KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน รวมบทสวดมนต์ เพือทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบอานุภาพอันอัศจรรย์ของคาถาพาหุง (พุทธชัยมงคลคาถา)
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อานุภาพอันอัศจรรย์ของคาถาพาหุง (พุทธชัยมงคลคาถา)  (อ่าน 23024 ครั้ง)
Little_Garfield
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 17


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:53:14 AM »

อานุภาพอันอัศจรรย์ของคาถาพาหุง (พุทธชัยมงคลคาถา)

พุทธชัยมงคลคาถา (คาถาพาหุงแปดบท)




พระคาถาพาหุง แปดบทนี้ แม้ว่าผู้ใดได้สวดประจำสม่ำเสมอทุกวันแล้ว จะเกิดศิริมงคล และแคล้วคลาด ทั้งปวง เป็นสิ่งที่เป็นมงคลแห่งชีวิต และมีอานุภาพแยกกันไปทั้งแปดบท แต่ละบทนั้นได้ได้แตกต่างกันออกไป ดังจะสาธยาย ดังนี้>>

(๑) พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง

ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินาชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ





ปราบมาร ด้วยทานบารมี พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์พระยาวัสสวดีมาราธิราช ได้ขี่ช้างคิรีเมขลังยกทัพมารที่ดุร้ายมุ่งผจญข่มขู่พระโพธิสัตว์ แต่ด้วยบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ทำให้พระแม่ธรณีปรากฏกายขึ้นบิดมวยผม เกิดน้ำท่วมใหญ่พัดพากองทัพมารแตกพ่ายไป




การสวดพระคาถาพาหุงบทที่ ๑ นี้ ใช้สำหรับข่มศัตรูที่เหนือกว่าด้วยกำลังและบารมี คอยแต่กดขี่ข่มเหงเราด้วยความไม่เป็นธรรม หากเป็นเช่นนี้ ให้สวดบูชาพระทุกวัน ๆ ละ ๓ จบ แล้วแผ่เมตตาไปยังผู้ที่กดขี่ข่มเหงเรา บุคคลผู้นั้นจะพินาศไปในทันที แต่มีข้อแม้ว่า เราผู้ถูกข่มเหงจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์และไม่เป็นฝ่ายผิดที่คิดร้ายต่อเขา ก่อน หากจำเป็นจริง ๆ จึงทำ เพราะด้วยบารมีแห่งสัจจะกิริยา และพรพาหุงบทที่ ๑ จะทำให้ผู้ที่คิดร้ายมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา





(๒)มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง

โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินาชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ปราบยักษ์ ด้วยขันติธรรมพระพุทธเจ้าเสด็จไปปราบอาฬวกยักษ์ซึ่งสำแดงฤทธิ์ ถีบยอดเขาไกรลาศ แล้วร้องเรียกยักษ์บริวารมาล้อมวิมาน ยิงศาสตราวุธ๗ ประการใส่พระพุทธเจ้า อาวุธนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้บูชาพระพุทธองค์อาฬะวะกะยักษ์แพ้ฤทธิ์แล้ว พระองค์จึงเทศนาโปรด จนยักษ์ถึงแก่พระโสดา


การได้สวดภาวนาพระคาถาพาหุงบทที่ ๒ ก่อนนอน ๓ จบ จะป้องกันภูตผีปีศาจร้ายไม่ให้กล้ำกรายเขตบ้านเรือน แม้แต่ยักษ์มารทั้งหลายก็เกรงบารมี จะเดินทางเข้าป่าเข้าพง นอนในที่กันดาร แปลกที่แปลกถิ่น ให้ภาวนาก่อนนอน ๓ จบ จะป้องกันภัยได้อย่างแท้จริง อวมงคล อันเกิดจากปีศาจหลอนจะไม่มี กินน้ำกินท่า กินอาหารแปลกถิ่น กลัวจะท้องเสีย เสกอาหาร เสกน้ำนั้นด้วยการสวดคาถาพาหุงบทที่ ๒ จะป้องกันโรค ป้องกันท้องเสียและคุณไสยได้เป็นอย่างดี หากผีเข้าคน ให้เสกเจ็ดคาบ เป่าลงไปในน้ำ เอาหญ้าคา ต้นตะไคร้ ต้นข่า ใส่ลงไปในน้ำ รดแล้วฟาดด้วยหญ้าคา หรือต้นตะไคร้ ต้นข่าก็ได้ ผีหนีไปไกลแล






(๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง

ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะสุทารุณันตัง

เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท




ตันเตชะสา ภะวะตุเตชะยะมังคะลานิ

ปราบช้าง ด้วยเมตตาธรรมพระพุทธองค์ทรงทรมานช้างนาฬาคีรีครั้งนั้นพระเทวทัตคิดฆ่าพระพุทธเจ้า จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูขอให้เอาเหล้ากรอกช้างนาฬาคีรี แล้วปล่อยไปตามถนน ที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตพระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคีรีให้หายเมาเหล้า แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์

คาถาพาหุงบทที่ ๓ มีอุปเท่ห์การใช้ดังนี้ (๑) สวดภาวนาก่อนจะเดินทางออกจากบ้าน ๓ จบ เป็นการป้องกันเขี้ยวงาจากสัตว์ร้ายทั้งปวงไม่ให้มากล้ำกรายได้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์น้ำและงูพิษต่าง ๆ เข้าป่าภาวนาก่อนเข้าจะปลอดภัย จะลุยข้ามน้ำ ข้ามห้วยหนองคลองบึง ภาวนา ๓ จบ วักน้ำสาดไปข้างหน้า จะป้องกันพรายน้ำและจระเข้ (๒) จะทำให้สัตว์เชื่อง เสกข้าว เสกน้ำให้สัตว์กิน ทำติดต่อกัน ๗ วัน ก็จะเชื่อง จะฝึกสัตว์ให้คล่อง ภาวนาก่อนฝึก ๓ จบ จะฝึกสัตว์ให้ง่ายขึ้น หากสัตว์ร้ายวิ่งเข้ามาจะกัด จวนตัวหนีไม่ทัน ให้ตั้งมั่นรำลึกถึงพระบารมีพระพุทธองค์ และภาวนาคาถาพาหุงบทที่ ๓ มันอ้าปากไม่ขึ้นแล (๓) สัตว์เป็นโรคระบาดให้บูชาพระด้วยดอกไม้ธูปเทียน เอาน้ำใส่ขั้น เสกน้ำให้เป็นน้ำมนต์ด้วยพระคาถาพาหุงบทที่ ๓ สามจบ เอาไปให้สัตว์กิน เอาไปประพรมคอก จะบรรเทาโรคระบาดได้ดี (๔) สัตว์เลี้ยงชอบกัดกันเป็นประจำ เบียดเบียนกัน เสกน้ำด้วยคาถาพาหุงบทที่ ๓ ให้เป็นน้ำมนต์ ๓ จบ ให้แต่ละตัวแบ่งกันกิน สัตว์จะไม่กัดกันอีกต่อไป





(๔)อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง

ธาวันติโยชะนะปะถัง คุลิมาละวันตัง

อิทธีภิสังขะตะมะโนชิตะวา มุนินโท






ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ





ปราบมหาโจร ด้วยอิทธิฤทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงโปรดองคุลิมาลเมื่อพระพุทธองค์กลับจากบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีพบองคุลิมาลองคุลิมาลเห็นเข้าจึงจับอาวุธไล่ตามพระพุทธองค์ แต่ไล่ตามไม่ทันพระพุทธองค์ตรัสให้ องคุลิมาลได้คิด ?เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิไม่หยุด? องคุลิมาลเลื่อมใส ขอบวช และตามเสด็จกลับไปกรุงสาวัตถี พักอยู่ ณ เชตวนาราม

อุปเท่ห์การใช้คาถาพาหุงบทที่ ๔ (๑) ภาวนา ๓ จบ ก่อนออกจากบ้าน แล้วอธิษฐานให้แคล้วคลาดจากศัตรูหมู่พาล สันดานหยาบ และหมู่พวกโจรทั้งหลาย จะแคล้วคลาดจากโจรร้าย และภัยจากการประทุษร้ายจนกลับถึงบ้าน (๒) ภาวนาทำน้ำมนต์คนไข้ที่ถูกผีตายโหงสิงก็ดีนัก แต่เมื่อจะทำน้ำมนต์มาใช้ ให้รำลึกถึงองคุลีมาลจอมโจรผู้เข่นฆ่าแล้วกลับมาเป็นสงฆ์ ขอให้ทำลายภูตผีปีศาจให้กระจายไป รดไปเถิด รดจากหัวถึงเท้าผีเข้าก็ออกแล (๓) ก่อนนอนสวดระลึกถึง ๓ จบ ตั้งใจให้เป็นกำแพงคุ้มครองบ้านเรือน เมื่อโจรเข้าบ้านจะตื่นก่อนแล


   



(๕) กัตวานะกัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา


จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ

สันเตนะโสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ








ปราบหญิงแพศยา ด้วยสันติธรรมพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตุพนใกล้เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นเกิดลาภสักการะในพระพุทธศาสนามากพวกเศรษฐีให้นางจิญจมาณวิกา ทำอุบาย เข้าออกในพระเชตุพนเนืองๆแล้วเอาท่อนไม้ผูกท้องเข้าในผ้านุ่ง ไปยืนแสดงตนขณะพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาร้องตู่ว่าพระองค์ทำให้นางมีครรภ์ พระอินทร์และเทพยดา ๔ องค์นิมิตลงมาเป็นหนูกัดเชือกผูกท่อนไม้ขาดแล้วแผ่นดินก็สูบนางจิญจมาณวิกาลงไปในนรก

คาถาบทนี้ มีอุปเท่ห์ในการใช้ดังนี้ ใช้ขับลูกที่ตายในท้อง หรือ คลอดยาก ให้ท่องคาถาบทที่ ๔ พอมาถึงท่อนที่ว่า ?อิวะคัพภินียาจิญจายะ? ให้เปลี่ยนคำว่า ?คัพ? เป็น ?ขับ? อันหมายถึงการขับ ทำน้ำมนต์สวด ๓ จบแล้ว เป่าลมปราณลงไป เอาไปให้คนไข้กิน เหลือเอาลูบหัว จะเกิดลมเบ่งช่วยให้คลอดลูกได้ ใช้แทนคาถา ?ยะโตหัง? อันเป็นคาถาองคุลีมาลได้เป็นอย่างดี


   


(๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง

วาทาภิโรปิตะมะนังอะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ปราบเจ้าลัทธิ ด้วยปัญญาพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในมหาวันใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นมีสัจกนิครนถ์บุตร อาศัยในเมืองเวสาลี ถือมิจฉาทิฐิตั้งตนเป็นปราชญ์ มีความรู้มาก ต้องทำแผ่นเหล็กรัดท้อง เพราะกลัววิชาจะทำลายท้องแตกวันหนึ่งพบพระอัสชิ จึงถามปัญหาแก่ท่าน ต่อมาได้ชวนพญาลิจฉวีทั้ง ๕๐๐ ไปป่ามหาวันถามปัญหาแก่พระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระอินทร์นิมิตเป็นยักษ์ถือฆ้อน ลอยอยู่บนอากาศเหนือศีรษะของสัจกนิครนถ์ สัจกนิครนถ์นั้นได้ฟังพระธรรมเทศนา จากพระพุทธเจ้าก็ละมิจฉาทิฐิ แล้วตั้งตนอยู่ในพระไตรสรณคมณ์

โบราณจารย์ ได้บอกอุปเท่ห์การใช้พระคาถาพาหุงบทที่ ๖ นี้ ไว้ดังต่อไปนี้คือ แก้การใส่ไคล้โดยไม่เป็นจริง เฉพาะผู้ที่กล่าวใส่ร้ายเป็นชาย กรรมวิธีเป็นแบบเดียวกับคาถาพาหุงบทที่ ๕ ?นางจิญจามาณวิกา? ทุกประการ ใช้ในการเอาชนะทางด้านการพูด การละเล่น เมื่อจะไปโต้วาทีหรือแสดงการละเล่นประชัน ตลอดจนการแข่งขันที่ต้องใช้โวหารทั้งปวง ให้สวดคาถาพาหุงลำดับที่ ๖ สามจบ ก่อนจะออกไปกระทำการดังกล่าว ระลึกเอาพระบารมีที่ชนะสัจจะกะนิครนถ์เป็นที่ตั้ง เสกน้ำหนึ่งแก้วเป็นน้ำมนต์กินก็ยิ่งดีใหญ่ เมื่อไปถึงสถานที่ที่จะต่อสู้แล้ว ให้ภาวนาคาถานี้ ๑ จบ จะเต้น จะรำ จะโต้วาที ก็ทำเถิดจะเกิดชัยชนะทุกเมื่อแล

คาถาบทที่ ๖ นี้ ใช้ปิดปากคนนินทาว่าร้ายเราได้อีกด้วย กล่าวคือ ท่านให้เอากระป๋องหรือกล่องโลหะที่มีฝาปิดมิดชิดมาหนึ่งใบ เขียนชื่อ นามสกุล คนที่ใส่ร้ายหรือนินทาว่าร้ายเรา โดยปราศจากความจริงด้วยความเท็จทั้งปวง ให้รำลึกถึงพระบารมีที่ทรงชนะต่อนางจิญจามาณวิกา และสัจจะกะนิครนถ์ เสกด้วยคาถาทั้งสองบทคือ บทที่ ๕ และบทที่ ๖ บทละ ๓ จบ เป่าลงไปที่ชื่อ นามสกุล แล้วแผ่เมตตาซ้ำลงไป อย่าไปผูกพยาบาทจองเวรเขา อธิษฐานให้คนผู้นั้นสงบปาก จากนั้นก็ม้วนกระดาษชื่อลงไปในกระป๋องหรือกล่องผนึกปากให้แน่นหนา เอาบูชาไว้ที่หิ้งพระสัก ๓ วัน แล้วเปิดกระป๋องขึ้นทีหนึ่ง หากยังไม่สงบปากให้ปิดต่อไปจนครบเจ็ดวัน ก็เปิดอีกทีหนึ่ง เขาจะสงบเงียบไปทันที หากยังขืนปากมากเป็นฝีที่ปากหรือที่ลิ้น จะแพ้ภัยไปเอง ห้ามทำเกินเจ็ดวันจะเข้าตัวแล




(๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง

ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะทะมาปะยันโต

อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เตชะยะมังคะลานิ








ปราบพญานาคจอมพาลด้วยฤทธิ์สู้ฤทธิ์ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เหาะไปสู่เทวโลกพญานัน-โทปนันทนาคเห็นเข้า ก็โกรธว่าพระสมณะเหาะข้ามศีรษะจึงบันดาลขดกายใหญ่พันเขาพระสุเมรุ แผ่พังพานยังดาวดึงส์พระพุทธองค์ส่งพระโมคคัลานะไปปราบ ต่างสำแดงฤทธิ์เดชต่างๆ เป็นโกลาหลภายหลังพญานาคแพ้ฤทธิ์ แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์

อุปเท่ห์การใช้มีดังนี้ ป้องกันอสรพิษและแมลงป่องทั้งหลาย เมื่อจะต้องไปทำไร่ทำนาดายสวน ดายไร่ บุกป่าดงที่มีอันตรายจากอสรพิษ และแมลงมีพิษต่าง ๆ ให้ตั้งนะโม ๓ จบ สวดพระคาถาพาหุงบทที่ ๗ สามจบ รำลึกถึงบารมีที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงมีชัยแก่นันโทปนันทะนาคราช ขอให้มาป้องกันตนเองด้วย จากนั้นก็เป่าลมพรวดไปที่ฝ่ามือทั้งสองแล้วเอาลูบไล้ที่แขนขาและบริเวณที่ ต้องสัมผัสกับความรกและบริเวณร่างกายที่น่าจะถูกกัดต่อยจากอสรพิษ แล้วยาตราไปเถิด จะแคล้วคลาดจากการขบกัดต่อยของสัตว์ร้าย แม้ไปเหยียบมัน มันก็อ้าปากไม่ขึ้นแล


(๘) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง

พรัหมังวิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง

ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสาภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ





ปราบพกาพรหม ด้วยญาณพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นสู่พรหมโลกท้าวพกาพรหมเห็นพระพุทธองค์เสด็จมา จึงเรียกร้องด้วยคำกระด้าง แล้วกำบังกายแต่ก็มิสามารถกำบังกายได้ หมู่พรหมทั้งหลายก็หัวเราะเยาะเย้ยท้าวผกาพรหมได้รับความอับอายยิ่งนัก แล้วพระพุทธเจ้าจึงเทศนาธรรมทรมานท้าวพกาพรหมและพรหม ๑,๐๐๐ ให้สำเร็จมรรคผล



อุปเท่ห์การใช้คาถาบทที่ ๘ มีดังนี้ คือใช้ ปราบพยศคนดื้อดึง ให้ทำน้ำมนต์ เสกด้วยคาถาบทนี้ ๓ จบ แล้วเอาไปให้กิน คนที่ดื้อดึงถือดีจะลดพยศลง เด็กดื้อให้กินน้ำมนต์ก็จะหายดื้อ จะไปเจรจาปรับความเข้าใจกับคนที่เคยโกรธเคืองมีทิฐิร้าย ก็เสกน้ำมนต์ ๓ จบกินก่อนไปเจรจาและก่อนเจรจาก็ให้ท่องคาถาพาหุงบทที่ ๘ อีกหนึ่งจบ แล้วไปเจรจาเถิดดีนักแล>>


(๙) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา

โย วาจะโน ทินะทิเนสะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ

โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะนะโร สะปัญโญ



คำแปลบทที่ ๙คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้านพึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ บรรลุถึงซึ่ง พระนิพพานอันเป็นสุข?



ฝอยพาหุง

ไหว้คุณพระสัตถา พระมหาอนัตตะคุณ
มีฤทธิ์อันสมบูรณ์ สืบบุราณมานานเมือง
พาหุงแปดบทต้นนั้น คุณอนันต์เอนกเมือง
ช่วยสัตว์ไม่ขัดเคือง ล้ำเลิศยิ่งทุกสรรพ์
ถ้าแม้นจะแก้คุณ ให้ดับสูญสิ้นเสียพลัน
ผีภูตปีศาจอัน ที่สมมุติมนุษย์ทำ
บทสองคือมารา ให้เสกยากินประจำ
มีคุณนั้นเลิศล้ำ สะเดาะโรคไม่ราคิน
อนึ่งจะเข้าสู่ไพรสณฑ์ จะผจญด้วยไพริน
สารพัดสัตว์กลัวสิ้น ด้วยนาฬาประเสริฐสม
อนึ่งจะจรไปต่างเมือง ให้รุ่งเรืองทั่วนิคม
ฝูงชนย่อมนิยม นะโมน้อมเป็นไมตรี
อุกขิตตะขัคให้ภาวนา เกิดลาภาเหมือนวารี
บูชาทุกดิถี มาสู่ที่สำนักตน
อนึ่งมีศัตรูหมาย มาทำร้ายจลาจล
จะให้จิตต์ผู้นั้นวน สามิภักดิ์มารักเรา
ให้รำลึกพระคาถา กัตวาแล้วนึกเอา
ผู้นั้นจะบรรเทา กลับใจจิตเป็นมิตรพลัน
อนึ่งจะพูดให้เขาเชื&
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 31, 2009, 04:06:58 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: