KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4ดูความสงสัย แล้วจะหายสงสัยได้อย่างไร
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ดูความสงสัย แล้วจะหายสงสัยได้อย่างไร  (อ่าน 8518 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 24, 2009, 06:19:30 PM »

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 3 สิงหาคม 2543 11:02:26

กระทู้นี้ มีแรงบันดาลใจเพราะอ่านกระทู้ของคุณธีรชัย
ที่คุณธีรชัยเล่าว่า ผมมักจะแนะนำผู้สงสัยและอยากจะถามปัญหา
ให้ย้อนกลับไปดูที่ความสงสัยของตนเอง
แทนที่จะขอฟังคำตอบจากผม
มิหนำซ้ำ ผมยังกล่าวบ่อยๆ ว่า ถึงถามไปจนถึงพรุ่งนี้
ก็ยังไม่หายสงสัยในแนวทางปฏิบัติ
เพราะพอได้คำตอบเรื่องหนึ่ง ก็จะคิด แล้วต้องการคำตอบเรื่องอื่นต่อไปเรื่อยๆ
เนื่องจากคำตอบที่ได้ทั้งหมดนั้น
ไม่ช่วยให้เกิดความเข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงได้เลย

เราเข้าใจพระพุทธศาสนาไม่ได้ ด้วยการอ่านและการฟัง (สุตตมยปัญญา)
และเข้าใจไม่ได้ด้วยการคิดนึกตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
พระพุทธศาสนา เป็นความจริงที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์เดิมๆ ของเรา
จึงอยู่นอกขอบเขตที่จะคิดเข้าใจได้เอง
เพราะความคิดย่อมวนเวียนอยู่กับประสบการณ์เก่าๆ เท่านั้น
หรือฟังคนอื่น ก็ไม่ช่วยให้รู้จริงได้
เพราะเราจะตีความคำสอนทั้งปวงนั้น ไปตามประสบการณ์เก่าๆ เช่นกัน
ตรงนี้แหละที่ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า
"ธรรมเมื่อเข้าไปประดิษฐานในใจของปุถุชน ก็กลายเป็นสัทธรรมปฏิรูป"
เพราะถูกเจือปนด้วยความคิดเห็นตามประสบการณ์ดั้งเดิมนั่นเอง

เราจะเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ ก็ด้วยการภาวนา
คือการเจริญสติสัมปชัญญะให้ถูกต้องเท่านั้น

การเจริญสติสัมปชัญญะที่ถูกต้องนั้น
จะต้องรู้เท่าทันสภาวธรรมจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ด้วยจิตที่เป็นกลาง
ในทางอภิธรรมเขามีศัพท์เฉพาะว่า ให้รู้ปรมัตถ์ ไม่ใช่รู้บัญญัติ
ถ้าจะแปลเป็นภาษาคนธรรมดา ก็หมายความว่า
ให้ รู้สิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ
ไม่ใช่ คิดถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ

ผมเองในช่วงหลัง มีเวลาให้หมู่เพื่อนแต่ละท่านไม่มากนัก
เพราะเดือนหนึ่งผมไปศาลาลุงชินได้ครั้งเดียวเฉพาะวันอาทิตย์ที่ 4 ของเดือน
จึงมีเวลาให้บางท่านเพียง 5 - 10 นาทีเท่านั้น
หากผมจะอนุโลมให้แต่ละท่าน ถามคำถามที่ต้องการเสียก่อนจนพอใจ
ก็จะกระทบไปถึงท่านผู้อื่นที่จะไม่มีโอกาสพูดคุยกันเลย

ผมจึงพยายามใช้เวลาที่มีน้อยนั้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในการแนะให้หมู่เพื่อนเจริญสติปัฏฐานให้ได้ในเวลาอันสั้นที่สุด
โดยแนะให้มีสติ รู้สภาวะที่กำลังปรากฏ
และมีสัมปชัญญะ รู้ตัวไม่เผลอ ไม่ว่าจะเผลอไปเลยหรือเผลอเพ่ง
โดยยกสภาวะที่กำลังปรากฏจริงๆ ในใจของแต่ละท่านมาเป็นอุปกรณ์ทางการศึกษา

สภาวธรรมที่เกิดกันมากของผู้แรกเข้าไปศึกษาก็คือ ความสงสัย
เพราะตอนที่พบผมนั้น มักจะพกความสงสัยมาอย่างเต็มเปี่ยม

พวกเราปัญญาชนพอสงสัยสิ่งใด ก็จะคิดหาคำตอบ (จินตามยปัญญา)
หรือถ้าคิดไม่ออก ก็อยากจะถาม เพื่อหาคำตอบ (สุตตมยปัญญา)
ซึ่งก็คือการวนเวียนอยู่กับวิธีการเรียนรู้แบบโบร่ำโบราณที่ฝึกมาตั้งแต่เด็กนั่นเอง
และถ้าคิดออก หรือผมตอบคำถามให้
สิ่งที่เพื่อนจะได้ก็คือ ความจำ ไม่ใช่ ความรู้จริง
แล้วก็ยังคงเจริญสติปัฏฐานไม่เป็นอยู่เหมือนเดิมนั่นเอง

ผมจึงแนะให้รู้เข้าไปที่ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
คือรู้เข้าไปตรงความรู้สึกสงสัยนั้นเลย
ตัวความรู้สึกสงสัยนั้นแหละ คือสภาวะที่กำลังปรากฏ อันเป็นปรมัตถ์
ผมไม่ได้แนะนำให้สังเกต เรื่องที่สงสัย อันเป็นบัญญัติ

เมื่อรู้ปรมัตถ์ คือรู้เข้าไปที่ความรู้สึกสงสัยนั้น
จะพบว่า ระดับความสงสัยนั้นไม่คงที่ คือมันแสดงอนิจจังให้ดู
ดูไปสักพักมันก็ดับไป แสดงความทนอยู่ไม่ได้หรือทุกขังให้ดู
และความสงสัยนั้น มันเกิดจากเหตุ หมดเหตุมันก็ดับ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา
และมันเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้อยู่ต่อหน้าต่อตา ไม่ใช่ตัวเราสักหน่อยหนึ่ง
อันนี้มันแสดงถึงอนัตตา ให้ดู

การเห็นความเกิดดับของสภาวธรรม อย่างเป็นปัจจุบันนี้แหละ
คือการเจริญวิปัสสนา
แม้สภาวธรรมอย่างอื่นๆ ก็ให้รู้ไปอย่างเดียวกันนี้
การปฏิบัติ ไม่มีอะไรมากไปกว่า
การรู้ความเกิดดับของสภาวธรรมที่กำลังปรากฏเท่านั้น
แล้วจิตจะก้าวไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตัวของมันเอง

ถ้าเอาแต่สงสัย พอสงสัยแล้วก็อยากจะถาม
เมื่อผมแนะให้ดูความสงสัย หรือความอยากถาม ก็ไม่ยอมดู
จะขอถามเพื่อให้ได้ความรู้เสียก่อน
มิฉะนั้นจะเกิดความอึดอัดคับข้องใจ
(เมื่อเกิดความอึดอัดคับข้องใจ ผมก็แนะให้รู้ความอึดอัดคับข้องใจ
ที่ต้องสอนกันอย่างโหดเหี้ยมไม่ตามใจ ก็เพราะมีเวลาจำกัดครับ
เพราะผมแน่ใจอยู่แล้วว่า ถึงถามอย่างไรก็ไม่รู้จักแนวทางปฏิบัติจริงๆ
เนื่องจากไม่เห็นสภาวะจริงๆ ที่กำลังปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลาง)

ถึงตรงนี้ บางท่านจะงงๆ กลับไป
ส่วนมากจะไปซุ่มซ้อม เพื่อกลับมาถามใหม่
เว้นแต่ท่านที่พอสงสัยแล้ว รู้ เข้าไปที่ความสงสัยเลยทีเดียว
แบบนี้จะเข้าใจแนวทางเจริญสติในเวลาอันสั้น
เพราะรู้แล้วว่า สภาวธรรมที่ต้องรู้นั้นเป็นอย่างไร
จะรู้ได้อย่างไร และรู้แล้วเห็นไตรลักษณ์ได้อย่างไร

มาถึงข้อสรุปที่ว่า ดูความสงสัย แล้วจะหายสงสัยได้อย่างไร
ขอเรียนว่า ถ้ารู้สภาวะของความสงสัย อันเป็นความไหวลักษณะหนึ่งของจิต
ก็จะเห็นไตรลักษณ์
แต่อาจจะไม่รู้เห็น คำตอบ ในเรื่องที่อยากรู้

บรรดาคำตอบทั้งหลายนั้น ไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรกับการปฏิบัติหรอกครับ
มันมีประโยชน์แค่บรรเทาความอยากรู้ไปได้บ้าง เฉพาะเรื่องนั้น
แล้วก็เพิ่มความภูมิใจ ว่าเรานี้ช่างมีปัญญา มีความรอบรู้มากมาย
แต่ไม่ค่อยจะเห็นหรอกว่า เรากำลังขนขยะเข้าบ้าน กำลังเพิ่มงานของจิต

เราปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เพื่อความฉลาดรอบรู้เหนือคนอื่น
แต่เพื่อปลดเปลื้องจิตใจออกจากภาระ อันเป็นกองทุกข์ทั้งปวงต่างหาก
ระหว่างคนที่ฉลาด รอบรู้มาก แต่คอยเพิ่มสิ่งปนเปื้อนให้จิต
กับคนที่รู้จักปลดเปลื้องจิตออกจากทุกข์ (แต่อาจไม่รู้อะไรมากไปกว่า เกิดกับดับ)
ใครจะฉลาดกว่าใคร ก็ไม่แน่เหมือนกันนะครับ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 3 สิงหาคม 2543 11:02:26
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 24, 2009, 06:20:30 PM »

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน พฤหัสบดี ที่ 3 สิงหาคม 2543 13:04:19

ตราบใดที่ยังเฝ้าอ่าน ฟัง และคิดเอา เพื่อจะให้หายสงสัย
เราก็จะได้แต่ความรู้จอมปลอม เพราะแก้ทุกข์ไม่ได้
ความรู้แบบนี้ไม่มีอะไรที่น่ายึดน่าเอา
เพราะเป็นเพียงสิ่งสิ่งหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเท่านั้น

หากแต่ว่าความรู้ที่ยังจำเป็นต้องมี  ควรเป็นความรู้ที่มีเพื่อ
ที่จะใช้เป็นเครื่องมือ สำหรับหาทางพ้นไปจากทุกข์เท่านั้น
แต่ไม่จำเป็นต้องมีอย่างชนิด เหลือใช้  เพราะเพียงมีความรู้ว่า
นี่ทุกข์
นี่เหตุให้เกิดทุกข์
นี่ความดับลงของทุกข์
นี่วิธีทำให้ทุกข์ดับลง
ทุกข์นี้ เราควรกำหนดรู้
เหตุให้เกิดทุกข์นี้ เราควรกำหนดละวางเสีย
ความดับลงของทุกข์นี้ เราควรทำให้แจ้ง
วิธีทำให้ทุกข์ดับลงนี้  เราควรเจริญยิ่งๆขึ้นไป
เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับการปฏิบัติธรรมแล้วครับ

ที่กล่าวมานี้  ผมไม่ได้บอกให้หยุดให้เลิกอ่านหนังสือ
หรือเลิกฟังธรรมะ หรอกนะครับ  เพียงแค่จะบอกว่า
เมื่ออ่านเมื่อฟังธรรมะ  ก็ให้อ่าน ให้ฟัง ด้วยความรู้ตัว
ด้วยจิตที่เป็นกลาง  และที่สำคัญคือ
...อย่าอ่าน อย่าฟัง เพื่อให้หายสงสัย...
หากเกิดความสงสัย ก็ให้ดู ให้รู้ ความสงสัยนั้น
อย่างที่ครูเฝ้าตักเตือนอยู่เสมอๆ ครับ


โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน พฤหัสบดี ที่ 3 สิงหาคม 2543 13:04:19
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: