัวแม่(พระพุทธเจ้าทุกองค์  รวมกันอันนี้มหายานเรียก "อาทิพุทธหรือธรรมกาย"

สรุป

คำว่า"ธรรมกาย"ของเถรวาทจึงต่างกับธรรมกายของมหายาน  ของมหายาน"ธรรมกาย" เป็นจุดรวมแสงสุกสกาวดวงใหญ่ ซึ่งมีดวงเดียว  เป็นพุทธภาวะเริ่มแรก  ในขณะที่"ธรรมกาย"ของเถรวาทเป็นอายตนะนิพพาน(แต่ละดวง) หรือธรรมกายแต่ละดวง  ธรรมกายด้วงใหญ่ซึ่งเป็นตัวแม่คือพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 02, 2010, 07:20:36 AM »

ที่ว่า นิพพานนั้น

ในการบรรลุนิพพาน

นิพพานเข้าพบจิต

หรือจิตเข้าพบนิพพาน   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
phonsak
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 02, 2010, 02:32:33 PM »

ที่ว่า นิพพานนั้น

ในการบรรลุนิพพาน

นิพพานเข้าพบจิต

หรือจิตเข้าพบนิพพาน   ยิงฟันยิ้ม

ในจักรวาลนี้ มีสิ่งที่เที่ยงแท้อย่างเดียวอยู่กับตวามว่างเปล่า คือ พระเจ้า หรือ พระพุทธเจ้าต้นธาตุ-ต้นธรรม หรือ พระธรรม หรือปรมาตมัน  พระเจ้าเป็นแสงสกาวในตัวเอง ที่เรียกว่า นิพพาน  นิพพานก็คือพระองค์  จิตบริสุทธิ์ อรหันต์ พระพุทธเจ้า ทุกดวง ก็คือพระองค์ที่แบ่งภาคออกไป

พระอรหันต์อาจจะไม่ต้องการเข้านิพพาน ต้องการไปดู ไปรับรู้เฉยๆ ก็มีนะครับ


เราก็คือพระเจ้า(นิพพาน) การบรรลุนิพพานคือ อาตมัน(อรหันต์)เข้าไปรวมกับปรมาตมัน(พระธรรม)   จิตบริสุทธิ์(อรหันต์)อาจจะไม่ต้องการเข้าไปอยู่ในนิพพานก็ได้   หลวงปู่ดุลย์อธิบายว่า :

" โดยปราศจากรูปปรมาณู(หมายถึง ดับวิญญาณธาตุและดับนามรูปแล้ว) ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"

บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 09, 2010, 01:18:06 AM »


ถ้าเปรียบเทียบพลังของนิพพาน ย่อมมีพลังมหาศาล มากกว่าจิตที่รุมเร้าไปด้วยกิเลสตัณหา

 แต่เมื่อปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานถึงจุดเหมาะสม (เกิดช่องว่างระหว่างนิพพานและจิต...เหมือนเขื่อน/กิเลส..ร้าว )

กิเลสย่อมยอมแหวก  เกิด ช่องว่างให้พระนิพพานเข้ามา(ชำแรกแทรกเข้ามาตามร่อง ช่องว่างนั้น)

เพื่อตามหาลูก(จิต)ที่ซุกซนหลงโลก ที่ว่า  มีตัวกู ของกูฉะนี้

                 สำนักข่าวพุทธบริษัทิ ...รายงาน ยิงฟันยิ้ม  และ (รูปง่วงก็ไม่มี เขียนเอาก็แล้วกัน) ง่วงนอน(กายนี้เป็นทุกข์อีก ๆ ๆ ๆ)
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 09, 2010, 01:28:52 AM »

หลวงปู่ดุลย์อธิบายว่า :

" โดยปราศจากรูปปรมาณู(หมายถึง ดับวิญญาณธาตุและดับนามรูปแล้ว) ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"



หลวงปู่ดุลย์อธิบายได้โดยดุษฎีและลึกซึ้งยิ่งนัก

ครับอย่านอนดึกครับ...ทรมานสังขารตนเองไปเปล่าๆไม่ได้อะไร...ด้วยความหวังดีครับ

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ตอนหลังจากบำเพ็ญทุกขกริยามาอย่างอุกฤษฏ์แล้ว...

(แต่เราจะรู้ทางสายกลางเราจำเป็นต้องรู้ทั้งโหดที่สุดและอ่อนที่สุดก่อนครับ...เพื่อรู้และศึกษาเท่านั้นแต่อย่าทำบ่อยๆสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทานั้นดังพระศาสดากล่าวไว้ประเสริฐสุดแล้วครับ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2010, 01:34:46 AM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: [1] 2 3
พิมพ์
กระโดดไป: