KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับพระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์พระคัมภีร์ต่างๆ ที่สำคัญคำถาม - คำตอบ คัมภีร์เนตติปกรณ์
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คำถาม - คำตอบ คัมภีร์เนตติปกรณ์  (อ่าน 20028 ครั้ง)
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2015, 03:14:27 PM »


ปุจฉาปัญหาหรือคำถาม การวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับคำถามที่ต้องวิเคราะห์เพราะว่าคำถามมีหลายประเภท
ตามนัยอรรถกถาแห่งคัมภีร์เนตติปกรณ์จำแนกไว้ถึง 11 ประเภทดังนี้


1) อทิฏฐโชตนาปุจฉา.....คือคำถามที่ถามเพราะไม่รู้ไม่เห็นแต่อยากจะรู้
2) ทิฏฐสังสันทนา..........คือถามเพื่อเปรียบเทียบกับความรู้เห็นที่มีอยู่
3) วิมติจเฉทนา ............คือถามเพื่อตัดความสงสัย
4) อนุมติปุจฉา .............คือถามเพื่อคล้อยตาม
5) กเถตุกัมยตาปุจฉา .....คือถามเพื่อจะตอบเอง
6) เอกังสพยากรณียา .....คือคำถามที่สามารถตอบได้เลยโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
7) วิภัชชพยากรณียา ......คือคำถามที่จะต้องแยกแยะตอบเป็นประเด็น
8.) ปฏิปุจฉาพยากรณียา ..คือคำถามที่ต้องย้อนถามก่อนแล้วจึงตอบ
9) ฐปนียา ...................คือคำถามที่ต้องงดไว้ไม่ตอบ
10) ธัมมาธิษฐานา .........คือคำถามที่มุ่งหมายถึงธรรม
11) สัตตาธิษฐานา .........คือคำถามที่มุ่งหมายถึงสัตว์19


การศึกษาตีความจึงจำเป็นต้องจำแนกแยกแยะให้ได้ว่า
ในกรณีที่มีการถามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเท่าที่มีผู้มาทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเป็นคำถามของบุคคลอื่นๆก็ตามเป็นคำถามประเภทไหนเพราะเมื่อจำแนกได้แล้วว่าเป็นคำถามประเภทไหน
จะได้ตอบให้ตรงประเด็นหรือปฏิบัติให้ตรงกับลักษณะคำถามนั้นๆ / เนตติปกรณ์


วิสัชนาหรือคำตอบ มีลักษณะและประเภทเช่นเดียวกับคำถาม
เพราะจะต้องตอบให้ตรงประเด็นกับคำถาม ดังนั้นลักษณะประเภทของคำตอบและคำถามจึงมีจำนวนเท่ากัน
ในการศึกษาตีความ ผู้ศึกษาตีความต้องวินิจฉัยจำแนกแยกแยะด้วยว่าลักษณะการตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือของเหล่าพระสาวก
มีลักษณะการตอบเป็นประเภทไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 4 ลักษณะคือ


1) เอกังสพยากรณ์ - ตอบตรงทันที
2) วิภัชชพยากรณ์ - ตอบแบบแยกแยะให้เห็นชัดในประเด็นและรายละเอียดต่างๆ
3) ปฏิปุจฉาพยากรณ์ - ตอบแบบย้อนถามเพื่อให้อยู่ในประเด็นเดียวกัน
4) ฐปนียพยากรณ์ - ตอบแบบไม่ตอบ


นอกจากนี้การตอบคำถามของผู้ไม่รู้ ผู้มีความสงสัย ผู้ประสงค์เทียบเคียงหรือเพื่อให้มั่นใจก็ตาม
ลักษณะการตอบคำถามยังคงอยู่ใน 4 ลักษณะของการตอบปัญหาดังกล่าวนี้
ซึ่งวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของผู้ถามปัญหานั้นมีส่วนสำคัญในการจะตอบปัญหานั้นๆเช่น
ผู้ที่ประสงค์จะถามเพื่อเทียบเคียงแนวคิดคำสอน เพื่อถึงเข้าเป็นฝักฝ่ายสนับสนุนแนวความคิดของตน
หรือคำถามที่มีลักษณะสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งเช่นนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงใช้วิธีฐปนียพยากรณ์


 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: