KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับกระทู้เมื่อเร็วๆ นี้
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
 81 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2017, 04:09:43 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
ประวัติหลวงปู่หลอด

http://www.kammatan.com/th/2017/02/luangpu-lord/

 82 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2017, 04:00:08 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
มีพระรูปหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ว่า

"หลวงปู่ครับ จิตของพระอรหันต์เวลาว่างท่านคิดอะไรครับ"

หลวงปู่ตอบว่า "ไม่คิดอะไรทั้งนั้น คิดแต่วิหารธรรมอย่างเดียว"

พระรูปนั้นถามย้ำว่า "มีแต่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เท่านี้ หรือครับหลวงปู่"

หลวงปู่ตอบว่า "อืม... กิเลสบ่อมีทางแทรกแซงได้เลย"

หลวงปู่หลอด ปโมทิโต

 83 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2017, 11:12:57 AM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
กิเลสไม่ได้กลัว วุฒิการศึกษา เช่น ป.ตรี ป.โท หรือ ป.เอก สิ่งเหล่านี้เป็นแค่เครื่องหล่อเลี้ยงกายในทางโลก
แต่สิ่งที่ถอดถอนกิเลสได้อย่างแท้จริงคือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ตามเส้นทางที่มหาบุรุษศาสดาเอกของโลกได้บอกเล่าไว้

5 กพ 2560 ก่อนไปทำบุญที่  มูลนิธิหลวงปู่มั่นฯ กรุงเทพ

 84 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2017, 11:04:38 AM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
เวลาที่จะตาย ครูบาอาจารย์เคยสอนว่า
เป็นเวลาทำสงครามใหญ่
ท่านใช้คำว่าเป็นเวลาทำสงครามใหญ่
เพราะสงครามนี้สุดท้ายต้องตาย
ศึกครั้งนี้ตายแน่นอน
วันหนึ่งต้องทำสงครามใหญ่
เรามีความพร้อมที่จะทำสงครามไหม
ก่อนจะหัดทำสงครามใหญ่
ก็ต้องทำสงครามย่อยๆ ก่อน
นี่ฝึก เวลาเราไม่สบาย เวลาเราผิดหวัง
เวลาเจอสิ่งที่ไม่ดีในชีวิต บางทีแฟนทิ้งไป
เป็นความสูญเสีย สูญเสียแฟนยังไม่เท่าสูญเสียชีวิต
สิ่งที่เรารักที่สุดคือ ชีวิตตัวเอง ไม่ใช่แฟนหรอก
ที่รักแฟนเพราะว่ามันเป็นแฟนเรา สุดท้ายก็รักตัวเอง
แต่ก่อนจะถึงจุดที่ทำสงครามใหญ่
เราก็มาเรียนรู้ชีวิตให้มากขึ้น มีสติรู้สึกกาย
มีสติรู้สึกใจบ่อย ๆ เราเห็นทุกอย่างผ่านมา
แล้วก็ผ่านไป ความสุขผ่านมา แล้วก็ไป
ความทุกข์ผ่านมา แล้วก็ไป
ความดีความชั่วผ่านมา แล้วก็ไป
เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ความแข็งแรงก็ผ่านไป
ความเป็นหนุ่มเป็นสาวก็ผ่านไป
ทุกอย่างมาแล้วไปหมด พอใจยอมรับตรงนี้ได้
ใจคลายความยึดถือลง เวลาจะสูญเสียจะทุกข์ไม่มาก
#หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

 85 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2017, 08:50:50 AM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
ถ้าเข้าใจแล้ว
เราจะลดเวลาการที่จะปฏิบัติลงไปได้เยอะเลย
บางคนไม่รู้หลักของการปฏิบัตินะ
ทุ่มเทปฏิบัติตลอดชีวิต ไม่ได้ผล

บางทีไปติดในภาวะอันใดอันหนึ่ง
คิดว่าทำอย่างเนี้ย แล้วจะหลุดพ้น
มันเสียเวลาเป็นชาติๆเลย
บางทีเสียเวลาเป็นกัปป์เลยนะ

.
ถ้าเราฟังธรรมให้รู้เรื่องซะก่อนนะ
แล้วลงมือปฏิบัติเนี่ย
ภพชาติมันจะสั้นลง น้อยลง วัฏฏะมันจะสั้นลง
งั้นลงมือปฏิบัติต่อเมื่อรู้เรื่องแล้ว รู้หลัก

.
ถ้าสังเกตให้ดีนะ
ท่านสอนเริ่มจากสัมมาทิฐิ

จะเจริญมรรคเนี่ย
สัมมาทิฐิเป็นเบื้องต้น(ความเห็นที่ถูกตรง)
สัมมาสมาธิเป็นเบื้องปลาย (ความตั้งใจมั่น)

นึกออกมั้ย
ทำไมเริ่มจากสัมมาทิฐิก่อน..?
ต้องเรียนให้รู้หลัก รู้วิธีปฏิบัติก่อน
พอรู้วิธีปฏิบัติแล้วนะ ก็ตั้งใจที่จะปฏิบัติเอา
มีความดำริชอบ วางใจให้ถูกก่อน
รู้วิธีปฏิบัติ แล้วดำริผิดนะ ไปไม่รอด

อย่างพวกเราบางคนนะ
มาฟัง รู้วิธีปฏิบัติแล้ว ดำริที่จะอยู่กับโลก
หมกมุ่นอยู่กับกาม
วันๆ คิดแต่จะหาความเพลิดเพลิน
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
นี่มีความดำริไม่ถูก มีกามวิตก
ตรึกไปในกาม ตรึกไปในทางไม่ถูกต้อง

ต้องคิดออกจากกาม
คิดออกจากความวุ่นวายขัดเคืองทั้งหลาย
รู้หลักแล้วก็วางใจให้ถูก

พอวางใจถูกแล้ว ก็ลงมือรักษาศีล
ก็มา สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
(กลุ่มของศีล ในอริยมรรคมีองค์ ๘)

ทำไม เริ่มสัมมาวาจาก่อน นึกออกมั้ย
ทำไม เน้นมาที่สัมมาวาจาก่อน..?
ก่อนจะภาวนา พูดมากปากพล่อย
ใจมันจะสงบได้ยังไง
ยิ่งปากเสีย ว่าคนโน้นว่าคนนี้ ด่าคนโน้นคนนี้
ไม่มีทางหรอกที่ใจจะสงบ

แล้วก็ถือศีลส่วนที่เหลือ
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
นี่ สัมมากัมมันตะ

การดำรงชีวิต มีสัมมาอาชีวะ(การเลี้ยงชีวิตที่ชอบ)
เลี้ยงชีวิตในทางที่ถูกที่ควร
ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนคนอื่น

อาชีพบางอย่าง
ก็เบียดเบียนตัวเอง บางทีก็เบียดเบียนคนอื่น
ก็เลือกอาชีพที่ดี
อย่างพวกค้าอาวุธ พวกอะไรพวกนี้นะ
ค้ายาพิษ ค้ามนุษย์ อะไรอย่างนี้ ไม่ดี
นี่ มิจฉาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตที่ผิด)

เห็นมั้ย เป็นการปรับพฤติกรรมของเรา
ปรับสิ่งแวดล้อมที่รอบๆ ตัวเราก่อน
อาศัยความเห็นที่ถูก
อาศัยความดำริ ความตั้งใจที่ถูก
ลงมือรักษาศีล

รู้วิธีปฏิบัติ มีความดำริ ที่ถูกต้อง
ที่จะออกจากสิ่งพัวพันทั้งหลาย
ลงมือรักษาศีล
ถัดจากนั้น ก็เรื่องของการฝึกจิตใจแล้ว
เรื่องของการฝึกจิตใจ
มีความเพียรชอบ มีสติ มีสมาธิ

.
การฝึกจิตนั้น มีความเพียรชอบ

ฝึกยังไง มีความเพียรชอบ..?
ขยันเดินจงกรม เรียกว่าเพียรชอบมั้ย..?
เดินจงกรมวันละห้าชั่วโมง เรียกว่าเพียรชอบมั้ย..?
หรือนั่งสมาธิ วันละสิบชั่วโมง
เป็นความเพียรชอบรึเปล่า..?
ไม่ใช่

คำว่า
ความเพียรชอบ ของพระพุทธเจ้านะ
เพียรละอกุศลที่มี เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ ไม่ให้เกิด
เพียรทำกุศล ให้เกิด
เพียรรักษากุศลที่เกิดแล้วเนี่ย
ให้คงอยู่ ให้งอกงามขึ้นไป
(สัมมาวายามะ)

งั้นความเพียรชอบเนี่ย
เป็นเรื่องของกุศลกับอกุศล เท่านั้นเอง

งั้นเดินจงกรมหามรุ่งหามค่ำ
ด้วยใจที่โลภ อยากบรรลุมรรคผล
กิเลสไม่กระเทือนเลยนะ สนองกิเลส
อันนั้น ไม่ใช่ความเพียรชอบ
อันนั้น เป็นอัตกิลมถานุโยคทันทีเลย

.
แต่ถ้าเดินจงกรมอยู่
แล้วรู้วัตถุประสงค์นะ
เดินสังเกตกิเลสไป
เดินสู้กับกิเลสของตัวเองไปนะ
กิเลสมันขี้เกียจ ก็ไม่ยอมขี้เกียจ ลุกขึ้นเดิน
อย่างนี้ เรียกว่ามีความเพียร
ทุกก้าวที่เดิน ก็มีความเพียรอยู่

เพราะฉะนั้น
"ขาดสติเมื่อไหร่ ขาดความเพียรเมื่อนั้น"
งั้นเดิน งุดๆๆๆไป กลุ้มใจ
จิตใจไม่สบายเลย จมอยู่กับกิเลส
เนี่ย ไม่ได้ปิดกั้นกิเลส ไม่ได้ละกิเลส
ไม่ใช่ความเพียรชอบ เพราะไม่มีสติ

.
ถ้ามีสติแล้ว
ทำไมกลายเป็นความเพียรชอบได้..?
เพราะทันทีที่เกิดสตินะ
อกุศลที่มีอยู่นะ จะดับ
อกุศลใหม่ที่จะเกิดนะ เกิดไม่ได้
ทันที ที่มีสตินะ กุศลได้เกิดขึ้นแล้ว
มีสติเนืองๆ กุศลเจริญงอกงาม

งั้นเมื่อไหร่มีสติ
เมื่อนั้นมีความเพียร
มันอยู่ในกลุ่มเดียวกันนะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
(อยู่ในกลุ่มของสมาธิ--ผู้ถอดความ)

.
มีความเพียรไปเรื่อยๆนะ
จิตใจตั้งมั่นขึ้นมาคอยรู้คอยดู
ดูธาตุดูขันธ์มันทำงาน
เรียนรู้ความจริงของมันเรื่อยไป มีสติ

สติตัวนี้คือสติปัฏฐาน
สติระลึกรู้รูป(กาย) สติระลึกรู้นาม(ใจ)
เป็นไปเพื่อลดละกิเลส อันนี้เรียกว่า
มีความเพียรที่ถูกต้อง มีสติที่ถูกต้อง

.
มีสติเดินไม่ตกถนน ขับรถไม่ตกทาง
อันนั้น ไม่ใช่สัมมาสตินะ
(เป็นสติที่ใช้อยู่กับโลก--ผู้ถอดความ)

.
สัมมาสติเนี่ย
ท่านอธิบายไว้ด้วยสติปัฏฐาน
คือ สติระลึกรู้รูป-นาม(ขันธ์ ๕)

พอมีสติระลึกรู้รูป-นามแล้วเนี่ย
อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น ใจไม่ชอบ
เห็นความโลภเกิดขึ้น ใจไม่ชอบ
เห็นกุศลเกิดขึ้น ใจชอบ
เนี่ยจิตมันยินดียินร้ายขึ้นมา

หรือเราเห็นความสุขเกิดขึ้น ใจมันชอบ
เห็นความทุกข์เกิดขึ้น ใจไม่ชอบ
จิตมีความยินดียินร้ายขึ้นมานะ
ให้เรามีสติรู้ทันเข้าไปอีก

.
เห็นมั้ย
มีความเพียร มีสติ
ระลึกรู้รูปนามทั้งหลายไป
แล้วถ้าจิตเกิดยินดียินร้ายขึ้นมา รู้ทันมัน
ทันที ที่รู้ทันมัน ความยินดียินร้ายดับลง
สัมมาสมาธิจริงๆ ก็จะเกิดขึ้น สมาธิจริงๆ จะเกิดขึ้น

งั้นสมาธิในสติปัฏฐานเนี่ย ไม่ใช่แค่เข้าฌาน
จุดสำคัญ ของสมาธิในสติปัฏฐานเนี่ย
คือความเป็นกลาง
"ตั้งมั่นอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเป็นกลางด้วย"
ไม่หลงยินดีไม่หลงยินร้าย

เวลายินดี อะไรเกิดขึ้น
จิตกระเพื่อมมั้ย ยินดี
จิตกระเพื่อม เสียสมาธิมั้ย..?
เสียสมาธิ

เวลากระทบสิ่งที่ไม่ชอบใจ
จิตยินร้าย จิตกระเพื่อมมั้ย..?
เวลายินร้ายเกิดขึ้น จิตกระเพื่อม
ก็เสียสมาธิไป

พอจิตไม่มีความยินดียินร้าย
จิตไม่กระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลงนะ
จิตทรงสมาธิอยู่

ทรงสมาธิอยู่
เจริญสติปัฏฐานไป ในขณะนั้นแหละ
กำลังมีความเพียรแผดเผากิเลสอยู่

ในขณะนั้น
ศีลก็ดีนะ สมาธิก็ดี การดำริ ก็ดำริถูก
ขณะนั้น การดำริ ก็ดำริถูก (สัมมาสังกัปปะ)
ขณะนั้นก็เห็นถูก (สัมมาทิฐิ)
เนี่ยองค์มรรค ค่อยๆประมวลตัวเข้ามา

สุดท้าย
อาศัยกำลังของสมาธินั่นแหละ
พอเราเจริญทุกสิ่งทุกอย่างไปเต็มที่แล้ว
ศีล สมาธิ ปัญญา รวมตัวกันนะ
รวมด้วยอำนาจของสมาธิ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการเนี่ย
รวมลงในจิตดวงเดียวกัน ในขณะเดียวกัน
ในที่เดียวกัน ที่จิต ด้วยกำลังของสัมมาสมาธิ

งั้นสัมมาสมาธิเนี่ย
ท่านเทียบเหมือนภาชนะ
เป็นที่รองรับ องค์มรรคทั้งเจ็ดที่เหลือ
ให้ประชุมลงที่เดียวกัน ในขณะจิตเดียวกัน
คือประชุมลงที่จิต

งั้นสัมมาสมาธิ
ต้องเป็นสมาธิ ที่จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเท่านั้นเองนะ

.
_/|\_ _/|\_ _/|\_

#หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

วัดสวนสันติธรรม 31 ตุลาคม 2558

CD สวนสันติธรรม 62
File : 581031

ดาวน์โหลดไฟล์เสียงธรรมะ
Dhamma.com
.....
กราบคุณพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูง
กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ

 86 
 เมื่อ: มกราคม 22, 2017, 10:00:15 AM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
"ยิ่งผู้ใดสามารถปฏิบัติภาวนาในท่ามกลางความวุ่นวายของบ้านเมืองที่มีแต่ความอึกทึกครึกโครม
หรือแม้แต่กระทั่งในขณะที่รอบ ๆ ตัวมีแต่ความเอะอะวุ่นวายก็สามารถกำหนดจิตตั้งสมาธิได้
สมาธิที่ผู้นั้นทำให้เกิดได้จึงเป็นสมาธิที่เข้มแข็งและมั่นคงกว่าธรรมดา
ด้วยเหตุที่สามารถต่อสู้เอาชนะสภาวะที่ไม่เป็นสัปปายะ คือไม่อำนวยนั่นเอง
เพราะว่าสถานที่ที่เปลี่ยววิเวกนั้นย่อมเป็นสัปปายะ อำนวยให้เกิดความสงบอยู่แล้ว จิตใจย่อมจะหยั่งลงสู่สมาธิได้ง่ายเป็นธรรมดา"
...หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

 87 
 เมื่อ: มกราคม 18, 2017, 11:56:27 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
ปฏิทินวันพระ พ.ศ.2560/2017 (ปีวอก - ปีระกา) 1

คริสตศักราช 2017 , มหาศักราช 1938 - 1939 2 , รัตนโกสินทร์ศก 235 - 236 2
อัฐศก จุลศักราช 1378 ถึง นพศก จุลศักราช 1379 2 , ปกติสุรทิน ปกติมาส ปกติวาร

ปฏิทินวันพระ เดือนมกราคม 2560
วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีวอก
วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2560แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ กุมภาพันธ์ 2560
วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก
วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก (วันมาฆบูชา)
วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก
วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ มีนาคม 2560
วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีวอก
วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีวอก
วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2560แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ เมษายน 2560
วันอังคารที่ 4 เมษายน 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีระกา
วันอังคารที่ 11 เมษายน 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีระกา
วันพุธที่ 19 เมษายน 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีระกา
วันอังคารที่ 25 เมษายน 2560แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีระกา

ปฏิทินวันพระ พฤษภาคม 2560
วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีระกา
วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีระกา (วันวิสาขบูชา)
วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีระกา (วันอัฏฐมีบูชา)
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2560แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีระกา

ปฏิทินวันพระ มิถุนายน 2560
วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีระกา
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีระกา
วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีระกา
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีระกา

ปฏิทินวันพระ กรกฎาคม 2560
วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีระกา
วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีระกา (วันอาสาฬหบูชา)
วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2560แรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีระกา (วันเข้าพรรษา)
วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีระกา
วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม 2560แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีระกา
วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีระกา

ปฏิทินวันพระ สิงหาคม 2560
วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีระกา
วันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีระกา
วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2560แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีระกา
วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีระกา

ปฏิทินวันพระ กันยายน 2560
วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีระกา
วันพุธที่ 13 กันยายน 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีระกา
วันพุธที่ 20 กันยายน 2560แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีระกา
วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีระกา

ปฏิทินวันพระ ตุลาคม 2560
วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีระกาวัน (ออกพรรษา)
วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีระกา
วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2560แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีระกา
วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีระกา

ปฏิทินวันพระ พฤศจิกายน 2560
วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีระกา (วันลอยกระทง)
วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีระกา
วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2560แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีระกา
วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีระกา

ปฏิทินวันพระ ธันวาคม 2560
วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2560ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีระกา
วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2560แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีระกา
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2560แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีระกา
วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีระกา

 88 
 เมื่อ: มกราคม 16, 2017, 04:22:17 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
พระภิกษุสงฆ์ที่อุปสมบท เมื่อวานนี้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารจำนวน 109 รูป
เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะนี้พักปฏิบัติธรรมอยู่ที่ พุทธมณฑลตั้งแต่วันที่ 16-22 มกราคมนี้ค่ะ
ตอนนี้ไม่มีเจ้าภาพอาหารเพลค่ะ วันนี้อดไม่มีอาหารมื้อเพลค่ะ
ขณะนี้ต้องการผู้มาร่วมบุญถวายภัตตาหาเพลแบบด่วนๆเลยค่ะ
เวลาถวายเพล 10.00 น.ที่บริเวณป่าเวฬุวัน พุทธมณฑลค่ะ
ขอเชิญทุกๆท่านร่วมจัดหาภัตตาหารเพลถวายพระใหม่กันนะคะอนุโมทนาสาธุอย่างยิ่งค่ะ
ท่านใดอยากร่วมถวายเพลแต่ไม่มีเวลามาถวายเองเนืองจากไกลและเป็นเวลาทำงานสามารถโอนปัจจัยถวายพระราชสุทธิมุนีได้ค่ะ
ชื่อบัญชีพระราชวิสุทธิมุนี
ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางลำภู
เลขที่บัญชี008-204-7222
ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางลำภู
เลขที่บัญชึ116-402-5643
ธนาคารกรุงไทย สาขาบางลำภู
เลขที่บัญชี 167-012-0996
สอบถามรายละเอียดได้ที่พระราชวิสุทธิมุนี(หลวงพ่อเยี้อน ขันติพโล) 081-815-3970
ขออนุโมทนาสาธุกับทุกๆท่านที่ร่วมบุญและช่วยแชร์บอกบุญค่ะ

 89 
 เมื่อ: มกราคม 16, 2017, 04:22:04 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
โอนเงินให้บุคคลอื่น - สถานะการทำรายการ

สถานะการทำรายการ   ธนาคารได้ทำรายการของท่านเรียบร้อยแล้ว
หมายเลขอ้างอิง   TRTR170116527557435

รายละเอียดการทำรายการ
จากบัญชี   784-2-xwwww-x Saving_เงินเดือน
เพื่อเข้าบัญชี   008-2-04722-2 พระอาจารย์เยื้อน สุรินทร์
ชื่อบัญชี   พระราชวิสุทธิมุนี
จำนวนเงิน (บาท)   400.00
ค่าธรรมเนียม (บาท)   0.00
วันที่โอนเงิน   16/01/2017
บันทึกช่วยจำ   ค่าอาหารเพล เลี้ยงพระวัดบวร
แจ้งผู้รับโอน   ส่ง SMS ภาษาไทย ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือ 0818153970
จาก : kammatan.com

 90 
 เมื่อ: มกราคม 16, 2017, 04:19:17 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
สาธุครับพี่ต่าย : )

หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10