แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 55 56 [57] 58
841  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 / Re: การภาวนาของพี่หมวย ลูกศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์ เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 02:34:58 PM
                  ของแท้สุดๆ คือความเสื่อมของกาย/ใจ ยิงฟันยิ้ม
842  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 / Re: เรื่องของจิต เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 02:30:39 PM
                      ขณะที่จิตเห็นไตรลักษณ์ ย่อมมีที่อยู่ที่เดียว คือกลางอก

                         ต่อจากนั้นก็ซุกซนไปอีก ทุกแห่งทั้งใน/นอกกาย
               
                                 ใช้หรือเปล่า  ยิงฟันยิ้ม
843  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไร / Re: ตอบปริศนาชั่วนิรันดร์: พวกเราแท้จริงเป็นใคร? เกิดมาเพื่ออะไร? เมื่อ: สิงหาคม 22, 2010, 01:59:44 PM
   ปฏิคะ คือความขัดใจเลกๆน้อยๆ ก่อนที่จะลุกลามไปที่โทสะ(มารใหญ่)


ถูกขัดใจ แล้วเกิดอาการหงุดหงิด ให้รู้ว่าหงุดหงิด(ลงปัจจุบัน)

อย่าไปวิ่งตามอารมณ์หงุดหงิดนั้น(เล่นละคร...ตามบท...กูหงุดหงิด)



844  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 / Re: "วิมุตติคือความหลุดพ้น" หลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อ: สิงหาคม 22, 2010, 01:40:15 PM
แสดงว่า  .....อารมณ์.... นี่เป็นสุดๆ ของทุกข์เลยเมื่อเราวิ่งตามไปกับมัน ยิงฟันยิ้ม
845  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน เมื่อ: สิงหาคม 22, 2010, 01:36:58 PM

             อันนี้เรียก .....อยากรู้+มานะ...... ยิงฟันยิ้ม
846  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน เมื่อ: สิงหาคม 22, 2010, 10:18:09 AM
            ระหว่าง การปฏิบัติธรรม เช่นการเดินจงกรม ผลที่ได้ คือ
               1.  ศีลคือการสำรวมกาย+วาจา
                        2.  สมาธิ คือการสำรวมใจ(ลงที่ท่าเดิน)
                                  3.และป้ญญา คือการที่จิตรู้(ว่ารูปเดิน+ความรู้สึกว่าเดิน....เป็นไตรลักษณ์)


            อย่างนี้ใช่หรือ    ยิงฟันยิ้ม


และนั่นคือการละ อวิชชา (ตัดวงจรของปฏิจจสมุปปบาทได้โดยอัตโนมัติ)

          ใช่หรือ     ยิงฟันยิ้ม                     
847  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 11:48:16 AM
พิจารณาความเรื่อง ปิติ และการเห็นไตรลักษณ์ ความเหมือนหรือความแตกต่าง


บทความนี้เป็นการย่อความจากคำบรรยายของท่านพุทธทาสเรื่อง “ สมาธิ วิปัสสนา ตามวิธีธรรมชาติ ” ซึ่งบรรยายไว้เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งธรรมสภาได้นำมาพิมพ์ใหม่เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีของการถือกำเนิดพระอริยสงฆ์นามพุทธทาส


......................................................................


               การบรรลุจุดสูงสุดในทางศาสนาพุทธ คือมีความสุขอย่างยิ่ง หรือก็คือนิพพาน เกิดได้จากการที่จิตมีสมาธิจนควรแก่การทำงานทางจิต นั่นคือใช้จิตในการพิจารณาธรรมต่างๆจนกระจ่างแจ้งและหลุดพ้นไปได้


              สมาธิที่ควรแก่งานทางจิต


              เกิดได้ ๒ วิธี คือ โดยตามธรรมชาติ หรือสมาธิที่เราใช้ในการทำงานตามปกติ และโดยการบังคับเอาด้วยเทคนิค เช่นการเจริญวิปัสสนาต่างๆ ท่านพุทธทาสให้ความเห็นว่า อย่าได้ดูแคลนสมาธิตามธรรมชาติ เพราะในพุทธกาล มีผู้บรรลุอรหันต์มากมายโดยวิธีนี้

               .



               สำหรับการสร้างสมาธิ วิปัสสนาโดยวิธีธรรมชาตินั้น


               กระบวนการเริ่มจากการศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาจนเข้าใจ  มองโลกอย่างถูกต้องตามเป็นจริง แล้วรักษาศีล คือปรับปรุงในเรื่องกายวาจาให้ดี แล้วก็ดำเนินสมาธิ


              แล้วการศึกษานั้น ควรศึกษาอะไร ?


              “ พระพุทธศาสนาคือวิชา หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ที่ว่ารู้อะไรเป็นอะไรนั้น คือ รู้ทุกสิ่งว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัตว์หลงไปในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ก็เพราะอำนาจของอุปาทาน จึงได้ติดแน่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ไตรสิกขา เป็นวิธีปฏิบัติสำหรับจะให้ตัดอุปาทานได้ และชี้บอกว่า ขันธ์ ๕ หรือส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกนี้เอง เป็นที่ตั้งเกาะของอุปาทาน ฉะนั้น เราจะต้องศึกษาให้รู้จักตัวขันธ์ห้า หรือโลกทั้งสิ้นนี้ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง จึงจะเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดชนิดที่เป็นญาณทัสสนะ ทำการปล่อยวางหลุดพ้นได้ ”

สมาธิที่ควรแก่งานทางจิต


              เกิดได้ ๒ วิธี คือ โดยตามธรรมชาติ หรือสมาธิที่เราใช้ในการทำงานตามปกติ และโดยการบังคับเอาด้วยเทคนิค เช่นการเจริญวิปัสสนาต่างๆ ท่านพุทธทาสให้ความเห็นว่า อย่าได้ดูแคลนสมาธิตามธรรมชาติ เพราะในพุทธกาล มีผู้บรรลุอรหันต์มากมายโดยวิธีนี้

               .



               สำหรับการสร้างสมาธิ วิปัสสนาโดยวิธีธรรมชาตินั้น


               กระบวนการเริ่มจากการศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาจนเข้าใจ  มองโลกอย่างถูกต้องตามเป็นจริง แล้วรักษาศีล คือปรับปรุงในเรื่องกายวาจาให้ดี แล้วก็ดำเนินสมาธิ


              แล้วการศึกษานั้น ควรศึกษาอะไร ?


              “ พระพุทธศาสนาคือวิชา หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ที่ว่ารู้อะไรเป็นอะไรนั้น คือ รู้ทุกสิ่งว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัตว์หลงไปในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ก็เพราะอำนาจของอุปาทาน จึงได้ติดแน่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ไตรสิกขา เป็นวิธีปฏิบัติสำหรับจะให้ตัดอุปาทานได้ และชี้บอกว่า ขันธ์ ๕ หรือส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกนี้เอง เป็นที่ตั้งเกาะของอุปาทาน ฉะนั้น เราจะต้องศึกษาให้รู้จักตัวขันธ์ห้า หรือโลกทั้งสิ้นนี้ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง จึงจะเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดชนิดที่เป็นญาณทัสสนะ ทำการปล่อยวางหลุดพ้นได้ ”


             เมื่อศึกษาอย่างถ่องแท้ เกิดทัศนคติที่ถูกต้องต่อธรรมชาติ จึงรักษาศีล สิ่งที่จะเกิดตามมาคือสิ่งที่เรียกว่า ปราโมทย์ และ ปิติ ในทางธรรม

              .


              ...ปิติ..ที่เกิดอย่างสม่ำเสมอนี้เอง เป็นตัวนำไปสู่สมาธิ


             นั่นคือ เมื่อทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทำทานหรือให้ธรรมทาน หรือพอใจในตนเองว่ารักษาศีลจนตนไม่ด่างพร้อย ก็เกิดความเคารพตนเอง จึงเกิดความปราโมทย์ และ ปิติ ขึ้น


             ปิตินั้นมีอำนาจอยู่ในตัวอย่างหนึ่ง คือทำให้เกิด ปัสสัทธิ ความสงบระงับ เมื่อมีความสงบระงับ ก็ย่อมเกิดสมาธิ คือจิตอยู่ในสภาพที่เป็น กมฺมนิโย  อันเป็นจิตที่มีสมาธิที่แท้จริงในการปฏิบัติธรรมจนเกิดปัญญาเพื่อตัดกิเลส


            เมื่อพิจารณา...ไตรลักษณ์..ด้วยปัญญาอย่างสม่ำเสมอ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่เกิดตามมาคือยถาภูตญาณทัสสนะ หรือก็คือที่ท่านสรุปสั้นๆคือเห็นว่า ไม่มีอะไรน่าเอา ไม่มีอะไรน่าเป็น


            จนเมื่อความรู้สึกแรงกล้าขึ้น ก็จะเกิดนิพพิทา หรือความเบื่อหน่าย อยากปลดเปลื้องตนเองจากการเป็นทาสกิเลสขึ้น ตามสัดส่วนของการเห็น


             เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมเกิด วิราคะ หรือความคลายกำหนัดตามมาเองโดยธรรมชาติ
สิ่งที่ตามมาคือ วิมุตติ คือความหลุดออกได้


             เมื่อมีความหลุดออกได้ ไม่ตกเป็นทาสของโลกอีกต่อไป ก็จะมีอาการที่เรียกว่า วิสุทธิ คือบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง


             เมื่อบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า สันติ คือความสงบอันแท้จริงสืบไป เป็นความร่มเย็นที่ปราศจากการรบกวน ปราศจากการดิ้นรนต่อสู้


            ...จากสันติ ก็คือนิพพาน... ท่านพุทธทาสว่าสันติกับนิพพานนี้แทบจะไม่ต้องแยกกัน ที่แยกกันก็เพื่อจะได้เห็นว่าเมื่อสงบ ก็นิพพาน


            “ สรุปความว่า สมาธิ และวิปัสสนาตามธรรมชาติที่ทำให้บุคคลบรรลุมรรคผลได้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตรงที่นั่งฟังนั้นเอง และเป็นวิธีที่เหมาะกับทุกคนนั้น ตั้งอาศัยอยู่บนรากฐานแห่งการพิจารณาความจริงในข้อที่ว่า ไม่มีที่น่าเอาน่าเป็นอยู่เป็นประจำทุกวัน

             .

             ผู้หวังจะได้ผลอันนี้จะต้องพยายามทำตนให้เป็นคนสะอาด มีอะไรเป็นที่พอใจตัว จนยกมือไหว้ตนเองได้ มีปิติปราโมทย์ตามทางธรรมอยู่เสมอ ไม่ว่าในเวลาปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือเวลาพักผ่อน ปิติปราโมทย์นั้นเองทำให้เกิดความแจ่มใสสดชื่น มีใจสงบระงับ เป็นปัสสัทธิ เป็นเหตุให้มีสมาธิตามธรรมชาติอยู่อย่างอัตโนมัติ จนเห็นความจริงที่ว่า ไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็นอยู่เสมอ

            .

            ขณะใดเป็นไปแรงกล้า จิตก็หน่าย คลายกำหนัดจากสิ่งที่เคยยึดถือ หลุดออกมาได้จากสิ่งที่เคยยึดถือ แม้แต่การยึดถือว่าเป็นตัวตน หรือของตน ไม่มีความหลงอยากในสิ่งใดด้วยกิเลสตัณหาอีกต่อไป ความทุกข์ไม่มีที่ตั้งอาศัย ก็สิ้นสุดลง ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ไม่มีอะไรที่จะต้องทำให้เพื่อให้ตนพ้นทุกข์อีกต่อไป นับว่าเป็นของขวัญที่ธรรมชาติมีไว้สำหรับทุกคนโดยแท้จริง”


              และขอนำคำบรรยายของพระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) มาเพิ่มเติมไว้ดังนี้


              “ กล่าวคือ ในกระบวนการปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้ผลก้าวหน้าไปสู่จุดหมายนั้น ท่านจะกล่าวอยุ่เสมอถึงองค์ธรรมต่างๆที่จะเกิดตามกันมาเป็นชุด ได้แก่ เกิดความแช่มชื่นเบิกบาน ( ปราโมทย์ ) แล้วก็...เอิบอิ่มใจ ( ปิติ)... จากนั้นกายใจก็ผ่อนคลาย ( ปัสสัทธิ) ความสุขก็เกิดตามมา ( สุข ) แล้วจิตกํตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ( สมาธิ ) ต่อแต่นั้นก็สามารถเกิดญาณทัสสนะ ตลอดไปจนถึง...วิมุตติ คือความหลุดพ้นไปในที่สุด....

..........................................................................


อ้างอิง


พุทธทาสภิกขุ วิธีชนะความตาย ( หน้า ๑ – ๓๕ ) ธรรมสภา ๑ / ๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร


พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยุตฺโต )  รู้หลักก่อน ( หน้า ๖๔ ) ธรรมสภา ๑ / ๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ขอบคุณ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=379931

..
.....ประเมินจากบทความนี้คือ ปิติก่อน ตามด้วย สมาธิ เห็นไตรลักษณ์ และนิพพาน......
โมทนาบุญ

848  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 11:37:41 AM
วันนี้ ท่องเว็บได้ข้อความเพิ่มความรู้ด้านอริยสัจจ์มาล้างความอยาก ดังนี้

หลวงพ่อปราโมทย์: เรียนธรรมะเรียนง่ายๆนะ เรียนแบบเป็นกันเอง สมัยพุทธกาลนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ก็สอนธรรมะได้ อยู่ที่ไหนก็พูดกันได้ธรรมะ ธรระมจริงๆเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนอะไร ฆราวาสก็ทำได้นะ ฆราวาสทำให้ถึงมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เรื่องที่ว่าเหลือวิสัยทำไม่ได้ แต่ว่าต้องจริงจังหน่อย แต่จริงจังก็ไม่ได้จริงจังแบบวัวแบบควายนะ เอาแรงเข้าทุ่ม ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าสอนหลักไว้แล้ว เราจะมาทำนอกหลักพระพุทธเจ้าแล้วก็จะบรรลุอะไรอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนเสียก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจจ์ นี่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดของท่าน.......... อริยสัจจ์มีเรื่องทุกข์ คำว่าทุกข์ก็ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ ต้องเรียนนะ ...........ทุกข์ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์คือกายกับใจ ท่านบอกว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ว่าโดยสรุปขันธ์ ๕ คือตัวทุกข์ ทุกข์ให้ทำอะไร ทุกข์ให้รู้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราเนี่ย รู้กายรู้ใจลงไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำอย่างอื่นกับกายกับใจนะ หน้าที่คือรู้กายรู้ใจ ถ้าเรารู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งเนี่ยถึงจะละอวิชาได้ อวิชาคือความไม่รู้ทุกข์นั่นเอง คือไม่รู้ว่ากายกับใจนี้เป็นตัวทุกข์ เราไปคิดว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เป็นตัวดีตัววิเศษ แต่ถ้าเรามา.....เจริญสติรู้กาย เจริญสติรู้ใจ รู้มากเข้าๆเราจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจนี้ตัวทุกข์ล้วนๆ พอมันเห็นกายเห็นใจเป็นตัวทุกข์แจ่มแจ้งปุ๊บ สมุทัยจะเป็นอันถูกละอัตโนมัติเลย......... ฉะนั้นรู้ทุกข์เมื่อไหร่ สมุทัยถูกละเมื่อนั้น ... จำไว้นะ ไม่ใช่ว่าละสมุทัยเมื่อไหร่ พ้นทุกข์เมื่อนั้นนะ ธรรมะมันคนละระดับกัน

พวกเราเรียนธรรมะมันมีหลายขั้นตอน อย่างคนทั่วๆไปเนี่ย สมุทัย คนทั่วๆไปเห็นว่า ถ้ามีความอยากแล้วไม่สมอยากแล้วจะทุกข์ ถ้าสมอยากแล้วไม่ทุกข์ เนี่ยคนทั่วๆไปเห็นได้แค่นี้ ตื้นมากเลย ถ้ามีความอยากแล้วก็ไม่สมอยากแล้วทุกข์ นักปฏิบัติจะละเอียดขึ้นมาหน่อย เห็นว่าถ้ามีความอยากเมื่อไรก็มีความทุกข์เมื่อนั้น จะสมอยากหรือจะไม่สมอยาก แค่มีความอยากขึ้นมาจิตก็เริ่มดิ้นรน มันจะดิ้นนะ หมุนติ้วๆ ทำงานขึ้นมา เพราะฉะนั้นทันทีที่เกิดความอยากความทุกข์ก็เกิด แล้วก็เลยคิดว่า ถ้าไม่อยากเนี่ยความทุกข์ก็ไม่มี กายกับใจนี้ก็ไม่ทุกข์ ถ้าอยากแล้วจิตใจจะมีความทุกข์ขึ้นมา อย่างนี้ก็เรียกว่ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์จริง ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์จะรู้เลยว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ อย่างจิตใจของเราเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง จะมีความอยากหรือจะไม่มีความอยากมันก็ทุกข์โดยตัวของมันเอง

ธรรมะลึกมากนะ แต่เดิมเราไม่เข้าใจธรรมะอย่างนี้ เราก็ดิ้นรนแสวงหาไปเรื่อยๆ ทำอย่างไรจิตใจของเราจะมีความสุขถาวร ทำอย่างไรเราจะดีถาวร ทำอย่างไรจิตจะสงบถาวร เนี่ยเราเที่ยวค้นหา จิตที่ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ซึ่งมันไม่มีในโลกนี้ มันมีแต่ของไม่เที่ยง มันมีแต่ของเป็นทุกข์ มันมีแต่ของบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เราจะไปหาอะไรที่บังคับให้ได้ ควบคุมให้ได้ แล้วมีความสุขด้วย เป็นตัวเราด้วย เราไปหาสิ่งซึ่งไม่มี เพราะฉะนั้นการดิ้นรนค้นคว้า ที่ภาวนา ที่ปฎิบัติกันนั้นน่ะ ที่มุ่งเอาความสุข ความสงบ ของจิตของใจนี่นะ ไม่มีทางละอวิชาได้เลย

ท่านอาจารย์มหาบัวท่านวิจารณ์บอกว่า ภาวนาแบบนี้นะ กิเลสหนังไม่ถลอกเลย ไม่ถลอกจริงๆนะ ไม่ใช่แกล้งว่า เพราะอะไร เพราะมันภาวนาตอบสนองกิเลส ภาวนาเพื่อว่าวันหนึ่ง “กู”จะได้มีความสุขถาวร “กู”จะดีถาวร “กู”จะสงบถาวร ไปภาวนาเอาของซึ่งไม่มี เพราะว่าปัญญาเรายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์

ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์นี้นะจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าเห็นอย่างนี้ มันจะหมดสมุทัย หมดความอยากโดยอัตโนมัติ ตัณหามันจะเป็นอะไร้ ตัณหามันก็แค่ว่า อยากให้กายให้ใจมีสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ตัณหามันก็มีอยู่เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้นเมื่อใดเราเห็นกายเห็นใจนี้ทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง ถ้าเห็นอย่างนี้นะ ตัณหาจะถูกละอัตโนมัติ ไม่เกิดขึ้นมา ทันทีที่ตัณหาไม่เกิด ......จิตใจก็เข้าถึงสันติสุขในฉับพลันนั้นเลย สันติสุขก็คือนิพพาน หรือก็คือนิโรธนั่นเอง.............. ตัวสันตินั้นแหละ ตัวนิโรธ ตัวนิพพาน เมื่อไรจิตหมดตัณหาจิตก็หมดความดิ้น จิตที่หมดความดิ้นรนก็มองเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรนคือนิพพานปรากฎอยู่ต่อหน้าต่อตา

ในขณะที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้งจนกระทั่งละสมุทัยแจ้งนิโรธ ในขณะนั้นแหละเรียกอริยมรรค เพราะฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เกิดขึ้นในขณะจิตเดียวกัน ไม่ใช่ว่ารู้ทุกข์วันหนึ่ง ละสมุทัยวันหนึ่ง แจ้งนิโรธวันหนึ่ง ไม่ใช่ ....เกิดในขณะจิตเดียว......
สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๒
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๒

ขอบคุณ http://www.dhammada.net/category/before/ariyasaj/nirvana/

เนียะ......อะไรก็ .....เกิดขึ้นในขณะจิตเดียวกัน.......... อีกแล้ว 
ประเมินสถานการณ์ คือเมื่อจิตเห็นไตรลักษณ์ แล้วมันมีพลัง  ฟาดกิเลสที่ห่อหุ้มจิตไว้ ออกไปสัมผัส.....นิพพาน ได้ อย่างรวดเร็วใกล้หรือเท่าหรือเกินความเร็วแสง......
                                              โมทนาบุญ
849  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: อุโบสถศีล ศีลแห่งความสุขทั้งปวง เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 10:14:04 AM
 1.ศีล        2.และสังโยชน์ 10 อันยังมีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นองค์ประกอบอยู่
แล้ว ทั้ง 2 นี้มีความเกี่ยวพันกันอย่างไร
850  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / แนะนำ สถานที่ปฏิบัติภาวนาธรรม ที่สัปปายะ ในประเทศไทย / Re: วิปัสสนา สายท่านโกเอ็นกล้า เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 09:13:47 AM
คนแก่ จะไปไหวมั๊ย
เพื่อนไปมาแล้ว บอกว่านั่ง  จนเครียด ด ด
ขอกลับก่อนก็ไม่ได้
851  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 09:09:17 AM
ขอให้ช่วยแนะนำแหล่ง(ผู้รู้)เพื่อสอบถาม เป็นส่วนตัวด้วย
และขอเป็นทางอีเมล์เพราะเดินทางไกลไม่ไหว
โมทนาบุญ  ยิงฟันยิ้ม
852  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: ความรู้เรื่องนิพพาน ของพระสงฆ์ในอดีต เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 09:04:40 AM
             
จากคำนิยามของปรมัติธรรม ระบุสิ่งที่มีอยู่ 4 อย่าง คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน
เมื่อปฏิบัติธรรม จน จิต วางเฉยหรือละ  เจตสิกและรูปได้แล้ว 
จิตจึงจะสัมผัสนิพพานได้เป็นระยะ จนถึงพระอรหันต์           .......เป็นดังนี้หรือไม่   ยิงฟันยิ้ม
853  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 10:28:38 PM
ขอบคุณ Avatar   

และขออนุญาตนำความเห็นที่ 2 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 23 พฤศจิกายน 2543 09:39:33
มาวางที่นี่

คุณเก๋ตั้งคำถามแบบอ้อมค้อม
แต่ผมขอตอบอย่างตรงไปตรงมาก็แล้วกันครับ

การตรวจสอบว่าผู้ใดสำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลหรือไม่ มีหลายวิธี
อย่างแรกคือการตรวจสอบตนเอง อีกอย่างหนึ่งคือการตรวจสอบผู้อื่น

การตรวจสอบตนเอง ก็มี 2 แบบ
แบบแรกเป็นการทราบชัดทันทีที่ผ่านการเกิดมรรคผลแล้ว
โดยผู้ที่ผ่านมรรคผล ที่เกิดผลญาณยาวนาน
และเคยเรียนรู้ปริยัติธรรม ว่าพระโสดาบันละสังโยชน์ใดได้บ้าง
และพระโสดาบันมีองค์คุณใดบ้าง (คือการเข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้น
การมีศีลบริสุทธิ์ และการไม่เที่ยวแสวงหาบุญกิริยาอื่นนอกหลักของพระศาสนา)
ในขณะที่ผ่านผลญาณออกมานั้น จิตจะพิจารณาทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นทันที
แล้วรู้ชัดด้วยตนเองในขณะนั้นเลยว่า เกิดอะไรขึ้นแล้ว

บุคคลชนิดนี้ จะไม่สนใจกระทั่งการไปสอบถามครูบาอาจารย์
แต่ก็จะคิดถึงครูบาอาจารย์ เพราะคิดถึงคุณของท่าน
เมื่อไปกราบครูบาอาจารย์ ก็จะไม่ไปเพื่อขอคำรับรอง
เพราะธรรมรับรองตนเองเรียบร้อยประจักษ์ใจไปแล้ว
(พวกที่ทำผิดแล้วมั่นใจมากๆ ก็มีเหมือนกันนะครับ
โดยเฉพาะพวกที่พลาดไปติดวิปัสสนูปกิเลส)

การตรวจสอบตนเองอีกชนิดหนึ่ง เป็นการสังเกตตนเองในภายหลัง
คือบางคนบรรลุพระโสดาบันโดยมีผลญาณเกิดในช่วงสั้นๆ
หรือผู้ที่ไม่เคยรู้ตำราเกี่ยวกับพระอริยบุคคล
แม้รู้ธรรมแล้ว สังโยชน์ขาดแล้ว แต่ก็พูดไม่ได้อธิบายไม่ถูก
ประเภทนี้ก็ต้องคอยสังเกตเอาในภายหลัง
และแม้ผู้ที่เกิดผลญาณยาวดังที่กล่าวมาแล้ว
ก็ควรตรวจสอบตนเองในภายหลังด้วย
เพื่อกันความเข้าใจผิดไปหลงติดวิปัสสนูปกิเลส

วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบตนเองภายหลังก็คือ
สังเกตที่จิตตนเอง โดยรู้ลงไปที่จิตตนเอง
ว่ายังเหลือ "ความเห็นว่าจิตเป็นตัวเรา" หรือไม่
เพราะพระโสดาบันนั้น ไม่มีความเห็นผิดว่าจิตเป็นเราเหลืออยู่เลย
และกระทั่งจิตยังไม่เป็นตัวเรา ก็ไม่ต้องพูดถึงเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร
เพราะสิ่งเหล่านั้นจะถูกเห็นเป็นตัวเราไปไม่ได้เลย
ถ้าไม่เห็นว่าจิตเป็นตัวเราเสียแล้ว

ถัดจากนั้นก็คอยดูว่า จิตมีความรักศีลเพียงใด มีความจงใจทำผิดศีลหรือไม่
เพราะพระโสดาบันนั้น จะไม่มีความจงใจทำผิดศีลเกิดขึ้นเลย

การตรวจสอบตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญมากนะครับ
ชาวลานธรรม/วิมุตติหลายต่อหลายท่าน เจริญสติยังไม่ถูกต้องเลย
ปรมัตถธรรมก็ยังไม่เคยเห็น แต่อาศัยการเรียน ความจำ และความคิด
จู่ๆ ก็คิดว่า เราน่าจะเป็นพระโสดาบันแล้ว
หรือบางท่านจิตรวมด้วยสมถะ แล้วเข้าใจผิดก็มี
ต้องคอยสังเกตจิตใจตนเองให้มากๆ นะครับ ว่ายังเห็นว่าจิตเป็นเราหรือไม่

สำหรับการตรวจสอบผู้อื่นนั้น มีหลายวิธีเช่นกัน
วิธีแรกเป็นวิธีของผู้ที่ไม่มีเจโตปริยญาณ
จะต้องตรวจสอบด้วยการสังเกตพฤติกรรม หรือด้วยการซักถามสอบอารมณ์
โดยเทียบเคียงกับความรู้ด้านปริยัติธรรม
เช่นบุคคลผู้นั้นมีอาการของจิตอย่างไรในขณะที่คิดว่าบรรลุพระโสดาบัน
บุคคลผู้นั้น มีศีลอันงามหรือไม่
จิตโลภของผู้นั้น ยังเจือปนด้วยมิจฉาทิฏฐิหรือไม่
ผู้นั้น เห็นว่าขันธ์ 5 เป็นตัวเราของเราหรือไม่ เป็นต้น

วิธีนี้ถ้าจะว่าไปแล้วก็ไม่ค่อยได้ผลสมบูรณ์นักหรอกครับ
ที่สำคัญก็คือ แต่ละสำนักวางมาตรฐานของพระโสดาบันไว้ต่างๆ กัน
ส่วนผู้ตอบ บางคนก็พูดไม่ได้ อธิบายไม่ถูก ก็มี
เท่าที่เคยทราบมา กระทั่งคนที่เข้าไปติดอสัญญสัตตาหรือพรหมลูกฟัก
ก็ได้รับการพยากรณ์มรรคผลไปแล้ว ก็มีครับ

การตรวจสอบอีกวิธีหนึ่ง เป็นการใช้เจโตปริยญาณ
วิธีนี้จะให้ผลแม่นยำที่สุดในบรรดาการตรวจสอบทั้งหลาย
แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เราจะเชื่อได้อย่างไรว่า
ผู้ตรวจสอบนั้น มีเจโตปริยญาณจริง
และไม่เพียงแต่มีเจโตปริยญาณอันเป็นโลกียญาณเท่านั้น
ผู้ตรวจสอบนั้นยังจะต้องผ่านมรรคผลมาแล้วด้วย
ซึ่งก็ไม่มีใครที่จะพยากรณ์รับรองได้
จึงเข้าทำนองที่ว่า กระทั่งผู้ตรวจสอบก็ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน
เพราะผู้ที่มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรับรองได้ ก็คือพระศาสดาเท่านั้น

มาถึงจุดนี้แล้ว ผมก็มีความเห็นว่า การสังเกตตนเองในระยะยาว
ด้วยการรู้ให้ถึงจิตถึงใจตนเองจริงๆ
ไม่ใช่คิดๆ เอา แบบมีอคติเข้าข้างตนเอง
น่าจะเป็นวิธีที่มาตรฐานที่สุดในยุคนี้
ส่วนความเห็นของครูบาอาจารย์ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นครับ
ถ้าท่านรับรองว่าใช่ ก็มาดูกิเลสตนเองว่าใช่จริงหรือเปล่า
ถ้าท่านว่าไม่ใช่ แต่เราว่าใช่ ก็มาตรวจสอบว่าเราใช่จริงหรือเปล่า

ที่สำคัญก็คือ ถ้าเราคิดว่าใช่ แล้วมารู้ทีหลังว่าไม่ใช่
ก็อย่าท้อแท้จนเตลิดเปิดเปิงเลิกปฏิบัติไปเลย ก็แล้วกันครับ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 23 พฤศจิกายน 2543 09:39:33

854  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว มีอาการขณะที่จิต เข้าสู่การเป็นโสดามรรคและโสดาผล เป็นฉไน เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 10:05:07 PM
อ่าน เรื่องนิพพานจากครูอาจารย์ แล้ว
ยังไม่ทราบว่า สรุปเป็นอย่างไร  ฮืม
855  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: ความรู้เรื่องนิพพาน ของพระสงฆ์ในอดีต เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 10:02:35 PM
แล้ว อันไหนถูกกันละเนี่ยะ  ฮืม
หน้า: 1 ... 55 56 [57] 58