KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับพระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์แนะนำ หนังสือธรรมะ หนังสือ พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน และ ประวัติอาจารย์ วศิน อินทสระ
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือ พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน และ ประวัติอาจารย์ วศิน อินทสระ  (อ่าน 45985 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 08, 2009, 06:06:30 PM »

อ. วศิน อินทสระ

ผู้รังสรรค์วรรณกรรมธรรมอันงดงาม

ผมอยากจะตอบแทนชาวบ้าน ตอบแทนอุปการะของประชาชน
และตอบแทนคุณของพระพุทธศาสนาด้วยการศึกษาและเผยแผ่ธรรม

เมื่อได้รับทั้งข้อตำหนิติและชม เราต้องรับมาพิจารณา ถ้าเขาโจมตีถูก
ก็ต้องรับไว้แก้ไข หากผิดก็ชี้แจง ให้ถือแนวพุทธพจน์ในพรหมชาลสูตร
เป็นข้อปฏิบัติของชาวพุทธ

                     หนึ่งในปูชนียบุคคลในวงการพระพุทธศาสนาบ้านเรานั้น  ใครเลยจะปฏิเสธว่าไม่ใช่  "วศิน  อินทสระ"  ผู้เป็นนักคิด นักเขียนและนักวิชาการ รวมทั้งเป็นอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชาความรู้ทางธรรมแก่พระนิสิตของมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัยมาหลายต่อหลายรุ่น ตลอดระยะเวลากว่า  40  ปี  ที่ผ่านมาท่านอาจารย์วศิน อุทิศตนทุ่มเทให้กับงานด้านพระพุทธศาสนาอย่างไม่เหน็ด- เหนื่อย ไม่ย่อท้อ โดยไม่ปรารถนารางวัลตอบแทนใดๆ ใน ชีวิต ถึงกระนั้นก็ตาม พุทธพจน์ที่ว่า "คนทำดีย่อมได้ดี" ยังศักดิ์สิทธิ์ และเป็นจริงเสมอ เพราะทางราชการ โดย กรมการศาสนาได้มอบรางวัลเสมาธรรมจักร ให้กับท่าน ในฐานะที่เป็นฆราวาสผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาวรรณกรรม ในปี พ.ศ.2525 โดยในปีนั้นฝ่ายบรรพชิต ที่ได้รับรางวัลนี้ คือท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

                    ปัจจุบัน แม้ว่าท่านอาจารย์วศินจะเกษียณแล้ว แต่ด้วยวัย 67 ปีที่ยังดูแข็งแรง และเปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ ท่านจึงยังต้องรับภาระหนักต่อไป ทั้งการเป็นอาจารย์ หนังสือศุภมิตร ราย 2 เดือน ของมูลนิธิส่งเสริมกิจการศาสนา และมนุษยธรรม ของวัมกุฎกษัตริยาราม และถ่ายทอดความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนาให้แก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจ ทุกวันอาทิตย์ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. รวมทั้งงานเขียนวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ท่านอาจารย์วศินเขียนหนังสือมากมาย โดยเฉพาะนิยายอิงหลักธรรมและชีวประวัติ "พระอานนท์พุทธอนุชา" ที่เรียกน้ำตาจากผู้อ่านคนแล้วคนเล่า

                  แต่เรื่องหนึ่งที่ท่านอาจารย์วศินไม่ยอมเขียนก็คือประวัติของตัวเอง ซึ่งหนังสือพิมพ์รายเดือน "ธรรมลีลา" ได้สัมภาษณ์ ประวัติชีวิตของท่านบางส่วนไว้ดังนี้

-อะไรคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ท่านอาจารย์หันมาสนใจศึกษาพระธรรม

ชีวิตผมลำบากมาตั้งแต่เด็ก พอเรียนจบชั้นประถม ตอนนั้นอายุ 13 ปี พี่ชายบวชพระ อยู่ที่วัดบุปผาราม กรุงเทพฯ ก็พาผมมาบวช ผมเป็นเด็กต่างจังหวัด จากสงขลา ตอนนั้นก็บวชตามที่ผู้ให้บวช ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดี พอบวชแล้วถึงรู้ว่าได้อะไรเยอะมากเพราะผมเองเป็นคนชอบทดลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ลองทำดู บวชเณรอยู่ 7 ปี พออายุ 20 ปีก็บวชพระ ตอนเริ่มเรียนนักธรรมตรี รู้สึกว่าได้อะไรเยอะมาก เลยทุ่มชีวิตจิตใจลงไปศึกษาอย่างเต็มที่


-ตอนนั้นชอบอ่านเรื่องประเภทไหนเป็นพิเศษคะ เช่น นิทานชาดก พุทธศาสนสุภาษิต

ผมอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า(หัวเราะ) ไม่ว่าจะเป็นพุทธศาสนสุภาษิต เรื่องราวอะไรต่างๆ ในพุทธศาสนานี่ชอบหมด เพราะเป็นคนชอบอ่านหนังสือ แล้วเวลานั้นหนังสือขาดแคลนมาก ต้องขอยืมเค้ามาแล้วจดๆ เอาไว้ เพราะสตางค์ที่จะซื้อไม่มี  หนังสือของหลวงวิจิตรวาทการผมก็ชอบ ของท่านพุทธทาสก็ชอบ  ผมอ่านตั้งแต่ตอนเป็นเณร จนกระทั่งบัดนี้

ไม่ยากนะ ยังเคยแนะนำให้เพื่อนอ่านด้วย แต่ว่ารู้สึกจะไม่มีใครอ่าน (หัวเราะ) แล้วตลอดเวลาที่บวชส่วนใหญ่จะอ่านแต่หนังสือพระธรรม สึกมาแล้วไปทำงานทำการอะไรก็ไม่เคยทิ้ง สนใจค้นคว้ามาตลอด


- บวชเรียนอยู่นานมั๊ยคะ

 บวชเป็นเณรอยู่ 7 ปี พอตอนอายุ 20 ก็บวชพระ สอบได้นักธรรมเอกและ ป.ธ.7  แล้วเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย บุรพศึกษา 1 ปี และเตรียมศาสนศาสตร์ 2 ปี รวม 3 ปี แล้วจึงสมัครสอบ ม.8 ได้ และได้เรียนเป็นนักศึกษาต่ออีก 4 ปี จนจบหลักสูตรปริญญาตรีสาขาศาสนศาสตร์ รวมแล้วเรียนที่มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยทั้งหมด 7 ปี สมัยนั้นทุกคนต้องเรียนกันทั้งหมด 7 ปี พอจบแล้วทางมหามกุฎฯ ก็บรรจุผมให้เป็นอาจารย์ ผมลาสิกขาเมื่ออายุ 30 ปี ตอนนั้นก็ประมาณ พ.ศ.2507


-ทราบว่าอาจารย์ไปเรียนที่อินเดียวด้วย

เคยไปเรียนปริญญาโทสาขาปรัชญา  ที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดูยูนิเวอร์ซิตี้ ที่คนทั่วไปเรียกว่า มหาวิทยาลัยพาราณสี แคว้นอุตรประเทศ เรียนอยู่ 2 ปี


-ได้อะไรกลับมาบ้างคะ

ได้เยอะจนคำนวณไม่ถูก ไม่ใช่ได้ความรู้อย่างเดียว แต่ได้โลกทัศน์และธรรมทัศน์ ได้ความเข้าใจ ชีวิต เช่น ความลำบาก ทำให้ผมต่อสู้กับความลำบากได้มากขึ้น  ผมยังเคยคุยกับนาวาเอกสมภพ ภิรมย์ ซึ่งตอนนั้นท่านเป็นอธิบดีกรมศิลปากร แล้วไปอินเดีย ผมบอกท่านว่า ถ้าอยู่อินเดียแล้วไปอยู่เมืองไทย ที่ไหนก็ได้ เพราะที่อินเดียลำบากมาก

อีกอย่างหนึ่งได้เข้าใจเรื่องราวจากหนังสือชัดเจนขึ้น เพราะ ตอนอยู่เมืองไทยไม่รู้ พอไปอินดียถึงได้รู้ อย่างสมมติว่า เราเคยอ่านในพระวินัย ท่านบอกว่าหน้าร้อน  ตอนกลางวันให้ปิดหน้าต่าง ส่วนกลางคืนให้เปิดหน้าต่าง แต่บ้านเรานี่ตอนกลางวันต้องเปิดหน้าต่าง เราก็สงสัยว่า เอ๊ะ..ทำไมต้องให้ปิดหน้าต่างตอนกลางวัน พอไปอยู่อินเดียถึงได้รู้ว่า ต้องปิดจริงๆ เพราะว่าลมที่เข้ามาหน้าร้อนน่ะ ลมร้อนทั้งนั้น เลยต้องปิด แต่พอกลางคืนต้องเปิดไว้ เพราะลมเย็นจะได้เข้า แล้วพอกลางวันปิดไว้ลมเย็นจากกลางคืนก็ยังอยู่


-แรงดลใจที่อาจารย์ได้รับและคิดว่าต้องทำงานให้กับพระพุทธศาสนานั้น มาจากไหน

ก็สืบเนื่องมาจากการบวช เพราะการบวชนี่ ถ้าคนตั้งใจศึกษาปฏิบัติ จะได้อะไรเยอะมาก  ไม่ใช่ได้เพียงความรู้อย่างเดียว ทีนี้ก็ระลึกถึงอุปการะของชาวบ้านประชาชนว่าเราอยู่ได้อย่างนี้ เป็นอยู่อย่างนี้ก็เพราะชาวบ้าน อุปการะเลี้ยงดู ถึงรู้จักหรือไม่รู้จักเขาก็เลี้ยงดู แล้วก็เห็นว่าพระพุทธศาสนานี้มีคุณค่าเหลือเกิน ก็เลยอยากจะตอบแทนชาวบ้าน ตอบแทนอุปการะของประชาชน และตอบแทนคุณของพระศาสนาด้วยการ เผยแผ่ธรรม


-อาจารย์เริ่มเผยแผ่ธรรมในรูปของงานเขียนเมื่อไหร่คะ

ตอนอายุ 29 ปี ตอนนั้นเขียนหนังสือเรื่องแสงเทียนเป็นหนังสือเล่มแรก ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิยายอิงหลักธรรม พออายุ 30 ก็เขียนเรื่องพระอานนท์พุทธอนุชาเป็นนิยายอิงหลักธรรมเและชีวประวัติ ซึ่งเล่มหนังนี่คนนิยมกันมาก แต่ผมเองชอบทุกเล่มที่เขียนนะ (หัวเราะ)


-นอกจากหนังสืออ่านทั่วไปแล้ว ท่านอาจารย์ยังแต่งหนังสือแบบเรียนให้กรมวิชาการ เพื่อใช้เป็นตำราเรียนด้วย

ครับ ก็เขียนแบบเรียนให้ชั้นมัธยมศึกษา ปี 2524 มีวิชาสังคมศึกษา, ปี 2529 เรื่องประวัติพระสาวก เล่ม 1-2 , ปี 2531 เรื่องธรรมเพื่อการครองใจคน และปี 2534 เรื่องจริยธรรมกับบุคคล


-อาจารย์เคยเป็นบรรณาธิการหนังสือธรรมจักษุ ด้วยใช่ไหมคะ

ใช่ เป็นอยู่ 10 ปี ตอนนี้เป็นควบกับหนังสือศุภมิตร


-การเผยแผ่ธรรมในรูปแบบอื่นล่ะคะ

ก็มีทางวิทยุ ตอนนี้จัดรายการสดอยู่ 2 คลื่น รายการวิเคราะห์ธรรม วันอังคาร ตอนสองทุ่มถึงสองทุ่มครึ่ง ที่คลื่น AM 963 และรายการธรรมร่วมสมัย  วันพฤหัสบดีประมาณเที่ยงคืนกว่าๆ ถึงตีหนึ่งสิบห้า ที่คลื่น FM 100.5 แล้วก็มีบรรยายธรรมทุกวันอาทิตย์ ตอบสิบโมงครึ่งถึงเที่ยงครึ่งที่มหามกุฎฯ วัดบวรฯ อ้อ.. มีตอบปัญหาธรรมทางโทรศัพท์ ของสายพุทธธรรมด้วย หมายเลข 02-662-3111 กับมีคอลัมน์ธรรม และทรรศนะชีวิตที่ส่งบทความให้กับหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันทุกวันพฤหัสบดี หรือสามารถอ่านเพิ่มเติม ได้จาก www.manager.co.th


-ตอนนี้ท่านอาจารย์เกษียณแล้ว ยังสอนพระนิสิตที่มหามกุฎฯ อีกหรือเปล่า

สอนอยู่ เพราะสมเด็จฯ (สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าอาวาสวัดมกุฎฯ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิยาลัย) ท่านไม่ให้ออก ท่านให้เงินเดือนประจำด้วย ก็ต่ออายุกันไปปีต่อปี สอนทุกวัน เว้นวันพระ สอนปริญญาตรี ปริญญาโท วิชาพุทธศาสตร์บ้าง จริยศาสตร์บ้าง ปรัชญาบ้าง


-พูดถึงพระแล้ว ตอนนี้วงการพระสงฆ์บ้านเรามีข่าวมากมายเหลือเกินทั้งที่เป็นข่าวไม่ดีจริงๆ และเป็นข่าว  เพราะถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี อาจารย์เห็นว่าอย่างไรคะ

มันอยู่ที่ว่าเขาโจมตีถูกหรือโจมตีผิด เราต้องรับมาพิจารณา ถ้าเขาโจมตีถูก ก็ต้องรับไว้แก้ไข หากเขาโจมตีผิดก็ชี้แจง ต้องถือแนวพุทธพจน์ว่า ถ้าเขาติเตียน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็อย่าเสียใจ และอย่าปฏิเสธ ถ้าเราโกรธเสียก่อนก็จะไม่รู้ว่าเขาติเตียนถูกหรือผิด ต้องเอามาพิจารณา แม้แต่เขาชม ก็อย่าเพิ่งรับ ถ้าเรารีบรับ รีบดีใจเสียก่อน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีดีจริงหรือเปล่า อันนี้อยู่ในพรหมชาลสูตร


-แล้วเรื่องพระภิกษุณีล่ะคะ ท่านอาจารย์มองว่าอย่างไร

คงมีได้ยาก ด้วยเงื่อนไขที่ว่าภิกษุณีต้องบวชจากสงฆ์สองฝ่าย แต่ตอนนี้ภิกษุณีบ้านเราไม่มี ก็ไม่รู้จะบวชจากใครทีนี้พระสงฆ์เมืองไทยนั้น ถ้าไม่ได้บวชจากภิกษุณีสงฆ์ก่อน ท่านก็ไม่กล้าบวชให้ เพราะท่านถือตามพระวินัย


-ถ้าไม่บวชแล้วผู้หญิงจะบรรลุธรรมได้มั๊ย

 ผู้หญิงบรรลุธรรมได้ อันนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสมาตลอด ว่าผู้หญิงสามารถจะบรรลุธรรมได้ แม้เป็นฆราวาสก็สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้


- ท่านอาจารย์รู้สึกอย่างไรกับสภาพสังคมตอนนี้

ค่อนข้างหนักใจเรื่องความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม ความตกต่ำทางจิตใจของคนในสังคมก็รู้สึกเป็นห่วง


-คิดว่าคนในสังคมจะช่วยกันได้อย่างไรคะ

ช่วยกันมีศีลธรรม ช่วยกันถอนตนจากวัตถุนิยมมาเป็นธรรมนิยม ปัญญานิยม

แม้จะผ่านร้อน ผ่านฝน ผ่านหนาว มาหลายฤดูกาล แต่ท่านอาจารย์วศิน ยังคงยืนหยัดที่จะสร้างงานสร้างคน บนเส้นทางสายพุทธธรรมต่อไป ด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยสำนึกในคุณของพระพุทธศาสนา  และความรักความศรัทธาที่มีต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

ผลงานการประพันธ์ของอาจารย์วศิน อินทสระ มีรายชื่อดังนี้

1      กรรมฐานหรือภาวนา

2      การช่วยเหลือตนเองและพึ่งตนเอง

3      การเผยแผ่ศาสนา

4      การเผยแผ่ศาสนาพร้อมความเข้าใจหลักศาสนาและการพัฒนาชีวิตด้วยคุณธรรม

5      การพึ่งตน

6      การศึกษาและการปฏิบัติธรรม

7      คติชีวิต เล่ม 1 และ 2

8      ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม

9      ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต

10   ความคิดทางพระพุทธศาสนาและทรรศนะชีวิต

11   ความคิดเห็นที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

12   ความสุขของชีวิต

13   ความหลัง

14   คุณของพระรัตนตรัยและการเข้าถึง

15   คุณความดีดอกไซร้

16   คู่มือสอนศีลธรรม ม.ศ.4-5

17   จดหมายถึงลูก

18   จริยธรรมกับบุคคล

19   จริยศาสตร์ เล่ม 1 และ 2

20   จริยาบถ เล่ม 1 และ 2

21   จอมจักรพรรรดิ์อโศก เล่ม 1 และ 2

22   จากปาณิสสราด้วยรักและห่วงใย

23   จากวราถึงนภาพร

24   ชาวพุทธกับวิกฤตศรัทธา

25   ชีวิตนี้มีอะไร

26   ตรรกศาสตร์พุทธศาสนา

27   ทางแห่งความดี เล่ม 1-2-3-4 ตอนที่ 1 และ 2

28   ทำอย่างไรกับความโกรธ

29   ธรรมปฏิสันถาร

30   ธรรมเพื่อการครองใจคน

31   ธรรมและชีวิต

32   ธรรมาลังการ

33   ธัมโมชปัญญา เล่ม 1 - 2 - 3

34   แนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา

35   แนวธรรมแห่งสุตตันตะ เล่ม 1 และ 2

36   บทเรียนชีวิต

37   บนเส้นทางสีขาว

38   แบบเรียนวิชาพุทธศาสนา ม.2

39   แบบเรียนวิชาพุทธศาสนา ม.4

40   ปกิณกธรรม เล่ม 1 และ 2

41   ประวัติพระสาวก เล่ม 1 และ 2

42   ปัญญารัตนะ

43   ปาฐกถาปัญหาน่าสนใจทางพระพุทธศาสนา

44   ผู้สละโลก

45   พระคุณของพ่อ

46   พระอานนท์พุทธอนุชา

47   พ่อผมเป็นมหา เล่ม 1 และ 2

48   พุทธจริยศาสตร์

49   พุทธจริยา

50   พุทธปฏิภาณ

51   พุทธปรัชญาเถรวาท เล่ม 1 และ 2

52   พุทธปรัชญามหายาน

53   พุทธวิธีในการสอน

54   พุทธศาสนาในประเทศไทย

55   เพื่อความสุขใจ

56   เพื่อชีวิตที่ดี เล่ม 1 และ 2

57   เพื่อเยาวชน

58   ภาพจำลองชีวิต

59   มนุษย์กับเสรีภาพ

60   ร่มธรรม

61   รอยช้ำในดวงใจ

62   ลีลากรรมของสตรีในพุทธกาล

63   ศีลสมาธิปัญญา(หลักการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิต)

64   สายธารที่เปลี่ยนทาง

65   สาระสำคัญมงคล 38 เล่ม 1 และ 2

66   สาระสำคัญวิสุทธิมรรค

67   สิ่งเกื้อกูลชีวิต

68   สิ่งที่ควรทำความเข้าใจกันใหม่เพื่อความถูกต้อง

69   แสงเทียน

70   หลักธรรมเพื่อความสำเร็จในชีวิต

71   เหมือนภูเขา

72   อธิบายมิลินทปัญหา

73   อนุทินทรรศนะชีวิต

74   อย่าเป็นคนเชื่อง่าย

75   อันความกรุณาปรานี

76   อันชนกชนนีนี้รักเจ้า

77   อาภรณ์ประดับใจ

บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 08, 2009, 06:10:34 PM »

 (ลุงสุชาติ)

    อาจารย์ วศินฯ จะทำการสอนธรรมะแก่ประชาชนทั่วไปเป็นธรรมทานที่วัดบวรนิเวศทุกวันอาทิตย์ (ยกเว้นวันอาทิตย์ต้นเดือน) ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. จะเข้าไปเรียนในห้องเรียนในช่วงเวลดังกล่าวก็ได้ หรือ จะคอยดักพบท่านเมื่อตอนเลิกเรียนก็ได้
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 08, 2009, 06:18:52 PM »

   หากต้องการหนังสือและเทปคำบรรยายของอาจารย์วศิน อินทสระ โปรดติดต่อสอบถามได้ที่

-สำนักงานศุภมิตร ภายในวัดมกุฏกษัตริยาราม โทร.281-2612

-ตึกมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในวัดบวรนิเวศวิหาร กทม. โทร.282-1715,282-8105 ต่อ 246

-มูลนิธิมหามกุฏฯ โทร.281-1085

-มหาจุฬาบรรณาคาร โทร.222-9865
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 08, 2009, 06:20:18 PM »

โรงพิมพ์ที่จะสั่งพิมพ์หนังสือ พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

  เป็นโรงพิมพ์น้องใหม่ที่ดำเนินการโดยผู้บริหารที่ผ่านงานจากทั้งในและต่าง ประเทศ
บริการด้วยราคาย่อมเยาและรวดเร็ว มีเครื่องพิมพ์ออฟเซต 4 สีจากประเทศเยอรมัน และเครื่องพิมพ์ 1สี จากเยอรมัน
รับงานทั้งในและนอกสถานที่ สามารถติดต่อใช้บริการได้ 24 ชั่วโมงที่เบอร์ 081-8168711
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2009, 12:24:25 PM »

แผนที่วัดบวรนิเวศ



ขอขบคุณเว็บ : http://data.bn.ac.th
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 03, 2009, 11:07:57 AM »



ยามเช้า หมอกจางจาง ในหน้าหนาว
หยาดน้ำค้าง สกาวพราย เกาะก้านไหว
นกปรอด กะจิดริด บินข้ามไทร
บึงไสว บัวสล้าง อยู่กลางบึง

โลกหมุนไหว เปลี่ยนกาล มิหยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เกิดดับ ขยับถึง
เหมือนเรือนกาย รู้รับ ยามจับคลึง
มีอันใด เป็นที่พึง ระหว่างทาง

อานนท์...อันอารมณ์ อันวิจิตร
ย่อมสนิท สวยงาม ใช่กามขวาง
แต่กำหนัด จากดำริ แม้นเบาบาง
ก็ต้องล้าง กระชากออก จากคอกลง

โลกฉันใด ไม่พึงว่าง อรหันต์
คือโลกอัน ประเสริฐ ไม่ไหลหลง
อริยมรรค อันสงบ ย่อมยืนยง
เคารพองค์ สงฆ์บิดร ย่อมเจริญ

อันวาจา สุภาษิต  จะยังคุณ
แก่ผู้หนุน ทำตาม ไม่ห่างเหิน
เหมือนดอกไม้ สัณฐานงาม กลิ่นเพลิดเพลิน
ย่อมอัญเชิญ อานิสงส์ ทั้งลงกา


“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายของเราแล้ว
เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่า
สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลาย จงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

ดังเช่น พระธรรมที่พระองค์ เคยพร่ำสอนมาตลอดพระชนม์ชีพว่า


“สั้ตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุด
เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้น แม้แต่พระองค์เอง”
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 03, 2009, 11:11:50 AM »



พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพานนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานแก่พระอานนท์ผู้เป็นพระอุปัฏฐากและพระภิกษุ
คราที่ทรงปรงพระชนมายุสังขารออกเดินทางด้วยพระบาทเปล่าจากปาวาลเจดีย์ไปยังกรุงกุสินาราสถานที่ปรินิพพาน
ตลอดพระชนมชีพ พระพุทธเจ้าหาได้ทรงท้อแท้หรือเหน็ดเหนื่อยต่อการเผยแพร่ธรรมไม่
ยังทรงประกาศพระธรรมอันประเสริฐที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองแก่พุทธบริษัท 4
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้




คราเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงปาวาลเจดีย์
ได้ประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีเงาครึ้มต้นหนึ่ง
โดยมีพระอานนท์หมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์อาศัยความกรุณาแก่ข้าและหมู่สัตว์
จงดำรงพระชนมชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย ”
กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่ทูลอะไรต่อไปอีกเพราะโศกาดูรท่วมท้นหทัย




“ อานนท์เอ๋ย ” พระศาสดาตรัสพร้อมทอดทัศนาการไปเบื้องหน้าอย่างสุดไกล
ลีลาอันเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตรและพระพักตร์
“เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจ
ตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ อีกสามเดือนข้างหน้านี้ อานนท์
เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม่น้อยกว่า 16
ครั้งแล้วว่า
คนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดี
ถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์หรือมากกว่านั้นก็พออยู่ได้
แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ได้ทูลอะไรเราเลย
เราตั้งใจไว้ว่าในคราวก่อนๆนั้น
ถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไปเราจะห้ามเสียสองครั้งพอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับอาราธนาของเธอ
แต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก”

“ อานนท์เอ๋ย ” บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้ว
เรื่องที่จะดึงกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้นไม่ใช่วิสัยแห่งตถาคต....บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึ
งใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอ๋ย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด
สิ่งทั้งหลายมีความแตกดับไปสลายไปเป็นธรรมดา
จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้
ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปเคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวทุกขณะ ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่
ประหนึ่งแผ่นดินเป็นสิ่งที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย
เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์
มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบาย
มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาดเช็ดถูเรียบร้อย
ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน ”



“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ
สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้น
เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ
เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง
มีประตูหน้าต่างปิดเปิดเรียบร้อย มีหลังคาป้องกันลม แดดและฝน
ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก
แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น
ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลม แดดและฝน
กล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า
สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี
และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะให้เบาบางและหมดสิ้นไป ”



“ อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ
แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีล
สมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกด้วยศีล
สมาธิและปัญญา
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์ 8 ประเสริฐที่สุด
บรรดาบททั้งหลายบท 4 คือ
อริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดี
ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์ 8
นี่แลเป็นไปเพื่อทัศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่
เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์ 8 นี้
อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้
เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป
ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น
เมื่อปฏิบัติดังนี้พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร ”


“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า
มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฐิ คือ
ความยึดมั่นเรื่องของตนเสีย ด้วยประการฉะนี้
เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวลไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม


“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ
ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เอง
ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น
เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย
มนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทัน
การแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น
เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก
ๆ เพียงตัวเดียว
มนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ
จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่ง
ซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว
เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน
เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้
ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว
ในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา
ไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย
เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตา
เขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย
พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง


“ ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบาย
แต่สถานที่เหล่านั้นมักบรรจุไปด้วยคนที่มีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมาก
ภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบที่อยู่โคนไม้ได้อย่างไร ”




“ ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ
อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจ
แม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่า
แน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโต
แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุข
สงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละละวางได้
จึงแย่งลาภและยศกันอยู่เสมอ
เหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย
หรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันทั้งสองฝ่าย
น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก
ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง
มีความเห็นอกเห็นใจกัน
มีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย
ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำเนินชีวิต
โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิดหน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ คือ
ลดความโลภ
ความโกรธและความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขเยือกเย็นขึ้นมาก
เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใด
ความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น ”




“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มนุษย์ยิ่งเจริญก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจ
ดูแล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์ยังสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตา
มใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่น ฝูงวิหกนกกา
มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกัน
แต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่จะที่ต้องแบกไว้ คือ
เรื่องกาม เรื่องกิน
และเรื่องเกียรติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ
คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกิน
นักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกาม
คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียว
แต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่
ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโลกียวิสัย
บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบจะต้องกินให้มีเกียรติ
กินให้สมเกียรติ มิได้กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะ
ความจริงร่างกายคนเราไม่ได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก
เมื่อหิวก็ต้องการอาหารบำบัดความหิวเท่านั้น
แต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ
และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วง
คนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้แต่จำเป็นต้องทำ
เหมือนโคหรือควายซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถ
แต่จำใจต้องลากมันไป อนิจจา ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ
เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตร
ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่แลตรึงมัดรัดผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด
เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆ
คือ บุตร ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น
รสและโผฏฐัพพะเป็นเหยื่อของโลก
เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์ไม่สามารถหอมหวนทวนลมได้
แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล
สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลม
คนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทุกทิศ กลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบล
กลิ่นดอกมะลิ
จัดว่าเป็นดอกไม้กลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้
กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวล
ถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้ว
พึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด ”

“ สัตว์โลกเมื่อเกิดมาย่อมนำความทุกข์ติดตัวมาด้วย
ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก
ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่
ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย
บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน
พวกเธอจงเอาสติเป็นขอเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ
บุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้นคือผู้ที่สามารถเอาชนะตนของตนเองไว้ในอำนาจได้
สามารถเอาชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม
เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด
อย่าเป็นผู้แพ้เลย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัว
อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้
แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้
เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน มีเมตตา
ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้พร้อมกำมือไว้แน่น
เป็นสัญลักษณ์ว่าเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้น
ทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย


“ เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า
แต่ทุกครั้งที่เราหวัง
ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทน์แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น
อัศวินก้าวลงสู่สนามก็ไม่ทิ้งลีลา
อ้อยแม้เข้าสู่เครื่องยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน
บัณฑิตแม้ประสบความทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา
เหมือนชาวนาที่ตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา
ข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ดย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด
ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้น
ย่อมมีผลมากผลไพศาล คนดีมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา
บ่าวไพร่ให้เป็นสุข
บำรุงสมณะพรหมาจารย์ให้เป็นสุข
เปรียบเสมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อย
สะอาดเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ มหาชนย่อมได้อาศัย นำไปอาบดื่มและใช้สอยตามต้องการ
โภคทรัพย์ของคนดีย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่ ”



“ การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย
ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิด
มนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคนแต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย ”

“ บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผล
หยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยดยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใด
การสั่งสมบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้น
ผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปล้ไปด้วยบาป ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันร่างกายนี้สะสมแต่ของสกปรกโสโครก
มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้ามีช่องหู
ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อย
เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค
เป็นที่เก็บโรค
อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆเข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอๆ
เจ้าของกายจึงต้องชำระล้าง ขัดถูวันละหลายๆครั้ง
เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวัน
กลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่น่ารังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง ”



“ ดูกรอานนท์ บิณฑบาตทานที่มีอานิสงส์มาก มีผลไพศาล คือ
เมื่อนางสุชาดาถวายเราก่อนตรัสรู้ครั้งหนึ่ง
และอีกครั้งหนึ่งที่จุนทะถวายนี้
ครั้งแรกเสวยอาหารของสุชาดาแล้วตถาคตก็ถึงซึ่งกิเลสนิพพาน
ครั้งหลังนี้เสวยอาหารของจุนทะบุตรนายช่างทอง แล้วเราก็นิพพานด้วยขันธ-นิพพาน
คือ ดับขันธ์
อันเป็นวิบากที่ยังเหลืออยู่ ถ้าใครๆจะพึงตำหนิจุนทะ
เธอพึงกล่าวให้เขาเข้าใจตามนี้
ถ้าจุนทะพึงจะเดือดร้อนใจ เธอพึงกล่าวปลอบให้เขาหายกังวลใจเสีย
อาหารของจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้ายสำหรับเรา ”
“ อานนท์เอ๋ย พึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว
บัญญัติแล้ว
ขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว
เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่า
สิ่งทั้งปวงมีเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”

ย่างเข้าปัจฉิมยาม ณ ใต้ต้นสาละคู่แห่งกุสินารานคร
มีพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงปรินิพพานอยู่ในที่นั้นและพรั่งพร้อมด้วยพุทธบริษัท
เนืองแน่นเป็นปริมณฑลทอดไกลสุดสายตา
พระธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่า
สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์

“ บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผล
หยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยดยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใด
การสั่งสมบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้น
ผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปล้ไปด้วยบาป ”

ที่มาเป็นงานเขียน ของท่าน อ.วศิน อินทสระ
http://www.palungdham.com
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2013, 11:47:09 AM »

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด
การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้นควรเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใดก็ต้องไม่ทิ้งธรรม

มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้างเพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติภายหลังก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ "


พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
เรียบเรียงจากพระไตรปิฎก (วศิน อินทสระ)
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: