KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับพระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์พระอภิธรรมปิฏกเจตสิกปรมัตถ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เจตสิกปรมัตถ ประกอบด้วยอะไรบ้าง  (อ่าน 44901 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 27, 2009, 12:08:34 PM »

เจตสิกปรมัตถ

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส

เจตสิก ๕๒


เจตสิกที่เป็นสาธารณ มี 13 ดวง


เจตสิกที่เป็น อกุศล มี 14 ดวง



เจตสิกที่เป็นกุศล มี 25 ดวง




  เจตสิกปรมัตถนี้ ตามพระอภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้นั้น ท่านจัดเป็นปริจเฉทที่ ๒ ให้ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค อันแปลว่าส่วนที่รวบรวมเรื่องเจตสิก

             เจตสิกสังคหวิภาคนี้ ท่านประพันธ์ไว้เป็นคาถาสังคหะรวม ๒๕ คาถา ดังจะแสดงตามลำดับต่อไปจนครบ
    ทั้ง ๒๕ คาถา

เจตสิกคืออะไร

             เจตสิกคือธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น
             อาการที่ประกอบกับจิตนั้น เรียกว่า เจโตยุตฺตลกฺขณํ คือมีสภาพที่ประกอบกับจิต บริบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔
     ประการคือ

                        เอกุปฺปาท                        เกิดพร้อมกับจิต
                       เอกนิโรธ                          ดับพร้อมกับจิต
                       เอกาลมฺพณ                       มีอารมณ์เดียวกับจิต
                        เอกวตฺถุก                         อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

             ดังมีคาถาสังคหะที่ ๑ แสดงว่า
             ๑. เอกุปฺปาทนิโรธา จ                         เอกาลมฺพณ วตฺถุกา
               เจโตยุตฺตา ทฺวิปญฺญาส                    ธมฺมา เจตสิกา มตา
                แปลความว่า สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต และมีวัตถุที่อาศัยเกิดก็เป็นอัน เดียวกับจิต ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง


             เจตสิกมี ลักษณะ ( คือคุณภาพหรือเครื่องแสดง ) , รสะ ( กิจการงาน หรือหน้าที่ ) , ปัจจุปัฏฐาน ( อาการ
    ปรากฏ หรือ ผล ) , ปทัฏฐาน ( เหตุใกล้ให้เกิด ) เป็น ๔ ประการ ซึ่งรวมเรียก ลักขณาทิจตุกะ นั้น ดังนี้

             จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ                              อาศัยจิตเกิดขึ้น เป็นลักษณะ
             อวิโยคุปฺปาทนรสํ                              เกิดร่วมกับจิต เป็นกิจ
             เอกาลมฺพณปจฺจุปฏฺฐานํ                      รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต เป็นผล
             จิตฺตุปฺปาทปทฏฺฐานํ                           มีการเกิดขึ้นแห่งจิต เป็นเหตุใกล้

             อนึ่งเจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตประพฤติเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด

เจตสิกทั้ง ๕๒ แบ่งเป็น ๓ ประเภท

             เจตสิกทั้งหมด มีจำนวน ๕๒ ดวง ซึ่งแต่ละดวงก็มีลักษณะแตกต่างกัน ไม่เหมือนกันเลย ถึงกระนั้นก็ยังแบ่งเจตสิก ๕๒ ดวงนี้ ได้เป็น ๓ ประเภท ดังมีคาถาสังคหะ แสดงว่า

             คาถาสังคหะที่ ๒ แสดงว่า
             ๒. เตรสญฺญสมานา จ                      จุทฺทสากุสลา ตถา
               โสภณา ปญฺจวีสาติ                      ทวิปญฺญาส ปวุจฺจเร ฯ
                 แปลความว่า เจตสิก ๕๒ ดวง จัดเป็น ๔ ประเภท คือ
                 อัญญสมานาเจตสิก               ๑๓ ดวง
                 อกุศลเจตสิก                      ๑๔ ดวง
                 โสภณเจตสิก                      ๑๕ ดวง


อัญญสมานาเจตสิก

             อัญญสมานาเจตสิก เป็นเจตสิกที่เสมอเหมือนกับสภาพอื่นได้ หมายความว่าเป็นเจตสิกที่ประกอบกับธรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล หรือเป็นอพยากตะได้ทุกชนิด เมื่อประกอบกับธรรมชนิดใด ก็มีสภาพเป็นชนิดนั้นไปด้วย กล่าวคือถ้าเกิดร่วมกับ อกุศลก็นับเป็นอกุศลไปด้วย ถ้าเกิดร่วมกับกุศล ก็จัดเป็นกุศลไปด้วย เมื่อเกิดร่วมกับอพยากตะ ก็เรียกว่าเป็นอพยากตะไปด้วย
             อัญญสมานาเจตสิก มีจำนวน ๑๓ ดวง ชื่ออะไรบ้าง มีแจ้งอยู่ที่หน้าต้นนั้นแล้ว ในจำนวน ๑๓ ดวงนี้ ยังจัด
    ออกได้เป็น ๒ พวก คือ
             สัพพจิตตสาธารณเจตสิก        มีจำนวน ๗ ดวง
             ปกิณณกเจตสิก                  มีจำนวน ๖ ดวง

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก

             สัพพจิตสาธารณเจตสิก เป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่จิตทั้งหมดหมายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวน
    นับอย่างย่อ ๘๙ ดวง หรือนับอย่างพิศดารก็มี ๑๒๑ ดวงนั้น เมื่อจิตดวงใดเกิดขึ้น เจตสิกทั้ง ๗ ดวงนี้
    ย่อมเกิดประกอบกับจิตนั้นพร้อมกันทั้ง ๗ ดวงเสมอไป ไม่มีเว้นเลย ดังนั้นจึงว่าเป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่
    จิตทั้งหมด สมกับชื่อที่ว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก         

    สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง มีดังนี้


ผัสสเจตสิก

             ๑. ผัสสเจตสิก คือ การกระทบอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

             ผุสนลกฺขโณ                          มีการกระทบอารมณ์ เป็นลักษณะ
             สงฺฆฏฏฺนรโส                        มีการประสานอารมณ์ วัตถุ วิญญาณ เป็นกิจ
             สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺฐาโน               มีการประชุมพร้อมกัน เป็นผล
             อาปาถคตวิสยปทฏฺฐาโน             มีอารมณ์ปรากฏ เป็นเหตุใกล้

             ความหมายของผัสสเจตสิกนี้ ไม่ได้หมายเพียงแต่ว่า ของสองสิ่งกระทบกันเท่านั้น แต่หมายถึงว่าต้องมี
    ธรรม ๓ ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน จึงจะเรียกว่าผัสสเจตสิก ธรรม ๓ ประการนั้น คือ อารมณ์ ๑
     วัตถุ ๑ ธรรม ๒ ประการนี้กระทบ กัน และทำให้เกิดวิญญาณอีก ๑ ด้วย ไม่ใช่แต่เพียงว่ากระทบกันเฉยๆ

เวทนาเจตสิก

             ๒. เวทนาเจตสิก คือการเสวยอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็คือ ความรู้สึก รู้สึกว่าสบายหรือไม่สบาย แยกตาม ประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการรู้สึก เป็น ๕ อย่าง ได้แก่


             ก. สุขเวทนาเจตสิก คือความสุขสบายทางกาย มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
             อิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขขณา          มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ดีเป็นลักษณะ


           สมฺปยุตตฺตานํ พยูหนรสา                มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเจริญ เป็นกิจ
             กายิกอสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา               มีความชื่นชมยินดีทางกาย เป็นผล
             กายินฺทฺริยปทฏฺฐานา                     มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้

             ข. ทุกขเวทนาเจตสิก คือความทุกข์ยากลำบากกาย มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
             อนิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณา           มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
             สมฺปยุตฺตานํ มิลาปนรสา                 มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเศร้าหมอง เป็นกิจ
             กายิกาพาธปจฺจุปฏฺฐานา                  มีความอาพาธทางกาย เป็นผล
             กายินฺทริยปทฏฺฐานา                      มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้

             ค. โสมนัสเวทนาเจตสิก คือความสุขความสบายใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
             อิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา              มีการเสวยอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ
             อิฏฺฐาการสมฺโภครสา                      มีการทำจิตให้อยู่ร่วมกับอารมณ์ที่ดี เป็นกิจ
             เจตสิกอสฺสาทปฏฺจุปจฺฐานา               มีความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นผล
             ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา                          มีความสงบกายสงบใจ เป็นเหตุใกล้

             ง. โทมนัสเวทนาเจตสิก คือความทุกข์ใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
             อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา              มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2009, 04:37:32 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2009, 12:58:39 PM »

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)
       ก. อัญญาสมานาเจตสิก 13 (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว - the Common-to-Each-Other; general mental factors)
           1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง - universal mental factors; the Primary)
               1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์ - contact; sense-impression)
               2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์ - feeling)
               3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ - perception)
               4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์ - volition)
               5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว - one-pointedness; concentration)
               6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง - vitality; life-faculty)
               7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ - attention)

          2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง - particular mental factors; the Secondary)
               8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ - initial application; thought conception; applied thought)
               9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ - sustained application; discursive thinking; sustained thought)
               10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ - determination; resolution)
               11. วิริยะ (ความเพียร - effort; energy)
               12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ - joy; interest)
               13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ - conation; zeal)

      ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล - immoral or unwholesome mental factors; unprofitable mental factors)
          1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง - universal immorals; the Primary)
               14. โมหะ (ความหลง - delusion)
               15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป - shamelessness; lack of moral shame)
               16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป - fearlessness; lack of moral dread)
               17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน - restlessness; unrest)

           2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต - particular immorals; the Secondary)
               18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์ - greed)
               19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด - wrong view)
               20. มานะ (ความถือตัว - conceit)
               21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย - hatred)
               22. อิสสา (ความริษยา - envy; jealousy)
               23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ - stinginess; meanness)
               24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ - worry; remorse)
               25. ถีนะ (ความหดหู่ - sloth)
               26. มิทธะ (ความง่วงเหงา - torpor)
               27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย - doubt; uncertainty; scepsis)

       ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม - beautiful mental factors; lofty mental factors)
           1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง - universal beautiful mental factors; the Primary)
               28. สัทธา (ความเชื่อ - confidence; faith)
               29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่ - mindfulness)
               30. หิริ (ความละอายต่อบาป - moral shame; conscience)
               31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป - moral dread)
               32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์ - non-greed)
               33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย - non-hatred)
               34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ - equanimity; specific neutrality)
               35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก - tranquillity of mental body)
               36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต - tranquillity of mind)
               37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก - lightness of mental body; agility of ~)
               38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต - lightness of mind; agility of ~)
               39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก - pliancy of mental body; elasticity of ~)
               40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต - pliancy of mind; elasticity of ~)
               41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก - adaptability of mind; wieldiness of ~)
               42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต - adaptability of mind; wieldiness of ~)
               43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก - proficiency of mental body)
               44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต - proficiency of mind)
               45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก - rectitude of mental body; uprightness of ~)
               46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต - rectitude of mind; uprightness of ~)

          2) วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น - abstinences)
               47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ - right speech)
               48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ - right action)
               49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ - right livelihood)

          3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา - boundless states)
               50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ - compassion)
               51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข - sympathetic joy)

          4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)
               52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2010, 06:42:41 PM »

คนหาข้อมูลมา รู้หรือเป่า

ว่า เวลาเข้าอริยมรรค  ใช้จิตกี่ดวง 5 5 5
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 07:56:30 PM »

จิตเกิดดับเกิดดับสืบเนื่องต่อกันไปเกิดได้ครั้งละหนึ่งดวงเท่านั้น ไม่ได้เกิดทีเดียวพร้อมกันหลายดวงหรือเกิดทับซ้อนกัน
ถ้าดูหรือรู้จิตได้ทีเดียวหลายดวงแสดงว่ายังดูจิตไม่ทัน...การเกิดดับของจิต

การเกิดอริยมรรคจิต ก็มีเพียงจิตหนึ่งหรือเกิดขึ้นขณะจิตเดียว แต่ใช้องค์ธรรมประกอบหลายองค์ด้วยกัน

 

บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 11:07:15 PM »

ได้เข้าฟังอภิธรรม ว่า ใช้จิตตั้ง แยะดวง +กำลังจากเจตสิกฝ่าย กุศล ด้วย
บันทึกการเข้า
toursingapore1
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 4


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: เมษายน 12, 2011, 04:13:39 PM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
yusamui
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 48


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2012, 01:10:37 PM »

หมวดอภิธรรม เจตสิกปรมัตถ เป็นแนวปรัชญา เพิ่งแต่งขึ้นมาหนหลัง ไม่มีส่วนในการดับทุกข์ครับ เรียนรู้เพื่นเป็นภูมิเท่านั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: