KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าวันสำคัญต่างๆทางพระพุทธศาสนาวันมาฆบูชา โอวาทปาฏิโมกข์ สำคัญอย่างไร แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร สวดมนต์บทไหน
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วันมาฆบูชา โอวาทปาฏิโมกข์ สำคัญอย่างไร แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร สวดมนต์บทไหน  (อ่าน 68700 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2008, 11:15:37 AM »


พระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน


 วันมาฆบูชา เดิมเรียกว่า วันมาฆปุณณมี หมายถึง วันที่พระจันทร์เพ็ญเต็มดวงในเดือนมาฆะ ส่วนมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งวันมาฆบูชานี้ เราทราบกันว่า เป็นวันที่พระภิกษุ ๑๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และมีเหตุอัศจรรย์พร้อมกัน ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต การประชุมพร้อมกันด้วย องค์ ๔ และในวันนี้ พระพุทธเจ้าทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเราถือกันว่า เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา     



ความสำคัญ

             วันมาฆบูชา ประกอบด้วยเหตุสำคัญ ๓ ประการ คือ
     ๑. เป็นวันที่พระสารีบุตร บรรลุอรหัตผล ที่ถ้ำสุกรขาตา หลังจากบวชได้ ๑๕ วัน
     ๒. เป็นวันประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ถึง ๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประกาศหลักการ วิธีการ อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา
     ๓. พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระอัครสาวก คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
         ส่วนใหญ่เราจะทราบกันแต่เพียงว่า เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต พระสงฆ์มาประชุมกัน ๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ จึงควรทราบเพิ่มเติมดังนี้

          พระ พุทธองค์ ทรงเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปยังพระวิหารเวฬุวัน หลังจากที่ทรงแสดงธรรมโปรด ทีฆนขปริพาชก แล้ว ซึ่งพระสารีบุตร ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ด้วยพระธรรมเทศนานั้นเช่นกัน พระพุทธองค์เสด็จมายัง พระวิหาร ทรงประชุมพระสาวก ซึ่งมีมหาสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
        
    ๑. วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร (ดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนมาฆะ)
    ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันตามธรรมดาของตน โดยมิได้ นัดหมาย
    ๓ .พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖ ไม่มีแม้ สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกะ
    ๔. พระสงฆ์เหล่านั้น เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้า ทรง อุปสมบทให้ทั้งสิ้น


พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

โอวาทปาฏิโมกข์ - โอสารณา

โอวาทปาติโมกข์

ความหมายของคำว่า ปาติโมกข์


        คำว่า ปาตี ได้แก่ การตกไป เช่น การตกไปในสังสารวัฏ การตกไปในกิเลส การตกไปในห้วงความทุกข์ และอบายทั้งหลาย ดังนั้น ปาตี จึงเป็นชื่อของปุถุชน ทั้งหลายผู้ตกไปในสังสารวัฏ กิเลส ความทุกข์ และอบายทั้งหลาย
        คำว่า โมกฺข ได้แก่ การหลุดพ้น เครื่องหลุดพ้น ซึ่งหมายถึง นิพพาน

         เพราะฉะนั้น คำว่า ปาติโมกข์ จึงแปลว่า ความหลุดพ้นจากกิเลส และความทุกข์ทั้งหลาย รวมความว่า โอวาทปาติโมกข์ จึงได้แก่ คำสอน เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์

ประเภทของปาติโมกข์
        ปาติโมกข์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
        ๑. อาณาปาติโมกข์ คือ สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติ เพื่อเป็นขอบเขตแก่ภิกษุ และภิกษุณีทั้งหลาย หลักธรรมที่ว่า สำรวมในพระปาติโมกข์ หมายถึง อาณาปาติโมกข์ นี้
        ๒. โอวาทปาติโมกข์ คือ โอวาททั้งหลายที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน ๓ มีโอวาทว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ เป็นต้น
        อาณาปาติโมกข์นั้น พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ และพระสาวกทั้งหลายย่อมสวดแสดงทุกกึ่งเดือน ส่วนโอวาท ปาติโมกข์นั้น พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงแสดง


โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่
พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุ
วนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),

คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ

แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ



การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่ง
นอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

โอวาทวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องให้โอวาทแก่นางภิกษุณี เป็นต้น, เป็นชื่อวรรคที่ ๓ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์
พระวินัยปิฎก

โอวาทานุสาสนี คำกล่าวสอนและพร่ำสอน, คำตักเตือนและแนะนำพร่ำสอน

โอษฐ์ ปาก, ริมฝีปาก

โอสารณา การเรียกเข้าหมู่, เป็นชื่อสังฆกรรมจำพวกหนึ่ง มีทั้งที่เป็นอปโลกนกรรม (เช่น การรับสามเณรผู้กล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งถูกนาสนะไปแล้วและเธอกลับตัวได้) เป็นญัตติกรรม (เช่น เรียกอุปสัมปทาเปกขะที่สอนซ้อม
อันตรายิกธรรมแล้วเข้าไปในสงฆ์) เป็นญัตติทุติยกรรม (เช่น หงายบาตรแก่คฤหัสถ์ที่กลับตัวประพฤติดี) เป็นญัตติ
จตุตถกรรม (เช่นระงับนิคหกรรมที่ได้ทำแก่ภิกษุ)

กิจกรรมของชาวพุทธ

กิจกรรมของชาวพุทธในวันมาฆบูชา
       ๑. เว้นอบายมุขทุกประเภท
       ๒. ตักบาตร ทำบุญ ให้ทาน
       ๓. สมาทานศีล รักษาศีล ๕ ศีลอุโบสถ
       ๔. ฟังพระธรรมเทศนาโอวาทปาติโมกข์
       ๕. ปฏิบัติกรรมฐาน
       ๖. เวียนเทียนกระทำประทักษิณรอบสัญญลักษณ์พระรัตนตรัย เพื่อน้อมระลึกถึงจาตุรงคสันนิบาต และการแสดง โอวาทปาติโมกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 12, 2015, 03:06:11 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
magicmo
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 2
***

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 1
กระทู้: 124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 09:52:32 AM »

ขอบคุณมากๆคับ
บันทึกการเข้า

เครื่องกรองน้ำชั้นเยี่ยม crane สะอาด ปลอดภัย เหล็กปลอกราคาถูกลวดผูกเหล็ก คุณภาพดี cctv
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 10:53:10 AM »



เพิ่มเติมครับ

โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาติโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล
คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน
 เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด 20 พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง "อาณาปาติโมกข์" แทน)
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 10:54:41 AM »

จาตุรงคสันนิบาต (อ่านว่า จาตุรงคะ-) แปลว่า การประชุมพร้อมกันแห่งองค์ 4

จาตุรงคสันนิบาต หมายถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 อย่างในวันเดียวกัน คือเกิดในสมัยพุทธกาลในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ซึ่งต่อมาถือกันว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า วันมาฆบูชา เหตุการณ์ 4 อย่าง คือ

1.    พระสงฆ์ 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
2.    พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
3.    พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ คือผู้ได้อภิญญา 6 ข้อ
4.    วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)

ซึ่งในโอกาสนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์
 อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาอีกด้วย
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
adsadapong
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 2
กระทู้: 14



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 07:12:15 PM »

สาธุ
บันทึกการเข้า
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2014, 09:26:47 AM »



๙ เดือนหลังการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันเพ็ญเดือน ๓
เป็นวันพระจันทร์เต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์ เมื่อ ๒,๖๐๑ ปีมาแล้ว มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่
พระอรหันตขีณาสพ ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ

โดยมิได้นัดหมายกัน พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖ และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทแบบเอหิภิกขุ
โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันมาฆะนี้พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์
ในที่ประชุมท่ามกลางพระอรหัตสาวก ซึ่งเป็นทั้งหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม
 มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละบาปกรรมความชั่วทุกชนิด ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์

ประวัติความเป็นมาวันมาฆบูชา
ในสมัยพุทธกาล หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้ นัดหมาย
๓. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
๔. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจาก พระพุทธเจ้า
เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต และในโอกาสนี้ พระพุทธเจ้า ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา

การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย
พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่า"จาตุรงคสันนิบาต" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการ ประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบ การสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใสการประกอบพิธีมาฆบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อน

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและ วัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุด ธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมี สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์ จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและ ภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับ วันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้าง เช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้ เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อย ๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบัน มีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๓ หากปีใด เป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔



ขอบพระคุณ ภาพประกอบฝีมือศิลปินแห่งชาติ อาจารย์จักรพันธุ์ โปรษยกฤต
และข้อมูลจาก FB: ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2014, 11:11:32 PM »



วันนี้วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ตรงกับวันพระใหญ่ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ นอกจากเป็น “วันมาฆบูชา”
อย่างที่ทุกท่านทราบกันแล้ว ยังเป็นวันคล้าย “วันบรรลุอมฤตธรรมของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเจ้า” อีกด้วย

ซึ่งวันเวลาผ่านมาแล้ว ๒,๖๐๑ ปี (วันมาฆบูชา เหตุเกิดหลังวันตรัสรู้ วิสาขบูชา ๙ เดือน ฉะนั้นวันวิสาขบูชาปี ๒๕๕๗ นี้ จะครบ ๒,๖๐๒ ปี)
พระสารีบุตรมหาเถระเจ้าผู้เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระสงฆ์ทั้งปวงในด้านสติปัญญา
นอกจากนี้ พระสารีบุตร ยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย
จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "พระธรรมเสนาบดี" คู่กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็น "พระธรรมราชา" จึงขอน้อมนำ
 พระประวัติอรหันตสาวก พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรมหาเถระเจ้า
มาเผยแผ่เพื่อน้อมมาเป็น ธรรมานุสติ สังฆานุสติ จนถึงมรณานุสติ ให้ได้พิจารณากันนะครับ

ประวัติพระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตร พระมหาเถระเจ้า

สถานะเดิม

พระสารีบุตรเมื่อแรกเกิดมีชื่อว่า "อุปติสสะ" เป็นบุตรของนางพราหมณี ชื่อ "สารี" และนายพราหมณ์
ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านอุปติสคามแห่งตำบลตำบลนาลกะ หรือตำบลนาลันทา ชื่อ "วังคันตะ" คำว่า "อุปติสสะ"
หมายความว่า ชาวบ้านอุปติสคาม อุปติสสะนั้นมีน้องชายสามคน คือ พระจุนทะ พระอุปเสน พระเรวัตตะ
และมีน้องสาวอีกสามคน คือ นางจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ในวันเดียวกับที่นางพรามหณ์สารีให้กำเนิดอุปติสสะนั้น
ยังเป็นวันที่ครอบครัวข้างเคียงให้กำเนิดบุตรชื่อว่า "โกลิตะ" หรือต่อมาคือพระมหาโมคคัลลานะ อีกด้วย
ครอบครัวของนางพราหมณีสารีนั้นมีความมั่งคั่งสมบูรณ์พร้อมมูลพอ ๆ กับครอบครัวของโกลิตะ
นิสัยใจคอของทั้งอุปติสสะและโกลิตะก็คล้ายคลึงกัน ท่านทั้งสองได้คบหาและเล่าเรียนด้วยกันมาแต่เล็ก ๆ จนเติบใหญ่
นอกจากนี้ ครอบครัวของทั้งสองก็ยังคบหาสมาคมกันมาแต่ชั่วบรรพบุรุษ ทั้งสองจึงเป็นเพื่อนรักกันอย่างยิ่ง

การออกจากเพศฆราวาส

วันหนึ่ง อุปติสสะและโกลิตะไปเที่ยวเล่นในงานรื่นเริงประจำปีในกรุงราชคฤห์ ขณะชมมหรสพอยู่นั้นก็เกิดความสลดใจขึ้นมาอย่างเดียวกันว่า กิจกรรมเหล่านี้ช่างไร้สาระสิ้นดี หาประโยชน์แก่นสารมิได้เลย ควรจะหาสิ่งใดเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและหลุดพ้นจากบ่วงเช่นนี้
อีกสองวันจึงพากันไปบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก ณ กรุงราชคฤห์นั้นเอง และสำเร็จการศึกษาในสำนักนั้นโดยใช้เวลาเพียงสองสามวัน
เมื่อจบแล้วก็ออกจากสำนัก แต่ยังไม่พึงพอใจเพราะเห็นว่าความรู้จากสำนักนั้นหาใช่ที่ตนค้นหาไม่
จึงตกลงแยกกันไปตามหาครูผู้สามารถสอนความจริงของโลกให้ประจักษ์ได้อย่างแท้จริง
และสัญญากันว่าถ้าใครเจอครูเช่นว่าแล้วก็จะมาบอกกันมิได้อำพราง

บรรลุโสดาบันและบวชในพระพุทธศาสนา

พระอัสสชิอันเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ หลังจากได้ฟังธรรมจาก พระพุทธองค์ จนบรรลุอรหันต์แล้ว วันหนึ่งท่านถือบาตรและจีวร
 ไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตแต่เช้าตรู่ อุปติสสะได้พบพระอัสสชิเถระ ประทับใจในอิริยาบถน่าเลื่อมใส สำรวมดี ของท่านพระอัสสชิเถระ
ผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว จึงเกิดความคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์ จึงได้ตามท่านพระอัสสชิเถระไปข้างหลัง รอคอยโอกาสอยู่ แล้วสอบถาม

พระอัสสชิเถระได้แสดงความลึกซึ้งในคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า “..ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียดทุกอย่าง
เป็นเครื่องฆ่าลูกศร คือ ตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความทุกข์ทั้งมวล ว่าธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า
ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้..”


เมื่ออุปติสสะได้ฟังก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน

หลังจากนั้น อุปติสสะกราบลาพระอัสสชิเถระ แล้วนำธรรมะที่ได้รับฟังมา ไปบอกเพื่อนสนิทคือโกลิตะ จนได้บรรลุโสดาบัน
เช่นเดียวกัน ทั้งสองได้ไปชวนสัญชัยปริพาชก ให้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่สัญชัยปริพาชกปฏิเสธ ทั้งสองจึงได้พาปริพาชก ๒๕๐ คน
ไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์ หลังจากฟังธรรมครั้งนั้น ปริพาชก ๒๕๐ คนบรรลุอรหัตผล แต่อุปติสสะและโกลิตะ
ยังคงบรรลุเพียงโสดาบันเช่นเดิม พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งหมดด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ภายหลังบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านอุปติสสะมีชื่อเรียกใหม่ว่าสารีบุตร

การบรรลุอรหันต์

เวลาผ่านไปครึ่งเดือน (หลังจากที่พระสารีบุตรบวชในพระพุทธศาสนา) ที่ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชกูฏ นครราชคฤห์
พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระสารีบุตร ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลาน (ลุง) พระสารีบุตร เข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลถามปัญหา
 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับ ทิฏฐิและเวทนา ทีฆนขะได้บรรลุโสดาบัน ส่วนพระสารีบุตรนั้น
ท่านกำลังถวายงานพัดพระพุทธองค์ ท่านได้ยินธรรมเหล่านั้นอยู่ด้วย ก็บรรลุอรหัตผล


ทรงเป็นผู้เลิศทางปัญญา

หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ จำพรรษาและแสดงอภิธรรม ณดาวดึงส์ เสด็จลงมา ณประตูเมืองสังกัสสะ พระสารีบุตรพร้อมทั้งภิกษุ ภิกษุณี และสาธุชนจำนวนมาก มาเฝ้ารอรับเสด็จ

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถามปัญหาในวิสัยของปุถุชนเป็นต้น พวกปุถุชนแก้ปัญหาได้ ในวิสัยของตนเท่านั้น
ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระโสดาบันได้ พระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน
ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น พระมหาสาวกที่เหลือ
ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะไม่ สามารถจะแก้ปัญหา
ในวิสัยของพระสารีบุตรเถระได้ แม้พระสารีบุตรเถระ ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน
ในครั้งนั้น มหาชนจึงได้รู้จักพระสารีบุตร ว่า เป็นผู้เลิศทางปัญญา “..พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามากฯ..”

ในด้านคุณความดีของพระสารีบุตรเถระเจ้า

พระสารีบุตรท่านมีคุณความดีที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องไว้มากมาย ขอยกมาเฉพาะบางเรื่องที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้

๑.พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่า เป็นผู้มีปัญญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตด้วยกัน ตัวอย่างครั้งหนึ่งที่กรุงเทวทหะ
ภิกษุพากันเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ทูลลาจะไปปัจฉาภูมิชนบท พระองค์ตรัสให้ไปลาพระสารีบุตร เพื่อท่านสารีบุตรจะได้แนะนำสั่งสอน
ในการไปของพวกเธอ จะได้ไม่เกิดความเสียหาย

๒.ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นคู่กับพระมหาโมคคัลลานะ เช่น ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายคบกับสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ... สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนม
ผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วนั้น สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบนสูงกว่านั้น
ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่า พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา และพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย

๓.มีคำเรียกยกย่องพระสารีบุตร อีกอย่างหนึ่งว่า พระธรรมเสนาบดี ซึ่งเป็นคู่กับพระบรมศาสดาว่า พระธรรมราชา

๔.พระสารีบุตรเป็นผู้มีปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนา คือ ชี้แจงแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน

๕.ท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที พึงเห็นตัวอย่างได้จาก เมื่อท่านได้ฟังธรรมเทศนาที่พระอัสชิแสดง ได้ธรรมจักษุแล้วมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาท่านก็นับถือพระอัสสชิว่า เป็นอาจารย์ทำการเคารพอยู่เสมอ แม้ได้ยินข่าวว่าพระอัสชิอยู่ในทิศใด เมื่อท่านจะนอน
ท่านจะนมัสการไปทางทิศนั้นก่อน แล้วนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น อีกตัวอย่างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรยังราธพราหมณ์ให้อุปสมบท
เพราะระลึกถึงคุณที่ราธพราหทณ์ ได้ถวายบิณฑบาตแก่ท่านเพียงทัพพีเดียว

๖.ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ท่านพระสารีบุตรพิจารณาเห็นว่าอายุสังขารจวนจะสิ้นแล้ว ปรารถนาจะไปโปรดมารดา (คือ นางสารี)
ที่ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ เมื่อท่านไปถึงบ้านเดิมแล้ว ได้เกิดปักขันทิกาพาธขึ้นในคืนนั้น ในเวลาที่พระสารีบุตรกำลังอาพาธอยู่นั้น
ท่านได้เทศนาโปรดมารดา จนนางสารีได้บรรลุโสดาบัน คืนนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนสิบสอง พระสารีบุตรก็ปรินิพพานในห้องที่ท่านเกิด
รุ่งขึ้นพระจุนทะ (ผู้เป็นน้อง) ได้ทำฌาปนกิจสรีระพระเถรเจ้า เสร็จแล้วเก็บอัฏฐิธาตุ นำไปถวายพระบรมศาสดา
ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี พระพุทธองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ บรรจุอัฏฐิธาตุของพระสารีบุตร ไว้ ณ ที่นั้น
การที่บุตรได้ชักนำบุพการี ให้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ จนได้มรรคผล นับเป็นการตอบแทนคุณอย่างยอดเยี่ยม

นิพพาน

พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรมหาเถระเจ้า ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ที่บ้านเกิดของท่าน
ในช่วงเช้าตรู่ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนกฤติกา (เดือนสิบสอง) ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงของบ้านเรา

เชิญอ่านพุทธโอวาทบางตอน ประวัติปฏิปทาพระอรหันตสาวก พระสาวิกา และสามเณรอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ได้ที่ลิงค์ครับ
https://www.facebook.com/thindham/media_set?set=a.592972097420002.1073741872.100001216522700&type=1



ขอบพระคุณ ภาพประกอบฝีมือศิลปินแห่งชาติ อาจารย์จักรพันธุ์ โปรษยกฤต
และข้อมูลจาก FB: ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2016, 01:03:51 PM »



วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ตรงกับวันพระใหญ่ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ นอกจากเป็น “วันมาฆบูชา” อย่างที่ทุกท่านทราบกันแล้ว ยังเป็นวันคล้าย “วันบรรลุอมฤตธรรมของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเจ้า” อีกด้วย ซึ่งวันเวลาผ่านมาแล้ว ๒,๖๐๓ ปี (วันมาฆบูชา เหตุเกิดหลังวันตรัสรู้ วิสาขบูชา ๙ เดือน ฉะนั้นวันวิสาขบูชาปี ๒๕๕๙ นี้ จะครบ ๒,๖๐๔ ปี ; อ้างอิง ท่องถิ่นธรรม) พระสารีบุตรมหาเถระเจ้าผู้เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระสงฆ์ทั้งปวงในด้านสติปัญญา นอกจากนี้ พระสารีบุตร ยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "พระธรรมเสนาบดี" คู่กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็น "พระธรรมราชา" จึงขอน้อมนำ พระประวัติอรหันตสาวก พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรมหาเถระเจ้า มาเผยแผ่เพื่อน้อมมาเป็น ธรรมานุสติ สังฆานุสติ จนถึงมรณานุสติ ให้ได้พิจารณากันนะครับ

ขอบพระคุณข้อมูลจาก : FB พี่เอ ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน และ เว็บ http://www.kammatan.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2016, 01:06:11 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: