แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 65
91  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: ตุลาคม 13, 2014, 01:21:36 PM

ได้เวลาฝึกฝนตัวเองจริงๆช่วงนี้ เวทนานุปัสสนา
92  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: ตุลาคม 13, 2014, 01:17:22 PM
อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้นอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ?
๑๗. (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าอสัญญีสัตว์มีอยู่ ก็และเทวดาเหล่านั้นย่อมจุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้น แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว
ออกบวชเป็นบรรพชิตเมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
ย่อมตามระลึกถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญาได้ เบื้องหน้าแต่นั้นไประลึกมิได้
เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้าพเจ้าเมื่อก่อนไม่ได้มีแล้วเดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นมี.
เพราะมิได้น้อมไปเพื่อความเป็นผู้สงบแล้ว.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑
ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ.

๑๘ (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด
เขากล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒
ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ สมณพราหมณ์พวกนั้นทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๒ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่
อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากนี้ไม่มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น
มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น
และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย
กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนา เหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต
ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุทั้ง ๑๘ ประการนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต
ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมกล่าวยืนยัน ด้วยเหตุ ๑๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากนี้ไม่มี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว
ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริงจึงทราบความดับได้เฉพาะตน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

 
93  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิสัมปทา = สัมมาทิฏฐิ : ทิฏฐิวิบัติ = มิจฉาทิฏฐิ เมื่อ: ตุลาคม 13, 2014, 01:13:25 PM
ดีขึ้นครับ แต่ยังไม่หายเป็นปกติ 6 เดิอนเข้าไปแล้ว

ดีครับได้เรียนรู้ตามดู เวทนานุปัสสนา 1 ในมหาสติปัฎฐาน 4 ต่อไป รู้ชัด แจ่มดีครับ

ฐานทั้ง 4 เร็วจี๋พอกัน

 

94  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: ตุลาคม 13, 2014, 01:10:23 PM
อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ?

๑๓. ( อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล
คำพยากรณ์นั้นของเราจะพึงเป็นคำเท็จ คำเท็จของเรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา
ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา
เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การกล่าวเท็จ เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ

เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่
อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิ
ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

๑๔. (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๒) อนึ่งในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
เขามีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
ความพอใจ ความติดใจ หรือความเคืองใจ ความขัดใจในข้อนั้น พึงมีแก่เรา
ข้อที่มีความพอใจ ความติดใจหรือความเคืองใจ ความขัดใจนั้น จะพึงเป็นอุปาทานของเรา
อุปาทานของเรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา
เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่อุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่
อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

๑๕. (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
เขามีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล
ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด ชำนาญการโต้วาทะเป็นดุจคนแม่นธนูมีอยู่แล
แม้ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวทำลายทิฏฐิด้วยปัญญา เขาจะพึงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนเราใน
ข้อนั้น เราไม่อาจโต้ตอบเขาได้ การที่โต้ตอบเขาไม่ได้นั้น จะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา
ความเดือดร้อนของเรานั้น จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า
นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การซักถาม เพราะเกลียดแต่การซักถาม
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้น
ก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓
ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

๑๖. (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นคนเขลา งมงาย เพราะเขลา เพราะงมงาย เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ เขาจึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว
ถ้าท่านถามเราอย่างนี้ว่าโลกหน้ามีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า โลกหน้ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า โลกหน้ามี
แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่
ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้าไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ...
ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ...
ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ
ถ้าเรามีความเห็นว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ...
ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี ...
ถ้าท่านถามเราว่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ...
ถ้าท่านถามเราว่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ...
ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ
ถ้าเรามีความเห็นว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ...
ถ้าท่านถามเราว่าผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี ...
ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ...
ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ...
ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ...
ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่หรือถ้าเรามีความเห็นว่ามีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีอยู่ ...
ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไม่มีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มีอยู่ ...
ถ้าท่านถามเราว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย ...
ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่
แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่
ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔
ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว
ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย
เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย
กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


 
95  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2014, 03:57:12 PM


อันตานันติกทิฏฐิ ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้
บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้
บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและ หาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ.

๙. (อันตานันติกทิฏฐิ ๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ย่อมมีความสำคัญในโลกว่ามีที่สุด

เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะเหตุว่าข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ
อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
จึงมีความสำคัญในโลกว่ามีที่สุด. ด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้

๑๐.(อันตานันติกทิฏฐิ ๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า
โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต จึงมีความสำคัญในโลกว่าไม่มีที่สุด
เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้
สมณพราหมณ์พวกที่พูดว่า โลกนี้มีที่สุดกลมโดยรอบนั้นเท็จ โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
จึงมีความสำคัญในโลกว่าหาที่สุดมิได้ ด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้
ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒
ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้วปรารภแล้วมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้
ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้

๑๑. (อันตานันติกทิฏฐิ ๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า
โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต จึงมีความสำคัญในโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวาง
หาที่สุดมิได้
เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด
สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่าโลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเท็จ
ถึงสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบมิได้ นั้นก็เท็จ โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ
อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต

ย่อมมีความสำคัญในโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางไม่มีที่สุด
ด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓
ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้
ย่อมบัญญัติว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้

๑๒.(อันตานันติกทิฏฐิ ๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า
โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกนี้มีที่สุดและหาที่สุดมิได้?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด
กล่าวแสดงปฏิญาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่
สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเท็จ
ถึงสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบมิได้ นั้นก็เท็จ
ทั้งสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุดนั้นเท็จ โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า
โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้
ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ จะบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้
สมณพราหมณ์พวกนั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว
ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดนั้น ความดับไป
คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

 
96  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2014, 03:39:25 PM
เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ?

๕. (เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านานที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม
สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลยืดยาวช้านาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้กลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่าว่างเปล่า
ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า
แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเองสัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม
สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลยืดยาวช้านาน เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสันความดิ้นรนขึ้นว่า
โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ
ย่อมเข้าถึงวิมานพรหม เป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น แม้สัตว์พวกนั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร
มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเองสัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เราเป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้
เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ
เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้เรานิรมิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า เราได้มีความคิดอย่างนี้ก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้
และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจเป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ
เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว
ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า พวกเราได้เห็นพระพรหมผู้เจริญนี้เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดภายหลัง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณกว่ามีศักดิ์มากกว่า
ส่วนผู้ที่เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้
เขาจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้ใดแลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ
เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น
พระพรหมผู้เจริญใดที่นิรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้นเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว
ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นนิรมิตแล้วนั้นเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ เช่นนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

๖. (เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์
คือ การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกนั้นพากันหมกมุ่น อยู่แต่ในความรื่นรมย์
คือ การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง
จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ
อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้

หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์
คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกนั้นไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา
สติย่อมไม่หลงลืม เพราะสติไม่หลงลืม
พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว
ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา
เมื่อพวกเรานั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมหลงลืม

เพราะสติหลงลืม พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้นเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้เช่นนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง


๗.(เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๓)อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า
บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันเกินควร
ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ
อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร
เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็ไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน
เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกันแล้ว ก็ไม่ลำบากกาย ไม่ลำบากใจ
พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว

ส่วนพวกเราได้เป็นพวกมโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน ก็พากันลำบากกาย ลำบากใจ
พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ เช่นนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง

๘. (เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้ อย่างนี้ว่า
สิ่งที่เรียกว่าจักษุก็ดี โสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผันเป็นธรรมดา
ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
จะบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว
ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น
และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย
เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้นความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
จึงทราบความดับเฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

 
97  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2014, 03:28:28 PM
ทิฎฐิ ๖๒ ประการ

สัสสตทิฏฐิ ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ?

๑.(สัสสตทิฏฐิ ๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการคือ ตามระลึกชาติได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง
ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วได้มาบังเกิดในภพนี้
ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด
แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง
สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง
ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง
ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด
ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้

ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยงย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.

๒. (สัสสตทิฏฐิ ๒)อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน
ได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆมีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่
ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้
เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไปย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด
แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ
คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง
ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น
แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้

ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.

๓.(สัสสตทิฏฐิ ๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน
ได้สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ฉะนี้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด
ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ
โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิกัฏฏกัป
บ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี
ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้
อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

๔.(สัสสตทิฏฐิ ๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิด
ได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่า
สัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกนั้น
มีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ นี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่มีทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อม
รู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


 
98  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: บาปนี่แก้ได้ไหม เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2014, 02:44:19 PM
คำสอนครูบาเจ้าศรีวิชัย...........


..........."เครื่องประดับ ขัติยะ นารีทั้งหลาย
มีแก้วแหวนเงินทอง เป็นตัณหากามคุณ

เหมือนดั่งน้ำผึ้งแช่ยาพิษ

สำหรับนำความทุกข์มาใส่ตัวโดยบ่มีประโยชน์สิ่งใดเลย


แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ มหาสรพู ซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่ทั้ง 5 แม่น้ำนี้
แม้นจักเอามาอาบให้หมดทั้ง 5 แม่น้ำนี้ ก็บ่ อาจจะล้างบาป คือความเดือดร้อนภายในให้หายได้



ลมฝนลูกเห็บ แม้นจะตกลงมาหลายห่า เย็นและหนาวสักปานใดก็
บ่อาจเย็นเข้าไปถึงภายในให้หายจากความทุกขเวทนาได้


ศีล 5 เป็นอริยทรัพย์ เป็นต้นเหตุแห่งความบริสุทธิ์
เป็นน้ำทิพย์สำหรับล้างบาป คือความเดือดร้อนภายในให้หายได้

เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้ว สมาธิ ความตั้งมั่นก็จะมีมา
แล้วให้ปลุกปัญญา

ปัญญาก็จักเกิดมีขึ้นได้ คือ ให้หมั่นรำลึกถึงตัวตนอยู่เสมอ ว่า บ่ใช่ตัว บ่ใช่ตน จนเห็นแจ้งด้วย ปัญญาของตน จึงเป็นสมุทเฉทประหารกิเลส หมดแล้ว จิตเป็นวิมุติ หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวลได้."........................
99  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / ประชาสัมพันธ์ บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ ธรรม / Re: ขอเชิญกราบฟังธรรมหลวงปู่ท่อน ญาณธโร ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ประจำปี 2556-2557 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2014, 02:33:26 PM
กราบนมัสการหลวงปู่ท่อน ญาณธโร
100  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2014, 01:07:02 PM
ช่วงนี้บ้านเมืองไทยเรามีเหตุการณ์และวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และครั้งสำคัญหลายอย่างเช่น

วิกฤตการณ์ความไม่สงบทางภาคใต้ , แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประเทศที่เชียงราย , การทำรัฐประหารโดยคณะทหาร ฯ

หลังจากนี้ได้แต่ภาวนาให้บ้านเมืองกลับมาสงบ สันติสุข ยิ้มแย้ม แจ่มใส โดยทั่วกันโดยเร็วครับ
101  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / ทิฏฐิสัมปทา = สัมมาทิฏฐิ : ทิฏฐิวิบัติ = มิจฉาทิฏฐิ เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2014, 01:55:42 AM
ทิฏฐิสัมปทา = สัมมาทิฏฐิ : ทิฏฐิวิบัติ = มิจฉาทิฏฐิ

ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน?

ความเห็นว่า
ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
การบูชาไม่มีผล
การบวงสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี
บิดาไม่มี มารดาไม่มี
สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก
สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก
ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ
การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ.
มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิวิบัติ

ทิฏฐิสัมปทา เป็นไฉน?

ความเห็นว่า
ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล
การบูชาย่อมมีผล
การบวงสรวงย่อมมีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่
โลกนี้มีอยู่ โลกอื่นมีอยู่
มารดามีอยู่ บิดามีอยู่
สัตว์ที่จุติและอุปบัติมีอยู่
สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ในโลก
สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก
ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา.
สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิสัมปทา

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
102  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ฤกษ์ยาม เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2014, 01:47:56 AM
ประโยชน์ย่อมผ่านพ้นคนโง่เขลา      ผู้มัวเมาถือฤกษ์ยามอยู่
ประโยชน์นั่นแหละเป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง  ดวงดาวจะทำอะไรให้ได้


นักขัตตชาดก 

            พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอาชีวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้

            ได้ยินว่า กุลบุตรชาวบ้านนอกผู้หนึ่ง ไปขอกุลธิดานางหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ให้แก่ลูกชายของตน นัดหมายวันกันว่าในวันโน้น จักมารับเอาตัวไป ครั้นถึงวันนัดจึงถามอาชีวก ผู้เข้าไปสู่ตระกูลของตนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้พวกผมจักทำมงคลอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมครับ อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่าคนผู้นี้ครั้งแรกไม่ถามเราเลย บัดนี้เลยวันไปแล้วกลับมาถามเรา เอาเถิด จักต้องสั่งสอนเขาเสียบ้าง จึงพูดว่า วันนี้ฤกษ์ไม่ดี พวกท่านอย่ากระทำการมงคลในวันนี้เลย ถ้าขืนทำ จักพินาศใหญ่ พวกมนุษย์ในตระกูลพากันเชื่ออาชีวกนั้น ไม่ไปรับตัวในวันนั้น ฝ่ายพวกชาวเมืองจัดการมงคลไว้พร้อมแล้ว ไม่เห็นพวกนั้นมา ก็กล่าวว่า พวกนั้นกำหนดไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา แม้การงานของพวกเราก็ใกล้จะสำเร็จแล้ว เรื่องอะไรจักต้องไปคอยพวกนั้น จักยกธิดาของเราให้คนอื่นไป แล้วก็ยกธิดาให้แก่ตระกูลอื่นไป ด้วยการมงคลที่เตรียมไว้นั้นแหละ ครั้นวันรุ่งขึ้นพวกที่ขอไว้ก็พากันมาถึง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงส่งตัวเจ้าสาวให้พวกเราเถิด ทันใดนั้น ชาวเมืองสาวัตถี ก็พากันบริภาษพวกนั้นว่า พวกท่านสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นคนบ้านนอก ขาดความเป็นผู้ดี เป็นคนลามก กำหนดวันไว้แล้ว ดูหมิ่นเสียไม่มาตามกำหนด เชิญกลับไปตามทางที่มากันนั่นแหละ พวกเรายกเจ้าสาวให้คนอื่นแล้ว พวกชาวบ้านนอก ก็พากันทะเลาะกับชาวเมือง ครั้นไม่ได้เจ้าสาว ก็ต้องพากันไปตามทางที่มานั่นเอง

            เรื่องที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคล ของมนุษย์เหล่านั้น ปรากฏว่ารู้กันทั่วไปในระหว่างภิกษุทั้งหลาย และภิกษุเหล่านั้นประชุมกันในธรรมสภา นั่งพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลาย อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลเสียแล้ว พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกกระทำอันตราย งานมงคลของตระกูลนั้นเสีย แม้ในกาลก่อนก็โกรธคนเหล่านั้น กระทำอันตรายงานมงคลเสียแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

            ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ชาวพระนครพากันไปสู่ขอธิดาของชาวชนบท กำหนดวันแล้ว ถามอาชีวกผู้คุ้นเคยกันว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ผมจะกระทำงานมงคลสักอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมขอรับ อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนพวกนี้กำหนดวันเอาตามพอใจตน บัดนี้ กลับถามเรา คิดต่อไปว่า ในวันนี้เราจักทำการขัดขวางงานของคนเหล่านั้นเสีย แล้วกล่าวว่า วันนี้ฤกษ์ไม่ดี ถ้ากระทำการมงคลจักพากันถึงความพินาศใหญ่ คนเหล่านั้นพากันเชื่ออาชีวกจึงไม่ไปรับเจ้าสาว ชาวชนบททราบว่า พวกนั้นไม่มา ก็พูดกันว่า พวกนั้นกำหนดวันไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา ธุระอะไรจักต้องคอยคนเหล่านั้น แล้วก็ยกธิดาให้แก่คนอื่น รุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันมาขอรับเจ้าสาว ชาวชนบทก็พากันกล่าวว่า พวกท่านขึ้นชื่อว่าเป็นชาวเมือง แต่ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดวันไว้แล้ว แต่ไม่มารับเจ้าสาว เพราะพวกท่านไม่มา เราจึงยกให้คนอื่นไป ชาวเมืองกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกดู ได้ความว่า ฤกษ์ไม่ดี จึงไม่มา จงให้เจ้าสาวแก่พวกเราเถิด ชาวชนบทแย้งว่า เพราะพวกท่านไม่มากัน พวกเราจึงยกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้ว คราวนี้จักนำตัวเจ้าสาวที่ให้เขาไปแล้วมาอีกได้อย่างไรเล่า ? เมื่อคนเหล่านั้น โต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา อยู่อย่างนี้

ก็พอดีมีบุรุษผู้เป็นบัณฑิตชาวเมืองคนหนึ่ง ไปชนบทด้วยกิจการบางอย่าง ได้ยินชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกแล้ว จึงไม่มาเพราะฤกษ์ไม่ดี ก็พูดว่า ฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร เพราะการได้เจ้าสาวก็เป็นฤกษ์อยู่แล้ว มิใช่หรือ ? ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้

" ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์
ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวง
ดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้"
ดังนี้

            พวกชาวเมือง ทะเลาะกับพวกนั้นแล้ว ก็ไม่ได้เจ้าสาวอยู่นั่นเอง เลยพากันไป

            แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกนั้น ทำการขัดขวางงานมงคลของตระกูลนั้น ถึงในครั้งก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่าอาชีวกในครั้งนั้น ได้มาเป็นอาชีวกในครั้งนี้ แม้ตระกูลทั้งนั้นในครั้งนั้น ก็ได้มาเป็นตระกูลในครั้งนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตผู้ยืนกล่าวคาถา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล
103  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / ประชาสัมพันธ์ บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ ธรรม / Re: "อริยสัจแห่งจิต" โดยหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันอาทิตย์ที่ 6 เม.ย 2557 ที่ นครศรีธรรมราช เมื่อ: เมษายน 29, 2014, 08:51:26 PM

อนุโมทนาด้วยครับ
104  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: ขอเพิ่มกระทู้ใหม่ เรื่องไม่มีตรงไหนสบายจริง เมื่อ: เมษายน 17, 2014, 11:10:41 PM

มีอาการปวดหลัง

ได้ดูเวทนา ชัดดี ...

105  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: มีนาคม 26, 2014, 10:21:12 AM

๑๔. (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๒) อนึ่งในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
เขามีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
ความพอใจ ความติดใจ หรือความเคืองใจ ความขัดใจในข้อนั้น พึงมีแก่เรา
ข้อที่มีความพอใจ ความติดใจหรือความเคืองใจ ความขัดใจนั้น จะพึงเป็นอุปาทานของเรา
อุปาทานของเรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา
เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่อุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่
อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

 
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 65