เมื่อพิจารณาถึงทางที่จะพึงเป็นได้แห่งฤทธิ์๔ประเภทนี้แล้วได้เหตุสำคัญ๔ประการคือ
๑. กำลังฌาณอันเป็นภูมิแห่งฤทธิ์
๒. กำลังกสิณหรือมโนภาพซึ่งมีอิทธิบาท๔เป็นกำลังหนุน
๓. กำลังใจซึ่งเป็นต้นตอของฤทธิ์๑๖ประการ
๔. กำลังอธิษฐานซึ่งมีบทของฤทธิ์๘ประการเป็นกำลังอุดหนุน
ฉะนั้นจะได้ขยายความแห่งกำลังอันสำคัญ๔ประการนี้ให้เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งจะได้ถือเป็นหลักในการสร้างฤทธิ์๒ประเภทนี้สืบไป
๑. กำลังฌาน อันเป็นภูมิแห่งฤทธิ์นั้นท่านจำแนกไว้๔ภูมิคือวิเวกชาภูมิภูมิแห่งความเงียบ จากกามคุณและอกุศลธรรมซึ่งได้แก่ปฐมฌาน๑ปิติสุขภูมิภูมิแห่งปิติสุขเกิดแต่ สมาธิซึ่งได้แก่ทุติยฌาน๑อุเบกขาสุขภูมิภูมิแห่งอุเบกขาสุขซึ่งได้แก่ตติย ฌาน๑อทุกขมสุขภูมิภูมิแห่งจิตไม่ทุกข์ไม่สุขซึ่งได้แก่จตุตถฌาน๑รวมความว่า ภูมิแห่งฌานทั้ง๔ประการเป็นที่ตั้งแต่ฤทธิ์ได้ทั้งหมดแล้วแต่กรณีฤทธิ์บาง ประการอาศัยภูมิแห่งจิตในฌานชั้นต่ำแต่บางประการต้องอาศัยภูมิแห่งจิตใจใน ฌานชั้นสูงจึงจะมีกำลังพอที่จะทำได้ฤทธิ์ชนิดใดควรใช้ฌานเพียงภูมิไหนต้อง อาศัยการฝึกฝนทดลองแล้วสังเกตเอาเองเรื่องของฌานได้กล่าวมามากแล้วคงเป็นที่ เข้าใจและคงเชื่ออำนาจของฌานบ้างแล้วแม้แต่ความสำเร็จในฌานนั้นเองท่านก็จัด เป็นฤทธิ์ประเภทหนึ่งอยู่แล้วจึงไม่ต้องสงสัยว่าฌานจะไม่เป็นกำลังสำคัญใน การทำฤทธิ์ประการหนึ่ง
๒. กำลังกสิณหรือมโนภาพ ซึ่งมีอิทธิบาท๔เป็นกำลังหนุนนั้นคือกสิณ๑๐ประการดังกล่าวไว้ในบทที่๓นั้น ต้องได้รับการฝึกหัดให้ชำนิชำนาญสามารถให้เป็นกีฬาได้ดั่งกล่าวในบทที่๔ส่วน มโนภาพ
นั้น หมายถึงภาพนึกหรือภาพทางใจซึ่งจำลองมาจากภาพของจริงอีกทีหนึ่งคล้ายดวงกสิณ นั่นเองเป็นแต่มโนภาพมิได้จำกัดวัตถุและสีสันวรรณะอย่างไรภาพนึกหรือภาพทาง ใจนี้จะต้องได้รับการฝึกหัดอบรมไว้ให้ช่ำชองเป็นภาพแจ่มแจ้งเจนใจสามารถนึก วาดขึ้นด้วยทันทีทันใดเช่นเดียวกับดวงกสิณการฝึกหัดแพ่งกสิณและทำมโนภาพนี้ ต้องอาศัยกำลังอุดหนุนของอิทธิบาทภาวนาเป็นอย่างมากที่สุดอิทธิบาทภาวนี้ได้ อธิบายไว้แล้วในบทที่๔เมื่อได้ฝึกเพ่งกสิณและฝึกมโนภาพไว้ช่ำชองแล้วเป็นที่ มั่นใจได้ทีเดียวว่าจะทำฤทธิ์ได้ดั่งประสงค์
๓. กำลังใจ ซึ่งเป็นต้นตอของฤทธิ์ท่านจำแนกไว้๑๖ประการคือ
(๑) จิตมั่นคงไม่แฟบฝ่อเพราะเกียจคร้าน
(๒) จิตมั่นคงไม่ฟูฟุ้งเพราะความฟุ้งซ่าน
(๓) จิตมั่นคงไม่ร่านเพราะความกำหนัด
(๔) จิตมั่นคงไม่พล่านเพราะพยาบาท
(๕) จิตมั่นคงไม่กรุ่นเพราะความเห็นผิด
(7) จิตมั่นคงไม่ติดพันในกามคุณารมณ์
(
จิตมั่นคงหลุดพ้นจากกามราคะ
(9) จิตมั่นคงพรากห่างจากกิเลสแล้ว
(10)จิตมันคงไม่ถูกกิเลกคลุมครอบทับไว้
(11)จิตมั่นคงเป็นหนึ่งไม่ส่ายไปเพราะกิเลส
(12)จิตมั่นคงเพราะศรัทธาอบรม
(13)จิตมั่นคงเพราะความเพียรประคบประหงม
(14)จิตมั่นคงเพราะสติฟูมฟักไม่พลั้งเผลอ
(15)จิตมั่นคงเพราะสมาธิครอบครองไว้
(16)จิตมั่นคงเพราะปัญญาปกครองรักษา
(17)จิตมั่นคงเพราะถึงความสว่างไสวหายมืดมัว
จิตใจที่มั่นคงแข็งแรงดังกล่าวมานี้นับว่าเป็นกำลังสำคัญที่สุดในการทำฤทธิ์ท่านจึงจัดเป็นต้นตอ
ของฤทธิ์ผู้ประสงค์สร้างฤทธิ์ต้องพยายามอบรมจิตใจด้วยคุณธรรมต่างๆดังกล่าวไว้ในบทที่๔นั้นทุกประการ
๔. กำลังอธิษฐาน ซึ่งมีบทของฤทธิ์๘ประการเป็นกำลังหนุนคือว่าการบำเพ็ญอธิษฐานบารมีที่จะ สำเร็จได้ต้องอาศัยกำลังหนุนของอิทธิบาท๔และสมาธิอันได้เพราะอาศัยอิทธิบาท๔ ประการนั้น ประกอบกันบุคคลผู้จะสามารถอธิษฐานให้ เกิดฤทธิ์เดชต่างๆได้นั้นจะต้องได้บำเพ็ญอธิษฐานบารมีมาอย่างมากมายเป็นคนมี น้ำใจเด็ดเดี่ยวลงได้ตั้งใจทำอะไรหรือเปล่าวาจาปฏิญาณว่าจะทำอะไรอย่างไรไป แล้วถ้าไม่เป็นผลสำเร็จจะไม่ยอมหยุดยั้งเลยแม้จำต้องสละชีวิตก็ยอม ดั่ง สมเด็จพระบรมศาสดาของเราเป็นตัวอย่างในสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญพระ บารมีเพื่อพระโพธิญาณเคยตั้งพระหฤทัยไว้ว่าใครประสงค์ดวงพระเนตรก็จะควักให้ ใครประสงค์ดวงหฤทัยก็จะแหวะให้ภายหลังมีผู้มาทูลขอดวงพระเนตรมิได้ทรงอิด เอื้อนเลยได้ตรัสเรียกนายแพทย์ให้มาควักพระเนตรออกทำทานทันที แม้จะได้ทรงรับทุกข์เวทนาสาหัสจากการนั้นก็มิได้ปริปากบ่นแม้สักคำเดียว
ครั้นมาในปัจฉิมชาติที่ จะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระศาสดาเอกในโลกก็ได้ทรงบำเพ็ญ พระอธิษฐานบารมีมั่นคงทรงบากบั่นมั่นคงก้าวหน้าไม่ถอยหลังตลอดมาจนถึงวาระจะ ได้ตรัสรู้ก็ทรงอธิษฐานจาตุรงคมหาปธานคือความเพียรใหญ่ยิ่งประกอบด้วยองค์๔ คือทรงตั้งพระหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่าเนื้อเลือดจะเหือดแห้งยังเหลือแต่หนังเอ็น และกระดูกก็ตามทีถ้ายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเราจะไม่ยอมหยุดยั้งความ เพียรเป็นอันขาดดังนี้อาศัยอำนาจน้ำพระหฤทัยเด็ดเดี่ยวมั่นคงเป็นกำลังก็ได้ ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณสมประสงค์
อธิษฐานบารมีที่จะดีเด่นได้ต้องประกอบด้วยอธิษฐานธรรมซึ่งเป็นกำลังหนุน๔ประการคือ
1. สัจจะความสัตย์มีมั่นหมายไม่กลับกลอก
2. ทมะมีความสามารถบังคับจิตใจได้ดี
3. จาคะมีน้ำใจเสียสละอย่างแรงกล้าเมื่อรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่กว่าที่มีอยู่แล้วจะไม่รีรอเพื่อสิ่งนั้นเลยยอมทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างกระทั่วชีวิตเข้าแลกและ
4. ปัญญามีความฉลาดเฉลียวรู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์-ไม่เป็นประโยชน์, ควร-ไม่ควร, เป็นได้-และเป็นไปไม่ได้
แล้วดำรงในสัตย์อันเป็นประโยชน์และเป็นธรรมบังคับจิตใจให้เป็นไปในอำนาจทุ่มเทกำลังพลังลงเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น.
อธิษฐานบารมีที่ได้อบรมฝึกฝนโดยทำนองดั่งกล่าวนี้ย่อม เป็นสิ่งมีพลานุภาพเกินที่จะคาดคิดถึงได้ว่ามีประมาณเพียงใดผู้มีอธิษฐาน บารมีได้อบรมแล้วอย่างนี้เมื่อตั้งใจหรือมุ่งหมายที่จะให้เกิดอำนาจ มหัศจรรย์อย่างไรก็ย่อมจะสำเร็จได้ทุกประการเมื่อใจศักดิ์สิทธิ์เช่นนั้นแม้ การกระทำและคำพูดแต่ละคำที่เปล่งออกมาก็ย่อมศักดิ์สิทธิ์เป็นฤทธิ์เดชเช่น เดียวกันดั่งสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัยมีพระวาจาศักดิ์สิทธิ์สามารถสาป ขอมดำดินให้กลายเป็นหินไปได้ฉะนั้น
เมื่อได้ทราบหน ทางที่จะให้บังฤทธิ์อำนาจมหัศจรรย์ดังนี้แล้วควรทรวบวิธีทำฤทธินั้นต่อไป เพื่อเมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องทำฤทธิ์ก็จะได้ทำได้ทีเดียว
อธิษฐาน ฤทธิ์ทั้ง๑๖ประการนั้นเมื่อจะทำฤทธิ์ชนิดใดพึงสำเหนียกดูว่าควรใช้กสิณหรือ มโนภาพชนิดใดแล้วพึงอาศัยกสิณหรือมโนภาพชนิดนั้นเป็นพาหนะนำใจให้สงบเป็น สมาธิเข้าถึงภูมิที่สามารถจะอธิษฐานฤทธิ์ชนิดนั้นแล้วพึงออกจากฌานในทันใด พึงอธิษฐานคือตั้งใจแน่วแน่ว่าจงเป็น (อย่างนั้น) ครั้นอธิษฐานแล้วพึงเข้าสู่ความสงบอีกก็จะสำเร็จฤทธิ์ตามที่อธิษฐานทันที.
ส่วนวิกุพพนาฤทธิ์พึงอาศัยมโนภาพเป็นพาหนะนำไปสู่ความสงบถึงขั้นของฌานอันเป็นภูมิ
ของฤทธิ์นั้นๆแล้วน้อมจิตไปโดย ประการที่ต้องการให้เป็นนั้นก็จะสำเร็จฤทธ์นั้นสมประสงค์เช่นต้องการแปลงกาย เป็นช้างพึงนึกวาดภาพช้างขึ้นในใจให้แจ่มชัดจนจิตเป็นฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง แล้วจึงนึกน้อมให้ภาพช้างขั้นในใจให้แจ่มชัดจนจิตเป็นฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง แล้วจึงนึกน้อมให้ภาพช้างนั้นเด่นชัดยิ่งขึ้นแล้วแสดงกิริยาอาการตามใจ ประสงค์ให้เหมือนช้างจริงๆต่อไปก็ชื่อว่าสำเร็จฤทธิ์ข้อนี้ได้ส่วนข้ออื่นๆ ก็พึงทราบโดยนัยเดียวกัน
การทำฤทธิ์ทั้ง๒ ประเภทนี้เมื่อทำเสร็จแล้วพึงอธิษฐานเลิกทุกครั้งอย่าปล่อยทิ้งไว้จะเป็น สัญญาหลอกตนเองอยู่ร่ำไป ท่านผู้สนใจในทิพยอำนาจข้อนี้ก็ดีข้ออื่นๆที่จะกล่าวข้างหน้าก็ดีหากยังไม่ เข้าใจแจ่มแจ้งข้าพเจ้ายินดีช่วยเหลือโดยเฉพาะเป็นรายๆไปเชิญติดต่อไต่ถาม ได้ทุกเมื่อ
คัดลอกจากหนังสือทิพยอำนาจ ขอบคุณเว็บ :
http://www.johnpitre.com ครับผม