KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4ทุกข์ของนักปฏิบัติ
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ทุกข์ของนักปฏิบัติ  (อ่าน 10647 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2009, 02:10:43 PM »

ณ มวยวัด วัน พฤหัสบดี ที่ 23 ธันวาคม 2542 18:54:33

สมัยหนึ่ง ณ เชตวันวิหาร พระมหากัสสปะทูลถามพระศาสดาว่า "อะไรหนอเป็นปัจจัย เมื่อสิกขาบทยังน้อย ภิกษุทั้งหลาย ดำรงอยู่ในอรหัตตคุณมาก แต่เมื่อสิกขาบทบัญญัติมากขึ้น ผู้ดำรงอยู่ในอรหัตตคุณกลับน้อยลง"
พระศาสดาตรัสว่า "ดูก่อนกัสสปะ ! เมื่อสัตว์กำลังเสื่อม สัทธรรมกำลังอันตราทาน สิกขาบทแม้มาก ผู้ดำรงอรหัตตคุณก็น้อย ดูก่อนกัสสปะ ตราบใดที่สัทธรรมปฏิรูปคือ ธรรมปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลก สัทธรรมแท้ก็ยังไม่อันตรธาน
"ดูก่อนกัสสปะ !  อะไรอื่นเป็นต้นว่า ปฐวีธาตุหาได้ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมได้ไม่ แต่สิ่งที่ทำให้พระสัทธรรมเสื่อม คือ โมฆบุรุษที่เกิดขึ้นในศาสนานี้เอง
"กัสสปะ ! สิ่งที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่อความอันตรธานแห่งพระสัทธรรม มีอยู่ ๕ ประการคือ บริษัท๔ ไม่เคารพยำเกรงพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษาและสมาธิ ส่วนธรรมอีก ๕ ประการ ซึ่งมีนัยตรงกันข้ามนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความมั่นคงแห่งพระสัทธรรมโดยแท้" ...

จากหนังสือ  ผู้สละโลก โดยวศิน อินทสระ

ที่ผมยกข้อความในหนังสือนี้ขึ้นมา ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีธรรมกาย หรือ เหตุการณ์ใดๆที่เป็นเรื่องน่าห่วงต่อพระศาสนาในขณะนี้ แต่เป็นเพราะหลายครั้งหลายคราว รู้สึกอึดอัด เครียดต่อการปฏิบัติเป็นอย่างมาก จนรู้สึกเหมือนคนที่ต้องเดิน แต่เดินแล้วมันไม่รู้จะเดินไปทางใหนเพราะมันเหมือนลานกว้างๆ เนื่องจากไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป ก็ได้แต่ทู่ซี้ ทำซ้ำๆไปเรื่อยและในการปฏิบัติของผมเองนั้น คราวใดเมื่อคิดว่า"ฉันต้องรีบ" เท่านั้นแหละ กรอบล้อมรอบสารพัดก็จะประดังเข้ามาในจิตใจแบบอัตโนมัติ แน่นอนครับ ความตึงเกินไปมันไม่ดี แต่ไม่รู้จะทำยังไง เกิดเป็นชีวิตนี้กลัวก็กลัว แต่ก็ไม่อยากกลับมาเกิดอีก
จะบวชก็ไม่ได้ จะหลีกเร้นไปปฏิบัตินานๆก็ไม่ได้อีกเพราะฉะนั้นทางเดียวคือ เร่งปฏิบัติให้มากที่สุด จนกลายเป็นตึงเกินไป แล้ววันที่เริ่มรู้ตัวว่าตึงเกินไปก็มาถึง คือ เริ่มปวดหน้าผากแรกๆก็ยังไม่เท่าไรคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ผ่านไประยะนึงมันชักจะมากเกินไป มันชักจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ แทบจะตลอดเวลาเลยก็ว่าได้ ทีนี้ก็เลยต้องมาทบทวนกันใหม่ว่าทำไม เพราะเวลานั้นยังไม่รู้หรอกว่าตัวเองตึงเกินไป
เวลาที่ทบทวนก็ไม่มีอะไรมาก ก็รู้ตัวว่า ปวด พอปวดมากก็เอามือกด แล้วก็ตั้งคำถามโดยไม่เอาคำตอบว่า "ทำไมถึงปวด" แล้วก็ตั้งสติรู้ต่อไป  ผลเหรอครับ ปวดหนักขึ้นไปอีก เพราะมัวแต่ไปสนใจกับความปวด
ทีนี้มาเอะใจก็ตรงที่ ทำไมเวลาที่ทำงานอื่นๆไม่เห็นปวดเลย จะมาปวดก็ตอนที่"ปฏิบัติ"นี่แหละ สิ่งเดียวที่ทำได้ คือ "คิด" เพราะสติผมยังไม่แข็งแรงพอที่จะสู้แบบเอาเป็นเอาตาย(ขืนสู้แบบนั้นสงสัยตาย ก่อน: ) ) ก็คิดทบทวนไปเรื่อย หลายวัน ก็เริ่มระแคะระคายว่า เออ เรานี่มันตึงเกินไปนี่ พูดอีกอย่างหนึ่งคือ มันเวอร์เกินเหตุ และพอรู้อย่างนี้จึงค่อยๆผ่อนคลายกฏระเบียบต่างๆที่ตั้งไว้กับตัวเองลงบ้าง ปล่อยให้จิตใจเป็นอิสระบ้าง ความปวดก็ค่อยๆคลายลงไปเรื่อยๆ และเมื่อ 2-3 วันก่อนหน้านี้ ก็ได้หยิบหนังสือนิยายธรรมะขึ้นมาอ่าน จนถึงท่อนที่กล่าวข้างบนนี่แหละ อ่านแล้วรู้สึกว่า เออ ตรงกับเราเหมือนกันนี่นา เพราะไอ้ความที่เร่งและตั้งกฏระเบียบจนเกินไปก็เลยทำให้ลืมอะไรบางอย่างไป นั่นก็คือ ลืมถามตัวเองไปว่า จะเร่งปฏิบัติไปใหน จิตเขาก็ต้องการอิสระบ้าง เอาแต่เร่งและล้อมกรอบกันแบบนี้มันก็แย่ละสิ
และที่สำคัญการเร่ง ปฏิบัติอย่างไม่รอบคอบแล้วส่วนใหญ่มันก็พลาดตั้งแต่เริ่มนั่นแหละ คือ”ความอยาก”ที่จะปฏิบัติมันหลอกลวงต้มตุ๋นเราเสียเสร็จสรรพเรียบร้อย นี่แหละหนา “ทุกข์ของนักปฏิบัติ”

ขอบคุณคำถามจากคุณ : มวยวัด ครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 04, 2009, 02:11:12 PM »

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 07:27:05
คราวหนึ่งผมเห็นท่านอาจารย์สุจินต์
เดินจงกรมอยู่ที่สวนปทุมภาวนาของท่านอาจารย์ทิวา
แดดเผาท่านจนเกรียมดำไปทั้งองค์
ผมก็เรียนท่านว่า หลวงพี่ปฏิบัตินี่ ลำบากมาก ทุกข์มากนะครับ
ท่านยิ้มๆ ตอบว่า "นักปฏิบัติทุกข์ เพื่อจะพ้นทุกข์
ส่วนชาวโลก แสวงหาความสุข เพื่อจะต้องได้รับทุกข์"

บางคราวนักปฏิบัติเราก็ต้องเร่งความเพียรแบบเอาชีวิตเข้าแลก
ถ้าเปรียบเทียบกับพระพุทธรูป ก็เหมือนพระอู่ทอง
คือพระพักตร์เคร่งเครียด แสดงให้เห็นว่า ธรรมะเป็นเรื่องจริงจัง

แต่การปฏิบัติจะเร่งความเพียรตลอดเวลาก็ไม่ได้
บางครั้งเราก็ต้องพัก ดำเนินจิตเข้าสู่ความละเอียดบ้าง
เวลาดำเนินจิตอย่างนั้นเราจะรู้สึกว่า
ธรรมะเป็นของโปร่ง ว่าง บางเบา สงบสุข และเรียบง่าย
ถ้าเปรียบเทียบกับพระพุทธรูป ก็เหมือนพระสุโขทัย
ที่การย่างพระบาทเหมือนจะย่างไปในอากาศ
และปราศจากรอยพระบาท เหมือนรอยเท้านกในอากาศ

บางคราวการปฏิบัติธรรมก็นำความร่าเริงมาให้
เราอาจจะเบิกบานด้วยการพิจารณาธรรม ด้วยการสนทนาธรรม
หรือด้วยวิหารธรรมภายหลังการกรำศึกจนได้รับชัยชนะแล้ว
ถ้าเปรียบเทียบกับพระพุทธรูป ก็เหมือนพระเชียงแสน
ซึ่งแสดงว่า ธรรมเป็นเครื่องอิ่มเอิบใจ

นักปฏิบัติแต่ละคน หนีไม่พ้นสภาพทั้ง 3 ประการนี้
จะเอาอยู่อย่างเดียวไม่ได้แน่ ต้องรู้จักพลิกแพลงผ่อนหนักผ่อนเบา

หากการเปรียบเทียบประพุทธรูป ยังให้ภาพกับพวกเราบางคนไม่ชัด
เพราะไม่ชำนาญในเรื่องพุทธลักษณะ
ผมจะขอเปรียบเทียบลักษณะของครูบาอาจารย์ให้พวกเราดู

หลวงปู่เทสก์ จะเป็นสัญลักษณ์ของความชุ่มชื่น สงบ เบาบาง
ท่านงามเหมือนพระสุโขทัย
หลวงปู่เหรียญ จะเป็นสัญลักษณ์ของความอิ่มเอิบ
ท่านงามเหมือนพระเชียงแสน
ส่วนหลวงตามหาบัวนั้น เป็นสัญลักษณ์ของธรรมที่แสดงว่า
ธรรมะเป็นเรื่องจริงจัง ต้องสู้กันจนกิเลสหรือเราจะตายกันไปข้างหนึ่ง
ท่านก็งามแบบพระอู่ทอง

แต่นั่นเป็นเพียงรูปลักษณ์ภายนอกที่เราเห็นเท่านั้น
อันที่จริง ทุกองค์ ทุกท่าน ต่างก็ผ่านอาการของจิตทุกรูปแบบมาแล้วทั้งสิ้น
เพราะการปฏิบัตินั้น จะเดินปัญญาลุยแหลกหรือเร่งความเพียรตลอดเวลา
ธาตุขันธ์ก็รับไม่ไหว
จะเข้าฌานสมาบัติ หาความสงบสุขเบาบางอย่างเดียว
ก็ไปไม่รอด
จะอิ่มเอิบเบิกบานในผลที่ได้รับแล้ว แล้วหยุดอยู่เพียงนั้น
ก็ไปไม่พ้น

รักจะเป็นนักปฏิบัติ
จะต้องมีโยนิโสมนสิการเป็นเพื่อนคู่ใจ
จะเอาแรงเข้าหักอย่างเดียว ไม่ได้หรอกครับ
บางวัน เราก็รู้สึกว่า เราทุกข์กับการปฏิบัติเสียเหลือเกิน
บางวัน เราก็รู้สึกว่า เรามีความสุขมากเหลือเกิน
บางวัน เรารู้สึกว่า ชุ่มชื่นร่าเริงในธรรมเสียเหลือเกิน
ถ้าปฏิบัติแล้วทุกข์ตลอด สุขตลอด หรือร่าเริงตลอด
ก็ต้องลองโยนิโสมนสิการให้มากหน่อย
เพราะนั่นไม่ใช่อาการปกติ ของคนที่ยังต้องเดินทางไกล

โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 07:27:05
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 04, 2009, 02:14:55 PM »

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ พัลวัน วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 08:59:02
วันก่อนที่สวนแสงธรรม หลวงตาบัวท่านว่าไว้

"เราอยู่ในพระธรรมวินัยนี้ ก็เหมือนติดคุก ติดตั้งแต่วันแรกเลย จนถึงวันนี้ก็ 65 ปี แล้ว...."

"เราเป็นนักปฎิบัติ ก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะการปฎิบัตินั้นแหละ โลกเขาก็ทุกข์นะ แต่เขาไม่รู้ ส่วนเราทุกข์เพื่อให้พ้นทุกข์...."

โดยคุณ พัลวัน วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 08:59:02
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 07:38:03 PM »

ตราบใด ไม่มีสัมมาทิษฐิ  แล้วไซร์ 
 ;Dย่อมไม่มีการเริ่มต้นเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: