KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าวันสำคัญต่างๆทางพระพุทธศาสนาวันอาสาฬหบูชา สำคัญอย่างไร แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร สวดมนต์บทไหน
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วันอาสาฬหบูชา สำคัญอย่างไร แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร สวดมนต์บทไหน  (อ่าน 115368 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2008, 10:10:22 PM »


วันอาสาฬหบูชา สำคัญอย่างไร แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร

หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬห คือ เดือน ๘ เป็นวันที่ชาวพุทธจะได้กระทำบุญกุศล เพื่อระลึกถึง เหตุการณ์ครั้งแรก ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หมายถึง สูตรว่าด้วยการหมุนกงล้อ แห่งธรรม แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และในที่สุด แห่งพระธรรมเทศนานั้นเอง หัวหน้า ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั้น นามว่า โกณทัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม คือเข้าใจชัดแจ้งในพระธรรมที่ทรงแสดง มองเห็น ความเป็นธรรมดาของสังขารธรรม บรรลุโสดาปัตติผล และได้ทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นพระสงฆ์ สาวกรูปแรกของพระพุทธศาสนา ดังนั้น วันอาสาฬหบูชา จึงเป็นทั้งวันระลึกถึงการแสดงปฐมเทศนา ครั้งแรก ของพระพุทธเจ้า และเป็นวันที่พระรัตนตรัย ครบบริบูรณ์



ประวัติวันอาสาฬหบูชา วันปฐมเทศนา - ปฐมสาวก - ปฐมแสงธรรม

       หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เแล้ว ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และประทับเสวยวิมุตติสุขตามจุดต่างๆ รอบๆปริมณฑลมหาโพธิ์ใหญ่นั้น เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๗ ประทับอยู่ ณ ต้นอชปาลนิโครธ ก็ทรงดำริว่า พระธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้น ลึกซึ้ง ยากแก่การที่จะสัตว์ผู้มีธุลีคือกิเลสในดวงตามากๆ จะเข้าใจตามได้ ในขั้นแรก ทรงน้อมไปในอาการที่จะไม่แสดงธรรม แต่เพราะอาศัยพระมหากรุณาของพระองค์เอง ว่า ที่พระองค์บำเพ็ญบารมีมาตลอดสี่อสงไขยแสนกัปป์ ก็เพื่อที่จะพาหมู่สัตว์ ข้ามห้วง โอฆะกันดาร ทรงดำริเช่นนี้แล้ว ครั้งนั้นท้าวสหัมบดีพรหม ผู้เป็นใหญ่ในมหาพรหม ก็ทราบพระปริวิตกของพระศาสดา จึงได้เสด็จลงมาเฝ้าเพื่อ ทูลอาราธนา ให้ทรงแสดงธรรม ให้ทรงแสดงธรรม
       เมื่อท้าวสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงพิจารณาสรรพสัตว์ทั้งหลายดุจดอกบัว สามเหล่า( ความตอนนี้ ไม่ปรากฏว่าทรงพิจารณาถึง พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา และพระสาวก ประดิษฐานที่บริเวณธัมเมกขสถูป ๔ เหล่า ดอกบัว ๔ เหล่า น่าจะมาในพระไตรปิฎกตอนอื่นมากกว่า และพระพุทธเจ้า ก็อาศัยความที่คนทั้งหลาย มีอุปนิสัยที่พอจะรับฟังพระธรรมได้ ดุจดอกบัวทั้งสามเหล่า คือบัวพ้นน้ำ บัวปริ่มน้ำ บัวใต้น้ำนี่เอง จึงทรงแสดงธรรม ) จึงตกลงพระทัย ที่จะแสดงธรรม ในขั้นแรกทรงพิจารณาว่า ควรจะเสด็จไป โปรดใครก่อน ก็ทรงระลึกถึง อาฬารดาบส และอุทกดาบส ผู้ทรงเป็น พระอาจารย์ของพระองค์ คราวที่ยังมิได้ตรัสรู้ ยังทรงเป็น ผู้เที่ยวแสวงหา ทางตรัสรู้อยู่ ทรงระลึกว่า ทั้งสองท่าน เป็นผู้มี ธุลีคือกิเลสเบาบาง จะสามารถบรรลุธรรม ได้เร็ว (เพราะดาบส ทั้งสอง เป็นผู้ได้ฌานแล้ว นิวรณ์ ๕ ย่อมระงับ จิตเป็นสมาธิ ซึ่งสามารถ ที่จะรู้ตาม พระธรรมเทศนาที่จะทรงแสดงได้เร็ว) แต่ทรงทราบว่า ดาบสทั้งสอง ได้ละสังขาร ไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงได้ทรงเล็ง เห็นว่า ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๔ เป็นผู้ที่เคยมีอุปการะ กับพระองค์ คราวที่ยังแสวงหาทางตรัสรู้ และเป็นผู้ที่มีธุลี คือกิเลสในดวงตา เบาบาง ตอนนี้พำนักอยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤค ทายวัน พระองค์จึงทรงดำริจะเสด็จไป เพื่อแสดงธรรมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์
      
      ในระหว่างทาง ได้พบกับอุปกาชีวก ซึ่งอุปกาชีวกได้เห็นพระอากัปกิริยา อันน่าเลื่อมใส พระพักตร์อิ่มเอิบของพระพุทธเจ้า ก็เกิดความเลื่อมใส จึงได้ถามว่า พระองค์เป็น ลูกศิษย์ใคร ใครเป็นอาจารย์ ของพระองค์ ฯลฯ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า

เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้ว ในธรรมทั้งปวง ละธรรมเป็นไปในภูมิสามได้หมด พ้นแล้วเพราะ ความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึง อ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเรา ก็ไม่มี บุคคลเสมอ เหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับ ทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดา หาศาสดาอื่นยิ่งกว่ามิได้ เราผู้เดียว เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจ ดับกิเลส ได้แล้ว เราจะไปเมืองในแคว้นกาสี เพื่อ ประกาศธรรมจักรให้เป็นไป เราจะตีกลอง ประกาศ อมตธรรมในโลกอันมืด เพื่อให้สัตว์ได้ธรรมจักษุ."

      อุปกาชีวกได้ฟังดังนั้น ก็ได้กล่าวว่าการที่พระองค์ได้ตรัสมานั้น หากเป็นจริงแล้ว พระองค์ควรจะได้นามว่า อนันตชินะ ผู้ชนะหาที่สุดมิได้ แล้วแลบลิ้น สั่นศีรษะ แล้วเดิน หลีกไป
    
     หลังจากนั้น พระองค์ก็ได้เสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พบกับปัญจวัคคีย์ ในขั้นแรก ปัญจวัคคีย์ ไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้า จะตรัสรู้จริงๆ แต่เพราะเหตุผลของพระองค์ ว่าพระองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว และเรื่องนี้ ก็ไม่เคยตรัสมาก่อน คราวที่ปัญจวัคคีย์ยังอยู่รับใช้พระองค์ ทำให้ปัญจวัคคีย์ อันมี โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ นั้น ระลึกได้ว่า คราวที่ยังรับใช้ ยังอยู่ใกล้ชิดพระองค์อยู่ ก็ไม่เคยได้ยินพระองค์ ตรัสเรื่องอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณนี้เลย พระองค์น่าจะได้รู้อะไร บางอย่างแล้วเป็นแน่ จึงได้ยอมรับฟังพระธรรม ซึ่งพระองค์ได้แสดง พระธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร คือพระสูตรว่าด้วยการหมุนกงล้อ แห่งพระธรรม



       ทรงแสดงถึงการประพฤติปฏิบัติที่สุดโต่งเกินไป ๒ ประการ คือ การหมกมุ่นในกามคุณ (กามสุขัลลิกานุโยค) และการทรมานตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) ต่อมาทรงแสดงทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา และแสดงอริยสัจ ๔ ในตอนจบของพระธรรมเทศนา ดาบสโกณทัญญะ ได้ส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนา จึงได้เข้าถึงความจริงของสังขารธรรม ได้ธรรมจักษุ ว่า" ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง " สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไป เป็นธรรมดา ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคล ชั้นแรกใน พระพุทธศาสนา
    
     พระศาสดาทรงทราบว่าโกณทัญญะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงเปล่งอุทานว่า อัญญาสิ วต โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วต โภ โกณทัญโญ "โกณทัญญะ ได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ" นับตั้งแต่นั้น ท่านโกณทัญญะจึงได้นามว่า อัญญาโกณทัญญะ คือ พระโกณทัญญะ ผู้รู้แล้ว และได้ทูลขอบวช ต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็นพระภิกษุรูปแรก ในพระพุทธศาสนา ที่ได้รับการอุปสมบท โดยพระศาสดาเป็นผู้ประทานการบวชให้ เท่ากับว่าในวันนั้นเอง ที่พระพุทธเจ้าทรง ได้รับพระนามว่า เป็น สัมมาสัมพุทโธ โดยสมบูรณ์ เพราะมีพยาน ในการตรัสรู้ธรรมโดยชอบ คือรู้ตามพระธรรมของพระองค์ แล้ว
    
     หลังจากการโปรดอัญญาโกณทัญญะแล้ว หลังจากนั้นก็ได้ทรงแสดงปกิณกธรรม โปรดปัญจวัคคีย์ คนอื่นๆอีก คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ และ ในวันแรม ๕ค่ำ เดือน เดือน ๘ นั่นเอง พระองค์ได้ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ทำให้ทั้งหมด ได้เข้าใจชัดเจน ถึงความเป็นอนัตตา ความไม่มีตัวตนถาวรเที่ยงแท้ของขันธ์ ของสังขารธรรม ทำให้พระปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ รูป สามารถเพิกถอนอุปทาน อาสวะในจิตของตนได้ และได้บรรลุ เป็นพระอรหันต์ในที่สุด.

ศาสนพิธีเนื่องในวันอาสาฬหบูชา

ความเป็นมาของวันอาสาฬหบุชาในประเทศไทย


      แต่เดิม พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยจะมีพิธีเฉลิมฉลองวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพียงวันเดียว คือวัน วิสาขบูชา ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้มีการฌแลิมฉลองเนื่องในวันมาฆบูชา และมาถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ เมื่องานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษเสร็จแล้ว ทางคณะสงฆ์เห็นว่า วันแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปปวัตนสูตร ก็เป็นวันที่สำคัญมาก น่าจะได้กำหนดให้มีพิธีบูชาใหญ่ ทางราชการก็เลยตกลงเห็นชอบกับคณะสงฆ์ ประกาศให้มี วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นอีกวัน คือ วันอาสาฬหบูชา

การบำเพ็ญพระราชกุศลอาสาฬหบูชา

     พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยถือปฏิบัติบูชาในวันอาสาฬหบูชามาตั้งแต่กรุงสุโขทัย โดยบำเพ็ญกุศลต่อเนื่อง กันไป ๒ วัน คือ วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการกำหนดไว้ในกฏมณเฑียรบาล ให้เป็นพระราชพิธีหนึ่งในพระราชพิธี ๑๒ เดือน เรียกว่า "พระราชพิธีเข้าพระวษา" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "พระราชพิธีอาษาฒ" ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า มีกล่าวถึงพระราชพิธีนี้แต่เพียงย่อๆ ว่า "เดือน ๘ พระราชพิธีอาษาฒ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลบวชนาค เป็นภิกษุบ้าง สามเณรบ้าง รวมเท่าจำนวนพระชนมายุ มีการมหรสพสมโภชพระพุทธสุรินทร ๓ วัน ๓ คืน" ทรงหล่อเทียนพรรษาแล้ว ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ส่งไปถวายเป็นพุทธบูชาตามพระอาราม ทั้งในกรุงและหัวเมือง" พระราชพิธีนี้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยงดเฉพาะมหรสพสมโภชเท่านั้น

    

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2016, 12:17:38 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2008, 10:23:20 PM »



วันอาสาฬหบูชา : วันครบองค์พระรัตนตรัย

Worship on the full-moon day of Asalha month(the eighth lunar month)

in commemoration of the First Sermon and the foundation of the Buddhist Order


          อาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน ๘ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นการพิเศษ  เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา หรือประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก โดยทรงแสดงปฐมเทศนากัณฑ์แรก คือ "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร-พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม"  โปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี  ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ เป็นผลให้เกิดปฐมสาวก คือ สาวกองค์แรกในพุทธศาสนาคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ)  จึงถือว่าวันนี้ เป็นวันแรกที่มี พระพุทธ  พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย

loading picture  ปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงมีชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" หมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือ พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม (the Discourse of setting in motion the Wheel of the Doctrine; the Discourse of the Foundation of the Kingdom of Righteousness) นั่นคือ  พระพุทธองค์ทรงเริ่มหมุนวงล้อแห่งธรรมหรือเริ่มเผยแผ่ธรรมะ  เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของมนุษยชาติ

      
ใจความสำคัญของพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร  
มีเนื้อหาที่สำคัญที่พระพุทธองค์ทรงสอนปัญจวัคคีย์  คือ ทรงสอนว่าบรรพชิต(นักบวช)ไม่ควรประพฤติที่สุดโต่ง ๒ ส่วน คือ  

๑.การหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข  (กามสุขัลลิกานุโยค)
๒. การทรมานตัวเองให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค)

     แต่ควรเดินตามทางสายกลาง ที่เรียกว่า  มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง  
อันเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางที่มีความถูกต้อง  เหมาะสมที่จะนำไปสู่เป้าหมายคือ พระนิพพานได้

          
การปฏิบัติตามทางสายกลาง  จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ตึงและไม่หย่อนเกินไป  เป็นการดำเนินชีวิตที่ประกอบด้วยปัญญา
 ซึ่งมีหลักปฏิบัติที่เป็นองค์ประกอบ  ๘  ประการ ที่เรียกว่า อริยอัฏฐางคิกมรรค หรือ มรรคมีองค์ ๘  คือ

๑.สัมมาทิฏฐิ   ความเห็นชอบ            
๒.สัมมาสังกัปปะ  ความดำริชอบ
๓.สัมมาวาจา  เจรจาชอบ                
๔.สัมมากัมมันตะ การประพฤติชอบ
๕.สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีวิตชอบ          
๖.สัมมาวายามะ  เพียรชอบ
๗.สัมมาสติ  ระลึกชอบ                    
๘.สัมมาสมาธิ  ตั้งใจมั่นชอบ

กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันอาสาฬหบูชา

๑. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๒. ร่วมเวียนเทียน
๓. ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะธัมมจักกัปปวัตนสูตร  และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 06, 2013, 10:04:04 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2009, 02:16:38 PM »


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวัน อาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษาดังนี้

    วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในปีที่มีอธิกมาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนิน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดไฟจากโคม สำหรับถวาย เจ้าอาวาส ไปจุดเทียนพรรษา ที่ทรงพระราชอุทิศไว้แล้ว ทรงจุดเทียนพรรษาบูชาพระรัตนตรัย ทรงถวายพุ่มเทียน บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย และทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงประเคนบรรจุ พุ่มเทียน ถวายถาดใส่ดอกไม้ ธูป ๑ กล่อง เทียน ๕๐ เล่ม แด่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ เป็นต้น

    วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในปีที่มีอธิกมาส เป็นวันเข้าพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นิมนต์พระสงฆ์ ๑๕๐ รูป เข้าไปรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตของหลวง ในพระบรมมหาราชวัง

   ในเวลาเย็นเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณี รัตนปฏิมากร จาก เครื่องทรงฤดูร้อน เป็นเครื่องทรงฤดูฝน เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงประกอบพิธีถวายบูชาสักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์


การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา

    ๑. ละเว้นอบายมุขทุกประเภท
    ๒. ทำทาน เช่น ตักบาตรพระ ดูแลบิดามารดา และเลี้ยงสัตว์ผู้อดยาก เป็นต้น
    ๓. สมาทานศีล ๕ ศีลอุโบสถ และศีล ๘
    ๔. ฟังพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร
    ๕. ปฏิบัติกรรมฐาน ทั้งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
     ๖. เวียนเทียนรำลึกรอบสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย เช่น โบสถ์ ต้นโพธิ์ พระพุทธรูป และธัมเมกขสถุป (สำหรับผู้ไปนมัสการ สังเวชนียสถานที่อินเดีย) เป็นต้น
    ๗. พึงบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการบูชาทั้งสองประเภท คือ ทั้งอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา ทั้งนี้ ก็เพื่อความสุข ความเจริญ ของจิตใจ ของตนเองและผู้คนร่วมสังคม


คำนำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอาสาฬหบูชา    

เมื่อพระภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชน พร้อมกันที่โรงอุโบสถแล้ว หลังจากที่กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยจบแล้ว พระสงฆ์ผู้เป็นประธาน จะกล่าวนำคำนำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอาสาฬหบูชา ก่อนที่จะเริ่มเวียนเทียน

บาลี          ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สัตเตสุ การุญญัง ปะฏิจจะ กะรุณายะโก หิเตสี อะนุกัมปัง อุปาทายะ อาสาฬหะปุณณะมิยัง พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะฐะมัง ปะวัตเตตวา จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ปะกาเสสิ ฯ

        ตัสมิญจะ โข สะมะเย ปัญจะวัคคยานัง ภิกขูนัง ปะมุโข อายัสมา อัญญาโกณฑัญโญ ภะคะวะโต ธัมมัง สุตวา วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง ปะฏิละภิตวา ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ภะคะวันตัง อุปะสัมปะทัง ยาจิตวา ภะคะวะโต เยวะ สันติกา เอหิภิกขุ อุปะสัมปะทัง ปะฏิละภิตวา ภะคะวะโต ธัมมะวินะเยอะริยะสาวะกะสังโฆ โลเก ปะฐะมัง อุปปันโน อะโหสิ พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนันติ ติระตะนัง สัมปุณณัง อะโหสิ ฯ

        มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง อาสาฬหะปุณณะมีการัง ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะกาละสัมมะตัง อะริยะสาวะกะสังฆะอุปปัตติกาละสัมมะตัญจะ ระตะนัตตะยะสัมปุณณะกาละสัมมะตัญจะ ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม สักกาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ
คุเณ อะนุสสะรันตา อิมัง ถูปัง (อิมัง พุทธะปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสสามะ ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ฯ

        สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2011, 11:02:40 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 14, 2009, 12:10:30 PM »

ฟังเสียงสวดมนต์ออนไลน์ สวดมนต์ ธัมจักกัปปวัตตนสูตร  ได้ที่นี่ครับผม คลิกเลยที่

==> http://www.kammatan.com/music/playmedia.php?id=1
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2011, 10:50:10 AM »

แนะนำ สถานที่ปฏิบัติธรรม ระหว่างวันที่ 15 กรกฏาคม 2554 - 17 กรกฏาคม 2554 (วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ link ข้างล่างนะครับผม
http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=1071.0
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2011, 11:12:11 AM »



ประวัติพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5

1.พระอัญญาโกณฑัญญะ


พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลในบ้านพราหมณ์ ซึ่งไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ "โกณทัญญะ" เมื่อเจริญวัยแล้วได้เข้าศึกษาเล่าเรียน จบไตรเพทและรู้ลักษณะมนต์ คือ ตำราทายลักษณะ ในคราวที่พระมหาบุรุษประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะตามพระรา ชประเพณี ได้คัดเลือก พราหมณ์ ๘ คน ในจำนวนพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ให้เป็นผู้ทำนายลักษณะของพระมหาบุรุษ ในขณะนั้น โกณฑัญญะ พราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม ได้รับเชิญมาในงาน และท่านก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับเลือก โกณฑัญญะพราหมณ์เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด ในบรรดาที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งหมด พราหมณ์ทั้ง ๗ คน เมื่อตรวจดูลักษณะของพระมหาบุรุษแล้วทำนายไว้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
๑. ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๒. ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก

ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์นั้นมีความแน่ใจว่า พระองค์จักเสด็จออก ทรงผนวชแน่นอน จึงทำนายไว้เป็นลักษณะเดียวว่า พระองค์จักเสด็จออกทรงผนวช และจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกแน่แท้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โกณฑัญญพราหมณ์มีความตั้งใจว่า ถ้าพระองค์เสด็จออกทรงผนวชเมื่อไร ถ้าตนเองยังมีชีวิตอยู่จะออกบวชตามเมื่อนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จออกทรงผนวชแล้วและทรงบำเพ็ญทุกกรกิ ริยาอยู่ (ทุกรกิริยา คือ การกระทำที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง หรือที่เรียกว่า การทรมานตนเอง เช่น อดอาหาร) โกณฑัญญพราหมณ์ได้ทราบข่าวนั้น จึงชักชวนพราหมณ์ ๔ คน คือ ๑. วัปปะ ๒. ภัททิยะ ๓. มหานามะ ๔. อัสสชิ เรียกว่า "ปัญจวัคคีย์" พราหมณ์ทั้ง ๕ คน ได้ติดตามพระองค์เพื่อคอยปรนนิบัติทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่าถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมใดแล้ว จักได้เทศนาสั่งสอนตนเอง ให้บรรลุธรรมนั้นบ้าง

เมื่อพระองค์ ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างเต็มที่ประมาณ ๖ ปีแล้ว พระองค์ทรงสันนิษฐานว่ามิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ ทรงตั้ง พระทัยว่า จะทำความเพียรทางใจ จึงทรงเลิกการกระทำทุกรกิริยานั้นเสัย ส่วนปัญจวัคคีย์ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าคิดว่า พระองค์ ทรงคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้วจึงหมดค วามเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงดำริหาคนที่จะรับพระธรรมเทศนา เป็นคนแรก อันดับแรกพระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ ๒ ท่าน คือ
๑. อาฬารดาบส กาลามโคตร
๒. อุททกดาบส รามบุตร

ซึ่งพระองค์ได้อาศัยศึกษา ลัทธิของท่าน แต่ท่านทั้งสองได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ลำดับต่อมาทรงระลึกถึงพวกปัญจวัคคีย์ ที่เคยเฝ้าปฏิบัติอุปัฏฐากพระองค์มา ครั้นทรงดำริอย่างนี้ก็เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวั น ขณะเดียวกันพวกปัญจวัคคีย์ได้เห็น พระองค์เสด็จมาแต่ไกล คิดว่า พระองค์เสด็จมาแสวงหาคนอุปัฏฐาก จึงได้ตกลงกันว่าพระสมณโคดมนี้คลายจากความเพียร มาเป็นผู้มักมากเสียแล้วเสด็จมาที่นี่ พวกเราไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ และอย่ารับบาตร จีวร ของพระองค์เลย จะปูอาสนะ ที่นั่งไว้เท่านั้น ถ้าพระองค์ทรงมี ความประสงค์ก็จะประทับนั่งเอง

ครั้นเมื่อ พระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว อาศัยความเคารพที่เคยมีต่อพระองค์มาก่อน ได้บรรดาลให้ลืมกติกานัดหมาย ที่ทำกัน ไว้ทั้งหมด พากันลุกขึ้นต้อนรับและทำสามีจิกรรมดังที่เคยปฏิบัติ มา แต่ก็ยังมีการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง สนทนากับพระองค์ ด้วยถ้อยคำไม่เคารพ พระองค์ตรัสบอกว่าเราได้ตรัสรู้ "อมฤตธรรม" ด้วยตัวของเราเอง (อมฤตธรรม หมายถึงธรรมที่ไม่สูญหาย อยู่คู่โลกตลอดไป) ขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจักแสดงให้ฟัง เมื่อท่านทั้งหลาย ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม ที่เรา สั่งสอนแล้ว อีกไม่ช้าจักได้บรรลุอมฤตธรรมนั้น พวกปัญจวัคคีย์ได้กล่าว คัดค้านถึงสองสามครั้งว่า พระองค์คลายจากความเพียรเสียแล้ว จักบรรลุอมฤตธรรมได้อย่างไร พระองค์จึงตรัสให้ระลึกถึงกาลหนหลังว่า ก่อนนี้เธอทั้งหลายได้ยินได้ฟังวาจาที่เราพูดมา เช่นนี้บ้างหรือ ไม่ พวกปัญจวัคคีย์ระลึกขึ้นได้ว่า พระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อนเลย จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ที่พระองค์เทศนาสั่งสอน สืบต่อไป

พระองค์ ได้ตรัสปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่ปัญจวัคคีย์ ในเวลาจบลงแห่งพระธรรม เทศนา ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแก่โกณธัญญะ (ธรรมจักษุ หมายถึง โสดาปัตติมรรค) ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา" ท่านที่ได้บรรลุปัตติมรรคเรียกว่าพระโสดาบัน เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า โกณธัญญะ ได้ดวงตาเห็น ธรรมแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยคำว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว คำว่า อัญญา จึงนำหน้าท่านโกณฑัญญะว่า อัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เมื่อท่าน อัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมจึงได้ทูลขออุปสมบทในพ ระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วยพ ระวาจาว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจง ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ" การอุปสมบทของอัญญาโกณฑัญญะก็สำเร็จด้วยพระวาจาเพียง เท่านี้ เรียกการ อุปสมบทแบบนี้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ซึ่งพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิ กขุอุปสัมปทา เป็นองค์แรก

ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงเทศนาให้ปัญจวัคคีย์อีก ๔ คนได้ดวงตาเห็นธรรม และได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุด้วย วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เช่นเดียวกัน ต่อจากนั้นพระองค์ได้เทศนาเกี่ยวกับหนทางแห่งการอบรม วิปัสนาวิมุตติ อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ชื่อว่า "อานัตตลักขณสูตร" ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ปัญจวัคคีย์ก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปทานสำเร็จเป็น พระอรหันต์ (อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ ด้วยอำนาจกิเลศ)

พระอัญญา โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นยอดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้รัตัญญู" แปลว่าผู้รู้ราตรี หมายถึง ท่านเป็นผู้เก่าแก่ ได้รับการอุปสมบทก่อนภิกษุรูปอื่นทั้งหมดในพระพุทธศา สนา เป็นผู้รอบรู้เหตุการณ์ต่าง ๆมาแต่ต้น เป็นผู้มี ประสบการณ์มาก

พระอัญญา โกณฑัญญะได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนา เมื่อถึงเวลาอันสมควรท่านได้ดับขันธปรินิพพาน ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

2.พระวัปปเถระ

พระวัปปเถระ เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์ เมื่อคราวที่มหาบุรุษประสูติใหม่ พราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่านได้รับเชิญในการเลี้ยง โภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะ ท่านได้เห็นพระลักษณะถูกต้องตามตำราลักษณพยากรณ์ศาสต ร์ของมหาบุรุษ จึงเกิดความเลื่อมใสและเคารพในพระองค์เป็นอันมาก มีความหวังว่าอยากจะเห็นพระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาส ัมพุทธเจ้า ในคราวที่ตนจะสิ้นชีวิตจึงได้สั่งสอนบุตรของตนไว้ว่า เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชเมื่อใด ให้ติดตามเสด็จเมื่อนั้น ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษออกทรงผนวชแล้วและกำลังบำเพ็ญท ุกรกิริยา พระวัปปะพร้อมด้วยพราหมณ์ ๔ คน มีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ออกบวชเป็นฤาษีตามเสด็จพระมหาบุรุษ คอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำ คาดหวังว่าพระองค์ได้บรรลุธรรมแล้วจักได้สั่งสอนให้ต น ได้บรรลุธรรมนั้นบ้าง เมื่อเห็นพระองค์ทรงละการบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ทรงประพ ฤติมานานถึง ๖ ปี จึงมีความเห็นร่วมกันว่า พระองค์คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากใ นกามคุณเสียแล้วและพระองค์คงไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุท ธเจ้าแน่นอน จึงเกิดความเบื่อหน่ายคลายความเลื่อมใส พากันหลีกหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

เมื่อพระมหาบุรุษ เมื่อพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแ ล้ว พระองค์จึงเสด็จไปโปรดแสดงพระธรรมเทศนา ชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" เป็นปฐมเทศนา เมื่อจบพระธรรมเทศนานั้น ท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย พอถึงวันรุ่งขึ้น ท่านได้ฟังปกิณณกเทศนา จึงได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย

พระวัปปเถระ บวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านมีอินทรีย์กล้าแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อ อานัตตลักขณสูตร ก็ได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์ ท่านได้ช่วยเป็นกำลังสำคัญรูปหนึ่งในการประกาศพระศาส นา เมื่อท่านดำรงอายุสังขารพอสมควร ก็ ดับขันธปรินิพพาน

พระภัททิยะ

พระภัททิยะ มีชาติภูมิอยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๑๐๘ ที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหารในการทำนาย พระลักษณะของพระมหาบุรุษ

ในสมัย ที่ท่านยังเป็นหนุ่ม ได้ยินบิดาเล่าให้ฟังว่า พระมหาบุรุษมีพระลักษณะถูกต้องตามมหาบุรุษลักษณพยากร ณ์ศาสตร์ จึงเกิด ความเคารพและเลื่อมใสในพระองค์เป็นยิ่งนัก เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวช ท่านพร้อมด้วยพราหมณ์ทั้ง ๔ คน ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าตกลงร่วมกันว่า การบรรชาของพระมหาบุรุษจักไม่เลวทรามหรือเสื่อมเสียจ ากประโยชน์เป็นแน่แท้ คงอำนวยประโยชน์ให้แก่คนอื่นด้วย ครั้นปรึกษากันเป็นที่เข้าใจแล้วจึงพากันออกบวชเป็นฤ าษีติดตามคอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำ ด้วยคาดหวังว่าถ้าพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วจักนำธรรมะมา สั่งสอนพวกตนให้บรรลุตามบ้าง ครั้นเห็นพระองค์ทรงละการบำเพ็ญ ทุกรกิริยา จึงเกิดความเบื่อหน่ายในการคอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำด้ว ยคิดว่า พระองค์กลายมาเป็นคนมักมากในกามคุณ คลายจาก ความเพียรเสียแล้ว คงจะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันหนึ่งอันใดแน่ จึงพากันหลีกหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวง เมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วเสด็จไปโปรดแสดงพระธรรมเท ศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา แต่ไม่สำเร็จมรรคผลอะไร ต่อมาได้ฟังปกิณณกเทศนา ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท ในพระธรรมวินัย

ท่านบวชด้วย วิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่ออินทรีย์แก่กล้าแบ้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านก็หลุดพ้นจากกิเลศ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วย ประกาศพระศาสนา เมื่อดำรงอายุสังขารพอสมควรก็ได้ดับขันธปรินิพพาน

4.พระมหามามเถระ

พระมหามามเถระ เกิดในสกุลพราหมณ์ กรุงกบิลพัสดุ์ พราหมณ์ผู้เป็นบิดาเล่าให้ฟังว่า พระมหาบุรุษมีลักษณะถูกต้องตาม ตำรา ลักษณพยากรณ์ ศาสตร์ เพราะเคยเห็นพระองค์ในครั้งที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนา หารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะ จึงเกิดความ เลื่อม ใสจึงพร้อมด้วยพราหมณ์อีก ๔ คน มีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ออกเป็นฤาษีตามเสด็จคอยอุปัฏฐากพระองค์ ต่อมาเห็นพระองค์ ทรงเลิก การบำเพ็ญทุกกรกิริยาด้วยคิดว่าพระองค์จะไม่ได้บรรลุ ธรรมพิเศษจึงเกิดความเบื่อหน่าย พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิ ปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปตรัสเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และ ปกิณณกเทศนาครบวาระที่สาม ในเวลาจบเทศนาจึงได้ดวงตาเห็นธรรม

ท่านได้รับ การบรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้รับฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ เมื่อพระองค์ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา ในตอนปฐมโพธิกาล ท่านเป็นองค์หนึ่งที่อยู่ในจำนวนนั้นที่ช่วย เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาในสถานที่ต่าง ๆ สั่งสอนกุลบุตรให้เกิดความเชื่อและความเสื่อมใสในพระ พุทธศาสนา ท่านดำรงอายุสังขารอยู่พอสมควร ก็ดับขันธปรินิพพาน


5.พระอัสสชิ

พระอัสสชิเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล ในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อบิดาได้เห็นพระมหาบุรุษมีลักษณะถูกต้องตามตำราล ักษณพยา กรณ์ศาสตร์ ในคราวที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนาย พระลักษณ์ จึงได้บอกเล่าให้ท่านฟังและสั่งไว้ว่า บิดา ก็ชราแล้ว คงจะไม่ทันเห็นพระองค์ ถ้าพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชเมื่อใดให้ออกบวชตามเส ด็จเมื่อนั้น ตั้งแต่นั้นมา ท่านมีความเลื่อมใสและเคารพนับถือในพระองค์มาก ในคราวที่พระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชและทรงบำเพ็ญทุก กรกิริยาอยู่ ท่านได้ทราบข่าวคราวจึงพร้อมกับพราหมณ์อีก ๔ คนซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า พากันออกบวชเป็นฤาษีตามเสด็จ คอย อุปัฏฐากพระองค์ทุกเช้าค่ำ ตลอดเวลาที่ที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยานานถึง ๖ ปี แต่พระองค์ไม่สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ จึง ทำให้พระองค์ทรงทราบว่ามิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้เป็น แน่แท้ จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกกรกิริยานั้นเสีย พระองค์ตั้งพระทัยว่า จะบำเพ็ญเพียรสืบไป แต่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คน มีความเข้าใจว่าพระองค์ทรงคลายจากความเพียรเวียนมาเป ็นคนมักมากใน กามคุณเสียแล้ว จึงคิดว่าพระองค์คงจะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันใดอันหน ึ่งแน่นอน จึงพร้อมกันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ทรงบำเพียรทางใจได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาส ัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คน และได้ แสดงปกิณณกเทศนา เมื่อครบวาระที่ ๔ พระอัสสชิก็ได้ดวงตาเห็นธรรม

พระอัสสชิเถระ ได้บรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์

ในคราวที่พระบรมศาสดาทรงส่งสาวกออกไปประกาศพระศาสนา ท่านก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้นที่ช่วยประกาศพระศาสนาท ี่สำคัญเช่นกัน ท่านเป็นผู้ที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด รู้จักประมาณตน ไม่ชอบโอ้อวด หรือมีความเย่อหยิ่ง ตลอดถึงกิริยามารยาทเรียบร้อยน่าเลื่อมใส เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกเดินทางมาจากสำนักของสัญชัยปริพาชก ได้พบท่านเข้าระหว่างทาง จึงเกิดความเลื่อมใสในจริยาวัตรของท่าน จึงขอให้ท่านแสดงธรรมให้ฟัง ท่านตอบว่า "ผู้มีอายุ เราเป็นคนใหม่บวชไม่นาน เพิ่งเข้ามายังพระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจจะแสดงธรรมแก่ท่านโดยพิสดาร เราจักกล่าวแก่ท่านโดยย่อ พอรู้ความ " แล้วก็ได้แสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชกพอได้ความว่า "ธรรมเหล่าใดเกิกแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุของ ธรรมนั้นและความดับของธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้"

อุปติสสปริพาชก ได้ฟังเช่นนั้นจึงได้ดวงตาเห็นธรรม ท่านได้ชักนำไปเฝ้าพระบรมศาสดา ปรากฏว่าในกาลต่อมาอุปติสสปริพาชกได้บรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนา มีนามว่า "พระสารีบุตร" เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระอัสสชิเถระได้ศิษย์ ที่มีความสำคัญองค์หนึ่ง ท่านดำรงอายุสังขารพอสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพ พาน


เมื่อได้อ่านประวัติของปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 แล้ว จะเห็นได้ว่า
ทั้ง 5 ท่าน มีความมุ่งมั่นที่จะกระทำความดี และแสวงหาทางหลุดพ้น
จนกระทั่งประสบความสำเร็จถึงขั้นนิพพานในที่สุด
ซึ่งเป็นตัวอย่างอันดีสำหรับคนรุ่นหลัง ที่จะมุ่งมั่นและไม่ย้อท้อต่อการทำความดี
และเมื่อถึงที่สุดแล้ว ความมุ่งมั่นในความดีจะให้สิ่งดีๆ ตอบแทนแก่เรา




ขอบพระคุณข้อมูลจาก : http://www.junjaowka.com
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
Kaopunsa
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 7


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2012, 11:22:09 AM »

โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ

๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา
๓. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
๔. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
๕. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า

ข้อมูลจาก http://campus.sanook.com/951802/วันอาสาฬหบูชา/

บันทึกการเข้า

วันเข้าพรรษา - ประวัติวันเข้าพรรษา - กิจกรรมวันเข้าพรรษา, การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติ
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2012, 07:52:54 PM »

แนะนำ สถานที่ปฏิบัติธรรม ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2555 (วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม 2555 )
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ link ข้างล่างนะครับผม

http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=1597.0

อนุโมทนาสาธุ นะครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2013, 09:50:55 AM »

สำหรับวันอาสาฬหบูชา ใน ปี 2556 ก็ตรงกับวันที่

วันจันทร์ ที่ 22 กรกฎาคม เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 วันอาสาฬหบูชา

สถานที่ปฏิบัติธรรมในช่วงนี้ ก็มีที่

สถานที่ปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร อ.สูงเม่น จ.แพร่
http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=1491.0

วัดบางพาน จ.สิงห์บุรี
http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=1597.0

หรือท่านใดจะตั้งจิตภาวนา รักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ในวันพระใหญ่ที่บ้าน ก็ได้นะครับผม
สิ่งสำคัญคือการ ตั้งมั่นในศีลที่เรารักษา และก็ภาวนา ไป
อนุโมทนาสาธุการ นะครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 08:16:49 AM »

หลังจากที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้และทรงสอนปฐมเทศนาแด่ ปัญจวัคคี ทั้งห้า แล้ว
จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม และยั้งให้พระพุทธศาสนา ยั้งรากลงถึงโลก และครบเป็นพระรัตนตรัย
คือ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์

ใจความสำคัญของพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร
มีเนื้อหาที่สำคัญที่พระพุทธองค์ทรงสอนปัญจวัคคีย์  คือ ทรงสอนว่าบรรพชิต(นักบวช)ไม่ควรประพฤติที่สุดโต่ง ๒ ส่วน คือ 

๑.การหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข  (กามสุขัลลิกานุโยค)
๒. การทรมานตัวเองให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค)

     แต่ควรเดินตามทางสายกลาง ที่เรียกว่า  มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง 
อันเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางที่มีความถูกต้อง  เหมาะสมที่จะนำไปสู่เป้าหมายคือ พระนิพพานได้

         
การปฏิบัติตามทางสายกลาง  จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ตึงและไม่หย่อนเกินไป  เป็นการดำเนินชีวิตที่ประกอบด้วยปัญญา
 ซึ่งมีหลักปฏิบัติที่เป็นองค์ประกอบ  ๘  ประการ ที่เรียกว่า อริยอัฏฐางคิกมรรค หรือ มรรคมีองค์ ๘  คือ

มรรคมีองค์ ๘
๑.สัมมาทิฏฐิ   ความเห็นชอบ           
๒.สัมมาสังกัปปะ  ความดำริชอบ
๓.สัมมาวาจา  เจรจาชอบ               
๔.สัมมากัมมันตะ การประพฤติชอบ
๕.สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีวิตชอบ         
๖.สัมมาวายามะ  เพียรชอบ
๗.สัมมาสติ  ระลึกชอบ                   
๘.สัมมาสมาธิ  ตั้งใจมั่นชอบ

ตลอดระยะเวลาที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนหมู่สัตว์ ให้นำธรรมะ มาประพฤติปฏิบัติตลอด 45 พรรษา
 องค์พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติ พุทธกิจประจำวัน 5 อย่าง อย่างต่อเนื่องคือ

1.เวลาเช้าเสด็จโปรดหมู่สัตว์โดยการบิณฑบาต
2.เวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่อุบาสก อุบาสิกา 
3.เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุสงฆ์
4.เที่ยงคืนทรงตอบเทวปัญหา (ตอบปัญหาของเทวดา)
5.จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาหมู่สัตว์ ว่าท่านใดสามารถและยังไม่สามารถบรรลุธรรมว่าควรเสด็จไปโปรดผู้ใด
    ณ ตำแหน่งใด และควรจะเข้าไปใน   เหตุการณ์ไหน

หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาได้ รุ่งเรืองอยู่ในอินเดีย แบ่งออกเป็นสามยุค คือ
ก่อนสูญสิ้นไปจากอินเดีย ยุคแรกที่รุ่งเรืองที่สุดคือ ยุคพระเจ้าอโศกมหาราช
พระองค์ทรงนำธรรมะมาเป็นหลักในการปกครองประเทศเรียกว่า “ธรรมวิชัย” ทรงสร้าง “เสาหินอโศก”
ที่ ลุมพินี สถานที่ พระพุทธเจ้าประสูติ และจารึกไว้ดังนี้

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ เมื่ออภิเษกได้แล้ว 20 พรรษา
ได้เสด็จมาด้วยพระองค์เองแล้วทรงกระทำการบูชา (ณ สถานที่นี้) เพราะว่า พระพุทธศากยมุนี ได้ประสูติแล้ว
ณ ที่นี้ (พระองค์) ได้โปรดให้สร้างรั้วศิลา และโปรดให้ประดิษฐานหลักศิลาขึ้นไว้
โดยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประสูติ ณ สถานที่นี้ จึงโปรดให้หมู่บ้านถิ่นลุมพินีเป็นเขตปลอดภาษี
และให้เสียสละผลิตผลจากแผ่นดินเป็นทรัพย์แผ่นดินเพียง 1 ใน 8 ส่วน”

ในยุค พระเจ้าอโศก พุทธศาสนาได้เผยแผ่สู่ ลังกา จีน ไทย แต่หลังสิ้นราชวงศ์พระเจ้าอโศก
กษัตริย์พราหมณ์ขึ้นครองราชย์ ก็ได้รื้อฟื้นพิธีบูชายัน และกำจัดพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนากลับมารุ่งเรืองอีกครั้งใน พ.ศ.621 สมัย พระเจ้ากนิษกะ ผู้ทรงริเริ่มคำว่า “ศักราช” ทรงเป็นพุทธมามกะที่ยิ่งใหญ่
ทรงเผยแผ่พุทธศาสนาไปยังเอเชียกลางเป็นยุคที่ “พุทธศิลป์”  รุ่งเรืองที่สุด ทรงสร้างมหาสถูปใหญ่ที่สุดสูง 638 เมตร
 ที่เมืองปุรุษปุระ หลังจากนั้นพุทธศาสนาก็เสื่อมลงไปอีก

และพุทธศาสนากลับมารุ่งเรืองอีกใน พ.ศ.1149-1190 สมัย พระเจ้าหรรษะ ทรงเป็นกษัตริย์ชาวพุทธ
ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาอย่างมาก ทรงอุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยนาลันทา ในยุคนี้แหละ หลวงจีนเหี้ยนจัง หรือ พระถังซำจั๋ง
 ได้จาริกจากเมืองฉางอานไปยังอินเดีย เพื่ออัญเชิญ พระไตรปิฎก ไปยังเมืองจีน พระถังซำจั๋ง 
ได้เรียนพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยนาลันทาจนจบ หลังจากนั้นจึงได้นำ  คัมภีร์พระไตรปิฎก
 จำนวนมากกลับไปที่เมืองฉางอาน และได้รับการต้อนรับจาก  พระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้เป็นอย่างดี




ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.kammatan.com และ http://www.thairath.co.th (ลมเปลี่ยนทิศ)
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
beautifulchic13
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 9


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 08:23:23 PM »

เยอะไปหน่อย แต่ได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณสำหรำบข้อมูลครับ
บันทึกการเข้า

golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2014, 08:23:58 AM »


วันอาสาฬหบูชา ในปี  ๒๕๕๗ ตรงกับ วันศุกร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 11, 2014, 08:25:36 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2014, 12:14:27 AM »

วันนี้ตรงกับวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ เมื่อราว ๒,๖๐๒ ปีล่วงมาแล้ว เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา
คือ เป็นวันที่พระปัญจวัคคีย์ได้บรรลุอรหัตผลพร้อมกันทั้ง ๕ องค์ โดยได้ฟัง ‘อนัตตลักขณสูตร’
จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นวันที่ ๖ หลังจากที่พระบรมศาสดาแสดง ‘ปฐมเทศนา’
คือเป็นเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า มีชื่อว่า ‘ธัมมจักปัปปวัตนสูตร’ เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์
มีผลให้ท่านโกณฑัญญะพราหมณ์เกิดดวงตาเห็นธรรม คือรู้แจ้งตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ครั้นทรงสอนพระอัญญาโกณฑัญญะให้ได้ดวงตาเห็นธรรมและทรงบวชให้แล้ว
พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดง “ปกิณณกเทศนา” ยังผลให้พระวัปปะกับพระภัททิยะ และพระมหานามะกับพระอัสสชิ
ให้ได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นพระโสดาบัน และทรงบวชให้ตามลำดับ
ในวันแรม ๑ ค่ำ , วันแรม ๒ ค่ำ , วันแรม ๓ ค่ำ และวันแรม ๔ ค่ำ ในเดือน ๘

จากนั้นในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดพระปัญจวัคคีย์
ให้ได้บรรลุอรหัตผลพร้อมกัน โดยได้ฟัง ‘อนัตตลักขณสูตร’ จากพระพุทธเจ้า ความว่า...
“..รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา บังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาไม่ได้
เพราะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงควรหรือที่จะมาเห็นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา
แม้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีตและอนาคต ก็เป็นอนัตตา
บังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาไม่ได้ เพราะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
 จึงควร หรือที่จะมาเห็นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา…”
พระไตรปิฎกกล่าวว่า พระปัญจวัคคีย์ฟังพระธรรมเทศนาพลางพิจารณาไปพลาง
จิตของท่านเริ่มคลายความยึดมั่น ครั้นจบพระธรรมเทศนาก็หลุดพ้นจากอาสวะโดยสิ้นเชิง
ในวันนี้ วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ จึงถือได้ว่ามีพระอรหันต์ปรากฏขึ้นอยู่บนโลกแล้ว ๖ องค์
พระวัปปะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วก็ได้พิจารณาคุณสมบัติที่ตนได้ จึงทำให้เข้าใจถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าว่ายิ่งใหญ่
 ในขณะเดียวกันท่านก็รู้ สึกถึงความผิดพลาดของกลุ่มของท่าน ที่เรียกพระพุทธเจ้าว่าเป็นคนมักมาก
 และแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง คราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงในระยะแรก
 จึงทำให้มองเห็นว่าภาวะของพระอริยะกับภาวะของปุถุชนนั้นห่างไกลกันมาก
ท่านเข้าใจได้ชัดเจนว่าเป็นไปไม่ได้ที่ปุถุชนจะเข้าใจถึงภาวะของพระอริยะ เพื่อแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ท่านจึงกล่าวว่า…

“...พระอริยะย่อมเห็นทั้งบัณฑิตผู้เห็นอยู่ด้วย ย่อมเห็นทั้งอันธพาลผู้ไม่เห็นอยู่ด้วย ส่วนปุถุชนย่อมมองไม่เห็นทั้งอันธพาลและบัณฑิตนั้น…”

พระปัญจวัคคีย์อยู่ในคณะพระธรรมจาริกรุ่นแรก ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ๖๐ รูป
พระอัญญาโกณฑัญญะ เดินทางกลับไปยังบ้านเกิด ท่านได้โปรดบรรดาญาติให้หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
บุตรของน้องสาวชื่อ ‘ปุณณะ’ เลื่อมใสท่านมากถึงขั้นยอมออกบวชตาม
พระมหานามะ เดินทางไปยังเมืองมัจฉิกาสณฑ์ จิตตคฤหบดีเห็นท่านแล้วเกิดเลื่อมใส
 จึงนิมนต์ให้เข้าไปฉันภัตตาหารในเรือน ครั้นฉันภัตตาหารเสร็จแล้วท่านได้แสดงธรรมโปรดจนจิตตคฤหบดีนั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล
จิตตคฤหบดีมีศรัทธามากได้ ถวายอุทยานชื่ออัมพาฎกวันของตนให้เป็นวัด
เปิดประตูรับพระในพระพุทธศาสนาที่มาจากทุกทิศ
วันที่จิตตคฤหบดีถวายวัดนั้น เกิดแผ่นดินไหวใหญ่กระทั่งถึงน้ำที่รองรับแผ่นดิน เป็นนิมิตหมายให้รู้ว่า
“บัดนี้ พระพุทธศาสนาตั้งมั่นแล้วในเมืองมัจฉิกาสณฑ์”

พระอัสสชิ จาริกอยู่ในแคว้นมคธนั้นเอง วันหนึ่งปริพาชกอุปติสสะมาพบท่านเดินบิณฑบาตอย่างสำรวมอยู่นอกเมืองราชคฤห์แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงตามไปสนทนาด้วย ท่านได้แสดงธรรมให้ปริพาชกอุปติสสะฟังแต่โดยย่อว่า

“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และตรัสความดับธรรมเหล่านั้นไว้ด้วย พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้”

ปริพาชกอุปติสสะฟังแล้วเกิดความ รู้แจ้งได้บรรลุโสดาปัตติผล จากนั้นได้ลากลับไปหาปริพาชกโกลิตะผู้เป็นเพื่อน
 แล้วกล่าวธรรมตามที่ได้รู้แจ้งมานี้ให้ฟัง ผลปรากฏว่าปริพาชกโกลิตะได้บรรลุโสดาปัตติผลด้วย
ปริพาชกทั้ง ๒ ได้พาปริพาชกบริวาร เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวันตามที่พระอัสสชิแนะนำ
แล้วได้ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ท่านพร้อมด้วยบริวาร ครั้นบวชแล้วปริพาชกอุปติสสะมีชื่อใหม่ว่า ‘สารีบุตร’

ส่วนปริพาชกโกลิตะมีชื่อใหม่ว่า ‘โมคคัลลานะ’ พระเถระทั้ง ๒ ต่อมาได้เป็นคู่อัครสาวกที่มีบทบาทอย่างสำคัญมากในการช่วยพระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนา ส่วนพระวัปปะและพระภัททิยะ น่าเสียดายว่าคัมภีร์ไม่ได้บันทึกผลงานของท่านไว้ให้ได้ศึกษากัน


ขอบพระคุณข้อมูลจาก FB พี่เอ : ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 12:56:53 PM »

พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ตอนที่ 35 ในช่วง เทศนากัณฑ์แรกธรรมจักร ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
http://www.youtube.com/watch?v=825ynkefTo4

เหตุการณ์เหล่านี้ตรงกับวันอาสาฬหบูชา ครับผม

ซึ่งในปี 2558 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันที่ 30 เดือนกรกฏาคมนี้ ซึ่งในปีนี้ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 สองหน
เหตุการณ์สำคัญในวันอาสาฬหบูชา ก็คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
หมายถึง สูตรว่าด้วยการหมุนกงล้อ แห่งธรรม แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และในที่สุด แห่งพระธรรมเทศนานั้นเอง
หัวหน้า ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั้น นามว่า โกณทัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
คือเข้าใจชัดแจ้งในพระธรรมที่ทรงแสดง มองเห็น ความเป็นธรรมดาของสังขารธรรม บรรลุโสดาปัตติผล
และได้ทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นพระสงฆ์ สาวกรูปแรกของพระพุทธศาสนา ดังนั้น วันอาสาฬหบูชา
จึงเป็นทั้งวันระลึกถึงการแสดงปฐมเทศนา ครั้งแรกของพระพุทธเจ้า และเป็นวันที่พระรัตนตรัย ครบบริบูรณ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 21, 2015, 09:51:23 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 11:11:33 AM »



วันอาสาฬหบูชา มีเหตุการณ์สำคัญอีกประการหนึ่งที่ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๘ คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระยมกปาฏิหารย์ หลังจากออกรับบิณฑบาต ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งตรงกับวันอาสาฬมาส ในพรรษาที่ ๗ หลังการตรัสรู้ และเป็นระยะเวลากว่า ๒,๕๙๖ ปีหลังจากเหตุการณ์การกระทำยมกปาฏิหารย์ในครั้งนั้น โดยมีเนื้อหารายละเอียดดังนี้ครับ

"ยมกปาฏิหาริย์อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ"

เมื่อครั้งที่พระปิณโฑละภารทวาชะทeปาฏิหาริย์สำแดงฤทธิ์ ให้เศรษฐีในพระนครราชคฤห์ผู้หนึ่งได้ประจักษ์ว่า มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว

ครั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้ว พระบรมศาสดาทรงตำหนิและมีบัญญัติห้ามมิให้พระสาวกทำปาฏิหาริย์อีกต่อไป

ครั้นพวกเดียรถีย์ได้ทราบข่าวพากันดีใจว่าเป็นโอกาสของเราแล้วจึงให้สาวกของตนออกประกาศว่า เราจะทำปาฏิหาริย์กะพระสมณโคดมเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว ร้อนพระทัยด้วยความเป็นห่วง รีบเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระวิหาร ทูลถามว่า... "พระองค์ทรงบัญญัติ ห้ามพระสาวกทำปาฏิหาริย์เป็นความจริงหรือพระเจ้าค่ะ"
"เป็นความจริง มหาบพิตร" พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง
"ถ้าพวกเดียรถีย์จะทำปาฏหาริย์แล้วพระองค์จะทำอย่างไร"
"ถ้าพวกเดียรถีย์ทำ ตถาคตก็จะทำด้วย"
"ก็พระองค์ทรงบัญญัติห้ามแล้วมิใช่หรือ"
"ถูกแล้ว มหาบพิตร ตถาคตห้ามพระสาวกต่างหาก หาได้ห้ามอาตมาไม่ เหมือนเจ้าของสวนผลไม้ห้ามเก็บผลไม้ ความจริงก็หาได้ห้ามเจ้าของสวนเก็บมิใช่หรือ มหาบพิตร"
พระเจ้าพิมพิสารทูลถามต่อไปว่า "พระองค์จะทำที่ไหนและจะทำเมื่อใด"
"ถวายพระพร อาตมาจะทำที่เมืองสาวัตถี ในวันเพ็ญเดือน ๘ นับแต่นี้ไปอีก ๔ เดือน"

ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ที่พระนครราชคฤห์พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จดำเนินไปยังพระนครสาวัตถี พวกเดียรถีย์พากันกลั่นแกล้งโจษจันว่าพระสมณโคดมหนีไปแล้ว เราจะไม่ลดละจะติดตามไปทำปาฏิหาริย์ด้วย

วันคืนผ่านไปย่างเข้าเดือน ๘ ใกล้เวลาทำปาฏิหาริย์ พวกเดียรถีย์ได้จัดสร้างมณฑปใหญ่ประดิษฐ์ด้วยไม้ตะเคียนงามวิจิตร ประกาศให้มหาชนทราบว่าตนจะทำปาฏิหาริย์ที่นี้

ขณะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา รับจะทำมณฑปถวายเพื่อทำปาฏิหาริย์ พระบรมศาสดาไม่ทรงรับ ตรัสว่า อาตมาจะไม่ใช้มณฑปทำปาฏิหาริย์ แต่จะอาศัยร่มไม้มะม่วงทำปาฏิหาริย์

เมื่อพวกเดียรถีย์ทราบว่า พระบรมศาสดาจะทรงทำปาฏิหาริย์ที่ร่มไม้มะม่วง จึงจ่ายทรัพย์จ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงในที่สาธารณะทั้งในและนอกเมืองให้หมดเพื่อมิให้โอกาสแก่พระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหาริย์

เมื่อถึงวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส คือเช้าแห่งวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จเข้าไปภายในพระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ประจวบกับราชบุรุษผู้รักษาสวนหลวงคนหนึ่งเชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงทะวายมีมดแดงทำรังหุ้มอยู่กำลังสุก จึ้งได้สอยมะม่วงผลนั้นลงมา เมื่อทำความสะอาดดีแล้วก็จัดใส่ภาชนะนำไปจากสวนเพื่อถวายพระราชา พอดีเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกลก็มีความเลื่อมใส พลางดำริ มะม่วงผลนี้หากเราจะเอาไปถวายพระราชาก็คงจะได้รับพระราชทานรางวัลไม่เกิน ๑๕ กหาปนะ แต่ถ้าเราจะน้อมถวายพระพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นมหากุศลอำนวยอานิสงส์ผลให้ประโยชน์สุขแก่เราสิ้นกาลนาน เมื่อนายคัณฑะดำริเช่นนี้แล้ว ก็น้อมมะม่วงสุกผลนั้นเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า

พระบรมศาสดาทรงรับผลมะม่วงของนายคัณฑะแล้วประสงค์จะประทับนั่ง ณ ที่ตรงนั้น พระอานนท์เถระจัดอาสนะถวายประทับตามพุทธประสงค์ ครั้นประทับนั่งแล้ว ทรงหยิบผลมะม่วงในบาตรส่งให้พระอานนท์ทำปานะ พระอานนท์ก็จัดทำปานะมะม่วง คือน้ำผลมะม่วงคั้นถวายตามพระประสงค์ ครั้นพระบรมศาสดาเสวยแล้วก็ทรงส่งเมล็ดมะม่วงให้นายคัณฑะว่า "คัณฑะ! เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นทำเป็นหลุม ปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นี้เถิด " นายคัณฑะก็จัดปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นั้น

พระพุทธเจ้าทรงล้างพระหัตถ์เหนือพื้นดินบนเมล็ดมะม่วงนั้นในทันใดนั้นก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น เมล็ดมะม่วงนั้นเกิดงอกออกต้นขึ้นทันที และในช่วงขณะที่นายคัณฑะพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลายมองดูอยู่ด้วยความพิศวง ต้นมะม่วงต้นน้อย ๆ นั้นก็เติบโตใหญ่ขึ้น ๆ ออกกิ่งใหญ่ ๆ ถึง ๕ กิ่งยื่นยาวออกไปถึง ๕๐ ศอก ทั้งล้วนตกดอกออกผล มีทั้งผลดิบผลสุก แลอร่ามไปทั้งต้น ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นพสุธา

นายทัณฑะมีปีติเลื่อมใส ได้ประสบอัศจรรย์เฉพาะหน้าก็เก็บผลมะม่วงสุกที่หล่นมาถวายพระสงฆ์ทั้งหลายที่ติดตามมาให้ฉันจนอิ่มหนำสำราญทั่วกัน

เมื่อพระบรมศาสดาทรงได้ไม้คัณฑามพฤกษ์อันสมบูรณ์ด้วยกิ่งใบสูงใหญ่งามด้วยปริมณฑล สมดังพระประสงค์เช่นนั้น ก็ทรงตั้งพระทัยจะทรงทำปาฏิหาริย์สืบไป ครั้นเวลาบ่ายแห่งวันเพ็ญอาสาฬมาสพระบรมศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฏีประทับยืนอยู่ที่มุข ท่ามกลางพุทธบริษัทซึ่งมาสโมสรกันเนืองแน่น โดยใคร่จะชมปาฏิหาริย์ จึงทรงนิมิตจงกรมแก้วอันกว้างใหญ่เหนือยอดไม้คัณฑามพฤกษ์ไพศาล งามตระการวิจิต ควรแก่ความเป็นพุทธอาสน์ที่ประทับสำหรับแสดงปากิหาริย์ พระบรมศาสดาทรงเสด็จลีลาศขึ้นประทับนั้งยังจงกรมแก้วมโหฬารทรงกระทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิด

...ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตร (ตา) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างขวา เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากพระกรรณ (หู,ใบหู) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากกรรณข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างขวา เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิก (จมูก) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่อพระนาสิกข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างขวา เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสา (บ่า,ไหล่) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างขวา เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ (มือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้าวขวา เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากประปรัศว์ (ข้าง,สีข้าง) เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้ายสายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาท (เท้า) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างขวา เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ (นิ้วมือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างขวา เป็นคู่ ๑
...ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมา (ขน) เส้นหนึ่ง สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง เป็นคู่ ๆ สลับกันทั่วทั้งพระกาย เมื่อท่อไฟพุ่งออกมาแล้วก็สำแดงเป็นสีสันต่าง ๆ สลับกันรวม ๖ สี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หงสบาท (สีแดงปนเหลือง,สีแดงเรื่อหรือสีแสด) และประภัสสร (สีเลื่อมพราย เหมือนแสงอาทิตย์แรกขึ้น)

เมื่อสีออกจากแสงไฟซึ่งพุ่งออกมากระทบสายน้ำ ก็ทำสายน้ำให้มีสีต่าง ๆ ไปตามสีไฟ สลับกันไปมางานน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทั้งท่อไฟสายน้ำที่พุ่งออกก็พุ่งออกไปไกล ทำให้ท้องฟ้าอากาศสว่างไสวมหาชนทั้งหลายมองเห็นทั่วทุกทิศ เป็นที่จำเริญจิตแก่ผู้ได้เห็นทั่วโลกธาตุ ต่อจากนั้นพระบรมศาสดาก็ทรงนิรมิตพระพุทธเจ้าขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง มี พระรูปพระโฉม เช่นเดียวกันประองค์ทุกประการและโปรดให้พระพุทธนิรมิตพระองค์นั้นแสดงพระอาการสลับกันไปกับพระองค์โดยตลอด คือ

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนิรมิตก็เสด็จประทับยืน เมื่อพระพุทธนิรมิตเสด็จจงกรม พระบรมศาสดาก็ประทับยืนเป็นคู่ ๑

เมื่อพระบรมศาสดาประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตก็สำเร็จสีหไสยา (นอนตะแคงข้างขวา) เมื่อพระพุทธนิรมิตเสร็จประทับนั่งพระบรมศาสดาก็สำเร็จสีหไสยา เป็นคู่ ๑

เมื่อพระบรมศาสดาทรงตั้งปัญหาถาม พระพุทธนิรมิตก็ตรัสแก้เมื่อพระพุทธนิรมิตตั้งปัญหาถาม พระบรมศาสดาก็ตรัสแก้ เป็นคู่ ๑

รวมพระอาการที่ทรงแสดงก็ดี อาการที่ทรงถามและทรงและทรงแก้ก็ดีได้ปรากฏแก่มหาชนที่มาประชุมกันอยู่ได้เห็นและได้ยินกันทั่วถึง เป็นเจริญใจเจริญความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะเป็นยิ่งนัก

ในที่สุดแห่งยมกปาติหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัท เพราะได้เห็นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก

จากนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลกตลอดไตรมาส และด้วยเหตุนี้เอง ชาวพุทธเราจึงมีการตักบาตรด้วยมะม่วงสุกถวายสงฆ์ในวันอาสาฬหบูชา

เชิญอ่านพุทธโอวาทบางตอน ประวัติปฏิปทาพระอรหันตสาวก พระสาวิกา และสามเณรอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ได้ที่ลิงค์ครับ
https://www.facebook.com/thindham/media_set


ขอบพระคุณข้อมูลส่วนนี้จาก : FB ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน (พี่เอ)

และภาพวาดประกอบจากศิลปินแห่งชาติ อาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต ขออนุญาต และ ขออนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้ครับ . . ส า ธุ

_/\_ _/\_ _/\_
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: