KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน => คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม => ข้อความที่เริ่มโดย: golfreeze ที่ กันยายน 09, 2010, 05:11:39 PM



หัวข้อ: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 09, 2010, 05:11:39 PM
สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร


แปลว่า มี  รสเสมอกัน รสนิยม หรือ แปลตรงๆ ก็คือ การ มี พฤติกรรม ทางความคิด และ ทางกาย ไปในทางเดียวกัน ครับ
รส ที่ เสมอ กัน มี 4 อย่าง ครับ ตาม คำโบราณ ว่าใว้ ใครจะเข้าพิธีสมรส หรือ จดทะเบียนสมรส ต้อง ดู และ พิจารณาให้ ดี
ตาม คำโบราณ สอน ใว้ แล ว่า 4 ข้อ นื้ ถูกต้อง ตรง ตามกันหรือเสมอกัน ไหม ถ้าเสมอกัน ก็ สมรสได้เลย ชีวิต มีความสุข
ราบรื่น แน่นอน แต่ถ้า ไม่เสมอ กัน อย่า พึ่งแต่ง คุยกัน ตกลงกันก่อน แต่อย่า ลืม พฤติกรรม แต่ละคน มีมาแต่เล็กแต่น้อย

การ จะเปลื่ยนแปลง เพื่อ คนอื่น ( อย่าง ถาวร) นั้น ยากนัก โปรดพิจารณา

1.มี ศรัทธา เสมอ กัน หรือความเชื่อ เสมอกัน
เช่นการนับถือศาสนา........การนับถือ สิ่งสิ่งต่างๆ ที่ ต่างกัน........สิ่งที่เราไม่ชอบ ตั้งอยู่เต็มบ้าน .....ไหวไหม ครับสามี นับถือ พุทธ เมีย นับถือ อิสลาม........หรือ สามี ชอบไหว้พระที่บ้าน
อยากอยู่ด้วยกันตลอด เมีย ชอบไปเข้าปฎิบัติธรรมที่ สำนักสงฆ์.งี้........ถ้า มีศัทธาไปในทางเดียวกัน.หรือ ไกล้กัน...จะดีกว่าไหม ครับ

2. มีศีล เสมอกัน
เช่น สามี ชอบกินเหล้า เล่นการพนัน เมีย ถือศีลกินเจ สวดมนต์ สามีมอง เรื่อง การมีกิ๊ก เป็นเรื่อง ปรกติ เมีย มองเป็นเรื่องผิดศีล อย่างนื้เป็นต้น แต่ถ้า สามี ชอบ กินเหล้า เมีย ชอบ เล่น ไพ่ อย่าง นื้ น่า จะได้ นะ 55555555

3. มี จาคะ เสมอ กัน คือ มีเมตตาเสมอกัน เช่น สามี ใจดี ใจบุณ โอบอ้อม อารี ให้ ทานไปทั่ว แต่ เมีย ขี้เหนียว ไม่ชอบ ให้ทาน เค็มยิ่งกว่าทะเล ทำทุกอย่าง ต้องมีค่าตอบแทนหมด เห็นไรเป็นธุรกิจไปหมด ก็ เอวัง หรือ เมีย ชอบ ให้ทาน บริจาค หรือ ชอบช่วยเหลือ คน ให้เงินเพื่อน ยืม อยู่เรื่อย สามี จะเอาดอกเบื้ย ไม่ชอบขี้หน้าเพื่อนเมีย เป็นต้น อื่นๆ อีกมากมายๆๆๆๆมากมาย 555

4. มี ปัญญา เสมอ กัน หรือ ไกล้เคียงกัน  คือทั้ง 2 คน มี สติปัญญา หรือความรู้ หรือ วิสัยทัศน์ ที่ไกล้เคียงกันจึงจะดี
ไม่ใช่ สามี อ่าน หนังสือพิมมิ์ ธุรกิจ เมีย อ่าน โลกดารา งื้
สามี ดู CNN เมีย ดูระคร น้ำเน่า งี้สามี เป็นผู้ อำนวยการ เมีย เป็น เสมียน เอวัง

ทั้ง 4 ข้อ คำโบราณ สอน ใว้ ดีมาก ครับ
เสริมครับ  ข้อควรระวัง ที่สุดก่อนตัดสินใจ

1. อย่า ตัดสิน ลำเอียง เข้าข้าง ตัวเอง
2. อย่า ตัดสิน เพราะ คำว่า รัก………หน้ามืด ( ตาบอดไปชั่ววูบ )
3. อย่า ตัดสิน เพราะ คำว่า เสียตัวแล้ว....เลยตามเลย……….
4. อย่าตัดสินเพราะคนอื่นเห็นด้วย....สนับสนุน….อย่าถามใคร
5. อย่าตัดสิน เพราะ มัน รวย..........ถ้า รวย ความรู้ ...จะดีกว่า
6. อย่า ตัดสิน เพราะ เขารับปากว่า จะปรับปรุง เปลื่ยนแปลง เพื่อ คุณ.........หรือ ....ขอเวลา
7. อย่าตัดสิน เพียงเพราะว่า เป็นรถไฟขบวนสุดท้าย ไงๆ ก็ เกาะไปก่อนละกัน ( อย่าลืมว่า รถไฟหยุดวิ่ง เราก็ไป รถ บัส แทนก็ได้ หรือ ไม่ ก็ ไม่ต้องไปก็ได้ จะเป็นไรไป.....หึๆๆ )
8. อย่าตัดสินเพียงเพราะว่า ต้องการกำลังใจ อบอุ่น เป็นที่พึ่ง ( อย่าลืมว่า เขาก็คิดอย่างเราแหละ ....ต่างคนต่าง ต้องการจะเอา......ไม่มีคนให้ แล้ว จะเอาจากไหนละครับ....)
9. สืบเนื่องจาก ข้อ 8 . ผมขอแนะนำว่า.......คุญ มีอยู่แล้ว ทุกคน อยู่ ในตัวของคุญเอง หากคุญ พลัก ความอ่อนแอออกไป อยู่กับจิตตน.คุญจะเห็น พลัง ในตัวคุณอย่างล้นหลาม ครับ


เพราะคุณ ต้อง อยู่ด้วยกัน เป็นแสนๆ ชั่วโมงใช่ไหมครับหาก เกิดประโยชน์ กับ ชีวิตคนอื่น
ขอส่วนบุณนื้ จง สำเร็จ แก่ เทวดาที่ รักษาตัวข้าพเจ้า
และ เจ้ากรรม นายเวรของข้าพเจ้า รวมทั้ง พ่อ แม่ ของข้าพเจ้าในทุกๆครั้ง



ขอบคุณข้อมูลจาก :
นาย จิโรจ ขุนเดชมาก....09-09-2010   :)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 28, 2010, 08:05:48 AM

ใครยังไม่แต่งงานคิดหนักเลยครับเนี่ย...

อาจมีไม่เสมอกันหมดหรอกครับผมว่า เพราะพื้นฐานและบุญกรรมต่างกัน เอาแค่ใกล้เคียงก็ยากเย็นอยู่ไม่น้อยนะผมว่า

จะลุยเอาเอง (ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน) หรือจะให้เป็น

บุพเพสันนิวาส(สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม) ....?



อยู่ที่คุณแล้วครับ...

แต่สำหรับผม...กว่า 140,000 ชั่วโมงแล้ว  นานเป็นแสนชั่วโมงจริงๆแฮะ  ;)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 30, 2010, 08:55:05 PM
มันเป็นอย่างนี้ว่า

ถ้าศีล ปัญญาไม่เท่ากัน มันจบเร็วกว่าคนที่ใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน ....ง่ะ

รางวัลที่ 1 มีแค่หนึ่งเดียว และ ปัจจุบันนี้ รางวัลที่1 ก็ยังไม่มีอีกด้วย

แล้วจะไปหาได้ที่ไหน.. ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 30, 2010, 11:48:50 PM
ผมก็คิดว่างั้นแหละครับ...

แต่เอ..รางวัลที่ ๑ มีรางวัลเดียว แต่มันมีได้หลายใบนี่ครับ...?

จะหา (ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน)หรือ จะรอเล่าครับ ( บุพเพสันนิวาส,สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม)

แล้วแต่ท่านแล้วครับ...

อ่อ...แล้วบังเอิญมีเสมอกันหลายคนเล่าครับ...เห็นบางคนสมรสหลายรอบ โดยที่ยังไม่ได้หย่ากับคนเก่าเลย...เหมือนจดทะเบียนซ้อน

จะโดนผิดศีลข้อ ๓ และ ๔ ด้วยหรือเปล่านะนี่

ต้องเอาศีลข้อ ๓ และ ๔ มาวิเคราะห์ประเด็นนี้กัน แล้วคล้ายๆกับกระทู้

หญิงจะมี 5 ผัว 10 ผัวก็ไม่บาป ถ้าผัวหลวงอนุญาตของคุณลุง phonsak ขออ้างอิงนิดนึงครับ

 :)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 01, 2010, 12:03:40 AM
เรื่องปลายปี 2555 ที่ว่าโลกจะเกิดภัย ท่านว่าอย่างไร

ที่สัมผัส มา มันมีคนรอดประมาณ ร้อยละ 30  ..

(คุณลุงท่าจะเป็นประเภท ผู้รู้มากเกิน 100 นั่นแหละ

และก็ การมีคู่ก็เป็นห่วงผูกข้อมือ ...ไม่อย่างนั้นเจ้าชายสิทธัตถะไม่เสด็จปลีกวิเวก..ร็อก)   ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 01, 2010, 03:54:06 PM
มีหลายกระแสครับ ผมก็ฟังๆมานานแล้ว แถมเอาวิทยาศาสตร์มาอธิบายให้ดูตื่นตาตืื่นใจไปอีก เป็นต้นว่าน้ำจะท่วมโลก เมือ่โลกไม่ บาล๊านโลกก็จะค่อยๆเอียง และโลกจะกลับขั้วจากขั้วโลกเหนือไปเป็นขั้วโลกใต้ ภายใน ๑ เดือนครึ่ง และระหว่างนี้คนจะประสบอุทกภัยและภัยจากธรรมชาติ จนตายไปเกือบหมด ยกเว้นพวกที่มีบุญ มีศีลธรรม อะไรประมาณนี้แหละครับ

อีกอย่างหนึ่ง สงครามโลก
เรื่องสงครามโลกครั้งที่ ๓ นี่ ในความหมายคือมันจะวอดวายแทบทั้งโลกเพราะนิวเคลียร์พัฒนาระดับการทำลายล้างสูงกว่าที่ ฮิโรชิมาและนางาซากิหลายร้อยเท่าแล้ว
ต่างคนต่างก็มีไม่ใช่น้อย คุณยิงผมก็ยิงและไม่ต้องบินไปบอมบ์ ขีปนาวุธพิสัยไกลเล่นกันข้ามทวีปเลย
จะพอเหลือรอดกันมั๊ยล่ะครับมนุษยชาติ...............!

สงครามโลกครั้งที่ ๔ จึงเรียกคนสมัยอนาคตว่าเริ่มเข้าสู่ยุคหินอีกครั้ง....วนเวียนอยู่อย่างนี้แหละครับ พอวัฒนธรรมหายสาปสูญไป
คนรุ่นต่อมาก็ได้แค่อึ้งและทึ่ง และว่า คนสมัยโบราณเก่งจังไม่ธรรมดา เราก็คิดว่าวิวัฒนาการสูงส่งแล้วนะนี่ ยังคิดไม่ออกว่าคนโบราณเค้าคิดกันได้อย่างไร


"สงครามโลกครั้งที่ ๔ คนจะรบกันด้วย ก้อนหินและท่อนไม้" (กลับเข้าสู่ยุคหินอีกครั้ง)อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์


ก็อย่าตื่นตระหนกกันไปมากนักนะครับ...


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 02, 2010, 03:00:34 AM
เอ้  .. ก็ท่านเป็นผู้ตรวจงาน รับงาน ไม่ใช่เหรอ

แล้วทำไม  ไม่รู้ละ...

..;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 02, 2010, 07:09:47 PM
คงไม่เหมาะกับผมมั้งครับ ผมไม่ค่อยชอบ...

คนตายกันเยอะเกรงว่าจะทำงานไม่ทันหรือรับมือไม่ไหวหรือครับ...ลองประกาศรับสมครดูครับเผื่อมีคนชอบ...แต่คงไม่ใช่ผมแน่ๆครับ  :)

แต่ถ้าให้ผมทำผมไม่อยากเห็นใครรับทุกข์ทรมาน ผมคนขี้สงสารนะครับ...(แมลงตัวเล็กๆที่ติดอยู่ในโถฉี่ ผมจะใช้ทิชชูเล็กๆไปซับมันออกมาเพราะถ้าใช้นิ้วมันใหญ่เกินไปไปจับมันตายแน่เพราะมันตัวเล็กนิ๊ดด..เดียว...แล้วเอาไปปล่อยก่อนที่จะฉี่และกดน้ำไม่งั้นมันจมน้ำหายและตายไปต่อหน้าต่อตาแน่...แม้ไม่เจตนาก็เถอะ)

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วถ้าผมมีอำนาจ ผมก็สั่งปิดนรก และให้อภัยโทษพวกที่อยู่ก่อนทั้งหมด...ไล่ไปอยู่สวรรค์ให้หมด

มันจะยุ่งเอานาครับ... :)  :D  ;)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 02, 2010, 10:49:42 PM
*กำลังบุญ และกำลังบาป

ล้วนมีระดับ

ตามกำลังของศีลที่มีในสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ที่เราไปสัมผัส

ตย.เช่น ทำบุญกับเดรัจฉาน 100 ตัว ไม่เท่าทำบุญกับ อสุรกาย 1 ตน?

หรือ  ทำบาปกับ เดรัจฉาน 100 ตัว เท่ากับทำบาปกับ อสุรกาย 1 ตน

และการ ทำบุญสารพัดบุญ ก็สู้ปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน บ่ ได้ (การพยายามรู้ทุกข์ ต่อด้วยการละกิเลส ออโต้.. ตามด้วย พ้นทุกข์ทันที

5..5..5)

เขียนมาคล้ายๆวกวน หรือเปล่า

คือจาก
1.ทุกข์
2.สมุทัย
3.นิโรธ

นั้น เราต้องได้มาจาก การทำตาม ข้อ 4 มรรค 8...ง่ะ...แล้วผ่านไปรู้ทุกข์ ข้อ1 ไป2 ไป 3*

**มีเรื่องที่ว่า พระรูปหนึ่งหมดบุญ พระอาจารย์รู้ จึงบอกให้กลับบ้านไปหาพ่อแม่ ระหว่างทางกลับบ้านพระรูปนี้ ที่ว่าหมดบุญ(แต่ไม่รู้ตัว) ระหว่างเดินทางกลับบ้าน ก็ได้บังเอิญไปพบ แอ่งน้ำที่มีลูกปลา ตกคลั่กอยู่ในแอ่งน้ำที่กำลังจะแห้ง ด้วยความเมตตาจึง ช้อนไปใส่บ่อใหญ่ และเดินทางไปบ้าน และเดิน ทางกลับวัด พระอาจารย์สงสัยว่าทำไมไม่ตาย จึงไต่ถามทราบความ ที่ท่านได้สร้างบุญกับเหล่าปลานั้นๆ

สรุปว่า อย่า ไปดูถูกบุญเล็กๆ ..หรือบาปเล็กๆ เน้อ***


***เอ กรณีท่านอวตาร นี่ ..จะรายงานเพื่อให้ทราบ หรือ.. ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 02, 2010, 10:52:53 PM
*อ้อ ถ้าจะสังปิดนรก ท่านต้องไปแสดงธรรมให้พวกเขายกระดับจิตได้ก่อน

 ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีทาง

ก็สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

อยากได้ แต่อาจไม่ได้อย่างอยาก ถ้า..เท่ไมพอ ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 02, 2010, 10:57:52 PM
*เรา ล้วนมีเวลา เพียงชั่วขณะจิตเดียว

มิใช่นับ หลาย ชั่วโมง ตามที่ท่านกอลฟรีซซ เอ่ยอ้าง 5 5 5

ที่ว่าเป็นเวลาต้องผจญภัย กะ คู่  สมรส นับแสนชม.เนอะ   ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 02, 2010, 11:27:11 PM
อ่านเรื่องการทำบุญ ซักนิดมั๊ยครับจะได้พอเรียงลำดับและมองเห็นภาพ...


วิธีสร้างบุญบารมี พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่ 19

๑.ทาน ๒.ศีล ๓.ภาวนา

๑.ทาน
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้คือ
1.        ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์ และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี
2.        ให้ทานแก่มนุษย์ไม่มีศีลไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 5 แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
3.        ให้ทานแก่ผู้มีศีล 5 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 8 แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
4.        ให้ทานแก่ผู้มีศีล 8 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานกังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 10 คือสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
5.        ถวายทานแก่สามเณรซี่งมีศีล 10 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีปาติโมกข์สังวร 227 ข้อ

พระด้วยกัน ก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา มีศีลปาติโมกข์สังวร 227 ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น ?พระ? แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า ?สมมุติสงฆ์?  พระที่แท้จริงนั้นหมายถึง บุคคลที่บรรลุคุณธรรม ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวช หรือเป็นฆารวาสก็ตาม นับว่าเป็น ?พระ? ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้องไปหามากดังนี้คือ  พระโสดาบัน      พระสกิทาคามี       พระอนาคามี     พระอรหันต์    พระปัจเจกพุทธเจ้า  และสมเด็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

6.        ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็น พระโสดาบันปัตติมรรค และพระโสดาบันปติผลฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อ พอให้ได้ความเท่านั้น)
7.        ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
8.        ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
9.        ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
10.        ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
11.        ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
12.        ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
13.        การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณประโยชน์ ที่ประชาชนจะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลา ป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสานเมรุเผาศพ ก็ได้บุญมาก ในทำนองเดียวกัน
14.        การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง (100 หลัง) ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การให้ ?ธรรมทาน? แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทาน ก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะ แก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจใน มรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึง การพิมพ์แจกหนังสือธรรมะ
15.        การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ ?อภัยทาน? แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่น แม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน
 
ยังมีอีกเป็นลำดับต่อไปครับท่านพี่ ค่อยๆดูไปครับ


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 02, 2010, 11:28:44 PM
ข้อมูล เป๊ะ เล้ลย   

 ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 02, 2010, 11:31:09 PM
ที่ท่านอวตารบอกมา ยังเป็นเพียงเรื่องทาน นะ

ยังต่อด้วย ศีล

และสุดท้ายคือภาวนา ใช่หรือเป่า ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 02, 2010, 11:37:19 PM
ยังไม่จบครับท่านพี่...

แล้วช่วยแมลงตัวกระจิ๊ดริดในโถฉี่นี่คงได้บุญน้อยซิครับ...เพราะมันตัวเล็ก ไม่มีใครสนใจมัน...แล้วคนไปฉี่ใครจะไปช่วยมั๊น...แถมเล็งฉี่ให้โดนมันตกลงไปในช่องระบายอีก...ใครจะใช้ทิชชู ไปชุบชีวิตมันขึ้นมาจากโถฉี่ล่ะครับ...

สำหรับผมเล็กหรือใหญ่ไม่สำคัญ...สำคัญอยู่ว่ามันมีชีวิตหรือเปล่า...!!!!

อย่าดูถูกแม้ชีวิตที่เล็กน้อย หรือ ดูต่ำต้อย... :)

จะดูต่อข้อ ๒.ศีล หรือครับ..? อ๊ะ...จัดไป...


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 02, 2010, 11:41:20 PM
เมื่อวันอังคาร28 /10/53 เสียท่า มารไปแล้ว

ปะทะคารมกับ มารนอกเพราะ มารในมันกร่าง  ..  ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 02, 2010, 11:45:53 PM
ท่านพี่โปรดอธิบายมารนอกและมารใน เดี๋ยวจะตีความหมายไม่ตรงกัน...

แล้วนี่มันแค่ เดือน ๙ ใยหยั่งรู้อนาคตซะแล้ว  :)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 02, 2010, 11:56:24 PM
5 5 ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 02, 2010, 11:58:23 PM
มารนอก เป็นรูป นาม ของรูปหนึ่ง(อายตนะนอก)

ส่วนมารใน คือรูป นามของที่จิตนี้ อาศัยอยู่(อายตนะใน) ;D



หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 03, 2010, 12:01:23 AM
แถวนี้ มีใคร มีศักยภาพ เรื่องการจัดทีมป.ธรรม

และจัดการ รองรับ ทีมอื่นๆ ที่จะมาป.ธรรมได้บ้าง 

ตอนนี้รู้สึกว่า พลังสามัคคีน้อยจัง

เหนื่อย มีแต่งาน แต่หาคนทำงานน้อยจัง ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 03, 2010, 12:16:55 AM
ไปท้าทายกับใครเข้าอีกล่ะนี่ท่านพี่...เฮ้อ..

คนรู้ไม่อยากจะพูด...คนที่อยากพูดมักจะไม่รู้

เข้าใจแล้วแหละครับ... :) ก็คิดว่าประมาณนี้แต่...

ทุกอย่างเป็นไปตามวาระนะครับ...ถึงบอกว่าทำได้เท่าที่ทำไปก่อนครับ...ไม่ต้องห่วงหรือกังวลมากนัก...

ทุกอย่างมันจะดำเนินไป...ตามทางของมันอย่างเรียบร้อยครับ....ไม่ต้องวิตกมากนัก....!!!



หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 03, 2010, 12:19:23 AM

วิธีสร้างบุญบารมี พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่ 19
ข้อ ๒.ศีล...ต่อจากกระทู้ 11

2.        การรักษาศีล  
ศีล นั้นแปลว่า ?ปกติ? คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศสและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ คือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และ ศีล 227  และในบรรดาศีลชนิดเดียว ก็ยังจัดแยกออกเป็น ระดับธรรมดามัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฎ์)  
คำว่า ?มนุษย์? นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไป ก็คือ ศีล 5 บุคคลที่ไม่มีศีล 5 ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า ?คน? ซึ่งแปลว่า ?ยุ่ง? ในสมัยพุทธกาล ผู้คนมักจะมีศีล 5 ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล 5 จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น ?มนุษย์ธรรม? ส่วนหนึ่งในมนุษย์ธรรม 10 ประการ  
ผู้ที่จะมีวาสนาได้เกิดมาเป็นมนุษย์ จะต้องถึงพร้อมด้วยมนุษย์ธรรม 10 ประการเป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล 5 ด้วย) รายละเอียดจะมีประการใด จะไม่กล่าวถึงในที่นี้    
การรักษาศีล เป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา  อันเป็นเพียงกิเลสหยาบ มิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมี ที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลด้วยกันเอง ก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้ คือ

1.        การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล 5 แม้จะได้ถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม
2.        การถือศีล 5 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล 8 แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม
3.        การถือศีล 8 แม้จะมากถึง 100  ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล 10 คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชได้แต่เพียงวันเดียวก็ตาม
4.        การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา  แล้วรักษาศีล 10 ไม่ให้ขาด  ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง 100 ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพุทธศาสนา มีศีลปาติโมกข์สังวร 227 แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

ฉะนั้น  ในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็น เนกขัมมบารมี ในบารมี 10  ซึ่งเป็นการออกจากกาม เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติธรรมชั้นสูงๆ ก็คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อ ๆ ไป ผลชองการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่คนผู้นั้น ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้ว ย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก 6 ชั้น ซึ่งแล้วแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและบำเพ็ญมา    
ครั้นเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็ก ๆน้อย ๆ หากไม่มีอกุศลกรรมอื่นมาให้ผล  ก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ที่ถึงพร้อมด้วยสมบัติ 4 ประการ คืออายุ วรรณะ ความสุข พลัง

อานิสงส์ของการรักษาศีล 5 ข้อ คือ1.        ผู้ที่รักษาศีลข้อ1 ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะทำให้มีพลานามัยแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ มาเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ หรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันสมควร
2.        ผู้ที่รักษาศีลข้อ 2 ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้ามิได้เต็มใจให้ ด้วยเศษของบุญที่นำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้า มักจะประสบช่องทางที่ดีทำมาค้าขึ้น และมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่าง ๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ
3.        ผู้ที่รักษาศีลข้อ 3 ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครอง หรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มันได้พบรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะๆ ครั้งเมื่อมีบุตรธิดา ก็ว่านอนสอนง่ายไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นหลอกลวงฉุดคร่าอนาจาร ไปทำให้เสียหาย บุตรธิดา ย่อมเป็นอภิชาติบุตร ซึงจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล
4.        ผู้ที่รักษาศีลข้อ 4 ด้วยการไม่กล่าวมุสา  ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผล ชนิดที่เป็น ?พุทธวาจา? มีโวหาร ปฎิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้เชื่อฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี
5.        ผู้ที่รักษาศีลข้อ5 ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องหมักดองของมึนเมา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉานและทรงจำง่าย ไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสียสติ วิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อน หรือปัญญานิ่ม

อานิสงส์ของศีล 5 มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล 8 ศีล 10 และ ศีล 227 ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่ง ๆขึ้น ตามลำดับและประเภทที่รักษา  แต่ศีลนั้นแม้จะมีอานิสงส์เพียงไร ก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในขั้นกลาง ๆ ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาเท่านั้น ส่วนในทางจิตใจนั้น  ศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุม หรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้   ฉะนั้น  การรักษาศีล จึงยังได้บุญน้อยกว่าการ ?ภาวนา?
เพราะการภาวนานั้นเป็นการรักษาใจ  รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบาง หรือจนหมดกิเลส คือความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า  ?มหัคคตกรรม? อันเป็น ?มหัคคตกุศล?


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 03, 2010, 12:23:48 AM
*มี คนๆหนึ่ง นะท่าน
พลังจิต เหลือรับประทาน

ขนาดเรากำลัง ทำงาน อยู่ ฟุบหลับไปเลย ประมาณว่ามีปัญหาแก้ไม่ได้
ขอลากจิต เราไปปรึกษา แต่ตอนนี้ วงแตกไปแล้ว

แล้วก็นั่งสมาธิอยู่ หลับตาห้องมืดๆ ก็ยังมานั่งข้างๆ ได้แนะ

*อ้อ มีอีก ตอนนรี้ไม่กล้าไปขอให้ใครสอนป.ธรรมเพราะ มีครั้งหนึ่ง ให้แม่ชีอายุ 90 สอน พอเดินจงกรมเสร็จ นั่งสมาธิ แม่ชีก็แปลงร่างเป็นเด็กน้อย ลงจากเก้าอี้ มานั่งกราบเลย โม้เป่าเนียะ

บางทีก็ งง งง   ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 03, 2010, 01:23:00 AM
จิตนั้น พิสดารพันลึกสุดจะเอ่ย...

อย่าสนุกกับมันมาก...จนออกจากแก่นนัก...ครับท่านพี่...

เชื่อ... :)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 03, 2010, 01:26:48 AM
เป็นสัญญา เก่า

ขุดมาแจกแจง

มันปีกว่า มาแล้วท่าน

ตอนนี้รอเวลา แล้วแต่  ผู้ใหญ่จะ ดำเนินการ ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 03, 2010, 02:29:45 AM
อย่ารอ...ชะตาและอนาคตตอนนี้อยู่ในมือ...อนาคตเปลี่ยนแปลงและมีทางไปได้อีกเป็นอนันตเส้นทาง...ไม่มีใครรู้...?

อย่ามัวรอ หรือ รีรอ มุ่งไปดังใจหวัง...อยู่ใกล้แค่เอื้อมมือแล้ว  ;)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 03, 2010, 02:36:47 AM
ท่านอวตาร รู้จักหลวงพ่อคง วัดเขาสมโภชน์ ลพบุรีไหม

มีสงฆ์ รูปหนึ่ง หอบผ้าไตรจีวรของหลวงพ่อคง(ท่านมรณภาพแล้ว)มาฝากไว้ ป่านนี้ยังไม่มาเอา มันผ่านไปตั้งแต่ปี 41

แปลกที่ช่วงนั้น พัวพันแต่กลุ่ม พลังจิตสูง แต่ใช้ในทางไม่ค่อยถูก เราก็ยังละอ่อน(ประมาณว่า เขลา..นี่สำนวนเบาแล้วนะ)

สงฆ์รูปที่หอบผ้ามาให้ นัยว่ามีหน้าที่ตามหา...อะไรของเขาไม่รู้ชัด ...แล้วก็บอกว่าทำหน้าที่ตามหาพบแล้ว ก็ฝากผ้าไว้แล้วก็แยกไป

ตอนนี้ยังอยู่ที่ห้องพระ..

ยังหาทีมงานที่พอรู้บ้างไม่เจอเลย ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 03, 2010, 03:05:43 AM
ผมอยู่ลพบุรีปี ๓๑-๓๒ คงไม่รู้อะไรมากหรอกครับ...

ตอนนั้นทำเครื่องกู้ภัย และเครื่องพระที่นั่งอย่างเดียว...ไม่เกี่ยวทางธรรม...!!!

แต่รักษาไว้เถอะครับมีมาฝากไว้...

อุ อิ มีห่วงแล้ว แถมยังไม่รู้ด้วยว่าห่วงแบบไหน...? อุ..อิ..


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 03, 2010, 03:09:04 AM
บางครั้งตัวใน
มันเดาะไปครองจีวร ..โห ;D



หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 04, 2010, 01:08:37 PM
ต่อจากกระทู้ 21

วิธีสร้างบุญบารมี พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่ 19

3.การภาวนา    
การเจริญภาวนานั้นเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา  จัดว่าเป็นแก่นแท้ และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี 2 อย่าง คือ 1. สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ 2..วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ
1.)        สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนานั้นมีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติเป็นแบบอย่างไว้ 40 ประการ เรียกกันว่า ?กรรมฐาน 40? ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมี ที่เคยได้สร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่น ๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาส ก็ต้องรักษาศีล 5 เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณร ก็จะต้องรักษาศีล 10 หากเป็นพระ ก็จะต้องรักษาศีลปาติโมกข์ 227 ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะ ศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น
อานิสงส์ของสมาธินั้น มากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ?แม้ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ รักษาศีล 227 ข้อไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง 100 ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่า ผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบ  นานเพียงชั่ว ไ ก่ ก ร ะ พื อ ปี ก       ช้ า ง ก ร ะ ดิ ก หู     คำว่า ?จิตสงบ? ในที่นี้ หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า ?ขณิกสมาธิ?  คือสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ  สมาธิแบบเด็ก ๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อย แล้วก็รักษาไว้ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นอุปจารสมาธิและฌาน   แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใด จิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้น ขณิกสมาธิ แล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ 1 คือ จาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณาคมน์ มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย  ก็เป็นเทวดาชั้นที่ 2 คือ ดาวดึงส์
                   สมาธินั้นมีหลายขั้นหลายตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก 6 ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับ อัปปนาสมาธิ หรือ ฌานนั้น มีรูปฌาน 4  และอรูปฌาน 4 ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลกรวม 20 ชั้น แต่จะเป็นชั้นใด ย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีต ของกำลังฌานที่ได้  (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส คือชั้นที่ 12 ถึง 16 ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ)   เช่น รูปฌาน 1 ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 1  ถึง ชั้นที่ 3  สุดแล้วแต่ความละเอียดและประณีตของกำลังฌาน1  เป็นต้น  ส่วนอรูปฌานชั้นสูงสุด ที่เรียกว่า  ?เนวสัญญานาสัญญายตนะ? นั้น ส่งผลให้บังเกิดใน พรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ 20 ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง 84,000 มหากัป เรียกกันว่า  นิพพานพรหม คือ นานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิดได้ จนเป็นที่หลงผิดเข้าใจผิดกันว่าเป็นนิพพาน

การทำสมาธิ เป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุดเพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น  การทำทานเสียอีก ยังต้องเสียเงินเสียทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรม ยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้
อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนา หรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้
 


ห้ามไว้บ้างครับ ถ้าครองจีวรแล้วไม่สำรวม...เสียว...(ผิดศีลครับ แล้วไม่มีหมู่สงฆ์ให้ปลงอาบัติอีกเดี๋ยวจะมีงานเข้าโดยไม่รู้ตัว..อิ อิ.. :) )


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 04, 2010, 01:15:29 PM
 

วิธีสร้างบุญบารมี พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่ 19
 
2. วิปัสสนาภาวนา  (การเจริญปัญญา) เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิ จนมีกำลังดีแล้ว เช่น อยู่ในระดับฌานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นฌานระดับใดก็ได้ แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลัง และอยู่ในสภาพที่นิ่มนวลควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้
อารมณ์ของวิปัสสนานั้น  แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะสมาธินั้น มุ่งให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์เดียว โดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น  ไม่นึกไม่คิดอะไร ๆ   แต่  วิปัสสนา   ไม่ใช่การให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดใคร่ครวญ หาเหตุและผล ในสภาวะธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวก็คือ ?ขันธ์5? (ร่างกายเรา) ซึ่งนิยมเรียกวกันว่า  ?รูป-นาม? โดยรูปมี 1 ส่วน นามนั้นมี 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร  และวิญญาณ
ขันธ์5 ดังกล่าว เป็นเพียงอุปทานขันธ์   เพราะแท้จริงแล้วก็เป็นแต่เพียงสังขารธรรม ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง  แต่เพราะอวิชชา คือ ความไม่รู้เท่าทันสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น ด้วยอำนาจอุปาทานว่า เป็นตัวเป็นตนและของตน การเจริญวิปัสสนา  ก็โดยมีจิตพิจารณา จนรู้เแจ้งเห็นจริงว่า สภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์5 นั้น  ล้วนมีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา  โดย??
1.        อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะให้ตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่น คน สัตว์ เมื่อมีอาการเกิดขึ้นแล้ว ก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว และเฒ่าแก่ จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหม และเทวดาฯลฯ
สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อุปทานขันธ์ 5 เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกัน เป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองไม่เห็น เรียกกันว่า เซลล์ แล้วบรรดาเซลลืเหล่านั้น ก็มาประชุมรวมกัน เป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆเหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโต และแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน
2.        ทุกขัง ได้แก่ ?สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  ทุกขัง ในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่า เป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจ ก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของ ทุกขัง  ในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทรงตัวตั้งมั่นทนทานอยู่ในสภาพนั้น ๆ   ได้ตลอดไป แต่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็ก จะให้ทรงสภาพเป็นเด็ก ๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่  จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาว  แล้วก็เฒ่าแก่จนในที่สุดก็ต้องตายไป  แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรม อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัว เช่น ขันธ์ที่เรียกว่า เวทนา อันได้แก่ความสุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีอารมณ์อย่างใดดังกล่าวเกิดขึ้น แล้วจะให้ทรงอารมณ์เช่นนั้นตลอดไป ย่อมเป็นไปไม่ได้ นานไป  อารมณ์เช่นนั้น หรือเวทนาเช่นนั้น ก็ค่อย ๆ จางไป แล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน
3.        อนัตตา  ได้แก่ ?ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน?   ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ?     โดยสรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่งไม่ว่าจะเป็น  ?รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ? ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย  เช่น  รูปขันธ์ ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน  เป็นหน่วยชีวิตเล็ก  ๆ ขึ้นก่อน  เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า ?เซลล์? แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหม่ขึ้นจนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย  ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ 4 มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็ง มีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูกฯลฯ เรียกว่า ธาตุดิน   ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือ น้ำลาย น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ รวมเรียกว่า  ธาตุน้ำ ส่วนสิ่งที่ให้พลังงาน และอุณหภูมืในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น  เรียกว่า  ธาตุไฟ
ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว  ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า ธาตุลม  (โดยธาตุ4 ดังกล่าวนี้ มิได้มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า  ?ธาตุ? อันหมายถึงแร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์)   ธาตุ4 หยาบ ๆ เหล่านี้ ได้มาประชุมรวมกันขึ้น  เป็นรูปกายของคน สัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลายเพียงชั่วคราวเท่านั้น  เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลง แล้วแตกสลาย กลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดิน ก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำ ก็กลับไปสู่น้ำ  ส่วนที่เป็นไฟ ก็กลับไปสู่ไฟ ส่วนที่เป็นลม  ก็กลับไปสู่ความเป็นลม  ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด  จึงไม่อาจจะยึดมั่น ถือมั่นในรูปกายนี้ว่า เป็นตัวเราของเรา ให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้

สมาธิ ย่อมมีกรรมฐาน 40 เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่ง ตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตน ก็ย่อมได้         ส่วน   วิปัสสนานั้น   มีแต่เพียงอย่างเดียว คือมีขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น  ขันธ์5 นั้นไก้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ   ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรม หรือสังขารธรรม อันเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้  และไม่ใช่ตัวตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น  เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผล ในสังขารธรรมทั้งหลาย  จนรู้แจ้ง เป็นจริงว่า เป็นพระไตรลักษณ์  คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา  และเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า  เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา  เรียกว่าจิตเข้าสู่กระแสธรรม  ตัดกิเลสได้

ปัญญาที่จะเป็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว  ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่นึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น  แต่ย่อมมีตาวิเศษ  หรือตาใน  อย่างที่พระท่านเรียกว่า  ?ณาณทัสสนะ?  เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆ      ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการ อบรมสมาธิมา  จนมีกำลังดีแล้ว  ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะ หรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า ?สมาธิอบรมปัญญา?    คือสมาธิ ทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น  และเมื่อ วิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง  จิตย่อมจะเบาและใสสะอาด บางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้า และตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก  เรียกว่าเป็น  ?ปัญญาอบรมสมาธิ?   ฉะนั้น  ทั้ง สมาธิและวิปัสสนา  จึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกัน    จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้น โดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย  อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม   สมาธิจึงเปรียบเหมือนกับหินลับมีด       ส่วน วิปัสสนานั้น เหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว  ย่อมมีอำนาจ ถากถางตัดฟัน  บรรดากิเลสทั้งหลาย  ให้ขาดและพังลงได้

อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้น  ล้วนแต่เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตา  ไม่ใช่ตัวตน  ไม่ใช่คน สัตว์ ไม่ใช่ตัวเรา ของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นแค่   ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราว ตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว   จิตก็จะคลายจากอุปทาน  คือ ความยึดมั่นถือมั่น   โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ  สุขทั้งหลาย    ความโลภ  ความโกรธ  และความหลง  ก็จะเบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณ     จนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผล
ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน  หากทำสมาธิยังไม่ได้  (อย่างน้อยที่สุดจะต้องได้ขณิกสมาธิ)   ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้น  ที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญา เท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า

?ผู้ใดแม้จะทำสมาธิ  จนจิตเป็นฌานได้นานถึง 100 ปี และไม่เสื่อม  ก็ยังได้บุญน้อยกว่า  ผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่ เป็นอนิจจัง ทุกขัง  อนัตตา  แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม?

 ดังนี้จะเห็นได้ว่า  วิปัสสนาภาวนา  นั้นเป็น     สุดยอด  ของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง   และการกระทำก็ไม่ได้เหนื่อยยากลำบาก  ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด  แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด เมื่อเปรียบการให้ทาน เช่น กับกรวดและทราย  ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก  ซึ่งทาน ย่อมไม่มีทางที่จะเทียบกับศีล   ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ  และสมาธิ  ก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับ ?วิปัสสนา?

แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลาย  ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุก ๆ ทาง เพื่อความไม่ประมาท   โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา  สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้  จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุด  ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว   โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใด ๆ ไว้เลย เมื่อเกิดชาติหน้า เพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียว  ไม่มีจะกินจะใช้  ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

อนึ่ง  พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า  ?ผู้ใดมีปัญญา  พิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์  แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก  ก็ยังดีกว่า ผู้ที่มีอายุยืนยาวถึง 100 ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงดังกล่าว?  กล่าวคือ แม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด  ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปอีกชาติหนึ่ง  จัดว่าเป็น  ?โมฆบุรุษ?  คือบุรุษผู้สูญเปล่า



พอก่อนดีกว่ารู้สึกมันไม่ค่อยจะเกี่ยวกับหัวข้อกระทู้เลยครับ...แต่อยากให้อ่านครับ  :)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 07, 2010, 12:57:14 AM
ความรู้ มันอัดแน่น


การแสดงธรรม เพราะความอยาก จึงไม่นุ่มนวล


และที่ท่านเขียนมา แจ๋ว ดี


**คน มันก็เป็นอย่างนี้แหละท่าน

ทำไมมองเห็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตาไม่ออก

ก็เพราะถูกปิดบังไว้ ด้วย อะไรบางอย่าง 


เอาเรื่องว่า  ร่างกายนี้เป็นของกู ก็ไม่ใช่แล้ว แค่ธาตุทั้ง 4 ขาดความสมดุลย์ก็เรียบร้อย

เมื่อตาย คือ ลมหาย(สิ้นลม)

ไฟก็ดับ(ตัวเย็นเจี๊ยบเพราะไมโตคอนเดรีย ในเซลล์ไมหยุดสร้างพลังงาน ความร้อน)

ไล่ไปอีก น้ำเหลื่องในตัว โป่งพองเยิ้ม ออกมาเพราะกิจกรรมของจุลินทรีย์

และเมื่อพองจนฟุบ ธาตุดิน ก็ย่อยสลาย กระจัดกระจายไปตามดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วเต่ว่า ร่างนั้นตกไปอยู่ที่ไหน



**แล้ว  ก็ มา บอก มายึดว่านี่   ตัวของกู๊... ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 07, 2010, 03:14:19 AM
ไม่ใช่ธรรมของผมหรอกครับ ผมลอกมา...


**คน มันก็เป็นอย่างนี้แหละท่าน

ทำไมมองเห็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตาไม่ออก

ก็เพราะถูกปิดบังไว้ ด้วย อะไรบางอย่าง  


ก็อะไรล่ะครับบอกให้พวกๆรู้กันบ้างซิครับ...อุ...อิ
 ;)  


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 07, 2010, 04:31:29 PM
รู้มาตั้งนานแล้ว ว่าเหล่า สาวกภูมิ ก็ต้องลอกมาแหงๆ

และถ้าต้องการรู้ว่าอะไรปิดบัง เจ้า ทกขัง อนิจจัง แลอนัตตา ไว้เรียนเชิญที่นี่

*ใครทุกข์ที่สุดอย่างไร จึงต้องการพ้นทุกข์ * ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 08, 2010, 11:06:37 PM
ครับๆลองตามไปดู    :)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 09, 2010, 09:15:35 PM
วันนี้ เวลานี้ หายไปไหนกันหมด

 ;D



หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 12, 2010, 04:33:45 PM
วันนี้ เวลานี้ หายไปไหนกันหมด

 ;D



แป๊บๆ จะออกพรรษาแล้ววว ได้อะไรกันบ้าง ฆราวาส อย่างเราๆ อิอิ


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 12, 2010, 05:52:41 PM
วันนี้ไปดู นศ.มน ป.ธรรมโดยกลุ่มภิกษุณีจากนิโรธาราม จ.เชียงใหม่

มาสอน แบบเด็ก  ๆ แต่ก็ดี เหมือนกัน

คือท่านเอาพัดที่มี ด้านหนึ่งมีปลา อีกด้านไม่มี มาหมุนให้ดู เร็ว ๆ แสดงการเกิดดับของจิต

จุดไม้ขีดไฟ ดูการเกิดและดับไปของจิตเช่นเดียวกัน..

 ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 12, 2010, 10:48:41 PM


มีภิกษุณีมาสอนนักศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยหรือครับ...เดี๋ยวนี้ไม่มีภิกษุณีที่ได้รับรองจากคณะสงฆ์ในประเทศไทย(ฝ่ายหินยาน เถรวาท)แล้วนี่ครับ...

ลองตามไปอ่านเอารายละเอียดที่นี่ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1017


ส่วนตัวผมก็ว่าจิตมันเกิดดับอย่างรวดเร็วครับ...อาจจะเร็วกว่าความเร็วแสงอีก ว่างๆจะลองคำนวณดู เท่าที่พอจะเป็นไปได้... :)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 13, 2010, 12:44:11 PM
เช้านี้ ไปร่วมป.ธรรม อีก

ก่อนเดินจงกรม

 มีการบริกรรม ให้ดูว่า กายนี้เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม

กายนี้เป็นถุงขี้ซึม

กายนี้เป็นกองของทุกข์

ต้องคอยแก้ทุกข์... ;D

ทราบมาว่า  ภิกษุณีกลุ่มนี้ ผ่านการบวชมาจากศรีลังกา


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 14, 2010, 12:33:02 AM
ภิกษุณีกลุ่มนี้ ผ่านการบวชมาจากศรีลังกา....ทำไมบวชที่เมืองไทยไม่ได้...ผมว่าไม่เปิดประเด็นดีกว่าเดี๋ยวจะยาว....

ในความเห็นและรู้สึกส่วนตัวของผมคนเดียวนะครับ...ที่พระอานนท์ทูลขอพระพุทธเจ้า ให้ผู้หญิงบวชได้ แต่พระพุทธเจ้าในตอนแรก ก็ไม่อนุญาต

ต่อมาภายหลังจึงค่อยให้ โดยกำหนดเงื่อนไขเอาไว้มากมายกว่าผู้ชายมาก แต่ด้วยหลายปัจจัยล่ะน่ะครับ

และอีกอย่างพระพุทธเจ้าท่านเล็งเห็นแล้วว่าถ้าให้สตรีบวชได้ในพุทธศาสนา อายุศาสนาพุทธในยุคของพระองค์จะลดลงกึ่งหนึ่ง...จาก ๑๐,๐๐๐ ปี เหลือ ๕,๐๐๐ ปี

สุดยอดของพระมหากรุณาธิคุณ....

หญิงหรือชาย บรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เหมือนกัน...และไม่จำกัดว่าเป็นพระหรือฆราวาส

แต่สังเกตุว่าฆราวาสถ้าได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดแล้วคือได้อรหันต์ จะใช้ชีวิตอยู่กับทางโลกลำบาก บางตัวอย่างในพระไตรปิฏก จะตายภายใน ๗วัน ถ้าไม่ได้บวช(ถ้าจำไม่ผิด พาหิยทารุจิริยา...ท่านโดนวัวขวิดตายระหว่างไปหาผ้าจีวรและบาตรมาบวช,พระเจ้าสุทโธทนะ,พระนางเขมาได้อรหันต์ แล้วบวชเป็น ภิกษุณี)

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามีตัวอย่างในพระไตรปิฏกบ้างหรือไม่ว่า ฆราวาสถ้าได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดแล้วคือได้อรหันต์ มีชีวิตอยู่ได้เกิน ๗ วัน โดยที่ไม่ต้องบวช

 

วานผู้รู้มาบอกหน่อยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ   


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 14, 2010, 08:59:46 AM
ก็รีบ ป.ธรรม ให้ถึงพระอรหันต์ ก่อน  ภายในสภาวะฆราวาสซี

แล้วมาบอกกันบ้างว่าเป็น จังได๋

เป็นแล้ว ตาย ก็ ยังดีกว่า ไม่เป็นแล้วมีชีวิตอยู่ใข่ไหมง่ะ..อิ อิ  ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 14, 2010, 06:27:26 PM
ให้เป็นหนูทดลองยาก่อนหรือครับ...มันจะดีหรือครับ ได้เป็นพระอรหันต์ถ้ายังธาตุขันธ์ไม่ดับก็ยังได้รับวิบากกรรมทุกองค์อยู่นะครับ :)

หาเอาจากพระไตรปิฎกหรือในประวัติศาสตร์หรือถามผู้รู้ดีกว่ามั้งครับ...ดูจะเนียนที่สุด

ผมเพิ่งเริ่มต้นอยู่คงยาก แล้วถ้าได้จริงพระศาสดาเข้าปรินิพพานแล้วก็ไม่ได้รับรอง และอีกอย่างถึงจังหวะนั้นแล้วเกรงว่าจะมาบอกใครไม่ทันนะซิครับ  :)

(คำถามต่อมาก็คือ...รู้แล้วจะมีหรือได้ประโยชน์อะไรบ้างหนอ...ให้ท่านอื่นๆเข้าใกล้..ได้ไหม?)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 15, 2010, 12:12:39 AM
พ้ม  ....ต้องการบรรลุธรรม

พ้ม ..... ไม่กลัว แต่ยังไม่อยากละสังขาร  ซีเนาะ ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 15, 2010, 12:47:17 AM

นี่ถ้าท่าน Phonsak รู้ใจได้บ้างแบบท่านนี้...ในกระทู้ "วิถีแห่งท่าน Phonsak" ผมคงงานเข้าไปแล้ว....แต่ผมรู้อยู่แล้ว...อุ...อิ... ;)



 :)  :D  ;D  :D  :)  ;)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 15, 2010, 01:07:57 AM
ขอตอบท่านกอล..หน่อย

จะออกพรรษาแล้ว ..ยังสู้ ไปแบบ เบียดเวลากับทางโลก อยู่

และเตรียมตัวพบอากาศหนาวที่สุด ในรอบ 30 ปี

เพราะ อุณหภูมิที่กลางม.แปซิฟิค และด้านตะวันออก เย็นลง 2 องศาเซลเซียส

คนหมู่มาก อยู่และใช้ทรัพยากรโลก แบบไม่ปรานีปราศัย  ย่อมสร้างความเดือดร้อนให้ทั้ง ตนเองและผู้อื่น

หน้าที่ท่าน อวตาร แก้ไข หรือเป่า..เนี่ยะ ;D



หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 15, 2010, 01:15:48 AM
รอให้คุณกอล์ฟ หรือ AVATAR ตอบกันล่ะครับ...ท่านพี่

  :)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 15, 2010, 01:18:28 AM
ท่านกอล...งานแยะ ซีนั่น

ก็ คนเข้าเว็บมีท่านเวตาน เอ๊ย อวตารท่านเดียว


..ก็ยึดเว็บนี้ซะเลย หมู่เฮา ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 15, 2010, 01:56:11 AM
 :)  :) อั่นแน่ เสียดสี ส่อเสียดนะเนี่ย...แต่ไม่ว่ากันหรอกครับ...รู้ว่า รักหรอกจึงหยอกเล่น... :D  ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 15, 2010, 11:23:02 AM
ครือว่า มือมันพาพิมพ์ผิด  จึงเลยตาม เลย

และท่านกอล..มาแล้ว แต่ดันไปตอบที่โน่น ใบไม้ 1 กำมือ

กระตุกหนวดท่านกอลหน่อย

เด๋ว จะมัวแต่แสดง อรรถ แสดงธรรม ซะจนลืม การฝึกตัวเอง ประมาณว่าในเรื่อง

*   ทางพิจารณา

** ทางป.ต่อ

เฮ้อ..กรรมจากการเขียน = กรรมทางวาจานั่นแหละเน้อ ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 15, 2010, 09:14:36 PM
อกุศลจะเกิดดูที่ เจตนา  เป็นหลัก

บ่..เป็นหยังดอกครับ  ;)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 15, 2010, 09:53:24 PM
ทำงาน เพื่อมิให้กายทุกข์

โลกนี้แย่งกันกิน แย่งกันอยู่

ประชากรโลก 6พันกว่าล้านคนแล้ว >:(


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 15, 2010, 10:59:41 PM
ไม่ต้องเป็นห่วงสุดท้ายแล้วธรรม(ชาติ)จะเป็นผู้คัดสรร และวิธีการเพื่อให้ดำเนินได้ต่อไป  2012 เป็นไงครับ


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 24, 2010, 08:46:56 PM
พูดถึงเรื่องนี้แล้วเหงา

(ไม่เท่าไร  ;D)


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 17, 2010, 11:41:31 AM
กลับมาแล้วๆๆ ครับ ท่านพี่ ทั้งสอง

พอดีช่วงเสาร์ อาทิตย์ ที่ผ่านมา ได้ไปออกค่ายครูอาสา มาครับ ที่ โรงเรียนบ้านตะโด้กุย จ.ตาก มาครับ

ไปบริจาคของให้กับเด็กๆ แล้วก็ไปช่วงงานครูอาสา แล้วก็ไปสร้างรอยยิ้มให้กับเด็กๆ มาครับ

เอาบุญมาแบ่ง พี่ๆ ด้วยน่ะครับ


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 11:42:45 AM
ขอตอบท่านอวตารหน่อย

**ไม่ต้องเป็นห่วงสุดท้ายแล้วธรรม(ชาติ)จะเป็นผู้คัดสรร และวิธีการเพื่อให้ดำเนินได้ต่อไป  2012 เป็นไงครับ*


พอรู้มาว่า  การดำเนินการ ประกอบด้วย

1.ขุดคุ้ย  ฟาดฟัน ให้ ดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด

2. เปิดก๊อกน้ำ ล้าง 

3. ระบายของเก่า ออกจากกาย(โลกเน่า ๆ)

4. พายุลม ฝน

5. ซักผ้า ล้างจาน กวาดขยะ

--- ก็ เรื่อง ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา*

ธรรมชาติ ที่มีเจ้าหน้าที่เทศบาล ทำงาน  เป็นทีม


ทำจนร้องไห้  ว่าทำไม่ไหว แล้ว  อย่างที่ท่าน  เคยบ่น มา  ในกระทู้ก่อนหน้า ** ;D


หัวข้อ: Re: สมรส แปลว่าอะไร มีความหมายในทางธรรมะ อย่างไร (เชิงที่เกี่ยวกับธรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 11:44:27 AM
ตอบท่านกอลฟ.

*โรงเรียนบ้านตะโด้กุย จ.ตาก *


ดีจังเลย ;D