แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  พระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์ / พระสูตร ต่างๆที่ควรแก่การศึกษา / โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก เมื่อ: ตุลาคม 04, 2015, 06:33:22 PM
โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก

ภิกษุ ท. ! ถ้าสมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้
มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด; บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก
(ไม้ไผ่ ?) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น;
ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก,
ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก,
ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้,
ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ, อยู่ดังนี้

ในน้ำนั้น มีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอด ล่วงไปร้อย ๆ ปี มันจะผุด
ขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ

ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :
จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง
จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?

“ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปี
ผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น”

ภิกษุ ท. ! ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกันที่ใคร ๆ
จะพึงได้ความเป็นมนุษย์;

ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
จะเกิดขึ้นในโลก;

ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว
จะรุ่งเรืองไปทั่วโลก

ภิกษุ ท. ! แต่ว่า บัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว;
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว;
และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น
ในกรณีนี้พวกเธอพึงกระทำโยคกรรม เพื่อให้รู้ว่า
“นี้ ทุกข์;
นี้ เหตุให้เกิดทุกข์;
นี้ ความดับแห่งทุกข์;
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้ เถิด.

มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๔.

ขอบคุณที่มา
http://group.wunjun.com/truthoflife/topic/176980-4153
2  พระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์ / พระสูตร ต่างๆที่ควรแก่การศึกษา / Re: อานาปานสติ สติปัฏฐาน4 เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 02:15:54 AM
  วีดีโอ พุทธวจน การปฏิบัติ
เรื่อง
-การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔
-อานาปนสติ ๑๖ ขั้นตอนของพระพุทธเจ้า
-การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

 
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=7924.0


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=FGtWpiaCWz8&amp;feature=player_embedded#at=160<br /><br />" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/watch?v=FGtWpiaCWz8&amp;feature=player_embedded#at=160<br /><br /></a>
3  พระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์ / พระสูตร ต่างๆที่ควรแก่การศึกษา / อานาปานสติ สติปัฏฐาน4 เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 12:44:49 AM
  อานาปานสติ สติปัฏฐาน4   
  (พุทธวจน : มรรควิธีที่ง่าย)

   ภิกษุทั้งหลาย !
   ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า
   จึงทำสติปัฏฐานทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ได้ ?
   
   ----------------------------------------------
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
   
   เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
   เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
   
   เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
   เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
   
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
   เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
   เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
   โทมนัสในโลกออกเสียได้.
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว
   ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
   ว่าเป็นกายอย่างหนึ่งๆ ในบรรดากายทั้งหลาย.
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
   เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ
   มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
   ในโลกออกเสียได้.
   
   ---------------------------------------------
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
   
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
   เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
   เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
   โทมนัสในโลกออกเสียได้.
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวว่า
   การทำในใจเป็นอย่างดี ถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
   ว่าเป็นเวทนาอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย.
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
   เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
   มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
   ในโลกออกเสียได้.
   
   ---------------------------------------------
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
   
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก”
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
   เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
   เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติ เป็นสิ่งที่มีได้
   แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
   เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
   มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
   
   -----------------------------------------------
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
   
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ” หายใจออก
   ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
   ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
   ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
   เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
   มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว
   เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
   
   ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
   เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
   มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
   
   ---------------------------------------------
   
   ภิกษุทั้งหลาย !
   อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
   ย่อมทำสติปัฏฐาน ทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ได้.
   
   --------------------------------------------
   
   ปฐมภิกขุสูตร มหาวาร. สํ. 19 / 424 / 1402-10
   
   http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=4524.0
4  พระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์ / พระสูตร ต่างๆที่ควรแก่การศึกษา / ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๒ (พระสารีบุตรผู้มีธรรม ๗ฯย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา๔) เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 11:58:18 PM
ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๒

         [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ
ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
   
ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

สารีบุตรในธรรมวินัยนี้
เมื่อจิตหดหู่ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่าจิตของเราหดหู่
จิตท้อแท้ในภายใน ก็รู้ชัดตามเป็นจริง ว่าจิตของเราท้อแท้ในภายใน หรือ
จิตที่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ก็รู้ชัดตามเป็นจริง ว่าจิตของเราฟุ้งซ่านไปภายนอก
เวทนา ย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ สารีบุตรทราบแล้ว  
สัญญา ย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ สารีบุตรทราบแล้ว    
วิตก
ย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ สารีบุตรทราบแล้ว  
จิตในธรรม
เป็นที่สบาย ไม่สบาย เลว ประณีต ดำขาว และเป็นปฏิภาคกัน
อันสารีบุตรเรียนดีแล้ว มนสิการดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา
  
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล
ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ฯ


                           จบสูตรที่ ๘


พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๓๕/๓๗๙ ข้อที่ ๓๖
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=35&volume=23

http://group.wunjun.com/truthoflife/topic/179008-4186

5  พระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์ / พระสูตร ต่างๆที่ควรแก่การศึกษา / พุทธวจน : ฆราวาสชั้นเลิศ เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 12:23:29 PM
พุทธวจน : ฆราวาสชั้นเลิศ

คหบดี ! ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใด
แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดด้วย,
ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้ว
ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วย,
แบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญด้วย,
ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ
มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ด้วย;

คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสี่ คือ :-
ควรสรรเสริญโดยฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา
แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด,
ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สอง ในข้อที่เขา
ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ,
ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สาม ในข้อที่เขา
แบ่งปันโภคทรัพย์ บำเพ็ญบุญ,
ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สี่ ในข้อที่เขา
ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ
มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น.

คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสี่เหล่านี้.
คหบดี ! กามโภคีจำพวกนี้ เป็นกามโภคีชั้นเลิศ ชั้นประเสริฐ
ชั้นหัวหน้า ชั้นสูงสุด ชั้นบวรกว่ากามโภคีทั้งหลาย,
เปรียบเสมือน
นมสดเกิดจากแม่โค
นมส้มเกิดจากนมสด
เนยข้นเกิดจากนมส้ม
เนยใสเกิดจากเนยข้น
หัวเนยใสเกิดจากเนยใส;
หัวเนยใสปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดารสอันเกิดจากโคทั้งหลายเหล่านั้น,
ข้อนี้ฉันใด;
กามโภคีจำพวกนี้ ก็ปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดากามโภคีทั้งหลายเหล่านั้น
ฉันนั้น แล.


ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๔/๙๑.

   ยิ้ม ยิ้มเท่ห์ ยิงฟันยิ้ม

http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=8036.0

ดาวน์โหลดหนังสือ พุทธวจน 7 ฆราวาสชั้นเลิศ
http://download.watnapahpong.org/dat...cketbook07.pdf
__________________
แจกหนังสือพุทธวจน-วีดีโอ-mp3
http://media.watnapahpong.org/
http://www.watnapp.com/media/
6  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ช่วยผมหาข้อพระไตรปิฏก หน่อยน่ะครับ เมื่อ: สิงหาคม 26, 2011, 10:40:49 PM

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์

http://www.pobbuddha.com/tripitaka/

 ยิงฟันยิ้ม
หน้า: [1]