KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 => ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ => ข้อความที่เริ่มโดย: koh2001 ที่ มีนาคม 19, 2010, 07:36:09 PM



หัวข้อ: ธรรม ไม่ยากอย่างที่คิด
เริ่มหัวข้อโดย: koh2001 ที่ มีนาคม 19, 2010, 07:36:09 PM
ทุกวันนี้คนที่เข้าใจธรรมจริงๆมีน้อยมาก แม้ในวงการพระสงฆ์ก็เช่นกันเท่าที่ผมเจอมา ขอพูดแบบครอบคลุมนะครับว่า คนชั่วและคนดีมีอยู่ในทุกวงการ (คงจะพอเข้าใจนะครับว่าผมหมายความว่าอย่างไร) เข้าเรื่องต่อ บางท่านรู้จริงก็มี รู้ก็มีพอรู้บ้งก็มี รู้เท่าหางอึ่งก็มี ท่องเอาแล้วไปสอนคนอื่นก็มี ผมคิดว่ามีพวกเดียวเท่านั้นที่จะพอเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือพวกที่เห็นภัยในสังสารวัฏเท่านั้น  ที่จะศึกษา ปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ส่วนพวกที่เหลือไม่ขอเอ่ยนะครับ เท่าที่ผม ได้ศึกษาและปฏิบัติมาน้อยนิด ผมว่า พุทธศาสนา จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย อยู่ที่วิธีคิดและความอดทนในขั้นแรกเท่านั้น คือคิดว่าจริงแล้วพุทธศาสนาจะสอนอะไร(แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าไม่เคยสอนใครสิ่งที่เราเรียกว่าศาสนาก็ไม่ได้สอนใครเลยครับ ท่านใช้คำว่าแสดงมากกว่า เช่น ท่านจงมาเถิด เราจักแสดงธรรมให้ท่านฟัง คือท่านจะแสดงธรรมคือความจริงที่มันเป็นเหตุเป็นผลให้ผู้ฟังได้รับฟัง จากนั้นก็แล้วแต่สติปัญญาของแต่ละคนแล้วครับ) ส่วนที่ว่าต้องใช้ความอดทนในช่วงแรกนั้น เพราะว่าคนเราดำเนินชีวิตตามปกติด้วยความเรื่อยเปื่อย(หมายถึงมีส่วนที่ไม่ดีเยอะกว่าส่วนดีนะครับ เช่น โลภมา โกรธมาก หลงมาก มักมาก สารพัด)ถ้าเข้าใจแล้วว่าพุทธศาสนาสอนอะไร การฝึกเพื่อลบส่วนที่ไม่ออกไปก็เป็นเรื่องที่ง่ายเพราะย่อมเห็นโทษในส่วนที่ไม่ดีนั้นแล้ว แล้วกลับมามองดูสิครับว่าการฝึกตนเพียงเล็กน้อยตามหลักพุทธศาสนาเพียงเล็กน้อยเพื่อนลบส่วนที่ไม่ดีออกไปทำให้ชีวิตมีความสงบเกิดขึ้นอย่างมากแล้วถ้าเราปฏิบัติให้มากขึ้นศึกษาให้มากขึ้นเราจะสงบได้สักเพียงไหน ผมขอยืนยันนะครับว่าพระธรรมของพระองค์ใครหยิบเอามาใช้แม้เพียงเล็กน้อย ดูเถิดครับว่าชีวิตคุณจะดีขึ้นมากเท่าไร ในโลกนี้ยังมราความสุขที่ยิ่งกว่าความสุขที่เกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมาราณ์อีกคือ ความสงบที่เกิดจากภายในแล้วแผ่ออกมาสู่ภายนอกนั่นแหละครับ ส่วนคนที่คิดว่าความสุขของเขาย่อมเกิดจากความพอใจจากสิ่งภายนอกแล้วทำให้ตนพอใจนั่นย่อมเป็นทุกข์แท้จริง


หัวข้อ: ธรรม ไม่ยากอย่างที่คิด หลักธรรม รวมย่อเป็น ไตรสิกขา
เริ่มหัวข้อโดย: kobnokkala ที่ มีนาคม 22, 2010, 03:03:54 PM
(http://golfreeze.packetlove.com/pix/images/20090806175741_img_4790.jpg)


มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

    * ข้อ3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
    * ข้อ6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
    * ข้อ1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) หลวงพ่อธี บอกว่าเป็นปัญญาที่ทำให้หลุดพ้นทุกข์


             ขอเข้ามาร่วมเสริม คุณ koh2001 ธรรม ไม่ยากอย่างที่คิด  หลักธรรม รวมย่อเป็น ไตรสิกขา

         ประสบการณ์จริงที่เคยไปรับฟังเทศน์ งานสวดพระอภิธรรมเจ้าคณะตำบล

มีพระผู้ใหญ่จากกรุงเทพฯ มาเทศน์ เรื่อง

                   ศีล สมาธิ ปัญญา แนวใหม่ที่ไม่เคยได้ยินเทศน์แบบนี้มาก่อน  

         ท่านเทศน์ว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นแ่ก่นรวมของคำสอนทางพุทธศาสนา

ศีล คือ ระเบียบอันดีงามที่สังคมยึดถือปฏิบัติ ทุกคนจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุขต้องปฏิบัติตาม

สมาธิ คือ การตั้งมั่นที่จะปฏิบัติตามระเบียบอันดีงาม หรือ ศีล ของสังคมโดย มีความละอาย และ

เกรงกลัวต่อความเสียหาย หากไม่ปฏิบัติตาม ทำด้วยใจเอง

         บทลงโทษ ถึงมี ก็ไม่อึดอัด เพราะ มีไว้เพื่อป้องกันคนที่ไม่เกรงกลัวเท่านั้น

ปัญญา คือ การที่รู้จริงตาม ระเบียบ หรือ ศีล นั้น ว่าจะทำให้สังคมมีความสงบ

         ถ้าคนในสังคมยึดมั่นตามแนวทางไตรสิกขา ข้างต้น จะทำให้สังคมอยู่กันอย่างสงบสุข

ปฏิบัติตามกฏระเบียบ กฏหมาย วัฒนธรรม ฯลฯ โดยไม่มีการบังคับ ทำด้วยใจเอง

         ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนทุก ๆ คนในสังคม มาเป็นคนดีตามแนวไตรสิกขา

ข้างต้น เพื่อสร้างสังคมของคนดี ที่ไม่มีขาย อยากได้ทุกคนต้องเป็นคนดี จึงได้สังคมของคนดี

                     (http://i274.photobucket.com/albums/jj266/kobnokkala/DecoratedCartoon/i-2-1.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรม ไม่ยากอย่างที่คิด
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 23, 2010, 05:31:36 PM
ใช่ครับ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น เป็นธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด
ครบถ้วนทั้งอรรถ และ พยัญชนะ แต่บุคคลผู้รับฟังธรรมนั้น ต้องเปิดใจก่อน ละทิฏฐิ ความคิด ความเห็นต่างๆ
เรียนวิธีการปฏิบัติ หลักของการเจริญสติปัฏฐาน แล้วน้อมนำมาปฏิบัติ ก็จะได้รับผลของการปฏิบัตินั้นเอง ครับ

ขออนุโมทนา กับทุกท่านด้วยนะครับ