แสดงกระทู้
หน้า: 1 [2] 3
16  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / กลวิธี รักษาโรคทางใจ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 10:54:20 AM


ชีวิตกับธรรมะจะต้องอยู่ด้วยกัน แยกออกจากกันไม่ได้ ถ้าแยกตัวชีวิตออกจากธรรมะเมื่อใด ก็เหมือนกับว่าเป็นคนไม่มีชีวิต ชีวิตจะสมบูรณ์เรียบร้อยก็ต้องมีธรรมะประคับประคองจิตใจเรียกว่ามีชีวิต ใครเข้าถึงธรรมะ ผู้นั้นก็เรียกว่ามีชีวิต ทิ้งธรรมะเสียเมื่อใดชีวิตวุ่นวายเมื่อนั้น เราจะเห็นได้ง่ายๆว่า เวลาเรามีความวุ่นวายใจ มีความทุกข์มีความเดือดร้อนใจนั้นก็เพราะขาดธรรมะเป็นหลักคุ้มครองใจ เมื่อไม่มีธรรมะคุ้มครองใจ จิตใจวุ่นวาย มีความเดือดเนื้อร้อนใจ เพราะว่าไม่เข้าถึงธรรมะ เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าถึงธรรมะ ความทุกข์หายไป ความเดือดร้อนทั้งหลาย ก็คลายจางไป ชีวิตมันสมบูรณ์ขึ้น ชีวิตกับธรรมะจึงสิ่งคู่กันแยกออกจากกันไม่ได้
      
      เราทั้งหลายที่มีความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงได้แสวงหาธรรมะเป็นหลักครองใจและก็ได้เห็นผลของธรรมะว่า ให้ความคุ้มครองให้ความสุขแก่ชีวิตของเราอย่างไรบ้าง ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหลายประการ ในแง่ต่างๆเราแก้มันได้ด้วยอะไร ถ้าที่ประพฤติธรรมก็แก้มันด้วยความรู้ความเข้าใจในธรรมะ เอาธรรมะมาแก้ปัญหา ชีวิตก็ผ่อนคลายไป พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน อันนั้นคือผลที่ปรากฏอยู่
      
      ความไม่สบายใจนั้นก็เป็นโรคอย่างหนึ่งเหมือนๆ กับโรคทางร่างกาย คนเราที่เป็นโรคทางกายต้องกินยาเพื่อรักษาโรคทางกายฉันใด เมื่อมีโรคทางจิตใจขึ้นมา ก็ต้องใช้ยาแก้โรคทางใจ ยาแก้โรคทางกายนั้นเป็นเรื่องทางวัตถุ เพราะว่าร่างกายนี้เป็นวัตถุ เกิดขึ้นด้วยธาตุมีประการต่างๆ การมีโรคทางกายก็เนื่องจากว่า อะไรบางอย่างขาดไป ความต้านทานก็น้อยไป จึงเป็นเหตุให้เกิดโรคทางกายขึ้นมา แต่ถ้าหากว่าเราไม่รู้เท่ารู้ทัน โรคนั้นก็จะกำเริบเสิบสาน ทำให้เราต้องพ่ายแพ้แก่โรค ร่างกายถึงแก่ความแตกดับลงไปได้ ฉันใด ในเรื่องทางจิตใจนี่ก็เหมือนกัน มันมีโรคทางใจเกิดขึ้นบ่อยๆ
      
      โรคทางใจนั้นไม่เหมือนกับโรคทางกาย คือโรคทางกายมันมีตัวเชื้อโรคประเภทต่างๆที่เข้ามายึดเอาร่างกายเป็นเรือนของมัน เป็นที่เกิดเป็นที่อาศัย แล้วก็ทำให้เราต้องพ่ายแพ้ คนใดที่ยังมีกายปกติ ก็หมายความว่าความต้านทานทางร่างกายนั้นยังดีอยู่ เมื่อความต้านทางร่างกายยังสมบูรณ์พร้อม เราก็เอาชนะโรคได้ แต่ก็ไม่แน่นักว่าความต้านทานทางกายนี้จะดีหรือสมบูรณ์อยู่ตลอดไป มันอาจจะเกิดความเพลี่ยงพล้ำขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ เพราะฉะนั้นคนบางคนที่เรามองเห็นว่า มีร่างกายเป็นปกติแข็งแรง แต่ก็เกิดการเจ็บไข้ลงได้ทันที อันนี้แสดงว่ามันมีเชื้อโรคอย่างแรงเกิดขึ้นในร่างกาย ทำให้ความต้านทานของร่าง กายนั้นสู้ไม่ได้ ก็เลยต้องยอมแพ้มัน กลายเป็นโรคประจำกายประจำตัวไป และอาจจะถึงความแตกดับลงไปเมื่อใดก็ได้
      
      การเรียนรู้ในเรื่องโรคทางกาย ก็เพื่อจะได้มีการป้องกัน แก้ไข เมื่อโรคนั้นเกิดขึ้น เราก็จะได้มีชีวิตเป็นปกติ ไม่วุ่นว่ายมากเกินไป ฉันใด เรื่องของจิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อมีโรคทางใจเกิดขึ้น ก็เพราะว่าเราพ่ายแพ้ ต่อสิ่งที่ยั่วยุ คืออารมณ์ประเภทต่างๆ ที่เข้ามากระทบประสาททั้งห้า คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และหกรวมทั้งใจด้วย อันนี้เป็นประตูแห่งโรคทางใจ เพราะว่ามีสิ่งภายนอก มากระทบ
      
      เมื่อมีสิ่งภายนอกมากระทบเข้าแล้วเราไม่สามารถจะต่อสู้มันได้ เราก็พ่ายแพ้แก่สิ่งนั้น การพ่ายแพ้ก็หมายความว่าตกเป็นทาสของสิ่งนั้น เช่น ตกเป็นทาสของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันเป็นเรื่องของวัตถุเหมือนกัน ที่เขาเรียกว่า มัวเมาในวัตถุ หลงใหลอยู่ในสิ่งนั้น ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น จิตใจก็วุ่นวายมีปัญหาเกิดขึ้นบ่อยๆ อาจถึงกับเสียผู้เสียคนไปก็ได้
      
      การสูญเสียทางร่างกายนั้น ไม่เป็นการสูญเสียเท่าใด แต่การสูญเสียทางด้านจิตใจนั่นแหละ เป็นความสูญเสีย อันยิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา เพราะคนเราถ้าใจมันเสียแล้ว อะไรๆก็จะพลอยเสียไปหมด แม้ร่างกายจะเป็นปกติ แต่ว่าจิตใจมันเสียกำลังไป จะเป็นคนที่สมบูรณ์อยู่ได้อย่างไร
      
      กำลังใจจะสูญเสียก็เพราะว่าปล่อยตัวปล่อยใจมากเกินไป ในสิ่งต่างๆที่เป็นวัตถุอันเกิดขึ้นกระทบทางจิตใจ เราไม่สามารถจะเอาชนะสิ่งนั้นได้ ที่ไม่สามารถจะเอาชนะ ได้ก็เพราะว่าไม่มีสติไม่มีปัญญา ตัวสติก็คือตัวธรรมะ ปัญญาก็คือตัวธรรมะ เราไม่มีธรรมะคุ้มครองจิตใจ เราจึงได้พ่ายแพ้แก่สิ่งเหล่านั้น แต่ถ้าเรามีสติรู้ทัน มีปัญญา รู้เท่าต่อสิ่งนั้น เราไม่พ่ายแพ้แก่อารมณ์ สิ่งใดมากระทบ เราก็ปัดมันไป ไม่ยอมรับไว้โดยความไม่รู้ไม่เข้าใจ แต่ว่า เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น ด้วยความรู้ความเข้าใจ เรียกว่าด้วยความรู้เท่าทัน
      
      ก็เหมือนกับคลื่นที่มากระทบฝั่ง มันหายไป คลื่นที่หายไปนั้นไม่ได้ทำฝั่งให้เสียหาย เช่น เราไปยืนอยู่ที่ชายทะเล ก็จะพบว่ามีคลื่นมากระทบฝั่งอยู่ตลอดเวลา กระทบแล้วมันก็หายไป อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากระทบ จิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน ถ้าหากว่าไม่รู้เท่าทันมันก็ทำให้เราเสียหาย คือทำให้เกิดความรู้สึกรุนแรงในเรื่องนั้นๆ ความรู้สึกรุนแรงมันเป็นไปทางรักก็ได้ ทางชังก็ได้ ทางหลงก็ได้ หรือทางใดทางหนึ่งก็ได้ ถ้ารุนแรงแล้วมันก็วุ่นวายเดือดร้อน แต่ถ้าเป็นไปแต่พอดีๆ ก็จะไม่เกิดความเสียหายมากเกินไป อันนี้เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นแก่ใครเมื่อใดก็ได้ถ้าหากว่าบุคคลนั้นขาดธรรมะเป็นเครื่องประคับประคองใจก็จะเกิดปัญหาวุ่นวายกันด้วยประการต่างๆ

ยิ้มกว้างๆ
17  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / ผลกรรม พิการเพราะฆ่าแมว เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2012, 09:37:02 PM
ผลแห่งกรรมนั้น หากจังหวะเวลาและโอกาสมาพร้อม เมื่อไหร่ มันก็จะให้ผลเมื่อนั้น จึงไม่ควรประมาทในชีวิต หากใครเผลอพลาดพลั้งไปทำกรรมชั่วแล้ว ก็จงละ เลิก และหมั่นสั่งสมกรรมดีไว้ให้มากๆ กรรมชั่วที่เคยทำไว้จะได้เบาบางลง หากไม่ทำความดี มีแต่สั่งสมกรรมชั่วเรื่อยไป ไม่นานกรรมชั่วทั้งหลายก็คงจะตามมาทันอย่างแน่นอน และวันนั้นจะเป็นวันแห่งความทุกข์ของชีวิตที่ไม่มีทางหลีกหนีได้ ดังเช่นเรื่องราวของนายสมหมาย ซึ่งเป็นชาวจังหวัดยโสธร มีอาชีพทำไร่ทำนา ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้ถึงอำนาจของกฎแห่งกรรมที่ทeงานอย่างตรงไปตรงมา เรื่องมีอยู่ว่า
      


      ในช่วงฤดูฝน มีน้ำหลาก นายสมหมายก็ออกไปหาปลาที่ท้องไร่ท้องนาตามปกติ วันหนึ่งสมหมายหาปลาได้มากกว่าปกติ มีแต่ปลาช่อนตัวใหญ่ๆ ทั้งนั้น เขาดีใจมาก กลับมาที่บ้านก็มีแต่คนชมว่าเก่ง สามารถหาปลาได้มากมาย เขาเอาปลาที่หามาได้ทั้งหมดขังไว้ในตุ่ม
      
      สมหมายหลงกระหยิ่มยิ้มย่องกับความโชคดีของตน แต่หารู้ไม่ว่าความโชคดีนั้นกำลังจะนำไปสู่ความหายนะของชีวิตตนเอง เขาไม่เคยหวาดกลัวกับบาปกรรมที่ตนกระทำไว้เลย
      
      เขาได้นำปลาที่ตนเองหามาได้นั้นมาปรุงเป็นอาหารอยู่หลายวัน แต่ปลาก็ยังไม่หมด ยังเหลืออยู่จำนวนมาก เขาจึงคิดว่าจะย่างปลาแล้วตากแห้ง เพราะจะทำให้เก็บไว้ได้นาน คิดแล้วเขาก็จัดการฆ่าปลาทุกตัวที่ขังอยู่ในตุ่ม และย่างปลาเหล่านั้นทันที

      เมื่อย่างปลาเสร็จก็นำไปตากแดดอีกครั้งให้แห้ง หลังตากปลาแล้ว เขาก็เข้าไปพักผ่อน คิดว่าแดดแรงๆอย่างนี้อีกสักพักปลาก็คงแห้งสนิทดี ก็จะได้เก็บเข้าบ้าน เพื่อใช้ปรุงอาหารในมื้อต่อๆไป
      
      แต่ในระหว่างที่เขากำลังหลับสบายอยู่นั้น ก็มีแมวตัวหนึ่งเดินผ่านมาพอดี และด้วยความหอมของปลาย่างนั่นเอง มันจึงเดินเข้ามายังที่สมหมายตากปลาไว้ เมื่อเห็นปลาย่างจำนวนมากวางอยู่ต่อหน้า เจ้าแมวก็เลยกินปลาย่างเหล่านั้นอย่างสบายใจ
      
      แต่ก่อนที่ปลาย่างจะหมด สมหมายก็ตื่นพอดี เขารีบลุกขึ้นเพื่อจะไปเก็บปลาที่ตากไว้ แต่บังเอิญมาเจอแมวกำลังกินปลาย่างของเขาอยู่ และเมื่อมองเห็นว่าปลาย่างที่ตากไว้หายไปเยอะ เหลือเพียงไม่กี่ตัว ทำให้สมหมายโกรธ จัดจนเลือดขึ้นหน้า เขารีบคว้าท่อนไม้เท่าที่หาได้ วิ่งไล่ตีแมว เจ้าแมวตกใจจึงปล่อยปลาย่างที่อยู่ในปากแล้วรีบกระโดดหนีไปอย่างรวดเร็ว สมหมายพยายามวิ่งไล่ตีแมว แต่ก็ไม่ทันมันเสียแล้ว
      
      เมื่อสมหมายทำอะไรเจ้าแมวไม่ได้ เขาก็ยิ่งโมโหหนักขึ้นไปอีก ไฟแห่งความโกรธได้ลุกโพลงอยู่ในใจของเขาตลอดเวลา ยามที่เห็นปลาย่างจำนวนมากที่ตนเองหามาได้ ต้องหายไปในพริบตา เพราะแมวมาขโมยกิน ซึ่งความจริงแล้วแมวอาจจะไม่ได้ขโมย มันเห็นอาหารมันก็กินไปตามประสาของมัน แต่สำหรับสมหมาย.. ไม่ได้คิดเช่นนั้น
      
      เวลาผ่านไปสองสามวัน สมหมายยังไม่หายโกรธ เขาคิดวางแผนที่จะจัดการกับแมวตัวนี้ให้จงได้ แล้วเขาก็หาปลาย่างมาล่อแมวให้ติดกับดักของเขา และแล้วแมวก็หลงกลของเขาจริงๆ มันเดินมาเจอปลาย่างอีก และรีบเข้าไปกินทันที โดยไม่ได้เฉลียวใจอะไร แต่คราวนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน เพราะสมหมายรอดักจับอยู่ ขณะที่เจ้าแมวกำลังเพลินกับการกินปลาย่างนั้น สมหมายก็ย่องเข้ามาตะครุบแมวหัวขโมยทันที
      
      สมหมายหัวเราะด้วยความดีใจระคนเคียดแค้น คราวนี้เขาจะได้จัดการกับมันอย่างสาสมกับที่มันมาขโมยปลาย่าง เขาอุ้มแมวเดินไปหาเชือกไนล่อนเส้นเท่านิ้วก้อยที่เตรียมไว้ เอาปลายเชือกข้างหนึ่งมาผูกที่คอของแมว ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งโยงเข้าไว้กับกิ่งไม้ใหญ่ที่สูงทีเดียว เจ้าแมวจึงห้อยโตงเตงอยู่ที่ต้นไม้ เพราะเขาต้องการให้มันตายอย่างช้าๆและทุกข์ทรมาน แต่แค่นี้ยังไม่หนำใจ เขานำปลาย่างมาโชว์ให้มันดูด้วย
      
      ผ่านไปได้สักพัก เจ้าแมวก็รู้สึกอึดอัดและหายใจไม่ค่อยออก เพราะเชือกที่รัดคอมันแน่นมาก มันจึงร้องและดิ้นอย่างทุรนทุราย ขณะที่สมหมายนั่งมองดูด้วยความสะใจ พร้อมกับพูดสมน้ำหน้าว่า “เป็นไงล่ะ..สาสมดีแล้ว กับที่เจ้ามาขโมยของข้ากิน ก็จะต้องตายแบบนี้”
      
      สมหมายได้ระบายความโกรธที่อยู่ในใจของเขาอย่างโหดเหี้ยม แต่เขาไม่เคยรู้เลยว่า การกระทำด้วยความโกรธเช่นนี้จะส่งผลกรรมอันใหญ่หลวงต่อชีวิตของเขา เพราะอำนาจของความโกรธได้ปิดบังดวงตาแห่งปัญญาของเขาไม่ให้รู้บาปบุญคุณโทษนั่นเอง เขาเพียงแต่นึกว่า มันสาสมกันแล้วที่แมวมาขโมยกินปลาย่างของเขา มันจึงสมควรตาย
      
      หลังจากนั้นต่อมาไม่ถึงปี กรรมที่สมหมายได้กระทำไว้กับแมว ก็เริ่มย้อนเข้ามาหา ในช่วงงานเทศกาลบุญบั้งไฟ ซึ่งสมหมายก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ชอบทำบั้งไฟ ทุกๆ ปีเขาก็จะต้องทำบั้งไฟเล่นกับเพื่อนๆ เป็นประจำ
      
      แล้ววันที่สมหมายต้องชดใช้กรรมก็มาถึง ในระหว่างที่เขากำลังทำบั้งไฟอยู่นั้น ปากของเขาก็คาบบุหรี่ไปด้วย และด้วยความประมาททำให้สะเก็ด ไฟจากบุหรี่หล่นลงมาถูกดินปืนที่ใช้สำหรับทำบั้งไฟ จึงเกิดระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว
      
      สมหมายได้รับบาดเจ็บสาหัส ตามลำตัวของเขาถูกสะเก็ดดินปืนจนเป็นบาดแผล โดยเฉพาะที่คอสาหัสมาก จนหายใจไม่ค่อยออก เขานอนกุมคอร้องโอดครวญดิ้นทุรนทุราย ไม่ต่างอะไรกับแมวที่เขาเคยผูกคอมันจนตาย และในช่วงนั้นเอง กรรมที่เขาเคยทำไว้ก็ได้แวบขึ้นมาปรากฏในใจทันที เหมือนกับว่ามันมาทวงสัญญาคืน สมหมายจึงรีบตั้งจิตอธิษฐานว่า หากไม่ตายจะทำบุญอุทิศไปให้แมวตัวนี้
      
      ในที่สุดเพื่อนๆที่เล่นบั้งไฟอยู่ด้วยกันแถวนั้นก็ได้นำเขาส่งโรงพยาบาล หมอสามารถช่วยชีวิตไว้ได้ แต่ไม่สามารถให้กลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม เพราะมีปัญหาที่คอ เวลากินอาหารทุกครั้งจะกินและกลืนด้วยความยากลำบาก บางทีถึงกับต้องกินอาหารทางสายยาง สมหมาย รู้สึกทรมานมาก แต่เขาก็ต้องก้มหน้ารับกรรมที่ได้ก่อไว้
      
      อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เขาออกจากโรงพยาบาลแล้ว เขาก็พยายาทำบุญกุศลอุทิศไปให้กับแมวตัวนั้น และไม่กล้าทำบาปอีกเลยจนกระทั่งทุกวันนี้
      
      ความดีเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐ และทำให้เรามีความสุขอย่างแท้จริง กรรมชั่วไม่เคยทำให้ใครได้ดีจริง ไม่สามารถสร้างความสุขให้ได้อย่างแท้จริง กรรมดีต่างหาก ที่นึกถึงเมื่อใหร่ก็สุขใจเมื่อนั้น การทำกรรมดียังทำให้เราเป็นคนองอาจในทุกที่ทุกสถาน ไปไหนก็ได้รับความเคารพยกย่อง เทิดทูนบูชา อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความสุขสงบเย็นตลอดไป

 ยิ้มกว้างๆ
18  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / 10 ระดับ ความสุขความเจริญ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2012, 03:22:22 PM


การที่พระพุทธองค์ทรงส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาและพระองค์ก็เสด็จออกทำหน้าที่ด้วยนั้น มีจุดประสงค์อีกประการหนึ่งคือ สุขาย(สุ-ขา-ยะ) เพื่อความสุข ถ้าพิจารณาดูให้ลึกเข้าไปว่า ความสุขระดับไหน ความสุขประเภทไร ก็อาจจะพิจารณาได้หลายประเภท หลายแง่มุม อย่างน้อยพระองค์ก็สอนให้คนที่อยู่ในโลกิยสุข รู้จักแสวงหากามสุข สุขด้วยความปลอดภัย
      
      ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐) ได้จำแนกความสุขออกไปทั้งโดยประเภทและโดยระดับเป็นคู่ๆ มากมายหลายคู่ เช่น สุขของคฤหัสถ์กับสุขของบรรพชิต กามสุขกับเนกขัมมสุข โลกิยสุขและโลกุตตรสุข สุขของพระอริยะกับสุขของปุถุชน เป็นต้น ความสุขที่ท่านแบ่งไว้ชัดเจน ละเอียด ดูง่ายๆ ไม่ซับซ้อน น่าจะได้แก่ วิธีแบ่งระดับความสุขเป็น ๑๐ ขั้น คือ
      
      • ระดับความสุข ๑๐ ขั้น
      
      ๑. กามสุข ความสุขเนื่องด้วยกาม ซึ่งเกิดจากความกำหนัดยินดีในรูปที่สวย เสียงที่ไพเราะ กลิ่นที่หอม รสที่อร่อย และสัมผัสอันอ่อนนุ่มสุขสบาย หรือเรียกว่าความสุขที่เกิดจากกามคุณ ๕
      
      ๒. ปฐมฌานสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่ง รูปฌานขั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นภาวะจิตที่สามารถสลัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบด้วยองค์ธรรม ๕ ประการ คือ วิตก (ภาวะจิตที่ตรึกนึกอารมณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก) วิจาร (ภาวะจิตที่เฟ้นพิจารณาอารมณ์นั้น) ปีติ (ภาวะจิตที่กำซาบอิ่มเอิบในอารมณ์) สุข (ภาวะจิตที่สุขสบายในอารมณ์) และเอกัคคตา (ภาวะจิตที่เป็นสมาธิหรือมีอารมณ์เดียว)
      
      ๓. ทุติยฌานสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่ง รูปฌานขั้นที่ ๒ ซึ่งประกอบด้วยองค์ธรรม ๓ ประการ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา
      
      ๔. ตติยฌานสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่ง รูปฌานขั้นที่ ๓ ซึ่งประกอบด้วยองค์ธรรม ๒ ประการ คือ สุข และเอกัคคตา
      
      ๕. จตุตถฌานสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่ง รูปฌานขั้นที่ ๔ ซึ่งประกอบด้วยองค์ธรรม ๒ คือ อุเบกขา (ภาวะจิตที่วางเฉยในอารมณ์) และเอกัคคตา
      
      ๖. อากาสานัญจายตนสมาปัตติสุข ความสุขจากภาวะ จิตที่เข้าสมาธิแห่งอรูปฌานขั้นที่ ๑ ซึ่งมีอากาศอันไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอารมณ์ หมายถึง ความสุขที่เกิดจากฌานจิตที่เลิกเพ่งกสิณ แล้วมากำหนดอากาศคือที่ว่างช่องว่าง เป็นอารมณ์ โดยพิจารณาให้เห็นว่าอากาศไม่มีที่สุด
      
      ๗. วิญญาณัญจายตนสมาปัตติสุข ความสุขจากภาวะ จิตที่เข้าสมาธิแห่งอรูปฌานขั้นที่ ๒ ซึ่งยึดเอาวิญญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หมายถึงความสุขที่เกิดจากฌานจิตที่เลิกเพ่งอากาศหรือที่ว่างนั้น แล้วมากำหนดเพ่งดูวิญญาณจิตที่แผ่ไปสู่ที่ว่างเป็นอารมณ์ โดยพิจารณาให้เห็นว่าวิญญาณไม่มีที่สุด
      
      ๘. อากิญจัญญายตนสมาปัตติสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่งอรูปฌานขั้นที่ ๓ หมายถึง ความสุขที่เกิดจากฌานจิตที่เลิกกำหนดเพ่งดูวิญญาณจิตที่แผ่ไปสู่ที่ว่าง แล้วมากำหนดภาวะที่ไม่มีอยู่แห่งวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยพิจารณาให้เห็นว่าสักหน่อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี
      
      ๙. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่งอรูปฌานขั้นที่ ๔ อันถึงภาวะที่สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็นอารมณ์ หมายถึงฌานที่เลิกกำหนดภาวะที่ไม่มีแห่งวิญญาณนั้น แล้วเข้าถึงภาวะที่มีสัญญา (ภาวะที่จิตกำหนดหมาย) ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ที่ละเอียดประณีตกว่าความสุขในขั้นอรูปฌานที่ ๓ นั้น
      
      ๑๐. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข สุขเกิดจากภาวะ จิตสงบประณีต เข้าถึงนิโรธสมาบัติ อันถึงภาวะที่ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด เป็นภาวะจิตที่ละเอียดมีความประณีตลึกซึ้งกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุขขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยผู้เข้าสมาบัตินี้จะไม่มีสัญญาและไม่มีเวทนา
      
      ถ้าย่อทั้ง ๑๐ นี้ลงอีก ก็เหลือ ๓ ข้อ คือ กามสุข ความสุขของคนทั่วไป ฌานสุข ความสุขของผู้ได้สมาธิจิต ขั้นฌาน นิโรธสมาปัตติสุข ความสุขเกิดจากการเข้านิโรธสมาบัติของพระอรหันต์
      
      ความสุขทั้งหมดนี้ท่านยอมรับว่าเป็นความสุขทั้งนั้น แต่เป็นความสุขที่ดีกว่าประเสริฐกว่ายิ่งไปตามลำดับ ประณีตบริสุทธิ์มากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น พระพุทธองค์ก็ยังขอให้มองความสุขเหล่านี้เป็น ๓ ส่วน คือ แง่ที่เป็นสุข แง่ที่มีทุกข์ และให้รู้จักทางออก เรียกว่ามองเป็น ๓ มิติ ในขั้นสุดท้ายก็เกิดมรรคสุข ผลสุข และนิพพานสุข ซึ่งไม่ กลับกลายอีก มีแต่ความปลอดโปร่งถ่ายเดียว นี่คือประโยชน์สุขที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มนุษย์เข้าถึงให้ได้
      
      • ความเจริญที่ประเสริฐ
      สำหรับคฤหัสถ์ ๑๐ ระดับ

      
      ในวัฑฒิสูตร ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๗๔) พระพุทธองค์ทรงแสดงความเจริญในขั้นตอนต่างๆ ของชีวิตคฤหัสถ์ไว้ ๑๐ ระดับ คือ
      
      ๑. เจริญด้วยอสังหาริมทรัพย์ มีเรือกสวน ไร่นา เป็นต้น
      ๒. เจริญด้วยสังหาริมทรัพย์ มีเงินทอง ข้าวเปลือก เป็นต้น
      ๓. เจริญด้วยบุตรธิดาและภรรยา
      ๔. เจริญด้วยข้าทาสบริวาร ลูกน้อง กรรมกร คนใช้
      ๕. เจริญด้วยสัตว์เลี้ยงต่างๆ ในกรณีที่มีอาชีพทางเลี้ยงสัตว์
      ๖. เจริญด้วยศรัทธา คือ ความเชื่ออันมั่นคง
      ๗. เจริญด้วยศีล คือ การควบคุมกายและวาจาตนเอง ให้ปกติ
      ๘. เจริญด้วยสุตะ คือ การศึกษา การสดับรังฟัง ความรู้ในวิทยาการต่างๆ
      ๙. เจริญด้วยจาคะ คือ การเสียสละเพื่อเกื้อกูลแก่คน อื่น
      ๑๐. เจริญด้วยปัญญา คือ มีความรอบรู้ในเหตุผลต่างๆ ทั้งด้านดีและไม่ดี

      
      พระพุทธองค์ทรงย้ำว่า หากบุคคลเจริญด้วยความเจริญในระดับต่างๆ ดังกล่าว ชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ เพราะสามารถถือเอาสิ่งที่เป็นสาระ คือสิ่งที่ประเสริฐแห่งชีวิตได้ และตรัสสรุปความเป็นพระพุทธคาถาว่า
      
      “ในโลกนี้ บุคคลใดเจริญด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา (ทาสกรรมกร) และสัตว์สี่เท้า บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้มีโชค มียศ เป็นผู้อันญาติมิตร และพระราชาบูชาแล้ว
      
      ในโลกนี้ บุคคลใดเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา บุคคลเช่นนั้นจัดเป็นสัตบุรุษ มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญสองส่วน”
      
      จากพระพุทธคาถาสรุปความในพระสูตรนี้ เป็นเครื่อง ชี้ให้เห็นได้ว่าในทางพระพุทธศาสนามองปัจจัยแห่งการอยู่ดีมีสุขของคนผู้ครองเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจเป็น ๒ ชั้น คือ
      
      (๑) ชั้นของการสนองตอบความต้องการหรือการบำบัดทุกข์
      (๒) ชั้นของการบำบัด หรือบรรเทา คือการลดกระแส ของความอยาก ความต้องการที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด โดยให้ลดความรุนแรงลงเป็นชั้นของการบำรุงสุข


ยิ้มกว้างๆ
19  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / กรรมที่ทำให้ขาขาด เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2012, 04:37:32 PM


กฎแห่งกรรมเป็นกฎเกณฑ์ที่ตรงไปตรงมา ใครทำกรรมอย่างใดไว้ ย่อมได้รับผลอย่างนั้น เราทุกคน เกิดมาจึงเป็นผู้สร้างเหตุปัจจัยให้กับตนเอง หากอยากประสบความสุขความสำเร็จ ก็ต้องสร้างเหตุปัจจัยที่ดี เหตุปัจจัยที่ไม่ดี ย่อมนำมาแต่ความทุกข์ความเดือดร้อนให้กับตนเอง
      
      ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต ซึ่งไม่สามารถที่จะย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้
      
      สุวิมล เป็นคนจังหวัดราชบุรี มีอาชีพทำไร่ทำสวน สมัยที่ยังเป็นเด็ก เธอซุกซนมาก มีอะไรให้เล่นก็เล่นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเล่นกับชีวิตของสัตว์อื่นๆ
      
      หลายครั้งที่เธอชวนเพื่อนๆ ไปจับสัตว์มาทรมานเล่น บางครั้งก็ไปจับนกแล้วเอาประทัดผูกขามัน เมื่อจุดประทัดแล้วก็ปล่อยมันไป บางครั้งก็เป็นสัตว์อื่นๆ เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก สุนัข กบ คางคก เป็นต้น นับว่าสารพัดสัตว์ที่เธอหามาได้ ก็มักถูกจับมาทรมานในรูปแบบต่างๆ กัน
      
      สัตว์บางตัวจับมาแล้วก็เอามาผูกไว้ ให้มันอดอาหารทรมานจนตาย บางครั้งก็จับใส่ขวดแล้วก็ปิดปากขวดไว้อย่างแน่นหนา สัตว์หลายตัวต้องดิ้นรนอยู่ในขวดอย่างทุรนทุราย เพราะขาดอากาศหายใจ จนในที่สุดก็ตายด้วย ความทุกข์ทรมาน
      
      แต่สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นความสุขของสุวิมลทั้งสิ้น เห็นสัตว์ทีไร เธอก็อดไม่ได้ที่จะต้องจับมันมาทำอะไรสักอย่าง เมื่อได้ทรมานมันแล้วก็รู้สึกว่า สนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นบาปเป็นกรรมอะไรทั้งสิ้น เธอเชื่อว่า ถึงบาปกรรมจะมีจริง สัตว์พวกนั้นก็คงทำอะไรเธอไม่ได้ เพราะมันตัวเล็กนิดเดียว ไม่มีแรงที่จะมาทำอย่างที่เธอทำกับมันได้
      
      สิ่งที่สุวิมลคิดทั้งหมด ล้วนแต่เป็นความคิดผิด อันเกิดจากอวิชชาที่ครอบงำเธออยู่อย่างหนาทึบ จริงอยู่...สัตว์เหล่านั้นคงไม่สามารถฟื้นขึ้นมาและไม่สามารถจับสุวิมลใส่ขวดปิดฝาทรมานอย่างที่เธอทำกับมันได้ แต่แน่นอนว่า สัตว์ทุกตัวที่ถูกเธอทรมาน จะต้องผูกความแค้นความอาฆาตกับเธอย่างแน่นอน เพราะใครๆก็ต้องรักชีวิตของตนเอง สัตว์ทุกตัวก็รักชีวิตของมัน

      ด้วยบาปกรรมที่สุวิมลทำไว้จะทำให้เธอได้รับผลกรรมอย่างแน่นอน ไม่วันใดก็วันหนึ่ง แต่ในขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมชั่ว เธอย่อมไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ
      
      วันหนึ่งสุวิมลจับนกมาได้ตัวหนึ่ง ก็เลยนึกสนุกเช่นที่เคยทำ เธอไปซื้อประทัดสามเหลี่ยมขนาดใหญ่มาหนึ่งอัน และผูกไว้ที่ขานกอย่างที่เธอเคยทำ พร้อมกับเอาเทปใสพันรอบขานกเพื่อไม่ให้ประทัดหล่น เมื่อเธอมั่นใจว่าประทัดแน่นดีแล้ว ก็หาไม้ขีดไฟมาจุดทันที!!
      
      ไฟลุกติดอย่างรวดเร็ว เธอรีบปล่อยนกให้เป็นอิสระ มันจึงรีบบินหนีทันที เพราะกลัวความตาย แต่เมื่อบินไป ได้ไม่ไกลนัก ประทัดก็ระเบิดขึ้นตูมใหญ่!! เสียงดังสนั่น หวั่นไหว ตามมาด้วยขาทั้งสองของมันขาดปลิวร่วงลงมา!! มันเจ็บปวดทรมานมาก ก่อนที่ร่างจะค่อยๆร่วงลงสู่พื้น
      
      สุวิมลเห็นเช่นนั้นก็ไม่ได้รู้สึกตกใจ หรือรู้สึกสงสารนกแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามเธอกลับตบมือโห่ร้องแสดงความดีใจ และสนุกสนานที่ได้แกล้งนก
      
      หนึ่งปีผ่านไป กรรมที่สุวิมลก่อไว้กับนกก็ได้ย้อนกลับ มาหาเธอโดยที่เธอไม่รู้สึกตัวเลย
      
      วันหนึ่งเธอนั่งรถมอเตอร์ไซค์ไปกับเพื่อน เพื่อจะไปเที่ยวงานกลางคืน ความที่พวกเธอเป็นวัยรุ่น กำลังคึกคะนอง จึงขับรถซิ่งด้วยความสะใจ โดยไม่กลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุ
      
      ช่วงเวลาที่เธอกำลังสนุกสนานกับความเร็วของรถอยู่นั้น จู่ๆรถก็ตกหลุม ทำให้เสียหลักในการทรงตัว ตกลงข้างถนน คนขับก็ลอยกระเด็นไปด้านหนึ่งจนสลบไป แต่สุวิมลลอยกระเด็นติดไปกับรถ เมื่อรถกระแทกลงพื้น ก็ระเบิดขึ้นมาอย่างแรง เสียงดังสนั่นหวั่นไหว!! และท่ามกลางความมืดนั้น ได้ยินแต่เสียงร้องของสุวิมลเรียกให้คนช่วย
      
      เธอนอนร้องอยู่อย่างนั้นหลายชั่วโมง ขณะนั้นเธอก็รู้สึกได้ว่า ขาข้างซ้ายของเธอได้ขาดไปแล้ว น้ำตาจึงไหล ออกมาไม่หยุด ด้วยความเจ็บปวดที่ขาขาด และเสียเลือดมาก สุวิมลร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
      
      เธอเล่าให้ฟังว่า ขณะที่รอให้คนมาช่วยอยู่นั้น ในจิตสำนึกก็หวนระลึกถึงนกที่ตนเองผูกประทัดไว้ จนทำให้มันขาขาด สุวิมลไม่รู้ว่าทำไมต้องนึกถึงมัน แต่จิตของเธอมันนึกขึ้นมาเอง ตอนนี้เธอได้รู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดแล้วว่ามันเป็นอย่างไร ผลของกรรมได้สนองเธอแล้วอย่างแน่นอน เธอคิดได้อย่างเดียวว่า มันเป็นผลกรรมที่เธอทำไว้กับนกเป็นแน่ เมื่อตั้งสติได้เช่นนั้น เธอก็คิดขึ้นมาในใจว่า ขออย่าเพิ่งให้ตนเองตายตอนนี้ หากไม่ตายจะทำบุญไปให้นกตัวนั้น
      
      เวลาผ่านไปหลายชั่วโมง ในที่สุดก็มีคนผ่านมาและช่วยนำตัวเธอส่งโรงพยาบาลทันที เธอนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลหลายวันกว่าจะกลับบ้านได้ ทุกขณะที่อยู่โรงพยาบาล เธอก็ยังนึกถึงวันที่เธอจุดประทัดแล้วนกตัวนั้นหล่นลงมาขาขาด และตั้งใจว่าหากกลับบ้านวันใดจะต้องรีบทำบุญให้กับนกตัวนั้นทันที
      
      เมื่อถึงวันที่ได้กลับบ้าน เธอจึงบอกพ่อแม่ให้เตรียมสังฆทาน อาหารคาวหวาน และให้พาเธอไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับนกตามที่เธอตั้งใจไว้ และนอกจากนี้ เธอยังได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์อื่นๆ ที่เธอเคยนำมาทรมานทุกตัว ทำให้สุขภาพจิตของเธอดีขึ้น แผลที่ขาก็ค่อยๆหาย แต่ขาที่ขาดไปแล้วนั้น หมอไม่สามารถต่อได้ เธอต้องกลายเป็นคนพิการไปตลอดชีวิต
      
      นี่แหละคืออำนาจของกฎแห่งกรรม ที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ให้ผลตามที่แต่ละคนได้สร้างเอาไว้ คนอื่นจะมารับแทนกันก็ไม่ได้ ผู้ที่ต้องการประสบแต่ความโชคดีก็จงรู้จักเลือกที่จะสร้างแต่กรรมดี เราสามารถทำกรรมดีได้ทุกวันทุกที่ทุกเวลา เพียงตั้งใจงดเว้นจากกรรมชั่ว รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ให้ทาน และปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นประจำ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ชีวิตของเราประสบแต่ความโชคดีตลอดไป

ยิ้มกว้างๆ
20  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / คุณค่าของกาลเวลา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2012, 04:55:15 PM


      อจฺเจนฺติ อโรหรตฺตา ชีวิตํ อุปฺรุชฺชติ กุณฺฑที ทมิโวทกํ ติฯ
      
      กาลเวลาเป็นของมิใช่จะให้ประโยชน์แก่โลกทั่วไปเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้มีปัญญาสนใจในธรรมปฏิบัติ รีบเร่งฝึกหัดใจของตนๆ ให้ทันกับกาลเวลาอีกด้วย แท้จริงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ ต้องขึ้นอยู่กับกาลเวลาทั้งนั้น เช่น ดินฟ้าอากาศ ฤดู ปี เดือน ต้นไม้ ผลไม้ และธุระการงานที่สัตว์โลกทำอยู่ แม้แต่ความเกิด ความแก่ และความตาย ถึงแม้สิ่งเหล่านั้นจะเป็นอยู่ตามหน้าที่ของเขาก็ตาม แต่ต้องอยู่กับกาลเวลา ถ้าหากกาลเวลาไม่ปรากฏแล้ว สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏเลย จะมีแต่สูญเรื่อยไปเท่านั้น
      
      กาลเวลาได้ทำประโยชน์ให้แก่ชาวโลกนี้มิใช่น้อย ชาวกสิกรก็ต้องอาศัยวัสสานฤดู ปลูกพืชพันธุ์ในไร่นาของตนๆ เมื่อฝนไม่ตกก็พากันเฝ้าบ่นว่าเมื่อไรหนอพระพิรุณจะประทานน้ำฝนมาให้ ใจก็ละห้อย ตาก็จับจ้องดูท้องฟ้า เมื่อฝนตกลงมาให้ต่างก็พากันชื่นใจระเริงด้วยความเบิกบาน แม้ที่สุดแต่ต้นไม้ซึ่งเป็นของหาวิญญาณมิได้ ก็อดที่จะแสดงความดีใจด้วยอาการสดชื่นไม่ได้ ต่างก็พากันผลิดอกออกประชันขันแข่งกัน ชาวกสิกรตื่นดึกลุกเช้าเฝ้าแต่จะประกอบการงานของตนๆ ตากแดด กรำฝน ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเย็นร้อนอนาทร
      
      ชาวพ่อค้าวาณิชนักธุรกิจ ก็คอยหาโอกาสแต่ฤดูแล้ง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและขนส่ง เมื่อแล้งแล้วต่างก็พากันจัดแจงเตรียมสินค้าไม่ว่าทางน้ำและทางบก
      
      ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาตั้งมั่นในบุญกุศล ก็พากันมีจิตจดจ่อเฉพาะเช่นเดียวกันว่า เมื่อไรหนอจะถึงวันมาฆะ-วิสาขะ-อาสาฬหะ เวียนเทียนประทักษิณนอบ น้อมต่อพระรัตนตรัย เมื่อไรหนอจะถึงวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา-เทโวโรหนะตักบาตรประจำปี
      
      วันทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เนื่องด้วยกาลเวลา ทั้งนั้น และเป็นวันสำคัญของชาวพุทธเสียด้วย เมื่อถึงวันเวลาเช่นนั้นเข้าแล้ว ชาวพุทธทั้งหลายไม่ว่าหญิงชายน้อยใหญ่ แม้จะฐานะเช่นไร อยู่กินกันเช่นไรก็ตาม จำต้องสละหน้าที่การงานของตน เข้าวัดทำบุญตักบาตร อย่างน้อยวันหนึ่ง หากคนใดไม่ได้เข้าวัดทำบุญสังสรรค์กับมิตรในวันดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นคนอาภัพ
      
      ส่วนนักภาวนาเจริญสติปัฏฐาน ย่อมพิจารณาเห็นอายุสังขารของตนเป็นของน้อยนิดเดียว เปรียบเหมือนกับน้ำตกอยู่บนใบบัว เมื่อถูกแสงแดดแล้วพลันที่จะเหือด แห้งอย่างไม่ปรากฏ แล้วก็เกิดความสลดสังเวช ปลงปัญญาสู่พระไตรลักษณญาณ
      
      กาลเวลาจึงว่าเป็นของดีมีประโยชน์แก่คนทุกๆ ชั้นในโลกนี้และโลกหน้า ดังพุทธภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้นว่า
      
      อจฺเจนฺติ อโรหรตฺตา ชีวิตํ อุปฺรุชฺชติ กุณฺฑที ทมิโวทกํ
      แปลว่า โอ้ชีวิตเป็นของน้อย ย่อมรุกร่นเข้าไปหาความตายทุกที เหมือนกับน้ำในรอยโค เมื่อถูกแสงพระอาทิตย์แล้ว ก็มีแต่จะแห้งไปทุกวันฉะนั้นฯ
      
      โดยอธิบายว่า ชีวิตอายุของเรา ถึงแม้ว่าจะมีอายุอยู่ได้ตั้งร้อยปี ก็นับว่าเป็นของน้อยกว่าสัตว์จำพวกอื่นๆ เช่นเต่าและปลาในทะเลเป็นต้น ซึ่งเขาเหล่านั้นมีอายุตัวละมากๆ เป็นร้อยๆ ปี ตั๊กแตน แมลงวัน เขามีอายุเพียง ๗-๑๐ วันเขาก็ถือว่าเขามีอายุโขอยู่แล้ว แต่มนุษย์เราเห็น ว่าเขามีอายุน้อยเดียว
      
      ผู้มีอัปมาทธรรมเป็นเครื่องอยู่ เมื่อมาเพ่งพิจารณาถึงอายุของน้อย พลันหมดสิ้นไปๆใกล้ต่อความตายเข้ามาทุกที กิจหน้าที่การงานของตนที่ประกอบอยู่จะไม่ทันสำเร็จ ถึงไม่ตายก็ทุพพลภาพเพราะความแก่ แล้วก็ได้ขวนขวายประกอบกิจหน้าที่ของตนเพื่อให้สำเร็จโดยเร็วพลัน กาลเวลาจึงอุปมาเหมือนกับนายผู้ควบคุมกรรมกรให้ทำงานแข่งกับเวลา ฉะนั้นฯ
      
      ทาน การสละวัตถุสิ่งของของตนที่มีอยู่ให้แก่บุคคลอื่น นอกจากผู้ให้จะได้ความอิ่มใจ เพราะความดีของตน แล้ว ผู้รับยังได้บริโภคใช้สอยวัตถุสิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์แก่ตนอีกด้วย นับว่าไม่มีเสียผลทั้งสองฝ่าย แต่กาลเวลาที่สละทิ้งชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายแล้วไม่เป็นผลแก่ทั้งสองฝ่าย คือกาลเวลาก็หมดไป ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เสื่อมสูญไป ยังเหลือแต่ความคร่ำคร่าเหี่ยวแห้งระทมทุกข์ อันใครๆไม่พึงปรารถนาทั้งนั้น นอกจากบัณฑิตผู้ฉลาดในอุบาย น้อมนำเอาความเสื่อมสิ้นไปแห่งชีวิตนั้นเข้ามาพิจารณา ให้เห็นสภาพสังขารเป็นของไม่เที่ยง จนให้เกิดปัญญาสลดสังเวช อันเป็นเหตุจะให้เบื่อหน่าย คลายเสียจากความยึดมั่นในสังขารทั้งปวง
      
      ฉะนั้น ทาน การสละให้ปันสิ่งของของตนที่หามาได้ในทางที่ชอบให้แก่ผู้อื่น ในเมื่อกาลเวลากำลังคร่าเอาชีวิตของเราไปอยู่ จึงเป็นของควรทำเพื่อชดใช้ชีวิตที่หมดไปนั้นให้ได้ทุน (คือบุญ)กลับคืนมา
      
      การรักษาศีล ก็เป็นทานอันหนึ่ง เรียกว่า อภัยทาน นอกจากจะเป็นการจาคะสละความชั่วของตนแล้ว ยังเป็นการให้อภัยแก่สัตว์ที่เราจะต้องฆ่า และสิ่งของที่เราจะต้องขโมยเขาเป็นต้นอีกด้วย นี้ก็เป็นการทำความดี เพื่อชดใช้ชีวิตของเราที่กาลเวลาคร่าไปอีกด้วย
      
      ผู้กระทำชั่วพระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นผู้มีหนี้ติดตัว ผู้มีหนี้ติดตัวย่อมได้รับความทุกข์เดือดร้อน ฉะนั้น บาปกรรมชั่วเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ แต่ผู้ใดทำลงไปแล้วแม้คนอื่นทั้งโลกเขาจะไม่เห็นก็ตาม แต่ความชั่วที่ตนกระทำลงไป แล้วนั่นแล เป็นเจ้าของมาทวงเอาหนี้ (คือความเดือดร้อน ภายหลัง) อยู่เสมอ ยิ่งซ้ำร้ายกว่าหนี้ที่มีเจ้าของเสียอีก
      
      เป็นที่น่าเสียดาย บางคนผู้ประมาทแล้วด้วยยศด้วยลาภก็ตาม ไม่ได้นึกคิดถึงชีวิตอัตภาพของตน กลัวอย่างเดียวแต่กาลเวลาจะผ่านพ้นไป แล้วตัวของเขาเองจะไม่ได้ทำความชั่ว ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดีแล้ว เช่น สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ฯลฯ เป็นต้น นำเอาชีวิตของตนที่ยังเหลืออยู่นั้น ไปทุ่มเทลงในหลุมแห่งอบายมุขหมดบุญกรรมนำส่งมาให้ได้ดิบได้ดี มีสมบัติอัครฐานอย่างมโหฬาร เตรียมพร้อมทุกสิ่งทุกอย่างไม่ขัดสน แต่เห็นความพร้อมมูลเหล่านั้นเป็นเรื่องความทุกข์ไป สู้ความชั่วอบายมุขไม่ได้

ยิ้มกว้างๆ
21  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / ทำอย่างไรจะพ้นเคราะห์ได้จริง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2012, 06:54:59 AM


"คนฉลาดทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส แต่คนประมาท ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์”
      
      นี่เป็นคติตามหลักพระพุทธศาสนาที่สอนไว้ว่า เมื่อเราประสบสถานการณ์ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม ต้องหาประโยชน์จากมันให้ได้ แม้แต่เป็นเคราะห์ก็ต้องทำให้เป็นโอกาส หรือหาประโยชน์จากเคราะห์นั้นให้ได้
      
      คตินี้ถ้าเป็นคนไม่ประมาทและเป็นคนฉลาดก็สามารถทำได้ อย่างน้อยก็ถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนให้คนของเราได้สติ แล้วก็มีความเข้มแข็ง แต่ถ้ามัวคร่ำครวญโอดโอยตีโพยตีพายกันอยู่ ก็เสียเวลาเปล่าๆ และเป็นการซ้ำเติมตัวเองด้วย...
      
      คนไทยเรานี้ เวลาเกิดสถานการณ์ต่างๆที่เป็นเหตุร้าย ก็จะมีคนหลายระดับ เราจะต้องเห็นใจกัน คนที่ยังมีจิตใจอ่อนแอ เราก็ให้โอกาสเขาบ้าง การโอดโอยโวยวายคร่ำครวญจะมีบ้าง เราก็เห็นใจและรู้ทัน อย่าไปนึกอะไรมาก ฟังเขาไป เขาอาจจะด่าจะว่า ก็ฟังได้ ยิ่งถ้าเป็นผู้นำผู้บริหาร ก็ยิ่งต้องอดทน ต้องให้เขา ระบาย ไม่ไปต่อล้อต่อเถียง แล้วก็ปลอบโยนให้สติ เขาดีๆ ตามเหตุตามผล แม้แต่เทวดาก็ยังต้องยอมให้โอกาสคน อย่างที่ว่าฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
      
      ขอแต่ว่า เมื่อโอดครวญกันแล้วก็อย่าไปจบไปหยุด อยู่แค่นั้น ต้องผ่านขั้นนี้ไป
      
      พอระบายอารมณ์แล้ว ก็ตั้งสติ สงบ แล้วรีบหันมา ทำการแก้ไขด้วยปัญญา แล้วเอาเหตุการณ์ร้ายหรือปัญหามาใช้ให้เป็นประโยชน์
      
      ปัญหาจะต้องเป็นเวทีพัฒนาปัญญา คือปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเราใช้ความคิดพิจารณาค้นหาเหตุปัจจัยและหาทางแก้ไข เราจะพลิกปัญหาให้เป็นปัญญา เปลี่ยนอักษรตัวเดียวจาก “ปัญหา” ก็เป็น “ปัญญา” ไป
      
      คนที่เก่งนั้นเขาเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา และใช้ปัญหาเป็นเวทีพัฒนาปัญญา แล้วก็เปลี่ยนเคราะห์ให้เป็นโอกาส
      
      เวลาทุกข์ยากนี่เป็นประโยชน์มาก เวลาสุขสำราญ ต่างหากที่มักทำให้มัวเมาประมาท
      
      พระพุทธศาสนาสอนว่า ถ้าความรุ่งเรืองความสำเร็จเกิดขึ้น อย่ามัวเมา ต้องใช้มันให้เป็นประโยชน์ เอามันเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไป
      
      คราวเคราะห์มัวครวญ ยามโชคก็เหลิง เอาแต่หนีเคราะห์และคอยโชค คนอย่างนี้เคราะห์เรียกหา แต่คนเป็นมหาบุรุษได้ ด้วยการผันเคราะห์ให้เป็นโชค และผันโชคให้แผ่ประโยชน์สุข
      
      ในด้านนี้ สังคมไทยเราอาจจะพลาดไปแล้ว เมื่อตอนเราฟุ้งเฟื่อง สบาย มีพรั่งพร้อม แทนที่เราจะเอามันเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ เรากลับไปหลงระเริง มัวเมา ประมาท นี่ท่านเรียกว่า ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์ แทนที่จะใช้โอกาสนั้นในการสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไป
      
      ทีนี้ถึงเวลานี้เราแย่ลงไปเป็นเคราะห์แล้ว ถ้ามัวไป ตีอกชกหัว เศร้าโศก โอดครวญ ก็กลายเป็นซ้ำเติมตัวเอง เคราะห์หนักเข้าไปอีก
      
      ถ้ามีสติปัญญา ตอนนี้ได้สติ แล้วใช้ปัญญา ก็ทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส เพราะคราวทุกข์ยากเดือดร้อนนี่แหละ มักเป็นเวลาที่ดีที่สุด คนที่จะเจริญก้าวหน้าได้โดยมากต้องเจอปัญหา จะได้ฝึกตัวเองให้เข้มแข็ง แล้วเคราะห์นี่ก็ช่วยให้ทั้งสังคมทั้งชีวิตคนประสบความสำเร็จมามากมาย
      
      จากการเจอเคราะห์เจอปัญหาแล้ว ถ้าเราตั้งตัวดี มีท่าทีถูกต้อง เราก็จะมีความเข้มแข็ง พยายามต่อสู้ดิ้นรนขวนขวาย แล้วเราจะได้พัฒนาความสามารถ เราจะได้การฝึกฝนตน ฝึกปรือตัวเอง แล้วได้ปัญญาความสามารถมากขึ้นๆ แล้วชีวิตและสังคมก็จะเจริญก้าวหน้าต่อไป
      
      ขอย้ำคติที่ว่าไว้ข้างต้นอีกครั้งหนึ่งว่า
      
      “คนฉลาดทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส แต่คนประมาท ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์”
      
      เป็นอันว่า ตอนนี้มีเคราะห์แล้ว ยอมให้มีความเศร้าโศกเสียใจโอดครวญกันชั่วระยะสั้นๆ พอระบาย เสร็จแล้วก็ให้รีบตั้งสติ
      ต่อไปนี้ก็รีบมาดีใจว่าเจอเคราะห์แล้ว ทำมันให้เป็นโอกาส ผันเคราะห์ให้เป็นโอกาส แล้วเราก็จะเจริญก้าวหน้าต่อไป ไม่ต้องกลัว

      
      ฉะนั้น อย่าไปหมดกำลังใจ พระพุทธศาสนาไม่สอนให้เราท้อแท้ ไม่สอนให้เราท้อถอยอ่อนแอ เมื่อเจอปัญหา เจอเคราะห์กรรม เจอภัยอันตรายแล้ว ให้เข้มแข็ง แล้วใช้มันให้เป็นประโยชน์ในการฝึกปรือตัวเองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
      
      แล้วเราจะมีความชำนิชำนาญยิ่งขึ้นในการที่จะแก้ปัญหา ในการที่จะผจญเคราะห์กรรมภัยอันตรายให้ผ่่านก้าวไปสู่ความสำเร็จในการสร้างสรรค์พัฒนาได้ต่อไป..

ยิ้มกว้างๆ
22  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / 'กุ้ง' เจ้ากรรมนายเวร เมื่อ: มกราคม 18, 2012, 08:42:24 PM


ความไม่รู้เป็นปัญหาใหญ่ของชีวิตที่ทำให้หลายคนหลงผิดทำความชั่วต่างๆ นานา โดยไม่รู้ว่าวันข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นกับตน ความมืดของอวิชชานี้มันมืดยิ่งกว่าความมืดใดๆในโลก เพราะมันทำให้เรามองไม่เห็นโทษภัยที่จะเกิดขึ้นกับตน และมักทำให้เรามองเห็นสิ่งผิดเป็นสิ่งถูก
      
      เรื่องราวต่อไปนี้เป็นอีกกรณีหนึ่งของเด็กหญิงผู้ถูกความมืดครอบงำ ทำให้เธอกระทำสิ่งผิด โดยคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความสุข ความสะใจของตนเอง แต่ที่สุดแล้วมันได้กลับกลายเป็นความทุกข์ให้กับเธออย่างยาวนาน
      
      นางสาวธัญญารัตน์ เป็นคนจังหวัดสมุทรสาคร บ้านของเธออยู่ริมคลอง ซึ่งมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ บ้านของเธอมีอาชีพทำนากุ้ง เธอจึงอยู่กับนากุ้งมาตั้งแต่เด็กๆ เห็นกุ้งเป็นของเล่น หากต้องการจะเล่นอะไรก็เอาชีวิตของกุ้งมาเล่น โดยไม่นึกเลยว่ากุ้งเหล่านั้นจะอยากเล่นกับเธอหรือไม่
      
      สิ่งที่ธัญญารัตน์ชอบมากที่สุดคือการทรมานกุ้ง ด้วยการจับตัวเป็นๆมาใส่ไว้ในช่องฟรีซ(Freeze) หรือช่องแช่แข็งของตู้เย็น เพื่อทรมานให้มันแข็งตาย เพราะหลังจากแช่กุ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง เธอก็จะไปเปิดตู้เย็นดู และเห็นกุ้งดิ้นทุรนทุรายด้วยความทรมานจากอากาศที่เย็นจัด ธัญญารัตน์จำภาพนั้นได้ติดตา วันไหนเห็นกุ้งทรมานมาก หญิงสาวก็ยิ่งชอบใจ และหลังจากทรมานแล้ว เธอก็เอาไปทิ้ง!!
      
      ด้วยความเป็นเด็กของธัญญารัตน์ เธอไม่เคยนึกถึงบาปบุญคุณโทษแต่ประการใด พ่อแม่ของเธอก็ไม่ทราบว่าเธอได้กระทำกรรมแบบนั้น เธอจะเล่นอย่างนี้เป็นประจำ บางครั้งก็ชวนเพื่อนมาเล่นด้วย กุ้งที่ถูกเธอทรมาน มาหลายปีมีทุกขนาด หากรวมๆแล้ว ก็คงนับร้อยๆตัว
      
      มีเพื่อนบางคนของเธอเตือนว่า การทรมานสัตว์เช่นนี้เป็นบาป ผลกรรมนั้นอาจจะย้อนกลับมาหาตัวเธอก็ได้ แต่ตอนนั้นธัญญารัตน์ไม่เคยสนใจและไม่กลัว เพราะว่า ที่ผ่านมาเธอไม่เคยเห็นกุ้งตัวไหนจะสามารถจับเธอขังในช่องแช่แข็งอย่างนี้ได้ นั่นคือความคิดของธัญญารัตน์ ตอนนั้น เธอคิดว่ากรรมและผลของกรรมคือการกระทำต่อกันอย่างตรงไปตรงมา หากเธอจับกุ้งแช่ช่องฟรีซ กุ้ง ก็ต้องจับเธอแช่ช่องฟรีซเช่นเดียวกัน
      
      บางครั้งที่พ่อแม่เธอเห็นลูกสาวเล่นอย่างนั้น ก็ว่ากล่าวสั่งสอนไม่ให้ทำ เพราะมันไม่ดี แต่ธัญญารัตน์ก็ไม่ได้ เลิกเล่นแต่ประการใด ยังคงแอบจับกุ้งมาแช่ตู้เย็นอยู่อย่างนั้นเหมือนเดิม เธอรู้สึกว่าเห็นสัตว์ทรมานแล้วสนุกดี
      
      กรรมที่ธัญญารัตน์กระทำไว้นั้นมันค่อยๆ คืบคลานตามหลังเธอมาอย่างไม่รู้ตัว เธอเองไม่เคยคิดด้วยซ้ำไปว่ากรรมนั้นจะตามมาให้ผล เธอคิดแต่เพียงว่า กุ้งเหล่านั้นก็ตายไปหมดแล้ว มันคงลุกมาทำอะไรเธอไม่ได้อย่างแน่นอน แต่หารู้ไม่ว่า กุ้งจำนวนหลายร้อยตัวที่เธอจับมันแช่ช่องฟรีซจนตายนั้น อาจจะมีความแค้นอาฆาตต่อเธออย่างหนักก็เป็นได้
      
      แล้วสิ่งที่เธอไม่เคยคิดไม่เคยคาดฝันก็เกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย ตอนแรกๆ เธอไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเธอ บ่อยครั้งที่เธอหายใจไม่โล่ง ไม่สะดวกและคัดจมูกเป็นประจำ บางครั้งอาการกำเริบหนัก กว่าจะหายใจกลับมาเป็นปกติได้ก็ทุกข์ทรมานแทบตาย!!
      
      หญิงสาวได้ไปตรวจเช็คที่โรงพยาบาล หมอบอกว่าเธอเป็นโรคภูมิแพ้ และเป็นหอบหืด ในขณะนั้นเธอคิดว่า โรคแบบนี้คงไม่หนักหนาอะไร รักษาสักพักก็หาย เพราะเป็นโรคที่ไม่น่ากลัว
      แต่สิ่งที่ธัญญารัตน์คิดนั้นแทบจะตรงกันข้าม เพราะทุกครั้งที่เธอเป็นภูมิแพ้ก็ดี เป็นโรคหอบหืดก็ดี เธอรู้สึกทรมานมาก โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว เธอทุกข์ทรมาน เพราะหายใจไม่ค่อยออก ลมหายใจแต่ละเฮือกนั้นมีค่าสำหรับเธอมาก หากเธอหายใจไม่ได้เพียงไม่กี่วินาที นั่นก็หมายความถึงชีวิตของเธอเลยทีเดียว
      
      ในบางช่วงเวลาจิตของเธอนึกไปถึงกุ้งที่เคยจับมาทรมานในช่องฟรีซ มันมีสภาพไม่ต่างจากเธอตอนที่หายใจไม่ค่อยออก มีแต่ความทุกข์ทรมานตลอดเวลา
      
      และเมื่อเห็นภาพกุ้งเหล่านั้นมาปรากฏในใจของเธอบ่อยๆ เธอจึงคิดว่า สิ่งที่เธอกำลังเป็นอยู่นี้ คงจะเป็นผลแห่งกรรมที่ได้กระทำไว้ตอนเป็นเด็กนั่นเอง เธอทรมานอย่างไร กุ้งก็คงจะทรมานเช่นเดียวกัน กฎแห่งกรรมจึงค่อยๆ ประจักษ์ในใจของเธอมากขึ้นเรื่อยๆ
      
      ธัญญารัตน์ประสบกับความทุกข์ทรมานมาหลายปี จนกระทั่งเธอเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ความทรมานจึงค่อยๆทุเลาลง แต่ก็ยังไม่หมดเสียทีเดียว และสิ่งที่เธอได้เรียนรู้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็คือการทำงานของกฎแห่งกรรม ที่เกิดขึ้นกับเธออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่เธอกำลังเป็นอยู่ ก็เป็นสิ่งที่เธอเคยกระทำไว้นั่นเอง
      
      ทุกวันนี้ธัญญารัตน์จึงพยายามทำบุญทุกวิถีทาง เพื่อจะทำให้อำนาจของกรรมไม่ดีที่เธอเคยก่อไว้นั้น ได้เบาบางลงบ้าง และทุกครั้งที่เธอทำบุญก็จะอุทิศส่วนบุญกุศล ให้กับพวกกุ้งที่เธอเคยจับมันมาทรมานจนตาย สิ่งนี้จึงทำให้เธอรู้สึกสบายใจขึ้นมาบ้าง
      
      กรรมชั่วไม่เคยทำให้ใครมีความสุข จงหลีกเลี่ยงกรรมชั่วเสียตั้งแต่วินาทีนี้ เดียวนี้ ก่อนที่กรรมเหล่านั้นจะย้อนกลับมาหาตัวเราเอง ผลกรรมที่ธัญญารัตน์ได้ประสบอยู่ขณะนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลจากกรรมชั่วที่ตนเองเคยกระทำไว้ กรรมและผลแห่งกรรม จึงสามารถยืนยันได้จากประสบการณ์ของคนเหล่านั้นว่าเป็นจริงอย่างแน่นอน
      
      ไม่มีใครที่จะหลีกหนีกฎแห่งกรรมเหล่านี้ได้ ผู้ทำกรรมอย่างใดไว้ ก็ย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น หากเราต้องการมีความสุข มีความโชคดี ก็จงหมั่นทำกรรมดีตลอดไป


 ยิงฟันยิ้ม
23  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / ทำอย่างไรจะพ้นเคราะห์ได้จริง เมื่อ: มกราคม 12, 2012, 09:41:57 PM


"คนฉลาดทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส แต่คนประมาท ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์”
      
      นี่เป็นคติตามหลักพระพุทธศาสนาที่สอนไว้ว่า เมื่อเราประสบสถานการณ์ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม ต้องหาประโยชน์จากมันให้ได้ แม้แต่เป็นเคราะห์ก็ต้องทำให้เป็นโอกาส หรือหาประโยชน์จากเคราะห์นั้นให้ได้
      
      คตินี้ถ้าเป็นคนไม่ประมาทและเป็นคนฉลาดก็สามารถทำได้ อย่างน้อยก็ถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนให้คนของเราได้สติ แล้วก็มีความเข้มแข็ง แต่ถ้ามัวคร่ำครวญโอดโอยตีโพยตีพายกันอยู่ ก็เสียเวลาเปล่าๆ และเป็นการซ้ำเติมตัวเองด้วย...
      
      คนไทยเรานี้ เวลาเกิดสถานการณ์ต่างๆที่เป็นเหตุร้าย ก็จะมีคนหลายระดับ เราจะต้องเห็นใจกัน คนที่ยังมีจิตใจอ่อนแอ เราก็ให้โอกาสเขาบ้าง การโอดโอยโวยวายคร่ำครวญจะมีบ้าง เราก็เห็นใจและรู้ทัน อย่าไปนึกอะไรมาก ฟังเขาไป เขาอาจจะด่าจะว่า ก็ฟังได้ ยิ่งถ้าเป็นผู้นำผู้บริหาร ก็ยิ่งต้องอดทน ต้องให้เขา ระบาย ไม่ไปต่อล้อต่อเถียง แล้วก็ปลอบโยนให้สติ เขาดีๆ ตามเหตุตามผล แม้แต่เทวดาก็ยังต้องยอมให้โอกาสคน อย่างที่ว่าฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
      
      ขอแต่ว่า เมื่อโอดครวญกันแล้วก็อย่าไปจบไปหยุด อยู่แค่นั้น ต้องผ่านขั้นนี้ไป
      
      พอระบายอารมณ์แล้ว ก็ตั้งสติ สงบ แล้วรีบหันมา ทำการแก้ไขด้วยปัญญา แล้วเอาเหตุการณ์ร้ายหรือปัญหามาใช้ให้เป็นประโยชน์
      
      ปัญหาจะต้องเป็นเวทีพัฒนาปัญญา คือปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเราใช้ความคิดพิจารณาค้นหาเหตุปัจจัยและหาทางแก้ไข เราจะพลิกปัญหาให้เป็นปัญญา เปลี่ยนอักษรตัวเดียวจาก “ปัญหา” ก็เป็น “ปัญญา” ไป
      
      คนที่เก่งนั้นเขาเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา และใช้ปัญหาเป็นเวทีพัฒนาปัญญา แล้วก็เปลี่ยนเคราะห์ให้เป็นโอกาส
      
      เวลาทุกข์ยากนี่เป็นประโยชน์มาก เวลาสุขสำราญ ต่างหากที่มักทำให้มัวเมาประมาท
      
      พระพุทธศาสนาสอนว่า ถ้าความรุ่งเรืองความสำเร็จเกิดขึ้น อย่ามัวเมา ต้องใช้มันให้เป็นประโยชน์ เอามันเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไป
      
      คราวเคราะห์มัวครวญ ยามโชคก็เหลิง เอาแต่หนีเคราะห์และคอยโชค คนอย่างนี้เคราะห์เรียกหา แต่คนเป็นมหาบุรุษได้ ด้วยการผันเคราะห์ให้เป็นโชค และผันโชคให้แผ่ประโยชน์สุข
      
      ในด้านนี้ สังคมไทยเราอาจจะพลาดไปแล้ว เมื่อตอนเราฟุ้งเฟื่อง สบาย มีพรั่งพร้อม แทนที่เราจะเอามันเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ เรากลับไปหลงระเริง มัวเมา ประมาท นี่ท่านเรียกว่า ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์ แทนที่จะใช้โอกาสนั้นในการสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไป
      
      ทีนี้ถึงเวลานี้เราแย่ลงไปเป็นเคราะห์แล้ว ถ้ามัวไป ตีอกชกหัว เศร้าโศก โอดครวญ ก็กลายเป็นซ้ำเติมตัวเอง เคราะห์หนักเข้าไปอีก
      
      ถ้ามีสติปัญญา ตอนนี้ได้สติ แล้วใช้ปัญญา ก็ทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส เพราะคราวทุกข์ยากเดือดร้อนนี่แหละ มักเป็นเวลาที่ดีที่สุด คนที่จะเจริญก้าวหน้าได้โดยมากต้องเจอปัญหา จะได้ฝึกตัวเองให้เข้มแข็ง แล้วเคราะห์นี่ก็ช่วยให้ทั้งสังคมทั้งชีวิตคนประสบความสำเร็จมามากมาย
      
      จากการเจอเคราะห์เจอปัญหาแล้ว ถ้าเราตั้งตัวดี มีท่าทีถูกต้อง เราก็จะมีความเข้มแข็ง พยายามต่อสู้ดิ้นรนขวนขวาย แล้วเราจะได้พัฒนาความสามารถ เราจะได้การฝึกฝนตน ฝึกปรือตัวเอง แล้วได้ปัญญาความสามารถมากขึ้นๆ แล้วชีวิตและสังคมก็จะเจริญก้าวหน้าต่อไป
      
      ขอย้ำคติที่ว่าไว้ข้างต้นอีกครั้งหนึ่งว่า
      
      “คนฉลาดทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส แต่คนประมาท ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์”
      
      เป็นอันว่า ตอนนี้มีเคราะห์แล้ว ยอมให้มีความเศร้าโศกเสียใจโอดครวญกันชั่วระยะสั้นๆ พอระบาย เสร็จแล้วก็ให้รีบตั้งสติ ต่อไปนี้ก็รีบมาดีใจว่าเจอเคราะห์แล้ว ทำมันให้เป็นโอกาส ผันเคราะห์ให้เป็นโอกาส แล้วเราก็จะเจริญก้าวหน้าต่อไป ไม่ต้องกลัว
      
      ฉะนั้น อย่าไปหมดกำลังใจ พระพุทธศาสนาไม่สอนให้เราท้อแท้ ไม่สอนให้เราท้อถอยอ่อนแอ เมื่อเจอปัญหา เจอเคราะห์กรรม เจอภัยอันตรายแล้ว ให้เข้มแข็ง แล้วใช้มันให้เป็นประโยชน์ในการฝึกปรือตัวเองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
      
      แล้วเราจะมีความชำนิชำนาญยิ่งขึ้นในการที่จะแก้ปัญหา ในการที่จะผจญเคราะห์กรรมภัยอันตรายให้ผ่่านก้าวไปสู่ความสำเร็จในการสร้างสรรค์พัฒนาได้ต่อไป..

 ยิงฟันยิ้ม
24  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / 4 หลักธรรมเพื่อการอยู่ดีกินดี มีหลักฐานมั่นคงในทางเศรษฐกิจ เมื่อ: มกราคม 07, 2012, 02:51:03 PM


การทำงานด้วยความเพียรนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในอรรถหรือความหมายขยายความแห่งสัมมาวายามะ ความว่า “ให้ปลูกฝังความพอใจในการงานนั้น พยายามปรารภความเพียรที่สืบเนื่องไปเรื่อยๆ ให้รักษาคุณภาพของจิตที่ก้าวไปในจุดนั้นๆ ไว้ให้ดี พร้อมกับพยายามทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น”
      
      ท่านบุรพาจารย์โบราณบัณฑิตได้แสดงลักษณะของคนที่ทำงานด้วยความเพียรไว้ว่า “คนที่ได้ชื่อว่ามีความเพียรหรือขยันนั้นจะต้องทำงานในลักษณะดังต่อไปนี้ คือ อนิกขิตตธุรตา ทำงานอันอยู่ในความรับผิดชอบให้สำเร็จๆ ไป ไม่ทอดธุระ อนิพพินทตา ทำงานที่แทรกซ้อน เข้ามาให้สำเร็จ โดยไม่ชักช้า อสังครตา ทำการงานนั้นๆ ด้วยความยินดี เอาจริงเอาจังในงานนั้นๆ จนสำเร็จ”
      
      นอกจากนี้ หลักพระพุทธศาสนายังแสดงว่า “ผู้ทำงาน จะต้องไม่ปล่อยให้งานที่ทำคั่งค้างอากูลอย่างที่พูดกันว่า ดินพอกหางหมู” เพราะงานในลักษณะนี้ไม่เป็นมงคลสำหรับผู้กระทำแน่นอน ในทำนองเดียวกัน หากทำในทางตรงกันข้ามย่อมเป็นมงคลสำหรับบุคคลนั้น ดังมีพระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ในมงคลสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕) ว่า “อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การงานที่ไม่คั่งค้างอากูล นี่ก็เป็นอุดมมงคล”
      
      เนื่องจากความเพียรพยายามเป็นได้ทั้งในทางที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ดังนั้น การทำความเพียรในทางพระพุทธศาสนาทุกระดับคำสอน จึงต้องเป็นไปในทางที่ชอบธรรม คือไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม หลักการใช้ความเพียรพยายามในการประกอบอาชีพทำธุรกิจการงานต่างๆ ในทรรศนะทางพระพุทธศาสนาจึงเน้นไปที่ประโยชน์ตนและผู้อื่นเป็นสำคัญ แม้ว่าบางครั้งประโยชน์สำหรับผู้อื่นจะไม่เด่นชัดนักก็ตาม แต่กระนั้นต้องไม่เป็นการทำลายผลประโยชน์ของผู้อื่น หลักคำสอนในลักษณะเช่นนี้มีปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก เช่น “บุคคลพึงได้ประโยชน์ในที่ใดด้วยวิธีใดๆ พึงบากบั่นในที่นั้นด้วยวิธีนั้น” ซึ่งเป็นการเน้นให้บุคคลใช้ความเพียรพยายามเพื่อให้เกิดผลที่ตนต้องการ หลังจากได้พิจารณาเห็นแล้วว่า การกระทำงานใดด้วยวิธีใดจึงเกิดประโยชน์ ก็ให้ทำการงานเหล่านั้นด้วยความบากบั่นพยายามอย่างจริงจัง ดังมีพระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ในคัมภีร์ชาดกว่า “ประโยชน์ย่อมเกิดขึ้นโดยชอบแก่คนที่ทำงานโดยไม่เบื่อหน่าย” ซึ่งตามปกติแล้ว คนที่ได้ชื่อว่าเป็นคนขยันมีความเพียรนั้น จะต้องเป็นคนที่ไม่ยอมปล่อยกาลเวลาที่จะทำประโยชน์ให้ผ่านพ้นไป ข้อนี้เป็นการดำเนินตามหลักคำสอนที่แสดงไว้ในคัมภีร์ชาดกว่า “บุรุษใดเมื่อหนาว ร้อน ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีอยู่ ก็ครอบงำความหิวกระหายทั้งหมด ประกอบการงานทั้งหลายมิได้ขาด ทั้งกลางวันกลางคืน ไม่ทำประโยชน์ที่มาถึงตามกาลให้เสียไป”
      
      การใช้ความเพียรพยายามประกอบการงานที่ทางพระพุทธศาสนาสรรเสริญ คือ ต้องรู้จักกาลและสถานที่ด้วยว่า กาลไหนควรทำอะไร ทำอย่างไร ควรปฏิบัติต่อสถานที่นั้นๆ อย่างไร คือจะต้องทำงานให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ เป็นต้น ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบปัญหาที่อาฬวกยักษ์กราบทูลถึงวิธีแสวงหาทรัพย์ได้ว่า “คนที่ทำงานได้เหมาะเจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้แน่นอน”
      
      คนที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ทำงานได้เหมาะเจาะดังกล่าวนั้น อาจจะเริ่มต้นด้วยการไม่มีอะไรมากนักก็ตาม แต่อาจสามารถก่อร่างสร้างตัวตั้งตนเป็นเศรษฐีมีหลักฐานมั่นคงได้ ความข้อนี้มีพระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ในขุททกนิกายชาดก เอกกนิบาต (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗) ว่า “คนมีปัญญาเฉลียวฉลาดย่อมตั้งตนได้แม้ด้วยต้นทุน เพียงเล็กน้อย ดุจคนก่อไฟกองน้อยๆ ให้เป็นกองใหญ่ฉะนั้น” การตั้งตนหรือการตั้งตัวในที่นี้ หมายถึงการก่อร่างสร้างตัวจากการมีทรัพย์สินเพียงเล็กน้อยจนมีทรัพย์สินมาก หรือจากความยากจนสู่ความมั่งคั่ง เป็นเศรษฐีมีทรัพย์มหาศาล ผู้ที่สามารถตั้งตนได้ในลักษณะนี้ย่อมเป็นที่ยกย่องนับถือของคนทั่วไป
      
      แบบอย่างของการตั้งตัวได้ในลักษณะนี้ ท่านเล่าไว้ในคัมภีร์อรรถกถาชาดก โดยสรุปความว่า มีชายรับใช้ของเศรษฐีคนหนึ่งได้เก็บเอาหนูตายซึ่งแทบจะไม่มีราคาอะไร นำไปขายเป็นอาหารแมว ได้เงินมาเพียงกากณิกหนึ่ง ซึ่งเป็นหน่วยเงินที่มีค่าต่ำสุดในสมัยนั้น แต่ด้วยเงินเพียงเท่านั้น เขาได้นำไปทำทุนประกอบกิจการจนภายหลังได้เป็นพ่อค้าใหญ่อยู่ที่ท่าเรือ และมีฐานะอยู่ในขั้นเศรษฐี นี้เป็นแบบอย่างในครั้งโบราณนานมาแล้ว คนที่ตั้งตัวได้ในลักษณะนี้ ในปัจจุบันก็มีปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ในประเทศไทย ก็มีคนจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทย สามารถตั้งตัวเป็นเศรษฐีหลายราย
      
      การตั้งตนก็เหมือนกับการก่อกองไฟ กล่าวคือ ในการก่อไฟนั้น เริ่มจากไฟจุดเล็กๆ เช่น ไฟจากก้านไม้ขีด ผู้ก่อไฟก็สามารถทำให้เป็นไฟกองใหญ่ที่สว่างโพลงโชติช่วง และร้อนแรงได้ ผู้จะตั้งตนก็เฉกเช่นเดียวกัน อาจจะใช้ต้นทุนซึ่งมีอยู่ไม่มากประกอบกิจการ จนมีผลกำไร เกิดทรัพย์สินมากมายมหาศาลก็ได้ แต่ก็มิใช่ว่าทุกคนจะทำ ได้ดุจเดียวกัน เพราะผู้ที่จะทำได้จะต้องเป็นคนมีปัญญาเฉลียวฉลาดและมีวิจารณญาณดีทีเดียว ซึ่งถ้าหากนำเอาประวัติการทำงานของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการตั้งตน ได้ในลักษณะนี้ ก็จะพบว่า การที่เขาสามารถก่อร่างสร้าง ตัวได้สำเร็จถึงขนาดนั้น ก็เพราะมีคุณธรรมหลายประการ อย่างน้อยก็ต้องมีหลักธรรมเพื่อการอยู่ดีกินดีมีหลักฐานมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ซึ่งเรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ คือ การขยันหาทรัพย์ การรู้จักเก็บรักษาและทำให้งอกเงย การรู้จักคบหาเพื่อนหรือผู้ร่วมงานที่ดี และการรู้จักใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม
      นอกจากนี้ ต้องมีคุณธรรมที่สำคัญ นั่นคือ การมีปัญญาเฉลียวฉลาด มีวิจารณญาณที่ดี กล่าวคือ ต้องเป็นคนที่มีความรู้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะคือรู้จักเหตุผล เข้าใจความเกี่ยวเนื่องกันของสิ่งของต่างๆ เช่น ในการค้าขายก็รู้จักหาทำเลที่ดี รู้ว่าความต้องการของลูกค้าอยู่ที่สินค้าอะไร เป็นต้น โดยมีวิจารณญาณคือการพิจารณาจนประจักษ์แน่ชัดว่าอะไรเป็นอะไร รู้จักจังหวะในการดำเนินการ เมื่อเห็นว่ายังไม่ถึงจังหวะ ก็ยับยั้งไว้ก่อน ต่อเมื่อจังหวะดีจึงดำเนินการ เป็นต้น เปรียบเหมือนการก่อไฟให้ลุกโพลงเป็นกองโต ขณะที่ไฟเพิ่งเริ่มติดเพียงเล็กน้อย ถ้าโหมกระพือลมมากเกินไป หรือใส่ไฟฟืนทับถมลงมากเกินไป ไฟอาจดับได้ ต้องค่อยๆ ใส่ฟืนที่ติดไฟง่ายเข้าไปทีละน้อย กระพือลมแต่พอสมควร เมื่อไฟติดดีแล้วจึงค่อยเพิ่มฟืนมากขึ้น ไฟก็จะค่อยติดและขยายกองโตมาก ขึ้นได้ การทำกิจการต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน ขณะที่ยังมีทุนน้อยก็ทำกิจการเพียงน้อยๆ ก่อน ต่อเมื่อมีทุนมากขึ้น แล้วจึงขยายกิจการให้ใหญ่โตขึ้นไปตามลำดับ กิจการก็จะประสบความสำเร็จได้ดี
      
      คนมีคุณสมบัติดังกล่าวเมื่อ ทำงานได้เงินมาแล้วย่อมมีอุบาย วิธีในการที่จะรักษาเพิ่มพูนรายได้ของตนให้สูงขึ้นได้โดยดำเนิน ตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓) ว่า “ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการเลี้ยงชีวิต สมควร ย่อมรักษาทรัพย์ที่หามาไว้ได้”
      
      การที่คนเราจะมีชีวิตอยู่ในโลกได้อย่างสะดวกสบาย จะต้องมีทรัพย์เก็บสำรองไว้ สำหรับใช้จ่ายตามสมควร เพราะหากไม่มีทรัพย์เก็บสำรองไว้แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ก็จะต้องประสบกับความยากลำบากอย่างแน่นอน ผู้ที่จะมีทรัพย์เก็บสำรองไว้ได้จะต้องเป็นผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการ และเลี้ยงชีวิตพอสมควรแก่ฐานะของตน ชีวิตคนเราต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ช่วยหล่อเลี้ยงไว้ อย่างน้อยก็ต้องมีปัจจัยขั้นพื้นฐาน ๔ อย่าง คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคดังกล่าว มาแล้ว การประกอบอาชีพของคนเราก็เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยขั้นพื้นฐานดังกล่าวนั้น ในสังคมมนุษย์มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายของกินของใช้ระหว่างกัน โดยได้มีการนำเอาของมีค่าคือเงินทองมาใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน เพราะเงินทองมีลัษณะที่เล็กสะดวกในการนำติด ตัวไปหรือเก็บรักษาไว้ได้นาน โดยที่ไม่เน่าเปื่อยผุพัง ซึ่งสมมติเรียกกันว่า ทรัพย์ และวิวัฒนาการเป็นธนบัตรที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การประกอบอาชีพของคนในสมัยต่อๆ มา หรือในยุคปัจจุบัน จึงมุ่งที่จะให้ได้ทรัพย์ธนบัตรนี้ไว้ เมื่อต้องการปัจจัยใดๆ มาเลี้ยงชีวิตจึงใช้ทรัพย์หรือซื้อหาสิ่งนั้นอีกทีหนึ่ง ผู้มีทรัพย์มากย่อมมีความสะดวกในการจัดหาสิ่งที่ต้องการ ส่วนผู้ขาดแคลนทรัพย์ก็จะมีความลำบากเดือดร้อนมาก
      
      ทรัพย์สมบัติที่หามาได้ด้วยตนเองก็ดี ที่เป็นมรดกตกทอดก็ดี ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะจับใช้สอย ได้ตามใจชอบ สำคัญอยู่ที่ว่าจะใช้สอยให้เป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์เท่านั้น
      
      ทรัพย์สมบัติเป็นสิ่งที่บันดาลความสุขแก่เจ้าของ คนมีทรัพย์สมบัติมาก ก็มีโอกาสแสวงหาความสุขจากทรัพย์ได้มาก คนมีทรัพย์น้อยก็แสวงหาความสุขจากทรัพย์ได้น้อย การแสวงหาความสุขจากทรัพย์ที่ว่านี้อาจเป็นการแสวงหาในทางที่ผิดก็ได้ หรือเป็นการแสวงหาในทางที่ถูกก็ได้
      
      ที่ว่าเป็นการแสวงหาในทางที่ผิด คือใช้จ่ายทรัพย์ไปในทางอบายมุข ได้แก่ การเป็นนักเลงหญิง การเป็นนักเลง สุรา การเป็นนักเที่ยวกลางคืนหรือนักท่องราตรีมั่วสุมในวงพนัน ชอบคบคนประเภทชักนำในทางเสียทรัพย์ โดยไม่จำเป็น ส่วนในการแสวงหาความสุขจากทรัพย์ ในทางที่ถูกนั้น คือการใช้สอยทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งนอกจากจะบริโภคใช้สอยด้วยตนเองแล้ว ควรจะให้ทาน คือการบริจาคทำบุญในพระพุทธศาสนา หรือทำสาธารณกุศล ต่างๆ ตามสมควร ซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขใจจากการใช้จ่ายทรัพย์
      
      การขาดแคลนทรัพย์มักมีสาเหตุมาจากความเกียจคร้านทำการงาน ความมัวเมาในอบายมุข ไม่รู้จักจัดการทรัพย์ และใช้จ่ายเกินฐานะ
      
      ดังนั้น ผู้ที่จะหาทรัพย์ให้ได้และสามารถมีทรัพย์เก็บสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น จึงต้องปลูกฝังหลักคุณธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา คือ
      
      (๑) ขยันหาทรัพย์ โดยมีความขยันในหน้าที่การงาน ไม่เกียจคร้าน ไม่ท้อถอย เห็นความสำคัญของการทำงาน เท่ากับชีวิต
      
      (๒) รู้จักเก็บ เข้าใจจัดการ โดยมีสติปัญญาในการจัดการใช้ทรัพย์ว่าควรจะใช้เป็นค่าอุปโภคบริโภคเท่าใด จะทำทุนเท่าใด เก็บไว้สำรองเท่าใด
      
      (๓) ไม่ประมาทมัวเมาลุ่มหลงไปกับสิ่งยั่วยวนต่างๆ เช่น กามารมณ์ สิ่งมึนเมา การเสี่ยงโชคเล่นการพนัน และการคบคนชั่วเป็นมิตร
      
      (๔) เลี้ยงชีวิตพอสมควร คือ ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไปและไม่ฝืดเคืองเกินไป เป็นคนมัธยัสถ์คือใช้จ่ายในขนาดกลางๆ พอเหมาะพอดี
      
      ผู้มีคุณธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ๔ ประการนี้แหละ พระพุทธเจ้าทรงรับรองว่าจะรักษาทรัพย์ที่หามาแล้วไว้ได้อย่างแน่นอน

 ยิงฟันยิ้ม
25  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / ระวังกรรมชั่วตกถึงลูก เมื่อ: ธันวาคม 27, 2011, 09:05:27 PM


      กรรมและผลของกรรมนั้น เป็นสิ่งที่สลับซับซ้อนยากที่จะเข้าใจได้อย่างละเอียด บางครั้งพ่อเป็นคนสร้างกรรม แต่ผลของกรรมกลับไปแสดงผลกับลูก กับครอบครัว เป็นต้น อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ นอกจากทุกคนจะมีกรรมเป็นของตนเองแล้ว แต่ละคนยังมีกรรมร่วมกันด้วย เมื่ออยู่ในครอบครัวเดียวกัน ก็จะมีกรรมที่ทุกคนเคยทำร่วมกัน จึงได้รับผลร่วมกันก็มี ดังเรื่องราวของ “ประยงค์” ชายรับจ้างวัย 51 ปี เป็นคนสามพราน นครปฐม เขามีฐานะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มีรายได้แค่พอเลี้ยงครอบครัวไปวันๆเท่านั้น
      
      วันหนึ่งมีร้านอาหารมาเปิดแถวพุทธมณฑลสาย 5 ซึ่งไม่ไกลจากบ้านของประยงค์เท่าใดนัก และเจ้าของร้านก็รู้จักกันดีกับประยงค์ ที่ร้านนี้มีเมนูอาหารหลายอย่าง แต่ที่ขึ้นชื่อน่าจะเป็นปลาช่อนลุยสวน ซึ่งมีรสชาติอร่อยมาก เพราะใช้ปลาช่อนสดๆที่เพิ่งถูกฆ่าใหม่ๆ เมื่อร้านอาหารมีคนมาอุดหนุนมากขึ้นเรื่อยๆ ปลาช่อนลุยสวนเมนูเด็ดของร้านจึงทำไม่ค่อยทัน หลายครั้งปลาก็หมดอย่างรวดเร็ว เจ้าของร้านจึงคิดสั่งปลามาเพิ่ม เพื่อจะได้ตอบสนองลูกค้าอย่างเพียงพอ
      
      เจ้าของร้านเห็นประยงค์ไปรับจ้างได้ค่าแรงไม่มาก จึงคิดอยากจะหาทางช่วยเหลือ วันหนึ่งเมื่อได้เจอประยงค์ เขาก็ถามว่าสนใจที่จะทำงานให้กับร้านหรือไม่ ประยงค์ก็รีบรับปากทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เจ้าของร้านบอกว่า ทำอยู่ที่บ้านก็ได้ ทำเสร็จค่อยเอาไปส่งที่ร้าน จะทำกี่คนก็ได้ ช่วยกันทำ ยิ่งทำได้มาก ก็ยิ่งจะได้ค่าตอบแทนมาก งานนั้นก็คือ เป็นเพชฌฆาตฆ่าปลาช่อน พร้อมขอดเกล็ดให้เรียบร้อย
      
      ประยงค์ไม่ได้นึกอะไรไปมากกว่าได้รับค่าตอบแทนที่ดี มีเงินเพิ่มเพื่อเลี้ยงครอบครัว เพราะตอนนี้เขาก็มีลูกสาวอยู่คนเดียว อายุเพิ่ง 7 ขวบ ความหวังของประยงค์ นั้นอยากจะให้ลูกได้มีโอกาสเรียนสูงๆ จะได้ไม่ลำบากเหมือนพ่อแม่ เขาจึงตกปากรับคำกับเจ้าของร้าน
      
      วันรุ่งขึ้นก็มีรถขนปลาช่อนตัวเป็นๆ มาที่บ้านเขาจำนวนมาก ตอนแรกที่เห็นปลาทั้งหมดดิ้นในถัง ทำเอาประยงค์รู้สึกกลัวเหมือนกันที่ต้องฆ่าปลาเหล่านี้ เพราะขนาดของปลามีแต่ตัวใหญ่ๆ หากเป็นปลาตัวเล็กๆ เขาก็คงไม่หวาดเสียวเท่าใดนัก แต่จะทำอย่างไรได้ เพราะได้รับปากไว้แล้ว
      
      ประยงค์จึงเริ่มทำงานโดยทุบหัวปลาช่อนให้ตายทีละตัวๆ บางตัวก็ต้องทุบหลายครั้งกว่าจะตาย เนื่องจากตัวใหญ่หัวแข็ง ในแต่ละวันกว่าจะทุบหัวปลาและขอดเกล็ดหมดก็ใช้เวลานานพอสมควร และตามแขนขาหน้าตาของเขาเต็มไปด้วยเลือดปลาที่กระเด็นใส่!!
      
      เมื่อวันแรกของการเป็นเพชฌฆาตปลาช่อนผ่านไปและมีรายได้ดี ประยงค์ก็ไม่รู้สึกอะไรอีก นอกจากทุบหัวปลาให้ได้มากขึ้น หลายครั้งเขาก็เรียกลูกเมียมาช่วย ซึ่งตอนแรกๆทุกคนรู้สึกกลัว ไม่กล้าทำ แต่เมื่อเห็นจนเป็นความเคยชิน จึงได้เริ่มลองทำดูบ้าง จนทำให้งานของเขาเสร็จเร็ว ได้เงินมากขึ้น และเหลือเวลาไปรับจ้างทำอย่างอื่นได้อีก
      
      บ้านของประยงค์อยู่ริมคลอง ทุกเช้าเขาจะมานั่งทุบหัวปลาอยู่ริมคลองพร้อมกับครอบครัว หลังจากทุบเสร็จ ขอดเกล็ดแล้ว ก็จะตักน้ำคลองมาล้างปลาจนสะอาด และทุกเช้าจะมีพระเดินบิณฑบาตรผ่านบ้านเขาทุกวัน บางครั้งพระที่เดินผ่านมาก็ตกใจ เพราะเห็นปลาที่ประยงค์กำลังทุบอยู่นั้นดิ้นอย่างสุดฤทธิ์สุดเดช ทุกข์ทรมานกับการถูกทุบหัวเป็นยิ่งนัก บางครั้งดิ้นแรงมากจนถึงกับกระเด็นมาใกล้เท้าพระ หลายครั้งที่พระได้เตือนประยงค์ไปว่า หากเลี่ยงอาชีพนี้ได้ก็ให้เลี่ยงซะ อย่าทำเลย เพราะมันเป็น บาปเป็นกรรม ประยงค์ก็รับฟังสิ่งที่หลวงพ่อสอน แต่ว่าจะให้เขาทำอย่างไร จะเปลี่ยนอาชีพก็ไม่รู้จะไปทำอะไร จึงคิดว่าทำอาชีพนี้ต่อไปก่อน หากหาอาชีพใหม่ที่ดีกว่านี้ได้แล้ว ค่อยเปลี่ยนไปทำ
      
      เวลาผ่านไป ครอบครัวของประยงค์เริ่มมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากคนที่กลัวการฆ่า แต่วันนี้ทุกคนไม่กลัว และเห็นการฆ่าปลาเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย จนกลายเป็นความเคยชิน เพราะอาชีพนี้ช่วยให้ครอบครัวเขาดีขึ้น
      
      ประยงค์และครอบครัวไม่เคยคิดเลยว่า สิ่งที่เขากำลังทำอยู่นี้ ผลกรรมมันจะตามมาทันอย่างรวดเร็วในชาตินี้... แล้วกฎแห่งกรรมก็เดินทางมาถึงในช่วงเย็นของวันหนึ่ง ลูกสาวของประยงค์ได้ลงไปเล่นน้ำในคลองหน้าบ้านตามลำพัง ซึ่งตามปกติเธอก็มักจะโดดน้ำคลองเล่นเป็นประจำมาตั้งแต่ตัวเล็กๆ จนกระทั่งอายุ 7 ขวบ เธอจึงมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับการเล่นน้ำในคลอง พ่อแม่ก็ปล่อยให้เล่นตามสบาย เพราะเห็นลูกเล่นอย่างนี้มานานแล้ว
      
      แต่วันนี้ไม่เหมือนวันก่อนๆ น้องเจนจิราได้ปีนขึ้นต้นไม้ริมคลองแล้วกระโดดลงน้ำ เหมือนอย่างที่เคยเห็น เด็กแถวบ้านทำกัน เธอกระโดดพุ่งหัวลงไปในคลองอย่างรวดเร็ว ทันใดนั้นหัวของเธอก็ไปกระทบเข้ากับตอไม้ท่อนใหญ่ที่อยู่ในน้ำอย่างแรง จนหัวแตก คอหัก ทำให้เธอจมดิ่งลงใต้น้ำ!! กว่าที่พ่อแม่จะรู้ว่าลูกจมหายไปในน้ำ แล้วลงไปช่วยกันงมหา น้องเจนจิราก็ได้กลายเป็นศพไปเสียแล้ว...
      
      ประยงค์และภรรยาต่างร้องไห้คร่ำครวญด้วยความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก เพราะมีลูกสาวเพียงคนเดียว แถมยังมาตายอย่างน่าอนาถ ความฝันของประยงค์ ที่จะทำให้ลูกสาวได้เรียนสูงๆนั้นจึงหายวับไปกับตา เมื่อเขาได้สติก็ระลึกถึงคำเตือนของพระ ว่าสิ่งที่เขากับครอบครัวช่วยกันทำนั้นเป็นบาปกรรม พวกปลาที่ถูกเขาฆ่าคงอาฆาตแค้นอยู่ไม่น้อย จึงทำให้ลูกสาวต้องตายในสภาพเช่นเดียวกับปลาช่อนที่ถูกทุบหัวนั้น!!
      
      นี่คือผลของกรรมที่เห็นได้ทันทีในชาตินี้ ถึงแม้ว่ากรรมที่ทำจะไม่ได้แสดงผลกับประยงค์โดยตรง แต่การที่มันให้ผลกับลูกของเขา ก็ยิ่งเป็นเหมือนกับมีดโกนที่บาดลงกลางใจของผู้เป็นพ่อ เพราะลูกเป็นเหมือนแก้วตาดวงใจ เขายอมทำทุกสิ่งทุกอย่างได้เพื่อลูก แต่เมื่อเห็นลูกมาตายเช่นนี้ ชีวิตเขาก็เหมือนกับตายทั้งเป็น
      
      การฆ่าสัตว์ใดๆ ก็ตาม ล้วนแต่เป็นบาป ผิดศีล และผลกรรมจากการฆ่าสัตว์จะทำให้อายุสั้นลงด้วย

 ยิงฟันยิ้ม
26  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / เครื่องกลั่นกรอง 'ธรรม' ออกจากโลก (ต่อ) เมื่อ: ธันวาคม 13, 2011, 01:30:00 AM


      ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุบวชมาใหม่องค์หนึ่งเห็นพระวินัยเป็นข้อบังคับมากมายเหลือเกิน จะกระดิกตัวก็ไม่ได้ ทำอะไรก็มีแต่ผิดพระวินัยทั้งนั้น เลยกลัวพระวินัย บอกว่าอยู่ไม่ได้ จะสึก พระพุทธองค์ทรงเรียกมาไต่ถาม ทำไมจึงจะสึก พระภิกษุก็กราบทูลตามความเข้าใจของตนว่า พระวินัยมากเหลือเกินกระดิกตัวก็ไม่ได้ มีแต่อาบัติ อลัชชี มีแต่โทษ ผิดศีลทั้งนั้น ข้าพระองค์อยู่ไม่ได้ปฏิบัติไม่ไหวเสียแล้ว
      
      พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้ามันมากก็อย่าเอามันมากนัก ให้ระวังรักษาจิตอันเดียว ไม่ต้องไปรักษาอะไรมากมาย สำรวจรักษาจิตอันเดียว พระภิกษุองค์นั้นชอบใจ ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ต่อมาได้บรรลุมรรคผลนิพพาน นี่แสดงถึงว่า เมื่อสำรวจรักษาจิตแล้วศีลจึงค่อยบริสุทธิ์หมดจด
      
      พระพุทธองค์ตรัสเทศนาไว้ว่า
      
      มโน ปุพฺพํคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจคือมโน เป็นหัวหน้า   
      
      มโนเสฏฐา มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วโดยใจ
      
      มนสาเจ ปสนฺเนน ภาสติวา กโลติวา จะพูดจะกล่าวคำใดต้องออกจากใจ
      
      มนสาเจปสนฺเนน ใจเป็นของประเสริฐสูงสุด
      
      ด้วยประการอย่างนี้ พระองค์จึงทรงสอนให้อบรมใจ คือฝึกหัดทำสมาธิ เป็นการกลั่นกรองธรรมออกมาจากโลกขั้นที่ ๒ ขั้นนี้ถึงแม้บริสุทธิ์แล้วอาจจะเศร้าหมองอีกก็ได้ นักภาวนาทั้งหลายจะรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น เรานั่งภาวนาทำสมาธิในครั้งนี้แหละ เมื่อเข้าถึงเอกัคคตาจิต จิตใจใสสะอาดหมดจด ความอยาก ความทะเยอทะยาน ความเกียจคร้านหายไปจะเห็นได้เอง พอออกจากภาวนาแล้วโลกเข้ามาแทรกซึมอีก ความอยากความทะเยอทะยานดิ้นรนวิ่งเข้ามาประดังรอบด้านทำให้จิตมัวหมอง อันนี้เรียกว่า โลกมันแทรกเข้ามาหาธรรม เหตุนั้นขั้นนี้ก็ยังไม่บริสุทธิ์เต็มที่
      
      ท่านจึงให้ใช้วิธีกลั่นกรองที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีกเป็นขั้นที่ ๓ คือกลั่นกรองด้วย “ปัญญา” ใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ที่อื่นใด ท่านให้พิจารณาสังขารหรือขันธโลกนี้แหละ โลกอันกว้างศอกยาววาหนาคืบหนึ่งของเรานี่แหละ ให้ปรารภ ลงตรงนี้ เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย พอตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่างเดียว ความทะเยอทะยานดิ้นรนกระเสือกกระสนอะไรต่างๆ ความเหน็ดเหนื่อยขี้เกียจขี้คร้านสารพัด สิ่งทั้งปวงเรื่องทั้งหลายนั้นเป็นของมีประจำอยู่ในโลก ไม่ได้เป็นของใครโดยเฉพาะ เรื่องทั้งหลายนั้นเป็นต้นเหตุให้เกิดความชั่วทุจริต เราเห็นพิษสงของมันอย่างนั้นแล้วจึงพยายามละถอน
      
      ขณะใดที่อารมณ์ต่างๆ ทางโลกเกิดขึ้นมาก็เพ่งพิจารณา ให้เห็นโทษเห็นภัยอยู่อย่างนั้น ปัญญาตรงนั้นจะชัดเจนเข้ามาในใจแนบเนียนอยู่กับจิตกับใจอยู่ตลอดกาลเวลา มีความอยากทะเยอทะยานขึ้นในขณะไหน ปัญญาตัวนั้นคอยกำกับชัดอยู่กับจิตอันนั้น รู้เห็นทันทีอยู่ตลอดกาลเวลา ความทะเยอทะยานและ ความดิ้นรนอันนั้นก็หายไป ฝึกหัดอยู่อย่างนี้เรื่อยไป นานๆหนักเข้าอารมณ์ต่างๆ ไม่เกิดเพราะเห็นตามเป็นจริง นี่เป็นการใช้ปัญญากลั่นกรองละเอียดเข้าไปอีก ต้องกรองแล้วกรองเล่า ปัญญาจึงเป็นของประเสริฐที่ทุกคนปรารถนา เพราะปัญญานี้สามารถจะทำให้เกิดความบริสุทธิ์หมดจดได้
      
      พุทธภาษิตที่ท่านตรัสว่า ปญฺญาย ปริสุทฺธติ เพราะปัญญาอย่างเดียวจึงบริสุทธิ์ ศีลก็ยังไม่ทัน บริสุทธิ์ สมาธิก็ยังบริสุทธิ์เต็มที่ไม่ได้ตลอดไปดังอธิบายมาแล้ว การกรองขั้นละเอียดด้วยปัญญา จึงค่อยทำให้บริสุทธิ์ได้เต็มที่และถาวร
      
      จะเห็นว่าเราจะเลือกเอาการกลั่นกรองโดยวิธีใดวิธีหนึ่งไม่ได้ ต้องผสมกันผนวกเข้าด้วยกันจึงจะได้ผลเต็มที่ เพราะเหตุว่าการกรองทั้ง ๓ ขั้นเกี่ยวข้องอาศัยกันอยู่ ปัญญาจะเกิดขึ้นก็เพราะสมาธิหนักแน่น สมาธิที่จะหนักแน่นได้ก็เพราะมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน สมาธิก็ต้องอาศัยปัญญาคอยช่วยด้วยเหมือนกัน ต้องมีอุบายแยบคายสำหรับที่จะชำระจิตใจ ของตนให้จิตปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงลงได้ และศีลจะบริสุทธิ์ ได้เพราะปัญญาเห็นชัดตามเป็นจริงคือ เห็นโทษเห็นภัยในการที่ไม่รักษาศีล เมื่อเห็นโทษแล้วจึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ ไม่ใช่คุมให้รักษาหรือบังคับให้รักษาแบบนั้นรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชัดด้วยตนเองแล้วรักษาให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ปัญญาเป็นยาดำแทรกไปได้ทุกแห่ง คือในศีลในสมาธิ นี่มันผนวกกันอย่างนี้
      
      ฉะนั้น ธรรมเทศนาที่แสดงในวันนี้ ถ้าหากพากันมาพิจารณาโดยนัยที่ว่านี้แล้ว จึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าน้อยอกน้อยใจและไม่น่าเสียใจว่าเราไม่ได้มีธรรมะ หรือเราไม่ได้เห็นธรรมะหรือว่าเราไม่ได้บวชไม่ได้ปฏิบัติ อย่าไปเข้าใจเช่นนั้น เป็นการเข้าใจผิดหมด   
      
      แท้ที่จริงธรรมะคือตัวของเรานี้ทุกคนก็มีแล้วครบมูลบริบูรณ์ทุกอย่าง แต่เราไม่ได้สร้างสมอบรมให้เห็นธรรมะที่มันมีในตนของตน ธรรมะแทรกอยู่ในขันธโลกอันนี้ หากใช้อุบายปัญญาพิจารณากลั่นกรองด้วยวิธี ๓ อย่างมีศีล สมาธิ ปัญญา ดังอธิบายแล้ว ธรรมะก็จะปรากฏในตัวของตนๆ ก็จะได้ความอบอุ่นขึ้นมาในใจของตนว่า อ้อ! ธรรมะมีอยู่ที่นี่เอง ไม่ได้มีอยู่ที่อื่น เวลานี้ได้เห็นธรรมะ เรามีธรรมะแล้ว ธรรมะอันนี้ ถ้าโลกมันยังแทรกซึมเข้ามาได้อยู่ เราก็พยายามกำจัดให้มันค่อยหายไปหมดไปโดยไม่ประมาท จนกระทั่งใสสะอาด ให้เหลือแต่ธรรมะล้วนๆ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายที่ท่าน บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ธรรมะของท่านบริสุทธิ์หมดจด นั่นแหละคือสิ่งที่เราปรารถนา

 ยิงฟันยิ้ม
27  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / เครื่องกลั่นกรอง 'ธรรม' ออกจากโลก เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2011, 01:48:45 AM


      การรักษาศีลจึงได้ชื่อว่าเป็นเครื่องวัดเครื่องเทียบของคนผู้ดีและไม่ดี คนที่มีธรรมะหรือไม่มีธรรมะจะเห็นชัดในตนเองและกรองออกจากโลกได้ขนาดไหน ก็เห็นชัดด้วยใจของตนเอง ไม่ต้องมีคนอื่นวัด ไม่ต้องให้คนอื่นวัดเทียบให้ ถ้าหากศีลอันนั้นเป็นนิจศีล คือว่ารักษาอยู่เป็นนิจ ก็เรียกว่าเราค่อยห่างไกลออกมาจากโลก ถ้าหากขาดเป็นท่อนวิ่นๆ แหว่งๆ หรือด่างพร้อยไม่เรียบร้อย อันนั้นก็เรียกว่าโลกแทรกซึมมาเป็นครั้งเป็นคราว เรายังไม่ห่างไกลจากโลก โลกยังมาแทรกซึมได้อยู่
      
      ที่อธิบายเรื่องศีลให้ฟังในที่นี้ เพราะประสงค์จะให้เข้าใจชัดถึงเรื่องว่าศีลเป็นเครื่องกลั่นกรองธรรมออกมาจากโลก ด้วยการรักษาศีลวิธีเดียวเท่านั้นไม่มีวิธีอื่น ถ้าไม่มีศีลเป็นเครื่องวัดเทียบแล้วคนเราก็ไม่มีต่ำสูง ไม่มีดีเด่นกว่ากันเลย พระพุทธเจ้าทรงเทศนาถึงเรื่องศีลไว้มากมายกว้างขวางเช่น
      
      สีตโถ โดยอรรถแปลว่า เป็นของเย็น
      สีรตฺโถ โดยอรรถแปลว่า เป็นของสูง
      สีลโถ โดยอรรถแปลว่า เป็นของหนักแน่นโดยปกติ
      สีสตฺโถ โดยอรรถแปลว่า ยิ่ง

      
      บางตอนพระองค์ทรงแสดงถึงว่าศีลเป็นเครื่องประดับของคนทุกวัยตั้งแต่หนุ่มถึงคนแก่ และประดับได้ตลอดกาลเวลา ผู้รักษาศีลดีแล้วเป็นของงดงาม งามคนคืองามรูปงามโฉม งามผิวพรรณวรรณะนั้นยังมีการทรุดโทรมเฒ่าชราไปได้ งามด้วยศีล มี มารยาท สุภาพเรียบร้อยเป็นที่น่าดูน่าชม เป็นที่เจริญตาและใจ และคนทั่วๆไปต้องการสมาคมด้วย ถึงสังขารร่างกายจะแก่ทรุดโทรมหรือเหี่ยวแห้งด้วยประการใดๆ ก็ตาม แต่ความงามของศีลประดับให้งดงามได้ตลอดกาลเวลา นั่นเป็นของเลิศประเสริฐยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งปวงหมด
      
      ทุกคนพากันปรารถนาความดี คือ ศีล แต่หากเอาศีลมาประดับไม่เป็น ขี้เกียจขี้คร้านไม่อยากรักษาศีล มันก็ยังเป็นโลกอยู่อย่างนั้น ถึงจะตกแต่งประดับกายสวยสดงดงามสักเท่าไรก็ตาม ยังสามารถทำความชั่วได้ ชื่อว่าโลกสกปรก ถ้าไม่มีศีลเป็นเครื่อง บังคับเป็นเครื่องกั้นไว้คนจะทำความชั่วทุจริตได้ ทุกวิถีทาง ดังนั้นศีลจึงชื่อว่าเป็นของงาม 
            
      คนขี้เหร่ขี้ร้ายหรือคนสวยสดงดงามก็ตาม เมื่อมีศีลเป็นเครื่องประดับแล้วงามไปทั้งนั้น งามพร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่งามแต่เพียงในโลกนี้ เมื่อตายแล้วไปสู่โลกข้างหน้าก็ยังงาม งามตลอดกาลเวลา ดังนั้นวิธีกลั่นกรองธรรมออกจากเบื้องต้นก็คือการรักษาศีล
      
      ทีนี้วิธีที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีกคือ กลั่นกรองด้วยการทำ “สมาธิ” ได้แก่ ทำความสงบอบรมจิตใจให้มีอารมณ์อันหนึ่งอันเดียว เพราะจิตใจของคนเรามันยุ่งมีอาการมากอารมณ์มาก
      
      อารมณ์ก็คือ เรื่องที่เราคิดนึกจิตใจผูกพันติดอยู่ในเรื่องนั้นๆ เรียกว่าอารมณ์  คิดนึกวุ่นวี่วุ่นวายอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากเราไม่มีการสำรวมระวังหรือไม่มีการทำความสงบเสียเลย ตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันตาย เราจะไม่ได้เห็นจิตของเราสักที ทั้งๆ ที่จิตมีอยู่ในตัวของเรา แต่เราไม่รู้จักจิตของตน ไม่เคยทราบว่าจิตคิดดีคิดชั่ว คิดหยาบคิดละเอียด ไม่ทราบว่าจิตอยู่หรือจิตไป อวดอ้างแต่ว่าเรามีจิต ได้ยินพระท่านบอกว่าอะไรๆ ก็อยู่ที่จิตทั้งหมด แต่ว่าแท้จริงนั้นจิตเป็นอย่างไร มีอะไรอยู่ที่จิตบ้าง ก็ไม่เคยเห็นไม่เคยทราบเลย
      
      เฉพาะผู้ทำความสงบอบรมภาวนาสมาธิฝึกหัดให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวนิ่งแน่ว ไม่มีอารมณ์อื่นมาปะปนจิตได้เท่านั้นที่จะรู้จักจิตของตน ขณะที่จิตสงบนิ่งอยู่ถ้าหากว่ามันจะปรากฏอารมณ์ขึ้นมาก็เห็นชัดที่จิต เช่น ความคิดนึกต่างๆ หรือเกิดความทะเยอทะยานดิ้นรนอยากได้โน่นอยากได้นี่ก็จะเห็นปรากฏขึ้นได้ที่จิต มันทำให้จิตไม่เป็นหนึ่งเสียแล้ว ทีแรกขณะสงบนิ่งแน่วอยู่นั้น จิตมันเป็นหนึ่งอยู่ เมื่อเห็นจิตเป็นหนึ่งแล้วคราวนี้พอเกิดอารมณ์ขึ้นจะเป็นสองขึ้นมา มันปรากฏให้เห็นชัดว่าจิตอันหนึ่งอารมณ์อันหนึ่ง ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเห็นได้ด้วยตนเอง เมื่อทำจิตให้ถึงความสงบแล้วรู้ได้ทันทีทันใด
      
      ดังนั้น จะเห็นว่าการทำสมาธิเป็นการแยกจิตให้ออกจากโลก เพราะจิตสงบจากอารมณ์ต่างๆ เช่น ความทะเยอทะยาน ความอยาก ความดิ้นรน ความ ขี้เกียจขี้คร้านเบื่อหน่าย ความโกรธฯลฯ ซึ่งเป็นตัวโลก ถ้าจิตยังมีอารมณ์ต่างๆ จิตเป็นโลกอยู่ เมื่อเรากำจัดหรือขับไล่อารมณ์ให้มันหนีเสียแล้ว ก็ยังเหลือจิตอันเดียว เรียกว่า เอกัคคตาจิต อันนี้เป็นการขัดจิต หรือกลั่นกรองจิตออกมาจากโลก คือตัวเราเองนั่น แหละ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่ากรองธรรมออกมาจากโลก คราวนี้เป็นธรรมล้วนๆเพราะจิตบริสุทธิ์
            
      เครื่องกรองอันที่ ๒ นี้ตรงเข้าถึงจิตใจเลย เบื้องต้นกรองด้วยศีลนั้นมันยังไม่บริสุทธิ์ เพราะกรองแต่กายและวาจา ส่วนจิตยังเศร้าหมองอยู่ ถ้ามากรองด้วยสมาธิแล้วจิตบริสุทธิ์สงบสบาย ไม่ต้องคอยงดเว้นอะไรมากนัก พองดเว้นตรงที่จิตไม่ให้คิดทะเยอทะยานดิ้นรนอยากได้เท่านั้นศีลบริสุทธิ์เลย

 ยิงฟันยิ้ม
28  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / 5 อานิสงส์ของการฟังธรรม เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2011, 04:25:06 PM


ธรรมสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์ของการฟังธรรม หมายถึงผลดีหรือส่วนดีที่เกิดขึ้นทันทีที่คนเรามีความตั้งใจฟังธรรม คือหลักคำสั่งสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ที่พระภิกษุค้นคว้านำมาเทศน์ ปาฐกถา บรรยายหรือบอกเล่ากล่าวสอนในกาลเทศะต่างๆ โดยไม่ต้องรอการให้ผลในชาติหน้า มี 5 ประการ ดังนี้
      
      1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง หมายถึงว่า การฟังธรรมนั้นเป็นการหาความรู้ที่ดีอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวกับหลักพระพุทธศาสนาจากพระภิกษุผู้มีภูมิธรรมศึกษา ปฏิบัติพุทธธรรมตามหลักพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกอย่างเชี่ยวชาญ พร้อมที่จะนำออกเผยแผ่แก่ประชาชน โดยมีคุณสมบัติของการเป็นนักเทศน์หรือนักสอนธรรมที่ดี
      
      โดยเหตุที่ผู้ฟังคือคฤหัสถ์หรือชาวบ้านนั้น เป็นผู้มีโอกาสน้อยที่จะได้ศึกษาค้นคว้าหลักพุทธธรรมในพระไตรปิฎกโดยตรง ดังนั้น จึงต้องอาศัยการฟังจากพระภิกษุที่เมตตาแสดงธรรม
      
      เมื่อตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ อานิสงส์ที่จะได้อย่างแน่นอน เป็นประการแรก ก็คือได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง เพราะพระภิกษุนั้นท่านย่อมจะมีวิธีการนำเสนอหลักธรรมที่ไม่ซ้ำๆ กันอย่างชาญฉลาด พร้อมทั้งให้ข้อคิดความเห็นแปลกๆ ใหม่ๆ โดยปรับปรุงวิธีการเทศน์การสอน ที่ประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ
      
      2. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด หมายความว่า ธรรมข้อใด หรือเรื่องใดที่เคยฟัง มาแล้วจากการแสดงธรรมเป็นต้น ของพระภิกษุในครั้งก่อน แต่ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง เมื่อตั้งใจฟังอีกครั้ง อานิสงส์ที่จะได้อย่างแน่นอนเป็นประการที่ 2 ก็คือความเข้าใจ ชัดแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการทบทวนความรู้เดิมที่ดีอีกด้วย
      
      3. บรรเทาความสงสัยเสียได้ หมายความว่า ตามปกติ ของผู้ไม่มีโอกาสศึกษาหลักพุทธธรรมอย่างลึกซึ้ง ย่อมจะเกิดความสงสัยในเรื่องนามธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น เรื่องบาป บุญ คุณ โทษเป็นอย่างไร มีผลอย่างไร อะไรเป็นบุญกุศล อะไรคือบาปอกุศล ผลของบาปหรือบุญมีจริงหรือไม่ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ เป็นต้น ความสงสัยเช่นนี้ จะบรรเทาลงได้ ถ้าตั้งใจฟังธรรม ซึ่งนับเป็นอานิสงส์ประการที่ 3 ที่ผู้ฟังธรรมจะได้รับทันทีเมื่อฟังธรรมจากพระภิกษุผู้มีความสามารถในการเทศน์ ซึ่งจะอธิบายเรื่องที่เป็นนามธรรม ด้วยการสาธกยกอุปมาเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย
      
      4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ หมายถึงว่า เพราะคฤหัสถ์ ชาวบ้านบางคนได้นับถือพระพุทธศาสนาตามที่บรรพบุรุษนับถือมา ดังนั้น จึงอาจจะมีความคิดเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรมได้ เช่น เห็นว่าทำดีเมื่อไม่มีคนเห็น ก็ไม่ได้รับผลดี หรือเห็นว่าจะดีหรือชั่ว ก็แล้วแต่โชคชะตาฟ้าลิขิต เป็นต้น
      
      การมีความคิดเห็นเช่นนี้จะถูกทำลายลงได้ คือเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็ต่อเมื่อตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ จากพระภิกษุผู้มีความสามารถในการแสดงธรรม ที่จะพรรณาสาธกยกเหตุผลประกอบจนผู้ฟังนั้นคล้อยตาม ปรับความเห็นให้ถูกต้องอย่างปราศจากข้อโต้แย้งในใจ
      
      5. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส หมายถึงว่า การตั้งใจฟังธรรมนั้น ท่านจัดเป็นส่วนหนึ่งของการภาวนา คือการฝึกอบรมพัฒนาจิตให้ เกิดปัญญา เพราะเมื่อตั้งใจฟัง จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส อันเป็นคุณสมบัติของสมาธิจิต เมื่อจิตผ่องใสตั้งมั่นเป็นสมาธิ ย่อมมีพลานุภาพที่จะคิดอ่านทำการต่างๆ อย่างสร้าง สรรค์ด้วยปัญญา สามารถที่จะรู้และเข้าใจธรรมต่างๆ ที่ลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพได้ง่าย และอานิสงส์ข้อนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากอานิสงส์ทั้ง 4 ข้อดังกล่าวมา
      
      พระพุทธศาสนาได้ให้ความสำคัญต่อการฟังธรรมเป็น อย่างมาก เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรม ข้อนี้มีพระพุทธภาษิตตรัสรับรองไว้ว่า สุสฺสุสํ ลภเต ปัญญํ ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา
      
      การฟังธรรมท่านจัดเป็น 1 ในบุญกิริยาวัตถุ 10 (ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการฟัง) ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่ง ความดีในการพัฒนาตนให้มีความคิดสติปัญญาที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ และเจริญงอกงามในพุทธธรรมต่อไป
      
      แต่การฟังธรรมนั้น ผู้ฟังจะได้รับอานิสงส์หรือจะสำเร็จ ผลได้อย่างแท้จริง ต้องอาศัยความตั้งใจฟังโดยเคารพ คือมีสติสัมปชัญญะคอยควบคุมจิต ให้มุ่งดำเนินไปตามกระแสธรรมที่พระภิกษุท่านนำมาแสดง ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆจึงจะได้รับอานิสงส์ทั้ง 5 ประการดังที่แสดงมา
      
      แต่หากว่าผู้ฟังแสดงอาการไม่เคารพในการฟัง เช่น ในขณะฟังหรือในขณะที่พระท่านเทศน์ กลับพูดคุยกัน แข่งแย่งกันพูด บ่นว่าปวดเมื่อยหรือรำคาญ แสดงอาการเหม่อ ใจลอย หรือหลับ ไม่ใช้สติปัญญาคิดพิจารณาตามกระแสธรรม การฟังธรรมก็จะไม่สำเร็จประโยชน์เป็นอานิสงส์ใดๆ แก่ผู้ฟังเลย กลับจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
      
      • 9 จรรยาบรรณของผู้ฟังธรรมที่ดี
      
      ผู้ฟังธรรมที่ดี จึงควรมีจรรยาบรรณของผู้ฟัง ดังนี้
      1. ไม่พูดมากขณะฟัง
      2. ไม่พูดเรื่องที่คนอื่นเขาพูดมากแล้ว
      3. ไม่พูดถึงคนอื่นในแง่ร้าย
      4. ใช้สติปัญญาขณะฟัง
      5. ยอมรับความจริงว่ายังไม่รู้ไม่เข้าใจในสิ่งที่ฟัง
      6. ไม่ลบหลู่ดูถูกดูหมิ่นผู้เทศน์หรือผู้แสดงธรรม
      7. ไม่มีจิตคิดแข่งดี คือไม่คิดยกตนว่าสามารถพูดได้ดีกว่าผู้แสดง
      8. ไม่มีจิตกระด้าง คอยจ้องจับผิดผู้แสดงธรรม
      9. ไม่ฟังแบบเสียไม่ได้
      เมื่อมีจรรยาบรรณเช่นนี้ ก็จะได้รับประโยชน์จากการฟังธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน
      
      (จากส่วนหนึ่งของหนังสือคู่มือพุทธศาสนิกชน)


 ยิงฟันยิ้ม
29  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / หมูป่าอาฆาต เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 05:19:43 PM


การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนับว่าเป็นบาปมาก ผลกรรมจากการฆ่าสัตว์นั้นจะทำให้มีอายุสั้น มีโรคภัยไข้เจ็บมาก ผู้ที่ชอบฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ จึงเป็นเหมือนกับสร้างความชั่วร้ายให้กับชีวิตของตนเอง กรรมที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตบางครั้งก็ให้ผลในชาติต่อๆไป บางครั้งก็ให้ผลทันตาเห็นในชาตินี้ ดังเรื่องราวของนายสมทรง ชายหนุ่มคนหนึ่งของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
      
      หมู่บ้านที่สมทรงอาศัยอยู่ ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีทั้งแม่น้ำ ทั้งภูเขา ทำให้ชาวบ้านสามารถหากินได้ตลอด โดยไม่ต้องซื้อเลยก็ว่าได้ บางคนทำนาเสร็จก็จะหาจับปลาในแม่น้ำ บางคนก็ขึ้นเขาไปยิงนก ยิงสัตว์ป่ามาเป็นอาหาร สมทรงก็เป็นเหมือนคนอื่นๆ ที่ไปจับสัตว์มากินเป็นประจำ เขาเป็นคนที่หากินเก่งมาก เวลาหาปลาก็หาได้มาก เวลาไปล่าสัตว์ป่าก็มักจะได้สัตว์ใหญ่ๆ อยู่เป็น ประจำ มองในแง่หนึ่งสมทรงเป็นคนที่โชคดีมาก เพราะได้สัตว์น้อยใหญ่มาเป็นอาหารทุกครั้ง ซึ่งแตกต่างจากชาวบ้านคนอื่นๆ ที่ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่หากมองอีกแง่หนึ่ง ความโชคดีของเขานั้น เป็นเหมือนกับเป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาได้ทำเวรทำกรรมมากขึ้น
      
      ทุกครั้งที่ออกไปล่าสัตว์ สมทรงจะแบกปืนผาหน้าไม้ไปด้วย วันหนึ่งสมทรงได้ยิงหมูป่าตัวหนึ่งเข้าที่สะโพก มันเจ็บปวดมาก และหันมามองสมทรงด้วยความเคียดแค้น แต่เขาไม่ได้ใส่ใจ เดินตรงเข้าไปแบกหมูป่ากลับบ้านอย่างสบายใจ เมื่อกลับถึงบ้านสมทรงก็เตรียมที่จะฆ่ามันทันที หมูป่ามองสมทรงพร้อมกับร้องเสียงดังราว กับอ้อนวอนขอชีวิต แต่เขาก็ไม่สนใจ แถมหยิบมีดขึ้นมาแทงเข้าไปที่คอของมันเต็มแรง หมูป่าร้องดิ้นสุดกำลัง จนขาดใจตาย!! สมทรงจึงเอาน้ำร้อนลวกหมูทั้งตัวและทำความสะอาด แล้วหั่นออกเป็นชิ้นๆ เอาไปทำอาหารบ้าง ที่เหลือก็ตากแห้งไว้กินวันหลัง
      
      ตั้งแต่วินาทีที่หมูป่าถูกยิง จนกระทั่งถึงวินาทีที่มันถูกแทงซ้ำนั้น มันได้ฝากความอาฆาตแค้นให้กับสมทรงตลอดเวลา มันคงนึกอยู่ในใจว่ามันทำอะไรผิด ทำไมเขาจะต้องฆ่ามันด้วย แต่สมทรงก็ไม่ได้มีความสะทกสะท้านกับสิ่งที่ทำแต่อย่างใด เพราะการกระทำเช่นนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของเขา ตลอดชีวิตตั้งแต่เล็กจนโต เขาฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาแล้วจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นปลา นก ไก่ เป็ด หมู และอื่นๆ อีกมากมาย เท่าที่จะล่ามาเป็นอาหารได้
      
      ตราบใดที่ผลของกรรมชั่วยังไม่ให้ผล คนก็มักจะไม่ รู้สึกสำนึกอะไร ยังคงทำความชั่วต่อไปอย่างสบายใจ ต่อเมื่อกรรมชั่วส่งผลมาถึงตัวเขานั่นแหละ เขาจึงจะค่อยๆ สำนึก และรับรู้ถึงความทุกข์ที่เคยทำไว้กับผู้อื่น สมทรงก็เช่นเดียวกัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เขาไม่เคยคิดเลยว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้น มันจะส่งผลชั่วให้กับตัวเขาอย่างไร ตรงกันข้ามกลับรู้สึกว่า เป็นสิ่งที่ดีอีกต่างหาก เพราะเขามีอาหารกินอย่างเอร็ดอร่อย เป็นคนเก่งที่ออกล่าสัตว์ เมื่อใดก็ได้เมื่อนั้น ความคิดผิดๆเหล่านั้นฝังหัวสมทรงมานานตั้งแต่ยังเด็ก จนกระทั่งอายุได้ 45 ปี ผลแห่งกรรมที่ค่อยๆ คืบคลานตามเขามานั้น ทำให้เขาได้รับรู้ถึงความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน
      
      แล้ววันนั้นก็มาถึง เป็นวันที่สมทรงขึ้นเขาไปล่าสัตว์ตามปกติ เขาไม่เคยคิดเลยว่าวันนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับเขาบ้าง คิดแต่เพียงว่า ขอให้ล่าสัตว์ได้มากๆ อย่างเช่นหมูป่าไก่ป่า สมทรงได้เตรียมทำกับดักสัตว์ไว้ และเตรียมปืนไว้พร้อมที่จะยิงได้ทันทีเมื่อเห็นสัตว์เดินผ่านมา เขานั่งรออยู่นาน ในที่สุดก็มีหมูป่าเดินผ่านมา เขารู้สึกดีใจขึ้นมาทันทีว่าวันนี้โชคดีแล้ว ได้กินเนื้อหมูอย่างแน่นอน
      
      แต่เผอิญหมูป่าตัวนั้นไม่ได้เดินมาตรงกับดักที่เขาวางไว้ สมทรงจึงใช้ปืนยิงแทน ดังนั้น พอได้จังหวะก็ลั่นไกปืนยิงทันที เสียงปืนดังสนั่นหวั่นไหว ทำให้หมูป่าตกใจวิ่งหนี ขณะที่สมทรงหงายหลังผลึ่งลงไปนอนกับพื้น เพราะปืนที่เขายิงออกไปนั้น กระบอกปืนแตกหมดและสะเก็ดเหล็กต่างๆ พุ่งมาเสียบตัวเขา จนเลือดไหลอาบไปทั่วร่าง ความเจ็บปวดแสนสาหัสแล่นเข้าจับขั้วหัวใจของสมทรง!!
      
      แต่ด้วยความที่อยากได้หมูป่า เขาจึงตั้งสติแล้วกัดฟันพยุงกายขึ้น รีบวิ่งไล่หมูป่าไปทันที โดยลืมนึกไปว่าตนเองได้วางกับดักสัตว์ไว้ สมทรงจึงวิ่งไปเหยียบกับดักของตนเอง หน้าไม้ที่ดักไว้ก็ทำงานทันที มันพุ่งมาเสียบท้องของเขาอย่างแรง จนทรุดลงกับพื้นด้วยความเจ็บปวดเหลือประมาณ!!
      
      แต่เมื่อดวงของสมทรงยังไม่ถึงฆาต เขาจึงรวบรวมเรี่ยวแรงที่เหลืออยู่พาร่างซึ่งโชกเลือดกระเสือกกระสน ลงจากภูเขาอย่างทุลักทุเล เพื่อกลับไปยังหมู่บ้านที่อยู่ห่างกว่ากิโล แต่ละก้าวของสมทรงเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน และก่อนที่เขาจะทนความเจ็บปวดไม่ไหวจนขาดใจตาย ก็พอดีมีคนในหมู่บ้านมาเห็นเข้า จึงพาเขาไปหาหมอรักษาได้ทัน
      
      บทเรียนอันแสนเจ็บปวดที่สมทรงได้รับในครั้งนี้ ทำให้เขาคิดขึ้นได้ว่า เป็นเพราะกรรมที่เขาเคยทำไว้นั่นเอง กรรมนั้นมันได้มาสนองเขาอย่างเต็มที่แล้ว เขาจึงตั้งใจว่า จากนี้ต่อไปจะไม่เข้าป่าล่าสัตว์อย่างที่เคยทำเป็น อันขาด
      
      นี่แหละคือผลของกรรมชั่วที่ตามมาสนองในชาตินี้ เท่านี้ยังไม่พอ กฎแห่งกรรมยังจะต้องตามสนองสมทรงต่อไปจนถึงชาติหน้า มีทางเดียวที่ชายหนุ่มจะลดกรรมอันหนักให้บรรเทาลงได้บ้าง นั่นคือการทำความดีให้มากๆ ยิ่งทำความดีได้มากเท่าไหร่ กรรมชั่วที่มีอยู่ก็จะเบาบางลงไปมากเท่านั้น เปรียบเหมือนกับน้ำสีดำในแก้ว หากเติมน้ำดีลงไปมากๆ น้ำสีดำนั้นก็จะค่อยๆ ใสขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเติมน้ำดีลงไปมากเท่าไหร่ ความเข้มของสีดำที่อยู่ในน้ำ ก็จะค่อยๆ เจือจางลงไปมากเท่านั้น แต่จะให้ลบล้างไปเลยร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น คงเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น จงหมั่นทำความดีเสียตั้งแต่วันนี้ก่อนที่จะไม่มีเวลาเหลือให้ทำอีกต่อไป

 ยิงฟันยิ้ม
30  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / เครื่องกลั่นกรอง 'ธรรม' ออกจากโลก เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 03:07:48 PM


วันนี้จะอธิบายถึงวิธีกลั่นกรองธรรมออกจากโลก หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าวิจัยธรรมให้ออกจากโลก ให้เห็นธรรมเป็นธรรม เห็นโลกเป็นโลก กรองเอาของเลวออกให้เหลือแต่ของดี ของอย่างหยาบเราไม่ต้องการแล้วก็กรองออกเสีย เก็บไว้แต่ของละเอียด เหมือนกับน้ำที่มันขุ่น เรากรองเอาแต่ของขุ่นออก เก็บของใสๆ ไว้ใช้บริโภค    
          
      คนเราเกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้วก็ปะปนอยู่กับโลก วุ่นวายอยู่กับโลก เห็นเรื่องของโลก ได้ผ่านได้ประสบพบเหตุการณ์มาแล้วทุกอย่างทุกประการ ผู้ที่ปฏิบัติศีลธรรมทั้งหลายล้วนแล้วแต่เบื่อเรื่องโลก เห็นโทษของเรื่องโลกของเรื่องวัฏสงสาร จึงได้พากันพยายามมาปฏิบัติทางด้านศีลธรรม เพื่อกลั่นกรองเอาธรรมะออกมาจากโลกอันนี้ ในทางพุทธศาสนาเครื่องกลั่นกรองนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เครื่องกลั่นกรองมี ๓ อย่างนี้เท่านั้น
      
      ศีล เป็นเครื่องกลั่นกรองอย่างหยาบก็จริงอยู่ แต่ถ้าหากไม่มีศีลเป็นเครื่องกรองเสียแล้ว เราก็ไม่รู้จักว่าคนเรามีเรื่องของโลกปะปนอยู่มากน้อยเท่าใด คำว่า สัตว์โลก แปลว่า ผู้ยังข้องยังติดอยู่กับโลก คนเรามันยังติดอยู่กับโลก พอใจยินดีกับโลก ท่านจึงเรียกว่าสัตว์ มนุษย์คือสัตว์ประเภทหนึ่ง สัตว์โลกเมื่อเกิดขึ้นมาตามธรรมดาสามัญทั่วไปย่อมเห็นแก่ตัว เอาแต่ความสุขส่วนตัวเป็นพื้น การเห็นแก่ตนนั่นแหละเป็นวิสัยของสามัญสัตว์ทั่วไป หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่าเป็นเรื่องของโลก
      
      สัตว์ทุกประเภทเมื่อเห็นแก่ตัวแล้ว ก็จะต้องขวนขวายแสวงหาแต่ความสุขเพื่อตัวฝ่ายเดียว การขวนขวาย หาความสุขเพื่อตัวฝ่ายเดียวนั้น ก็จะต้องเป็นเรื่องกระทบ กระเทือนเบียดเบียนถึงคนอื่นหรือสัตว์อื่น ให้ได้รับความ ทุกข์เดือดร้อน นี่เป็นวิสัยของโลก มันเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกาล
      
      ถ้าหากว่าเราเห็นเรื่องการเบียดเบียน หรือการเห็นแก่ตัวเป็นเรื่องทำลายความสุขของคนอื่น เป็นเครื่องทำความเดือดร้อนให้กับคนอื่นหรือสัตว์ตัวอื่น เราจึงหันมารักษาศีล คือหาเครื่องกรองเพื่อให้เห็นว่าการทำเช่นนั้นมันไม่ดี มันเป็นเรื่องนำมาซึ่งความทุกข์เดือดร้อนให้แก่คนอื่นและสัตว์ตัวอื่น ตัวอย่างเช่นงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
      
      ตามปกติคนเรามีนิสัยชอบกินเนื้อเขาเป็นพื้น เห็นเนื้อเขาก็น้ำลายพุ่งออกมาเลยไม่ว่าเนื้ออะไรทั้งหมด มันติดนิสัยกินเนื้อเขาเอามาเป็นอาหารเอามาบำรุงร่างกายของตัว อันนี้เรียกว่าเห็นแก่ตัว
      
      ถ้าหากผู้ใดรู้เรื่องหมด เห็นโทษ เห็นภัยอย่างนี้แล้วหันมาพยายามรักษาศีล คือ งดเว้นการฆ่าสัตว์ ถึงแม้จิตใจมันยังชอบหรือยังอยากอยู่ก็ตาม แต่กายและวาจาไม่กระทำ คือกายไม่ไปฆ่าหรือวาจาไม่บังคับให้เขาฆ่า งดเว้นเพียงข้อเดียวเท่านั้น ธรรมะก็ปรากฏขึ้นมาแล้วในกายในวาจาของคนคนนั้น คือไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น นี่มันกรองได้อย่างนี้
      
      หากใจยังคิดนึกอยู่ท่านก็ไม่ได้ปรับโทษว่าเป็นการล่วงละเมิดศีลข้อ ๑ คือฆ่าสัตว์ เพราะกายและวาจางดได้ไม่ยอมทำ เนื่องจากกลัวศีลจะขาด แต่ใจยังรักษาไม่ได้ เท่านี้ก็เป็นการกรองออกมาจากโลก ไม่เป็นโลกแล้ว มีธรรมขึ้นมาแล้ว แต่ธรรมตอนนี้ยังไม่ทันบริสุทธิ์ ธรรมยังเศร้าหมองยังไม่ทันผ่องใสเต็มที่ เปรียบเหมือนกับทองคำที่เขาหล่อหลอมแล้ว ไล่ขี้มันออกแล้วเป็นทองบริสุทธิ์ก็จริง แต่ยังไม่ได้ทำรูปพรรณให้เป็นเครื่องใช้ มันยังไม่สวยสดงดงามพอจะเป็นเครื่องประตับตกแต่งได้ ศีลก็ขนาดนั้นเหมือนกัน สำหรับข้อแรกเราก็พอจะเห็นการกลั่นกรองออกมาได้แล้ว
      
      ข้อที่สอง งดเว้นเสียจากการลักขโมยฉ้อโกงของของคนอื่น เอามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน คนเราเมื่อเห็นแก่ตัวแล้วก็ต้องแสวงหา ทีแรกก็นำมาค้าขายแลกเปลี่ยน หาผลกำไรเป็นธรรมดา เมื่อหาผลหากำไรได้ไม่พอใจ เพราะความโลภมันแทรกซึมอยู่มาก ก็จะมีการละโมบ ฉ้อโกง หรือเห็นของที่เขาทอดทิ้งไว้ไม่เห็นเจ้าของ ก็จะหยิบฉวยเอาไปเป็นของตน นี่เป็นโลกมันแทรกซึมอยู่กับธรรมอย่างนี้ ถ้าหากว่าเรามาสมาทานศีล หรือตั้งใจงดเว้นศีลข้อที่สอง คือไม่ลักขโมยฉ้อโกงของเขา ถ้าใจมันยังอยากอยู่แต่เรากลัวศีลจะขาด เราก็พยายามไม่ฉ้อโกงไม่ขโมยของเขา อันนี้ก็เรียกว่าเรากรองจากโลกออกมาแล้ว จะปรากฏขึ้นมาแก่ใจของตนว่า ธรรมะของเราปรากฏขึ้นแล้ว
      
      ส่วนข้ออื่นๆ เช่นการประพฤติผิดมิจฉาจาร กล่าวมุสาวาจา ดื่มสุราเมรัย หรือศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ถ้าจะไล่เป็นข้อๆ ไปแล้วก็ยืดยาว เพียง ๒ ข้อนี่ก็แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า การกลั่นกรองธรรมะออกมาจากโลกกรองได้ด้วยวิธีนี้ คือกรองด้วยการรักษาศีล
      
      (อ่านต่อตอนหน้า)

 ยิงฟันยิ้ม
หน้า: 1 [2] 3