แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 242
121  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2016, 07:42:48 AM


วันหนึ่งจิตรวมอย่างน่าประหลาดใจ คือรวมใหญ่เข้าสว่างอยู่คนเดียว แล้วมีความรู้ชัดเจนจนสว่างจ้าอยู่ ณ ที่เดียว
จะพิจารณาอะไรๆ หรือมองดูในแง่ไหนในธรรมทั้งปวง ก็หมดความลังเลสงสัยในธรรมวินัยนี้ทั้งหมด
คล้าย ๆ กับว่าเรานี้ถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวงแล้ว แต่เราก็มิได้สนใจในเรื่องนั้น มีแต่ตั้งใจไว้ว่า
ไฉนหนอเราจะชำระใจของเราให้บริสุทธิ์หมดจด เราทำได้ขนาดนี้แล้วจะมีอะไรแลดำเนินอย่างไรต่อไปอีก
จึงได้เดินทางตามหาหลวงปู่มั่น แล้วเราจึงได้กราบเรียนท่านว่า

"ที่ต้องตามหาท่านอาจารย์ในครั้งนี้ ด้วยจุดประสงค์อยากจะมาขอความกรุณาให้ท่านอาจารย์ได้ช่วยแก้อุบายภาวนาให้
เพราะกระผมได้คิดและได้ศึกษาจากหมู่คณะมามากแล้ว เห็นว่านอกจากท่านอาจารย์แล้ว คงไม่มีใครแก้อุบายนี้ของกระผมได้แน่ "
แล้วก็ได้เล่าความเป็นมาของเราถวายให้ท่านทราบทุกประการ เริ่มต้นแต่ได้ปฏิบัติมาจนกระทั่งถึงเรื่องที่ได้นำเข้าเรียนท่านอาจารย์สิงห์ที่โคราช
ท่านจึงเล่าถึงการที่ท่านได้อบรมสานุศิษย์มาแล้วเป็นทำนองว่าให้เราทบทวนดูหมู่เพื่อนที่ท่านอบรมว่า

"ถ้าองค์ไหนดำเนินตามรอยของผมจนชำนิชำนาญมั่นคงองค์นั้นย่อมเจริญก้าวหน้า อย่างน้อยก็คงตัวอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง
 ถ้าองค์ไหนไม่ดำเนินตามรอยของผม องค์นั้นย่อมอยู่ไม่ทนทานต้องเสื่อมหรือสึกไป ผมเองหากมีภาระมาก ๆ ยุ่งกับหมู่คณะ
การประกอบความเพียรไม่สม่ำเสมอ เพ่งพิจารณาในกายคตาไม่ละเอียด จิตใจก็ไม่ค่อยจะปลอดโปร่ง
การพิจารณาอย่าให้จิตหนีออกนอกกาย อันนี้จะชัดเจนแจ่มแจ้งหรือไม่ก็อย่าได้ท้อถอย เพ่งพิจารณาอยู่ ณ ที่นี่ละ
จะพิจารณาให้เป็นอสุภหรือให้เป็นธาตุก็ได้ หรือจะพิจารณาให้เห็นเป็นขันธ์หรือให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ได้ทั้งนั้น
แต่ให้พิจารณาเพ่งลงเฉพาะในเรื่องนั้นจริง ๆ ตลอดอิริยาบถทั้งสี่
แล้วก็มิใช่ว่าเห็นแล้วก็จะหยุดเสียเมื่อไร จะเห็นชัดหรือไม่ชัดก็พิจารณาอยู่อย่างนั้นแหละ
เมื่อพิจารณาอันใดชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยใจตนเองแล้ว สิ่งอื่นนอกนี้จะมาปรากฏชัดในที่เดียวกันดอก

" ท่านบอกว่าอย่าให้จิตมันรวมเข้าไปภวังค์ได้
พอท่านพูดจบ เรานึกตั้งปณิธานไว้ในใจว่า เอาละคราวนี้เราจะเรียนกัมมัฏฐานใหม่ ผิดถูกเราจะทำตามท่านสอน
ขอให้ท่านเป็นผู้ดูแลและชี้ขาดแต่ผู้เดียว
นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา เราตั้งสติกำหนดพิจารณาอยู่แต่เฉพาะกาย โดยให้เป็นอสุภเป็นธาตุสี่ เป็นก้อนทุกข์อยู่ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
เราใช้เวลาปรารภความเพียรอยู่ด้วยความไม่ประมาท สิ้นเวลา ๖ เดือน (พรรษานี้เราจำพรรษาอยู่ที่นี้)
โดยไม่มีความเบื่อหน่าย ใจของเราจึงได้รับความสงบและเกิดอุบายเฉพาะตนขึ้นมาว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุสี่เท่านั้น แต่คนเราไปสมมติแล้วหลงสมมติตนเองต่างหาก
มันจึงต้องยุ่งและเดือดร้อนด้วยประการทั้งปวง
เราได้อุบายครั้งนี้ทำให้จิตหนักแน่นมั่นคง ผิดปกติกว่าเมื่อก่อน ๆ มาก แล้วก็เชื่อมั่นในตัวเองว่าเราเดินถูกทางแล้ว

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
122  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / แนะนำวัดเก่า พาเที่ยววัด และตำนาน ประวัติของวัด / Re: พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า เมืองย่างกุ้ง เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 07:43:32 PM
แนะนำทัวร์พม่า พาไหว้พระ เที่ยววัด นมัสการพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง => http://www.painaima.com/tourmyanmar/
123  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 12:37:07 PM
วันอาสาฬหบูชา พาครอบครัวไปทำบุญที่ไหนกันครับพี่ต่าย

สำหรับผมนั่งอัฟเดทเว็บ http://www.kammatan.com ที่ห้องครับ ฮ่าๆ
ปรับปรุงรูปแบบใหม่ ให้เข้าได้กับพวกมือถือครับ Mobile reponsive
ต่อไปการเข้าใช้งานเว็บผ่านมือถือ จะมีปริมาณมากขึ้นครับผม : )
#kammatan.com support mobile responsive.
124  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2016, 08:27:20 AM
ก่อนเข้าพรรษาปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านเดินทางบุกป่าฝ่าดอยขึ้นมาบ้านกระเหรี่ยงผาแด่น
เพื่อจะมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ องค์ท่านหลวงปู่ชอบ ฐานสโม..

องค์ท่านหลวงปู่ชอบบอก

“ ก่อนบุญฤทธิ์มาหาเฮานิมิตเห็นช้างเผือกมานอบน้อม พอบุญฤทธิ์มาขอเป็นลูกศิษย์เฮาพิจารณาวาสนาท่านบุญฤทธิ์
ท่านบุญฤทธิ์เป็นผู้มีวาสนาฮู้เห็นธรรมเฮาเลยฮับเอาท่านบุญฤทธิ์ไว้เป็นลูกศิษย์ เฮาทรมานท่านบุญฤทธิ์ด้วยการปฏิบัติ
ทุกวิถีทางกรรมฐานลูกขุนนางผู้ดีตีนแดงนี่มันสิอดทนได้ซ่ำใด๋
บุญฤทธิ์ทนต่อการฝึกฝนเฮาได้เบิ่ดทุกอย่าง ด่ากะบ่เถียง บ่ไห่กินข้าวบุญฤทธิ์กะทนได้
เฮาเคี่ยวเข็นบุญฤทธิ์อยู่ผาแด่นสองปีบุญฤทธิ์กะได้ดวงตาธรรมอยู่นั่น ซ้างเผือกผาแด่นบุญฤทธิ์ของเฮานี่ปล่อยไปไสกะบ่หลงป่า บ่หลงทาง ”..
หลวงปู่ชอบท่านเล่าประวัติหลวงปู่บุญฤทธิ์ให้ฟังว่า หลวงปู่บุญฤทธิ์ท่านเป็นลูกผู้ดีมีตระกูลจบการศึกษาสูง..

ท่านบอก “ ท่านบุญฤทธิ์เป็นลูกศิษย์องค์แรกของเฮาที่มาจากลูกเจ้ามุนขุนนาง ท่านบุญฤทธิ์แบกคัมภีร์มาถามเฮาเรื่องธรรม
อ่านอันใด๋มา สงสัยอันใด๋มา กะเอาตำรามาถามเฮา เฮาบอกถามหาเอาสวรรค์วิมานนิพพานอีหยังจากตำรา เฮาบ่แม่นนักอ่าน เฮาเป็นนักทำ
อยากฮู้อีหยังกะให้เรียนเอาในจิตในใจของตนเองมันถึงจะเกิดปัญญาฮู้ธรรมขึ้นมาได้ อ่านหนังสือมันกะได้แต่สัญญาความจำได้หมายรู้เท่านั้น
อ่านไปหลายกะเถียงกับตำรา ถ้าจะมาอยู่ฝึกฝนกับเฮากะให้วางตำราไว้ก่อน อยากฮู้อีหยังกะให้เรียนเอาในจิตในใจของตนเองเฮาสิสอนให้
บุญฤทธิ์ถึงวางหนังสือลงมือปฏิบัติ ”..

หลังจากองค์ท่านหลวงปู่ชอบแนะนำอุบายธรรมในการปฏิบัติให้แล้วหลวงปู่บุญฤทธิ์ท่านก็ลงมือปฏิบัติเดินจงกรมภาวนายันรุ่งยันค่ำ
หลวงปู่บุญฤทธิ์ท่านปฏิบัติไม่ถึงเดือนจิตท่านก็รวมเป็นสมาธิ จากคำถามที่ท่านเคยถามองค์ท่านหลวงปู่ชอบว่าจิตแยก
จากขันธ์ห้านั้นเป็นอย่างไรท่านก็มาทราบด้วยตนเองที่ผาแด่น..
หลวงปู่บุญฤทธิ์เล่าเรื่องการปฏิบัติของท่านตอนอยู่กับองค์ท่านหลวงปู่ชอบที่ผาแด่นให้ฟังว่า

“ ผมอ่านหนังสือมา หนังสือเขาบอกจิตแยกรูปแยกนามออกมาเป็นแบบนี้ เรียนถามพ่อแม่ครูจารย์จิตแยกจากขันธ์ห้ามันเป็นแบบ
ที่เขาว่านี้หรือขอรับ ถูกท่านอาจารย์ชอบว่าให้ ถามหาสิแตกอีหยัง เอาพุทโธให้มันได้ในจิตในใจของตนเองเสียก่อนค่อยมาถามเรา
ผมก็ลุยเอาพุทโธเดินจงกรมภาวนาวันหนึ่งๆหลายชั่วโมง ยิ่งทำความเพียรมากเท่าไหร่ใจยิ่งดูดดื่มในความเพียรของตนเอง
พอจิตรวมเป็นสมาธิเท่านั้นแหละรู้เลย อ๋อจิตแยกจากขันธ์ห้าแยกรูปแยกนามมันเป็นแบบนี้นี่เอง

เกิดปัญญารู้ด้วยตนเองซึ่งต่างจากตำรับตำราที่ตนเองเคยศึกษาเล่าเรียนมา แผนที่กระดาษกับการเดินทางจริงมันต่างกัน
เปรียบอย่างหนึ่งเหมือนดูรูปภาพอาหารกับการชิมรสชาติของอาหาร มันต่างกัน ”..

“ พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านรู้ว่าผมมีต้นทุนแล้วท่านถามเป็นยังไงบุญฤทธิ์รู้แล้วหรือยัง ผมบอกรู้แล้วครับท่านอาจารย์
ผมเล่าเรื่องภายในให้ท่านทราบ ท่านอาจารย์ชอบบอกที่ผมไม่พูดให้ท่านฟังทีแรกนั้นกลัวท่านจะลังเลในเวลาปฏิบัติ
ท่านฟังด้วยกิเลสในใจของท่านก็ฟังด้วย นักภาวนาผู้ฝึกหัดใหม่กิเลสมันจะก้าวขานำหน้าเราก่อนเสมอ
เราต้องเอาความเพียร ศรัทธา ขันติ วิริยะ วิ่งนำหน้ามัน

ท่านอาจารย์บอกให้เอาต่ออย่าหยุดแค่นี้ นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะยกจิตของตนเองขึ้นสู่วิปัสสนา
พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านให้กำลังใจผมก็ได้ใจลุยปฏิบัติเต็มที่อดนอนผ่อนอาหารทำความเพียรข้ามวันข้ามคืน
ยิ่งทำมากเท่าไหร่ยิ่งเห็นผลในการปฏิบัติของตนเองมากเท่านั้น
เหมือนเราค้าขายแล้วได้กำไรใจมันก็เพียรสิ ได้ปฏิบัติกับพ่อแม่ครูอาจารย์ชอบแบบตัวต่อตัวผมเลยไปเร็ว
ตนเองตั้งต้นธรรมในใจได้ที่ผาแด่นจากการเคี่ยวเข็นของพ่อแม่ครูอาจารย์ชอบทั้งหมด ”..

องค์ท่านหลวงปู่ชอบ “ เฮาเคี่ยวเข็ญบุญฤทธิ์อยู่ผาแด่นอย่างหนัก ท่านบุญฤทธิ์เดิมทีมีทิฐิในชาติตระกูลการศึกษาบ่ยอมใผ๋ง่ายๆ
เฮาปราบมานะทิฐิตัวนี้ของท่านบุญฤทธิ์ให้ลงก่อนๆที่จะสอนเรื่องการปฏิบัติ บุญฤทธิ์ยอมเฮาจึงละมานะทิฐิตนเองลงได้ ”..
องค์ท่านหลวงปู่ชอบบอกหลวงปู่บุญฤทธิ์ท่านเป็นพระเมืองกรุงติดในรสชาติอาหารการขบฉันแบบคนเมือง
ตอนมาอยู่ผาแด่นใหม่ๆองค์ท่านใช้วิธีเอาอาหารละอาหารลองใจหลวงปู่บุญฤทธิ์

เวลาบิณฑบาตได้เนื้อได้ปลามาองค์ท่านจะกักไว้ไม่แบ่งให้หลวงปู่บุญฤทธิ์ได้ฉัน
แต่ละวันหลวงบุญฤทธิ์ท่านจะฉันตำรากบอนใส่เกลือหรือไม่ก็ผักจิ้มกับน้ำพริกกระเหรี่ยง
พอฉันไปหลายวันท่านก็ท้องเสียถ่ายจนแสบท้องแสบไส้..
เรียนถามหลวงปู่บุญฤทธิ์ถึงเรื่องนี้ ท่านบอก
“ เราก็รู้ว่าท่านอาจารย์ชอบฝึกความอดทนให้เราในเรื่องอาหาร เราไม่ออกปากให้ท่านฟังอดทนเอาเพราะเราอยากได้ดี
ยอมรับว่าตอนไปปฏิบัติกับท่านอาจารย์ชอบใหม่ๆตนเองยังติดขัดในเรื่องอาหารเพราะคุ้นเคยแต่อาหารคนเมือง

อยู่กับท่านอาจารย์ชอบฉันตำบอนใส่เกลือพอปะแล่มๆ ตำบอนกระเหรี่ยงมันเละเหมือนขี้ควายฉันเข้าไปเราถึงกับอาเจียนออกมา
ฉันน้ำพริกกระเหรี่ยงนี่ท้องเสียถ่ายท้องอยู่หลายวัน ท่านอาจารย์ชอบบอกไม่ตายหรอกบุญฤทธิ์
ถ้าตายเพราะอาหารพวกนี้พวกกระเหรี่ยงพวกยางเขาตายไปก่อนท่านแล้ว ”..

หลวงปู่บุญฤทธิ์ถ่ายท้องจนไม่มีแรงเดินบิณฑบาตท่านนอนซมไข้อยู่ที่พักหลายวัน มีวันหนึ่งลูกตาเสาร์ชาวกระเหรี่ยงผาแด่นแต่งงาน
ตาเสาร์เอาไก่ต้มตัวหนึ่งใส่บาตรให้องค์ท่านหลวงปู่ชอบ องค์ท่านหลวงปู่ชอบบิณฑบาตได้ไก่ต้มตัวนี้มาท่านยกให้หลวงปู่บุญฤทธิ์ฉันทั้งหมด
องค์ท่านหลวงปู่ชอบบอก บุญฤทธิ์นี่ยาดีฉันซ่ะจะได้หายป่วยหายไข้ล้างท้องล้างไส้ตนเอง หลวงปู่บุญฤทธิ์ท่านฉันไก่ต้มที่องค์ท่านหลวงปู่ชอบยกให้ปรากฏว่าหลังจากนั้นมาท่านจะฉันอาหารประเภทไหนก็ไม่เคยท้องร่วงอีกเลย องค์ท่านหลวงปู่ชอบจึงตั้งฉายาให้หลวงปู่บุญฤทธิ์ตอนอยู่ผาแด่นว่า “ บุญฤทธิ์ไก่ต้ม ”..
เรื่องอาหารอีกเรื่องหนึ่งที่องค์ท่านหลวงปู่ชอบเล่าให้ฟังตอนจำพรรษาอยู่ที่ผาแด่นกับหลวงปู่บุญฤทธิ์..
ท่านบอก “ บิณฑบาตกับท่านบุญฤทธิ์พวกยางเอาปิ้งขี่คันคาก(ปิ้งคางคก)ใส่บาตรให้เฮาโตหนึ่ง มื่อนั่นบิณฑบาตบ่ได้อีหยังนอกจากปิ้งขี่คันคากโตเดียว เฮาแบ่งปิ้งขี่คันคากทางขาโต้ย(ส่วนขาหลัง)ไห้ท่านบุญฤทธิ์ คันสิบอกว่าปิ้งขี่คันคากกะย่านท่านบุญฤทธิ์บ่กล้าฉัน
เฮาบอกบุญฤทธิ์ เอ้านี่ปิ้งกบบกฉันซ่ะ

ฉันแล้วท่านบุญฤทธิ์ถามเฮาท่านอาจารย์กบบกนี่มันเหมือนกับกบทั่วไปไหม
เฮาบอกอยากเห็นมันเป็นโต๋จั่งใด๋กะไห่ไปเปิดไม่แป้นม่องล้างบาตรเบิ่งอยู่นั่นมีกบบกอยู่โตหนึ่ง
ท่านบุญฤทธิ์เปิดไม่แป้นเห็นขี่คันคาก ฮ้องขึ้นกับม่อง ท่านอาจารย์นี่มันคางคกนี่
เฮาว่า เออ..นั่นแหละกบบกมื่อหลังกะให้จำไว้ ที่ฉันไปแล้วกะปิ้งกบบกโตแบบนี่ล่ะ บุญฤทธิ์เฮ็ดหน่าเซ่เว่ปากบ่ออกตี้เพิ่น
ฉันไปแล้วเด้ ฮากออก(อาเจียน)กะบ่ทัน ”..

เรื่องปิ้งกบบกที่ผาแด่นนี้เป็นเรื่องที่หลวงปู่ชอบท่านเล่าทีไรองค์ท่านจะหัวเราะจนน้ำตาเล็ดทุกครั้ง
องค์ท่านจะขำหลวงปู่บุญฤทธิ์เวลาเล่าถึงเรื่องนี้ ลูกศิษย์รุ่นหลังอย่างพวกเราฟังแล้วก็พลอยขำขันไปกับองค์ท่าน..
องค์ท่านหลวงปู่ชอบ “ บุญฤทธิ์มาอยู่ผาแด่นใหม่ๆบ่ฮู้จักทาก ทากอยู่ผาแด่นบ่แม่นของค่อยเด้ ใบไม้ไหวแต่ละครั้งชูหัวซาบราบปานถั่วงอก เฮาบอกท่านบุญฤทธิ์ลงไปตักน้ำอยู่ซำบ่อมาให้เฮาสรง ท่านบุญฤทธิ์กลับขึ้นมาถืกทากดูดเลือดตามแขนขาจนดำเบิ่ด

บุญฤทธิ์ถามเฮาอาจารย์อยู่บนดอยแบบนี้ก็มีปลิงเน๊าะ เฮาว่ามันบ่แม่นปลิงเด้บุญฤทธิ์มันเป็นทากกินเลือดคนคือกันกับปลิง
ปลิงมันอยู่น้ำทากมันอยู่บก ม่องซุ่มๆ หม่อมบุญฤทธิ์เพิ่นจั่งฮู้ว่าทาก มื่อหลังลงไปตักน้ำหม่อมบุญฤทธิ์เพิ่นระวังทากปานหยัง ”..
คำพูดแต่ละคำที่องค์ท่านหลวงปู่ชอบกล่าวถึงหลวงปู่บุญฤทธิ์นั้นศิษย์ผู้น้องอย่างพวกเราสัมผัสได้ใน " เมตตา "
ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีต่อ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต..

ท่านบอก “ หลังจากอาจารย์ใหญ่มั่นฝากพระศาสนาให้เราสอนคนแทนท่าน บุญฤทธิ์เป็นลูกศิษย์องค์แรกที่เฮาฝึกฝน
เฮาบ่ได้ฝึกท่านบุญฤทธิ์ให้มาเป็นพระเฝ้าวัด เฮาฝึกท่านบุญฤทธิ์ให้เป็นซ้างเผือกในพระศาสนา เฮาฝึกท่านบุญฤทธิ์ให้เป็นนาบุญของโลก ” ..

ประวัติปฎิปทาธรรม : หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ที่พักสงฆ์สวนทิพย์อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
เขียนบันทึกโดย..ครูบากล้วย พระวีระศักดิ์ ธีรภัทโท
125  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2016, 07:50:32 AM
เราใช้สภาวะร่างกายของมนุษย์ธรรมดาที่เรามีนี่แหละ

เราใช้จิตใจของมนุษย์ธรรมดาอย่างที่เรามีนี่แหละ

เป็นของดีของวิเศษ เป็นต้นทุนที่เรามีอยู่

เป็นต้นทุนที่ดีมากๆเลยนะ ในการภาวนา

ร่างกายของเราที่ไม่เอาไหนนี่แหละ

เป็นต้นทุนของการภาวนา ไม่สุขมากไป ไม่ทุกข์มากไป

จิตใจของเราก็เป็นต้นทุนการภาวนาที่ดี

มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่สุขเกินไป ไม่ทุกข์เกินไป

ไม่ดีเกินไป ไม่ชั่วเกินไป หมุนเวียนเปลียนแปลงไปเรื่อยๆ
...........................

นอบน้อมกราบสาธุ สาธุ สาธุ
ในพระธรรมโอวาท...หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เจ้าค่ะ
126  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์จันมี อนาลโย วัดป่าแก้งใหม่ อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2016, 07:50:20 AM


127  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์จันมี อนาลโย วัดป่าแก้งใหม่ อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2016, 07:44:59 AM
การถวายปัจจัยเพื่อจะขอให้พ้นทุกข์นั้น อย่าเอาเงินมาซื้อบุญเลย พระเองจะเอาบุญมาจากไหนมากมาย
เพื่อมาขายให้พวกโยม ลองคิดดูซิว่า พระเองยังต้องบิณฑบาตขอข้าวจากชาวบ้านหรือพวกโยมอยู่ทุกวันเลย
ถ้าอยากได้บุญให้ภาวนา อยากได้บุญหลายๆ ให้ภาวนาเอา บ่แม่นบุญอยู่นำข้อย ข้อยบ่มีบุญมาขายดอก
พระอาจารย์จันมี อนาลโย
128  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์จันมี อนาลโย วัดป่าแก้งใหม่ อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2016, 07:43:29 AM


ผลหมากรากไม้ รูป รส และกลิ่นจะซึมซับเข้าไปถึงส่วนที่อยู่ภายในสุด ก็คือเมล็ดนั่นเอง
ถึงแม้เนื้อของผลไม้คนเราจะกินไปหมดแล้ว แต่ก็ยังเหลือเมล็ด เพื่อนำไปปลูกให้เกิดขึ้นมาใหม่
แล้วคนเราล่ะ ธาตุขันธ์ถึงเวลาต้องจากไป มีอะไรที่เราจะเอาไปได้ด้วยบ้าง คนที่ทำบาป
บาปนั้นจะไปเกาะอยู่ที่ใจของตัวเขาเอง มันจะสะสมอยู่ในใจคล้ายกับเมล็ดพันธุ์พืชที่ไม่ดี
นำไปขายใครๆ ก็ไม่อยากซื้อ แล้วเราล่ะ อยากเป็นเมล็ดพันธุ์พืชชนิดดีหรือไม่ดี สำหรับนำไปปลูกในภพชาติหน้า

พระอาจารย์จันมี อนาลโย
129  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 01:34:31 PM
ใจต้องเป็นอันเดียวไม่ใช่หลายอย่าง ที่หลายอย่างนั่นน่ะมันจิตต่างหาก
พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงตัวหนึ่ง ตัวใจนี่แหละ จึงจะเห็นเรื่องทั้งหลายทั้งหมด ถ้าไม่เห็นตัวหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งนั้น อย่างเรานับหนึ่งขึ้นเบื้องต้น นับหนึ่งเสียก่อน หนึ่งสองหน ก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เห็นสาม สี่หน ห้าหน จนถึงเก้าหน สิบหน ก็เป็นสี่ ห้า จนถึงเก้า ถึงสิบ ก็มาจากหนึ่งอันเดียวนั่นแหละ จะนับเป็นสิบเป็นร้อย แท้ที่จริงก็นับจากหนึ่งอันเดียวเท่านั้น คนเราลืมหนึ่งเสีย ไปนับสอง สาม สี่ ห้า ถ้านับหนึ่งแล้วหมดเรื่อง
เหตุนั้นการทำสมาธิภาวนาคุมจิตให้ถึงใจรวมเป็นหนึ่งนี่แหละ พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น สอนใจอย่างเดียว คนส่วนมากเห็นว่าการทำสมาธิภาวนาไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาสเป็นเรื่องของพระ พระบางท่านบางองค์ ก็ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราหรอก เป็นเรื่องของพระกัมมัฏฐาน
แท้ที่จริงคนเรามีใจด้วยกันทุกคน ใครเข้าหาใจได้แล้วก็เป็น กัมมัฏฐานด้วยกันทั้งนั้นแหละ เป็น ภาวนา สมาธิแล้วทั้งนั้น เว้นไว้แต่เรา ไม่ทำ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
130  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 01:33:40 PM
ทำอย่างไรจึงจะเห็นจิต
ถ้ามิฉะนั้น จิตก็จะพาเราว่อนอยู่อย่างนั้นแหละ เที่ยวเหนือล่องใต้ไปทั่วทุกทิศทุกทาง ถ้าเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตไม่ได้ ก็จะพาให้เราทุกข์เร่าร้อน เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ถ้าไม่มีจิตแล้ว ตัวของเราก็เหมือน กับท่อนไม้ท่อนฟืน ใครจะสับจะบั่น ใครจะเผาจะอะไรๆ ต่างๆ ไม่รู้สึกทั้งนั้น
การปรากฏเห็นภาพทางตา เขาเรียกว่า จิต แต่คนไม่เห็นตัวจิต
คือตาเห็นภาพนั่นน่ะ เข้าใจว่าจิตเห็น ไม่ใช่จิต ตาเห็นต่างหาก แสงกระทบเข้ามาก็เห็นเท่านั้น หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เสียงมาเข้าหูกระทบกันเข้ามันก็ได้ยิน จมูกสูดกลิ่น ลิ้นถูก รส กายสัมผัสอะไรต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ตัวจิต เป็นเรื่องกระทบกันต่างหาก กระทบกันแล้วก็หายไป
ถ้าเช่นนั้น จิตมันอยู่ที่ไหน ให้ลองหาดูในตัวเรานี่แหละ หาให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ดูว่าจิตแท้มันอยู่ที่ไหนกัน เมื่อหาจิตไม่เห็นแล้ว
คนที่หาน่ะไม่เห็น คนไหนเป็นคนหา มันยังมีซ้อนอีก ใครเป็นคนค้นหา สิ่งที่ไปหานั้นเห็น แต่ผู้หาไม่เห็น อย่างว่าเห็นรูป รูปนั้นเห็นแล้ว
แต่ผู้เห็นน่ะใครเป็นคน เห็น มันต้องหาตัวนั้นซีจึงจะเห็น
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
131  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: สิ่งที่ควรทำอันดับแรก เพื่อการถึงที่สุดแห่งทุกข์ เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2016, 10:33:31 AM
อ่าใช่ครับ พี่ the suffering หายไปเลย
132  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / แนะนำ สถานที่ปฏิบัติภาวนาธรรม ที่สัปปายะ ในประเทศไทย / Re: "การอยู่ – วัดป่า" จากหนังสือ “ชีวิตพระป่า” โดย ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2016, 11:30:25 PM
การฉันข้าวพระป่า...
วัดป่าในสายท่านพระอาจารย์มั่นมีระเบียบเกี่ยวกับการฉันเป็นอย่างเดียวกัน คือฉันมื้อเดียวในตอนเช้า ฉันอาหารที่ได้จากบิณฑบาตและฉันในบาตร มีเฉพาะน้ำและสิ่งที่ใช้ดื่มเท่านั้น ที่เอาใส่ถ้วยไว้นอกบาตรได้ เพราะฉะนั้นพระป่าต้องออกบิณฑบาตทุกวัน นอกจากอาพาธหรือเดินไม่ได้ ตามธรรมดาวัดป่าต้องอยู่ห่างหมู่บ้านเพื่อให้พ้นจากการรบกวนจากคน สัตว์และเสียง แต่ต้องไม่ไกลเกินไปจนเดินไปบิณฑบาตไม่ไหว โดยมากเว้นระยะห่างจากหมู่บ้านประมาณสองถึงสามกิโลเมตร ซึ่งพอจะเดินไปกลับได้ภายในหนึ่งชั่วโมงครึ่ง

ตามปกติออกจากวัด เวลาประมาณ ๖ นาฬิกาเศษ หลังจากทำความสะอาดตอนเช้าเสร็จ ก่อนจะออกต้องจัดบาตรให้พรักพร้อมโดยผูกมัดบาตรให้แน่นและเรียบร้อย พระป่าท่านสะพายบาตรเวลาไปบิณฑบาต เพราะระยะทางไกลและขากลับบางทีบาตรหนักมาก เวลาออกจากวัดเดินไปเป็นกลุ่ม พระผู้น้อยอยู่ข้างหน้า ผู้ใหญ่อยู่ข้างหลัง พอเข้าเขตบ้านพระข้างหน้าหยุดคอยให้ผู้ใหญ่ขึ้นไปนำเดินเข้าหมู่บ้านเป็นแถวเรียงหนึ่งตามลำดับอาวุโส และรับอาหารโดยมีระเบียบน่าดู เมื่อรับไปทั่วแล้วก็วกกลับวัด บางทีพระผู้น้อยรับบาตรของพระผู้ใหญ่ไปสะพายแทน บางทีชาวบ้านขออาสาสะพายหรืออุ้มไปให้จนถึงวัด ทุกองค์ขึ้นไปรวมบนศาลาที่นั่งฉัน แล้วเข้าที่นั่งฉันและจัดอาหารลงบาตร ที่นั่งนั้นได้จัดปูอาสนะไว้เรียบร้อย ก่อนออกบิณฑบาต ดังนั้นพอมาถึงก็เข้าที่ได้เลย นั่งเรียงกันตามลำดับอาวุโส พระทุกองค์ถ่ายบาตรเอาอาหารใส่ลงในถาดที่วางไว้เป็นของกลาง พระเจ้าหน้าที่ยกถาดไปถวายท่านสมภารให้หยิบก่อน แล้วส่งต่อไปตามลำดับ โดยวิธีนี้พระทุก ๆ รูปตั้งแต่ผู้น้อยถึงผู้ใหญ่จึงมีโอกาสได้อาหารอย่างเดียวกัน

อาหารที่เลือกเอาไว้นั้น แต่ละรูปจัดลงในบาตรสำหรับที่จะฉันต่อไป การจัดอาหารลงบาตรนี้แตกต่างกันไป บางองค์วางเรียงแยกเป็นสิ่ง ๆ (ภายในบาตร) บางองค์วางสุม ๆ ลงไป ที่ขั้นอุกฤษฏ์นั้นคลุกเคล้าทุก ๆ อย่างเข้าด้วยกันจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ทั้งนี้เพื่อตัดเรื่องความอยาก ความน่ากิน และความอร่อยให้หมดไป ในสมัยที่ผู้เขียนและเพื่อน ๆ ไปวัดป่าครั้งแรก ๆ พระท่านยังอัตคัดเรื่องอาหารมาก เราอยากให้ท่านได้ฉันของแปลก ๆ จึงช่วยกันทำข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียนไปถวายองค์ละชาม.พระท่านรับประทานไปแล้ว เรานึกว่าท่านจะวางเอาไว้ฉันทีหลัง ท่านกลับเอาเทลงไปในบาตรหมดทั้งชาม พวกเรานึกสงสารว่าไปทำให้ท่านฉันลำบากมากขึ้น ตั้งแต่นั้นไม่กล้าถวายของฉันที่เป็นน้ำและมีกลิ่นแรงอีกเลย

เมื่อจัดอาหารลงบาตรเสร็จแล้วก็เอาผ้าปิดปากบาตรไว้ คอยจนเสร็จพร้อมกัน.องค์ที่เป็นประธานว่า ยถาสัพพี ( บางวัดประธานว่ายถา องค์อื่นพร้อมกันว่า สัพพี )เสร็จแล้วจึงเปิดผ้าคลุมปากบาตรขึ้นพร้อมกัน พิจารณาอาหารในบาตรตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เช่น ให้สำนึกว่าฉันเพื่อให้คลายทุกข์ที่เกิดจากความหิว ไม่ใช่เพื่อรสอร่อย ฯ ล ฯ เสร็จแล้วจึงลงมือฉัน ระหว่านั้นไม่มีใครพูด เพราะต่างองค์ต้องพิจารณาไปเรื่อย ๆ ใครฉันเสร็จก็เช็ดถูพื้นศาลาตรงบริเวณที่ตัวนั่ง ยกบาตรออก เอาเครื่องปูลาดเก็บเข้าที่ อาหารเหลือก้นบาตรเทลงถาดมอบแก่ผู้ที่ต้องการ.(อาหารก้นบาตรอาจารย์ผู้ใหญ่ ๆ มีคนคอยแย่งกัน เพราะเชื่อว่ากินแล้วจักเจริญในธรรมและมีสติปัญญาดี) บาตรนั้นนำไปล้างและเช็ดถูจนสะอาด คว่ำผึ่งแดดให้แห้ง

วิธีอนุโมทนา ( คือ ว่ายถาสัพพี ) เสียก่อนฉันนี้เหมาะสำหรับทายกทายิกาที่มีการงานประจำวัน คือ พอพระอนุโมทนาเสร็จแล้ว พวกทายกก็เอาอาหารที่เหลือจากพระไปลงมือกินได้เลย ไม่ต้องรอจนพระฉันอิ่มและอนุโมทนาเสียก่อน ดังที่ปฏิบัติอยู่ตามวัดทั่ว ๆ ไป ตามวิถีของพระป่า บางทีพระยังฉันไม่เสร็จ ชาวบ้านก็กินข้าวอิ่มและแยกย้ายกันไปทำงานได้แล้ว

บาตรเป็นบริขารที่สำคัญยิ่งสำหรับพระป่า จะไปไหน ๆ แม้จะรีบร้อนเพียงใดต้องจัดเอาไปด้วยเสมอ บาตรของท่านมักจะใหญ่กว้างกว่าบาตรของพระบ้าน.ไม่ใช่เพราะพระป่าฉันมากกว่าพระบ้าน แต่เพราะท่านถือธุดงค์ฉันในบาตร ถ้าบาตรแคบก็จัดอาหารและฉันไม่สะดวก นอกจากนั้นเวลาท่านเดินทางเช่นไปธุดงค์ ท่านยังใช้บาตรแทนกระเป๋าเดินทาง บรรจุเครื่องอัฐบริขารต่าง ๆ แล้วสะพายไปเป็นความสะดวกมาก เพราะฉะนั้นท่านต้องรักษาบาตรให้สะอาดอยู่เสมอ พอฉันแล้วก็รีบล้างฟอกสบู่หรือผงซักฟอกให้หมดกลิ่น เช็ดขัดให้สะอาด แล้วผึ่งแดดให้แห้งสนิท ต้องรักษาไม่ให้เกิดสนิม ถ้าเกิดขึ้นต้องทำพิธี ”ระบม” (บ่มบาตร) คือสุมด้วยไฟฟืนจนหมดสนิมเสียเวลาและเปลืองฟืนมาก

เกี่ยวกับเรื่องบาตร ท่านพระอาจารย์ฝั้นเคยเล่าให้ฟังว่าในสมัยเมื่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ต่อมาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศ ฯ เป็นเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี มีผู้ฟ้องถึงท่าน ว่าพระกัมมัฏฐานที่จังหวัดนั้นไม่ประพฤติตามแบบฉบับของพระธรรมยุต เช่นเวลาบิณฑบาตก็ใช้วิธีสะพายบาตรแทนที่จะอุ้ม และข้ออื่น ๆ อีกหลายข้อ สมเด็จ ฯ ท่านสนใจพระกัมมัฏฐานอยู่แล้วจึงเดินทางไปยังวัดที่ถูกฟ้อง ซึ่งในตอนนั้นท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เป็นสมภาร.เมื่อได้ซักถามดูก็ทราบความจริงว่า พระป่าท่านสะพายบาตรเวลาเดินไปจากวัด เพราะท่านต้องไปไกลมาก แต่พอถึงตอนรับบาตรท่านก็ปฏิบัติเหมือนพระธรรมยุตทั้งหลาย.ข้ออื่นๆก็เป็นเรึ่องของความเข้าใจผิด พอดีท่านอาจารย์กงมากำลังจะออกธุดงค์ สมเด็จฯ จึงขอไปด้วย ท่านอาจารย์ก็จัดกลดและบริขารอื่น ๆ ที่จำเป็นให้ ไปค้างแรมอยู่ในป่า แขวนกลดไว้ห่างกันพอสมควร คืนนั้นฝนตกอย่างหนักจนกลดไม่สามารถจะกั้นไว้ได้ สมเด็จ ฯ เปียกไปทั้งตัว บริขารต่าง ๆ ก็เบียกปอนไปด้วย รุ่งขึ้นเช้า ต้องครองจีวรทั้งเปียก ๆ พอไปพบกับท่านอาจารย์กงมา สมเด็จ ฯ ก็ประหลาดใจว่าทำไมจีวรของท่านแห้งดี เหมือนกับไม่ได้ถูกฝนเลย ท่านจึงแอบถามเณรว่าท่านอาจารย์มีคาถาอะไรดีหรือ ฝนจึงไม่เปียก เณรก็รับสมอ้างว่าท่านคงจะมีคาถากันฝนเปียก

หลังจากได้พิจารณาใกล้ชิดแล้วเห็นว่าจีวรของท่านอาจารย์กงมาไม่เปียกจริง ๆ สมเด็จ ฯ ก็อดถามท่านไม่ได้ว่าใช้คาถาอะไรจึงไม่เปียกฝน ท่านอาจารย์กงมายิ้มบอกว่า ขอรับ เกล้ากระผมมีคาถา แล้วก็หยิบบาตรขึ้นให้สมเด็จ ฯ ดู และบอกว่านี่แหละครับ คาถาของเกล้ากระผม ที่แท้คือท่านอาจารย์เป็นพระป่า ท่านมีประสบการณ์มาก พอฝนตกท่านก็เอาจีวรและสังฆาฏิใส่บาตรปิดฝาไว้ จึงไม่เปียกเลย…

อ่านหนังสือ “ชีวิตพระป่า” โดย ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ ได้ที่ลิงค์
133  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ประวัติของพระอริยสงฆ์ สาวกที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รวมทั้งปฏิปทาในการปฏิบัติ / ประวัติพระอาจารย์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2016, 09:58:14 PM


วันนี้วันที่ ๒ กรกฎาคม เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ครบรอบ ๓๑ ปี หลวงปู่แหวน สุจิณโณ พระอริยเจ้าแห่งดอยแม่ปั๋ง
องค์ท่านออกธุดงค์อยู่รุกขมูลตามป่าเขาโดยมีหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นสหายธรรม ท่านทั้งสองได้ออกวิเวกเพื่อแสวงหาโมกขธรรมจากทางภาคอีสานขึ้นจนไปถึงภาคเหนือ ข้ามเขาป่ารกชัฏอันทุรกันดารไปยังประเทศพม่า และธุดงค์ต่อไปจนสุดถึงประเทศอินเดีย ด้วยเท้าเปล่า

เมื่ออายุ ๓๑ ปี หลวงปู่แหวน ได้ธุดงค์รอนแรมไปฝากตัวกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบูรพาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกัมมัฏฐาน องค์ท่านได้กล่าวสอนสั้นๆว่า ต่อไปนี้ให้ภาวนา ส่วนความรู้ที่เรียนมาให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน" วันหนึ่งในปี พ.ศ.๒๕๑๒ หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งอยู่ที่ถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือจ.หนองบัวลำภู) ได้ปรารภเป็นเชิงรำพึงอนุโมทนากับสานุศิษย์ว่า "เมื่อคืนได้นิมิตเห็นท่านแหวนจิตใสเหมือนแก้ว สว่างไสวทั้งองค์ ท่านแหวนได้อรหัตผลแล้วหนอ" หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๘ สิริอายุรวม ๙๘ ปี พรรษาธรรมยุติกนิกาย ๕๘ พรรษา จึงขอน้อมนำชีวประวัติและปฏิปทา มาเป็นสังฆานุสติ และมรณานุสติครับ



ชีวประวัติ และปฏิปทาหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เดิมชื่อ ญาณ หรือ ยาน รามศิริ เกิดวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๐ วันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีกุน ณ บ้านนาโป่งบ้างก็ว่า บ้านหนองบอน ตำบลหนองใน (ปัจจุบันเป็น ตำบลนาโป่ง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย ท่านเกิดในตระกูลช่างตีเหล็ก เป็นบุตรคนที่ ๒ (คนสุดท้อง) ของ นายใส หรือ สาย กับ นางแก้ว รามศิริ มีพี่สาวร่วมท้องเดียวกัน ๑ คน เมื่อหลวงปู่แหวน อายุประมาณ ๕ ขวบ พอจำความได้บ้างว่า ก่อนที่มารดาจะเสียชีวิต ได้เรียกไปสั่งเสียว่า "ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏิก็ตาม แม่ก็ไม่ยินดี และแม่จะยินดีมาก ถ้าลูกจะบวชให้แม่จนตายในผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีเมียนะลูกนะ" หลังจากนั้นมารดาได้ถึงแก่กรรมลง ท่านจึงอยู่ในความดูแลของตากับยายขุนแก้ว
อนึ่ง ยายของหลวงปู่แหวน ได้ฝันว่า เห็นหลานชายไปนั่งไปนอนอยู่ในดงขมิ้นจนเนื้อตัวเหลืองอร่ามน่าชม จึงได้มาร้องขอให้บวชเช่นเดียวกัน ท่านจึงรับปาก แล้วบวชพร้อมกับหลานยายอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และมีศักดิ์เป็นน้า ยายได้นำหลานทั้ง ๒ คน ไปถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ที่ วัดโพธิ์ชัย (มหานิกาย) ในหมู่บ้านนาโป่ง เพื่อฝึกหัดขานนาค ทำการบรรพชาเป็นสามเณรต่อไป ด้วยคำพูดของแม่ในครั้งนั้น เป็นเหมือนพรสวรรค์คอยเตือนสติอยู่ตลอดเวลา มันเป็นคำสั่งที่ก้องอยู่ในความทรงจำมิรู้เลือน จนในที่สุดท่านก็ได้บวชตามความประสงค์ของมารดาและใช้ชีวิตอยู่ในผ้าเหลืองจนตลอดอายุขัย
หลวงปู่แหวน ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ มีอายุได้ ๙ ปี ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์อ้วน เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เป็นพระพี่เลี้ยง เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แหวน อยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัยนั่นเอง พอเข้าพรรษาได้ประมาณ ๒ เดือน สามเณรผู้มีศักดิ์เป็นน้าที่บวชพร้อมกันเกิดอาพาธหนักถึงแก่มรณภาพไป ทำให้ท่านสะเทือนใจมาก เนื่องจาก วัดโพธิ์ชัย ไม่มีการศึกษาเล่าเรียน เพราะขาดครูสอน ท่านจึงอยู่ตามสบาย คือ สวดมนต์ไหว้พระบ้าง เล่นบ้างตามประสาเด็ก ต่อมาได้ถูกส่งไปเรียนมูลกัจจายน์ ที่ วัดสร้างก่อ อำเภอหัวสะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในสมัยนั้น จังหวัดอุบลราชธานีมีสำนักเรียนที่มีชื่อเสียง มีครูอาจารย์สอนกันเป็นหลักเป็นฐานหลายแห่งเช่น สำนักเรียนบ้านไผ่ใหญ่ บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลัก บ้านสร้างก่อทั่วอีสาน ๑๕ จังหวัด (ในสมัยนั้น) ใครต้องการศึกษาหาความรู้ ต้องมุ่งหน้าไปเรียนมูลกัจจายน์ ตามสำนักดังกล่าว ผู้เรียนจบหลักสูตรได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ เพราะเป็นหลักสูตรที่เรียนยาก มีผู้เรียนจบกันน้อยมาก ภายหลัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงมาปรับปรุงเปลียนแปลงหลักสูตรใหม่ดังเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้การเรียนมูลกัจจายน์ถูกลืมเลือน


ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนที่สำนักนี้หลายปี จนอายุครบบวชพระ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกายที่ วัดสร้างก่อนอก อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอาจารย์แว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๕๑ ในระยะที่เรียนหนังสืออยู่นั้น ท่านเกิดความว้าวุ่นใจเพราะ ท่านอาจารย์อ้อน อาจารย์เอี่ยม ครูผู้สอนหนังสือเกิดอาพาธด้วยโรคนอนไม่หลับ ท่านจึงแนะนำให้ลาสิกขาบทเผื่อโรคอาจจะหายได้ หายแล้วหากยังอาลัยในสมณเพศ เมื่อได้โอกาสก็ให้กลับมาบวชใหม่อีก ท่านอาจารย์ทำตาม ปรากฏว่าโรคหายดี แต่ต่อมาพระผู้เป็นอาจารย์สอนหนังสือ คือ อาจารย์ชม อาจารย์ชาลี และท่านอื่น ๆ ลาสิกขาไปมีครอบครัวกันหมดสำนักเรียนจึงต้องหยุดชะงักลง

ในที่สุด ท่านจึงเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้น สึกออกไปล้วนเพราะอำนาจของกามทั้งสิ้น จึงระลึกนึกถึงคำเตือนของแม่และยาย และเกิดความคิดขึ้นมาว่าการออกปฏิบัติเป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้บวชอยู่ได้ตลอดชีวิตเหมือนกับครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ได้ออกไปปฏิบัติอยู่กันตามป่าเขาไม่อาลัยอาวรณ์อยู่กับหมู่คณะจึงได้ตัดสินใจไปหาอาจารย์ที่เมืองสกลนคร ท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐาน ขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์แด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หลังจากตั้งจิตอธิษฐานแล้ว ท่านมีความรู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ อยู่มา ๒-๓ วัน โยมอุปัฏฐาก ได้มาบอกว่า พระอาจารย์จวง วัดธาตุเทิง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปกราบ ท่านญาคูมั่น พึ่งกลับมา ท่านจึงได้ไปนมัสการพระอาจารย์จวง เพื่อขอทราบที่อยู่ของ หลวงปู่มั่น ด้วยรู้สึกศรัทธาในกิตติศัพท์ความเก่งกล้าสามารถของหลวงปู่มั่นยิ่งนัก

จากนั้น ท่านก็ได้ออกธุดงค์มุ่งสู่สำนักของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยผ่านม่วงสามสิบ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร เลิงนกทา มุกดาหาร คำชะอี นาแก สกลนคร พรรณานิคม สว่างแดนดิน หนองหาน อุดรธานี บ้านผือ ซึ่งนับเป็นการเดินทางไกลและยาวนานเป็นครั้งแรกจนได้เข้าพบหลวงปู่มั่น ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ คำแรกที่หลวงปู่มั่นสั่งสอนก็คือ "ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมา ให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน" ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกยินดีมากเพราะได้บรรลุสิ่งที่ตั้งใจ หลังจากอยู่กับหลวงปู่มั่นได้ ๔ วัน พี่เขยและน้าเขยก็มาตามให้กลับไปเยี่ยมโยมพ่อที่ไม่ได้พบกันมานาน ๑๐ ปี จึงเข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่น และได้รับคำเตือนว่า "ไปแล้วให้รีบกลับมา อย่าอยู่นาน ประเดี๋ยวจะเสียท่าเขา ถูกเขามัดไว้แล้วจะดิ้นไม่หลุด"


ท่านได้กลับไปเยี่ยมบ้านในปี พ.ศ.๒๔๖๑เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชนในแถบบ้านเกิดมาก หลั่งไหลกันมากราบอย่างไม่ขาดสาย จนทำให้พักผ่อนไม่พอและล้มป่วยลงต้องพักรักษาตัวอยู่หนึ่งเดือนเต็ม ด้วยจิตที่ระลึกถึงคำสั่งของพระอาจารย์ว่า "อย่าอยู่นานให้รีบกลับมาภาวนา" กับคำสั่งเสียของแม่ว่า "แม่ยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ แล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง" ทำให้ท่านตัดสินใจรีบเดินทางกลับไปอยู่รับการอบรมภาวนาต่อแล้วจึงได้แยกไปหาที่วิเวกบำเพ็ญสมาธิภาวนาตามความเหมาะสมกับจิตของตน เมื่อถึงวันอุโบสถจึงได้ถือโอกาสเข้านมัสการถามปัญหาข้อข้องใจในการปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นจนเป็นที่เข้าใจแล้ว จึงกลับสู่ที่ปฏิบัติของตนดังเดิม โดยยึดมั่นในคำเตือนของหลวงปู่มั่นว่า "ให้ตั้งใจภาวนา อย่าได้ประมาท ให้มีสติอยู่ทุกเมื่อ จงอย่าเห็นแก่การพักผ่อนหลับนอนให้มาก"

ในระยะแรกออกปฏิบัตินั้น ท่านไม่ได้ร่วมทำสังฆกรรมฟังการสวดปาติโมกข์ เพราะยังไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุต พระมหานิกายที่ได้รับการอบรมจากท่านหลวงปู่มั่นครั้งนั้นมีหลายรูป เมื่ออยู่ไปนาน ๆ ได้เห็นความไม่สะดวกในการประกอบสังฆกรรมดังกล่าว จึงไปกราบขออนุญาตให้ญัตติเป็นธรรมยุต ซึ่งบางรูปก็ได้รับอนุญาต บางรูปก็ไม่ได้รับอนุญาต โดยหลวงปู่มั่นให้เหตุผลว่า "ถ้าพากันมาญัตติเห็นพระธรรมยุตเสียหมดแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครมาแนะนำในการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละ คือ ทางดำเนินไปสู่มรรคผลนีพพาน"

ประมาณ พ .ศ.๒๔๖๔ ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อพำนักและศึกษาธรรม กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ซึ่งหลวงปู่มั่นยกย่องอยู่เสมอว่าเชี่ยวชาญทั้งทางการเทศน์และการปฏิบัติธรรม หลังจากที่ท่านได้รับฟังธรรมและเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย พม่า และเชียงตุง จากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ แล้ว ก็ได้จาริกไปพม่า อินเดีย โดยผ่านทาง แม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก ข้ามแม่น้ำเมย ขึ้นฝั่งพม่าต่อไปยังขลุกขลิกมะละแหม่ง ข้ามฟากไปถึงเมาะตะมะ ขึ้นไปพักที่ดอยศรีกุตระ กลับมามะละแหม่ง แล้วโดยสารเรือไปเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย แล้วต่อรถไฟไปเมืองพาราณสี เที่ยวนมัสการปูชนียสถานต่าง ๆ แล้วจึงกลับโดยเส้นทางเดิม ถึงฝั่งไทยที่อำเภอแม่สอด เดินเที่ยวอำเภอสามเงา
ปีต่อมา เดือนตุลาคม ท่านได้จาริกธุดงค์ไปเชียงตุง และ เชียงรุ้ง ในเขตพม่า โดยออกเดินทางไปด่านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผ่านหมู่บ้านชาวเขา พักตามป่าเขา จาริกผ่านเชียงตุง แล้วต่อไปทางเหนือ อันเป็นถิ่นชาวเขา เช่น จีนฮ่อ ซึ่งอยู่ตามเมืองแสนทวี ฝีฝ่า หนองแส บางเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พอฝนตกชุกจวนเข้าพรรษาก็กลับเข้าเขตไทย นับได้ว่าท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่งในและนอกประเทศส่วนใหญ่จะพำนักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลฯ อุดรฯ และตั้งใจจะไปให้ถึงสิบสองปันนาสิบสองจุไท แต่ทหารฝรั่งเศส ห้ามเอาไว้ จึงไปถึง วัดใต้หลวงพระบาง แล้วก็กลับพร้อมกับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

ทางภาคเหนือ ท่านได้มุ่งเดินทางไป ค่ำไหนนอนนั่น จากอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลยออกไป อำเภอด่านซ้าย ผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอนครไทย อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ตัดไปอำเภอนาน้อย แพร่ หมู่บ้านชาวเย้า อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย ลำปาง แล้วต่อไปยังเชียงใหม่ เที่ยวดูภูมิประเทศโดยรอบเขาดอยสุเทพ

ท่านได้รับความเมตตาจาก ท่านเจ้าคุณพระอุปาลีคุณูปมาจารย์ ด้วยดีตลอดมา ประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐ ท่านเจ้าคุณเห็นว่า หลวงปู่แหวน เป็นผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติมีวิริยะอุตสาหะปรารภความเพียรสม่ำเสมอไม่ท้อถอย มีข้อวัตรปฏิบัติดี มีอัธยาศัยไมตรีไม่ขึ้นลง คุ้นเคยกันมานาน เห็นสมควรจะได้ญัตติเสีย หลวงปู่แหวน จึงตัดสินในเป็นพระธรรมยุต ที่พัทธสีมา วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ มี พระนพีสิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมา หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ซึ่งเคยเป็นสหธรรมิกร่วมธุดงค์กัน ก็ได้ญัตติเป็นธรรายุตเหมือนกัน

ในระหว่างที่จาริกแสวงหาวิเวกอยู่ทางภาคเหนือนั้น ท่านได้พบกับหลวงปู่ขาว อนาลโย และได้แยกย้ายกันจำพรรษาตามป่าเขา ท่านเคยได้แยกเดินทางทุ่งบวกข้าว จนถึงป่าเมี่ยงขุนปั๋ง พอออกพรรษา หลวงปู่มั่น พระอาจารย์พร สุมโน ได้มาสมทบที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง ขณะนั้น พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ มาร่วมสมทบอีก เมื่อทุกท่านได้รับโอวาทจากหลวงปู่มั่นแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันไป หลวงปู่แหวนพร้อมหลวงปู่ขาว พระอาจารย์พร ไปที่ดอนมะโน หรือ ดอยน้ำมัว ส่วนหลวงปู่มั่นอยู่ที่กุฏิชั่วคราวที่ชาวบ้านสร้างถวายที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋งนั่นเอง

ภายหลังหลวงปู่มั่น เดินทางกลับอีสานแล้ว หลวงปู่แหวนยังคงจาริกแสวงวิเวกบำเพ็ญธรรมอยู่ป่าเมี่ยงแม่สาย หลวงปู่เล่าว่า อากาศทางภาคเหนือถูกแก่ธาตุขันธ์ดี ฉันอาหารได้มาก ไม่มีอาการอึดอัด ง่วงซึม เวลาภาวนาจิตก็รวมลงสู่ฐานสมาธิได้เร็ว นับว่าเป็นสัปปายะ
ประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะที่หลวงปู่แหวนปฏิบัติธรรมอยู่ที่เชียงใหม่ ได้ทราบข่าวว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ประสบอุบัติเหตุขณะขึ้นธรรมาสน์เพื่อแสดงธรรมถึงขาหักจึงเดินทางจากเชียงใหม่มากรุงเทพฯ และแวะกราบเรียนให้หลวงปู่มั่นทราบที่อุตรดิตถ์ แล้วเดินทางโดยรถไฟถึงโกรกพระ นครสวรรค์ ลงเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงวัดคุ้งสำเภา พักค้างคืนหนึ่ง แล้วลงเรือล่องมาถึงกรุงเทพฯ เฝ้าพยาบาลท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ นานหนึ่งเดือน จึงกราบลาไปจำพรรษาที่เชียงใหม่

ปี พ.ศ.๒๔๙๘ ท่านจำพรรษาที่ วัดบ้านปง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เกิดอาพาธแผลที่ขาอักเสบทรมานมาก ท่านจำพรรษาอยู่รูปเดียว ชาวบ้านไม่เอาใจใส่ได้ ท่านพระอาจารย์หนู สุจิตฺโต วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พาหมอมาจี้ มาทำการผ่าตัดโดยไม่ต้องฉีดยาชา ใช้มีดผ่าตัดเพียงเล่มเดียว ท่านมีความอดทนให้กระทำจนสำเร็จและหายได้ในที่สุด

อีกหลายปีต่อมา พระอาจารย์หนูเห็นว่า หลวงปู่แหวน แก่มากแล้ว ไม่มีผู้อุปัฏฐาก จึงได้ชักชวนญาติโยมไปนิมนต์ให้ ท่านมาจำพรรษาที่ วัดดอยแม่ปั๋ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ ในฐานะพระผู้เฒ่าทำหน้าที่ปฏิบัติธรรมอย่างเดียวไม่ต้องเกี่ยงข้องกับภาระหน้าที่อื่นใด และท่านก็ได้ตั้งสัจจะว่า จะไม่รับนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ไม่ลงเรือ แม้ที่สุดจะเกิดอาพาธหนักเพียงใด ก็จะไม่ยอมเข้านอนโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ได้ นับตั้งแต่ท่านขึ้นไปภาคเหนือแล้ว ท่านก็ไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นอีกเลย ท่านเคยอยู่บนดอยสูงกับชาวเขาเกือบทุกเผ่า อยู่ในป่าเขาภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ส่วนภาคเหนือตอนล่าง เช่น แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ท่านเคยจาริกไปครั้งคราว จึงนับได้ว่า วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นสถานที่ซึ่ง หลวงปู่อยู่จำพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ จวบจนมรณภาพ

หลวงปู่แหวน มีโรคประจำตัวคือ เป็นแผลเรื้อรังที่ก้นกบยาวประมาณ ๑ ซม. มีอาการคัน ถ้าอักเสบก็จะเจ็บปวดมาก และอีกโรคหนึ่งคือ เป็นต้อกระจกนัยน์ตาด้านซ้าย เป็นต้อหินนัยน์ตาด้านขวา หมอได้เข้าไปรักษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งรักษาแล้วสุขภาพก็ยังแข็งแรงตามวัย แต่ต่อมาปีพ.ศ.๒๕๑๙ ร่างกายเริ่มซูบผอม อ่อนเพลีย ฉันอาหารได้น้อย ขาทั้ง ๒ เป็นตะคริวบ่อย ต่อมา ๒๕๒๐ สุขภาพทรุด ค่อนข้างซูบเหนื่อยอ่อน เวียนศีรษะถึงกับเซล้มลง และประสบอุบัติเหตุขณะครองผ้าจีวรในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งเป็นวันที่ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมา ส่งผลให้เจ็บบั้นเอวและกระดูดสันหลัง ลุกไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่ รักษาอยู่เดือนหนึ่ง ก็หายเป็นปกติ แต่เนื่องจากหลวงปู่อายุมากแล้ว จึงมีอาการอาพาธมาโดยตลอด คณะแพทย์ก็คอยให้การรักษาด้วยดีเช่นกัน จนกระทั่งใน วันอังคารที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๘ เวลา ๒๑.๕๓ น. การหายใจครั้งสุดท้ายก็มาถึง หลวงปู่แหวน ท่านได้ละร่างอันเป็นขันธวิบากไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๕ เดือน ๑๗ วัน พรรษา ๕๘



ขอบพระคุณข้อมูลจาก FB : ท่องถิ่นธรรมพระกรรมฐาน พี่เอ ครับผม และ http://www.kammatan.com
134  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เมื่อ: มิถุนายน 25, 2016, 09:09:41 AM
วิญญาณขันธ์
วิญญาณตัวนี้เป็นวิญญาณในขันธ์ห้า วิญญาณมีสองอย่าง คือ วิญญาณในขันธ์ห้า และปฏิสนธิวิญญาณ
ปฏิสนธิวิญญาณ คือ วิญญาณตัวมาเกิดเป็นคนทีแรก
ส่วนวิญญาณใน ขันธ์ห้า หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นเบื้องต้นของผัสสะแล้วก็หายไป
เช่น ตาเห็นรูป ตัว ผู้รู้ นั้นเรียกว่า วิญญาณ ต่อจากนั้นตัว สัญญา ก็เข้ามาแทน มาจำได้ว่าเป็นรูปนั่นรูปนี่แล้ว
สัญญา ก็ดับไป สังขาร ก็เข้ามาปรุงแต่งคิดนึกต่อไป อันความรู้ว่าเป็นรูปทีแรกนั่นเรียกว่า วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ห้า
วิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้า ก็ดี ปฏิสนธิวิญญาณ ก็ดี เป็นตัวเดียวกันนั่นแหละไม่ใช่ตัวอื่นไกล
มันเป็นตัวใจตัวเดียวนั่นแหละ แต่มันทำหน้าที่ต่างกัน
ถ้าทำหน้าที่เป็นผู้รับรู้ของผัสสะในอายตนะ ทั้งหก เรียกว่า วิญญาณขันธ์
ปฏิสนธิวิญญาณ คือ วิญญาณตัวนำให้มาเกิด ถ้าไม่มีวิญญาณตัวนี้ก็ไม่มาเกิด มันรวมเอา อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม
รวมอยู่หมดในตัววิญญาณนั้น ความจริงแล้ว อวิชชาก็ตัวใจนั้นแหละ ตัณหาก็ตัวใจนั่นแหละ อุปาทานก็ตัวใจนั่นแหละ
กรรมก็ตัวใจนั้นแหละ คำว่า มันมารวมอยู่ที่เดียวเป็นแต่คำพูดเฉย ๆ แท้ที่จริงแล้วมันไม่ได้เรียกมารวมกัน
ธรรมทั้งสี่อย่างนี้มัน หากทำหน้าที่ของสัตว์ผู้จะเกิดต่างหาก
ผู้จะมาเกิดต้องมีธรรมสี่อย่างนี้สมบูรณ์จึงจะเกิดได้
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
135  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เมื่อ: มิถุนายน 25, 2016, 09:07:43 AM
ธาตุทั้งสี่นี้เมื่อยังมีอยู่ภายในกายของเรา และคนเรายังสมมุติอยู่ตราบใด ก็จำเป็นต้องอาศัย ธาตุสี่ภายนอกกายอันนี้ มาสนับสนุนจึงจะอยู่ได้ ถ้าไม่มีธาตุสี่ของภายนอก มาสนับสนุนแล้ว ก็จะอยู่ ไม่ได้ ต้องตาย อย่างน้อยก็อยู่ทนทุกข์ทรมาน
ดังจะเห็นได้ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงธาตุปัจจเวกขณะ ให้พิจารณาปัจจัยทั้งสี่ให้เห็น เป็นแต่สักว่าธาตุ ไม่ใช่สัตว์บุคคลอะไรทั้งหมด คือผ้าผ่อนเครื่องนุ่งห่มปกปิดร่างกายอันนี้ก็ปกปิด ธาตุสี่ เพื่อปกป้องธาตุสี่ภายใน กันเย็น ร้อน หนาวเย็น และสัตว์ร้ายต่าง ๆ มี ริ้น เหลือบ ยุง เป็นต้น แล้วก็เก่า ชำรุด เปื่อย เน่าไปเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ของเก่า อาหารการบริโภคทุกประการ เป็นต้นว่า ข้าว ขนม หมากไม้ ผลไม้และผักต่าง ๆ ที่เราบริโภค เข้าไปนี้ ก็เกิดจากธาตุ มิใช่สัตว์บุคคลเราเขา ของเหล่านี้หาชีวิตจิตใจมิได้
เป็นแต่เอาธาตุภายนอก มาพอกธาตุภายใน หรือฉาบ ทา หรือยาสิ่งที่ธาตุภายใน ขาดตกบกพร่องไว้เท่านั้น
ที่อยู่อาศัยเสนาสนะทั้งปวงเป็นต้นว่า บ้าน ตึก เรือนสองชั้น สามชั้น ทำด้วยอิฐและด้วยไม้ มุง ด้วยกระเบื้องดินเผาหรือซีเมนต์ หรือด้วยแฝกหรือจาก ล้วนแล้วแต่เกิดจากธาตุดิน คนมาประดิษฐ์ คิดปรุงแต่งให้เป็นเสนาสนะที่อยู่อาศัยขึ้นมา ของเหล่านี้ก็เป็นแต่สักว่าธาตุสี่ มิใช่สัตว์บุคคลตัวตน เราเขาอะไร ไม่มีชีวิตจิตใจอะไร มนุษย์ปรุงแต่งให้เป็นที่อยู่อาศัย ของธาตุภายใน (คือคนเรา) ให้อยู่ได้ ชั่วคราวตลอดอายุของธาตุภายนอกและธาตุภายในเท่านั้น
หยูกยาเภสัชสำหรับแก้ไข้ต่าง ๆ อันจะพึงเกิดมีแก่ร่างกายอันนี้ ร่างกายอันนี้ (คือธาตุสี่) ภาย ในวิกาล วิปริต แปรปรวนไม่ปกติ ซึ่งเกิดจากธาตุอันใดอันหนึ่ง ขาดเหลือไม่สม่ำเสมอกันเกิดขึ้น จะต้องใช้ยาภายนอก (คือธาตุภายนอก) มาบำรุงเพิ่มพูนช่วยเหลือ ยานี้ก็เป็นสักแต่ว่าธาตุสี่ (คือ เกิด จากธาตุสี่) มิใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาอะไรทั้งสิ้น เมื่อธาตุสี่ภายใน ขาดเหลือ สิ่งใดบางอย่าง ก็จำเป็น จะต้องอาศัยภายนอก (คือธาตุสี่) บำบัดช่วยเหลือ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 242