แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 65
61  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: มิถุนายน 03, 2015, 08:54:12 PM

ส่วนเสริมครับ...

***อาวัชนะในองค์ธรรมใดๆ สติก็จะระลึกถึงสัญญาเป็นปฐมอยู่แล้ว ไม่ได้กล่าวถึงธรรมใดเป็น อธิปติ หรือเป็น อัญญมัญญปัจจัย
วินิจฉัยยากว่า อยู่ ณ ที่ญาณใด มีอะไรเป็นอานิสงส์จากญาณนั้นบ้าง ขอให้เจาะจงเฉพาะ เพราะญาณ คือรู้จำเพาะเรื่อง
เช่นรู้เห็นเกิดและความดับ / ความเสื่อม ความดับไปของขันธ์ 5 / ภัยในขันธ์ 5 / ทุกข์โทษภัยในวัฏฏะ 3 / ความเบื่อในวัฏฏะ / ความดิ้นรนที่ใครจะออกจากวัฏฏะ / ความทบทวนธรรมในไตรลักษณ์ (ปฏิสังขาญาณ) และสังขารุเปกขาญาณ ที่สุดด้วย อนุโลมญาณ นับเป็น 9.

ญาณจะรู้รู้ชัด รู้แจ้ง รู้วิเศษ รู้จำเพาะ ในธรรมนั้นๆ โดยไม่ลังเลสงสัยอะไรแม้แต่นิดเดียว ไม่ขอร้องให้ใครเป็นสักขีพยานด้วย จึงได้ชื่อว่าเจริญญาณนั้นบริบูรณ์แล้ว

ยกตัวอย่าง ภังคญาณ มีอานิสงส์ 8 ประการ ประการสำคัญคือละ"สัสสตะทิฏฐิ" 20 ประการได้ จะรู้ชัดรู้แจ้งว่าละได้แล้ว...

62  พระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์ / พระคัมภีร์ต่างๆ ที่สำคัญ / คำถาม - คำตอบ คัมภีร์เนตติปกรณ์ เมื่อ: มิถุนายน 03, 2015, 03:14:27 PM

ปุจฉาปัญหาหรือคำถาม การวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับคำถามที่ต้องวิเคราะห์เพราะว่าคำถามมีหลายประเภท
ตามนัยอรรถกถาแห่งคัมภีร์เนตติปกรณ์จำแนกไว้ถึง 11 ประเภทดังนี้


1) อทิฏฐโชตนาปุจฉา.....คือคำถามที่ถามเพราะไม่รู้ไม่เห็นแต่อยากจะรู้
2) ทิฏฐสังสันทนา..........คือถามเพื่อเปรียบเทียบกับความรู้เห็นที่มีอยู่
3) วิมติจเฉทนา ............คือถามเพื่อตัดความสงสัย
4) อนุมติปุจฉา .............คือถามเพื่อคล้อยตาม
5) กเถตุกัมยตาปุจฉา .....คือถามเพื่อจะตอบเอง
6) เอกังสพยากรณียา .....คือคำถามที่สามารถตอบได้เลยโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
7) วิภัชชพยากรณียา ......คือคำถามที่จะต้องแยกแยะตอบเป็นประเด็น
8.) ปฏิปุจฉาพยากรณียา ..คือคำถามที่ต้องย้อนถามก่อนแล้วจึงตอบ
9) ฐปนียา ...................คือคำถามที่ต้องงดไว้ไม่ตอบ
10) ธัมมาธิษฐานา .........คือคำถามที่มุ่งหมายถึงธรรม
11) สัตตาธิษฐานา .........คือคำถามที่มุ่งหมายถึงสัตว์19


การศึกษาตีความจึงจำเป็นต้องจำแนกแยกแยะให้ได้ว่า
ในกรณีที่มีการถามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเท่าที่มีผู้มาทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเป็นคำถามของบุคคลอื่นๆก็ตามเป็นคำถามประเภทไหนเพราะเมื่อจำแนกได้แล้วว่าเป็นคำถามประเภทไหน
จะได้ตอบให้ตรงประเด็นหรือปฏิบัติให้ตรงกับลักษณะคำถามนั้นๆ / เนตติปกรณ์


วิสัชนาหรือคำตอบ มีลักษณะและประเภทเช่นเดียวกับคำถาม
เพราะจะต้องตอบให้ตรงประเด็นกับคำถาม ดังนั้นลักษณะประเภทของคำตอบและคำถามจึงมีจำนวนเท่ากัน
ในการศึกษาตีความ ผู้ศึกษาตีความต้องวินิจฉัยจำแนกแยกแยะด้วยว่าลักษณะการตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือของเหล่าพระสาวก
มีลักษณะการตอบเป็นประเภทไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 4 ลักษณะคือ


1) เอกังสพยากรณ์ - ตอบตรงทันที
2) วิภัชชพยากรณ์ - ตอบแบบแยกแยะให้เห็นชัดในประเด็นและรายละเอียดต่างๆ
3) ปฏิปุจฉาพยากรณ์ - ตอบแบบย้อนถามเพื่อให้อยู่ในประเด็นเดียวกัน
4) ฐปนียพยากรณ์ - ตอบแบบไม่ตอบ


นอกจากนี้การตอบคำถามของผู้ไม่รู้ ผู้มีความสงสัย ผู้ประสงค์เทียบเคียงหรือเพื่อให้มั่นใจก็ตาม
ลักษณะการตอบคำถามยังคงอยู่ใน 4 ลักษณะของการตอบปัญหาดังกล่าวนี้
ซึ่งวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของผู้ถามปัญหานั้นมีส่วนสำคัญในการจะตอบปัญหานั้นๆเช่น
ผู้ที่ประสงค์จะถามเพื่อเทียบเคียงแนวคิดคำสอน เพื่อถึงเข้าเป็นฝักฝ่ายสนับสนุนแนวความคิดของตน
หรือคำถามที่มีลักษณะสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งเช่นนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงใช้วิธีฐปนียพยากรณ์


 
63  พระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์ / พระสูตร ต่างๆที่ควรแก่การศึกษา / ชฏิลสูตร การล่วงรู้บุคคล เมื่อ: มิถุนายน 03, 2015, 02:24:43 PM
ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม ครอบครองเรือน
บรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ทาจุรณจันทน์ อันมาแต่แคว้นกาสี ทรงมาลาของหอมและเครื่องลูบไล้
ยินดีเงินและทอง ยากที่จะรู้เรื่องนี้ว่า
คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือคนพวกนี้บรรลุอรหัตมรรค ฯ

            
     ดูกรมหาบพิตร ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
ก็ศีลนั้นจะพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้
ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ

            
     ดูกรมหาบพิตร ความสะอาด(ทางวาจา)พึงรู้ได้ด้วยการงาน
ก็ความสะอาด(ทางวาจา)นั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้
ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ

            
     ดูกรมหาบพิตร กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย
ก็กำลังใจนั้น จะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้
ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ

            
     ดูกรมหาบพิตร ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
ก็ปัญญานั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้
ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ

 
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เท่าที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม...
ยากที่จะรู้เรื่องนี้... ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ดังนี้ เป็นอันตรัสดีแล้ว ฯ


ชฏิลสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


 
64  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / การได้ฟังธรรมจากสัตตบุรุษ เมื่อ: มิถุนายน 03, 2015, 02:00:31 AM
การได้ฟังธรรมจากสัตตบุรุษเพราะเหตุว่า ...

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร

๒. สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปัญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน

ย่อลงมาเป็นวาสนาภาคียะ คือส่วนที่เป็นบุญ



 
65  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 03:25:22 PM
คุยถึงเรื่องสภาวะที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อ 3 ปีก่อน สู่กันฟังครับ...

สภาวะที่พอกล่าวได้บ้างเป็นแบบนี้ครับ

เมื่อมีสติตั้งมั่นดีแล้ว จะเห็นสังขารขันธ์ ทำงานแล้วส่งต่อการทำงานไปเรื่อยๆ
โดยส่วนใหญ่สภาวะผมมันจะเริ่มจากเกิดสัญญาขึ้นก่อน แล้วส่งต่อมาให้สังขารทำหน้าที่
แล้วส่งต่อไปให้เวทนาทำหน้าที่ โดยมีสติตามรู้อาการทำงานของขันธ์เป็นตัวๆเป็นทอดไป ซึ่งต่างก็ทำงานไปตามหน้าที่อย่างไม่แยแสและไม่รู้สึกรู้สาอะไร

หลังจากนั้นจิตจึงถอยออกมาดูอยู่ห่างๆจึงเห็นองค์ธรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดทุกองค์ทำงานอยู่อย่างนั้นหน้าที่ใครอย่างไรก็ทำกันไปไม่ยุ่งเกี่ยวกัน

หลังจากเห็นทั้งหมดแล้ว จิตจะถอยออกจากสมาธิเองทุกครั้งไป
องค์ธรรมที่มีหลายองค์อย่างปฏิจจสมุปบาทก็ในทำนองเดียวกันนี้

แต่เห็นพรึดเดียวแล้วจิตถอยออกจากสมาธิเลย

ไม่เห็นองค์ธรรมต่างๆ "แสดงพร้อมกัน" ทั้งหมดเหมือนขันธ์ องค์นามธรรมแต่ละองค์ในนี้แสดงเสร็จส่งต่อแล้วหายไปเลย...


66  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / น้ำพระพุทธมนต์ – หลั่งน้ำทักษิโณทก เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2015, 12:16:37 PM
น้ำพระพุทธมนต์ – หลั่งน้ำทักษิโณทก

**************************************************************
อายสฺมา อานนฺโท ปริตฺตตฺถาย ภาสมาโน ภควโต ปตฺเตน
อุทกมาทาย สพฺพํ นครํ อพฺภุกฺกิรนฺโต อนุวิจริ ฯ

แปลว่า: ท่านพระอานนท์ผู้มีอายุ ผู้สวดอยู่ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันรักษา
ถือเอาแล้วซึ่งน้ำด้วยบาตรของพระผู้มีพระภาค ประพรมอยู่ทั่วพระนคร เที่ยวไปแล้วโดยลำดับ

******************************************
ปุน ราชา สุวณฺณภิงฺคารํ คเหตฺวา อิโต ปฏฺฐาย มม รชฺชนฺติ อุทเกน อพฺภุกฺกิริตฺวา นิวตฺตติ ฯ

แปลว่า: พระราชา ถือเอาแล้ว ซึ่งสุวรรณภิงคาร อีก ทรงประพรมแล้วด้วยน้ำว่า "ความเป็นพระราชา ของเรา ตั้งแล้ว แต่นี้" ย่อมเสด็จกลับ

******************************************


เนื้อความจากในพระไตรปิฎก อรรถกถา
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=7

โดยย่อแล้ว “ รัตนสูตร “ เป็นพระสูตรที่พระอานนทเถระเรียนจากพระพุทธองค์โดยตรงเพื่อใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติที่เกิดกับชาวกรุงเวสาลี
พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระเถระน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
ทำสัจกิริยาให้เกิดเป็นอานุภาพขจัดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลาย


เนื้อความรัตนสูตรท่อนแรกเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้เหล่าภูตทั้งหลายได้อนุโมทนาบุญกุศลที่หมู่มนุษย์อุทิศให้และเมื่ออนุโมทนาแล้วขอให้เกิดความเมตตาทำการรักษามนุษย์ทั้งหลาย
เนื้อความท่อนต่อมาเป็นการอ้างคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดี
ส่วนท่อนสุดท้ายเป็นคำกล่าวของท้าวสักกะที่ผูกขึ้นเป็นคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดี

ภายหลังรัตนสูตรได้กลายเป็นแบบอย่างในการทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพระสงฆ์สาวกต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ทุกครั้งที่มีการทำน้ำพระพุทธมนต์ จะต้องสวดรัตนสูตร
จุดประสงค์ของการสวดรัตนสูตร ก็เพื่อเป็นการขจัดภัยทั้ง ๓ ประการตามที่ปรากฏในพระสูตรคือ
ข้าวยากหมากแพง (ทุพภิกขภัย) ๑
ภูตผีปีศาจทำอันตราย (อมนุสภัย) ๑
โรคภัยไข้เจ็บ (โรคภัย) ๑

ให้อันตรธานไป

ด้วยอานุภาพแห่งรัตนสูตรนี้ แม้กรุงเวสาลีจะเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง ผู้คนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก
ซากศพถูกทอดทิ้งเกลื่อนนคร ภูตผีปีศาจทำอันตรายแก่หมู่มนุษย์โรคระบาดเกิดขึ้นแพร่กระจายไปทั่ว
ผู้คนล้มตายเหลือที่จะนับได้

เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนทเถระสวดรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ภัยพิบัติร้ายแรงเช่นนี้ก็ยังระงับลงได้อย่างฉับพลัน


ข้อมูลเพิ่มเติม
http://truth-buddhism.blogspot.com/2014/11/blog-post_0.html
67  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: การอุทิศทาน– เปรต – กรวดน้ำ เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2015, 12:06:42 PM
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารแล้ว ทรงห้ามภัตรแล้ว เพื่อจะทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้าพิมพิสาร
จึงได้ตรัสติโรกุฑฑเปตวัตถุว่า
เปรตทั้งหลายพากันมาสู่เรือนของตน แล้วยืนอยู่ภายนอกฝาเรือน ที่ตรอก กำแพง และทางสามแพร่งและยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู
เมื่อข้าวน้ำของกินของบริโภคเพียงพอ เขาเข้าไปตั้งไว้แล้ว
แต่ญาติไรๆ ของเปรตเหล่านั้นระลึกไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์เป็นปัจจัย
เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาดประณีต สมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทานที่มหาบพิตรถวายแล้วฉะนั้น

ด้วยเจตนาอุทิศว่า ขอทานนี้แลจงสำเร็จผล แก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายของเรา จงเป็นสุขเถิด

ส่วนเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมนุมในที่นั้น เมื่อข้าวและน้ำมีอยู่เพียงพอ
ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพว่า เราได้สมบัติเพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติของเราเหล่านั้นจงมีอายุยืนนาน
การบูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลายและญาติทั้งหลาย


ผู้ให้ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปตวิสัยนั้น กสิกรรมและโครักขกรรมไม่มี การค้าขายเช่นนั้นก็ไม่มี การซื้อการขายด้วยเงินตราก็ไม่มี
สัตว์ทั้งหลายผู้ทำกาละละไปแล้วในเปตวิสัยนั้น ย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยทานที่ทายกให้แล้วจากมนุษยโลกนี้


น้ำฝนอันตกลงในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่มฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้วจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน

ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้วย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยมฉันใด
ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้ว แต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน

กุลบุตร เมื่อหวนระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านทำแล้วในกาลก่อนว่า คนโน้นได้ให้สิ่งของแก่เราแล้ว คนโน้นได้ทำอุปการคุณแก่เราแล้ว
ญาติมิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เราและได้ช่วยทำกิจของเรา ดังนี้

พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลายด้วยว่า
การร้องไห้ก็ดี ความเศร้าโศกก็ดี การพิไรร่ำไรก็ดี ไม่ควรทำเลย
เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่เปรตทั้งหลาย ญาติทั้งหลายก็คงดำรงอยู่อย่างนั้น

อันทักษิณานี้แลที่ให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์
ย่อมสำเร็จเพื่อประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน. ญาติธรรม มหาบพิตรได้แสดงให้ปรากฏแล้ว
การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาบพิตรก็ทรงกระทำแล้ว
และพลังกาย มหาบพิตรก็ได้เพิ่มให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว
บุญมีประมาณไม่น้อย

มหาบพิตรก็ได้ทรงขวนขวายแล้วแล.
68  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / การอุทิศทาน– เปรต – กรวดน้ำ เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2015, 11:45:17 AM
การอุทิศทาน– เปรต – กรวดน้ำ (หลั่งน้ำทักษิโณทก)

ติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕

ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร

.ฯ พระองค์ทรงให้พระเจ้าพิมพิสารผู้เข้าไปเฝ้าในวันนั้นนั่นเอง พร้อมกับพราหมณ์และคฤหบดีชาวอังคะและมคธะ ๑๑๐,๐๐๐ คน ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ลำดับนั้น พระราชาทรงนิมนต์ด้วยภัตต์เพื่อเสวยพระกระยาหารในวันพรุ่งนี้ พระองค์ทรงรับแล้วในวันที่ ๒ อันท้าวสักกะจอมเทพผู้แปลงเพศเป็นมาณพน้อยนำเสด็จไป ชมเชยด้วยพระคาถามีอาทิอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกพระองค์แล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว ผู้มีวรรณะเพียงดังว่าลิ่มทองสิงคี พร้อมด้วยปุราณชฎิล ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ดังนี้.
จึงเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงรับมหาทานในพระราชนิเวศน์.
ส่วนพวกเปรตเหล่านั้นได้พากันยืนล้อมด้วยหวังใจว่า บัดนี้ พระราชาจักอุทิศทานแก่พวกเรา. บัดนี้พระราชาจักอุทิศ.
พระราชาทรงถวายทานแล้ว ทรงพระดำริเฉพาะสถานที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ดังนี้ จึงไม่ได้อุทิศทานนั้นแก่ใครๆ.

พวกเปรตเมื่อไม่ได้ทานนั้นอย่างนั้นก็สิ้นหวัง ในเวลากลางคืนจึงพากันส่งเสียงร้องอันน่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง ใกล้พระราชนิเวศน์.
พระราชาทรงถึงความสังเวชอันน่าสะพึงกลัว น่าหวาดเสียว เมื่อราตรีผ่านไปจึงได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ได้สดับเสียงเห็นปานนี้ จักมีเหตุอะไรแก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าทรงกลัวเลยมหาบพิตร จักไม่มีความชั่วช้าลามกอะไรแก่พระองค์ดอก.
อนึ่ง ญาติเก่าก่อนของพระองค์ที่เกิดในพวกเปรตก็มี, ญาติเหล่านั้นหวังจะพบเฉพาะพระองค์แต่ผู้เดียวถึงพุทธันดรหนึ่ง ท่องเที่ยวไปด้วยหวังใจว่า พระองค์ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้ว จักอุทิศแก่พวกเราบ้าง เพราะพระองค์ถวายทานเมื่อวันวานแล้ว มิได้อุทิศจึงพากันสิ้นหวัง ส่งเสียงร้องเห็นปานนั้น.

พระราชาตรัสถามว่า เมื่อหม่อมฉันถวายทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้นจะพึงได้รับหรือ พระเจ้าข้า? พระศาสดาตรัสว่า ได้ มหาบพิตร.
พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับทานของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันนี้, ข้าพระองค์จักอุทิศแก่พวกเปรตเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษฎีภาพ.
พระราชาเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ทรงให้จัดแจงมหาทานแล้ว ให้กราบทูลกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ประทับนั่งบนอาสนะที่บรรจงจัดไว้. เปรตเหล่านั้นไปด้วยหวังว่า วันนี้ พวกเราจะพึงได้อะไรเป็นแน่ ดังนี้ จึงได้พากันยืนอยู่ในที่ต่างๆ มีภายนอกฝาเรือนเป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำโดยที่พวกเปรตเหล่านั้นทั้งหมดมาปรากฏแด่พระราชา.
พระราชาเมื่อจะทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก จึงอุทิศว่า ทานที่ข้าพเจ้าให้นี้จงสำเร็จแก่พวกญาติเถิด.
ในบัดดลนั้นเอง สระโบกขรณีอันดาระดาษด้วยกลุ่มดอกกมล ได้บังเกิดแก่พวกเปรต. เปรตเหล่านั้นพากันอาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ได้สงบระงับความกระวนกระวาย ความลำบากและความกระหาย ได้เป็นผู้มีสีดั่งทองคำ.

พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยวและของบริโภคแล้วอุทิศให้. ขณะนั้นนั่นเอง ข้าวยาคู ของเคี้ยวและอาหารอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น. เปรตเหล่านั้นพากันบริโภคข้าวยาคูเป็นต้นนั้นแล้ว ก็ได้เป็นผู้มีอินทรีย์กระปรี้กระเปร่า.

ลำดับนั้น พระองค์ได้ถวายผ้า ที่นอนและที่นั่งแล้วอุทิศให้. เครื่องประดับมีชนิดต่างๆ เช่น ผ้า ปราสาท เครื่องลาดและที่นอนเป็นต้นอันเป็นทิพย์ได้บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น. และสมบัติของเปรตเหล่านั้นทั้งหมดนั้นได้ปรากฏแก่พระราชา โดยประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานไว้. พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงพอพระทัยยิ่งนัก.


พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฏ เล่มที่ ๔๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๑
หน้าที่ ๔๕ ข้อที่ ๙๐
อรรถกถาติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=90
เนื้อความที่เป็นพระพุทธพจน์ :
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=3021&Z=3052
69  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: เขียนๆ คุยๆ กับเพื่อนที่รู้ใจ เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2015, 09:57:46 AM
คิดถึงท่าน the suffering จัง
ผมชอบท่านทำความเพียรด้วยการเดินจงกรม
หาได้ยากในปุถุชนคนทั่วไปนัก
70  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2015, 10:15:16 PM
จากพระไตรปิฎกบ้าง

“ธรรมอันน่าปรารถนา ๑๐ประการ”(อิฏฐสูตร)
[๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้
เป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก
๑๐ ประการเป็นไฉน ? คือ ..
โภคสมบัติ ๑
วรรณะ ๑
ความไม่มีโรค ๑
ศีล ๑
พรหมจรรย์ ๑
มิตร ๑
ความเป็นพหูสูต ๑
ปัญญา ๑
ธรรม ๑
สัตว์ทั้งหลาย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล
เป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจหาได้ยากในโลก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือ ..
ความเกียจคร้าน ความไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นอันตรายแก่ โภคสมบัติ
การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายแก่ ความเป็นพหูสูต
การไม่ฟังด้วยดี ไม่สอบถามเป็นอันตรายแก่ ปัญญา
การไม่ประกอบความเพียร การไม่พิจารณาเป็นอันตรายแก่ ธรรมทั้งหลาย
การปฏิบัติผิด เป็นอันตรายแก่ สัตว์ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม๑๐ ประการ เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือ ..
.. ความไม่เกียจคร้าน ความขยันหมั่นเพียร เป็นอาหารของ .. โภคสมบัติ
.. การประดับ การตกแต่งร่างกาย เป็นอาหารของ .. วรรณะ
.. การกระทำสิ่งเป็นที่สบาย เป็นอาหารของ .. ความไม่มีโรค
.. ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นอาหารของ .. ศีลทั้งหลาย
.. การสำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของ .. พรหมจรรย์
.. การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง เป็นอาหารของ .. มิตรทั้งหลาย
.. การกระทำการสาธยาย เป็นอาหารของ .. ความเป็นพหูสูต
.. การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของ .. ปัญญา
.. การประกอบความเพียร การพิจารณาเป็นอาหารของ .. ธรรมทั้งหลาย
.. การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของ .. สัตว์ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต หน้าที่ ๑๒๑/๓๓๓
71  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2015, 10:04:20 PM
ธรรมมะ ธรรมชาติ ง่ายๆ เบาๆ สบายๆ สงบ...

8 ข้อปฏิบัติเพื่อฝึกหาความสงบสุขให้ชีวิต

1. ฝึกมองตัวเองให้เล็กเข้าไว้
หมายความว่า จงเป็นคนตัวเล็ก อย่าเป็นคนตัวใหญ่ จงเป็นคนธรรมดา อย่าเป็นคนสำคัญ เวลามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา อย่าไปให้ความสำคัญกับตัวเองมากไป

2. ฝึกให้ตัวเองเป็นนักไม่สะสม
หมายความว่า การสะสมอะไรสักอย่างนั้นเป็นภาระ ไม่มีอะไรที่เราสะสมแล้วไม่เป็นภาระยกเว้นความดี นอกนั้นล้วนเป็นภาระทั้งหมดไม่มากก็น้อย

3. ฝึกให้ตนเองเป็นคนสบายๆ
หมายความว่า อย่าไปบ้ากับความสมบูรณ์แบบ เพราะความสมบูรณ์แบบมันไม่มีจริง มีแต่คนโง่เท่านั้นที่มองว่า ความสมบูรณ์แบบมีจริง

4. ฝึกให้ตัวเองเป็นคนนิ่งๆ หรือไม่ก็พูดในสิ่งที่ดีๆ
หมายความว่า ถ้าอะไรไม่ดีก็อย่าไปพูดมากไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกหรือผิด แต่ถ้ามันไม่ดี เป็นไปได้ก็ไม่ต้องพูด เพราะการพูด หรือวิจารณ์ในทางเสียหายนั้น มีแต่ทำให้จิตใจตนเองตกต่ำ และขุ่นมัว

5. ฝึกให้ตัวเองรู้ธรรมชาติว่า อะไรๆ ก็ผ่านไปเสมอ
หมายความว่า เวลามีความสุข ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความสุขมันก็ผ่านไป เวลามีความทุกข์ ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความทุกข์ก็ผ่านไป เวลามีสถานการณ์แย่ๆ เกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันว่า เรื่องราวเหล่านี้ มันไม่ได้อยู่กับเราจนวันตาย

6. ฝึกให้ตัวเองเข้าใจเรื่องของการนินทา
หมายความว่า เราเกิดมาก็ต้องรู้ตัวว่า เราต้องถูกนินทาแน่นอน ดังนั้น เมื่อถูกนินทาขอให้รู้ว่า "เรามาถูกทางแล้ว" แปลว่า เรายังมีตัวตนอยู่บนโลก คนที่ชอบเต้นแร้งเต้นกา กับคำนินทาก็คือคนไม่รู้เท่าทันโลก แม้แต่คนเป็นพ่อแม่ก็ยังนินทาลูก คนเป็นลูกก็ยังนินทาพ่อแม่ นับประสาอะไรกับคนอื่น ถ้าเราห้ามตัวเองไม่ให้นินทาคนอื่นได้เมื่อไหร่ ค่อยมาคิดว่า เราจะไม่ถูกนินทา

7. ฝึกให้ตัวเองพ้นไปจากความเป็นขี้ข้าของเงิน
หมายความว่า เราต้องหัดพอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ รถยนต์ใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน นาฬิกาใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน เสื้อผ้าใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน การที่คนเราจะเลิกเป็นขี้ข้าเงินได้ ต้องเริ่มจากการรู้จักเพียงพอก่อน เมื่อรู้จักพอแล้ว ก็ไม่ต้องหาเงินมาก เมื่อไม่ต้องหาเงินมาก ชีวิตก็มีโอกาสทำอะไรที่มากกว่าการหาเงิน

8. ฝึกให้ตัวเองเสียสละ และยอมเสียเปรียบ
หมายความว่า การที่คนๆ หนึ่งยอมเสียเปรียบผู้อื่นบ้าง เป็นเรื่องจำเป็น ใครก็ตามที่บ้าความถูกต้อง บ้าเหตุบ้าผล ไม่ยอมเสียเปรียบอะไรเลย ไม่ช้า คนๆ นั้นก็จะเป็นบ้าสติแตก กลายเป็นคนที่ถูกทุกอย่างแต่ไม่มีความสุข เพราะต้องสู้รบกับคนรอบข้างเต็มไปหมดเพื่อความถูกต้องที่ตนเองยึดมั่นถือมั่น
72  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: เมษายน 15, 2015, 07:45:19 AM
สวัสดีครับ ช่วงเทศกาลแห่งความสุขของปวงชนชาวไทย
เทศกาลวันสงกรานต์และวันครอบครับ

เนื่องในวโรกาสวันสงกรานต์อันเป็นวันปีใหม่ของไทย ปีมะแม ๒๕๕๘ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยอันศักดิ์สิทธิ์ และบุญฤทธิ์แห่งพระอริยสงฆ์อันมีนามมงคลทั้ง ๑๐๘ รูป จงดลบันดาลให้ท่านสัมฤทธิ์ผลตามนามมงคลนี้เทอญ...

หลวงพ่อ......จง
ครูบา..........ดวงดี
หลวงพ่อ......มี
หลวงพ่อ......ทรัพย์
หลวงพ่อ......สิน
หลวงปู่........แก้ว
หลวงปู่........แหวน
หลวงพ่อ......เงิน
หลวงพ่อ......ทอง
หลวงพ่อ......เกลื่อน
หลวงปู่........นอง
หลวงพ่อ......เพชร
หลวงปู่........พลอย
หลวงพ่อ......ไพฑูรย์
หลวงปู่........นาค
หลวงปู่........นิล
หลวงปู่........จินดา
หลวงปู่........มหาสมบัติ
หลวงพ่อ......สิริ
เจ้าคุณ........สวัสดิ์
ครูบา..........พิพัฒน์มงคล
หลวงพ่อ......ไพบูลย์
หลวงปู่........สม
หลวงพ่อ......จำนงค์
พระอาจารย์..มั่น
หลวงพ่อ......คง
หลวงปู่สมเด็จฯ...ถาวร
หลวงพ่อ......พรหม
หลวงพ่อ......เทพ
หลวงพ่อ......อวยพร
หลวงปู่........บุญ
หลวงปู่........พา
หลวงปู่........เร่ง
หลวงพ่อ......รวย
หลวงปู่........เร็ว
ครูบา..........ทันใจ
หลวงพ่อ......อยู่
พระสังฆราช.เจริญ
หลวงพ่อ......ใหญ่
สมเด็จฯ.......โต
หลวงพ่อ......โชติ
พ่อท่าน.......ช่วง
หลวงตา......ชัชวาลย์
หลวงพ่อ......สว่าง
หลวงพ่อ......ไสว
หลวงพ่อ......เหลือ
หลวงพ่อ......รอด
หลวงพ่อ......ปลอด
หลวงพ่อ......โปร่ง
หลวงพ่อ......รุ่ง
หลวงปู่........เรือง
หลวงพ่อ......เฟื่อง
หลวงพ่อ......ฟู
ครูบา..........เหนือชัย
พ่อท่าน.......ลาภ
หลวงพ่อ......ผล
หลวงพ่อ......เพิ่ม
หลวงพ่อ......พูน
หลวงพ่อ......ทบ
หลวงปู่........ทวี
หลวงพ่อ......คูณ
หลวงพ่อ......แสน
หลวงพ่อ......ล้าน
หลวงพ่อ......เกษม
หลวงพ่อ......สำราญ
หลวงพ่อ......อุดม
พระอาจารย์..สมบูรณ์
หลวงพ่อ......พูล
หลวงปู่........สุข
ครูบา..........ชุ่ม
หลวงพ่อ......ชื่น
ครูบา...........สุจี
หลวงพ่อ......ปัญญา
หลวงปู่........เลิศ
หลวงพ่อ......เชิด
หลวงพ่อ......ชู
ครูบา...........วงศ์
หลวงพ่อ......สุด
หลวงปู่........เก่ง
หลวงพ่อ......เฮง
หลวงปู่........ดี
หลวงพ่อ......เกิด
หลวงพ่อ......เสน่ห์
หลวงพ่อ......นิยม
หลวงพ่อ......ชม
หลวงปู่........ชอบ
หลวงพ่อ......มาก
หลวงพ่อ......ล้วน
หลวงพ่อ......สง่า
ครูบา...........ราศรี
พ่อท่าน........เลื่อน
หลวงพ่อ......ยศ
หลวงพ่อ......ยอด
หลวงพ่อ......เยี่ยม
หลวงพ่อ......เต็ม
หลวงพ่อ......เปี่ยม
หลวงพ่อ......สัมฤทธิ์
หลวงปู่........ประสิทธิ์
หลวงปู่........ธรรมรังษี
หลวงปู่........สิมพะลี
หลวงพ่อ......สวรรค์
หลวงพ่อ......สะอาด
หลวงปู่........เอี่ยม
หลวงปู่........อ่อง
หลวงพ่อ......ผ่อง
หลวงปู่........แผ้ว
หลวงปู่........สุภา
หลวงพ่อ......โอภาสี
73  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: มีนาคม 31, 2015, 08:50:13 PM
 ช่วง 8 เดือน

ก็เลยได้โอกาสครับ สติปัฏฐานสี่ หมวดเวทนานุปัสสนา เด่นที่สุดเลยครับช่วง 8 เดือนนี้

จากการเจ็บกายไปหมดยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด เอื้อม เดินก็เจ็บทุกย่างก้าว
เอาแบบสุดๆจนเดินไม่ไหวกันเลยทีเดียวเชียว ในช่วง 8 เดือน

จนช่วยตัวเองได้ยากลำบากแล้ว ใส่เสื้อผ้าใช้เวลานานมากเนื่องจากเจ็บปวดในทุกอริยาบท ก้มใส่ถุงเท้าไม่ได้
พยายามเดินด้วยความเจ็บปวดได้ระยะทางลดลงไปเรื่อย จาก100 เมตรหยุดพัก เหลือ 50 เมตร เหลือ 20 เมตร เหลือ 10 เมตร เหลือ10ก้าวต้องหยุดพัก

หลังจากดูทุกขเวทนาจนฉ่ำและก็ช่วยตัวเองไม่ได้แล้วจนจะเป็นภาระของคนอื่น

วันที่ 9 มกราคม 2558 จึงตัดสินใจเข้าอุโมงค์ตรวจหาสาเหตุเป็นจริงจังด้วย  เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI)

พบหมอนรองกระดูกทับเส้นด้านซ้ายมิดเลย ระหว่าง L4- L5

 แพทย์แนะนำให้ผ่าตัด จึงผ่าตัดวันนั้นเลย 

พักฟื้น 2 เดือน ตอนนี้ก็กลับมาทำงานได้ตามปกติ แต่ใช้กำลังมากไม่ได้เหมือนเดิม

ด้วยสังขารที่ร่วงโรยเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา

สังขารร่างกายนี้มันไม่เที่ยงจริงๆซึ้งเลย

74  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: มีนาคม 31, 2015, 08:31:47 PM

ช่วงที่เจ็บตั้งแต่เมษายนปีที่แล้วหลังจากจบฤดูกาลการแข่งฟุตบอลที่บริษัทที่ผมลงเล่นทั้งรุ่นอาวุโสและรุ่นทั่วไป

พอจบฤดูกาลก็เข้าพบแพทย์เลยเพราะเจ็บหลังและขาฝั่งซ้าย เดินและงอตัวไม่ไหวแล้ว

แพทย์วินิจฉัยจากอาการและการ X-Ray ด้านหลังว่ากล้ามเนื้อหลังและขาอักเสบและฉีกขาด

ให้ยาแก้อักเสบและยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ก็ยังเดินเจ็บทุกก้าวเหมือนเดิม

หลังจากนั้น 2 เดือนอาการก็ดีขึ้น แต่เมื่อใช้กล้ามเนื้อในการกระชากและใช้กล้ามเนื้อหลังอย่างมากในการทำงาน อาการก็กลับทรุดลงไปอีก

ทีนี้แพทย์ให้ยาและเพิ่มให้เข้ามาทำกายภาพบำบัด นวดด้วยอัลตร้าซาวด์ ยืดกล้ามเนื้อหลังและท่ากายบริหาร

หลังจากนั้นอาการทรงตัวคือแต่ก็ยังเดินเจ็บทุกก้าวเหมือนเดิม แต่กล้ามเนื้อด้านหลังและขาหายอักเสบแล้ว

อีก 2 เดือนต่อมา เหลือเพียงหลังเหนือสะโพกด้ายซ้ายยังเจ็บอยู่

แต่ก็ยังเดินเจ็บทุกก้าวเหมือนเดิมและเดินได้น้อยลงเนื่องจากความปวดรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ

ตอนนี้การยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด เอื้อม ก้ม บิดตัวก็เจ็บไปหมด นอนคว่ำจะเจ็บน้อยที่สุด

ทำกายภาพต่อเนื่องอีกจนพ้นปีใหม่ อาการก็ไม่ดีขึ้นแย่ลงทุกวัน 8 เดือนพอดี
75  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: มาเรียนรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องโรคมะเร็งเต้านม อาการมะเร็งเต้านมและโภชนาเกี่ยวกับคนป่ เมื่อ: มีนาคม 31, 2015, 08:11:24 PM
ขอขอบคุณสาระเรื่องมะเร็งครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 65