สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งสยามประเทศ


สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งสยามประเทศ

ประวัติสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) และแม่กองงานพระธรรมทูต

เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดสถาปนาขึ้น
เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2552 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

มีราชทินนามตามที่จารึกในสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์ วาสนวรางกูร
วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี อรัณยวาสี”

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ หรือ สมเด็จขาว กรรมการมหาเถรสมาคมและแม่กองงานพระธรรมทูต สิริอายุ 89 พรรษา 68
มีพระนามเดิมว่า “อัมพร ประสัตถพงศ์” เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2470 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ จุลศักราช 1289
ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โยมบิดา-มารดาชื่อ นายนับ และนางตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

๐ บรรพชาที่วัดสัตตนารถฯ

ในช่วงวัยเยาว์ เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4
ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพ.ศ.2480 ณ วัดสัตตนารถปริวัตร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
มีพระธรรมเสนานี (เงิน นันโท) เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ย้ายไปจำพรรษาที่วัดตรีญาติ ตำบลพงสวาย
เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม, พ.ศ.2483 สอบได้นักธรรมชั้นตรี, พ.ศ.2484 สอบได้นักธรรมชั้นโท, พ.ศ.2486
สอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค, พ.ศ.2488 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค

ต่อมาปีพ.ศ.2490 ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี(ทองเจือ จินตากโร)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี พามาฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) และให้สามเณรอัมพรเข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2491
ณ มหาพัทธสีมาวัดราชบพิธฯ มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(วาสน์ วาสโน)
เป็นพระอุปัชฌาย์, สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตากโร) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ภายหลังอุปสมบท ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ พ.ศ.2491
สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และพ.ศ.2493 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค

เป็นพระธรรมทูตที่ออสเตรเลีย

ต่อมาสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2500
ต่อมาปี พ.ศ.2509 ได้เข้าอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท
ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ในช่วงปี พ.ศ. 2516 เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตนำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยมีพระขันติมาโล
ชาวอังกฤษ เป็นสหธรรมิก พร้อมไวยาวัจกร ตามคำนิมนต์ของประธานพุทธสมาคมแห่งรัฐนิวเซาธ์เวลส์
ถือว่าเป็นพระธรรมทูตไปต่างประเทศรุ่นแรกของคณะสงฆ์ธรรมยุต ได้วางรากฐานพระพุทธศาสนา
ตลอดถึงเป็นเนติให้สหธรรมิกที่มาภายหลังได้เผยแผ่อย่างเป็นรูปแบบ ทำให้พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมีความมั่นคง
มีวัดและพระสงฆ์อยู่ประจำรัฐแห่งนี้ ก่อนขยายไปยังเมืองใหญ่อีกหลายเมือง อาทิ กรุงแคนเบอร์รา นครเมลเบิร์น และเมืองดาร์วิน เป็นต้น

เป็นพระอาจารย์ที่มหามกุฎฯ

เป็นอาจารย์สอนธรรมวินัยแก่พระภิกษุ-สามเณร, กรรมการสนามหลวงแผนกธรรมและแผนกบาลี,
นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาพุทธศาสตร์, พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ

งานด้านสาธารณูปการ เป็นประธานอำนวยการฝ่ายบรรพชิต พระมหาธาตุเจดีย์และเขตพุทธาวาสเฉลิมพระเกียรติ
ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และฉลองมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย,
เป็นประธานสร้างวัดแหล่งทองแดงพรหมสราราม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม เป็นต้น

งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นรองแม่กองงานพระธรรมทูต รูปที่ 2 ผู้นำพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ไปเผยแผ่ในประเทศออสเตรเลีย, เป็นรองประธานกรรมการที่ปรึกษาสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) เป็นต้น

ด้านการศึกษาสงเคราะห์และสาธารณสงเคราะห์ ได้มอบทุนสงเคราะห์แก่ผู้เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์,
เป็นรองประธานกองทุนวัดช่วยวัดของมหาเถรสมาคม (มส.) ให้ความช่วยเหลือเมื่อมีอุบัติภัย วาตภัย อุทกภัย
หรือภัยแล้ง นำเงินบริจาคเพื่อสงเคราะห์ผู้ประสบภัยนั้นๆ ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

งานปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต),
กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.), กรรมการคณะธรรมยุต, นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.),
กรรมการบริหารมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, แม่กองงานพระธรรมทูต,
ประธานมูลนิธิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร นับว่าเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้นที่มีสมณศักดิ์สูงสุดในปัจจุบัน
คือเป็นถึงสมเด็จพระราชาคณะ, พระอุปัชฌาย์ เป็นต้น

ลำดับสมณศักดิ์

– พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระปริยัติกวี
– พ.ศ.2524 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสารสุธี
– พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเมธาภรณ์
– พ.ศ. 2538 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมเมธาภรณ์
– พ.ศ. 2543 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการภูษิต ธรรมนิตยสาทร ศาสนกิจจานุกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

– เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2552 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ที่ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี” สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 10 รูป

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่เอาใจใส่ในกิจการงานของพระอารามหลวงด้วยดีตลอดมา ดังจะเห็นได้จากตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ที่รับภารธุระอยู่ ทุกประการล้วนต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ พร้อมทั้งความตั้งใจจริงอย่างดียิ่ง ได้ทำหน้าที่ในฐานะแห่งนักปกครองที่เอาใจใส่ดูแลความเป็นไปของวัดและคนในวัดอย่างดียิ่ง รวมทั้งท่านยังได้สร้างคุณูปการแด่คณะสงฆ์อย่างมากมาย


สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยแห่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐


สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยแห่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐


สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยแห่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐


สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการลั่นระฆังตามจำนวน 20 ครั้ง


สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยแห่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐


สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยแห่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐


พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช


ขอบพระคุณข้อมูลภาพจาก สำนักข่าวไทย และเรียบเรียงข้อมูลโดย ทีมงาน http://www.kammatan.com

Comments

comments