KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4การกำหนดสติในทุกๆอิริยาบทของครู
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: การกำหนดสติในทุกๆอิริยาบทของครู  (อ่าน 13615 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2009, 01:54:40 PM »

ถามเรื่องการปฏิบัติมาหลายครั้งแล้ว ตอนนี้เกิดความอยากรู้
ขึ้นมาอย่างหนึ่งคือ
ในวันหนึ่งๆ ครูกำหนดสติรู้ในลักษณะอย่างไร
เช่น เวลายืน,เดิน,นั่ง,นอน,ฟัง,คิด,พูด,ทำงาน,**นอน**,ฯลฯ
ที่เน้นอักษรช่วงหลังเพราะเป็นอิริยาบทโดยส่วนใหญ่ของคนทำงานทั่วไป
เลยอยากรู้ว่าครูกำหนดอย่างไร เพื่อจะได้นำมาเป็นแนวทาง หรือเครื่อง
กระตุ้นเตือนต่อไปน่ะครับ

โดยคุณ ธีรชัย วัน พุธ ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 09:10:33
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 25, 2009, 02:05:09 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2009, 02:04:45 PM »

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2544 14:12:35

ไม่เห็นน่าสงสัยเลยครับคุณเก๋
ผมบอกพวกเราอย่างไร ผมก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน

อาชีพของพวกเราชาวเมือง ส่วนมากเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความคิด
และต้องติดต่อกับผู้คนมากมายในแต่ละวัน
จึงต้องพูด ต้องถกเถียง ต้องเจรจาต่อรองชิงไหวชิงพริบ
ดังนั้นการเจริญสติจะทำให้ต่อเนื่องเหมือนคนที่ใช้แรงกายไม่ได้
เพราะการรู้ กับการคิด คือสองสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

การปฏิบัติของผู้มีอาชีพต้องคิด จึงต้องจำแนกเป็นสองส่วน
ยามใดไม่มีงานต้องคิด ในขณะนั้นให้เจริญสติให้เต็มที่ไปเลย
เช่นในระหว่างตื่นนอน อาบน้ำ กินข้าว นั่งรถ ลงเรือ เข้าห้องน้ำ ฯลฯ
ก็ให้มีสติในขณะนั้น จะรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรม ก็ได้
แล้วแต่ถนัด หรือแล้วแต่จิตจะไปรู้เข้า
ผมก็ปฏิบัติอยู่อย่างนี้แหละครับ
แต่ส่วนมากเมื่อมีสติ จะรู้จิตและธรรมเป็นเครื่องอยู่
ยามเผลอสติ (ซึ่งเกิดบ่อยมาก แบบถี่ยิบทีเดียว)
หากเกิดการขยับตัวสักนิดหนึ่ง หรือตากระทบรูปใหม่ๆ สักรูปหนึ่ง
ก็จะเกิดความรู้ตัวขึ้นโดยอัตโนมัติ

ในยามที่ต้องใช้ความคิด ในการฟัง คิด พูด ทำงาน
สติจะต้องจดจ่อเข้ากับความคิด หรือเรื่องราวต่างๆ นั้น
เพราะจิตมีธรรมชาติรู้อารมณ์ได้ทีละอย่างเท่านั้น
แต่คราวใดที่ใช้ความคิดแล้ว เกิดอกุศล หรือกุศลขึ้นมาในจิต
สติจะระลึกรู้อกุศลหรือกุศลนั้นเป็นอัตโนมัติ
เมื่อจิตเข้าสู่ความเป็นกลางแล้ว ก็คิด หรือทำงานต่อไป

ผมมีปกติไม่ชอบพูด แต่โดยอาชีพทำให้ต้องพูด
หรือเวลาไปศาลาลุงชิน เดิมไปเพื่อนั่งฟังธรรมเงียบๆ
เดี๋ยวนี้กลับต้องไปพูดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องน่าเหนื่อยหน่าย
แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องพูดก็พูดไปตามหน้าที่
และพอพูดมากๆ ดูจิตพวกเรามากๆ อันเป็นการส่งจิตออกนอก
ก็จะกลับเข้าพักในสมาธิเป็นระยะๆ ไปตามโอกาสครับ

ส่วนเวลานอนก็คือเวลานอน
ผมไม่เจริญวิปัสสนาอะไรทั้งนั้น
แต่จะปล่อยจิตให้ตกภวังค์ไปเลยเพื่อการพักผ่อน
ผมไม่นิยมขยันปฏิบัติในเวลาพักผ่อน
และไม่ชอบพักผ่อนในเวลาที่ควรปฏิบัติ
เพราะเวลาพักผ่อน เป็นเวลาที่เรามีหน้าที่สมควรพักผ่อน
เช่นเดียวกับเวลาทำงานที่มีหน้าที่ทำงาน
และเช่นเดียวกับเวลาอื่นๆ ที่เรามีหน้าที่เจริญสติ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2544 14:12:35
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2009, 02:06:19 PM »

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 08:13:16

ผู้หัดเจริญสติใหม่ๆ อย่าไปหัดตอนขับรถนะครับ
บางคนเกิดอุบัติเหตุมาแล้ว เพราะเจริญสติไม่ถูก
คือไปทำแบบสมถะ จนจิตขาดความว่องไวในการตัดสินใจ

ความรู้ตัวนั้น ไม่มีหนักหรือเบาหรอกครับ
ถ้ารู้ตัวแล้วรู้สึกเบาหวิว อันนั้นยังเป็นอาการของจิตครับ

สำหรับการเลียนแบบการปฏิบัตินั้น เลียนกันได้แต่รูปแบบ
ส่วนการดำเนินของจิต เลียนแบบกันไม่ได้หรอกครับ
ถ้าดูรูปแบบแล้วเลียนรูปแบบก็อาจจะอันตรายมาก
เคยมีลูกศิษย์บางคนไปกราบเรียนหลวงปู่เทสก์ว่า
เขาจะเลิกนั่งสมาธิและเดินจงกรม เพราะเห็นว่าผมไม่ค่อยทำอย่างนั้น
เขาไปเห็นเพียงรูปแบบภายนอกเท่านั้นครับ
เขายังไม่ทราบว่า ทุกย่างก้าวที่มีสติก็คือการเดินจงกรม
ทุกลมหายใจเข้าออกที่มีสติ ก็คือการเจริญอานาปานสติ

หรืออย่างพวกเราหากไปเลียนแบบคุณสุรวัฒน์
ที่ไม่ค่อยนั่งสมาธิหรือเดินจงกรม
ถ้าดำเนินจิตได้อย่างคุณสุรวัฒน์ก็ปฏิบัติไปได้
แต่ถ้าดำเนินจิตไม่ได้ แล้วยังไม่เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอีก
ก็เห็นจะลำบากครับ

บางคนถนัดนั่ง บางคนถนัดเดิน บางคนถนัดเคาะนิ้ว
กระทั่งถนัดปฏิบัติในอิริยาบถนอนก็ยังมีนะครับ แต่มีน้อยราย
บางคนถ้าอดนอนผ่อนอาหารแล้วภาวนาดี
บางคนต้องนอนพอประมาณ รับประทานพอสมควรแล้วภาวนาดี
บางคนถนัดปฏิบัติกลางวัน บางคนถนัดกลางคืน
บางคนชอบที่โล่ง บางคนชอบป่าโปร่ง ป่าทึบ ชอบถ้ำ ชอบเขา
สิ่งเหล่านี้เลียนแบบกันไม่ได้
ต้องดูตนเองว่าทำแบบไหน ที่ไหน แล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลเสื่อมไป
แต่จุดสำคัญอยู่ที่การเจริญสติสัมปชัญญะให้เป็นครับ
ถ้าทำไม่เป็น ไปอยู่ที่ไหน จะกินจะนอนอย่างไหน จะปฏิบัติแบบไหน
ก็ล้วนแต่ไม่ได้ผลทั้งนั้นครับ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 08:13:16
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2009, 02:06:44 PM »

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 11:16:32

เรื่องการตกภวังค์นั้น แม้ผู้ไม่ปฏิบัติ
จิตก็ตกภวังค์อยู่เสมอๆ ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
แต่ตามความหมายของคุณเก๋
คงหมายถึงการที่จิตรวมสงบเข้าพักเงียบอยู่ภายใน
เมื่อถอนออกมาแล้ว ก็มีความแช่มชื่นผ่องใส

ถ้าถามว่าจะมีผลเสียหายต่อการปฏิบัติหรือไม่
ก็ต้องตอบว่า การตกภวังค์แบบนั้นมีทั้งผลดีและผลเสียครับ
ผลดีก็คือ ผู้ที่เจริญสติเป็นแล้ว เมื่อเจริญสติไปช่วงหนึ่ง จิตก็จะมีที่เข้าไปพักผ่อน
พอมีกำลังแช่มชื่นแล้ว ก็ออกมาเจริญสติต่อไปอีก
ด้วยจิตที่ตั้งมั่น นุ่มนวล ผ่องใส และปราดเปรียว
หากใครเจริญสติอย่างเดียว ไม่เคยพักสงบเลย
การปฏิบัติก็แห้งแล้งไปหน่อย บางทีจิตก็ด้านๆ รู้อย่างทื่อๆ
ซึ่งไม่ใช่จิตที่พร้อมจะเจริญสติจริง

ดังนั้น การที่ให้จิตมีที่พัก ในเวลาสมควรพัก จึงเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์
และในเวลาที่เจริญสตินั้น จิตก็ต้องเข้าพักเป็นระยะๆ ไปเหมือนกัน
บางคนเข้าพักสั้นมากจนไม่รู้ตัวก็มี เหมือนกับว่าจิตมันหยุดไปแวบหนึ่งเท่านั้น
และเมื่อเจริญสติจนเต็มที่แล้ว
จิตก็จะรวมเข้ามาเป็นภวังค์ แล้วเกิดมรรคเกิดผลต่อไป

สำหรับผลเสียก็มากครับ คือส่วนมากของนักปฏิบัติ
พอจิตรวมสงบลงแล้วก็เกิดความพอใจในความสุขสงบนั้น
แล้วไปนอนแช่ราคะหรือโมหะอยู่อย่างสบายใจ
ไม่มีความสนใจที่จะเจริญสติรู้อารมณ์ด้วยจิตที่เป็นกลาง
กลายเป็นจิตขี้เกียจขี้คร้าน ไม่เจริญปัญญา หาความเจริญในธรรมไม่ได้
ถ้าติดอย่างนี้แล้ว พอนั่งก็รวมวูบเงียบไปเลย
แบบนี้แก้ยากครับ เพราะมักจะเสียดายสภาวะของตนจนไม่ยอมแก้ไข

เมื่อไม่นานมานี้ ผมพบแม่ชีองค์หนึ่ง เป็นชาวออสเตรเลีย
เธอก็ชอบความสุขสงบแบบนี้เหมือนกัน
แล้วบอกว่าการเจริญสติที่ผมแนะนำให้นั้นยากเกินไป
ขอทำความสงบไปก่อนดีกว่า โดยหวังว่าเมื่อจิตมีกำลังแล้ว
จะสามารถออกมาเจริญสติได้ต่อไป
ผมก็แหย่ไปว่า ติดสงบมาหลายสิบปีแล้ว ต้องใช้เวลาอีกเท่าไรจึงจะพอ
แต่เธอไม่ทราบหรอกครับว่า จะทำอีกเท่าไหร่ก็ไม่พอ
ถ้าไม่ใจเด็ดหันมาเจริญสติจริงๆ

ส่วนผู้เจริญสตินั้น ก็ไม่จำเป็นต้องน้อมไปหาความสงบ
เพราะจิตเขาย่อมน้อมเข้าไปเป็นคราวๆ อยู่แล้ว
แต่หากรู้สึกอ่อนล้า จิตใจแห้งเหือด
ก็ค่อยเข้าหาความสงบเป็นครั้งคราวไป


โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 11:16:32
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2009, 02:07:15 PM »

ความเห็นที่ 21 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อาทิตย์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544 06:13:39

ปฏิบัติผิดในแบบหลงติดสมถะ มักจะสดชื่น ไม่ล้าหรอกครับ
แต่ถ้าปฏิบัติผิดแบบเพ่ง บังคับจิตใจตนเอง แบบนี้มักจะล้า และเครียด
ส่วนการปฏิบัติที่ถูก คือมีสติ สัมปชัญญะ เรื่อยไปนั้น
ถ้ายังไม่ชำนาญก็ล้าได้ครับ เพราะจิตถูกปลุกให้ตื่นทั้งที่เคยหลับมาตลอด
แต่ถ้ารู้ตัวจนเป็นปกติแล้ว จะสดชื่นครับ
แต่ถึงกระนั้น พอรู้ตัวไปนานๆ เข้าก็ล้าได้เช่นกัน
เพราะจิตเองก็แสดงความไม่เที่ยงออกมาเหมือนกัน
เมื่อเจริญแล้วก็ต้องเสื่อมเป็นธรรมดา
อย่างนี้ก็ต้องเข้าพักบ้างครับ ไม่ใช่ไม่เอาสมถะเสียเลย
เป็นการเอากำลังอย่างที่คุณหมอกล่าวนั่นแหละ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อาทิตย์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544 06:13:39
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2009, 02:07:36 PM »

ความเห็นที่ 22 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อาทิตย์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544 06:20:38

ผมใช้วิธีนี้ครับคุณหมอ
ตอนที่เริ่มปฏิบัติอย่างเป็นพิธีการ เช่นเดินจงกรมตอนค่ำๆ
หรือตอนที่รู้สึกล้าๆ ก็ได้
ผมจะเดินอย่างเป็นสมถะเสียก่อน คือเอาจิตจดจ่อสบายๆ อยู่ที่กาย
สักครู่พอมีกำลัง จิตก็ถอนตัวขึ้นมาเอง มาเป็นผู้รู้ผู้ดู
ก็เจริญสติสัมปชัญญะต่อไปเลยทีเดียวในอิริยาบถเดิมคือเดินนั่นแหละครับ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อาทิตย์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544 06:20:38
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2009, 02:08:01 PM »

ความเห็นที่ 23 โดยคุณ อี๊ด วัน อาทิตย์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544 21:22:27

ขอเรียนถามครับ
1เรื่องกามกิเลส
ผมไปอยู่พักวัดป่าบ้านตาดพบเหตุการณ์บางอย่าง
ผมสังเกตตัวเองพบว่าวันแรกๆกิเลสกาม(ความกำหนัด)
มีกำลังมาก(เหมือนกับมันมาทดสอบเรา)ผมพยายามใช้
กำลังสมถะเข้าข่มไว้ก็จะระงับชั่วคราวได้
แต่พอเผลอหรือกำลังนอนหลับมันก็ออกทำงานอีก
คุณอามีวิธีแนะนำ(รับมือกับกามกิเลส)อย่างไรบ้างครับ

2ติดสุขในสมาธิ
ผมว่า..ผมค่อนข้างจะติดสุขในสมาธิเป็นเอาหนักเหมือนกัน
ผมสังเกตตอนนั้งสมาธิ จิตจะรวมตัวเร็วมากแล้วเงียบหายไปเป็นชั่วโมงๆ
หรือเดินจงกรมแล้วใช้ความสุขภายในเป็นตัวเลี้ยงอารมณ์จะเดินได้นานมากๆ
แต่ถ้าจะเดินแบบไม่ให้จิตหนีออกจากกาย มันจะเดินได้ไม่นานมันจะเบื่อหน่าย
แล้วหันไปเดินแบที่เราถนัด


3ถือตัวสำคัญตนว่าได้สำเร็จขั้นนั้นขั้นนี้
ผมสังเกตบางครั้งอยู่เฉยๆจิตจะนึกเอาเองว่า
เราปฏิบัติมาได้ขั้นนั้นขั้นนี้แล้วโดยคิดเปรียบเทียบเอาบ้าง
หรือมีนิมิตมาบอกอย่างนั้นอย่างนี้บ้าง
คุณอามีวิธีตรวจสอบหรือมีอุบายสอนตัวเองอย่างไรบ้างครับ

โดยคุณ อี๊ด วัน อาทิตย์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544 21:22:27
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2009, 02:08:26 PM »

ความเห็นที่ 24 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 15:05:52

วิธีรับมือกับกิเลสกามที่ง่ายที่สุด
ก็คือเลิกความคิดที่จะต่อต้านมัน
แล้วหันมาดูมันด้วยจิตที่เป็นกลางๆ ครับ
กิเลสนั้น ถ้าเราพยายามต่อต้านมัน มันก็ยิ่งพยายามต่อต้านเรา
ดังนั้น ถ้ามันมาใหม่ คราวนี้ท้ามันเลยครับว่า
ขอเชิญคุณกามอยู่นานๆ นะ ผมจะนั่งดูให้สบายใจไปเลย
ขอให้อยู่ให้ได้สัก 7 วัน 7 คืนนะครับ

กิเลสก็เหมือนพายุ ยิ่งต้านยิ่งมีอำนาจทำลาย
ปล่อยใจให้เป็นต้นหญ้าไปเลยครับ
พายุอยากพัดได้สักแค่ไหนก็ช่าง
ฉันอยู่ของฉันนิ่งๆ ไม่ต่อต้านเธอหรอก
ไม่นานพายุก็ไปครับ

สำหรับเรื่องติดสุขในสมาธิ ก็มันน่าติดนี่ครับ
ถ้าเข้าสมาธิแล้ว รู้เท่าทันราคะ ที่แฝงตัวอยู่กับจิต
เท่านี้ก็ไม่ติดแล้วครับ เพราะจิตเขาไม่อยากนอนแช่กิเลสหรอกครับ

ถ้านิมิตมาบอก หรือคิดอนุมานเอาว่าได้ธรรมชั้นนั้นชั้นนี้
ก็หัวเราะใส่มันไปเลยครับ
แล้วสอนตนเองว่า เราปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์
ไม่ใช่เพื่อจะเอาป้ายยี่ห้อว่าเป็นพระอริยะชั้นนั้นชั้นนี้
ถ้ายังทุกข์อยู่ตราบใด ก็จะขอเจริญสติต่อไปไม่หยุดยั้งครับ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 15:05:52
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: