KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไรความทุกข์ไม่ต้องดับ มันหมดเหตุมันดับของมันเอง
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทุกข์ไม่ต้องดับ มันหมดเหตุมันดับของมันเอง  (อ่าน 22985 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2007, 04:14:02 PM »



ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.wimutti.net

วิภัชชวิธี (ถอดคำสอนหลวงพ่อปราโมทย์ Mar09,2003)

หลักการย่อของศาสนาพุทธ (การศึกษาในศาสนาพุทธ;) ก็คือ การจับแยกองค์ประกอบ เป็นวิธีของพุทธ เห็นอะไรสักอย่างก็จับแยกเข้าไป แต่เป็นการแยกโดยการเข้าไปประจักษ์ในสภาวะ ไม่ใช่โดยวิธีคิด
อย่างพระป่า ท่านแยกกาย อย่างเราทีแรก แยกรูป แยกนาม แยกร่างกายกับจิต อย่างกายนี่ท่านก็มาแยกต่อ กายประกอบด้วยอาการ32 ผมก็ไม่ใช่คน ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ก็ไม่ใช่คน สักชิ้นหนึ่ง ไม่มีคนอยู่ในนั้น ในเบื้องต้นบางทีท่านใช้ความคิดก่อน พอคิดแล้วจิตมีสมาธิมีกำลังพอ จิตมันเดินของมันเอง นี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง

อย่างที่อาตมาทำ ไม่ได้แยกกาย แต่แยกจิต ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว เกิดก็แยกไปเลย อันนี้ถูกรู้หมด มีแต่ของถูกรู้ ในที่สุดก็เห็น สุข ทุกข์ ดี ชั่วไม่มีตัวตน จิตก็ไม่มีตัวตน ไปลงอันเดียวกัน
สิ่งที่ประกอบเป็นตัวเรามีห้าอย่าง ถอดออกไปซะ ดึงจิตออก ที่เหลือมันก็ไม่เป็นตัวตน ดูลงไปในรูป รูปก็ไม่ใช่ตัวตน เวทนา สัญญา สังขาร มันแยกออกจากจิต แต่ละอย่างเป็นของถูกรู้หมด สี่ขันธ์แรกก็ไม่เป็นตัวตนในขณะที่เรารู้สึกตัว เหลือแต่จิต เราจะรู้สึกว่าเราเป็นคนดู มีเราอยู่คนหนึ่ง มีเราเป็นนักปฏิบัติอยู่คนหนึ่ง ร่างกายไม่ใช่เราแล้ว ความรู้สึกต่างๆไม่ใช่เรา แต่มีเราเป็นคนดูอยู่ ฝึกมากเข้ามากเข้า วันหนึ่งความคิดของเราขาด ความเป็นตัวเราของจิตใจก็จะไม่มี ความเป็นตัวเราของจิตเกิดจากความคิดเท่านั้นเอง
ดังนั้นวิธีปฏิบัติมีหลากหลาย แต่หลักการก็คือหลักการจำแนกรูปนามขันธ์ห้า

.. เวลาเราลงมือปฏิบัติเราไม่เผลอไปเท่านั้นแหละ ใจเราอย่าไหลไป อย่าลืมตัว อย่าเผลอยาว พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา สติปัญญามันจะทำงานได้ แต่ถ้าเราลืมตัว เราก็จะไหลไปในความคิด ได้แต่ความคิด ไม่เห็นความจริง พอเรารู้สึกตัว เราจะค่อยๆเห็นแล้ว ความสุขมาความสุขก็ไป ความทุกข์มาแล้วก็ไป ร่างกายเคลื่อนไหวเป็นส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว มันแยกส่วนกัน

พอเรารู้สึกตัวได้ ขันธ์เริ่มกระจายตัวออก ถ้ายังรู้สึกตัวไม่ได้ ก็จะเห็นขันธ์รวมเป็นก้อนเดียว ขันธ์ห้ารวมกันเป็นก้อนเดียวกันหมดเป็นตัวเราขึ้นมา พอเริ่มรู้สึกตัวได้ เราจะเริ่มเห็นมันกระจาย โยมเห็นแล้วใช่ไหม .. ร่างกายเหมือนก้อนอะไรก้อนหนึ่งเคลื่อนไหวไปได้ ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว เหมือนอะไรอย่างหนึ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เราจะเริ่มเห็น เห็นมากเข้ามากเข้า วันหนึ่งใจเรายอมรับความจริง มันยอมรับความจริงเพราะมันยอมจำนนต่อข้อเท็จจริง มันเห็นหนะ เห็นซ้ำๆ เห็นทุกวัน ซ้ำๆ ว่าทุกอย่างเกิดขึ้นมาแล้วดับหมดเลย ในที่สุดใจมันยอมรับ ฉับพลันนั้นก็คือการบรรลุโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล คนที่ว่าเป็นพระโสดาๆก็คือ คนที่ไปรู้ความจริงว่าสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นมานั้น ดับหมดเลย
ในขันธ์ห้าที่กระจายออกไป แต่ละขันธ์มันเกิดดับให้เราดูได้ แต่ถ้าเป็นตัวเราทั้งตัวทั้งก้อน มันดูเกิดดับไม่ออก มันก็เอ๊ะ ไอ้คนนี้แหละมันยืนอยู่ เดี๋ยวมันก็เดินไปทางโน้น ไอ้คนเก่ามันเดิน มีตัวมีตนของเราถาวร แต่ถ้ามีสติสัมปัชชัญญะ ดูลงไป เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหว ไม่ใช่เราเคลื่อนไหว เห็นอารมณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหว ผ่านเข้ามา ผ่านออกไป ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่จิตใจของเรา

ดังนั้นหัวใจของการปฏิบัติอยู่ที่เราต้องมีความรู้สึกตัว รู้สึกตัวได้ก็เห็นขันธ์ห้ากระจายออกไป รู้สึกตัวไม่ได้ก็เหลือหนึ่ง คือเหลือตัวกูนั่นแหละ

ไปดูเอา เข้าใจไม่ได้ด้วยการฟัง ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่พิลึกมากเลย ฟังอย่างไรก็ไม่ได้เรื่อง แต่ก็ต้องอาศัยการฟัง เพราะเราตรัสรู้เองไม่ได้ ฟังเสร็จแล้วก็ต้องไปนั่งดูเอา แยกรูปนามเอา จะเห็นรูปนามของตัวเองจริงๆ ถึงจะรู้ว่าไม่มีตัวตนจริงๆ

การปฏิบัติมันไม่ใช่เหมือนอย่างว่า ต้องทำงานชิ้นสำคัญ ทำโปรเจคเสร็จก่อนถึงได้กำไร การปฏิบัติไม่ได้ลำบากขนาดนั้น ไม่ใช่ว่าต้องทุกข์ทรมานไปนานๆ แล้วก็ประสพความสำเร็จแล้วจึงมีความสุข ทันทีที่รู้สึกตัวก็เริ่มมีความสุขได้แล้ว ทันทีที่จิตใจไม่ถูกอารมณ์ครอบงำก็มีความสุข เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีความสุข มีความโปร่ง มีความเบามากขึ้นๆ การมีสติสัปปัชญญะมีความสุขตั้งแต่ปัจจุบันเลย ทำทุกวันมีความสุขไปเรื่อยๆ

ถ้าทำแล้วรู้สึกทุกข์ๆทุกวันเลยนะ ทำผิดแล้ว ที่ทำผิดก็คือ เกิดความโลภ เกิดตัณหา อยากปฏิบัติ อยากปฏิบัติก็พยายามบังคับใจตนเอง ก็ทุกข์แล้ว หากมีความรู้สึกตัว ไม่เผลอ ไม่หลงไป ความทุกข์เกิดไม่ได้ ปฏิบัติแล้วความทุกข์เกิดไม่ได้ ไม่ใช่ปฏิบัติแล้วดับทุกข์นะ

ความทุกข์ไม่ต้องดับ มันหมดเหตุมันดับของมันเอง

+++++++++++++++++++++++++++++++++
+ กระผมขอน้อมนำไปปฏิบัติ น่ะครับ golfreeze[at]packetlove.com   ยิ้มเท่ห์
+++++++++++++++++++++++++++++++++
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2009, 01:35:54 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 11:33:17 PM »

สำคัญที่ว่า
ยากจังที่จะรู้ว่า เค้า เกิด ดับ นะซี

เพราะ มันเพลิดเพลิน ไปเรื่อยๆ
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2012, 12:50:54 PM »

และ เรา มักจะไม่รู้ ว่า

ขันธ์ 5

*
กาย เวทนา จิต และธรรม(อารมณ์)

ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ นั้นเป็นทุกข์อีกด้วย

ตามบทสวดมนต์ อนัตตลักขณสุตตังที่ พระพุทธองค์ ตรัสว่า
รูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)มิใช่ตัวตน ก็ถ้าหากว่ารูปเป็นตัวตนแล้วไซร์ รูปจักไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
อีกทั้งยังจักได้ตามความปราถนาในรูปว่า รูปของเราจงเป็นเช่นนี้เถิด อย่าได้เป็นเช่นนั้นเลย
----
---
และ พระองค์สรุปว่า
1.สิ่งใดที่เปลี่ยนแปลง  เป็นทุกข์
 
**
2.สิ่งใดที่เปลี่ยนแปลง  เป็นทุกข์ ควรหรือหนอที่เราจะยึดมั่นถืดมั่น ว่า นั่น เป็นของๆเรา  เป็นเรา หรือเป็นตัวตนของเรา(ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า)
 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: