KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับรวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Galleryบทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะระเบียบพิธี : การทำบุญเลี้ยงพระงานมงคล เช่นงานขึ้นบ้านใหม่
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ระเบียบพิธี : การทำบุญเลี้ยงพระงานมงคล เช่นงานขึ้นบ้านใหม่  (อ่าน 27082 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 06, 2010, 07:47:56 PM »

ระเบียบพิธี : การทำบุญเลี้ยงพระงานมงคล  เช่นงานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

พิธี ฝ่ายเจ้าภาพ ผู้ที่จะทำบุญเนื่องในงานมงคลต่าง ๆ นั้น ในที่นี้เรียกว่า "เจ้าภาพ" เบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อน ดังนี้
ก. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
ข. เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
ค. ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
ฆ. วงด้ายสายสิญจน์
ง. เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา
จ. ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์
ฉ. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามควรแก่ฐานะ
ช. ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์

เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วตามเวลากำหนด จะต้องปฏิบัติกรณียกิจ ดังต่อไปนี้
ก. คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย (ปัจจุบันพระสงฆ์สวมรองเท้า และเท้าไม่สกปรก จึงไม่ต้องล้างเท้าก็ได้)
ข. ประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้
ค. ได้เวลาแล้ว จุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ ๓ ครั้ง
ฆ. อาราธนาศีล และรับศีล
ง. ต่อจากรับศีล อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
จ. นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว ถวายน้ำร้อนหรือ เครื่องดื่ม
อันควรแก่สมณะ แล้วแต่จะจัด



ในการปฏิบัติพิธีตามหน้าที่ที่กล่าวนี้ มีข้อที่ควรจะเข้าใจ คือ
๑. เรื่องการอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมไม่กำหนดจำนวนข้างมาก แต่นิยมกำหนดข้างน้อยไว้โดยเกณฑ์ คือไม่ต่ำกว่า ๕ รูป เกิน ๕ ไปก็เป็น ๗ หรือ ๙ ข้อน่าสังเกตก็คือ ไม่นิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ เพราะถือเหมือนอย่างว่า การทำบุญครั้งนี้ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แบบเดียวกับครั้งพุทธกาล ซึ่งปรากฏตามบาลีว่า พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข โดยตั้งพระพุทธรูปไว้ข้างหน้าแถวพระสงฆ์ นับจำนวนรวมกับพระสงฆ์เป็นคู่ เว้นแต่ในงานมงคลสมรส มักนิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ จุดมุ่งหมาย คือ แบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวนิมนต์พระมาจำนวนเท่า ๆ กัน เมื่อมารวมกัน จึงเป็นจำนวนคู่ แต่ในพิธีหลวงในปัจจุบันนี้ มักอาราธนาพระสงฆ์ เป็นจำนวนคู่ เช่น ๑๐ รูป เป็นต้น

๒. เรื่องเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ในงานพิธีต่าง ๆ นั้น นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "โต๊ะบูชา" สิ่งสำคัญของโต๊ะบูชานี้ ประกอบด้วยโต๊ะรอง ๑ เครื่องบูชา ๑ โต๊ะรองเป็นที่รองรับพระพุทธรูป และเครื่องบูชาปัจจุบันนี้นิยมใช้กันทั่วไป เป็นโต๊ะหมู่ซึ่งสร้างไว้โดยเฉพาะ เรียกกันว่า โต๊ะหมู่บูชา มีเป็นหมู่ ๕ หมู่ ๗ และหมู่ ๙ หมายความว่าหมู่หนึ่ง ๆ ประกอบด้วยโต๊ะ ๕ ตัว ๗ ตัว และ ๙ ตัว ก็เรียกว่าหมู่เท่านั้นเท่านี้ ถ้าในที่ที่หาโต๊ะหมู่ไม่ได้ จะใช้ตั่งอะไรที่สมควรซึ่งไม่สูงหรือต่ำเกินไปนักจัดเป็นโต๊ะบูชาในพิธีก็ ได้ โต๊ะหรือตั่งนั้นต้องใช้ผ้าขาวปูพื้นก่อน ถ้าหาผ้าขาวไม่ได้จำเป็นจะใช้ผ้าสี ต้องเป็นผ้าสะอาด และยังมิได้ใช้การอย่างอื่น มาเป็น เหมาะสมที่สุด ผ้าอะไรก็ตามถ้าแสดงลักษณะชัดว่าเป็นผ้านุ่งแล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่ง

การ ตั้งโต๊ะบูชานี้มีหลักว่า ต้องตั้งหันหน้าโต๊ะออกทางเดียวกับพระสงฆ์ คือให้พระ พุทธรูปหันพระพักตร์ออกทางเดียวกับพระสงฆ์นั่นเอง ด้วยมุ่งหมายให้พระสงฆ์ มีพระพุทธรูป เป็นประธาน เว้นแต่จำเป็นเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งจะต้องให้พระสงฆ์นั่ง มีเบื้องซ้ายอยู่ทางพระพุทธรูป แล้ว จึงต้องตั้งโต๊ะบูชาหันหน้ามาทางพระสงฆ์ให้พระพุทธรูป หันพระพักตร์หาพระสงฆ์ เป็นอัน ไม่ต้องเข้าแถวกับพระสงฆ์ สำหรับเรื่องทิศทางที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น มักจะให้ผิน พระพักตร์ไปสู่ทิศเหนือ ด้วยถือว่าพระพุทธเจ้า เป็นโลกอุดร มิฉะนั้นก็ให้หันไปทางทิศตะวันออก ด้วยถือว่าเป็นทิศพระ (ในวันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางตะวันออก) เป็นพื้น แต่เรื่องนี้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องจำกัดเช่นนั้น จะให้ผินพระพักตร์ไปทิศใด ๆ ก็ไม่เกิดโทษ และไม่มีข้อห้าม เป็นอัน แล้วแต่สถานที่จะอำนวยให้ประดิษฐานได้เหมาะสมก็พึงทำได้ทั้งนั้น

สำหรับ การตั้งเครื่องบูชานั้น ต้องแล้วแต่โต๊ะที่ตั้ง ถ้าเป็นโต๊ะเดี่ยวที่ใช้ตั่ง หรือโต๊ะ ตัวเดียวตั้งแทนโต๊ะหมู่ เครื่องบูชาควรมีแจกันประดับดอกไม้ ๑ คู่ ตั้ง ๒ ข้างพระพุทธรูป ไม่ชิด หรือห่างจนเกินไป ถัดมาแถวหน้าพระพุทธรูป ตั้งกระถางธูปตรงหน้า พระพุทธรูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ตั้งตรงกับแจกัน เพียงเท่านี้ก็สำเร็จรูปเป็นโต๊ะบูชา พอสมควร



สำหรับโต๊ะหมู่จะแสดงการตั้งโต๊ะหมู่ ๗ เป็นตัวอย่าง ดังนี้

หลัก โต๊ะหมู่ ๗ มีอยู่ว่า ใช้แจกัน ๒ คู่ คู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะกลางที่ตั้งพระพุทธรูป ชิดด้านหลัง ๒ ข้างพระพุทธรูปอยู่ตรงมุมทั้ง ๒ ด้านหลัง อีกคู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะข้างตัวละ ๑ ชิดมุมด้านหลัง ถือหลักว่าแจกันเป็นพนักหลังสุด จะตั้งล้ำมาข้างหน้าไม่ควร พานดอกไม้ ๕ พาน ตั้งกลางโต๊ะ ทุกโต๊ะ เว้นโต๊ะกลางแถวหน้าซึ่งตั้งกระถางธูป เชิงเทียน ๕ คู่ ตั้งที่โต๊ะข้างซ้ายและขวามือโต๊ะละ ๑ ที่มุมหน้าตรงข้ามกับแจกัน รวม ๒ ซีก ๒ คู่ ตรง กลางตั้งแต่โต๊ะพระพุทธรูปลงมา ๓ ตัว ตั้งตัวละคู่ที่มุมโต๊ะทั้ง ๒ ด้านหน้า รวมอีก ๓ คู่ สำหรับคู่ที่อยู่บนโต๊ะที่ตั้ง พระพุทธรูปนั้นก็จำเป็น เช่น บังพระพุทธรูปหรือชิดพระพุทธรูปเกินไป จะตัดออกเสียคู่หนึ่งก็ได้ แม้โต๊ะหมู่อื่นนอกจากหมู่ ๗ ที่กล่าวนี้ ก็ถือหลักการตั้งเช่นเดียวกัน

๓. เรื่องตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี นิยมให้สะอาดเรียบร้อยเป็นสำคัญ เพราะเป็นการ ทำบุญต้องการสิริมงคล และออกแขกด้วยความสะอาด เรียบร้อยทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ควรกระทำ อย่างยิ่ง ถ้าได้เพิ่มการตกแต่งเพื่อความสวยงามขึ้นอีก ก็เป็นการดียิ่ง ทั้งนี้สุดแต่ฐานะและกำลัง ของตนเป็นสำคัญ

๔. เรื่องวงด้ายสายสิญจน์ คำว่า สิญจน์ แปลว่า การรดน้ำ คือ การรดน้ำ ด้วยพิธี สืบเนื่องมาแต่พิธีพราหมณ์ เดิม “สาย” เข้าข้างหน้า เป็นสายสิญจน์ กลายเป็นวัตถุชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ สายสิญจน์ได้แก่สายที่ทำด้วยด้ายดิบ โดยวิธีจับเส้นด้ายในเข็ด เส้นเดียว จับออกครั้งแรกเป็น ๓ เส้น ม้วนเข้ากลุ่มไว้ ถ้าต้องการให้สายใหญ่ ก็จับอีกครั้งหนึ่ง จะกลายเป็น ๙ เส้น ในงานมงคลทุกประเภท นิยมใช้สายสิญจน์ ๙ เส้น เพราะกล่าวกันว่า สายสิญจน์ ๓ เส้น สำหรับใช้ในพิธีเบิกโลงผี จะนำมาใช้ในพิธีงานมงคลไม่เหมาะสม ถ้าเพ่ง

การวงสายสิญจน์ มีเกณฑ์ถืออยู่ว่า ถ้าเป็นบ้านมีรั้วรอบให้วงรอบรั้ว ถ้าไม่มีรั้วรอบ หรือมีแต่กว้างเกินไปหรือมีอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับพิธี อยู่ร่วมในรั้วด้วยก็ให้วง เฉพาะอาคารพิธีโดยรอบ ถ้าเจ้าภาพไม่ต้องการวงสายสิญจน์ รอบรั้วบ้านหรือรอบอาคารที่ตน ประกอบพิธีทำบุญ จะวงสายสิญจน์ที่ฐานพระพุทธรูป บนโต๊ะบูชาเท่านั้น แล้วโยงมาที่ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ก็ได้ การโยงสายสิญจน์จากฐานพระพุทธรูปมายังภาชนะน้ำมนต์ ควรโยง หลบเพื่อไม่ให้ต้องข้ามสายสิญจน์ ในเวลาจุดธูปเทียน เมื่อวงที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์แล้ว พึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพาน สำหรับรองสายสิญจน์ ซึ่งอยู่ทางหัวอาสน์สงฆ์ใกล้ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ การวงสายสิญจน์ถือหลักวงจากซ้ายไปขวาของสถานที่หรือวัตถุ มีข้อที่ถือเป็น เรื่องควรระวังอยู่อย่างหนึ่ง คือ ในขณะที่วงสายสิญจน์อย่าให้สายสิญจน์ขาด

อนึ่ง สายสิญจน์ที่วงพระพุทธรูปแล้วนี้จะข้ามกรายมิได้เพราะถ้าข้ามกรายแล้ว เท่ากับข้ามพระพุทธรูป เป็นการแสดงความไม่เคารพต่อพระพุทธรูปทีเดียว หากมีความจำเป็น ที่จะต้องผ่านสายสิญจน์ ก็ต้องลอดมือหรือก้มศีรษะลอดภายใต้สายสิญจน์ผ่านไป

๕. เรื่องเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา เป็นกิจที่พึงทำเมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลา ประกอบพิธีพระพุทธรูปนั้นจะเป็นพระปางอะไรก็แล้วแต่จะหาได้ ขอให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้น ไม่ใช่พระเครื่องซึ่งเล็กมากไม่เหมาะแก่พิธี พระพุทธรูป ถ้ามีครอบควรเอาครอบออก ตั้งเฉพาะ องค์พระเท่านั้น และที่องค์พระไม่สมควรจะนำ อะไรที่ไม่เหมาะสมประดับ เช่น พวงมาลัยหรือ ดอกไม้ เป็นต้น ควรให้องค์พระเด่น เป็นสำคัญ เว้นแต่ที่ฐานพระจะใช้พวงมาลัยวงรอบฐาน กลับดูงามดีไม่มีข้อห้าม ดอกไม้บูชามีระเบียบจัดดังกล่าวแล้วในเรื่องตั้งเครื่องบูชา ก่อนที่จะ ยกพระพุทธรูป จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ดี ในขณะที่วางพระพุทธรูปลง ณ ที่บูชาก็ดี ควรจะ น้อมไหว้ ก่อนยก หรือน้อมไหว้ในเมื่อวางลงแล้ว เป็นอย่างน้อย ถ้าถึงกราบได้เป็นงดงาม


๙. เรื่อง จุด เทียน ธูป ที่โต๊ะบูชา เจ้าภาพควรจุดเอง ไม่ควรให้คนอื่นจุดแทน เพราะเป็น การนมัสการพระอันเป็นกิจเบื้องต้นของบุญ การจุดควรจุดเทียนก่อน จุดด้วยไม้ขีดหรือเทียน ชนวน อย่าต่อจากตะเกียง หรือไฟอื่น เทียนติดดีแล้ว ใช้ธูป ๓ ดอกจุดต่อที่เทียนจนติดดี จึงปักลงให้ตรง ๆ ในกระถางธูป แล้วตั้งใจบูชาพระ ต่อจากนี้จึงดำเนินพิธีไปตามลำดับ คืออาราธนาศีล รับศีลแล้ว อาราธนาพระปริตร วิธีอาราธนาจักกล่าวต่อไปข้างหน้า

พอ อาราธนาพระปริตรจบแล้ว พระสงฆ์เริ่มสวดมนต์ ทุกคนที่อยู่ในบริเวณพิธี พึงนั่ง ประนมมือฟังพระสวดด้วยความเคารพ พอพระเริ่มสวดมงคลสูตรขึ้นต้นบท อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น เจ้าภาพพึงเข้าไปจุดเทียนน้ำมนต์ที่บาตร หรือครอบน้ำมนต์หน้าพระแล้วประเคนบาตร หรือครอบน้ำมนต์นั้นต่อหัวหน้าสงฆ์ เพื่อท่านจะได้ทำน้ำมนต์ต่อไป


สุดท้ายพิธี เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ถวายเครื่องไทยธรรม ต่อนั้น พระสงฆ์ อนุโมทนา ขณะพระว่าบท ยถา... ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบท ยถา... พอพระว่าบท สพฺพีติโย... พร้อมกัน ถึงประนมมือรับพรตลอดไปจนจบ แล้วส่งพระกลับ

อนึ่ง การเลี้ยงพระในพิธีทำบุญเลี้ยงพระนี้ มีประเพณีโบราณสืบเนื่องกันมานาน อย่างหนึ่ง คือ ประเพณีถวายข้าวพระพุทธ เห็นจะเนื่องมาจากถือว่า พระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉัน ในพิธีนั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตามหลักพระบาลีที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์ ก็ต้องถวายองค์ประมุข คือ พระพุทธเจ้าด้วย แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้ว ก็จำต้องทำการถวายต่อพระพักตร์พระพุทธรูป ให้เป็นกิริยาสำเร็จรูปสมตามเจตนานั้น เหตุนี้ ในงานทำบุญ ไม่ว่างานมงคลหรืองานอวมงคล จึงนิยมถวายภัตตาหารแด่พระพุทธรูปด้วย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ถวายข้าวพระพุทธ ถ้ามีตักบาตรก็ต้องตั้งบาตรพระพุทธไว้หัวแถว ด้วยเช่นกัน ข้าวพระพุทธที่ถวายนั้นนิยมจัดอย่างเดียวกับที่ถวายพระสงฆ์เมื่อเสร็จภัตกิจ แล้ว ข้าวพระพุทธนั้นตกเป็นของมรรคนายกวัด หรืออุบาสกอุบาสิกาผู้มาในงาน แต่บางงานเนื่องด้วยที่ จำกัดหรือจะเป็นเพราะเรียวลงตามกาลเวลา หรือความง่ายของบุคคลหาทราบไม่ เจ้าภาพจึง จัดสำรับพระพุทธเพียงสำรับเล็ก ๆ ก็มี การถวายนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพ พึงใช้ผ้าขาวปูบนโต๊ะ ที่จะนำมาตั้งรองข้าวพระพุทธ หรือปูบนพื้นราบก็ได้ ตรงหน้าโต๊ะบูชาแล้วตั้งสำรับคาวหวาน พร้อมทั้งข้าวน้ำให้บริบูรณ์บนโต๊ะหรือบนพื้นผ้านั้น เสร็จแล้วจุดธูป ๓ ดอก ปักในกระถางธูป หน้าโต๊ะบูชา นั่งคุกเข่าประนมมือ ตรงหน้าที่ตั้งข้าวพระพุทธและโต๊ะบูชา ว่านโม ๓ จบ แล้วว่า คำถวาย ดังนี้ “อิมํ สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โอทนํ, อุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ” จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง ต่อนี้จึงจัดถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ตามวิธีที่กล่าวแล้ว

เมื่อเสร็จภัตกิจ และพระสงฆ์อนุโมทนาเสร็จจนกลับหมดแล้ว ถ้ามีการเลี้ยงแขก ผู้มา ในงานต่อก็เป็นหน้าที่ของอุบาสกหรืออุบาสิกา ผู้รู้ธรรมเนียมวัดจะลาข้าวพระพุทธนั้น มา รับประทาน การลาข้าวพระพุทธมีนิยมดังนี้ ผู้ลาพึงเข้าไปนั่ง คุกเข่าหน้าสำรับ ที่หน้าโต๊ะบูชานั้น กราบ ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือกล่าวคำว่า “เสสํ มงฺคลา ยาจามิ” แล้วไหว้ ต่อนั้นยกข้าว พระพุทธออกไปได้เลย
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 06, 2010, 07:49:03 PM »

คำอาราธนาศีล ๕ ในพิธีการ
มยํ ภนฺเต วิสุง วิสุง รกฺขนตฺถาย
ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม
ทุติยมฺปิ..........มยํ.......ยาจาม
ตติยมฺปิ..........มยํ........ยาจาม

คำอาราธนาพระปริตร
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพโรควินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ ฯ


๒. วิธีประเคนของพระ
การ ประเคนของพระ คือ การถวายของให้พระได้รับถึงมือ ของที่ประเคนนั้น ต้องเป็น ของที่คนเดียวพอยกได้อย่างธรรมดา ไม่ใช่ของหนัก หรือใหญ่โตจนเกินไป ไม่มีวัตถุอนามาส คือ เงินทอง หรือของกะไหล่ด้วยเงินแท้หรือทองแท้ปนอยู่ด้วย เพราะเป็นของไม่เหมาะแก่ภาวะ ของพระที่จะรับได้ และถ้าเป็นของเคี้ยวของฉัน ต้องประเคนได้เฉพาะในกาล เวลาวิกาลตั้งแต่ เที่ยงแล้วไปจนถึงย่ำรุ่งวันใหม่ ไม่ควรนำมาประเคน วิธีประเคนนั้นพึงปฏิบัติ ดังนี้

ก. พึงนำของประเคนเข้าไปให้ใกล้พระผู้รับ ประมาณ ๑ ศอก (ไม่ถึงศอก หรือไม่ เกินศอกคืบก็ได้) จะนั่งหรือยืนแล้วแต่สถานที่ที่พระนั่งอยู่นั้นอำนวย

ข. จับของที่ประเคนด้วยมือทั้งสองก็ได้ มือเดียวก็ได้ ยกให้สูงขึ้นเล็กน้อย แล้วน้อม ถวายพระซึ่งท่านจะยื่นมือทั้งสองออกมาจับ ถ้าผู้ถวายเป็นสตรี พึงวางของลงบนผ้ากราบ ที่พระปูรับอยู่ข้างหน้า เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี หนหนึ่ง
หลักสำคัญของการประเคนนี้ ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ ไม่ใช่เสือกไส หรือทิ้ง ให้โดย
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: