KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับกระทู้เมื่อเร็วๆ นี้
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
 71 
 เมื่อ: มีนาคม 23, 2017, 02:24:24 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
บริจาคเลือดที่โรงพยาบาลศิริราช จ.กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลอัฟเดทล่าสุด มีนาคม 2560
วัน-เวลา รับบริจาคเลือด
วันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08:30 - 18:00 น.
วันเสาร์ - อาทิตย์ และ วันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:00 น.
บริจาคเลือดได้ทุก 3 เดือน

ช่องทางการติดต่อธนาคารเลือดศิริราช
โทรศัพท์ : 02-419-8081 ต่อ 123 , 128 (ห้องรับบริจาคเลือด)
Website : http://www.si-mahidol.ac.th/department/tranfusion/th/
Email : [email protected]

สถานที่รับบริจาคเลือดที่ ศิริราช
ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด โรงพยาบาลศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 3

 72 
 เมื่อ: มีนาคม 22, 2017, 06:33:29 AM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
"สุขตอนต้นทุกข์ตอนปลาย"
คนที่เรารักคนที่เราชอบ พอได้เขามาเราก็สุขใจ เดี๋ยวเวลาที่เขาจากเราไปเราก็เสียใจ ให้คิดว่าทุกอย่างที่เราได้มา ทุกอย่างที่จะให้ความสุขกับเรานั้น มีวันที่จะต้องหมดไป มีวันที่จะต้องหมดไป มีวันที่จะต้องจากเราไป หรือมีวันที่เราจะต้องจากเขาไป ถ้าเราคิดอย่างนี้เราก็ ไม่อยากจะได้อะไร ได้มาแล้ว ทุกข์ เอามาทำไม ได้มาแล้วถึงแม้ว่าจะมีสุข แต่มันสุขตอนต้น เพราะเดี๋ยวมันจะต้องทุกข์ตอนปลาย บางทีเขายังไม่ทันจากไปเราก็ทุกข์แล้ว ทุกข์เพราะห่วงใยกังวล กังวลว่าเขาจะเป็นอะไรไป กังวลว่าเขาจะไม่อยู่ ห่วงเขาเวลาไม่เห็นหน้าเห็นตาก็ห่วง นั่นมันเป็นความทุกข์ทั้งนั้น ทุกข์ที่เกิดจากการอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ได้บุคคลนั้นบุคคลนี้ เวลาที่ไม่ได้ก็ทุกข์อีกแบบหนึ่ง เพราะว่าเวลาอยากแล้วไม่ได้มันก็เสียใจไม่สบายใจ กระวนกระวายใจ เวลาเรารอสิ่งที่เราอยากได้เรารู้สึกกระวนกระวายไหม เมื่อไรจะมาสักทีเมื่อไรจะได้สักที พอได้มาก็ดีใจเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็มากังวลกับของที่เราได้ ว่าเอ๊ะมันจะดีไปเรื่อยๆ หรือเปล่า หรือเดี๋ยวมันจะเสียเดี๋ยวมันจะหายไปหรือเปล่า นี่ก็ทุกข์อีก เดี๋ยวเวลาเขาไปจริงๆ เสียจริงๆ เราก็ทุกข์อีก ให้คิดดูอย่างนี้
ทุกอย่างที่เราอยากได้นี้มันทำให้เราทุกข์ใจตั้งแต่เริ่มความอยาก พอมีความอยากปั๊ปมันก็ทุกข์แล้วไม่สบายใจแล้ว พอได้มาก็ทุกข์อีก และพอเสียไปก็ทุกข์อีก ทุกข์ทั้งสามระยะเลย ระยะเริ่มต้นตั้งแต่คิดอยากจะได้นี้กินไม่ได้นอนไม่หลับแล้ว อยากจะได้อะไรนี้ นอนไม่หลับแล้ว อยากจะไปเอาไอ้สิ่งที่เราอยากได้ พอได้มาก็ต้องมาทุกข์กับการดูแลรักษา มาห่วงใยมาวิตกมากังวล แล้วเดี๋ยวเวลาเสียไปก็ทุกข์อีก ของทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือสิ่งของต่างๆ มันเป็นของชั่วคราวทั้งนั้น เป็นของไม่แน่นอน เป็นของที่เปลี่ยนได้ มีเจริญมีเสื่อมเป็นธรรมดา มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ มีการเกิดมีการดับ แล้วเราก็ไปห้ามเขาไม่ได้ ไปบังคับเขาไม่ได้ ไปหยุดเขาไม่ได้ ไปเปลี่ยนเขาไม่ได้ เวลาเขาจะเป็นอย่างนี้เราจะไปเปลี่ยนให้เขาเป็นอย่างนั้น เราเปลี่ยนไม่ได้ เวลาเขาไม่ดีกับเรา เราก็เสียใจ อยากให้เขาดี เขาไม่ดีเราก็ทุกข์ นี่คือการคิด คิดแบบที่จะทำให้เราไม่อยากได้อะไร ไม่อยากมีอะไร ไม่อยากทำอะไร ถ้าเราไม่มีความอยากต่างๆ เราก็อยู่เฉยๆ ได้สบายไม่ต้องดิ้นรน.
สนทนาธรรมะบนเขา
วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

 73 
 เมื่อ: มีนาคม 01, 2017, 09:23:27 AM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
"การใช้เงินที่ไม่สูญเปล่า"
ความสุขที่เราได้จากการซื้อของฟุ่มเฟือยหรือไปเที่ยวกันนี้ จะเป็นความสุขเดี๋ยวเดียว เวลาที่เราไปเที่ยวกันไปซื้อของที่เราอยากได้กัน เราก็จะมีความสุขกัน แต่พอเรากลับมาบ้านความสุขเรานั้นก็จางหายไปหมด แล้วก็เงินที่ใช้ไปก็หมดไป แต่ถ้าเราเอาเงินนี้มาทำบุญทำทาน เราจะได้อีกแบบหนึ่ง ความสุขใจ ความอิ่มใจ ความอิ่มเอิบใจ ความพอใจ แล้วทุกครั้งที่เราคิดถึงบุญที่เราได้ทำ เราก็ยังเกิดความสุขใจอิ่มเอิบใจ ไม่เหมือนกับเราคิดถึงสถานที่ที่เราไปท่องเที่ยว หรือของที่เราไปซื้อมา เพราะคิดแล้วแทนที่จะสุขใจกลับเกิดความหิวโหยขึ้นมา เกิดความอยากไปเที่ยวใหม่ อยากจะซื้อของใหม่ แทนที่จะมีความอิ่มใจสุขใจกลับเกิดความหิวขึ้นมา เกิดความอยาก อยากจะไปเที่ยวอีกอยากจะไปซื้อของอีก แล้วการเอาเงินไปซื้อข้าวของ สิ่งที่เราได้มาก็คือข้าวของ ซึ่งเราบางทีก็ไม่ได้ใช้ ซื้อมาแล้วก็เอามาวางไว้เฉยๆ ปล่อยไว้นานๆ เข้ามันก็เก่า เดี๋ยวมันก็เสียมันก็หมดสภาพไป
แต่เงินที่เราเอาไปทำบุญทำทานนี้เราไม่ได้สิ่งของกลับมา แต่เราได้บุญกลับมา ที่เป็นเหมือนกับเงินที่เราฝากไว้กับธนาคาร ภพหน้าชาติหน้าเวลาเรากลับมาเกิดใหม่ เป็นมนุษย์ใหม่ เราจะมีเงินที่เราฝากไว้ในการทำบุญนี้รอเราอยู่ เรากลับมาเราจะได้มีเงินมากกว่าที่เรามีในภพนี้ชาตินี้ เพราะเป็นเหมือนกับการเอาไปฝากไว้ในธนาคาร มีทั้งต้นและมีทั้งดอกเพิ่มขึ้นอีก หรือถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับการเอาเมล็ดข้าวไปปลูก เมล็ดข้าวเมล็ดหนึ่งจะได้ต้นข้าวต้นหนึ่ง แต่เมื่อต้นข้าวต้นหนึ่งออกรวงมาจะได้เมล็ดข้าวอีกหลายสิบเมล็ดด้วยกัน ก็เป็นเหมือนกับการปลูกข้าว ทำบุญบาทหนึ่งนี้จะได้กลับมาเป็นร้อยเป็นสิบ เหมือนกับเมล็ดข้าวเม็ดหนึ่ง เมื่อเราปลูกไปได้ต้นข้าวมาต้นหนึ่ง พอต้นข้าวออกดอกออกรวงขึ้นมาออกข้าวขึ้นมาก็ได้หลายสิบเมล็ด นี่คือการใช้เงินที่ไม่สูญเปล่า ใช้เงินแล้วจะได้กลับคืนมา เวลาที่เรากลับมาเกิดใหม่ การที่พวกเรามาเกิดแล้วมีฐานะการเงินการทองต่างกันก็เป็นเพราะว่าเราได้ทำบุญในอดีตมามากน้อยไม่เท่ากันนั้นเอง เราทำบุญมากเรากลับมาเกิดเราก็จะกลับมาเกิดเป็นลูกของคนร่ำรวย มาเกิดเป็นลูกของคนมีเงินมีทอง ถ้าเราไม่ได้ทำบุญทำทานเรากลับมาก็จะกลับมาเกิดเป็นลูกของคนยากจน
นี่คือประโยชน์ที่เราจะได้รับต่างกัน จากการใช้เงินก้อนเดียวกัน เอาเงินไปเที่ยวเอาเงินไปซื้อของฟุ่มเฟือยของไม่จำเป็น กับเอาเงินนี้ไปทำบุญนี้ประโยชน์ที่จะได้รับไม่เหมือนกัน เอาไปเที่ยวก็สุขขณะที่เที่ยว กลับมาความสุขนั้นก็หมดไป แล้วถ้ากลับมาเกิดใหม่ในภพหน้าชาติหน้าก็ไม่มีเงินทองรอรับเรา เพราะเราไม่ได้เอาไปทำบุญ แต่ถ้าเราเอาไปทำบุญ กลับมาจากทำบุญเราก็ยังมีความสุขใจอิ่มเอิบใจจากการที่เราได้ทำบุญ แล้วถ้าวันไหนเราคิดถึงบุญที่เราได้ทำ บุญนั้นก็ยังทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มใจสุขใจอยู่ แล้วเวลาเรากลับมาเกิดใหม่เราก็จะมีเงินทองที่เราทำบุญนี้มารอเราอยู่.
ธรรมะบนเขา
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
"วันพระในยุคปัจจุบัน"
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

 74 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 12:22:55 PM 
เริ่มโดย AVATAR - กระทู้ล่าสุด โดย AVATAR
•• ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา ••

สังฆบิดร ผู้อร่ามในธรรมและศีลาจารวัตร
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา
“สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อมฺพโร อัมพร ประสัตถพงศ์)”
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ขณะมีสิริอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๖๘ ขึ้นเป็น
“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”
องค์ประมุขแห่งสังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร

นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สืบต่อจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง
สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต
ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต
วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ
ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ
พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร
ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช”

••••••••••••••••••••••••••
ยิ้ม คำแปล-คำอ่านพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ
๑. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(สม-เด็ด-พระ-อะ-ริ-ยะ-วง-สา-คะ-ตะ-ยาน)
: สมเด็จพระผู้มีญาณสืบมาแต่วงศ์พระอริยเจ้า
๒. สุขุมธรรมวิธานธำรง
(สุ-ขุม-ทำ-มะ-วิ-ทาน-ทำ-รง)
: ทรงเป็นผู้มีธรรมวิธีอันละเอียดอ่อน
๓. สกลมหาสงฆปริณายก
(สะ-กน-ละ-มะ-หา-สง-คะ-ปะ-ริ-นา-ยก)
: ทรงเป็นผู้นำพระสงฆ์หมู่ใหญ่ทั้งปวง
๔. ตรีปิฎกธราจารย
(ตรี-ปิ-ดก-ทะ-รา-จาน)
: ทรงเป็นอาจารย์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระปริยัติธรรม คือ พระไตรปิฎก
๕. อัมพราภิธานสังฆวิสุต
(อำ-พะ-รา-พิ-ทาน-สัง-คะ-วิ-สุด)
: ปรากฏพระนามฉายาในทางสงฆ์ว่า “อมฺพโร”
๖. ปาพจนุตตมสาสนโสภณ
(ปา-พด-จะ-นุด-ตะ-มะ-สาด-สะ-นะ-โส-พน)
: ทรงงดงามในพระศาสนาด้วยทรงพระปรีชากว้างขวาง
ในพระอุดมปาพจน์คือพระธรรมวินัย
๗. กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต
(กิด-ติ-นิ-ระ-มน-คุ-รุ-ถา-นี-ยะ-บัน-ดิด)
: ทรงดำรงพระเกียรติโดยปราศจากมลทิน และทรงเป็นครู
๘. วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ
(วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-นะ-ริด-ปะ-สัน-นา-พิ-สิด-ตะ-ประ-กาด)
: สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาด้วยเหตุที่ทรงพระราชศรัทธา เลื่อมใส
๙. วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ
(วิ-สา-ระ-ทะ-นาด-ทำ-มะ-ทู-ตา-พิ-วุด)
: ทรงเป็นที่พึ่งผู้แกล้วกล้าและมีพระปรีชาฉลาดเฉลียว
ทรงเป็นผู้ยังความเจริญแก่กิจการพระธรรมทูต
๑๐. ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร
(ทด-สะ-มิน-สม-มุด-ปะ-ถม-สะ-กน-ละ-คะ-นา-ทิ-เบด)
: ทรงเป็นใหญ่ในสงฆ์ทั้งปวง (คือทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช)
พระองค์แรกที่ได้รับพระราชทานสถาปนาในรัชกาลที่ ๑๐
๑๑. ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ
(ปะ-วิด-ทะ-เนด-ตะ-โย-พาด-วาด-สะ-นะ-วง-สะ-วิ-วัด)
: ทรงยังแสงสว่างแห่งแบบอย่างอันดีงามให้บังเกิด
โดยเจริญรอยตามสมเด็จพระอุปัชฌายะ
คือสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร)
๑๒. พุทธบริษัทคารวสถาน
(พุด-ทะ-บอ-ริ-สัด-คา-ระ-วะ-สะ-ถาน)
: ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพของพุทธบริษัท
๑๓. วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร
(วิ-บูน-สี-ละ-สะ-มา-จาน-ระ-วัด-วิ-ปัด-สะ-นะ-สุน-ทอน)
: ทรงงดงามในพระวิปัสสานาธุระ ทรงพระศีลาจารวัตรอันไพบูลย์
๑๔. ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ
(ชิน-นะ-วอน-มะ-หา-มุ-นี-วง-สา-นุ-สิด)
: ทรงเป็นอนุศิษย์ผู้สืบวงศ์สมณะมาแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
๑๕. บวรธรรมบพิตร
(บอ-วอน-ทำ-มะ-บอ-พิด)
: ทรงเป็นเจ้าผู้ประเสริฐในทางธรรม
๑๖. สมเด็จพระสังฆราช
(สม-เด็ด-พระ-สัง-คะ-ราด)
: ทรงเป็นราชาแห่งหมู่สงฆ์
ที่มา : หนังสือพระประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=53651
••••••••••••••••••••••••••
•• คำเรียกตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช” มี ๓ อย่าง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51799
•• ประวัติและความสำคัญ “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม”
ที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช องค์สังฆบิดรถึง ๓ พระองค์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19364
•• พระประวัติ ปฏิปทา และพระนิพนธิ์
สมเด็จพระสังฆราชไทย ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=22
••••••••••••••••••••••••••
ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ขอพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เสด็จสถิตเป็นบุณยฐาน
และเป็นประทีปธรรม ของปวงพุทธบริษัทตลอดไป
เกล้ากระหม่อม ทีมงานเว็บธรรมจักร www.dhammajak.net ยิ้ม

 75 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2017, 09:51:48 AM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
"พระพุทธเจ้าท่านทรงรู้แจ้งว่า โลกนี้จะพ้นโง่มันก็ยาก การที่จะได้เกิดเป็นคนนี่ยากที่สุด
แล้วเป็นคนจะเอาคนชนิดไหน คนมีบุญ คนลำบาก คนพิการง่อยเปลี้ย จะหาคนสบายมีกี่คน
ถ้าเทียบจำนวนทั้งหมด อย่างเดียรัจฉานนี่มันกินกันเอง กัดกันเอง คนบ้าฆ่ากันเอง
กระดูกของแต่ละคนนี้ท่านว่ากองเท่าภูเขา น้ำตาและเลือดของแต่ละชีวิตที่ผ่านมามีมากกว่าน้ำในมหาสมุทร ดูซิ.มันยาวนานแค่ไหน
การจะเกิดเป็นคนนั้นมันยากมาก ยาก อย่างที่ท่านเปรียบว่า ..เต่าตาบอด..มันจะว่ายน้ำเข้าฝั่ง
แต่ทะเลมีตาข่ายกั้นอยู่ และมีรูเท่าตัวเต่าอยู่รูเดียว ถ้าหัวไปโดนตาข่ายมันจะจมลงไปอีก100 ปี
จึงจะได้โผล่มาใหม่ คือจะจะลอดได้มันต้องฟลุ๊คที่สุด
แต่อย่างนั้น..โอกาสก็ยังง่ายกว่าโอกาสจะได้เกิดมาเป็นคนและเป็นคนอยู่ในพระพุทธศาสนามันยาก..ไม่พ้นวัฏสงสารไปได้"
หลวงปู่บุญฤทธิ์ บัณฑิโต

 76 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2017, 09:51:16 AM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
ขึ้นต้นให้ดีๆ หลับตา นั่งตัวตรงๆหลังตรงๆให้มีสติอยู่กีบตัว ดูลมหายใจเข้า-ออก
ดูเฉยๆไม่ต้องคิดอะไรเหมือนกับดูรถวิ่งตามถนน ดูไป เห็นไป รู้ไป ว่าลมหายใจเดินไปทางไหนก็เห็นรู้ๆไม่ต้องไปคิด
ดูลมเห็นลม เห็นก็ไว ได้ยินก็ไว เกิดเดี๋ยวนั้น รู้เดี๋ยวนั้น นั่นเรียกว่าวิญญาณ คือธรรมชาติรู้
เห็นธรรมดา ได้ยินธรรมดา รู้ธรรมดา เห็ธรรม รู้ธรรม มันก็หายโง่ซิ
พระเวลาสวดงานศพ กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา ดีก็ธรรมดา ไม่ดีก็ธรรมดา กลางๆก็ธรรมดา
ก็เหมือนฝ่ายวัตถุมีไฟฟ้าบวกไฟฟ้าลบ ไฟฟ้ากลางๆทั่วจักรวาลก็เท่านั้นเอง ร่างกาย วัตถุ คิด
นึกรู้ มันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆเปลี่ยนไปทุกศูนย์วินาที เรียกว่าขันธ์ 5 คือ กายใจทั้งหมด

พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้โลกุตรธรรม เห็นก็สักแต่เห็น วางไปไม่ยึดถือ ดับความยึดจึงจะไปรอด ด้วยสติ
ตัวสติแท้ๆเป็นโลกุตรธรรม เป็นธรรมพ้นโลก ตัวโลกุตรธรรมเหมือนไฟฟ้าแลบ แปล็บเดียวมันก็เห็นหมด
แลบหนเดียวไม่แลบมาก เจริญสติ หนทางเดียวไปรอด เห็นได้ยิน ก็สักแต่รู้ ไม่ไปถามไปตอบอะไร
ไม่ได้สมมุติเป็นเราเป็นเขา พระเจ้าไม่มีเป็นfactไม่ใช่fiction เสียงถูกหูได้ยินปั๊บนี่เป็นfact
มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆแต่ก็เป็นfact ก็เป็นธรรมชาติ เป็นธรรใดาไม่ต้องไปอยาก ความคิดทั้งหลายก็เหมือนกัน
ไม่ต้องไปหยุดวิญญาณดับไปๆ หยุดไม่ได้ มันไวมากนะซิ ไม่มีเรื่องมันก็สบาย จิตก็สบาย ไม่มีสงสัยแล้ว
เหมือนอย่างกินข้าวอิ่มแล้วจะไปสงสัยทำไมว่ากินแล้วหรือยัง กินหรือเปล่า กินกับอะไร ไม่ต้องไปคิดแล้ว
สำเร็จแล้วนี่จะไปสงสัยอะไร ถ้ายังสงสัยอยู่มันจะพ้นได้อย่างไร

จุดหมายปลายทางคือทำความโง่(อวิชชา)ให้พ้นไปจากจิตโดยเด็ดขาด ไม่มีเรื่องที่จะมาสงสัยอีกแล้ว
การภาวนาเป็นกุศลสูงสุดเป็นกุศลชั้นเยี่ยม ฝึกหัดจิตให้เป็นสมาธิ เป็นบุญชั้นเยี่ยมยิ่งกว่าทานและยิ่งกว่าศีล
พระพุทธเจ้าทรงเรียกอริยทรัพย์ แจกเท่าไหร่ไม่หมด นึกแผ่ไป send good will to all ตั้งแต่ยอดพรหมโลก
กว้างขวางแค่ไหนไปจนถึงก้นนรก ชีวิตมีค่าทุกวัน ทำน้อยได้น้อย ทำมากได้มาก สตินี่ทำได้ทุกระยะ รู้นี่
สติพร้อม ไม่มีทุกข์ เป็นบุญพร้อม จิตผ่องใส จิตก้าวหน้าพร้อมจะไปมีปัญหาในชีวิตได้อย่างไร จิตอยู่ในพุทธธรรม
อยู่ในแสงสว่าง จิตมุ่งสู่นิพพานธรรม อะไรมันไม่สูงไปกว่านี้หรอก มีน้อยคนที่จะถึงก็เป็นเรื่องธรรมดาของดีมีไม่มาก
หาเพชรหาง่ายเป็นทะนาน หาคนดีหาไม่ค่อยได้ จะหาแบบหลวงปู่มั่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว จะไปหาที่ไหนในโลก

หลวงปู่บุญฤทธิ์ บัณฑิโต

 77 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2017, 08:52:43 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
รบกวน upload ขึ้นเว็บ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ download เปิดฟังได้ค่ะ
สาธุ

เข้าไปฟังได้ตามลิ้งเลยครับผม : )
http://www.dhamma.com/thdownloads/
http://www.kammatan.com/music/

 78 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2017, 04:15:52 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
ลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ว่า
"หลวงปู่ครับ การปฏิบัติแบบรูป - นาม กับการปฏิบัติแบบพระป่า เหมือนกันไหมครับ"
หลวงปู่เมตตาตอบว่า "เหมือนกันอเมริกาหรือเมืองไทยอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน การปฏิบัติก็เหมือนกัน อริยสัจตัวเดียวกัน"
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
วัดสิริกมลาวาส หรือวัดใหม่เสนานิคม ใกล้สี่แยกวังหิน เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ

 79 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2017, 04:14:09 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
มีศิษย์คนหนึ่งเรียนถามปัญหาหนึ่งกับหลวงปู่ว่า
"หลวงปู่ครับเคยมีฝรั่งที่ผมเคยเรียนภาษาอังกฤษด้วยเขาเป็นหมอสอนศาสนาคริสต์
เขาเคยถามผมว่าจิตเดิมมาจากไหน และสุดท้ายเขาก็ยัดเยียดความคิดให้ผมว่าพระเจ้าสร้างจิต
แต่ผมไม่ยอมรับครับ ผมอยากทราบว่าจิตเดิมมาจากไหนครับหลวงปู่ ?"
หลวงปู่ตอบว่า "จิตเดิม พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาจากความไม่รู้ คือ อวิชชา
ความไม่รู้นั่นแหละเป็นตัวพาให้มันมาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วก็ทำให้มันรู้ซะ จะได้ไม่ต้องมาเกิดอีก
จำไว้ว่ามันเกิดจากอวิชชาทั้งนั้น ทั้งโลภ โกรธ หลง จำไว้นะให้ตอบเขาแบบนี้นะ"

หลวงปู่หลอด ปโมทิโต

 80 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2017, 04:13:21 PM 
เริ่มโดย golfreeze - กระทู้ล่าสุด โดย golfreeze
มีศิษย์คนหนึ่งเรียนถามปัญหาหนึ่งกับหลวงปู่ว่า
"หลวงปู่ครับ พระอริยเจ้าเวลาท่านเข้านิโรธสมาบัติ ท่านจะบอกผู้คนไหมครับ"
หลวงปู่เมตตาตอบว่า "ไม่หรอก ถ้าท่านบอก ก็จะบอกกับโยมที่ใส่บาตรว่า โยมไม่ต้องมาใส่บาตรนะ อีก ๗-๘ วัน อาตมาจะพักผ่อน"
ลูกศิษย์ถามต่อไปว่า "อย่างนี้แปลว่า พระอริยเจ้าเวลาท่านเข้านิโรธสมาบัติ ท่านไม่บอกใช่ไหมครับ"
หลวงปู่ตอบว่า "เพิ่นบ่อบอกดอก"
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต

หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10