KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไรสรุปเหตุใกล้ให้เกิดสติและปัญญา(รวมเป็นสติปัฏฐาน-ทางเดียว)
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปเหตุใกล้ให้เกิดสติและปัญญา(รวมเป็นสติปัฏฐาน-ทางเดียว)  (อ่าน 12810 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2009, 07:23:33 PM »

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=11223  ทางเดียวที่เร็วที่สุด
 http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=2595    ทรงตั้งพระธรรมวินัย เป็นพระศาสดาแทนพระองค์
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=1472    ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=06723  พระธรรมวินัย คืออะไร
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=12882   ลิงค์ที่ไม่ควรพลาด ในความคิดเห็นที่ 5
 
              ข้อความหนึ่งในมหาสติปัฏฐานสูตร
เอกายโน  อยํ  ภิกฺขเว  มคฺโค  สตฺตานํ  วิสุทฺธิยา  โสกปริเทวานํ  สมติกฺกมาย  ทุกฺขโทมนสฺสานํ  อตฺถงฺคมาย  ญายสฺส  อธิคมาย  นิพฺพานสฺส  สจฺฉิกิริยาย,  ยทิทํ  จตฺตาโร  สติปฏฺฐานา.
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สติปัฏฐานนี้  เป็นทางสายเดียว  เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์  เพื่อระงับความเศร้าโศกและความคร่ำครวญ  เพื่อดับทุกข์และโทมนัส  เพื่อบรรลุอริยมรรค  เพื่อรู้แจ้งพระนิพพาน
 
 
          ---------------------------------------------------------------

 เรื่อง เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด สติและปัญญา

   พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕- หน้าที่ 203

                     ข้อความบางตอนจาก ตัณหาสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ด้วยประการดังนี้   

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์   ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ 

การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์  ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์       

การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์     ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์   

สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์    ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ 

การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์   ย่อมยังสุจริต   ๓  ให้บริบูรณ์

สุจริต  ๓  ที่บริบูรณ์  ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์   

สติปัฏฐาน ๔  ที่บริบูรณ์   ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ให้บริบูรณ์ 

โพชฌงค์  ๗  ที่บริบูรณ์   ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
       ---------------------------------------------------------------

ว่าด้วยเรื่องเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญา
  พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
 
                              ๒.   ปัญญาสูตร

         [๙๒]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย      เหตุ  ๘  ประการ       
 
ปัจจัย  ๘ประการนี้      ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ 
 
  เพื่อความงอกงามไพบูลย์   เจริญ   บริบูรณ์    แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
 
แล้ว  ๘  ประการเป็นไฉน   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้   
 
 อาศัยพระศาสดา    หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง  ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู 
 
 ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย   ความเกรงกลัว   ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า   
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่  ๑   ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา   ฯลฯ
 
 เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาได้แล้ว.

         
         เธออาศัยพระศาสดา    หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง  ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู
 
ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย  ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว       
 
เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถามสอบถามเป็นครั้งคราวว่า 
 
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ   ภาษิตนี้เป็นอย่างไร   เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร   
 
ท่านเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย  ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง 
 
และบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ     
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่   ๒  ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา    ฯลฯ

เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

     
          เธอฟังธรรมนี้แล้ว  ย่อมยังความสงบ  ๒  อย่าง  คือ ความสงบกายและความสงบจิต  ให้ถึงพร้อม   
 
 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   นี้เป็นเหตุ  เป็นปัจจัยข้อที่   ๓   ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา  ฯลฯ
 
 เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

       
          เธอเป็นผู้มีศีล   สำรวมระวังในปาติโมกข์     ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร   
 
มีปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย  สมาทาน  ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๔ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ
 
 เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

       
         เธอเป็นพหูสูต  ทรงจำสุตะ    สั่งสมสุตะ    เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก  ทรงจำไว้     คล่องปาก    ขึ้นใจ     
 
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ   ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น    งามในท่ามกลาง   งามในที่สุด   
 
ประกาศพรหมจรรย์    พร้อมทั้งอรรถ   ทั้งพยัญชนะ    บริสุทธิ์     บริบูรณ์สิ้นเชิง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย      นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่  ๕     ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา  ฯลฯ
 
  เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

       
        เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม    เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม 
 
เป็นผู้มีกำลัง  มีความบากบั่นมั่นคง   ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม   
 
 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่   ๖  ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา   ฯลฯ 
 
เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

       
        อนึ่ง     เธอเข้าประชุมสงฆ์   ไม่พูดเรื่องต่าง ๆ  ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์
 
ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง  ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง  ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า   
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่   ๗   ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา  ฯลฯ 
 
เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

       
      อนึ่ง   เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น   และความเสื่อมในอุปาทานขันธ์  ๕  ว่า   
 
 รูปเป็นดังนี้   ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้   ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้   
 
เวทนาเป็นดังนี้...    สัญญาเป็นดังนี้...     สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้...
 
วิญญาณเป็นดังนี้  ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้   
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่    ๘    ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา
 
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้
 
เพื่อความงอกงามไพบูลย์  เจริญ  บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

                                     ฯลฯ

                       เรื่อง อาหารของการหลุดพ้น
 ข้อความในอังคุตตรนิกาย ปฐมปัณณาสก์ อวิชชาสูตร ข้อความบางตอน มีว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ 

 แม้โพชฌงค์ ๗   เราก็กล่าวว่ามีอาหาร   มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร   

 ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗  ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔

แม้สติปัฏฐาน ๔  เราก็กล่าวว่ามีอาหาร  มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร 

ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔   ควรกล่าวว่า  สุจริต ๓

 แม้สุจริต ๓  เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓      ควรกล่าวว่า  การสำรวมอินทรีย์ 

 แม้การสำรวมอินทรีย์  เราก็กล่าวว่ามีอาหาร   มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร   

ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์  ควรกล่าวว่า  สติสัมปชัญญะ

 แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร       มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร     

ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย  เราก็กล่าวว่ามีอาหาร  มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร 

ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย   ควรกล่าวว่าศรัทธา   

แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร    มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร   

 ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า  การฟังสัทธรรม 

แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้ กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม  ควรกล่าวว่าการคบสัปบุรุษ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ 

 การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์  ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์

ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์

การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์

สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์   ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ 

การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์     

สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔  ให้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔  ที่บริบูรณ์ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

 โพชฌงค์  ๗  ที่บริบูรณ์  ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ 

 วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

        ------------------------------------------------------------
ในพระอภิธัมมัตถสังคหะกล่าวถึงเหตุใกล้ไว้ มี 17 ประการ

(๑) ความรู้ยิ่ง เช่น สติของบุคคลที่ระลึกชาติได้   พระพุทธองค์ระลึกชาติได้ไม่จำกัดชาติ จะระลึกได้ทุกชาติ

     ที่พระองค์ปรารถนา   สติของพระอานนท์จำพระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสไว้ได้หมด

(๒) ทรัพย์ เป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์มีสติ  คือ  เมื่อมีทรัพย์มักจะเก็บรักษาไว้อย่างดี    และจะระมัดระวังจด

       จำไว้ว่าตนเก็บทรัพย์ไว้ที่ใด

(๓) สติเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต  เช่น พระโสดาบันจะจำได้โดยแม่นยำถึงเหตุการณ์

      ที่ท่านได้บันลุเป็นพระโสดาบัน หรือบุคคลที่ได้รับยศยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต

(๔) สติเกิดขึ้น โดยระลึกถึงเหตุการณ์ที่ตนได้รับความสุขที่ประทับใจ เมื่อนึกถึงก็จะจำเรื่องต่าง ๆ ได้

(๕) สติเกิดขึ้น เนื่องจากความทุกข์ที่ได้รับเมื่อระลึกถึงก็จะจดจำได้

(๖) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ

(๗) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่เคยประสบ

(๘) สติเกิดขึ้น เพราะคำพูดของคนอื่น เช่น มีคนเตือนให้เก็บทรัพย์ที่ลืมไว้

(๙) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเครื่องหมายที่ตนทำไว้ เช่น เห็นหนังสือที่เขียนชื่อไว้ถูกลืมไว้

(๑๐) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเรื่องราวต่าง ๆ หรือผลงาน  เช่น  เห็นพุทธประวัติ   ก็ระลึกถึงองค์สมเด็จพระ

        สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น

(๑๑) สติเกิดขึ้น เพราะความจำได้ เช่น มีการนัดหมายไว้     เมื่อมองไปที่กระดานก็จำได้ว่าต้องไปตามที่ได้

         นัดไว้

(๑๒) สติเกิดขึ้น เพราะการนับ เช่น การเจริญสติระลึกถึงพระพุทธคุณ  ก็ใช้นับลูกประคำเพื่อมิให้ลืม

(๑๓) สติเกิดขึ้น เพราะการทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้

(๑๕) สติเกิดขึ้น เพราะการบันทึกไว้ เมื่อดูบันทึกก็จำได้

(๑๖) สติเกิดขึ้น เพราะทรัพย์ที่เก็บได้เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้นได้ว่าได้เก็บทรัพย์ไว้
(๑๗) สติเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เคยพบเคยเห็นมาแล้ว เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึกได้
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 12:25:05 AM »

สมัยนี้ต้องสู้กันสุดๆ

ถึงจะใกล้


เพราะเวลาไม่เคยรอใคร


ทางเดินปูพรมแดง มี แต่ขอแวะ ขอพัก อือ...ก็โลกมันเย้ายวน..มาก  ก กเหลือกำลัง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: