KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4วาทะแห่งธรรม มรดกจากครู
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วาทะแห่งธรรม มรดกจากครู  (อ่าน 11517 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 03, 2009, 02:12:19 PM »

โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2543 11:16:00

อยากจะให้ของขวัญปีใหม่กับพี่ๆน้องๆเพื่อนๆ ก็เลย
ลอง ไปรวบรวมวาทะคำสอนจากคุณอาหรือครูอาจารย์ของพวกเราจากกระทู้เก่าๆในลานธรรม แต่ยังไม่หมดและจาก ICQที่คุณอาสอนผมบ้าง หวังว่าของขวัญชิ้นนี้จะถูกใจญาติมิตรแห่งธรรมทั้งหลายนะครับ

-   “หนทางยังมีอยู่  ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย
     ลงมือเสียแต่วันนี้ …ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลา
     จะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไปเพราะถึงเวลา
     นั้น…
     พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทางไปอีกแสน
      นาน…"

-   “จิตนั้น ถ้าเรารู้เขาตามธรรมชาติธรรมดา เขาจะ
     พัฒนาของเขาไปเองครับ
     ถ้าเราจงใจแทรกแซง แถมไม่รู้อีกว่าแทรกแซง ก็จะไป
     ไม่ได้ครับ”

-  “ไม่มีใครทำจิตให้ถึงนิพพานได้หรอก มีแต่จิตเขาเป็นไปเองเพราะจิตเป็นอนัตตา”

-“ การภาวนาชนิดต่างๆ นั้น เราทำเพื่อล่อให้จิตรวมอยู่
ในจุดเดียวมันเหมือนเหยื่อล่อปลา(จิต) ให้เข้ามากินเบ็ด(อารมณ์กรรมฐาน)
ถ้าเหยื่อชนิดไหนไม่ถูกใจปลา คือจิตของเราแล้ว ก็อย่าไป
ใช้มันหาเหยื่อหรือกรรมฐานที่ถูกจริต จึงจะรวมจิตลงเป็นหนึ่งได้ครับ

อย่าลืมเป็นอันขาดว่า เราจะเอาปลา ไม่ได้เอาเหยื่อ”

-“เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อดับสังขารขันธ์ หรือเวทนาและ
สัญญาขันธ์แต่ปฏิบัติเพื่อจะรู้ทันความเกิดดับของมัน
ด้วยจิตที่เป็นกลางถ้าคิดจะดับมัน จิตจะเกิดความ
รำคาญใจขึ้นมาเล็กๆแบบไม่รู้ตัวครับ เรียกว่ากิเลสเกิด
ขึ้น แต่เรารู้ไม่ทัน จิตจึงไปปฏิเสธสภาพธรรมที่กำลัง
ปรากฏอยู่”

- “การที่พวกเราเริ่มสนใจการปฏิบัติธรรม
ในขณะที่พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์
นับว่าเป็นวาสนาอย่างยิ่งอยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องเสียดายว่า ไม่ได้พบครูบาอาจารย์องค์นั้น
องค์นี้เพราะเราได้พบตัวแทนพระพุทธเจ้า คือพระธรรม
อยู่แล้ว”

- “ถ้าเราเคารพพระธรรม แทนตัวบุคคล
เราก็จะไม่หวั่นไหว แม้จะมีข่าวพระไม่ดีอยู่ทุกวันๆ ก็
ตาม”

- “การปฏิบัติลำบาก และปฏิบัติสบาย ไม่เกี่ยวกับความเร็วในการรู้ธรรมบางคนทั้งลำบากทั้งรู้ช้า บางคนสบายแล้วรู้เร็ว ก็มีครับ”

- “เมื่อจิตรู้ความจริง จิตก็ปล่อยวาง ไม่เข้าไปแทรกแซงสิ่งใดคือพอเห็นอารมณ์ใดเกิดขึ้น ก็รู้ว่า "มันก็เท่านั้นเอง" "มันเป็นอย่างนั้นเอง"
เมื่อจิตรู้จักปล่อยวาง จิตก็ไม่ทุกข์มีเท่านี้แหละครับ”

- “เราปฏิบัติธรรมไม่ใช่เพื่อละกิเลส
แต่เพื่อละความเห็นผิดของจิตใจที่ไปหลงเชื่อวิ่งตามกิเลส แล้วพาทุกข์มาให้ตัวเอง
แต่ เราก็จำเป็นต้องรู้กิเลส เพราะถ้ารู้ไม่ทัน กิเลสมันจะทำพิษเอา  คือถ้ามันครอบงำจิตใจได้ มันจะพาคิดผิด พูดผิด ทำผิดแล้วจะนำความทุกข์ความเดือดร้อนมาให้”

- “ถ้ากิเลสเกิดแล้วรู้ว่ามีกิเลส
และรู้ทันจิตใจตนเองว่า มันยินดี ยินร้ายตามกิเลสหรือไม่
-มันหลง มันเผลอ มันอยาก มันยึด หรือไม่
รู้เรื่อยๆ ไป ถึงจุดหนึ่งจิตมันจะเข้าใจเองว่า
"ถ้าจิตหลงตามแรงกระตุ้นของกิเลส
แล้วเกิดความอยาก ความยึดขึ้นมาเมื่อใด ความทุกข์ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น"
จิตก็จะมีฉลาดพอ ที่จะไม่หลงกลกิเลสที่มันรู้ทันแล้วอีกต่อไป”

- ถ้าเราเป็นทุกข์เดี๋ยวนี้ ก็ต้องลงมือหาทางออกจากทุกข์เดี๋ยวนี้ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะกล่าวโทษว่า ความทุกข์มาจากคนนั้น สิ่งนั้น เพราะแท้ที่จริงแล้ว ถ้าจิตของเรานี้ไม่วิ่งออกไปหาทุกข์มาใส่ตัวความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย

- “แทนที่จะเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งแวดล้อม
   แทนที่จะเพ่งโทษผู้อื่น หรือสิ่งอื่น
   มาพากเพียรศึกษากิเลสในจิตใจของเราเองดีกว่า
   เพื่อเราจะพ้นทุกข์ได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้
   แม้สิ่งแวดล้อมจะเลวร้ายประการใดก็ตาม”

-  “ไม่มีใครทำให้เราเป็นทุกข์ได้หรอก
     นอกจากเราทำของเราเอง ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
     แล้วก็รับผลอันแสบร้อนนั้นด้วยตนเอง
     อย่างยุติธรรมที่สุดแล้ว”

- “"ปัญหา" เป็นสิ่งที่คู่กับชีวิตครับ
   แต่ "ทุกข์" เป็นสิ่งแปลกปลอม”

-  “จะนำธรรมะมาใช้ ก็ต้องรู้ชัดเสียก่อนว่า จะใช้ในเรื่องใดถ้าจะแก้ปัญหาความทุกข์ในจิตใจละก็ ใช้ธรรมะได้ครับแต่ถ้าจะแก้ปัญหา y2k โดยอยู่นิ่งเฉย แล้วบอกว่าตนมีอุเบกขาอันนั้นผิดแล้วครับ”

- “พระธรรมเป็นของร่มเย็น    บุคคลต่างหากที่เร่าร้อนเพราะอยากจะให้โลก(ผู้อื่น)เป็นไปได้อย่างใจ”

- “ธรรมะลึกซึ้ง แต่ไม่ลึกลับ   ไม่มีทางใดจะเข้าใจได้ นอกจากลงมือทำด้วยตนเอง”

- “ธรรมที่เหนือคำพูดนั้น  ดูดดื่ม ร่มเย็น แช่มชื่น
และน่าฟังกว่าธรรมที่พูดได้แจ้วๆ อย่างเทียบกันไม่ได้เลย “

- “ธรรมะภาคปฏิบัตินั้นไม่เหมือนการเรียนตามตำรา
   หรือการคาดคะเนเอาทางทฤษฎี
   ถ้าไม่เคยพบเคยเห็น ก็ตอบให้เด็ดขาดแน่นอนไม่ได้”

-“ที่จริงเราปฏิบัติไม่ใช่เพื่อเอาความรู้ แต่ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ของจิต
    โดย จิต มีปัญญา ไม่ไปยึดอารมณ์ที่กำลังปรากฏ
    ไม่ใช่โดย เรา มีความรู้”

-  “ศาสนาใด แก้ปัญหาให้ผู้ใดได้ ก็เป็นศาสนาที่ถูกสำหรับคนนั้นครับ
   จึงไม่มีเรื่องที่ว่า ศาสนาใดผิดหรือถูก หรือศาสนาใดดีกว่าศาสนาใด

    แทนที่ผู้มีศาสนาจะเถียงกันเรื่องอันไหนถูกผิด หรืออันไหนดีกว่ากัน
    น่าจะหันมาสู้กับกิเลสหรือความผิดบาปในใจตนเอง ตามหลักศาสนาของตนดีกว่า”

-   “ธรรมปฏิบัติจึงมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันมากมาย
     แต่แกนกลางเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้น
     คือการมีสติรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน”

-   “การเจริญสติที่ถูกต้อง จึงเกื้อกูลต่อปัญญา
     แล้วปัญญานั้นแหละ เป็นตัวที่ทำให้จิตบริสุทธิ์ขึ้นไปตามลำดับ”

-    “เพราะผู้ปฏิบัติจำนวนมากนั้น
      จิตกำลังหลงอยู่แท้ๆ กลับรู้สึกว่าตนกำลังเจริญสติสัมปชัญญะรู้รูปนามอยู่”

-     “ธรรมที่ท่าน(พระพุทธเจ้า)แสดงนั้น ท่านกล่าวคำไหนก็ล้วนเป็นคำนั้น
        ไม่ใช่คำเปรียบเทียบ ที่ต้องอนุมานคิดนึกตามแต่อย่างใด”

-      “ทุกวันนี้ครูบาอาจารย์ท่านแผ่เมตตากันอยู่เสมอๆ
        ถ้าเราไม่นึกถึงท่าน เอาแต่นึกถึงอาหารของกิเลส
        เราก็ไม่รู้สึกหรือสัมผัสได้ถึงความร่มเย็นในจิตใจของท่าน”

-     “อย่าไปสำคัญว่า นี่คือจิตรู้ จิตคิด จิตจำ จิตเห็น
       สิ่งเหล่านั้น เป็นการประกอบกันขึ้นของนามขันธ์เท่านั้นเองครับ
       รักษาสติ สัมปชัญญะไว้ให้แจ่มใส ต่อเนื่อง
       รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
       รูป และนาม เขาจะทำหน้าที่ของเขาไปตามเหตุปัจจัย ให้ดูต่อหน้าต่อตาทีเดียว”

-      “ทุกข์เกิดจากเหตุ ไม่มีใครดับทุกข์ได้ แต่ต้องดับเหตุ
       แห่งทุกข์
        เมื่อเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ”

ขอจบแค่นี้ก่อนนะครับไว้มีเวลาผมจะนำที่เหลือทยอยมาลงอีกครับ

โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2543 11:16:00
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 03, 2009, 02:12:58 PM »

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2543 11:20:40

อันนี้ผมแต่งเองขอให้เป็นของขวัญปีใหม่อีกชิ้นนะครับ

" หยุด หยุด หยุด แค่เพียงที่ตรงรู้
           สู้  สู้  สู้ ทำไปไร้ความหมาย
  หยุดแค่รู้ เห็นเข้าไปในใจกาย
          หาย หาย หาย หมดสิ้นแล้วความทุกข์เอย"
                                                    นายสงบ (25 ธ.ค.43)

คำว่าสู้ที่ไร้ความหมายคือการจงใจตั้งปฏิบัติแล้วไม่รู้ตัว
แบบผมเหมือนวัวกระทิง วิ่งหัวชนฝาครับ ^_^

สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าครับ

โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2543 11:20:40
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 03, 2009, 02:13:42 PM »

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2543 13:36:22

ต่อ นะครับมรดกธรรมของครูอาจารย์ท่านเยอะเหลือเกินครับ น่าเสียดายมากถ้าไม่มีใครรวบรวมครับ แล้วผมจะพยายามเอามาลงต่อนะครับ (ช่วงนี้ค่อนข้างว่างครับ
!)

- “การปฏิบัติในขั้นละเอียดไม่มีอะไรมากหรอกครับ
   มีแต่ยิบๆ ยับๆ เท่านั้นเอง
   เพราะมันไม่ได้บัญญัติ
    ก็ให้รู้มันเหมือนที่รู้อารมณ์อื่นๆ นั่นเอง
    คือรู้ด้วยจิตที่เป็นกลางจริงๆ”

- “พวกเราย่อมทำผิดกันมาแล้วทุกคน
    สิ่งใดทำผิดบาปไปแล้ว แก้ไขไม่ได้แล้ว
    ก็เพียงเอาเป็นบทเรียนที่จะสำรวมระวังต่อไป
    แต่อย่าคิดทบทวนเพ่งโทษตนเองเรื่อยๆ ไป
    เพราะจิตจะเศร้าหมองไม่มีโอกาสพัฒนาต่อไป
    สู้ปล่อยวางเสีย ตั้งใจทำกรรมดี หรือกรรมเหนือดี
    บางทีจะหนีผลของกรรมชั่วที่พลาดพลั้งทำไปแล้ว ได้ครับ”

- “เราควรรู้ทฤษฎีว่า จิตเองก็เกิดดับ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้
ไม่ใช่เรา    แต่ไม่จำเป็นต้องเรียนจนถึงวิถีจิตละเอียดยิบ
เพราะจะฟุ้งซ่านจนปฏิบัติยาก
(ถ้าจำเป็นต้องเรียนละเอียดอย่างนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้แล้วครับ)
   เมื่อรู้ทฤษฎีแล้ว ก็ควรลืมเสีย อย่าจำเอามาใช้ในเวลา
ปฏิบัติ  แล้วลงมือเจริญสติปัฏฐานจริงๆ”

-“แท้ที่จริงโลกที่ว่าใหญ่นั้น เราสัมผัสมันได้เพียงนิดเดียว
นิดเดียวจริงๆเช่นภาพของโลก ทั้งโลก ทั้งจักรวาลที่เรา
เห็นได้ก็เพียงแค่แสงสะท้อนของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น
เราไม่ได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นจริงจังอะไรเลย

เสียงที่ได้ยิน ก็เพียงความสะเทือนที่แก้วหูนิดเดียวเท่านั้น
กลิ่นในโลกมีมาก ก็ได้กลิ่นเพียงนิดเดียว
รส ก็สัมผัสได้เพียงนิดเดียว และซ้ำๆ ซากๆ
สิ่งที่มาสัมผัสทางกายแม้จะมีได้มากมาย แต่ที่มาสัมผัสเราจริงๆ ก็มีนิดเดียว

ยิ่งความคิดนึกทั้งหลาย กระทั่งคิดจะเป็นเจ้าโลก
มันก็เป็นเหมือนภาพลวงตา เหมือนความฝันที่จิตคิดปรุง
เอาไม่ได้เกี่ยวกับโลกเลย

เราสัมผัสโลกได้นิดเดียว แต่ความอยากมันมากกว่านั้น
มากนักดังนั้นชีวิตจึงเต็มไปด้วยความไม่สมอยาก
และความสามารถในการเสพย์ ของคนเรามีนิดเดียว
แต่ความต้องการเสพย์ มันไม่สิ้นสุด

เราสัมผัสโลกได้นิดเดียว โลกมันก็เป็นโลกของมันอยู่อย่าง
นั้นแต่เรากลับคิดว่า เราเป็นเจ้าของ ครอบครองอะไรๆ ตั้ง
มากมายทั้งที่กายของตนเอง ก็ครองไว้ไม่ได้จริง”

- “การที่เราดูจิตนั้น อย่าไปกังวลว่าสิ่งที่ถูกรู้จะดับหรือไม่
ดับเพราะเราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อดับสิ่งที่ถูกรู้
หากแต่ปฏิบัติเพื่อจะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏด้วยจิตใจที่เป็น
กลางจะเห็นเองว่าสิ่งนั้นแสดงไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา

อย่าไปกังวลว่าในขณะนั้นจิตจะเป็นทุกข์ แล้วพยายาม
ดับทุกข์เพราะเราไม่ได้ดูจิตเพื่อดับทุกข์
หากแต่ดูเพื่อให้รู้ความจริงว่า
ทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
ซึ่งเมื่อดูนานเข้าจะประจักษ์ชัดว่า
ทุกข์เกิดขึ้นเพราะจิตหลง / ไหล ไปยึดอารณ์นั่นเอง
เมื่อจิตรู้ความจริงแล้ว จิตก็ย้อมหาทางพ้นทุกข์ของเขา
เองเรามีหน้าที่รู้เท่านั้น

ที่จริงจิตไม่เคยว่างจากอารมณ์
แม้อารมณ์หยาบจะดับไป เช่นดูแล้วความโกรธดับไป
ความรู้สึกเฉยๆ ไม่มีอะไร ที่บางคนบอกว่า ว่างๆ
ที่เข้ามาคั่นก่อนที่อารมณ์หยาบตัวใหม่จะจรมา
อันนั้นก็คืออารมณ์อีกตัวหนึ่ง

จิตไม่เคยปราศจากอารมณ์
เราปฏิบัติก็ไม่ใช่เพื่อไม่ให้จิตรู้อารมณ์
แต่ปฏิบัติเพื่อให้จิตฉลาด
ไม่หลงอารมณ์ที่กำลังไปรู้เข้า
ที่ว่าจิตฉลาดก็คือจิตเขารู้อริยสัจจ์
คือรู้ว่า ถ้าเมื่อใดจิตอยาก จิตยึด จิตก็ทุกข์
ถ้าจิตสักแต่รู้ ไม่อยาก ไม่ยึด ก็ไม่ทุกข์

ธรรมะเป็นเรื่องง่ายๆ ครับ
อย่าไปคิดมากจนซับซ้อนเลยครับ”

- “มาร(กิเลส)นั้นกลัวว่าเราจะมีสติสัมปชัญญะ มีปัญญา
เอาตัวรอดได้มันจึงหาอะไรๆ มาล่อให้เราลืมตัว เผลอคิดเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ”

- “แต่ไม่ว่าจะปฏิบัติแนวไหน สิ่งที่ต้องเน้นที่สุดก็คือการเจริญสติสัมปชัญญะ
และถ้าเจริญสติสัมปชัญญะได้ถูกต้อง
ธรรมก็จะลงเป็นเนื้อเดียวกับที่ ความพ้นทุกข์”

- “อย่าพากันท้อถอยเสีย เมื่อได้ยินคนอื่นพูดธรรมะแล้ว
เราฟังเขาไม่รู้เรื่องเราไม่ต้องรู้อะไรเลยก็ได้  รู้แค่ว่า ทำ
อย่างไรเราจะไม่ทุกข์ก็พอแล้วเพราะนั่นคือใจความทั้ง
หมดของพระพุทธศาสนาซึ่งจำเป็นที่คนๆ หนึ่งควรจะเรียนรู้ไว้”

- “ความยากของการปฏิบัติวิปัสสนานั้น
อยู่ตรงที่ไม่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ
แต่การปฏิบัติไปปนเปื้อนด้วยความคิดบ้าง ด้วยการเพ่ง
โดยไม่รู้ตัวบ้างเรื่องเหล่านี้พูดกันเถียงกันเท่าไรก็ยากจะ
เข้าใจกันครับต้องลงมือทำกันจริงๆ แล้วเอาของจริงในจิตใจมาวิจารณ์กัน”

-“ ทางสายกลางที่เป็นพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
เป็นเรื่องที่ต้องสังเกตเอาเองว่าทำอย่างใด
อกุศลจะลดลง กุศลจะเจริญขึ้น
ส่วนกลางของจิตนั้น เหมือนกันทุกคน
คือ รู้ ที่ไม่ ปล่อยจิต ให้เพลิดเพลินยินดีไปกับอารมณ์
หรือเพ่งอารมณ์ เพื่อ บังคับจิต ให้แนบกับอารมณ์อันเดียว”

-“หากผู้ปฏิบัติพยายามรู้ตัวอย่างต่อเนื่องเข้าไว้
และมีสติสอดส่องอยู่ในกายในจิต
หรือในวงขันธ์ 5 ของตนอย่างเป็นปัจจุบัน
ก็แทบไม่มีปัญหาจะต้องถามใครอีกต่อไปแล้ว”

-“เมื่อมีศีลอันงามจนตนเองติเตียนตนเองไม่ได้แล้ว
จิตจะเกิดความอบอุ่นใจ หรือเกิดปีติก็ได้
ถัดจากนั้น จะสามารถเจริญวิปัสสนาต่อไปได้เลยครับ
คือรู้ความสงบใจ รู้ปีติสุขไปเลย ด้วยจิตที่เป็นกลาง

พระพุทธเจ้าท่านจึงรับรองธรรมที่พราหมณ์ผู้หนึ่งกล่าว
ว่าศีลขัดเกลาสมาธิ สมาธิขัดเกลาคีล
เหมือนมือขวาล้างมือซ้าย และมือซ้ายล้างมือขวา ฉะนั้น”

-“ผมศึกษาปฏิบัติธรรมมาก็เพื่อความพ้นทุกข์ครับ
เมื่อศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว ก็รู้สึกซาบซึ้งประทับใจ
อยากนำความร่มเย็นนั้นมาเล่าสู่กันฟังในหมู่ญาติมิตร
จึงอยากให้พวกเราทำใจให้ร่มเย็น เพื่อฟังธรรมอันร่ม
เย็น ที่พระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ดีแล้ว
ถ้าเริ่มศึกษาด้วยความร้อน ก็จะไม่ได้รับความซาบซึ้งในธรรมเท่าที่ควรหรอกครับ”


โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2543 13:36:22
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 03, 2009, 02:14:38 PM »

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2543 15:04:29

อิ อิ ผมคิดว่าดูดมาจนหมดลานธรรมแล้วครับ
ส่วนที่เหลือก็คือในวิมุตติ ซึ่งส่วนมากก็อยุ่ในสันติธรรม
แต่ ก็จะค่อยทยอย เอามาลงเพื่อรวบรวมสมบัติล้ำค่าของครูอาจารย์ท่านครับ ส่วนที่ท่านใดมีวาทะที่ได้จากคุณอาท่านไม่ว่าจะจากทางใด หากไม่เป็นธรรมอันเป็นการส่วนตัวแล้ว ผมก็ขอจิตเมตตาให้เอามารวบรวมที่นี้ครับ เพื่อจะได้รวบรวมวาทะธรรมอันมีค่านี้ ไว้เตือนพวกเราและเพื่อสอนคนรุ่นหลังๆครับ

-“ธรรมที่ออกจากใจนั้น ต่างจากธรรมที่ออกจากสมอง
   คือธรรมที่ออกจากสมอง อาศัยความจำและความคิด
   ประกอบกับการใช้เหตุผล
   มีเวลาเมื่อใดก็ตั้งประเด็นเอามาเขียนได้เสมอ
   ส่วนธรรมที่ออกจากใจนั้น ไม่อาศัยการจำสืบต่อกันมา
   ไม่อาศัยการคิดตาดคะเนเอา  ไม่อาศัยการใช้ตรรกะ”

- “ธรรมะนั้น ศึกษาแล้วไม่นำไปปฏิบัติ
ิ    ก็เท่ากับได้ประโยชน์จากพระศาสนาไม่เต็มที่
    ถ้ามีโอกาสก็ควรไปฝึกตนเองดูบ้าง
    จะได้ประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่าอีกด้านหนึ่งทีเดียว
- “การสนทนาธรรมตามกาลระหว่างผู้ปฏิบัติ เป็นเรื่องดี
   ครับ   และถ้าเป็นการคุยกันตามลำพัง จะใช้ภาษาอย่าง
  ใดก็ได้   ขอให้สื่อความเข้าใจกันได้ก็แล้วกัน
   แต่ถ้าจะเล่าการปฏิบัติกันในที่สาธารณะ
   ฝากให้ช่วยกันคำนึงถึงศัพท์บัญญัติหรือมาตรฐานใน
   ทางธรรมด้วยครับ   เพื่อช่วยกันรักษาความบริสุทธิ์ใน
   ธรรมของพระผู้มีพระภาคไว้ เพราะคนที่ผ่านมาอ่าน
  แบบฉาบฉวย แล้วเกิดจำธรรมะไปผิดๆ
  เช่นเกิดไปจำว่า จิตมีดวงเดียว เป็นอมตะ ไม่มีวันตาย
  (จิตเป็นอัตตา)
  อย่างนี้จะเสียหายกับพระศาสนาครับ”

-“งานกรรมฐานเป็นงานละเอียด
   ปฏิบัติไปอย่างสบายๆ ประณีต เป็นธรรมชาติธรรมดา
   อย่าไปปฏิบัติด้วยแรงจูงใจของกิเลส จนต้องวางมาด
   เป็นผู้ปฏิบัติ  แต่ถ้ากำลังจงใจ กำลังวางมาด กำลังกด
   ข่มบังคับกายและจิต ก็ให้คอยรู้เท่าทันไว้เดี๋ยวมันก็เป็น
  ธรรมดาเองแหละครับ”

-“ถ้าจะศึกษาปฏิบัติธรรม ก็มาพิจารณาเรื่องการถือศีล เจริญสมาธิและปัญญา
   แล้ววัดผลจากจิตใจตนเอง ว่าปลอดจากอำนาจของกิเลสตัณหามากขึ้นหรือเปล่า
   และทุกข์น้อยลงหรือเปล่าไม่จำเป็นต้องเอาผลหรือความรู้ ไปถกเถียงเอาชนะกับใครหรอกครับ
   เพราะผู้ปฏิบัตินั้น ชนะตนเองดีกว่าชนะคนอื่น”

- “นักปฏิบัติก็ยังกลัวเจ็บ กลัวตาย กลัวพลัดพราก
   แต่เมื่อจวนตัวเข้าจริงๆ มักจะแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
   ตรงที่มีสติสัมปชัญญะเข้าเผชิญหน้ากับอันตราย
ทุกอย่าง   ด้วยความองอาจกล้าหาญ สมเป็นศิษย์มีครูโดยอัตโนมัติ”

-“อันที่จริงการจี้ลงสู่ใจนั้น จะถึงใจได้ก็โดยอาศัยการมีสติ
สัมปชัญญะ   ถ้าปราศจากความรู้ตัวเสียแล้ว จิตก็ยังฝันทั้งที่ลืมตาตื่น   ไม่สามารถจะลืมตาตื่นจากความฝันและเห็นธรรมชาติของตนเองได้”

-  “เซ็นฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วไม่ให้หยุดอยู่ที่คำ
สอนนั้น    แต่ให้หันมาเรียนรู้ธรรมชาติของตนเอง หรือ
เรียนรู้จิตใจตนเองนั่นเอง    เพื่อการเข้าถึงพุทธภาวะด้วยการประจักษ์เอาด้วยตนเอง”

- “ถ้ารู้ทันจิตใจตนเองอย่างแจ่มแจ้ง
   ตัณหา มานะ และทิฏฐิก็แทรกเข้ามาครอบงำไม่ได้
    ขันธ์ 5 ก็จะทำงานไปตามธรรมชาติธรรมดา
    ไม่ใช่อุปาทานขันธ์ที่จะเป็นตัวทุกข์แต่อย่างใด”

- “จิตที่รู้ตัวและชื่นฉ่ำอยู่นั้น เป็นที่พักผ่อนที่สบายครับ
    ถ้าหมั่นศึกษาสังเกตมากเข้า ก็จะทำลายราคะใน
   จิตอย่างนี้ได้อีก    แล้วจิตก็จะยิ่งว่าง เบา และเบิกบาน
    ยิ่งขึ้นอีก    เพราะกิเลสที่ย้อมจิตนั้น เบาบางลงเรื่อยๆ

     การปฏิบัติมีแง่มุมซับซ้อน น่าสนุก น่าศึกษาจริงๆ
     ถ้าหา "พระ" ในจิตตนเองพบ จะประเสริฐที่สุดครับ
     ดีกว่าพบพระภายนอกสักร้อยองค์เสียอีก”

- “ถ้าพวกเราตระหนักในความเป็นลูกพ่อเดียวกัน คือพระ
   ศาสดา   ถ้าเราเคารพพระธรรมวินัย เหนือตัวบุคคล
    ถ้าเรามองตนเอง มากกว่ามองคนอื่น
    จิตใจก็จะสงบสบาย
    ไม่เสียเพื่อน และไม่เสียเวลาพัฒนาตนเองครับ”

-“ชนิดของสมาธิด้วยนะครับ
    ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ นั่งเอาสงบเคลิบเคลิ้ม
    หรือเที่ยวรู้เที่ยวเห็นร่อนเร่ออกไปภายนอก
    ก็ไม่ใช่ต้นทางของปัญญา
    แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ นั่งเพื่อความมีสติสัมปชัญญะ มี
   ความตั้งมั่นของจิต    แล้วเอาจิตนั้นไปรู้ความเกิดดับ
   ของรูปนามอย่างเป็นปัจจุบัน  ก็เป็นทางแห่งปัญญา
   ครับ”

ขอจบวาทะแห่งธรรมจากลานธรรมเพียงเท่านี้ครับ

โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2543 15:04:29
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: