KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 => กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 => ข้อความที่เริ่มโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2009, 07:23:44 PM



หัวข้อ: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2009, 07:23:44 PM
โดยคุณ สันตินันท์  วัน พุธ ที่ 10 พฤศจิกายน 2542 14:08:41

ท่านพระอานันทเถระ หรือที่คนไทยเรียกว่าพระอานนท์นั้น
เป็นพระเถระสำคัญที่ชาวไทยพุทธ ทั่วไป
รู้จักปฏิปทาและบทบาทของท่านเป็นอย่างดี
เกียรติประวัติอันสูงส่งหลายเรื่อง เป็นที่น่าประทับใจ
เช่นท่านเป็นพระอุปัฏฐากที่ยาวนานที่สุดของพระศาสดา
เป็นพหูสูตรและมีบทบาทนำรูปหนึ่งในปฐมสังคายนา
แม้แต่ตอนที่ท่านเอากายออกบังพระศาสดาจากช้างนาฬาคิริที่เมามัน
ก็นับเป็นวีรกรรมที่โจษขานกันมากว่า 2500 ปี

พวกเราทราบกันอยู่ว่า ท่านบรรลุพระโสดาบัน
ด้วยการฟังธรรมเทศนาของท่านพระปุณณมันตานีบุตร
(จำได้คลับคล้ายว่าท่านรูปนี้เป็นหลานของท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ)
และท่านเพิ่งบรรลุพระอรหันต์เอาเมื่อคืนก่อนจะถึงวันเริ่มปฐมสังคายนา
แต่ส่วนมาก เรายังไม่ค่อยทราบกันว่า
ท่านบรรลุพระอรหันต์ด้วยการปฏิบัติอย่างใด
ซึ่งในพระวินัยปิฎก เล่ม 7 จุลวรรคภาค 2 ขันธกะ
ระบุถึงการบรรลุพระอรหันต์ของท่าน ดังนี้

[617] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม
ข้อที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา
จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ
ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วยตั้งใจว่า จักนอน
แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น
ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ฯ

กายคตาสตินี้ ตำรารุ่นหลัง จัดไว้ในเรื่องการทำสมถะ ไม่ใช่วิปัสสนา
แต่เราควรทำความเข้าใจกายคตาสติ ตรงจากคำสอนของพระศาสดา
ดังปรากฏใน กายคตาสติสูตร
พระสุตตันตปิฎก เล่ม 6   มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ดังนี้

๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)
       [๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
       [๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ


หมายเหตุ ******   คำสอนตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า
พระศาสดาทรงจัดเอาอานาปานสติ เป็นส่วนหนึ่งของกายคตาสติ

       [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน
หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน
หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ


หมายเหตุ ******   คำสอนตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า
พระศาสดาทรงจัดเอาอิริยาบถ 4 เป็นส่วนหนึ่งของกายคตาสติ

       [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน และเหยียดแขน
ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม
ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ในเวลา เดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

หมายเหตุ ******   คำสอนตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า
พระศาสดาทรงจัดเอาสัมปชัญญะของกาย เป็นส่วนหนึ่งของกายคตาสติ


นอกจากนี้แล้ว พระองค์ยังแสดงการปฏิบัติธรรม
ในหมวดเกี่ยวกับการพิจารณาอาการ 32 คือผม ขน เล็บ ฟัน หนังฯลฯ
ธาตุ 4 การพิจารณาศพชนิดต่างๆ เข้าเป็นกายคตาสติด้วย
ซึ่งการพิจารณาธรรมต่างๆ นับตั้งแต่อานาปานสติลงมานั้น
ล้วนเป็นหมวดธรรมในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งสิ้น
พระองค์ไม่ได้จัดธรรมเหล่านี้ไว้ในกรรมฐาน 40
อันเป็นสิ่งที่ตำรารุ่นหลังแต่งขึ้นใหม่

จุดสำคัญที่สุดคือ ในทุกหมวดของการปฏิบัตินั้น
ท่านจะลงท้ายเหมือนกันทั้งนั้นว่า
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

เรื่องธรรมเอกนี้เอง ที่ผู้ศึกษาตำรารุ่นหลังและปฏิบัติไม่เป็น ไม่รู้จัก
ถ้าปราศจากธรรมเอกเสียแล้ว การปฏิบัติก็ไร้ผล

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงจัดเอาฌาน 4 อันเป็นสัมมาสมาธิ
เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกายคตาสติด้วย ดังนี้

       [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุสงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ....
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ


ผมอยากให้พวกเราสังเกตว่า คำสอนตรงนี้
ต่างจากคำสอนเกี่ยวกับฌาน 4 โดยทั่วไป
คือในคำสอนเรื่องสัมมาสมาธินั้น
ทรงกล่าวถึงธรรมเอกที่ผุดขึ้น ในฌานที่ 2 เท่านั้น
แต่ในกายคตาสตินี้ ทรงชี้ถึงธรรมเอกตั้งแต่ปฐมฌาน
แม้ในฌานที่ 2 - 4 ก็ทรงระบุอย่างเดียวกันนี้
เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ ?
ในความเห็นของผมเห็นว่า
เพราะในกายคตาสติ ทรงแสดงฌาน 4 ในฐานะอารมณ์ของวิปัสสนา
คือองค์ฌานเป็นสิ่งที่ถูกรู้
โดยมีธรรมเอกหรือผู้รู้ เป็นผู้รู้อารมณ์ขององค์ฌานนั้น
เรื่องเหล่านี้ถ้าพูดกับผู้ที่ไม่รู้จักจิตผู้รู้ ก็มีหวังต้องเถียงกันตายแน่



(มีต่อครับ)


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุพระอร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2009, 07:24:31 PM
ในตอนท้ายของกายคตาสติสูตร
พระองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของกายคตาสติไว้ดังนี้

       [๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว
ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก
ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง อันรวมอยู่ในภายในด้วย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตาม
นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว
ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหลมาสู่สมุทรสายใดสายหนึ่ง
อันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก
ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฯ
       [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม
ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติแล้ว
มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์
             [๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม
เจริญกายคตาสติแล้วทำให้มากแล้ว
มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
           [๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม
เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง
อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป
โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ

ตรงนี้ท่านทรงชี้ชัดมากว่า การเจริญกายคตาสติทำให้มีสติ
อันเป็นเครื่องมือทำให้แจ้งธรรม
ซึ่งจากการปฏิบัติแล้ว เราจะทราบชัดว่า
ธรรมอันยิ่งนั้น ก็คืออริยสัจจ์ 4 นั่นเอง
เมื่อแทงตลอดอริยสัจจ์ 4 ก็คือการทำลายอวิชชา
แล้วจิตของท่านพระอานนท์จะไม่หลุดพ้นได้อย่างไร

พระศาสดายังทรงสอนต่อไปว่า

     [๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว
ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว
อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการ นี้ คือ
       (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้
ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ
ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
       (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้
ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ
ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
       (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้น
ต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน
ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย
ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว
อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ
ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
       (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต
เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ
       (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ
คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง
นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้
ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์
มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
       (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
       (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ
คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ
หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ
จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น
หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น
จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว
หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
       (๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง
ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง
หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ- วิวัฏกัปบ้าง
ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้
มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้
เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น
แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้
เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้
ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
       (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ
ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
       (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว
อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
       พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
                       จบ กายคตาสติสูตร ที่ ๙

เมื่อพิจารณาดูหมวดธรรมในกายคตาสติที่พระศาสดาทรงแสดง
ซึ่งสอดคล้องกับกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อย่างหนึ่ง
พิจารณาถึงอานิสงส์ข้อที่ 10 อย่างหนึ่ง
ประกอบกับมีตัวอย่างท่านพระอานนท์บรรลุพระอรหันต์แล้ว อีกอย่างหนึ่ง

หากใครจะยืนกรานว่า กายคตาสติเป็นเพียง 1 ในกรรมฐาน 40
และเป็นเพียงสมถกรรมฐานตามตำรารุ่นหลัง
ก็ขอให้ท่านเชื่อเช่นนั้นต่อไปเถิด
ส่วนตัวผมขอเลือกเชื่อพระศาสดาและพระไตรปิฎก
ซึ่งกระจ่างชัดเจน และพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติจริง
แม้ท่านผู้ปฏิบัตินับตั้งแต่หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นลงมา
ท่านก็เจริญกายคตาสติ
และรับรองผลตรงกับพระวินัยและพระสูตรทั้งสิ้น

โดยคุณ สันตินันท์  วัน พุธ ที่ 10 พฤศจิกายน 2542 14:08:41


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุพระอร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2009, 07:25:01 PM
ความเห็นที่ 1 โดยคุณ มะขามป้อม  วัน พุธ ที่ 10 พฤศจิกายน 2542 14:59:30

สาธุ
ขอยกสัมมาสติมาประกอบครับ

สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรม วินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ

ผมมีความเห็นว่าสมถะกับวิปัสสนานั้น แบ่งกันกันด้วยสัมมาสติ
ก็เลยคิดว่าไม่ว่าจะทำกรรมฐานใดก็ต่อยอดให้เป็นวิปัสสนาได้
ที่ตำแหน่ง หรือวิธีการกำหนดจิต ให้ระลึกรู้ ในฐานทั้ง 4 (สติปัฏฐาน) ครับ


โดยคุณ มะขามป้อม  วัน พุธ ที่ 10 พฤศจิกายน 2542 14:59:30


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุพระอร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2009, 07:25:23 PM
ความเห็นที่ 9 โดยคุณ ดังตฤณ  วัน พฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2542 08:08:29

ความจริงแล้วการถึงมรรคผลนั้น
เป็นสภาพของการประชุมความพร้อม
อย่างที่เรียกมัคคสมังคีจริงๆ
เพ่งหนักไปนิดก็ไม่ได้
ไม่บริกรรมจับอารมณ์เสียเลยก็ไม่ได้
ปล่อยมากจนเฉียดเหม่อก็ไม่ได้
เคร่งครัดจนอึดอัดก็ไม่ได้
อะไรที่เกินความเป็นกลางไปแม้แต่น้อย
ถือว่าไม่ได้ทั้งนั้น

หลายคนพยายามเอนนอน
แล้วคิดปล่อยวางให้ถึงมรรคผลอย่างพระอานนท์บ้าง
แต่ร้อยทั้งร้อยปล่อยวางสติเพื่อเผลอหลับอย่างหลงมากกว่า
ลืมดูว่าท่านเอางานกายคตาสติมาหนักหนาขนาดไหน
ปล่อยงานแล้วจึงได้ความประชุมพร้อมที่จุดโฟกัส
อันเป็นวิถีของจิตเอง อยู่นอกเหนือระบบสำนึกทั้งปวง

ธรรมที่พี่สันตินันท์ขยายไว้นั้น
งดงามจริงๆครับ

โดยคุณ ดังตฤณ  วัน พฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2542 08:08:29


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุพระอร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2009, 07:26:51 PM
ความเห็นที่ 10 โดยคุณ สันตินันท์   วัน พฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2542 08:57:55

คุณดังตฤณ กล่าวถึงคนที่พยายามเลียนแบบท่านพระอานนท์
ด้วยการเอนนอนโดยหวังมรรคผล
ทำให้ผมนึกขึ้นได้ เพราะเคยได้ยินเรื่องทำนองนี้บ่อยๆ ในหมู่ผู้ปฏิบัติ
เช่นบางท่านได้ยินว่า ครูบาอาจารย์แก้การนั่งหลับในด้วยการไปนั่งริมหน้าผา
ก็เลยเลียนแบบ แต่ย้ายจากริมหน้าผาซึ่งหายาก ไปนั่งริมระเบียงกุฏิแทน
ผลก็คือหลับแล้วตกระเบียงกุฏิ
บางท่านได้ยินว่า คนนั้นคนนี้ไปนั่งในถ้ำที่ผีดุแล้วภาวนาดี ก็เอาบ้าง
ปรากฏว่าภาวนาได้ไม่ดี
ทั้งนี้ก็เพราะเป็นการปฏิบัติแบบมีมารยาสาไถย คิดที่จะจัดฉากเลียนแบบดารา
เมื่อมีความจงใจอย่างนั้น ความจงใจนั้นแหละปิดกั้นความเป็นธรรมดาของจิต
จึงไม่สามารถเจริญวิปัสสนา คือการรู้สภาวธรรมอันเป็นปัจจุบันตามความเป็นจริงได้

การปฏิบัติในขั้นแตกหักนั้น ต้องเจริญสติให้ต่อเนื่องไว้
พยายามอย่าให้ขาดวรรคขาดตอน
ผมเองเคยได้ยินตำรากล่าวเรื่องพระอานนท์บรรลุธรรมบ่อยๆ
ส่วนมากจะระบุว่า ท่านพยายามอย่างเต็มที่แล้ว ไม่สำเร็จ
จึงปล่อยวางการปฏิบัติ เอนกายลงนอน เลิกปฏิบัติเพื่อพักผ่อน
ตรงนี้ก็เคยสงสัยเสมอมาเหมือนกัน ว่าจริงอย่างที่กล่าวกันนั้นหรือไม่
เพราะจิตในขั้นที่เป็นมหาสตินั้น จงใจเลิกปฏิบัติได้เสียที่ไหนกัน
และเมื่ออ่านพระไตรปิฎก ก็ไม่เห็นมีตรงไหนบอกว่า
ท่านเลิกปฏิบัติในขณะที่เอนกายลงนอน
หากแต่ท่าน รู้ อริยาบถที่กำลังเอนลงนอนอย่างละเอียด
ซึ่งก็คือการเจริญกายคตาสติที่ยังไม่ขาดตอนนั่นเอง
ขอให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ดูนะครับ

[617] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม
ข้อที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา
จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ
ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึง เอนกาย ด้วยตั้งใจว่า จักนอน
แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น
ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ฯ

จะเห็นว่า ไม่มีตรงไหนเลยที่บอกว่า
ท่านยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วยกายคตาสติ
ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี จึงหยุดเจริญสติ แล้วเอนกายลงนอน
หากแต่ท่านเอนกายลงนอนด้วยความรู้เท่าทันตลอดว่าจะนอน

จุดที่น่าสังเกตอีกจุดหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าจะหาคำตอบจากพระไตรปิฎกไม่ได้
ก็คือตรงที่ระบุว่า ท่านใช้เวลาส่วนมากกับการเจริญกายคตาสติ
ก็แล้วเวลาส่วนน้อยที่เหลือ ท่านใช้ไปกับอะไร?

พระไตรปิฎกนั้น มีเหตุมีผล มีประเด็นน่าสนุกสนานให้พิจารณาไตร่ตรอง
เพียงแต่อย่าอ่านแบบข้ามๆ
ไม่เจริญปัญญาเพราะถูกความเชื่อตามๆ กันมาปิดกั้นปัญญาเสียแล้ว
ถ้าอ่านอย่างคนมีปัญญา ก็จะได้แง่มุมเพื่อการปฏิบัติอีกมากมายทีเดียว

ใครอยากทราบคำตอบ
ขอให้ลองเจริญกายคตาสติแบบใดก็ได้ดูเอาเอง
แล้วจะทราบแก่ใจเองว่า
อะไรที่เข้ามาแทรกการเจริญกายคตาสติอยู่เป็นระยะๆ ในช่วงสั้นๆ

โดยคุณ สันตินันท์  วัน พฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2542 08:57:55


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุพระอร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2009, 07:27:19 PM
ความเห็นที่ 14 โดยคุณ ทองคำขาว   วัน พฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2542 16:00:46

สาธุครับคุณอา
อ่านข้อความทิ้งท้ายของคุณอาสันตินันท์
แล้วนึกแว้บ ถึงสิ่งที่เมื่อวานได้ภาวนามา
คือ พอดีช่วงนี้ญี่ปุ่นหนาวแล้วครับ
และบางช่วง ขณะภาวนา จิตได้ไปรู้อาการทางกาย
คือ ความหนาวบ้าง
และเมื่อไปรับรู้ความหนาวแล้ว
ถ้าจิตเห็นว่าเป็นภพ เป็นชาติ
ที่ยังเห็นว่ามีภาวะยึดภพยึดชาตินั้นๆอยู่
จิตจะเกิดการพิจารณาในกายขึ้นมาอัตโนมัติ
จนกระทั่ง เมื่อจิตพิจารณาจนเกิดภาวะตัดขึ้นมา
แล้วจิตจะกลับมาสู่รู้อย่างเดียวที่ไม่มีการไปไม่มีการมา
ตามกิเลสให้ทะยานต่อไป แต่รู้อยู่
ซึ่งก็มีลักษณะเช่นเดียวกับ
จิตชนิดได้ผ่านการเห็นไตรลักษณ์มาระดับนึง
เวลาเห็นภพเห็นชาติอะไรๆก็ตาม
ที่ไม่ว่าจะเกิดทางกายหรือใจ หรือจะเป็นอารมณ์หนึ่งๆ ธรรมหนึ่งๆ ก็ตาม
พอได้เห็นภาวะยึดภาวะชอบไม่ชอบ ไม่ว่าจะละเอียดยังไงได้ชัด
เมื่อไหวไปรู้และ เห็นอุปาทานอย่างนี้
แล้วจิตจะเกิดการพิจารณาเองจนตัดลง
อย่างนี้หรือเปล่าครับ


โดยคุณ ทองคำขาว  วัน พฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2542 16:00:46


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุพระอร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2009, 07:27:50 PM
ความเห็นที่ 16 โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 19 พฤศจิกายน 2542 18:20:26

ที่ทองคำขาวกล่าวไว้นั้นถูกต้องแล้วครับ
เมื่อจิตเจริญปัญญาไปช่วงหนึ่งแล้ว
จิตจะวางการพิจารณา รวมลงสงบรู้อยู่
แล้วก็ออกเจริญปัญญาอีก สลับกันอย่างนี้
แต่จิตของผู้ที่เจริญสติถึงขั้นเป็นมหาสติแล้ว
จิตจะไม่สงบอยู่นานนัก จะขยันออกรู้ต่อไปอีก
จนถึงจุดที่ความรู้เพียงพอแล้ว
จิตจึงจะรวมเข้ามาอีกครั้งหนึ่งเป็นอัปปนาสมาธิ
แล้วรู้ธรรมเห็นธรรมต่อไป

โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 19 พฤศจิกายน 2542 18:20:26


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 26, 2010, 02:40:34 PM
คาดว่า เป็นการตัดความอยากบรรลุธรรมนะ ;D


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 27, 2010, 01:33:38 PM
ครับผม แม้ที่ผม ยังปฏิบัติก็ยังอยากปฏิบัติ ทำสมาธิ อยู่นะครับ

ซึ่งความอยากที่จะสงบ อยากดี เหล่านี้ ต้องอาศัยสติ รู้เท่าทัน ถึงจะเอาตัวรอด จุดนี้ไปได้

แต่สำหรับผม ก็ยังเดินทางอยู่ บางวันก็ขยัน บางวันก็ท้อ

แต่ถึงยังไงก็ค่อยๆ เดินต่อไป จนกว่าจะเข้าสู่กระแส แห่ง มรรค มีองค์ 8 ในสักวันหนึ่ง หรือสักชาติหนึ่ง ครับผม

สู้ๆ น่ะครับท่านกัลยาณมิตร ทุกท่าน  ;)


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 03, 2010, 03:37:55 PM
เคยเรียนถามผู้รู้บางท่านว่า การวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม ดูอะไร

ได้คำตอบว่า การมีสติรู้ลงปัจจุบัน ถี่มากขึ้น จนกระทั่งถึงมีสติตลอดเวลา

คาดว่าเป็นการตัดโลภะ โทสะ โมหะ ไปในตัว

ต้องมีศีลเป็นฐาน และเมื่อถึงเวลาก็จะผ่านด่านที่1ด้วยการเห็นกาย ใจเป็นไตรลักษณ์(ควรกำหนดดูไตรลักษณ์ด้วย) ก่อนไปด่านที่ 2, 3

และจบที่ด่าน4           ;D           


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 05, 2010, 12:40:47 AM


เคยเรียนถามผู้รู้บางท่านว่า การวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม ดูอะไร...ข้อความโดย: ผู้เล็งเห็นทุกข์

บางท่านมีสติตลอดเวลานั้นก็ยังไม่ใช่และยังดูจะเหนื่อยๆอยู่...แต่เมื่อได้ถึงระดับนี้ได้ก็ไม่ธรรมดาหรอกครับ...พอมาถึงนี่แล้วมันอึดอัดและเหนื่อยมาก(ด้วยมิใช่ทางสายกลาง)...มีสติตลอดเวลามันล้ามาก...และอยากจะขอขาดสติสักหน่อยได้มั๊ยครับ...ขอร้อง?

ผมก็ไม่ใช่ผู้รู้อะไรมากมายกว่าใครๆ  เพียงแค่ผมจะบอกว่า "ดูกิเลสก็พอครับ...กิเลสหมดจบกิจครับ"

ไฮไลท์อยู่ตรงนี้ต่างหากครับ

อย่าเพิ่งเชื่อตามผมว่านี้นะครับ....ขอบอก ...It's up to 2 u

 
 



 


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ กันยายน 06, 2010, 03:37:15 PM
ที่ว่ามีสติแล้ว ตัดโลภะโทสะ โมหะได้

เพราะเป็นการระงับจิตให้อยุ่ที่สภาวะปัจจุบัน(ไม่คิดฟุ้งไปตามอารมณ์ นั้นๆ)...คงได้ไม่ตลอดเวลา

ละโลภะ โทสะ โมหะ ทำได้อย่างไร

          ถ้าโลภะมาก ก็ให้ทาน
                 
                       โทสะมาก  ก็ให้เมตตา(คนๆนั้น)

โมหะมาก ก็ให้ดูความเสื่อมไปของกาย ใจ (รึ   ???) ;D


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กันยายน 08, 2010, 11:01:26 PM
ถามเนื้อๆทุกข้อเลยครับ

ตอบแบบเน้นๆครับ...ปัจจัยให้ดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเข้าสู่ดินแดนพระนิพพานคือ “โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ”

ต้องเข้าใจว่าการได้ ฌาน ยังไม่ใช่เครื่องวัดแต่ประการใดด้วยนะครับ 

 :)

 


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 03, 2010, 02:27:56 AM
อ้าว ไม่ใช่แค่ มรรค8 เหรอ

แต่พิจารณาดู แล้วในโพธิปักขิย.. กับ มรรค 8 ก็มี บางส่วนซ้อนทับกันบ้าง ;D


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ ตุลาคม 03, 2010, 02:59:07 AM
ตามไปเก็บให้หมดครับ...


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ยังพระอานนท์ให้บรรลุอรหันต
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ ตุลาคม 03, 2010, 03:01:24 AM
37
37
37

บวกกันแล้ว เต็ม 10  10  10 พอดี้ พอดี ;D