KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน => ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา => ข้อความที่เริ่มโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2009, 05:32:49 PM



หัวข้อ: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2009, 05:32:49 PM
หลวงพ่อชา สุภัทโท ตอบปัญหาธรรม
(ตอบปัญหาธรรมแก่พระสงฆ์)


(http://www.kammatan.com/gallary/images/20090203050713_cha2.jpg)

ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า
           เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา  (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง

ควรจะนอนหลับมากน้อยเพียงใด
           อย่าถาม ตอบไม่ได้ บางคนนอนหลับคืนละประมาณ ๔ ชั่วโมงก็พอ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญก็คือ ท่านเฝ้าดูและรู้จักตัวของท่านเอง ถ้าท่านนอนน้อยจนเกินไป ท่านก็จะไม่สบายกาย ทำให้คุมสติไว้ได้ยาก ถ้านอนมากเกินไป จิตใจก็จะตื้อเฉื่อยชา หรือซัดส่าย จงหาสภาวะที่พอเหมาะกับตัวท่านเอง ตั้งใจ เฝ้าดูกายและจิต จนท่านรู้ระยะเวลาหลับนอนที่พอเหมาะสำหรับท่าน ถ้าท่านรู้สึกตัวตื่นแล้วและยังซุกตัวของีบต่อไป นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จงมีสติรู้ตัวทันทีที่ลืมตาตื่นขึ้น

จิตของชาวเอเชียและชาวตะวันตกแตกต่างกันหรือไม่
           โดยพื้นฐานแล้วไม่แตกต่างกัน ดูจากภายนอก ขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาที่ใช้อาจดูต่างกัน แต่จิตมนุษย์นั้นเป็นธรรมชาติซึ่งเหมือนกันหมด ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ความโลภและความเกลียดก็มี เหมือนกันทั้งในจิตของชาวตะวันออกหรือชาวตะวันตก ความทุกข์และความดับแห่งทุกข์ก็เหมือนกันในทุกๆ คน

เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ในการฝึกปฏิบัติ
           พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริง ด้วยตัวของท่านเองว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลย จงเฝ้าดูจิตของท่านเอง พิจารณาให้รู้เห็นว่าความรู้สึกต่างๆ (เวทนา) เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอ เมื่อมีอะไรๆ เกิดขึ้นให้ได้รู้ได้เห็น นี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์ จงเป็นปกติธรรมดา ตามธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่าน ทำขณะอยู่ที่นี่เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติ เป็นธรรมะทั้งหมดเมื่อท่านทำวัตรสวดมนตร์อยู่ พยายามให้มีสติ ถ้าท่านกำลังเทกระโถนหรือล้างส้วมอยู่ อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใด มีธรรมะ อยู่ในการเทกระโถนนั้น อย่ารู้สึกว่า ท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่าน บางคนบ่นว่า ไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่ามีเพียงพอไหม การทำสมาธิภาวนา ของท่านคือการมีสติระลึกรู้ และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ

บางครั้งกังวลใจอยู่กับพระวินัยของพระสงฆ์ ถ้าฆ่าแมลงโดยบังเอิญแล้วจะผิดไหม
           ศีลหรือพระวินัยและศีลธรรมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการฝึกปฏิบัติของเรา แต่ท่านต้องไม่ยึดมั่น ถือมั่นในกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างงมงาย ในการฆ่าสัตว์หรือการละเมิดข้อห้ามอื่นๆ นั้น มันสำคัญที่เจตนา ท่านย่อมรู้อยู่แก่ใจของท่านเอง อย่าได้กังวลกับเรื่องพระวินัยให้มากจนเกินไป ถ้านำมาปฏิบัติอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยเสริมการฝึกปฏิบัติ แต่พระภิกษุบางรูปกังวลกับกฎเกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ มากเกินไป จนนอนไม่เป็นสุข พระวินัยไม่ใช่ภาระที่ต้องแบก
           ในการฝึกปฏิบัติของเราที่นี่มีรากฐานคือพระวินัย พระวินัยรวมทั้งธุดงควัตรและการปฏิบัติ ภาวนา การมีสติและการสำรวมระวังในกฎระเบียบต่างๆ ตลอดจนในศีล ๒๒๗ ข้อนั้นให้คุณประโยชน์ อันใหญ่หลวง ทำให้มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ต้องพะวงว่าจะต้องทำตนอย่างไร ดังนั้นท่านก็หมดเรื่องต้องครุ่นคิด และมีสติดำรงอยู่แทน พระวินัยทำให้พวกเราอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน และชุมชนก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น ลักษณะภายนอกทุกๆ คนดูเหมือนกัน และปฏิบัติอย่างเดียวกัน พระวินัยและศีล ธรรมเป็นบันไดอันแข็งแกร่ง นำไปสู่สมาธิยิ่งและปัญญายิ่ง โดยการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามพระวินัยของพระสงฆ์ และธุดงควัตรทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ และต้องจำกัดจำนวนบริขารของเราด้วย ดังนั้น ที่นี่เราจึงมีการปฏิบัติที่ครบถ้วนตามแบบของพระพุทธเจ้า คือ งดเว้นจากความชั่วและทำความดี มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ชำระจิตให้บริสุทธิ์ โดยการเฝ้าดูจิตและกายของเรา ในทุกๆ อิริยาบถ เมื่อนั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ หรือนอนอยู่ จงรู้ตัวของท่านเอง

ควรจะทำอย่างไรเมื่อสงสัย บางวันวุ่นวายใจด้วยความสงสัยในเรื่องการปฏิบัติ
           ความสงสัยนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกคนเริ่มต้นด้วยความสงสัย ท่านอาจได้เรียนรู้อย่างมากมาย จากความสงสัยนั้น ที่สำคัญก็คือ ท่านอย่าถือเอาความสงสัยนั้นเป็นตัวเป็นตน นั่นคืออย่าตกเป็น เหยื่อของความสงสัย ซึ่งจะทำให้จิตใจของท่านหมุนวนเป็นวัฏฏะอันไม่มีที่สิ้นสุด แทนที่จะเป็นเช่นนั้น จงเฝ้าดูกระบวนการเกิดดับของความสงสัยของความฉงนสนเท่ห์ ดูว่าใครคือผู้ที่สงสัย ดูว่าความสงสัย นั้นเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร แล้วท่านจะไม่ตกเป็นเหยื่อของความสงสัยอีกต่อไป ท่านจะหลุดพ้นออก จากความสงสัยและจิตของท่านก็จะสงบ ท่านจะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ปล่อยวาง ความสงสัยของท่านและเพียงแต่เฝ้าดู นี่คือที่สิ้นสุดของความสงสัย

วิธีฝึกปฏิบัติ (วิธีภาวนา) มีหลายวิธีจนสับสน
           มันก็เหมือนกับการจะเข้าไปในเมือง บางคนอาจจะเข้าเมืองทางทิศเหนือ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ ทางถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางภาวนาก็แตกต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะเดินทางสายหนึ่งสายใด เดินช้าหรือเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู่เสมอ มันก็เหมือนกันทั้งนั้น ข้อสำคัญที่สุดก็คือ แนวทางภาวนาที่ดีและถูกต้องจะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้วก็ต้องปล่อยวาง แนวทางภาวนาทุกรูปแบบด้วย ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ในตัวอาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
           ท่านอาจจะอยากเดินทางไปเพื่อศึกษาอาจารย์ท่านอื่นอีก และลองปฏิบัติตามแนวทางอื่นบ้างก็ได้ พวกท่านบางคนก็ทำเช่นนั้น นี่เป็นความต้องการตามธรรมชาติ ท่านจะรู้ว่า แม้ได้ถามคำถามนับพันคำถามก็แล้ว และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติอื่นๆ ก็แล้ว ก็ไม่อาจจะนำท่านเข้าถึงสัจจธรรมได้ ในที่สุด ท่านก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย ท่านจะรู้ว่าเพียงแต่หยุดและสำรวจตรวจสอบดูจิตของท่านเองเท่านั้น ท่านก็จะรู้ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ไม่มีประโยชน์ที่จะแสวงหาออกไปนอกตัวเอง ผลที่สุดท่านต้องหันกลับมา เผชิญหน้ากับสภาวะที่แท้จริงของตัวท่านเอง ตรงนี้แหละที่ท่านจะเข้าใจธรรมะได้

จำเป็นไหมที่จะต้องนั่งภาวนาให้นานๆ
           ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานนับเป็นหลายๆ ชั่วโมง บางคนคิดว่ายิ่งนั่งภาวนานานเท่าใดก็จะยิ่ง เกิดปัญญามากเท่านั้น ผมเคยเห็นไก่กกอยู่ในรังของมันทั้งวันนับเป็นวันๆ ปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรา มีสติในทุกๆ อิริยาบถ การฝึกปฏิบัติของท่านต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้า และต้องปฏิบัติ ให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งนอนหลับไป อย่าไปห่วงว่าท่านต้องนั่งภาวนาให้นานๆ สิ่งสำคัญก็คือท่าน เพียงแต่เฝ้าดูไม่ว่าท่านจะเดินอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่
           แต่ละคนต่างก็มีทางชีวิตของตนเอง บางคนต้องตายเมื่อมีอายุ ๕๐ ปี บางคนเมื่ออายุ ๖๕ ปี และบางคนเมื่ออายุ ๙๐ ปี ฉันใดก็ฉันนั้น ปฏิปทาของท่านทั้งหลายก็ไม่เหมือนกัน อย่าคิดมาก หรือกังวลใจในเรื่องนี้เลย จงพยายามมีสติและปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน แล้วจิตของท่านก็จะสงบมากขึ้นๆ ในสิ่งแวดล้อมทั้งปวง มันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำใสในป่า ที่ซึ่งบรรดาสัตว์ป่าที่สวยงาม และหายากจะมาดื่มน้ำในสระนั้น ท่านจะเข้าใจถึงสภาวะธรรมของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) ในโลกอย่างแจ่มชัด ท่านจะได้เห็นความอัศจรรย์และแปลกประหาดทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไป แต่ท่านก็จะยังคงสงบอยู่เช่นเดิม ปัญหาทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นแต่ท่านจะรู้ทันมันได้ทันที นี่แหละคือศานติสุขของพระพุทธเจ้า

จิตฟุ้งซ่านมากทั้งๆ ที่พยายามจะมีสติอยู่
           อย่าวิตกในเรื่องนี้เลย พยายามรักษาจิตของท่านให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเกิดรู้สึกอะไรขึ้นมาภาย ในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมัน และปล่อยวาง อย่าแม้แต่หวังที่จะไม่ให้มีความนึกคิดเกิดขึ้นเลย แล้วจิตก็จะเข้า สภาวะปกติตามธรรมชาติของมัน ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความดีและความชั่ว ร้อนและหนาว เร็วหรือช้า ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตนเลย อะไรๆ ก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านเดินบิณฑบาตไม่จำเป็นต้องทำอะไรพิเศษ เพียงแต่เดินและเห็นตามที่เป็นอยู่ อย่ายึดมั่นอยู่กับการแยกตัวไปอยู่แต่ลำพัง หรือกับการเก็บตัว ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด จงรู้จักตัวเองด้วยการปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และเฝ้าดู เมื่อเกิดสงสัยจงเฝ้าดูมันเกิดขึ้นและดับไป มันก็ง่ายๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดทั้งสิ้น
           เหมือนกับว่าท่านกำลังเดินไปตามถนน บางขณะท่านจะพบสิ่งกีดขวางทางอยู่ เมื่อท่านเกิดกิเลส เครื่องเศร้าหมอง จงรู้ทันมันและเอาชนะมันโดยปล่อยให้มันผ่านไปเสีย อย่าไปคำนึงถึงสิ่งกีดขวางที่ ท่านได้ผ่านมาแล้ว อย่าวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่ได้พบ จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าสนใจกับระยะทางของถนน หรือกับจุดหมายปลายทาง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าท่านผ่านอะไรไป อย่าไปยึดมั่นไว้ ในที่สุดจิตจะบรรลุถึงความสมดุลตามธรรมชาติของจิต และเมื่อนั้นการปฏิบัติก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นและดับไปในตัวของมันเอง



ขอบคุณเว็บ : http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html (http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html) และ http://www.kammatan.com


หัวข้อ: Re: ธรรมะจากหลวงปู่ชา สุภัทโธ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2009, 05:33:16 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20080108190025_img_1515.jpg)


สูตรของเว่ยหล่าง (หรือฮุยเหนิง)? ของพระสังฆปริณายก (นิกายเซ็น) องค์ที่หก
           ท่านฮุยเหนิงมีปัญญาเฉียบแหลมมาก คำสอนของท่านลึกซึ้งยิ่งนัก ซึ่งไม่ใช่ของง่ายที่ผู้เริ่มต้นปฏิบัติจะเข้าใจได้ แต่ถ้าท่านปฏิบัติตามศีลและด้วยความอดทนและถ้าท่านฝึกที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ท่าน ก็จะเข้าใจได้ในที่สุด ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งอาศัยอยู่ในกุฏิหลังคามุงแฝก ฤดูฝนนั้นฝนตกชุก และ วันหนึ่งพายุก็พัดเอาหลังคาโหว่ไปครึ่งหนึ่ง เขาไม่ขวนขวายที่จะมุงมันใหม่ จึงปล่อยให้ฝนรั่วอยู่อย่างนั้น หลายวันผ่านไป และผมได้ถามถึงกุฏิของเขา เขาตอบว่าเขากำลังฝึกการไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นการไม่ยึด มั่นถือมั่นโดยไม่ใช้หัวสมอง มันก็เกือบจะเหมือนกับความวางเฉยของควาย ถ้าท่านมีความเป็นอยู่ดีและ เป็นอยู่ง่ายๆ ถ้าท่านอดทนและไม่เห็นแก่ตัว ท่านจึงจะเข้าใจซึ้งถึงปัญญาของท่านฮุยเหนิงได้

ขอให้อธิบายเพิ่มที่ว่าสมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนาหรือปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน
           นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆ นี่เอง สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) นี้ ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ภาวนา จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะและอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานช่วยให้เกิดปัญญา หรือวิปัสสนาได้ในที่สุด แล้วจิตก็ จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่หรือเดินอยู่ในเมืองวุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่า ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็น คนคนเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนา ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน
           อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมพูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไป และเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องทำอะไร พิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัว ของท่านเอง
           ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า ?วิปัสสนา? สมถะก็ถูก เหยียดหยามหรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า ?สมถะ? ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง

ในการปฏิบัติของเรา จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่
           ไม่ ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่

ทำไมต้องปฏิบัติตามธุดงควัตร เช่น ฉันอาหารเฉพาะแต่ในบาตรเท่านั้น
           ธุดงควัตรทั้งหลายล้วนเป็นเครื่องช่วยเราให้ทำลายกิเลสเครื่องเศร้าหมอง การปฏิบัติตามข้อที่ ว่าให้ฉันแต่อาหารในบาตร ทำให้เรามีสติมากขึ้น ระลึกว่าอาหารนั้นเป็นเสมือนยารักษาโรค ถ้าเราไม่มี กิเลสเครื่องเศร้าหมองแล้ว มันก็ไม่สำคัญว่าเราจะฉันอย่างไร แต่เราอาศัยธุดงควัตรทำให้การปฏิบัติของ เราเป็นไปอย่างง่ายๆ พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติธุดงควัตรไว้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระภิกษุทุกองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติธุดงควัตรสำหรับพระภิกษุผู้ประสงค์จะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดธุดงควัตร เป็นส่วนเพิ่มขึ้นมาในศีล เพราะฉะนั้น จึงช่วยเพิ่มความมั่นคงและความเข้มแข็งของจิตใจเรา ข้อวัตรทั้งหลายเหล่านี้ มีไว้ให้ท่านปฏิบัติ อย่าคอยจับตาดูว่าผู้อื่นปฏิบัติอย่างไร จงเฝ้าดูจิตของตัวท่านเอง และดูว่าอะไรจะเป็นประโยชน์สำหรับท่าน กฎข้อที่ว่าเราต้องไปอยู่กุฏิ จะกุฏิใดก็ตามที่กำหนดไว้ให้เรา เป็นกฎที่เป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน มันช่วยกันไม่ให้พระติดที่อยู่ ถ้าผู้ใดจากไปแล้วและกลับมาใหม่ ก็จะต้องไปอยู่กุฏิใหม่ การปฏิบัติของพวกเราเป็นเช่นนี้ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด

หากว่าการใส่อาหารทุกอย่างรวมลงในบาตรเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว ทำไมท่านอาจารย์จึงไม่ปฏิบัติด้วย
           ถูกแล้ว อาจารย์ควรจะทำเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ของตน ผมไม่ถือว่าท่านติผม ท่านซักถามได้ ทุกอย่างที่อยากทราบ แต่ว่ามันก็สำคัญที่ท่านต้องไม่ยึดอยู่กับอาจารย์ ถ้าดูจากภายนอก ผมปฏิบัติดี พร้อมหมดก็คงจะแย่มาก พวกท่านทุกคนก็จะพากันยึดติดในตัวผมยิ่งขึ้น แม้พระพุทธเจ้าเอง บางครั้งก็ ตรัสให้บรรดาสาวกปฏิบัติอย่างหนึ่ง และพระองค์เองกลับปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ความไม่แน่ใจในอาจารย์ ของท่านก็ช่วยท่านได้ ท่านควรเฝ้าดูปฏิกิริยาของตัวเอง ท่านไม่คิดบ้างหรือว่า อาจจะเป็นไปได้ว่า ที่ผม แบ่งอาหารจากบาตรใส่จานไว้เพื่อเลี้ยงดูชาวบ้านที่มาช่วยทำงานที่วัด
           ปัญญา คือสิ่งที่ท่านต้องเฝ้าดู และทำให้เจริญขึ้น รับเอาแต่สิ่งที่ดีจากอาจารย์ จงรู้เท่าทันการ ฝึกปฏิบัติของท่านเอง ถ้าผมพักผ่อนในขณะที่พวกท่านทุกองค์ต้องนั่งทำความเพียรแล้ว ท่านจะโกรธหรือไม่ ถ้าผมเรียกสีน้ำเงินว่าแดง หรือเรียกผู้ชายว่าผู้หญิงก็อย่าเรียกตามผมอย่างหลับหูหลับตา
           อาจารย์องค์หนึ่งของผมฉันอาหารเร็วมาก และฉันเสียงดัง แต่ท่านสอนให้พวกเราฉันช้าๆ และฉันอย่างมีสติ ผมเคยเฝ้าดูท่านและรู้สึกขัดเคืองใจมาก ผมเป็นทุกข์แต่ท่านไม่ทุกข์เลย ผมเพ่งเล็งแต่ลักษณะภายนอก ต่อมาผมจึงได้รู้ บางคนขับรถเร็วมาก แต่ระมัดระวัง บางคนขับช้าๆ แต่มีอุบัติเหตุบ่อยๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นในกฎระเบียบและรูปแบบภายนอก ถ้าท่านใช้เวลาอย่างมากเพียงสิบเปอร์เซ็นต์ มองดูผู้อื่น แต่เฝ้าดูตัวเองเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ อย่างนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว แรกๆ ผมคอยเฝ้า สังเกตอาจารย์ของผมคืออาจารย์ทองรัต และเกิดสงสัยในตัวท่านมาก บางคนถึงกับคิดว่าท่านบ้า ท่าน มักจะทำอะไรแปลกๆ หรือเกรี้ยวกราดเอากับบรรดาลูกศิษย์ของท่าน อาการภายนอกของท่านโกรธ แต่ ภายในใจท่านไม่มีอะไร ไม่มีตัวตน ท่านน่าเลื่อมใสมาก ท่านเป็นอยู่อย่างรู้แจ้งและมีสติจนถึงวาระที่ท่าน มรณะภาพ
           การมองออกไปนอกตัวเป็นการเปรียบเทียบแบ่งเขาแบ่งเรา ท่านจะไม่พบความสุขโดยวิธีนี้ และ ท่านจะไม่พบความสงบเลยถ้าท่านมัวเสียเวลาแสวงหาคนที่ดีพร้อม หรือครูที่ดีพร้อม พระพุทธเจ้า ทรงสอนให้เราดูที่ธรรมะ ที่สัจจธรรม ไม่ใช่คอยจับตาดูผู้อื่น

จะเอาชนะกามราคะที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกปฏิบัติได้อย่างไร
           กามราคะจะบรรเทาลงได้ด้วยการเพ่งพิจารณาถึงความน่าเกลียดโสโครก (อสุภ) การยึดติดอยู่ กับรูปร่างกายเป็นสุดโต่งข้างหนึ่ง ซึ่งเราต้องมองในทางตรงข้าม จงพิจารณาร่างกายเหมือนซากศพและ เห็นการเปลี่ยนแปลงเน่าเปื่อย หรือพิจารณาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ม้าม ไขมัน อุจจาระ และอื่นๆ จำอันนี้ไว้และพิจารณาให้เห็นจริงถึงความน่าเกลียดโสโครกของร่างกายเมื่อมีกามราคะเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้ท่านเอาชนะกามราคะได้

เมื่อโกรธ ควรทำอย่างไร
           ถ้าท่านมีโทสะในขณะภาวนา ให้แก้ด้วยเมตตาจิต ถ้ามีใครทำไม่ดีหรือโกรธ อย่าโกรธตอบ ถ้าท่านโกรธตอบ ท่านจะโง่ยิ่งกว่าเขา จงเป็นคนฉลาดสงสารเห็นใจเขา เพราะว่าเขากำลังได้ทุกข์ จงมี เมตตาเต็มเปี่ยมเหมือนหนึ่งว่าเขาเป็นน้องชายที่รักยิ่งของท่าน เพ่งอารมณ์เมตตาเป็นอารมณ์ภาวนา แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก เมตตาเท่านั้นที่เอาชนะโทสะและความเกลียดได้
           บางครั้งท่านอาจจะเห็นพระภิกษุรูปอื่นปฏิบัติไม่สมควร ท่านอาจจะรำคาญใจ ทำให้เป็นทุกข์โดยใช่เหตุ นี้ไม่ใช่ธรรมะของเรา ท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า ?เขาไม่เคร่งเท่าฉัน เขาไม่ใช่พระกรรมฐานที่ เอาจริงเอาจังเช่นฉัน เขาไม่ใช่พระที่ดี? นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างยิ่งของตัวท่านเอง อย่าเปรียบเทียบ อย่าแบ่งเขาแบ่งเรา จงละทิฐิของท่านเสีย และเฝ้าดูตัวท่านเอง นี่แหละคือธรรมะของเรา ท่านไม่ สามารถบังคับให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตามที่ท่านต้องการหรือเป็นเช่นท่านได้ ความต้องการเช่นนี้มีแต่ จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ ผู้ปฏิบัติภาวนามักจะพากันหลงผิดในข้อนี้ การจับตาดูผู้อื่นไม่ทำให้เกิดปัญญาได้ เพียงแต่พิจารณาตนเองและความรู้สึกของตน แล้วท่านก็จะเข้าใจได้

ง่วงเหงาหาวนอนมาก ทำให้ภาวนาลำบาก ควรทำอย่างไร
           มีวิธีเอาชนะความง่วงได้หลายวิธี ถ้าท่านนั่งอยู่ในที่มืด ย้ายไปอยู่ที่สว่าง ลืมตาขึ้น ลุกไปล้างหน้า ตบหน้าตนเอง หรือไปอาบน้ำ ถ้าท่านยังง่วงอยู่อีก ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เดินจงกรมให้มาก หรือเดินถอยหลัง ความกลัวว่าจะไปชนอะไรเข้าจะทำให้ท่านหายหายง่วง ถ้ายังง่วงอยู่อีกก็จงยืนนิ่งๆ ทำใจให้สดชื่น และสมมติว่าขณะนั้นสว่างเป็นกลางวัน หรือนั่งริมหน้าผาสูงหรือบ่อลึก ท่านจะไม่กล้าหลับ ถ้าทำอย่างไรๆ ก็ไม่หายง่วงก็จงนอนเสีย เอนกายลงอย่างสำรวม ระวังและรู้ตัวอยู่จนกระทั่งท่านหลับไป เมื่อ ท่านรู้สึกตัวตื่นขึ้นจงลุกขึ้นทันที อย่ามองดูนาฬิกาหรือหลับต่ออีก เริ่มต้นมีสติระลึกรู้ทันทีที่ท่านตื่น
           ถ้าท่านง่วงนอนอยู่ทุกวัน ลองฉันอาหารให้น้อยลง สำรวจตัวเอง ถ้าอีกห้าคำท่านจะอิ่มจงหยุด แล้วดื่มน้ำจนอิ่มพอดี แล้วกลับไปนั่งดูใหม่อีก เฝ้าดูความง่วงและความหิว ท่านต้องกะฉันอาหารให้พอดี เมื่อท่านฝึกปฏิบัติต่อไปอีก ท่านจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นและฉันน้อยลง ท่านต้องปรับตัวของท่านเอง

ทำไมเราจึงต้องกราบกันบ่อยๆ ที่นี่ (ที่วัดหนองป่าพง)
           การกราบนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นรูปแบบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ การกราบนี้ต้องทำให้ถูกต้อง ก้มลงจนหน้าผากจรดพื้น วางศอกให้ชิดกับเข่า ฝ่ามือทั้งสองราบอยู่ที่พื้น ห่างกันประมาณสามนิ้ว กราบลงช้าๆ มีสติรู้อาการของกาย การกราบช่วยแก้ความถือตัวของเราได้เป็นอย่างดี เราควรกราบบ่อยๆ เมื่อท่านกราบสามหน ท่านควรตั้งจิตระลึกพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ นั่น คือคุณลักษณะแห่งจิตอันสะอาด สว่าง และสงบ ดังนั้นเราจึงอาศัยรูปแบบนี้ฝึกฝนตน   กายแลจิตจะ ประสานกลมกลืนกัน อย่าได้หลงผิดไปจับตาดูว่า ผู้อื่นกราบอย่างไร ถ้าสามเณรน้อยดูไม่ใส่ใจ และพระผู้เฒ่าดูขาดสติ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะตัดสิน บางคนอาจจะสอนยาก บางคนเรียนได้เร็ว บางคนเรียนได้ช้า การพิจารณาตัดสินผู้อื่นมีแต่จะเพิ่มความหยิ่งทะนงตน จงเฝ้าดูตัวเอง กราบบ่อยๆ ขจัดความหยิ่งทะนงตนออกไป
           ผู้ที่เข้าถึงธรรมะได้อย่างแท้จริงแล้ว ท่านจะอยู่เหนือรูปแบบ ทุกๆอย่างที่ท่านทำก็มีแต่การอ่อน น้อมถ่อมตน เดินก็ถ่อม ฉันก็ถ่อม ขับถ่ายก็ถ่อม ทั้งนี้ก็เพราะว่าท่านพ้นจากความเห็นแก่ตัวเสียแล้ว

กิเลสเครื่องเศร้าหมอง เช่น ความโลภหรือความโกรธ เป็นเพียงมายาหรือว่าเป็นของจริง[/b]
           เป็นทั้งสองอย่าง กิเลสที่เราเรียกว่าราคะหรือความโลภ ความโกรธ และความหลงนั้นเป็นแต่เพียงชื่อ เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา เช่นเดียวกับที่เราเรียกชามใหญ่ ชามเล็ก สวย หรืออะไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สภาพที่เป็นจริง แต่เป็นความคิดปรุงแต่งที่เราคิดปรุงขึ้นจากตัณหา ถ้าเราต้องการชามใหญ่เราก็ว่าอันนี้ เล็กไป ตัณหาทำให้เราแบ่งแยก ความจริงก็คือมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ลองมามองแง่นี้บ้าง ท่านเป็นผู้ ชายหรือเปล่า ท่านตอบว่าเป็น นี่เป็นเพียงรูปปรากฏของสิ่งต่างๆ แท้จริงแล้วท่านเป็นส่วนประกอบของ ธาตุและขันธ์ ถ้าจิตเป็นอิสระแล้ว จิตจะไม่แบ่งแยก ไม่มีใหญ่ ไม่มีเล็ก ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีอะไร จะเป็นอนัตตา หรือความไม่ใช่ตัวตน แท้จริงแล้ว ในบั้นปลายก็ไม่มีทั้งอัตตาและอนัตตา (เป็นแต่เพียงชื่อเรียก)


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html (http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html)


หัวข้อ: Re: ธรรมะจากหลวงปู่ชา สุภัทโธ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2009, 05:07:47 AM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20081218102214_4036.jpg)


คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรรม
           กรรมคือการกระทำ กรรมคือการยึดมั่นถือมั่น กาย วาจา และใจ ล้วนสร้างกรรม เมื่อมีการยึดมั่นถือมั่น เราทำกันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัย ซึ่งจะทำให้เราเป็นทุกข์ได้ในกาลข้างหน้า นี่เป็นผลของ การยึดมั่นถือมั่นและของกิเลสเครื่องเศร้าหมองของเราที่เกิดขึ้นในอดีต ความยึดมั่นทั้งหลายจะทำให้ เราสร้างกรรม สมมติว่าท่านเคยเป็นขโมยก่อนที่จะบวชเป็นพระ ท่านขโมยเขา ทำให้เขาไม่เป็นสุข ทำให้ พ่อแม่หมดสุข ตอนนี้ท่านเป็นพระแต่เวลาที่ท่านนึกถึงเรื่องที่ท่านทำให้ผู้อื่นหมดสุขแล้ว ท่านก็ไม่สบายใจ และเป็นทุกข์แม้จนทุกวันนี้ จงจำไว้ว่า ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ผลในอนาคตได้ ถ้าท่านเคยสร้างกรรมดีไว้ในอดีต และวันนี้ก็ยังจำได้ ท่านก็เป็นสุข ความสุขใจเป็นผล จากกรรมในอดีต สิ่งทั้งปวงมีเหตุเป็นปัจจัยทั้งในระยะยาว และถ้าใคร่ครวญดูแล้วทั้งในทุกๆ ขณะด้วย แต่ท่านอย่าไปนึกถึงอดีตหรือปัจจุบันหรืออนาคต เพียงแต่เฝ้าดูกายและจิต ท่านจะต้องพิจารณาจนเห็น จริงในเรื่องกรรมด้วยตัวของท่านเอง จงเฝ้าดูจิต ปฏิบัติแล้วท่านจะรู้อย่างแจ่มแจ้ง อย่าลืมว่ากรรมใคร ก็เป็นของคนนั้น อย่ายึดมั่นและอย่าจับตาดูผู้อื่น ถ้าผมดื่มยาพิษ ผมก็ได้รับทุกข์ ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะมา เป็นทุกข์ด้วย จงรับเอาแต่สิ่งดีที่อาจารย์สอน แล้วท่านจะเข้าถึงความสงบ จิตของท่านจะเป็นเช่นเดียว กันกับจิตของอาจารย์ ถ้าท่านพิจารณาดู ท่านก็จะรู้ได้ แม้ว่าขณะนี้ท่านจะยังไม่เข้าใจ เมื่อท่านปฏิบัติต่อไป มันก็จะแจ่มแจ้งขึ้น ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรม
           เมื่อเรายังเล็ก พ่อแม่วางกฎระเบียบกับเรา และหัวเสียกับเรา แท้จริงแล้วท่านต้องการจะช่วยเรา กว่าเราจะรู้ก็ต่อมาอีกนาน พ่อแม่และครูบาอาจารย์ดุว่าเราและเราก็ไม่พอใจ ต่อมาเราจึงเข้าใจว่า ทำไม เราจึงถูกดุ ปฏิบัติไปนานๆ แล้วท่านก็จะเห็นเอง ส่วนผู้ที่คิดว่าตนฉลาดล้ำก็จะจากไปในเวลาอันสั้น เขา ไม่มีวันจะได้เรียนรู้ ท่านต้องขจัดความคิดว่าตัวฉลาดสามารถออกไปเสีย ถ้าท่านคิดว่าท่านดีกว่าผู้อื่น ท่านก็จะมีแต่ทุกข์ เป็นเรื่องน่าสงสาร อย่าขุ่นเคืองใจ แต่จงเฝ้าดูตนเอง

เจริญสมาธิภาวนาจนจิตสงบลึก ควรทำอย่างไรต่อไป
           นี่ก็ดีแล้ว ทำจิตให้สงบและเป็นสมาธิ และใช้สมาธินี้พิจารณาจิตและกาย ถ้าจิตเกิดไม่สงบก็จงเฝ้าดูด้วย แล้วท่านจะรู้ถึงความสงบที่แท้จริง เพราะอะไร เพราะท่านจะได้เห็นความไม่เที่ยง แม้ความ สงบเองก็ดูให้เห็นไม่เที่ยง ถ้าท่านยึดติดอยู่กับภาวะจิตที่สงบ แล้วท่านจะเป็นทุกข์เมื่อจิตไม่สงบ ฉะนั้น จงปล่อยวางหมดทุกสิ่ง แม้แต่ความสงบ

ท่านอาจารย์เป็นห่วงลูกศิษย์ที่พากเพียรมากหมายความว่าอย่างไร
           ถูกแล้ว ผมเป็นห่วง ผมเป็นห่วงว่าเขาเอาจริงเอาจังจนเกินไป เขาพยายามเกินไป แต่ขาดปัญญา เขาเคี่ยวเข็นตนเองไปสู่ความทุกข์ยากโดยไม่จำเป็น บางคนมุ่งมั่นที่จะรู้แจ้ง เขาขบฟันแน่นและ ใจดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้เป็นความพยายามมากเกินไป คนทั่วไปก็เช่นเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ถึง สภาพเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) สังขารทั้งปวง จิตและร่างกายล้วนเป็นของไม่เที่ยง จงเฝ้าดู และอย่ายึดมั่นถือมั่น
           บางคนคิดว่าเขารู้ เขาวิพากวิจารณ์ จับตามองและลงความเห็นเอาเอง อย่างนี้ก็ตามใจเขา ทิฐิ ของใครก็ปล่อยให้เป็นของคนนั้น การแบ่งเขาแบ่งเรานี้อันตราย เปรียบเหมือนทางโค้งอันตรายของถนน ถ้าเราคิดว่าคนอื่นด้อยกว่าหรือดีกว่า หรือเสมอกันกับเรา เราก็ตกทางโค้ง ถ้าเราแบ่งเขาแบ่งเรา เราก็จะเป็นทุกข์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html (http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html)


หัวข้อ: Re: ธรรมะจากหลวงปู่ชา สุภัทโธ
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ สิงหาคม 15, 2011, 10:25:13 PM
ยอดคำสอน
(http://kammatan.com/gallary/images/20130317000258_487483_133945183453036_1781537683_n.jpg)
หลวงปู่ชา สุภทฺโท

วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


ยอดคำสอน เป็นคำสอน เป็นคติ เป็นปรัชญาสั้นๆ ที่คมลึกซึ้ง ใครได้ฟังแล้วจะเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง
และบางครั้งอาจจะถึงกับอุทาน ออกมาว่า ท่านคิดและกลั่นกรองคำเหล่านี้ออกมาจากจิตได้อย่างไร
ถ้าจิตนั้นไม่บริสุทธิ์แจ่มใสเยี่ยงผู้บรรลุธรรม ขอท่านได้สังเกตคำสอน ต่อไปนี้


ธรรมดาๆ
ตามความเป็นจริงแล้ว โลกที่เราอยู่นี้ไม่มีอะไรทำไมใครเลย
ไม่มีอะไรจะเป็นที่วิตกวิจารย์เลย
ไม่มีอะไรที่น่าจะร้องไห้หรือหัวเราะ
เพราะมันเป็นเรื่องอย่างนั้นธรรมดาๆ
แต่เราพูดธรรมดาได้ แต่มองไม่เห็นธรรมดา
แต่ถ้าเรารู้ธรรมะสม่ำเสมอ
ไม่มีอะไรเป็นอะไรแล้ว
มันเกิดมันดับของมันอยู่อย่างนั้น
เราก็สงบ

การปฏิบัติคืออำนาจ

พระพุทธศาสนาไม่มีอำนาจอะไรเลย
แม้ก้อนทองคำก็ไม่มีราคา ถ้าเราไม่มารวมกันว่ามันเป็นโลหะที่ดีมีราคา
ทองคำมันก็ถูกทิ้งเหมือนก้อนตะกั่วเท่านั้นแหละ
พระพุทธศาสนาตั้งไว้มีอยู่
แต่ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ จะไปมีอำนาจอะไรเล่า
อย่างธรรมะเรื่องขันติมีอยู่
แต่เราไม่อดทนกัน
มันจะมีอำนาจอะไรไหม?

ชนะตนเอง
ถ้าเราเอาชนะตัวเอง
มันก็จะชนะทั้งตัวเองชนะทั้งคนอื่น
ชนะทั้งอารมณ์ ชนะทั้งรูป ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น
ทั้งรส ทั้งโผฎัฐพพะ
เป็นอันว่าชนะทั้งหมด

สุขทุกข์
คนที่ไม่รู้จักสุข ไม่รู้จักทุกข์นั้น
ก็จะเห็นว่า สุขกับทุกข์นั้นมันคนละระดับ
มันคนละราคากัน
ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว
ท่าน จะเห็นว่า
สุขเวทนา กับทุกขเวทนา
มันมีราคาเท่าๆ กัน

เกิดตาย
เมื่อเราเกิดมาแล้วโยม ก็คือเราตายแล้วนั่นเอง
ความแก่กับความตายมันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ
เหมือนกับต้นไม้ อันหนึ่งต้น อันหนึ่งปลาย
เมื่อมีโคนมันก็มีปลาย
เมื่อมีปลายมันก็มีโคน
ไม่มีโคนปลายก็ไม่มี
มีปลายก็ต้องมีโคน
มีแต่ปลายโคนไม่มีก็ไม่ได้
มันเป็นอย่างนั้น

งูเห่า
อารมณ์นี้ก็เหมือนกับงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น
อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมาก
อารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก
มันทำให้จิตใจของเราไม่เป็นเสรี
ทำให้จิตใจไขว้เขวจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

ของจริง
ธรรมของจริงของแท้ที่ทำให้บุคคลเป็นอริยะได้
มิใช่เพียงศึกษาตามตำรา
และนึกคิดคาดคะเนเอาเท่านั้น
แต่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นจริงๆ
ของจริงจึงจะเป็นของจริงขึ้นมาได้

ได้เสีย
ทุกอย่างที่เรามีอยู่เป็นอยู่นั้น
มันเป็นสักแต่ว่า "อาศัย" เท่านั้นถ้ารู้ได้เช่นนี้ ท่านว่ารู้เท่าตามสังขาร
ที่นี้แม้จะมีอะไรอยู่ก็เหมือนไม่มี
ได้ก็เหมือนเสีย
เสียก็เหมือนได้

พิการ
เด็กทั้ง 2 พิการ เดินทางได้จะเข้ารกเข้าป่าก็รู้
แต่เราพิการใจ (ใจมีกิเลส)จะพาเข้ารกเข้าป่าหรือเปล่า
คนพิการกายอย่างเด็กนี้ มิได้เป็นพิษเป็นภัยกับใคร
แต่ถ้าคนพิการใจมากๆ
ย่อมสร้างความวุ่นวายยุ่งยากแก่มนุษย์และสัตว์
ให้ได้รับความเดือดร้อนมากทีเดียว

คนดีอยู่ไหน
คนดีอยู่ที่เรานี่แหละ
ถ้าเราไม่ดีแล้ว
เราจะอยู่ที่ไหนกับใคร
มันก็ไม่ดีทั้งนั้น

ชีวิต
เมื่อเราทอดอาลัยในชีวิต
วางวันเสีย ไม่เสียดาย
ไม่กลัวตาย
ก็ทำให้เราเกิดความสบาย และเบาใจจริงๆ

นั่งที่ไหนดี
จะนั่งหัวแถวหรือหางแถวก็ไม่แปลก
เหมือนเพชรนิลจินดา
จะวางไว้ที่ไหนก็มีราคาเท่าเดิม
และจะได้เป็นการลดทิฐิมานะให้น้อยลงไปด้วย

ไม่กลัวตาย
กลัวอะไร?
กลัวตายความตายมันอยู่ที่ไหน?
อยู่ที่ตัวเราเอง
จะหนีพ้นมันได้ไหม?
ไม่พ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
ในที่ มืด หรือในที่แจ้ง ก็ตายทั้งนั้น หนีไม่พ้นเลย
จะกลัวหรือไม่กลัวก็ไม่มีทางพ้น
เมื่อรู้อย่างนี้
ความกลัวไม่รู้หายไปไหน
เลยหยุดกลัว
เหมือนกับที่เราออกจากที่มืดสู่ที่สว่างนั่นแหละ

สอนคนอย่างไร
ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนแล้ว
จึงสอนคนอื่นทีหลัง
จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก

สอนคนด้วยการทำให้ดู

ทำเหมือนพูด
พูดเหมือนทำ

มนุษย์ศาสตร์
มนุษยศาสตร์ทั้งหลาย มีแต่ศาสตร์ที่ไม่มีคมทั้งนั้น
ไม่สามารถจะตัดทุกข์ได้
มีแต่ก่อให้เกิดทุกข์
ศาสตร์เหล่านั้น ถ้าไม่มาขึ้นกับพุทธศาสตร์แล้ว
มันจะไปไม่รอดทั้งนั้น

หลับ - ไม่หลับ
ถ้าหลับมันก็ไม่รู้
ถ้ารู้มันก็ไม่หลับ

มรรคผล
มรรคผลยังไม่พ้นสมัย
คนโง่เท่านั้นที่ปฏิเสธว่า
ในพื้นดินไม่มีน้ำแล้วไม่ยอมขุดบ่อ

ไม้คดคนงอ
ต้นไม้เถาวัลย์ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร
คนคดคนงอนั้น ร้ายนัก
เป็นพิษเป็นภัยทั้งอยู่บ้านและอยู่วัด

หลง
คนหลงโลกคือคนหลงอารมณ์
คนหลงอารมณ์คือคนหลงโลก

นักปฏิบัติ
กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย คือนักปฏิบัติ
กินมาก นอนมาก พูดมาก คือ คนโง่

แสดงอาการ
การหัวเราะเป็นอาการของคนบ้า
การร้องไห้เป็นอาการของทารก
ฉะนั้นท่านผู้ถึงสงบ
จะไม่หัวเราะไม่ร้องไห้

ความอาย
เมืองนี้ยังไม่เคยมีพระบิณฑบาตเลย
เพราะเขามีความอายกันเป็นส่วนมาก
แต่ตรงกันข้ามกับเรา
เราเห็นว่า
คำที่ว่าอายนี้
เราเห็นว่า อายต่อบาป
อายต่อความผิดท่านั้น

เมืองนอก
เราได้เดินทางไปเมืองนอก
และเมืองในนอก
และเมืองในใน
และเมืองนอกนอก
รวมสี่เมืองด้วยกัน

ที่รวมสมาธิ
เมื่อนั่งหลับตาให้ยกความรู้สึกขึ้นเฉพาะลมหายใจ
เอาลมหายใจเป็นประธาน
น้อมความรู้สึกตามลมหายใจ
เราจึงจะรู้ว่าสติมันรวมอยู่ตรงนี้
ความรู้มันจะมารวมอยู่ตรงนี้

เกาะสีชัง
เรามาอาศัยอยู่ที่เกาะนี้ คือที่พึ่งทางใน
ซึ่งเป็นที่อันน้ำคือกิเลสตัณหาท่วมไม่ถึง
แม้เราจะอยู่บนเกาะสีชัง
แต่ก็ยังค้นหาเกาะภายในอีกต่อไป
ผู้ที่ท่านได้พบ และอาศัยเกาะอยู่ได้นั้น
ท่านย่อมอยู่เป็นสุข
ต่างจากคนที่ลอยคออยู่ในทะเล คือความทุกข์

กินแบบไหน
ฉันอาหารไม่พิจารณา
จะเป็นเหมือนปลากินเหยื่อ
ย่อมติดเบ็ด

บริขาร
บริขารทั้งปวงเป็นเพียงเครื่องประดับขันธ์ห้าเท่านั้น
การไม่รู้จักประมาณในการบริโภคบริขาร
มีความกังวลในการจัดหา
ย่อมเป็นการยุ่งยาก
ขาดการปฏิบัติธรรม
ย่อมไม่ได้รับผลอันตนพึงปรารถนา

อยู่กับใคร
การคลุกคลีอยู่กับผู้มีปฏิปทาไม่เสมอกัน
ทำให้เกิดความลำบาก
ความรู้สึกจะมารวมอยู่ตรงนี้
อารมณ์เราเป็นอย่างนี้
เราจึงจะรู้จักที่รวมแห่งสมาธิ
ปล่อยลม-ได้สมาธิ-ปัญญา
เรากำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว
เราปล่อยลมให้เป็นธรรมชาติ
อย่าไปบังคับลมให้มันยาว
อย่าไปบังคับลมให้มันสั้น
ปล่อยสภาพลมให้พอดี
แล้วดูลมหายใจเข้าออก
เมื่อปล่อยอารมณ์ได้
เสียอะไรก็ไม่ได้ยิน
ถ้าจิตเราวุ่นวายกับสิ่งต่างๆ
ไม่ยอมรวมเข้ามา
ก็ต้องสูดลมเข้าไปให้มากที่สุด
จนกว่าจะไม่มีที่เก็บ
แล้วก็ปล่อย ลมออกให้มากที่สุด
จนกว่าลมจะหมดในท้องสัก 3 ครั้งถ้าเรามีสติอย่างนี้
อย่างวันนี้ เข้าสมาธิสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง
จิตใจของเรา จะมีความเยือกเย็น ไปตั้งหลายวัน
แล้วจิตจะสะอาด
เห็นอะไรจะรับพิจารณาทั้งนั้น
นี้เรียกว่าผลเกิดจากสมาธิ
สมาธิมีหน้าที่ทำให้สงบ
เมื่อจิตเราสงบแล้ว
จะมีการสังวร สำรวมด้วยปัญญา
เมื่อสำรวมเข้า ละเอียดเข้า
มันจะเป็นกำลังช่วยศีลให้บริสุทธิ์ขึ้นมาก
แล้วสมาธิก็จะเกิดขึ้นมาก
เมื่อสมาธิเต็มที่ก็จะเกิดปัญญา

ปลดทุกข์
ทุกข์มีเพราะยึด ทุกข์ยึดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย ทุกข์น้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย

นักอุปมาอุปมัย
หลวงปู่ชา นับเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ติดดินที่สุด ท่านสอนจากธรรมชาติที่ต่ำ
ที่สุดเพื่อให้เกิดสิ่งที่สุดคือมรรคผล โดยมีคนเปรียบเทียบแง่มุมนี้ว่าคล้ายกับแนว
 คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ แต่จุดเด่นอันหนึ่งของแนวคำสอนของหลวงปู่ชาก็คือ
"การเปรียบเทียบ" ท่านหาเรื่องมาเปรียบเทียบเพื่ออธิบายคำสอนของท่านได้อย่างเหมาะเจาะและเข้าใจง่าย
ดังข้อเปรียบเทียบต่อไปนี้

มะม่วง

ถ้าพูดให้สั้นเข้ามา
ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี มันก็เป็นอันเดียวกัน
ศีลก็คือ สมาธิ สมาธิ ก็คือศีล
สมาธิก็คือ ปัญญา ปัญญาก็คือสมาธิ
ก็เหมือนมะม่วงใบเดียวกัน
เมื่อมันเป็นดอกขึ้นมามันก็ดอกมะม่วง
เมื่อเป็นลูกเล็กก็เรียกว่าผลมะม่วง
เมื่อมันโตขึ้นมา ก็เรียกมะม่วงลูกโต
มันโตขึ้นไปอีกก็เรียกมะม่วงห่าม
เมื่อมันสุกก็คือมะม่วงสุก
มันก็มะม่วงลูกเดียวกันนั่นแหละ
มันเปลี่ยน ไป
มันจะโตมันก็โตไปหาเล็ก
เมื่อมันเล็กมันก็เล็กไปหาโต

มีด

สมถกับวิปัสสนา
มันแยกกันไม่ได้หรอก
มันจะแยกกันได้ก็แต่คำพูด
เหมือนกับมีดเล่มหนึ่งนะ
คมมันก็อยู่ข้างหนึ่ง
สันมันก็อยู่ข้างหนึ่งนั่นแหละ
มันแยกกันไม่ได้หรอก
ถ้าเราจับด้ามมันขึ้นมาอันเดียวเท่านั้น
มันก็ติดมาทั้งคมทั้งสันนั่นแหละ

งู

มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์
ต้องการแต่สุข
ความจริงสุขนั้นก็คือทุกข์อย่างละเอียด
เช่นเดียวกับทุกข์ก็คือ ทุกข์อย่างหยาบ
พูดอย่างง่ายๆ
สุขและทุกข์ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง
ทางหัวมันเป็นทุกข์
ทางหางมันเป็นสุข
เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ มันก็กัดเอา
ไปจับหางมันก็เหมือนเป็นสุข
แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้ เหมือนกัน
เพราะทั้งหัวงูและหางงู
มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน
เช่นเดียวกับสุขและทุกข์
ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน

หมายังรู้

หมามันยังรู้จักอารมณ์ของมันเลย
เวลาหิวมันก็คราง "หงิงๆ"ใครไม่รู้จักอารมณ์ของตัวเองก็ตายเสียดีกว่า

โคตรของสมาธิ
มีอุบาสกคนหนึ่งถาม หลวงพ่อว่า "ถ้าทำสมาธินี้ เอาแต่ขณิกก็พอ ไม่จำเป็นต้องไปไกลกว่านั่นใช่ไหมครับ"หลวงพ่อชา ตอบว่า "ก็ไม่เป็นไรอย่างนั้น คือหมายความว่า มันต้องเดินไปถึงกรุงเทพฯ ก่อนว่ากรุงเทพมันเป็นอย่างนี้ อย่าไปถึงแค่โคราชซิ...คือไปให้ถึงกรุงเทพฯก่อน และเราก็ผ่านอุบลราชธานีด้วย ผ่านโคราชด้วย ผ่านกรุงเทพฯ ด้วย คือเรียกว่าสมาธินะ ขณิกสมาธิ อัปปณาสมาธิ มันจะถึงที่ไหนก็ให้มันถึงที่ มันจึงจะรู้จักโคตรของสมาธิว่ามันเป็นอย่างไร อัปปณาสมาธิที่มันมากกว่าอุปจารสมาธิ"

หัวกลอย
ให้กลับความรักที่มีอยู่ให้กลายเป็นความรักสากล
ให้กลายเป็นความรักที่มีต่อสรรถสัตว์ทั้งหลาย
รักเหมือนแม่รักลูก พ่อรักลูก แม้ผมอยู่กับพวกท่าน
ผมก็รักท่านเหมือนเป็นลูกเป็นหลาน ให้ล้างความใคร่
ออกจากความรักเหมือนหัวกลอย ต้องแล่เอาพิษออกจึงกินได้
ความรักก็เช่นเดียวกัน ต้องพิจารณา มองให้เห็นทุกข์ของมัน
ค่อยๆ ล้วงเอาเชื้อแห่งความมัวเมาออก เพื่อให้เหลือแต่ความ
รักล้วนๆ เหมือนครูบาอาจารย์รักศิษย์

จิตคือควาย
เปรียบเสมือนกับการเลี้ยงควาย
จิตของเราก็เหมือนควาย
อารมณ์คือต้นข้าว
ผู้รู้เหมือนเจ้าของ
เวลาเราไปเลี้ยงควายทำอย่างไร
ปล่อยมันไป
แต่เราพยายามดูมันอยู่
ถ้ามันพยายามเดินไปใกล้ต้นข้าว
ก็ตวาดมัน
ควายได้ยินก็จะถอยออกไป
แต่เราอย่าเผลอะนะ
ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง
ก็เอาไม้ฆ้องฟาดมันจริงๆ
มันจะไปไหนเสีย

วัวไม่กินหญ้าก็คือหมู
ทุกวันนี้ อาตมาไม่ค่อยได้เทศน์มาก อยู่วัดอยู่วาก็เหมือนกัน
ปีนี้เทศน์ให้แม่ชีฟังถึงสองสามครั้งหรือเปล่า ก็จำไม่ได้
พระเจ้าพระสงฆ์ก็ให้อยู่เฉยๆ ให้ดูเอาปฏิบัติเอง
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
เพราะเข้าใจว่า คนมีศรัทธา จึงเข้ามาในวัด จึงมาบวชเป็นปะขาว
จึงมาบวชเป็นเณร จึงมาบวชเป็นพระ
เข้าใจอย่างนั้น
ถ้าเข้าใจอย่างนั้นก็เหมือนกันกับวัวเราน่ะแหละ
วัวมันกินอะไร
มันกินหญ้า
จับมันมาปล่อยใส่สนามหญ้าแล้ว
ถ้ามันไม่กินหญ้ามันก็เป็นหมูเท่านั้นแหละ

นักปฏิภาณ
บางครั้งหลวงพ่อชา ท่านมีจิตแจ่มใส เดาใจคนถามได้อย่างแม่นยำ
จึงมักจะมีการใช้ปฏิภาณโต้ตอบปัญหาอย่างเฉียบแหลมอยู่เสมอ

ใครรู้อัตตา
คนที่นับถือพระเจ้า ไม่ยอมรับคำสอนเรื่อง "อนัตตา" ของพุทธศาสนา
เหตุผลของเขาก็คือ "จะเอาอะไรมารู้อนัตตาเล่า ถ้าไม่ใช่อัตตา"
วันหนึ่ง มีชาวคริสต์มาถามหลวงพ่อว่า "ใคร่รู้อนัตตา"
หลวงพ่อถามกลับทันที "ใครรู้อัตตา"

นกไม่รู้เรื่องปลา
มีชาวต่างประเทศถามหลวงพ่อว่า ชีวิตพระเป็นอย่างไร?
หลวงพ่อคิดว่าตอบอย่างไรก็ไม่เข้าใจแน่ เพราะเขายังไม่รู้จักพระ
จึงตอบไปว่า
ถึงปลาจะบอกว่าอยู่ในน้ำเป็นอย่างไร
นกก็ไม่มีทางจะรู้ได้
ตราบใดที่นกยังไม่เป็นปลา

ของแปลก
ในความเคร่งเครียดในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อก็ยังมีแง่มุมที่ขบขันให้เราได้เห็นบ้างเป็นการหักมุมที่ค่อนข้างจะตื่นเต้นมาก ดังที่ท่านบันทึกไว้ในการเดินทางไป ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2520 ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการเดินทางในวันที่ 6 ในขณะที่บินอยู่ เครื่องบินได้เกิดอุบัติเหตุยางระเบิด 1 เส้นบนอากาศ พนักงานการบินจึงได้ประกาศให้ผู้โดยสารเตรียมตัวรัดเข็มขัด มีฟันปลอมก็ต้องถอดออก แม้กระทั่งแว่นตาหรือรองเท้า เครื่องบริขารทุกอย่าง ต้องเตรียมพร้อมหมด ผู้โดยสารทุกคนเมื่อเก็บบริขารทุกอย่าง เสร็จแล้ว ต่างคนต่างก็เงียบ คงคิดว่าจะเป็นวาระสุดท้ายของพวกเราทุกคนเสียแล้ว ขณะนั้นเราก็ให้คิดว่าเป็นครั้งแรกที่เราได้เดินทางมาเมืองนอก เพื่อสร้างประโยชน์แก่พระศาสนา จะเป็นผู้มีบุญอย่างนี้เทียวหรือ เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้ว ก็ตั้งสัตย์อธิษฐานมอบชีวิตให้พระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ แล้วก็กำหนดจิตรวมลงในสถานที่ควรอันหนึ่ง แล้วก็ได้รับความสงบเยือกเย็น ดูคล้ายกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น พักในที่ตรงนั้น จนกระทั่งเครื่องบินได้ลดระดับลงมาถึงแผ่นดินด้วยความปลอดภัย ฝ่ายคนโดยสารก็ปรบมือกันด้วยความดีใจ คงคิดว่าเราปลอดภัยแล้ว สิ่งที่แปลกก็คือ ขณะเมื่อเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุ ต่างคนก็ร้องเรียกว่า หลวงพ่อช่วยปกป้องคุ้มครองพวกเราทุกคนด้วย แต่เมื่อพ้นอันตรายแล้ว เดินลงจากเครื่องบินเห็นประณมมือไหว้พระเพียงคนเดียวเท่านั้น นอกนั้นไหว้แอร์โฮสเตสทั้งหมดในที่นั้น นี้เป็นสิ่งที่แปลก


คัดลอกจาก http://www.dharma-gateway.com/monk/p.../lp-cha_33.htm และ http://www.kammatan.com


หัวข้อ: Re: ธรรมะจากหลวงปู่ชา สุภัทโธ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 16, 2011, 10:03:13 AM
ลึกซึ้งจริงๆ ครับผม แต่ละถ้อยคำนั้น น่าจะเห็นได้จากจิตที่ปราศการการปรุงแต่ง แล้วเน๊อะครับผม

อนุโมทนาสาธุ ครับพี่ต่าย และขอบคุณ ธรรมเตือนสติ นะครับผม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 08, 2012, 04:21:16 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20120731111740_n.jpg)

It does not matter where we sit, first or last,
if we see it as an opportunity for being humble. It is like a precious jewel,
 it has the same price wherever you leave it.


Ajahn Cha


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 08, 2012, 04:23:28 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20120722212722_n.jpg)


อยู่คนเดียวเข้าใจว่าเป็นโสดไม่สบาย หาคู่ครองเรือนมันจะสบาย เลยหาคู่ครองมาครองเรือนให้
เอาของสองอย่างมารวมกันมันก็กระทบกันอยู่แล้ว อยู่คนเดียวมันเงียบเกินไป ไม่สบายแล้ว
เอาคนสองคนมาอยู่ด้วยกัน มันก็กระทบกัน ก๊อกๆแก๊กๆ นั่นแหละลูกเกิดมาครั้งแรกตัวเล็กๆ
พ่อแม่ก็ตั้งใจว่า ลูกเราเมื่อมันโตขึ้นมาขนาดหนึ่งเราก็สบายหรอก ก็เลี้ยงมันไปสามคนสี่คนห้าคน
นึกว่ามันโตเราจะสบาย เมื่อมันโตมาแล้วมันยิ่งหนัก เหมือนกับแบกท่อนไม้อันหนึ่งเล็กอันหนึ่งใหญ่
ทิ้งท่อนเล็กแล้วแบกเอาท่อนใหญ่ นึกว่ามันจะเบาก็ยิ่งหนัก

ลูกเราตอนเด็กๆมันไม่กวนเท่าไรหรอกโยม มันกวนถามกินข้าวกับกล้วย
เมื่อมันโตขึ้นมานี่มันถามเอารถมอเตอร์ไซด์ มันถามเอารถเก๋ง เอาล่ะความรักลูกจะปฏิเสธไม่ได้
ก็พยายามหา มันก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่ให้มันก็เป็นลูก บางทีพ่อแม่ทะเลาะกัน "อย่าพึ่งไปซื้อให้มันเลย
รถนี่ มันยังไม่มีเงิน" แต่ความรักลูกก็ต้องไปกู้คนอื่นมา เห็นอะไรก็อยากซื้อมากิน แต่ก็อด
กลัวมันจะหมดเปลืองหลายอย่าง ต่อมาก็มีการศึกษาเล่าเรียน ถ้ามันเรียนจบเราก็จะสบายหรอก
 เรียนมันจบไม่เป็นหรอก มันจะจบอะไร เรียนไม่มีจบหรอก

ทางพุทธศาสนานี่เรียนจบ ศาสตร์อื่นนอกนั้นมันเรียนต่อไปเรื่อยๆ เรียนไม่จบ
เอาไปเอามาก็เลยวุ่นเท่านั้นแหละ บ้านหนึ่งเรียน ๔ คน ๕ คน ตาย!
พ่อแม่ทะเลาะกันไม่มีวันเว้นละอย่างนั้น


หลวงปู่ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 08, 2012, 04:23:44 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20120731111740_n.jpg)

..ในวันหนึ่ง ๆ ให้ได้ปฏิบัติเถอะ ขี้เกียจก็ทำขยันก็ทำ เราปฏิบัติธรรมะ ไม่ปฏิบัติตามตัวเรา
ถ้าปฏิบัติตามตัวเราไม่เป็นธรรมะ ไม่ว่ากลางวันกลางคืน สงบก็ทำ ไม่สงบก็ทำ

เหมือนกับเราเป็นเด็กไปเรียนหนังสือ จะเขียนไม่สวยในครั้งแรก มันหัวยาว ๆ ขายาว ๆ
เขียนไปตามเรื่องของเด็ก นานไปก็สวยขึ้นงามขึ้นเพราะฝึกมัน การประพฤติธรรมก็เหมือนกัน
ทีแรกก็เกะ ๆ กะ ๆ สงบบ้าง ไม่สงบบ้าง ไม่รู้เรื่องมันเป็นไป บางคนก็ขี้เกียจ
อย่าขี้เกียจซิ ต้องพยายามทำ อยู่ด้วยความพยายาม

เหมือนกับเราเป็นเด็กนักเรียน โตมาก็เขียนหนังสือได้ดี จากไม่สวยมาเขียนได้สวย
เพราะการฝึกตั้งแต่เด็กนั่นแหละ อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น พยายามให้มีสติอยู่ทุกเวลา
จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน พยายามทำให้มันสม่ำเสมอ เมื่อเราทำกิจวัติ
อะไรมันคล่องดีแล้ว เป็นต้น เราก็สบายใจ นั่งก็สบาย นอนก็สบายเมื่อความสบายเกิดขึ้นจากกิจวัตร
การนั่งสมาธิก็สงบง่าย เป็นเรื่องสัมพันธ์ซึ่งกันและกันดังนี้

ฉะนั้น จงพากันพยายาม สิ่งที่ครูบาอาจารย์พาทำนี้ ให้พยายามทำเถอะ
ตามความสามารถของเรา นี่เรียกว่า "การฝึก"..

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 09, 2012, 02:34:40 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20121009143411_ajan_cha.jpg)

หนาม

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น
มันมิได้ให้ทุกข์แก่เรา เช่นเดียวกับหนาม
หนามที่แหลมๆ มันให้ทุกข์แก่เราไหม?
เปล่า มันเป็นหนามอยู่อย่างนั้น มิได้ให้ทุกข์แก่ผู้ใด
ถ้าเราไปเหยียบมันเข้าก็ทุกข์ทันที

ทำไมถึงทุกข์ เพราะเราไปเหยียบมัน จึงว่าเป็นเพราะเรา

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: anonzero ที่ ตุลาคม 10, 2012, 10:26:15 AM
เว็บนี้ทำให้ผมได้ข้อคิดเยอะมากครับ ขอบคุณนะครับ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 13, 2012, 12:02:34 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20110731143155_20090903125456_17072009060.jpg)

หลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านได้เคยเดินทางไปพักอยู่เกาะสีชัง
เพื่อหาความสงบเป็นเวลาหนึ่งเดือน และถือคติเตือนตนเองว่า

ชาวเกาะเขาได้อาศัยพื้นดินที่มีน้ำทะเลล้อมรอบ
ที่ที่เขาอาศัย อยู่ได้ต้องพ้นน้ำจึงจะเป็นที่พึ่งได้
เกาะสีชังเป็นที่พึ่งทางนอก ของส่วนร่างกาย
เรามาอาศัยอยู่ที่เกาะนี้คือที่พึ่งทางในซึ่งเป็นที่อันน้ำ
คือกิเลสตัณหาท่วมไม่ถึง แม้เราจะอยู่บนเกาะสีชังแต่ก็ยังค้นหาเกาะภายในอีกต่อไป
ผู้ที่ท่านได้พบ และอาศัยเกาะอยู่ได้
นั้นท่านย่อมอยู่เป็นสุข ต่างจากคนที่ลอยคออยู่ในทะเล
คือความทุกข์ซึ่งมีหวังจมน้ำตาย
ทะเลภายนอกมีฉลามและสัตว์ ร้ายอื่นๆ
แต่ทะเลภายในยิ่งร้ายกว่านั้นหลายเท่า

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: mikimiki ที่ ตุลาคม 23, 2012, 10:37:02 PM
อ่านได้ทั้งวัน เพลินมากกๆ ;D


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 25, 2012, 05:55:02 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20121025173635_ajan_cha21.jpg)

"ทุกข์" เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์
คนทั้งหลาย พากันเกลียดกลัวทุกข์
อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย

ความจริง ทุกข์นี่แหละ จะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะ
ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์

สุขนั่นสิ มันจะปิดหูปิดตาเรา
มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน
ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เรา ประมาท

กิเลสสองตัวนี้ ทุกข์เห็นได้ง่าย
ดังนั้น เราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละ มาพิจารณา
แล้วพยายามทำความดับทุกข์ให้ได้
แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนา ก็ต้องรู้จักเสียก่อน
ว่า ทุกข์คืออะไร?



(พระธรรมคำสอน…หลวงพ่อชา สุภัทโท)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 02, 2012, 05:20:12 PM
http://www.youtube.com/watch?v=Xphv_LBlXdk&feature=share

หลวงปู่ชา050 ศรัทธากับปัญญา


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 12, 2012, 03:56:59 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20121112153411_ajan_cha.jpg)

“ศาสนาพุทธ สอนอะไร?”

ครั้งหนึ่ง..เคยมีชาวตะวันตก ที่หวังแจ้งเกิดในหลักธรรม
ได้ยิงคำถามตรงประเด็นแบบไม่ถนอมน้ำใจคนที่ต้องตอบ ว่า..“ศาสนาพุทธ สอนอะไร?”

แทนการตอบคำถาม..หลวงพ่อท่านได้ชี้นิ้ว ไปที่ก้อนหินเขื่องบนกระดาน “ยกก้อนหินนั้น ขึ้นมาสิโยม”

ฝรั่งนายนั้น ทำตามที่หลวงพ่อบอก
“หนักไหม” ท่านถาม
“หนักครับ” ฝรั่งเจ้าของปุจฉา ที่ตนเองคิดว่าลึกล้ำ ร้องตอบ

หลวงพ่อ จึงไขปริศนาธรรมนั้น ว่า..
“อะไรมันหนัก ก็วางลงเถิด สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน มีเพียงเท่านี้”


หลวงปู่ชา สุภัทโท




ขอบพระคุณข้อมูลจาก : FB ธรรมโอสถ และ http://www.kammatan.com


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 26, 2012, 05:39:15 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20121018171403_ajan_cha.jpg)

++"การรักษาศีล ต้องอาศัยปัญญามาก่อน แต่เราพูดว่ารักษาศีลก่อน
 ตั้งศีลก่อน ศีลจะสมบูรณ์ อย่างไรนั้น ต้องมีปัญญา ต้องค้นคิดกายของเรา
วาจาของเรา พิจารณาหาเหตุผล นี่ตัว ปัญญาทั้งนั้น
ก่อนที่จะตั้งศีลขึ้นได้ต้องอาศัยปัญญา...ถ้าปัญญากล้าขึ้นก็อบรมสมาธิให้มั่น
ขึ้นไป เมื่อสมาธิมั่นขึ้นไป ศีลก็สมบูรณ์ขึ้น สมาธิก็กล้าขึ้นอีก เมื่อสมาธิกล้าขึ้น
ปัญญาก็กล้า ยิ่งขึ้น สามอย่างนี้เป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน"++

...หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี..


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 14, 2013, 07:19:48 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20130114191732_img_4468.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 15, 2013, 06:12:00 AM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20121025173635_ajan_cha21.jpg)

ถาม : ผมได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติพระกรรมฐาน แต่ยังไม่มีท่าว่าจะได้ผลคืบหน้าเลย ?

คำตอบหลวงปู่ชา : เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ
ในการปฏิบัติ ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้นหรือรู้แจ้งนั้นจะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น
ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนและกลางวันก็ได้
แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยากที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางพบความสงบได้เลย
แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความสงสัยและกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใด หรือหนักเพียงใด ปัญญา(ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้นจงเพียงแต่ละความอยากเสีย
จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง

จากหนังสือ คำตอบหลวงปู่ชา มรดกธรรม เล่มที่ 34 หน้า13


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 15, 2013, 06:13:31 AM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20121203085528_watnong.jpg)

ถาม: ถ้าหากว่าการใส่อาหารทุกอย่างรวมลงในบาตรเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว
ทำไมท่านอาจารย์จึงไม่ปฏิบัติเช่นเดียวกันครับ ท่านคิดว่าไม่สำคัญหรือครับ ที่อาจารย์จะต้องทำเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์ ?

คำตอบหลวงปู่ชา : ถูกแล้ว อาจารย์ควรจะทำตัวเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ของตน
ผมไม่ถือว่าท่านติผม ท่านซักถามได้ทุกอย่างที่อยากทราบ แต่ว่ามันก็ไม่สำคัญที่ท่านต้องไปยึดอยู่กับอาจารย์
 ถ้าดูจากภายนอกผมปฏิบัติดีพร้อมหมดก็คงจะแย่มาก
พวกท่านทุกคนก็จะพากันยึดติดในตัวผมยิ่งขึ้น

แม้พระพุทธเจ้าเอง บางครั้งก็ตรัสให้บรรดาสาวกปฏิบัติอย่างหนึ่ง
และพระองค์เองกลับปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ความไม่แน่ใจในอาจารย์ของท่านก็ช่วยท่านได้
ท่านควรเฝ้าดูปฏิกริยาของตัวเอง

ท่านไม่คิดบ้างหรือว่า อาจจะเป็นไปได้ว่าที่ผมแบ่งอาหารจากบาตรใส่จานไว้
เพื่อเลี้ยงดูชาวบ้านที่มาช่วยทำงานวัด

ปัญญา คือสิ่งที่ท่านต้องเฝ้าดูและทำให้เจริญขึ้น รับเอาแต่สิ่งที่ดีจากอาจารย์
จงรู้เท่าทันการฝึกปฏิบัติของท่านเอง ถ้าผมพักผ่อนในขณะที่พวกท่านทุกองค์ต้องนั่งทำความเพียรแล้ว ท่านจะโกรธหรือไม่

ถ้าผมเรียกสีน้ำเงินว่าแดง หรือเรียกผู้ชายว่าผู้หญิง ก็อย่าเรียกตามผม อย่างหลับหูหลับตา

อาจารย์องค์หนึ่งของผมฉันอาหารเร็วมาก และฉันเสียงดัง แต่ท่านสอนให้พวกเราฉันช้าๆ
และฉันอย่างมีสติ ผมเคยเฝ้าดูท่านและรู้สึกขัดเคืองใจมาก ผมเป็นทุกข์ แต่ท่านไม่ทุกข์เลย
ผมเพ่งเล็งแต่ลักษณะภาพนอก ต่อมาผมจึงได้รู้ บางคนขับรถเร็วมากแต่ระมัดระวัง บางคนขับช้าๆ
แต่มีอุบัติเหตุบ่อยๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นในกฏระเบียบ และรูปแบบภายนอก

ถ้าท่านใช้เวลาอย่างมากเพียงสิบเปอร์เซ็นต์มองดูผู้อื่น แต่เฝ้าดูตนเองเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ อย่างนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว

แรกๆผมคอยเฝ้าสังเกต อาจารย์ของผมคือ อาจารย์ทองรัต และเกิดสงสัยในตัวท่านมาก
บางคนถึงกับคิดว่าท่านบ้า ท่านมักจะทำอะไรแปลกๆ หรือเกรี้ยวกราดเอากับลูกศิษย์ของท่าน

อาการภายนอกท่านโกรธ แต่ภายในใจของท่านไม่มีอะไร ไม่มีตัวตน ท่านน่าเลื่อมใสมาก
ท่านเป็นอยู่อย่างรู้แจ้งและมีสติ จนถึงวาระที่ท่านมรณภาพ

การมองออกไปนอกตัว เป็นการเปรียบเทียบ แบ่งเขาแบ่งเรา ท่านจะไม่พบความสุขโดยวิธีนี้
และท่านจะไม่พบความสงบเลย ถ้าท่านมัวเสียเวลาแสวงหาคนที่ดีพร้อมหรือครูที่ดีพร้อม

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราดูที่ธรรมะ ที่สัจธรรม ไม่ใช่คอยจับตาดูผู้อื่น


จากหนังสือ คำตอบหลวงปู่ชา มรดกธรรม เล่มที่ 34 หน้า 27-28


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 16, 2013, 11:48:22 AM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20110731143155_20090903125456_17072009060.jpg)

วันที่ 16 มกราคม 2556 ทาง kammatan.com ขอกราบบูชาคุณพ่อแม่ครูบาอาจารย์ หลวงปู่ชา สุภัทโธ
ในวันรำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อ คนอุบล และ พุทธศาสนิกชน ทั่วโลก
ในการครบรอบ 21 ปี ของการละสังขาร ขององค์หลวงปู่ชา ครับผม



หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 16, 2013, 01:39:06 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20130116133753_luangpu_cha.jpg)

ถาม: ถ้าหากว่าการใส่อาหารทุกอย่างรวมลงในบาตรเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว
ทำไมท่านอาจารย์จึงไม่ปฏิบัติเช่นเดียวกันครับ ท่านคิดว่าไม่สำคัญหรือครับ ที่อาจารย์จะต้องทำเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์ ?


คำตอบหลวงปู่ชา :
ถูกแล้ว อาจารย์ควรจะทำตัวเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ของตน
ผมไม่ถือว่าท่านติผม ท่านซักถามได้ทุกอย่างที่อยากทราบ
แต่ว่ามันก็ไม่สำคัญที่ท่านต้องไปยึดอยู่กับอาจารย์ ถ้าดูจากภายนอกผมปฏิบัติดีพร้อมหมดก็คงจะแย่มาก
พวกท่านทุกคนก็จะพากันยึดติดในตัวผมยิ่งขึ้น

แม้พระพุทธเจ้าเอง บางครั้งก็ตรัสให้บรรดาสาวกปฏิบัติอย่างหนึ่ง
และพระองค์เองกลับปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ความไม่แน่ใจในอาจารย์ของท่านก็ช่วยท่านได้
ท่านควรเฝ้าดูปฏิกริยาของตัวเอง

ท่านไม่คิดบ้างหรือว่า อาจจะเป็นไปได้ว่าที่ผมแบ่งอาหารจากบาตรใส่จานไว้ เพื่อเลี้ยงดูชาวบ้านที่มาช่วยทำงานวัด

ปัญญา คือสิ่งที่ท่านต้องเฝ้าดูและทำให้เจริญขึ้น รับเอาแต่สิ่งที่ดีจากอาจารย์
จงรู้เท่าทันการฝึกปฏิบัติของท่านเอง ถ้าผมพักผ่อนในขณะที่พวกท่านทุกองค์ต้องนั่งทำความเพียรแล้ว ท่านจะโกรธหรือไม่

ถ้าผมเรียกสีน้ำเงินว่าแดง หรือเรียกผู้ชายว่าผู้หญิง ก็อย่าเรียกตามผม อย่างหลับหูหลับตา

อาจารย์องค์หนึ่งของผมฉันอาหารเร็วมาก และฉันเสียงดัง แต่ท่านสอนให้พวกเราฉันช้าๆ
และฉันอย่างมีสติ ผมเคยเฝ้าดูท่านและรู้สึกขัดเคืองใจมาก ผมเป็นทุกข์ แต่ท่านไม่ทุกข์เลย
ผมเพ่งเล็งแต่ลักษณะภาพนอก ต่อมาผมจึงได้รู้ บางคนขับรถเร็วมากแต่ระมัดระวัง
บางคนขับช้าๆ แต่มีอุบัติเหตุบ่อยๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นในกฏระเบียบ และรูปแบบภายนอก

ถ้าท่านใช้เวลาอย่างมากเพียงสิบเปอร์เซ็นต์มองดูผู้อื่น
แต่เฝ้าดูตนเองเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ อย่างนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว

แรกๆผมคอยเฝ้าสังเกต อาจารย์ของผมคือ อาจารย์ทองรัต
และเกิดสงสัยในตัวท่านมาก บางคนถึงกับคิดว่าท่านบ้า ท่านมักจะทำอะไรแปลกๆ หรือเกรี้ยวกราดเอากับลูกศิษย์ของท่าน

อาการภายนอกท่านโกรธ แต่ภายในใจของท่านไม่มีอะไร ไม่มีตัวตน
ท่านน่าเลื่อมใสมาก ท่านเป็นอยู่อย่างรู้แจ้งและมีสติ จนถึงวาระที่ท่านมรณภาพ

การมองออกไปนอกตัว เป็นการเปรียบเทียบ แบ่งเขาแบ่งเรา
ท่านจะไม่พบความสุขโดยวิธีนี้ และท่านจะไม่พบความสงบเลย
ถ้าท่านมัวเสียเวลาแสวงหาคนที่ดีพร้อมหรือครูที่ดีพร้อม

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราดูที่ธรรมะ ที่สัจธรรม ไม่ใช่คอยจับตาดูผู้อื่น

จากหนังสือ คำตอบหลวงปู่ชา มรดกธรรม เล่มที่ 34 หน้า 27-28



ขอบพระคุณข้อมูลจาก FB: Supani Sundarasardula และ http://www.kammatan.com


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 23, 2013, 04:40:08 PM
การรู้วาระจิตนั้น

สมัยหนึ่งมีพระรูปหนึ่งไปบิณฑบาตบ้านผึ้ง
เดินไปก็คิดไป คิดอยู่ในใจว่า

" วันนี้หิวข้าวมาก จะฉันเยอะๆ
จะปั้นเอาข้าวเหนียวก้อนโตๆ
ให้เท่าศรีษะของตัวเองถึงจะอิ่ม "

พอกลับจากบิณฑบาตกำลังเดินเข้าประตูวัด

หลวงพ่อถามว่า
“มันหิวมากจนคิดจะปั้นเอาข้าวเหนียวก้อนโตๆ เท่าศรีษะของตัวเองหรือ”

พระที่ถูกท่านทักอย่างนั้นเลยไม่รู้จะพูดอย่างไร
เงียบเลยทั้งอายด้วยที่หลวงพ่อท่านรู้ใจ

และครั้งหนึ่ง คุณหมออุทัย เจนพาณิชย์
ลูกศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่ง ที่ได้เจอเรื่องอย่างนี้หลายครั้ง
ได้ถามหลวงพ่อด้วยความอัศจรรย์ใจว่าทำได้อย่างไร
หลวงพ่อตอบเพียงแต่ว่า

“หมอ นี่เป็นเรื่องของการทำสมาธิ
ไม่ลึกซึ้งอะไรหรอก แต่ไม่น่า เอามาคุยกัน”

จากหนังสือ อุปลมณี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 24, 2013, 05:25:42 PM
หลวงพ่อโสภณ โอภาโส เล่าเรื่องอยู่กับหลวงปู่ชา....(๒)
ธรรมคำสอนของหลวงปู่ชา ที่ทำให้หลวงพ่อโสภณ บวชถึงปัจจุบัน.....
เดิมทีอาตมาตั้งใจจะบวชเพียง ๓ เดือน
ไม่เคยคิดจะบวชได้นาน วันที่มาบวชหลวงพ่อให้โอวาทว่า...
"การอยู่เป็นพระนั้นลำบากนัก ไม่เหมือนเป็นฆราวาส การเป็นฆราวาส
อยากได้ อยากกิน อยากเล่น ก็ย่อมทำได้ตามความต้องการ เมื่อเป็นพระย่อมทำเช่นนั้นไม่ได้ พระสงฆ์ต้องอดทน อดกลั้น"

หลังจากบวชเป็นผ้าขาวอยู่ ๕ เดือน ก็ได้บวชเป็นพระภิกษุ ในระยะ ๓ เดือนที่เป็นพระภิกษุ
หลวงพ่อชาให้การอบรมสั่งสอนด้านภาวนา ฝึกสมาธิทำกิจของสงฆ์

จิตของเราจึงเริ่มมองเห็นอะไรหลายๆอย่าง จนเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ความรู้สึกมันผิดจากฆราวาส มันเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริงของจิต
หลวงพ่อชา ท่านสอนว่า “รูป เวทนา สังขาร วิญญาณ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา “
เราก็เชื่อฟังปฏิบัติตามท่าน การปฎิบัติก็ได้ผลดีขึ้นเรื่อยๆ
ท่านสอนว่า

...ไม่ให้คิดถึงอดีต จะคิดถึงอตีดไปทำไม เพราะอดีตคืออดีต พ่อคือพ่อ แม่คือแม่
อยู่กับอกแม่ก็ตาย อยู่กับอกพ่อก็ตาย ข้าวของเงินทองก็ไม่ใช่ของเรา พี่น้องก็ไม่ใช่ของเรา
 จะไปห่วงพวกเขาทำไม ถ้าเป็นของเราจริง ก็ต้องอยู่กับเรา ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ให้ตาย
ไม่ให้จากไป แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องอยู่กับความเปลี่ยนแปลง แม้แต่ตัวเราก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน…

คำสอนที่จี้จุดตรงใจ แม้จะสั้นแต่ก็กินใจประทับใจ จึงเป็นเหตุให้อาตมาตัดสินใจบวชมาจนกระทั่งทุกวันนี้.

จากหนังสือ กิ่งก้านแห่งโพธิญาณ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 31, 2013, 03:29:00 PM
อันนั้นไม่ชอบ อันนั้นแหละผิด ไม่ถูกเพราะเราไม่ชอบ อันใดที่เราชอบ อันนั้นแหละถูกแล้ว เพราะเราชอบ (เป็นมิจฉาทิฐิ)

"...อย่างนั้นผู้ปฏิบัติชอบอย่างนี้ หลงอย่างนี้ อยากได้ง่ายๆ อยากได้ตามใจของเรา อย่าไปดูอื่นเลย ดูร่างกายของเรานี่แหละ มันได้ดังใจของเราไหม อยากให้มันเป็นอย่างนั้น ไม่อยากได้เป็นอย่างนี้ มันตามใจเราหรือเปล่า เรื่องกายนี้ก็เหมือนกัน เรื่องจิตก็เหมือนกัน มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น ดังนั้นคนจึงมองข้ามมันเสีย อะไรมันไม่ถูกใจเราก็ทิ้งมันเสีย อะไรไม่ชอบใจเราก็ทิ้งมันเท่านั้นแหละ หารู้ไม่ว่า สิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น อันใดผิด หรือถูก เราไม่รู้จัก รู้แต่เพียงว่าอันนั้นไม่ชอบ อันนั้นแหละผิด ไม่ถูกเพราะเราไม่ชอบ อันใดที่เราชอบ อันนั้นแหละถูกแล้ว เพราะเราชอบ

อันนี้ให้คำนึงถึงทีฆนขพราหมณ์ ดูซิ ทีฆนขพราหมณ์ พราหมณ์เล็บยาวๆ ที่พระพุทธเจ้าลงมาจากดอยคิชกูฏ เพื่ออะไรนี่ แกมีความเห็นว่า ด้วยปัญญาของแก เรื่องทิฐิทั้งสาม ทิฐิคือความเห็น ความเห็นอย่างไร ก็ไปยึดอย่างนั้น อะไรที่ชอบใจของเขา เขาก็ไปยึดว่าอันนั้นมันถูก อะไรที่ไม่ชอบใจเขา ไปยึดมั่นมันผิดคือ เขาเอาใจเขาเป็นธรรมะ คือเขาเอาใจเขาเป็นสัจธรรม ความเห็นพราหมณ์เป็นมาอย่างนี้หลายปีจนแก่ เมื่อพระพุทธเจ้าลงมาจากดอยคิชกูฏกับพระสารีบุตร ก็เข้าไปกราบเรียนถามเรื่องทิฐิทั้งสามต่อหน้าพระพุทธเจ้า..."

พระธรรมเทศนาเรื่อง อ่านใจธรรมชาติ
หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2013, 10:43:50 AM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20130201104307_luangpu_cha.jpg)

“..บุญมันอยู่ที่ใจของเรา บ้านไหนมีบุญ เรารู้ได้
คนในบ้านรู้จักเคารพพ่อแม่ เคารพผู้เฒ่าผู้แก่
ทำอะไรก็มีความสุข มีความหมาย...”

หลวงปู่ชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2013, 12:47:31 AM

กราบนมัสการหลวงปู่ชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2013, 03:20:03 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20100717092432_nong_pra_pong.jpg)

ปล่อยวางได้จิตใจก็สงบ

ถ้าเราเห็นอันนี้ชัด เราก็จะทิ้งความคิดความรู้สึกอย่างนั้นได้ ทีนี้ก็ไม่ต้องคิดนั่นคิดนี่อีก
คอยแต่บอกตัวเองไว้อย่างเดียวว่า "มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง" พอเข้าใจได้ชัด เห็นแจ้งอย่างนี้แล้ว
ทีนี้ก็จะปล่อยอะไรๆได้ทั้งหมด ก็ไม่ใช่ว่าความคิดความรู้สึกมันจะหายไป มันก็ยังอยู่นั่นแหละ แต่มันหมดอำนาจเสียแล้ว

เปรียบก็เหมือนกับเด็กที่ชอบซน เล่นสนุก ทำให้รำคาญ จนเราต้องดุเอา ตีเอา
แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนั้นเอง พอรู้อย่างนี้
เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขา ความเดือดร้อนรำคาญของเราก็หมดไป
มันไปได้อย่างไร ก็เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็ก ความรู้สึกของเราเปลี่ยน
และเรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย เราปล่อยวาง จิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็น
นี่เรามีความเข้าใจถูกต้องแล้ว เป็นสัมมาทิฎฐิ

ถ้ายังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ยังเป็นมิจฉาทิฎฐิอยู่ แม้จะไปอยู่ในถ้ำลึกมืดสักเท่าใด
ใจมันก็ยังยุ่งเหยิงอยู่ ใจจะสงบได้ก็ด้วยความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิเท่านั้น
ทีนี้ก็หมดปัญหาจะต้องแก้ เพราะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น นี่มันเป็นอย่างนี้ เราไม่ชอบมัน
เราปล่อยวางมัน เมื่อใดที่มีความรู้สึกเกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้น เราปล่อยวางทันที
เพราะรู้แล้วว่าความรู้สึกอย่างนั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อจะกวนเรา แม้บางทีเราอาจจะคิดอย่างนั้น
 แต่ความเป็นจริงความรู้สึกนั้นเป็นของมันอย่างนั้นเอง

ถ้าเราปล่อยวางมันเสีย รูปก็เป็นสักแต่ว่ารูป เสียงก็สักแต่ว่าเสียง กลิ่นก็สักแต่ว่ากลิ่น
รสก็สักแต่ว่ารส โผฎฐัพพะก็สักแต่ว่าโผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็สักแต่ว่าธรรมารมณ์
เปรียบเหมือนน้ำมันกับน้ำท่า ถ้าเราเอาทั้งสองอย่างนี้เทใส่ขวดเดียวกัน มันก็ไม่ปนกัน
เพราะธรรมชาติมันต่างกัน เหมือนกับคนที่ฉลาดก็ต่างกับคนโง่ พระพุทธเจ้าก็ทรงอยู่กับรูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แต่พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์
พระองค์จึงทรงเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่ง "สักว่า" เท่านั้น

พระธรรมเทศนา
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: pchet14 ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2013, 10:53:44 PM
สาธุ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 17, 2013, 12:04:02 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20130317000258_487483_133945183453036_1781537683_n.jpg)

พระพุทธเจ้าท่านว่า ออกมาอยู่ป่าเพื่อกายวิเวก จิตวิเวกอุปธิวิเวกต่างหาก
ไม่ใช่ให้มาติดป่า มาเพื่อฝึก เพื่อเพาะปัญญามาเพาะให้เชื้อปัญญามันมีขึ้น
อยู่ในที่วุ่นวาย เชื้อปัญญามันเกิดขึ้นยาก จึงมาเพาะอยู่ในป่า เท่านั้นเอง เพาะเพื่อจะกลับไปต่อสู้ในเมือง

เราหนีรูป หนีเสียง หนีกลิ่น หนีรส หนีโผฏฐัพพะ หนีธรรมารมณ์ มาอย่างนี้
ไม่ใช่หนีเพื่อจะแพ้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้หนีมาเพื่อฝึก หรือมาเพาะให้ปัญญาเกิด แล้วจะกลับไปรบกับมัน จะกลับไปต่อสู้กับมันด้วยปัญญา

ไม่ใช่เข้าไปอยู่ในป่าแล้ว ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็สบาย ไม่ใช่อย่างนั้น
แต่ต้องการจะมาฝึก เพาะเชื้อปัญญาให้เกิดขึ้นในป่า ในที่สงบ เมื่อสงบแล้ว ปัญญาจะเกิด

เมื่อใคร่ครวญพิจารณาแล้ว ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น
เป็นปฏิปักษ์ต่อเรา ก็เพราะเราโง่เรายังไม่มีปัญญา แต่ความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้คือ ครูสอนเราอย่างดี

เมื่ออยู่ในป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามานี้เพื่อมาทำให้ปัญญาเกิด
ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้นเป็นปฏิปักษ์กับเราเป็นข้าศึกของเรา

ถ้าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ นั้น ไม่ใช่ข้าศึก
แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว

หลวงพ่อชา สุภัทโท
เทศนาธรรมเรื่อง"สองหน้าของสัจธรรม"


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 26, 2013, 08:51:49 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20130426205005_302334_272101159592797_919214416_n.jpg)

พระอธิการเฮนนิ่ง เกวลี ชาวเยอรมัน เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัด อุบลราชธานี

ปัจจุบันชาวต่างชาติได้หันมาสนใจในพุทธศาสนากันมากขึ้นจนกระทั่งวัดกว่า 300
สาขาสายหนองป่าพงทั่วโลกไม่เพียงพอต่อความต้องการบวชเรียนของผู้คนที่แสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยวิธีนี้กัน
ซึ่งปัจจุบันมีผู้เตรียมบวชในต่างประเทศมากกว่าจำนวนวัดที่จะรองรับได้

พระอธิการเฮนนิ่ง เกวลี ชาวเยอรมัน เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี
ขึ้นธรรมาสน์เทศน์ในช่วงงานอาจาริยบูชาหลวงพ่อชา สุภัทโท 12-16 มกราคม 2556
ที่ผ่านมาท่ามกลางพระกว่าพันรูปซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์หลวงพ่อชาที่เดินทางมาจากทั่วโลก
และประชาชนเรือนหมื่นที่มาปักกลดกางเต็นท์ปฏิบัติบูชากันเต็มวัดในทุกพื้นที่
ว่าการที่ท่านพบแก่นธรรมคำสอนจากพระพุทธเจ้าที่แท้จริงทางภาคอีสานของประเทศไทยทำให้ท่านเปลี่ยนไปอย่างไร
และพุทธศาสนาได้ช่วยเหลือผู้คนให้พบกับความสงบเย็นได้มากเพียงใด...


"อาตมาขอโอกาสพูดในฐานะที่เป็นผู้ใหม่ในศาสนา และในฐานะที่อยู่ร่วมกับลูกศิษย์พระเดชพระคุณหลวงพ่อชา สุภัทโท
แม้ไม่ได้เจอหลวงพ่อชา เพราะอาตมาบวชไม่ทันที่จะเจอท่าน แต่ครูบาอาจารย์ชาวต่างประเทศหลายรูปที่ได้บวชหลังจาก
ที่พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ได้บุกเบิกทางแล้ว ก็ยังมีโอกาสอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติโดยตรง
 ยังมีโอกาสอุปัฏฐากท่านประมาณ 10 ปี อาตมามาทีหลัง ช่วงที่พระราชทานเพลิงศพเรียบร้อยแล้ว
ยังถือว่า มีความโชคดีที่ได้เจอคำสั่งสอนของท่าน และได้เจอครูบาอาจารย์ลูกศิษย์ของท่าน
ที่เป็นพระอุปัชฌาย์ของอาตมา
คือพระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม)เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน

อาตมารู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้บวชเรียนที่นี่เพราะว่า เรื่องข้อวัตรปฏิบัติ เรื่องรูปแบบ
คำสั่งสอนของหลวงพ่อชารู้สึกว่ายังมีทางที่จะเข้าถึงได้ เพราะมีหลายคนมาช่วยกันรักษาไว้
อาตมากำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี ในต่างประเทศอีกหลายแห่งจะหารูปแบบที่เจอในประเทศไทยนี้ไม่ได้

ประเทศของอาตมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม เป็นประเทศที่เขาว่าเจริญ และเน้นทางด้านการศึกษาทางโลก
แต่ละคนที่เป็นญาติพี่น้องทางโน้นมีความรู้สึกต่อชีวิตของตัวเองเหมือนคนอื่นๆ ทั่วโลกคือ
 เราพัฒนาความสงบเย็นเหมือนกัน แต่จะทำอย่างไรถ้าเราไม่มีวิธี ไม่มีส่วนรวมที่จะร่วมมือ
ร่วมกำลังได้ก็อาจจะยาก ทางศาสนาเดิมของอาตมา คือศาสนาคริสต์ ก็สอนความดีให้คนบำเพ็ญเมตตาจิตพอสมควร
ส่วนหนึ่งก็เข้าถึงวัฒนธรรมของชาวตะวันตกได้ทุกที่ เสมือนคำสอนของพระพุทธองค์เข้าถึงวัฒนธรรมของชาวเอเชีย
ชาวไทย แต่ถ้าชาติไหน สังคมไหน ไม่รักษาต้นฉบับ ทางที่จะเข้าถึงสิ่งที่ทางศาสนาสอน ก็อาจจะหายาก

ช่วงนี้ที่อาตมาอยู่ในผ้าเหลืองมาสิบกว่าปีในประเทศไทย รู้สึกว่าเจอรูปแบบที่ดีที่เป็นต้นฉบับให้พวกเราทั้งหลายได้
ในขณะที่เรารักษาข้อวัตรปฏิบัติ รักษาพระธรรมและพระวินัย โดยความเคารพต่อการนับถือ
และลงมือในการเสียสละในการรักษาไว้ โดยใจเอื้อเฟื้อ ใจบุญ ด้วยใจเสียสละ

ในสังคมเดิมของอาตมา หลายคนก็อยากจะทำเหมือนกัน แต่หลายคนก็เจอปัญหาชีวิต
เช่นความทุกข์ก็ต้องปรากฏขึ้น ที่จะเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนต้องอาศัยการช่วยกัน และหาวิธี
ถ้าเป็นลักษณะที่แต่ละคนต้องหาทางเองก็ลำบาก เราทั้งหลายก็ถือว่าโชคดี อาตมาก็รวมอยู่ในคนโชคดี
ที่ยังได้เจอทางที่สมบูรณ์แบบที่มีการรักษาไว้ ก็เช่นพ่อแม่ครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่า
วิธีการปฏิบัติในสายวัดป่าอาจจะเป็นเรื่องของสมัยก่อน แต่ว่า หากมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
 เราสามารถตอบคำถามกับคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เข้าใจได้ ถ้าปฏิบัติอยู่ เราก็อธิบายได้
เพื่อคนรุ่นหลังจะได้มีวิธีเช่นนี้อยู่ ถ้าไม่ปฏิบัติก็น่าเสียดายว่า หลักเดิมที่มีการตรวจสอบ มีการทดลองมาพอสมควร ค่อยๆ จะหายไป

ถ้าเรามีหลักอันเดียวกัน และจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน ก็ทำให้เราเกิดกำลังด้วย
ในสังคมเมืองนอกไม่ได้เน้นเรื่องสามัคคีเท่าไหร่ แล้วรูปแบบที่เคยมีเมื่อก่อน
บางส่วนก็หายไปแล้ว เป็นสังคมที่แต่ละคนต้องหาทางเอง แต่ละคนต้องคิดเอง
ต้องมีความสร้างสรรค์เป็นพิเศษเฉพาะตัว และกว่าจะได้เจอหลักที่เป็นสากลอาจจะใช้เวลานาน
อาจหลงทางเป็นบางช่วง อาจทำสิ่งที่ผิดแล้วแก้ไขได้ยาก ก็ขาดหลักความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

ในขณะเดียวกัน แต่ละคนที่ประสบความสำเร็จโดยลำพังก็มีความภาคภูมิใจเหลือเกิน
ที่ทำให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น เด็กเมืองนอกถ้าเขาได้ตอบปัญหาที่ครูตั้งให้ถูกต้อง
โดยไม่ได้ดูหนังสือ ไม่ได้ท่อง แต่คิดเอาเอง เขาจะมีความภาคภูมิใจ เขามีความฉลาด
สามารถที่จะหาทางเองก็ดี สำหรับคนที่ฉลาดพอ คนที่มีปัญญาพอ ก็หาทางเองได้ บางคนก็อาจจะหลง ไปสู่ทางที่เขาต้องการเองไม่ได้

ถ้าเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม มีหลักจริงๆ ก็มีเครื่องแบบ มีเครื่องมือให้คนได้อยู่กัน
เป็นผาสุก สงบเย็น แต่สังคมที่เน้นเรื่องความหลากหลาย เน้นเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง
อาจจะไม่สามารถหาจุดที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันง่ายๆ อาจเกิดความตึงเครียดขึ้นในจิตใจของคน

อาจจะเป็นเพราะคนส่วนหนึ่งได้ทิ้งรูปแบบเก่าที่เคยมี เช่นทางศาสนาที่เป็นจังหวะของชีวิตคน
ที่เคยซึมซับอยู่ในชีวิตประจำวันของคนแต่ก่อน สังคมคริสต์ก็มี เช่น วันอาทิตย์ทางคริสต์ศาสนาให้หยุดทำงาน
ไม่ใช่ว่าเพื่อจะได้ขี้เกียจ ไม่ทำอะไร แต่เพื่อจะได้ประกอบศาสนกิจ คือมีการหยุดเพื่อจะได้ไม่ต้องไปมีกิจกรรมทางโลก
แต่ให้หันหน้าสู่จิตใจของตนเอง โดยคนที่ได้สัมผัสเห็นประโยชน์ว่า ได้ผ่อนคลายและมีโอกาสที่จะวางสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลได้ลง

แต่ปัจจุบัน โบสถ์ในคริสต์ศาสนาที่เคยมีอยู่ทุกหมู่บ้านที่เราเห็นปัจจุบันเป็นวัตถุโบราณ ค่อนข้างจะร้างและบาทหลวงก็เหลือน้อย เป็นอาชีพที่เขาว่าล้าสมัย รูปแบบนี้คนก็ไม่เอา อันนี้อาจจะมีสาเหตุหลายอย่าง เรื่องคำสั่งสอนก็มีส่วน อันนี้พูดในฐานะที่ตัวเองเป็นผู้เปลี่ยนศาสนาจากคริสต์มาเป็นพุทธ แต่ว่าโดยทั่วไป ถ้าเราดูหลักที่ศาสนาสอน เรื่องความดี การเอื้อเฟื้อต่อกัน คริสต์ศาสนาก็ไม่ผิดกันกับพุทธศาสนา เพราะมาปรากฏชัดในสังคมที่มีหลักจริงๆ เขาก็จะปฏิบัติตามนี้ แล้วก็มีวิธี จังหวะ การแบ่งเวลาให้

อันนี้เป็นสิ่งที่อยากให้สำนึกถึงว่า ถ้าศาสนามีรูปแบบในการจัดการชีวิตที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราจริงๆ
มันเป็นประโยชน์แก่เรา แล้วเราจะหาจุดยืนของเราได้อย่างดี ถ้าทิ้งหลักนี้ เหมือนกับที่เกิดขึ้นในเมืองนอกแล้ว
เป็นลักษณะว่าของใครของมัน ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ในอนาคตอาจจะไม่เหลือมากเท่าไหร่
ซึ่งถ้าเราเห็นภาพอันงดงามของคนที่ตั้งใจปฏิบัติร่วมกัน รักษาระเบียบ
เห็นประโยชน์ต่อผลกระทบต่อจิตใจของเราเองด้วย เราควรจะรักษาไว้และส่งเสริมต่อ
ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราต้องการด้วยในสังคมของเรา
ถ้าคนไทยไม่รักษาไว้ก็หายได้

อาตมามาจากสังคมที่ศาสนาหายไป แต่ยังเจอทางพุทธศาสนาที่เป็นต้นฉบับสมบูรณ์
ทำให้เราเห็นทางสำหรับตัวเองในประเทศไทยนี้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้สอนอย่างชัดเจน
และเข้าถึงจิตชาวพุทธในประเทศไทยโดยไม่รู้สึกตัว ถ้าคนไทยไม่รักษาไว้ก็หายได้เหมือนกัน
เพราะเป็นการสอนที่มีการปฏิบัติที่ลึกมาก อย่างเช่น เราไปบิณฑบาตกันทุกเช้า อาจจะเปลี่ยนไปได้ ถ้าไม่ระวัง

พระบางทีไม่ได้บิณฑบาตด้วยการเดิน แต่นั่งรถ บางทีนั่งรถอยู่แล้วให้โยมมาใส่บาตรที่รถ
อันนี้จะทำให้ต้นฉบับหายไปได้ วิถีชีวิตก็จะเปลี่ยนไปพอสมควร เพราะการบิณฑบาต
 เรามีส่วนเกี่ยวข้องกันในเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตนทุกเช้า มีอิทธิพลต่อเราพอสมควร
ถ้าเป็นพระไม่ต้องบิณฑบาต มาเรียนหนังสืออย่างเดียว นั่งสมาธิอย่างเดียว ต้นฉบับจะหายไป

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา อาตมาโชคดีได้ไปร่วมการประชุมกับองค์ดาไลลามะ ประมุขสายทิเบตที่อินเดีย
ทางโน้นเอง ท่านไม่อยากเรียกว่าสายทิเบตเท่าไหร่ ท่านบอกว่า พุทธะไม่ได้ขึ้นอยู่กับชาติ
การเรียกว่า พุทธศาสนาไทย พุทธศาสนาทิเบตเป็นเรื่องชาตินิยม แต่จริงๆ แล้ว ควรเรียกว่า
 พุทธภาษาสันสกฤตจากมหาวิทยาลัยนาลันทา และของเราก็เป็นพุทธภาษาบาลี
อาตมามีความซึ้งใจมากที่มีการเกี่ยวข้องกับชาวพุทธคนละอย่าง ทำให้เข้าใจอะไรมากขึ้น

เมื่อก่อนอาตมา เปรียบเทียบพุทธกับคริสต์ศาสนาในสังคมตะวันตก ก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่พอมาเทียบระหว่างพุทธด้วยกันในเอเชีย ทำให้เปลี่ยนมุมมอง เกิดความรู้ใหม่ เห็นว่า
เราโชคดีได้เจอสายพระป่า และได้รับการถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์หลวงพ่อชา
ในภาพรวมที่เป็นต้นฉบับจากพุทธกาลที่สืบทอดมาโดยพระป่าของเราควรอนุรักษ์จริงๆ
เพราะจะเป็นเครื่องมือให้อีกหลายรุ่นได้ใช้สะดวก

คุณธรรมขององค์ดาไลลามะ เน้นเรื่องเมตตา กรุณา ซึ่งเป็นพรหมวิหารสายโพธิสัตว์
คุณธรรมนี้เป็นใหญ่เช่นเดียวกับคริสต์ศาสนา ในตะวันตกพุทธสายนี้จึงเป็นที่รู้จักและมีผู้ปฏิบัติตามมากมาย

องค์ดาไลลามะได้พูดถึงหลักของศาสนาพุทธควรเน้นอะไรในปัจจุบัน ในสังคมอุตสาหกรรม
สังคมที่เจอปัญหานานัปการซึ่งห่างเหินจากจิตวิญญาณพอสมควร ตามที่ท่านได้สัมผัสอยู่เมืองนอก
อยู่นอกประเทศของท่าน ซึ่งสังคมเมืองนอกห่างจากจิตใจของตัวเอง เน้นรูปธรรม วัตถุสิ่งของ
แต่ตัดเรื่องจิตใจออกไป ทางพุทธศาสนา เน้นเรื่องคุณธรรมด้านจิตใจ ทำอย่างไรจึงจะโปรดโลก
ช่วยโลก ท่านก็มองด้วยสายตามหายาน มองชนทั้งหลายเป็นใหญ่ พูดในอุดมการณ์ของพุทธศาสนา

จริงๆ ก็เข้ากับหลักของเราได้ดี ท่านเน้นเรื่องหลักแท้ของพุทธศาสนาทุกสาย ท่านพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา
อริยมรรคมีองค์ 8 ต้องปฏิบัติเรื่องนี้โลกจะได้เจริญทางจิตใจ ท่านพูดเรื่องศีลปาติโมกข์
ของเถรวาทกับสายนาลันทาไม่ต่างกันเท่าไหร่ เช่น การไม่ฉันในเวลาวิกาล หลักอันเดียวกัน
ท่านบอกว่าไม่มีอุปสรรคในเรื่องพระวินัย ศีลของคฤหัสถ์ก็ไม่มีอุปสรรค ให้บำเพ็ญ ศีล สมาธิ
เป็นประเด็นของคนทางโลกที่ต้องการผ่อนคลาย และต้องปฏิบัติกรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญา

หลักของพุทธศาสนาสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ท่านบอกว่า อิทธิพลของการนั่งสมาธิมีผลกับสมอง
อารมณ์ดีชั่วมีผลกับร่างกายและจิตใจ การละความคิดอกุศล ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ
องค์ดาไลลามะ เน้นเรื่องพุทธศาสนาให้ทันสมัยตามความรู้ทางโลก
และควรมีการเทียบกับระบบสากลที่นักปรัชญาในหลายๆ สาขา เช่นนักวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น

อาตมาเองได้สัมผัสกับประเทศของอาตมาในเยอรมัน ล้วนให้เกียรติพุทธศาสนา
เพราะมีเหตุผล ไม่ชักชวนในทางที่งมงาย สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง

คนไทยเล่า มีแก่นธรรมอยู่กับตัวหากไม่ปฏิบัติก็น่าเสียดาย!


ขอบพระคุณข้อมูลจาก : Facebook สาขาวัดหนองป่าพง


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 05, 2013, 07:49:17 PM
-อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ -

เคยมีโยมไปถามพระลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
ซึ่งท่านได้ให้คำตอบว่า
“หลวงพ่อมีอนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือคำสอนที่เป็นจริง
สอนให้เห็นจริง และนำไปปฏิบัติได้ผลสมจริงเป็นอัศจรรย์”

สำหรับหลวงพ่อเอง ท่านไม่ได้ให้ความสำคัญ
กับเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เลยเหมือนไม่สนใจ ท่านไม่กล่าวถึง
แต่ก็ไม่ปฏิเสธ ถ้ามีคนไปถามเรื่องชนิดนี้ หลวงพ่อก็ตัดบท
หรือพูดชักนำออกไปในเรื่องของการประพฤติปฏิบัติ
เพื่อการพ้นทุกข์เสีย อย่างเช่นครั้งหนึ่งมีคนไปถามท่านว่า
“เขาว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ เป็นจริงเหาะได้หรือเปล่า”
หลวงพ่อตอบว่า
“เรื่องเหาะเรื่องบินนี่ไม่สำคัญหรอก แมงกุดจี่มันก็บินได้”
และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อครูคนหนึ่งถามท่านเกี่ยวกับการเหาะเหินเดินอากาศ
ของพระอรหันต์ในครั้งพุทธกาล ซึ่งเคยอ่านพบ ว่าเป็นความจริงหรือไม่
ท่านตอบว่า
“ถามไกลตัวเกินไปแล้วล่ะครู มาพูดถึงตอสั้นๆ ที่จะตำเท้าเรานี่ดีกว่า”
อย่างไรก็ตาม บางเรื่องที่พูดกันก็มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ
โดยเฉพาะเรื่องการรู้วาระจิตของคนอื่น ซึ่งมีตัวอย่างมากมาย เช่น
สมัยหนึ่งมีพระรูปหนึ่งไปบิณฑบาตบ้านผึ้ง เดินไปก็คิดไป
คิดอยู่ในใจว่า วันนี้หิวข้าวมากจะฉันเยอะๆ
จะปั้นเอาข้าวเหนียวก้อนโตๆให้เท่าศีรษะของตัวเองถึงจะอิ่ม
พอกลับจากบิณฑบาต กำลังเดินเข้าประตูวัด หลวงพ่อถามว่า
“มันหิวมากจนคิดจะปั้นเอาข้าวเหนียวก้อนโตๆ
ให้เท่าศีรษะของตัวเองหรือ”
พระที่ถูกท่านทักอย่างนั้นเลยไม่รู้จะพูดอย่างไร เงียบเลย
ทั้งอายด้วยที่หลวงพ่อท่านรู้ใจ
และครั้งหนึ่ง คุณหมออุทัย เจนพาณิชย์ ลูกศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่ง
ที่ได้เจอเรื่องอย่างนี้หลายครั้ง ได้ถามหลวงพ่อด้วยความอัศจรรย์ใจ
ว่าทำได้อย่างไร หลวงพ่อตอบเพียงแต่ว่า
“หมอ นี่เป็นเรื่องของการทำสมาธิ ไม่ลึกซึ้งอะไรหรอก
แต่ไม่น่าเอามาคุยกัน”



พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
จากหนังสืออุปลมณี น.๑๐๓-๑๐๔


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 13, 2013, 08:04:11 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20130201104307_luangpu_cha.jpg)

แต่ก่อนผมเคยคิดว่าอลัชชีนี้จะเป็นจำพวกหนึ่งต่างหาก ไม่รู้จักอลัชชีแท้ ๆ
มันจะเป็นยังไง เมื่อดูไปดูมาปฏิบัติในใจของเรา ก็ค่อยๆรู้จักไป
ยิ่งได้รู้รสธรรมะของพระพุทธเจ้า ก็ยิ่งละเอียดสุขุมเข้าไปเรื่อย ๆ

อลัชชีก็พวกเรานี้แหละ อันใดมันทำบาปทำสกปรกลามกมันไม่มีความละอาย
มันก็เป็นอลัชชีนอกศาสนาทั้งนั้น เมื่อคิดสกปรกลามกขึ้นในใจเจ้าของแล้วก็ทำไปอย่างนั้น
มันก็เป็นอลัชชี ทำแล้วก็ไม่คิดแก้ตัวเจ้าของ

ดีใจว่าครูบาอาจารย์หมู่พวกไม่เห็นแล้วไม่เป็นไร ความเป็นจริงความดีความชั่วนั้นเราจะปิดอย่างไรมันก็ไม่มิด
แม้จะทำไปผู้เดียวไม่มีใครเห็นก็ปิดไม่ได้
ธรรมะความเป็นจริงต้องเปิดอยู่ตลอดเวลา มันไม่ได้ทำมันก็จริงด้วยการไม่ได้ทำ
มันได้ทำมันก็จริงด้วยการได้ทำ จะหนีไปทางไหน ? มันไม่พ้นหรอก

พระองค์ใด เณรองค์ใด ถ้าทำอะไรลงไป อยากจะทำผิดนั่นคือความสกปรกลามกเกิดขึ้นในใจของเรา
ถ้าจะไปทำสิ่งนั้นก็รู้อยู่ว่ามันผิด แต่ระวังหมู่จะเห็นกลัวครูบาอาจารย์จะรู้
ถ้าอยู่ในที่ลับไม่มีใครรู้ใครเห็นด้วยก็เป็นเลย กระทำสิ่งเหล่านั้น นี้คือมันโง่ที่สุด
ถ้ามันเป็นอย่างนั้น มันหาความบริสุทธิ์ไม่ได้ คิดว่าความปกปิดมันจะมีในโลก

พระพุทธเจ้าและผู้รู้ทั้งหลายท่านบอกว่า มันไม่มีหรอกการปกปิด ทำดีก็ดีอยู่ที่นั้น
ทำชั่วมันก็ชั่วอยู่ที่นั้น ไม่ต้องมองดูผู้ใดผู้หนึ่งเลย ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วฉะนั้นท่านจึงไม่หวั่นไหวในนินทา
สรรเสริญ ลาภ ยศ มันเป็นของโลก ตาคนเห็น หูคนได้ยิน หูคนไม่เหมือนหูพระ ตาคนก็ไม่คือตาพระ
 ตาคนนั้นชอบใจแล้วมันก็ว่าดี ถึงผิดจากความเป็นจริงมันก็ไม่วาง ขอแต่ว่าชอบใจก็ว่าดี
หูได้ยินเสียงมันสนุก ไพเราะ จิตใจมันก็ว่าเสียงนั้นดี แม้มันผิดอยู่ก็ว่าสบายใจดี จำพวกโลกเป็นอย่างนั้น
ความสรรเสริญเยินยอ ความนินทากาเลต่าง ๆ พระพุทธเจ้าท่านฆ่า อันนั้นมันเป็นจิตของคนที่ติดอยู่ในโลก ห่วงอยู่ในโลก

ความยึดมั่นถือมั่น
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 30, 2013, 07:45:42 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20121025173635_ajan_cha21.jpg)

เหตุเกิด เพราะ แม่ม่ายสาวสวย
แถมรวยทรัพย์คนหนึ่ง มาถวายจังหัน
หลวงพ่อชาทุกวัน ไม่ช้าไม่นาน หลวงพ่อรู้สึกว่า

สีกาม่ายคนนี้ คิดมิดีมิร้าย กับท่านเสียแล้ว
ตัวท่านเอง จิตใจก็ชักหวั่นไหว … มารกับธรรมะ
สู้รบกันอย่างหนักหน่วง ภายในจิต กระทั่ง
ท่านคิดปรุงแต่งเรื่องของแม่ม่าย จนรู้สึกว่า
จะไว้ใจตัวเอง ไม่ได้แล้ว ท่านก็เลยตัดสินใจ
เก็บบริขาร รีบจากวัดบ้านต้อง ในกลางดึก!

ไปหา หลวงปู่กินรี จันทิโย ยังวัดป่าเมธาวิเวก
ระยะที่ พักอยู่นั้น ท่านได้ทำความเพียร
ปฏิบัติธรรม อย่างเคร่งครัด แต่ กามราคะ
ก็ได้เข้ามา รุมเร้าหลวงพ่อชา อย่างรุนแรง!

ไม่ว่าจะเดินจรม นั่งสมาธิ หรืออิริยาถใดก็ตาม
ปรากฎว่า มีอวัยวะเพศของผู้หญิง ลอมปรากฎ
เต็มไปหมด เกิดความรู้สึกรุนแรง เดินจงกรมก็ไม่ได้
เพราะ องค์กำเนิด ถูกผ้าเข้า ก็มีอาการไหวตัว

ต้องให้เขา ทำที่จงกรมในป่าทึบ เพื่อเดินเฉพาะ
ในเวลาค่ำมืด และเวลาเดิน ต้องถลกสบงพันเอวไว้
การต่อสู้กับกามราคะ เป็นไปอย่างทรหดอดทน
ขับเคี่ยวกันอยู่นาน ถึง ๑๐ วัน … ความรู้สึก
และ นิมิตเหล่านั้น จึงสงบและหายขาดไป

กามราคะ ก็เหมือนกับสุนัข ถ้าเอาข้าวเปล่าๆ
ให้กินทุกวันๆ มันก็อ้วน อย่างหมูเหมือนกัน
การปฏิบัตินั้น ยากหลายอย่าง แต่ที่ยากจริงๆ
ก็เรื่องผู้หญิง นี่แหละ … ระวังนะ! อย่าให้งูเห่ามันฉก
วันไหน มันแผ่แม่เบี้ยมากๆ ก็ให้ทำความเพียรให้มาก!


พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท)

แชร์มาจากLotus Postmanค่ะ ขอบคุณค่ะ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ มิถุนายน 30, 2013, 11:02:26 PM
`สาธุ

แล้วกรณี ที่มีการเล่นเสน่ห์เวทมนตร์ คาถา จะแก้อย่างไร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 04, 2013, 10:43:12 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20130904224223_luangpu_cha.jpg)

"..เห็นความผิดของคนอื่นให้หารด้วย 10
เห็นความผิดตัวเองให้คูณด้วย 10
จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม.."

หลวงปู่ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 05, 2013, 11:18:33 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20130317000258_487483_133945183453036_1781537683_n.jpg)

"..คนที่เรียนปริยัติแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนกับ
ทัพพีตักแกง ที่อยู่ในหม้อ มันตักแกงทุกวัน
แต่ มันไม่รู้รสของแกง ทัพพีไม่รู้รสของแกง

ก็เหมือน คนเรียนปริยัติ ที่ไม่ได้ปฏิบัติ
ถึงแม้จะเรียนอยู่จนหมดอายุ ก็ไม่รู้จักรสของธรรมะ
เหมือนทัพพี ไม่รู้รสของแกง ฉันนั้น.."

โอวาทธรรมโดย
หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 10, 2013, 08:20:44 PM
กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย คือ "นักปฏิบัติ"
กินมาก นอนมาก พูดมาก คือ "คนโง่"

โอวาทธรรม
หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 11, 2013, 07:58:53 PM
"..บุตรคนใด ชักจูง ปลูกฝัง ประดิษฐาน
ซึ่งมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ไว้ในศรัทธาสัมปทา...
ซึ่งมารดาบิดาผู้ทุศีล ไว้ในศีลสัมปทา...
ซึ่งมารดาบิดาผู้มัจฉริยะ (ตระหนี่)
ไว้ในจาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการบริจาค...)
ซึ่งมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ไว้ในปัญญาสัมปทา

ด้วยการกระทำเพียงนี้ จึงชื่อว่า
เป็นอันได้ทำคุณ ได้ตอบแทนแก่มารดาบิดา.."

โอวาทธรรม
หลวงปู่ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 15, 2013, 06:51:29 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20121009143411_ajan_cha.jpg)

หลวงพ่อชา : โยมเคยปวดหัวไหม
โยม : เคยเจ้าค่ะ

หลวงพ่อชา : โยมเคยเจ็บฟันไหม
โยม : เคยเจ้าค่ะ

หลวงพ่อชา : โยมเคยปวดท้องไหม
โยม : เคยเจ้าค่ะ

หลวงพ่อชา : โยมเคยเจ็บหางไหม
โยม : ?????
โยม : ก็หางมันไม่มีนี่เจ้าค่ะ

มีในสิ่งใด แล้วยึดมั่นในสิ่งนั้น ก็ย่อมเจ็บ ย่อมทุกข์เอง
เมื่อไม่มี ไม่ยึด จะเอาอะไรมาทุกข์


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 15, 2013, 06:59:05 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20120731111740_n.jpg)

"...เธอจงระวัง ความคิดของเธอ
เพราะความคิดของเธอ จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
...เธอจงระวัง ความประพฤติของเธอ
เพราะความประพฤติของเธอ จะกลายเป็นความเคยชินของเธอ
...เธอจงระวัง ความเคยชินของเธอ
เพราะความเคยชินของเธอ จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
...เธอจงระวัง อุปนิสัยของเธอ
เพราะอุปนิสัยของเธอ จะกำหนดชะตาชีวิตของเธอ ชั่วชีวิต "


หลวงปู่ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 20, 2013, 06:01:23 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20121025173635_ajan_cha21.jpg)

หลวงปู่ชา สุภัทโท สนทนาธรรม กับองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ท่านได้พิจารณาถึงธาตุกรรมฐาน พิจารณาดูอาการที่สังขารทั้งมวลเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสลายไปเกิดความสังเวชใจว่า
 อันชีวิตย่อมสิ้นสุดลงแค่นี้หรือ จะยากดีมีจนก็พากันดิ้นรนไปหาความตาย ซึ่งเป็นปลายทางของชีวิต
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นสมบัติสากล ที่ทุกคนจะต้องเผชิญ

ครั้งหนึ่งท่านได้เข้ากราบนมัสการหลวงปู่มั่น ได้ปรารภข้อข้องใจถึงธรรมยุติและมหานิกาย หลวงปู่มั่นได้ชี้แจงว่า

การประพฤติปฏิบัตินั้น ถ้าถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องญัตติเข้ายุตินิกายตามครูบาอาจารย์
ทางมหานิกายก็จำเป็นต้องมีพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเช่นเดียวกัน


เมื่อได้ฟังโอวาทหลวงปู่มั่นจบลงรู้สึกว่าความเหน็ดเหนื่อยล้าได้หายไปจนหมดสิ้น
 จิตหยั่งลงสู่สมาธิด้วยอาการสงบ หมดสงสัยในหนทางประพฤติปฏิบัติ
เกิดความปลาบปลื้มปิติในธรรมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ได้กำลังใจและความอาจหาญพร้อมที่จะเอาชีวิตเดินพันในการทำความเพียรเพื่อจะบรรลุมรรคผลนิพานให้ได้
 คำสอนที่หลวงปู่มั่นเน้นเป็นที่สุดคือเรื่องตัวจิตและอาการต่าง ๆ ของจิต

วันหนึ่งเวลาประมาณสามทุ่มเศษ ๆ ได้มีหมาป่าฝูงหนึ่งวิ่งผ่านมา
ต่างวิ่งกรูกันเข้ามาจะทำอันตราย ท่านรู้สึกตกใจ ตั้งสติ กำหนดจิตอธิษฐานว่า

“ข้ามาที่นี่ได้ได้มาเพื่อเบียดเบียนใคร มาเพื่อต้องการบำเพ็ญคุณงามความดี มุ่งต่อความพ้นทุกข์
ถ้าหากว่าเราเคยได้กระทำกรรมต่อกันมา ก็ขอให้กัดข้าให้ตายไปเสียเถิด เพื่อเป็นการชดใช้กรรมเก่า
แต่ถ้าไม่เคยมีเวรภัย ต่อกันแล้ว ก็ขอให้หลีกไป”

หมาป่าเหล่านั้นทั้งเห่าทั้งขู่คำราม จิตเกิดความรู้สึกกลัวมาก ก็ปรากฏเห็นเป็นหลวงปู่มั่น ตวาดขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า

“ไป๊ พวกสูจะมาทำอะไรเขาอยู่ที่นี่เล่า”

ท่านเงื้อท่อนไม้ขึ้นคล้ายจะตี หมาป่าเหล่านั้นแตกตื่นวิ่งหนีไป ท่านคิดว่าหลวงปู่มั่นมาช่วยจริง ๆ

คราวที่ปัสสาวะเลือดออกเป็นแท่ง ๆ คิดว่าถ้าตายสมควรตายก็ให้ตายเท่านั้นแหละ
จะทำยังไงได้ล่ะถึงกลัวไม่กลัวมันก็ต้องตาย เพราะความตายอยู่ที่เรานี้เอง ตายเพราะการบำเพ็ญภาวนานี่ตายก็เต็มใจตาย
ตายเพราะการทำชั่วนั้นไม่คุ้มค่า ตายอย่างนี้สมควรแล้ว เอ้า! ตายก็ตาย พระนิพพานอยู่ฟากความตายนะ
พิจารณาคนดีอยู่ที่ไหน คนดีอยู่ที่ตัวเรา ถ้าเราดีเสียแล้ว ไปอยู่ที่ไหนมันก็ดี เขาจะนินทา สรรเสริญ จะว่าจะทำอะไร
เราก็ยังดี แม้เขาจะข้ามหัวไป ก็ยังดีอยู่ แต่ถ้าเรายังไม่ดี เขานินทา เราก็โกรธ ถ้าเขาสรรเสริญ เราก็ยินดี ก็หวั่นไหวอยู่อย่างนั้น
เมื่อรู้ว่าคนดีอยู่ที่ไหนแล้ว เราจะมีหลักในการปล่อยวางความคิด เราจะอยู่ที่ไหน เขาจะรังเกียจหรือจะว่าอะไร
 ก็ถือว่าไม่ใช่เขาหรือเขาชั่ว เพราะดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวเรา เราย่อมรู้จักตัวเราเองยิ่งกว่าใคร...

ระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์คนเดียวแสวงหาความวิเวกเกิดอาพาธหนัก นอนซมพิษไข้อยู่องค์เดียวกลางภูเขา
ไข้ขึ้นสูงมากจนลุกไม่ขึ้น ประกอบกับไม่ได้ฉันอาหารมาหลายวัน ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียราวกับจะสิ้นใจ
ถ้ามีคนพบศพแจ้งข่าวบอกญาติพี่น้องทางบ้านก็จะเป็นภาระ จึงจะจุดไม้ขีดเผาใบสุทธิเพื่อทำลายหลักฐาน
พอได้ยินเสียงอีเก้งมันร้องดังก้องภูเขา เกิดกำลังใจขึ้นมากเพราะอีเก้งมันป่วยเป็น มันไม่มียากิน
หมอรักษาก็ไม่มี แต่ก็ยังมีลูกหลานสืบต่อเผ่าพันธุ์เป็นอันมาก จึงพยายามตะเกียกตะกายไปเอาน้ำในกามาดื่ม
แล้วลุกขึ้นนั่งทำสมาธิจนอาการไข้ทุเลาลงเรื่อย ๆ

การปฏิบัตินี้มันเป็นทุกข์ลำบากแสนสาหัส มันหนัก! เอาชีวิตเข้าแลก เสือจะกินช้างจะเหยียบ
ก็ให้มันตายไปเสียคิดอย่างนี้มันควรตายแล้ว เมื่อเราได้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ก็ไม่ต้องมีอะไรจะต้องกังวลอีกต่อไป
 ตายก็เหมือนไม่ตายละทีนี้ เลยเป็นเหตุให้ไม่กลัว เป็นธรรมาวุธ อาวุธคือธรรมะ
อาวุธของเราคือธรรมะอย่างเดียว ปล่อยมันเลย กล้าหาญ ยอมตายเสีย เสี่ยงชีวิต ถ้าคนไม่กลัวตายยอมตายเสียมันกลับไม่ตายนะ
ทีนี้ทุกข์ก็ให้มันเกินทุกข์ มันหมดทุกข์โน่น ให้มันเห็นเรื่องของมัน เห็นความจริง เห็นสัจธรรม

ขณะพักอยู่บนภูลังกา ได้เร่งความเพียรอย่างหนักพักผ่อนเพียงเล็กน้อย
 ไม่คำนึงถึงเวลาว่าเป็นกลางวัน หรือกลางคืน คงยืนหยัดต่อไปอย่างต่อเนื่องจิตพิจารณาเรื่องธาตุ และสมมุติบัญญัติอยู่ตลอดเวลา

“จิตมีความรู้สึกเหมือนเป็นคนละโลก ดูอะไรก็เปลี่ยนไปหมด กาน้ำตั้งอยู่มองดูแล้วก็รู้สึกว่าไม่ใช่กาน้ำ กระโถน
 บาตรก็เปลี่ยนไปทุกอย่างเปลี่ยนสภาพไปหมดเหมือนหน้ามือกับหลังมือเหมือนแดดจ้าที่มีก้อนเมฆเคลื่อนมาบดบังแสงแดดก็วาบหายไป
ดูแล้วก็ไม่เป็นอะไร เป็นธาตุ เป็นของสมมุติทั้งนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายของเราก็ไม่ใช่ของเรา ล้วนแต่ของสมมุติ”

วันหนึ่งขณะที่ท่านเดินจงกรมอยู่เวลาประมาณห้าทุ่มกว่า รู้สึกแปลก ๆ มันแปลกมาแต่ตอนกลางวันแล้ว
รู้สึกว่าไม่คิดมาก มีอาการสบาย ๆ เขามีงานอยู่ในหมู่บ้าน เมื่อเดินจงกรมเมื่อยแล้ว เลยมานั่งที่กระท่อม
คู้ขาเข้าเกือบไม่ทันอ๊ะ! จิตสงบจริง ๆ เสียงเขาร้องรำอยู่ในหมู่บ้านมิใช่ว่าจะไม่ได้ยิน ยังได้ยินอยู่ แต่จะทำให้ไม่ได้ยินก็ได้
แปลกเหมือนกัน เมื่อไม่เอาใจใส่ก็เงียบไป จะให้ได้ยินก็ได้ ไม่รู้สึกรำคาญ ภายในจิตเหมือนวัตถุสองอย่างตั้งอยู่ไม่ติดกันดูจิตกับอารมณ์ตั้งอยู่คนละส่วนเหมือนกระโถนกับกาน้ำ ก็เลยเข้าใจว่าจิตมีสมาธินี่ ถ้าน้อยไปก็ได้ยินเสียง ถ้าว่างก็เงียบ
ถ้ามันมีเสียงขึ้นก็ดูตัวผู้รู้ ขาดกันคนละส่วน
จึงพิจารณาว่า ถ้าไม่ใช่อย่างนี้ มันจะใช่ตรงไหนอีก มันเป็นอย่างนี้ ไม่ติดกันเลย ได้พิจารณาอย่างนี้เรื่อย ๆ
 จึงเข้าใจว่า อ้อ! อันนี้ก็สำคัญเหมือนกัน เรียกว่า สันตติ คือความสืบต่อ ขาด มันเลยเป็นสันติ แต่ก่อนมันเป็นสันติออกมา
จึงนั่งทำความเพียรต่อไป จิตในขณะที่นั่งทำความเพียรคราวนั้นไม่ได้เอาใจใส่ในสิ่งอื่นเลย
ถ้าเราจะหยุดความเพียรก็หยุดได้ตามสบาย เมื่อเราหยุดความเพียร เจ้าเกียจคร้านไหม เจ้าเหนื่อยไหม
 เจ้ารำคาญไหม เปล่า ไม่มีตอบได้ว่าไม่มี ของเหล่านี้ไม่มีในจิตใจ
มีแต่ความพอดีหมดทุกอย่างในนั้น ถ้าเราจะหยุดก็หยุดเอาเฉย ๆ นี่แหละ

ต่อมาจึงหยุดพัก หยุดแต่การนั่งเท่านั้น ใจเหมือนเก่ายังไม่หยุด เลยดึงเอาหมอนลูกหนึ่งมาวางไว้
ตั้งใจจะพักผ่อนเมื่อเอนกายลงจิตยังสงบอยู่อย่างเดิม พอศีรษะจะถึงหมอนมีอาการน้อมในใจ ไม่รู้มันน้อมไปไหน
 แต่มันน้อมเข้าไปคล้ายกับมีสายไฟอันหนึ่งไปถูกสวิตช์ไฟเข้า ไปดันกับสวิตช์อันนั้น กายก็ระเบิดเสียงดังมาก
ความรู้ที่มีอยู่นั้นละเอียดที่สุด พอมันผ่านตรงจุดนั้นก็หลุดเข้าข้างในโน้น ไปอยู่ข้างในซึ่งไม่มีอะไร
แม้อะไรอะไรทั้งปวงก็ส่งเข้าไปไม่ได้ส่งเข้าไปไม่ถึง ไม่มีอะไรไปถึงหยุดอยู่ข้างในสักพักหนึ่ง
ก็ถอยออกมา คำว่าถอยออกมานี้ไม่ใช่ว่าจะให้มันถอยออกมาหรอก
เราเป็นเพียงผู้ดูเฉย ๆ เราเป็นผู้รู้เท่านั้น อาการเหล่านี้เป็นออกมา ๆ ก็มาถึงปกติจิตธรรมดา

เมื่อเป็นปกติดังเดิมแล้ว คำถามก็มีขึ้นมาว่า นี่มันอะไร? คำตอบเกิดขึ้นว่า สิ่งเหล่านี้ของเป็นเอง
ไม่ต้องสงสัยมันพูดเท่านี้จิตก็ยอม เมื่อหยุดอยู่พักหนึ่งก็น้อมเข้าไปอีก เราไม่ได้น้อมมันน้อมเอง
พอน้อมเข้าไป ๆ ก็ไปถูกสวิตช์ไฟอย่างเก่า ครั้งที่สองนี้ร่างกายแตกละเอียดหมด หลุดเข้าไปข้างในอีก
เงียบ! ยิ่งเก่งกว่าเก่า ไม่มีอะไรส่งเข้าไปถึง เข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมันพอสมควรแล้วก็ถอยออกมาตามสภาวะของมัน
ในเวลานั้นมันเป็นอัตโนมัติ มิได้แต่งว่าจงเป็นอย่างนั้น จงเป็นอย่างนี้ จงออกอย่างนี้ จงเข้าอย่างนั้นไม่มี
เราเป็นเพียงผู้ทำความรู้ ดูอยู่เฉย ๆ มันก็ถอยออกมาถึงปกติมิได้สงสัย แล้วก็นั่งพิจารณาน้อมเข้าไปอีก

ครั้งที่สามนี้โลกแตกละเอียดหมด ทั้งพื้นปฐพี แผ่นดิน แผ่นหญ้าต้นไม้ ภูเขาเลากา
เป็นอากาศธาตุหมด ไม่มีคน หมดไปเลย ตอนสุดท้ายนี้ไม่มีอะไร

เมื่อเข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมัน ไม่รู้ว่ามันอยู่อย่างไร ดูยาก พูดยาก ของสิ่งนี้ไม่มีอะไรมาเปรียบปานได้เลย
นานที่สุดที่อยู่ในนั้น พอถึงกำหนดเวลาก็ถอนออกมา คำว่าถอนเราก็มิได้ถอนหรอก มันถอนของมันเอง
 เราเป็นผู้ดูเท่านั้น ก็เลยออกมาเป็นปกติ สามขณะนี้ใครจะเรียกว่าอะไร ใครรู้ เราจะเรียกอะไรเล่า

ที่เล่ามานี้เรื่องจิตตามธรรมชาติทั้งนั้น อาตมามิได้กล่าวถึงจิต ถึงเจตสิก ไม่ต้องอะไรทั้งนั้น มีศรัทธา ทำเข้าไปจริงๆ
เอาชีวิตเดินพัน เมื่อถึงวาระที่เป็นอย่างนี้ออกมาแล้ว โลกนี้ แผ่นดินนี้มันพลิกไปหมด ความรู้ความเห็นมันแปลกไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
ในระยะนั้นถ้าคนอื่นเห็นอาจจะว่าเราเป็นบ้าจริง ๆ ถ้าผู้ควบคุมสติไม่ดีอาจเป็นบ้าได้นะ
เพราะมันไม่เหมือนเก่าสักอย่างเลย เห็นคนในโลกไม่เหมือนเก่า แต่มันก็เป็นผู้เดียวเท่านั้น
แปลกไปหมดทุกอย่าง ความนึกคิดทั้งหลายทั้งปวงนั้น เขาคิดไปทางโน้น แต่เราคิดไปทางนี้
 เขาพูดมาทางนี้ เราพูดไปทางโน้น เขาขึ้นทางโน้น เราลงทางนี้ มันต่างกับมนุษย์ไปหมด มันก็เป็นของมันเรื่อย ๆ ไป


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 23, 2013, 09:24:26 AM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20131023092139_luangpu_cha222.jpg)

หลวงพ่อชา เล่าว่า ที่ยากจริงๆ ก็เรื่องผู้หญิงนี่แหละ


ผ้าสบงที่เราใช้ไปสองปีแล้วจนจะขาดหมด จะนั่งแต่ละครั้งต้องถลกผ้าขึ้นมานิดหนึ่งเสียก่อน
เพราะผ้าที่เก่าจนขาดมันจะติดตัว ไม่ลื่นเหมือนผ้าใหม่ ตอนนั้นอยู่บ้านป่าตาว กำลังกวาดลานวัด
 เหงื่ออก เผลอนั่งลงเลย ไม่ได้ถลกผ้าขึ้น ขาดแควกตรงก้นพอดี ต้องเอาผ้าขาวม้ามาเปลี่ยน
แต่หาผ้ามาปะสบงไม่ได้ ต้องเอาผ้าเช็ดเท้าไปซักให้สะอาดแล้วเอามาปะข้างใน

เลยมานั่งคิดว่า เอ! พระพุทธเจ้านี้ทำไมทำให้คนต้องทนทุกข์จังเลย ขอคนก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้
นึกท้อใจ เพราะจีวรก็ขาด สบงก็ขาด มานั่งภาวนาก็ตั้งใจได้ใหม่ คิดว่าเอาเถอะ จะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่ถอยละ
ไม่มีผ้าก็ไม่ต้องนุ่ง จะเปลือยมันเลยทีนี้ ใจมันฮึดถึงขนาดนั้นทีเดียว คิดว่าทำให้ถึงที่สุดแล้ว ดูซิมันจะเป็นยังไง
จากนั้นมาก็นุ่งผ้าปะหน้าปะหลังมาเรื่อย ไปถึงไหนก็นุ่งมันอย่างนั้นแหละ

ปีนั้นเป็นปีที่มีเดือนแปด ๒ หน ไปกราบ อาจารย์กินรี อีกครั้ง ไปอยู่กับท่านก็ไม่เหมือนคนอื่น
เพราะธรรมเนียมของท่านไม่เหมือนใคร ท่านก็มองๆ อยู่ เราก็ไม่ขอ ถ้ามันขาดอีกก็หาผ้ามาปะเข้าไปอีก
ท่านก็ไม่ได้เอ่ยปากให้อยู่ด้วย เราก็ไม่ได้ขออยู่เหมือนกัน แต่ก็อยู่กับท่านน่ะแหละ ปฏิบัติไปทำไป
 ต่างคนต่างไม่พูด ใครจะเก่งกว่ากันว่างั้นเถอะ จวนเข้าพรรษาท่านคงไปบอกญาติของท่านว่า
มีพระมารูปหนึ่ง จีวรขาดหมดแล้ว ให้ตัดผ้าไตรไปถวายด้วยเถอะ เพราะมีคนเอาผ้ามาถวายเป็นผ้าทอเอง
 หนาทีเดียว ย้อมแก่นขนุน ก็เอาด้านจูงผีน่ะแหละมาเย็บ เย็บด้วยมือทั้งผืนเลย พวกโยมชีเขาช่วยกันเย็บให้
 ดีใจที่สุด ใช้อยู่ ๔-๕ ปีก็ไม่ขาด ใช้ครั้งแรกก็ดูกระปุกกระปุย เพราะผ้าใหม่มันกระด้าง ยังไม่กระชับตัว
เวลาเดินเสียงดังสวบสาบ ยิ่งใส่สังฆาฏิ ๒ ชั้นเข้าไปยิ่งดูอ้วนใหญ่ แต่เราก็ไม่เคยบ่น
ใส่ไปได้สักปีสองปีน่ะแหละผ้าจึงอ่อนตัวลง ก็ได้อาศัยผ้าผืนนั้นมาเรื่อย ยังนึกถึงบุญคุณของท่านอยู่เสมอ
เพราะท่านให้มาโดยที่เราไม่ได้ขอ เป็นบุญมาก ตั้งแต่ได้ผ้าผืนนั้นมาก็รู้สึกสบายกายสบายใจ

มองดูการกระทำของตัวเอง ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน จนถึงอนาคต ทำให้นึกได้ว่ากรรมใดทำไปแล้วไม่ผิด
 ไม่ทำให้เดือดร้อน มีแต่ความสบายใจ กรรมนั้นดี มีความเห็นอยู่อย่างนั้น เห็นจริงตามนั้น ก็รู้สึกว่าชักเข้าท่า
เลยเร่งการภาวนาเป็นการใหญ่ ไม่หยุดเลย ผ้าผืนนั้นนะ ใส่ขึ้นภูเจอเสือเหลืองผมว่ามันไม่กล้ากัดแน่ พอมันโฮกมาเจอก็จะงักจังงังไปเลย

แต่ปัญหาใหญ่ในการปฏิบัติของหลวงพ่อในช่วงนี้ ก็ยังคงเป็นตัว “กามราคะ” นั่นเอง
เมื่อธุดงค์ไปพักที่วัดบ้านต้อง จังหวัดนครพนมนั้น ท่านก็ต้องผจญมารคู่ปรับเก่าตัวนี้จนเกือบเสียท่า
 ต้องตัดสินใจเผ่นหนีกลางดึก เหตุก็เกิดเพราะแม่ม่ายสาวสวยแถมรวยทรัพย์คนหนึ่ง มาถวายจังหันทุกวัน
ไม่ช้าไม่นานหลวงพ่อก็รู้สึกได้ว่า สีกาม่ายคนนี้คิดมิดีมิร้ายกับท่านเข้าเสียแล้ว
ตัวท่านเองจิตใจก็ชักจะหวั่นไหว มารกับธรรมะสู้รบกันอยู่อย่างหนักหน่งภายในจิตใจ
 กระทั่งคืนวันหนึ่งเมื่อจิตของท่านคิดปรุงแต่งเรื่องของแม่ม่าย
จนรู้สึกว่าจะไว้ใจตัวเองไม่ได้แล้ว ท่านก็เลยตัดสินใจเก็บบริขารในกลางดึกคืนนั้น แล้วก็เดินอย่างกระกวีกระวาดไปปลุกพ่อแก้ว

“ไปมื่ออื่นบ่ได้บ่ขะน่อย” (ไปพรุ่งนี้ไม่ได้หรือครับ) พ่อแก้วกราบเรียนถามอย่างงัวเงีย

“บ่ ฟ่าวไปเดี๋ยวนี้โลด” (ไม่ รีบไปเดี๋ยวนี้เลย) หลวงพ่อตอบหนักแน่นและเด็ดขาด

หลังจากที่มาอยู่วัดหนองป่าพง และสยบมารร้ายตัวนี้ได้อย่างราบคาบแล้ว
ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงพ่อมีโอกาสได้ไปโปรดญาติโยมที่วัดบ้านต้อง ระหว่างปรารภถึงความหลัง
 ท่านก็เล่าถึงการปฏิบัติของตัวเองในสมัยก่อนให้ชาวบ้านฟังอย่างขำๆ ว่า

“โอย! ยากหลายแนว แต่แนวที่มันยากนำอีหลีก็เรื่องแม่ออกนี่แหละ”
(ยากหลายอย่าง แต่ที่ยากจริงๆ ก็เรื่องผู้หญิงนี่แหละ)

เรื่องมันคงยากจริงๆ อย่างที่ท่านเล่าไว้ เพราะเมื่อไปจำพรรษากับท่านอาจารย์กินรีในปีเดียวกันนั้น
กามราคะก็หวนกลับมาเล่นงานท่านใหม่ และยิ่งร้ายกว่าครั้งก่อนด้วยซ้ำ
ขณะที่มีความเพียรปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ในวาระหนึ่งกามราคะก็เข้ามารุมเร้าอย่างรุนแรง
ไม่ว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรืออยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม ปรากฏว่ามีอวัยวะเพศของผู้หญิงลอยปรากฏเต็มไปหมด
เกิดความรู้สึกรุนแรงจนแทบทำความเพียรไม่ได้ ต้องอดทนต่อสู้กับความรู้สึกและนิมิตเหล่านั้นอย่างลำบากยากเย็น
หลวงพ่อเล่าว่า ความรู้สึกต่อกามราคะในครั้งนั้นย่ำยีจิตใจรุนแรงพอๆ
กับความกลัวที่เกิดขึ้นในคราวที่ไปอยู่ป่าช้าครั้งแรกนั่นเอง เดินจงกรมก็ไม่ได้
เพราะองค์กำเนิดถูกผ้าเข้าก็มีอาการไหวตัว ต้องให้เขาทำที่จงกรมในป่าทึบเพื่อเดินเฉพาะ
ในเวลาค่ำมืดและเวลาเดินต้องถลกสบงพันเอวไว้ การต่อสู้กับกามราคะเป็นไปอย่างทรหดอดทน
 ขับเคี่ยวกันอยู่นานถึง ๑๐ วัน ความรู้สึกนิมิตเหล่านั้นจึงสงบและขาดหายไป

เรื่องนี้หลวงพ่อได้เปิดเผยให้สานุศิษย์ทราบในภายหลัง ด้วยเห็นว่าเป็นคติธรรมที่ดี
โดยเฉพาะแก่พระหนุ่มวัยฉกรรจ์ เพราะท่านเป็นพยานพิสูจน์ว่า กามราคะจะฮึกเหิมเท่าไร ผู้มีศรัทธายิ่งก็เอาชนะได้

ฉะนั้น ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ เมื่อ ท่านพระอาจารย์มหาอมร เขมจิตฺโต
ได้บันทึกชีวประวัติของหลวงพ่อตามคำบอกเล่าของท่านมาถึงตอนนี้
ก็รู้สึกไม่แน่ใจว่าสมควรจะเผยแผ่ต่อสาธารณชนหรือไม่ แต่หลวงพ่อก็ได้กำชับว่า

“ต้องเอาลง ถ้าไม่เอาตอนนี้ลงในหนังสือด้วย ก็ไม่ต้องพิมพ์ประวัติเลย”

เกี่ยวกับเรื่องสตรี หลวงพ่อท่านจะเข้มงวดเอากับลูกศิษย์ของท่านมาก
เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า กามราคะ เป็นมารตัวสำคัญที่ทำให้พระต้องสึกหาลาเพศ
เป็นอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ต่อการประพฤติปฏิบัติ ในพระวินัยบัญญัติก็มีหลายสิกขาบทที่วางหลักไว้อย่างเข้มงวด
เพื่อกำกับการติดต่อกับมาตุคาม ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะสายเกินแก้
กามราคะก็เหมือนกับสุนัข ถ้าเอาข้าวเปล่าๆ ให้กินทุกวันๆ มันก็อ้วนอย่างหมูเหมือนกัน
 การปฏิบัตินั้นยากหลายอย่าง แต่ที่ยากจริงๆ ก็เรื่องผู้หญิงนี่แหละ ระวังนะ! อย่าให้งูเห่ามันฉก
 วันไหนมันแผ่แม่เบี้ยมากๆ ก็ให้ทำความเพียรให้มาก!

หลวงพ่อเองก็ระวังตัวมาก ใต้ถุนกุฏิท่านซึ่งใช้เป็นที่รับแขกก็โล่ง ถ้ามีแขกผู้หญิงมา
ต้องมีพระหรือเณร หรือโยมผู้ชายเป็นพยานรู้เห็นสิ่งที่หลวงพ่อสนทนากับผู้หญิงนั้นด้วย

และท่านก็เตือนพระภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “ระวังเถอะผู้หญิง อย่าไปใกล้มัน
ไม่ใช่ใกล้ไม่ใช่ไกล แค่สายตาไปผ่านพริบเท่านั้นแหละ มันเป็นพิษเลย”

หลวงพ่อท่านกล่าวอธิบายพุทธพจน์เกี่ยวกับเรื่องที่พระอานนท์ถามพระพุทธเจ้า
ในเรื่องการติดต่อกับผู้หญิงว่า ไม่ให้เห็นดีกว่า ถ้าเหตุจะต้องเห็นมีอยู่ ก็ไม่ต้องพูดด้วย
 เหตุจะต้องพูดมีอยู่จะทำยังไง ต้องมีสติให้มาก นี่คือการปฏิบัติต่อสตรีเพศ

ปีที่หลวงพ่อจำพรรษาที่วัดป่าหนองฮีนั้น ไม่ใช่ว่าแต่เรื่องดุเดือดวุ่นวายอย่างเดียว
ตรงกันข้าม... คืนวันหนึ่งหลังจากทำความเพียรแล้ว หลวงพ่อคิดจะพักผ่อนบนกุฏิเล็กๆ
เอนกายลงศรีษะถึงหมอนกำหนดสติ พอเคลิ้มไปเกิดนิมิตขึ้นว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต”
ได้มาอยู่ใกล้ๆ นำแก้วลูกหนึ่งมายื่นให้แล้วพูดว่า

“ชา...เราขอมอบลูกแก้วนี้แก่ท่าน มันมีรัศมีสว่างไสวมากนะ”

หลวงพ่อได้ยื่นมือขวาออกไป รับแก้วลูกนั้นกับมือของท่าน พร้อมกับลุกขึ้นนั่ง
พอรู้สึกตัวก็เห็นตัวเองยังกำมือและอยู่ในท่านั่งตามปกติ มีอาการคิดค้นธรรมะเพื่อความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติมีสติปลื้มใจตลอดพรรษา



ขอบพระคุณข้อมูลจาก FB: K.Supani ครับผม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 24, 2013, 08:27:34 PM
" คนที่ท่าน รู้จักธรรมะนั้น
ไม่ได้เอาความจำมาพูด
แต่ท่านเอาความจริงมาพูด
คนทางโลกเอาความจำมาพูด "

หลวงปู่ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 11, 2013, 07:16:07 PM
โอวาทธรรมครั้งสุดท้าย

ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ครูบาอาจารย์ได้เมตตาไปเยี่ยมโปรดฆราวาสผู้จวนจะสิ้นชีวิต
เพื่อให้เขาละโลกอย่างสงบระงับ ในกรณีนี้หลวงพ่อก็ได้ฝากธรรมะไว้กับศิษย์รุ่นเก่าหลายคนเหมือนกัน
 ซึ่งในจำนวนนั้นมีคนหนึ่งชื่อพ่อพ่วง

สองสามีภรรยาคือ พ่อพ่วงและแม่แตง นามสกุลสมหมาย เป็นผู้มีส่วนร่วมในการอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณรวัดหนองป่าพง
ร่วมกับทายกทายิกาทั้งหลายเป็นอย่างดี จนกระทั่งพ่อพ่วงได้มาบวช ปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อ ๑ พรรษา
แล้วก็สึกออกไป โดยให้เหตุผลว่า

ทางวัดยังขัดสนสิ่งของเครื่องใช้อีกมาก ถ้าสึกออกไปเป็นโยมแล้วจะสามารถชักชวนผู้อื่นที่มีศรัทธา
ให้ร่วมกันจัดหาสิ่งของที่จำเป็นสำหรับวัดได้ เช่น ตอนนั้นระฆังสำหรับตีให้สัญญาณก็ไม่มี ใช้แผ่นเหล็กตีแทน

พ่อพ่วงจึงชักชวนอุบาสกอุบาสิกาสร้างระฆังมาถวาย ต่อมาก็นำนาฬิกามาถวาย
นอกจากพ่อพ่วงแม่แตงแล้วยังมีนางสาวเจียมใจ สมหมาย ซึ่งเป็นลูกสาวกับนางสาววงสินี จับฉาย
สร้างพระพุทธรูปทองขัด ขนาดหน้าตัก ๒๓ นิ้ว ถวายไว้เป็นพระประธาน ในศาลาโรงอุโบสถปัจจุบันนี้ ด้วย

เมื่อสึกออกมาแล้วพ่อพ่วงก็ยังไปรักษาศีลฟังเทศน์อยู่เป็นประจำ
เมื่อมีการก่อสร้างภายในวัดก็ให้การสนับสนุน พ่อพ่วงเคยกราบเรียนหลวงพ่อว่า

“ถ้าผมตายขอถวายร่างกระดูกแก่ท่านอาจารย์และขอให้รับศพผมมาจัดการที่วัดนี้”

หลวงพ่อก็รับคำ ต่อมาพ่อพ่วงก็เริ่มป่วย และเคยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลหลายครั้ง
จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๐๖ อาการป่วยก็ทรุดลงมาก
 ลูกหลานจึงรับกลับมาอยู่บ้าน หลวงพ่อได้ไปเยี่ยมบ้างเป็นบางครั้ง


ครั้นถึงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๐๘ อาการของพ่อพ่วงทรุดหนักอย่างน่าวิตก
ขากรรไกรแข็งพูดไม่ได้ ตาก็ลืมไม่ขึ้น มีแต่นอนครางอือ ๆ ลูกเมียก็เฝ้าดูอาการอยู่ แต่สุดปัญญาที่จะช่วยได้

วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๐๘ หลวงพ่อและพระอาจารย์จันทร์พร้อมด้วยพระอีกหลายรูปรับนิมนต์ไปฉันในกรมทหาร
พอฉันเสร็จแล้ว หลวงพ่อจึงพูดกับผู้กองสมบุญว่าอยากไปเยี่ยมพ่อพ่วงให้หารถคันใหญ่ให้
ผู้กองเรียนว่าไปเยี่ยมพ่อพ่วงไม่กี่คนเอารถคันเล็กไปก็ได้

แต่หลวงพ่อบอกว่าให้เอารถคันใหญ่ ผู้กองจึงได้จัดหาตามประสงค์ของท่าน
นายหนูถามว่าจะไปเยี่ยมหรือไปรับพ่อพ่วงกันแน่ หลวงพ่อตอบว่า

“ไปรับ” นายหนูจึงพูดว่า” จะไปรับอะไรแกยังไม่ตาย ลูกเขาจะให้มาหรือ
แกสั่งไว้ว่าตายแล้วจึงไปรับมิใช่หรือ”

หลวงพ่อนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง จึงพูดว่า “ตายไม่ตายก็รับเอาไปวันนี้”
แล้วหันมาพูดกับพระอาจารย์จันทร์ว่า “ไปเถอะ...พ่อพ่วงกำลังคอย”

ไปถึงบ้านพ่อพ่วงเวลา ๑๒.๔๕ น. ขณะนั้นพวกลูก ๆ กำลังอยู่ดูเฝ้าอาการพ่อของตนอยู่
หลวงพ่อนั่งบนเตียงมองดูพ่อพ่วงอยู่ครู่หนึ่ง จึงลงมาเอามือลูบหน้าพ่อพ่วงเบา ๆ และเรียกว่า

“พ่อพ่วง พ่อพ่วง”

เป็นเวลาพอสมควรพ่อพ่วงจึงลืมตาขึ้นเพราะได้ยินเสียงหลวงพ่อ ทั้งหันหน้ามอง หลวงพ่อจึงถามว่า

“พ่อพ่วงจำอาตมาได้ไหม?”

พ่อพ่วงผงกศรีษะรับ มองดูหน้าหลวงพ่อแล้วน้ำตาไหล แต่ยังมีเสียงครางอยู่
หลวงพ่อเอามือจับหน้าผากพ่อพ่วงไว้ แล้วให้โอวาทว่า

“พ่อพ่วง เราเป็นนักปฏิบัตินะ เราเคยต่อสู้มันมานาน ถึงเวลาเขามาเอาก็ให้เขาไป
มันของเขาจะหวงไว้ทำไม เอาของเขามาก็ส่งคืนเขาไป เก็บเสียงไว้ข้างในสิ ปล่อยออกมาข้างนอกทำไม?”


พอหลวงพ่อพูดจบ เสียงครางของพ่อพ่วงก็เงียบลงทันที หลวงพ่อจึงให้โอวาทต่อไปว่า

“สังขารนี้มันไม่เที่ยงแท้แน่นอน รูปนี้ไม่งามมันเก่าแล้วเพราะใช้มานาน ไปหาเอารูปร่างกายใหม่ไปยังสถานที่เราเคยเห็นโน้น”

(หมายถึงนิมิตที่เกิดขึ้นเมื่อคราวพ่อพ่วงบำเพ็ญธรรมอยู่ที่วัดตอนบวช)

หลวงพ่อเอามือลูบหน้าพ่อพ่วงเรื่อย ๆ พลางหันมาถามผู้กองสมบุญว่า

“เวลาเท่าไรแล้ว”

ผู้กองสมบุญยกนาฬิกาข้อมือขึ้นดู แล้วกราบเรียนว่า

“เวลา ๑๒.๕๕ ครับ”

“อีกห้านาทีพ่อพ่วงก็จะไปแล้ว”

หลวงพ่อบอกพร้อมกับลูบหน้าลูบตาพ่อพ่วงไปมา ตาของพ่อพ่วงค่อย ๆ หรี่ลง ๆ
พอเปลือกตาปิดกันก็เป็นเวลา ๑๓.๐๐ น. พอดี พ่อพ่วงสิ้นใจจากไปด้วยอาการสงบ

พ่อพ่วงได้จากไปโดยที่ได้ฟังโอวาทของหลวงพ่อเป็นครั้งสุดท้าย
และมีมือของหลวงพ่อปิดเปลือกตาทั้งสองให้ พ่อพ่วงคงจะตายด้วยความภูมิใจและดีใจ
หลวงพ่อสั่งให้นำศพของพ่อพ่วงมาวัดทันที และเป็นเจ้าภาพจัดการทำศพให้โดยตลอด


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 12, 2013, 10:35:59 PM
 ทิฐิ - ทิฐิ คือความเห็น ที่จะช่วยดึงให้เรามีความรอบรู้พอสมควรก็มี
เพื่อเราจะเรียนรู้ เพื่อเราจะพิจารณาอยู่เหมือนกัน เช่น ความเห็นที่ว่า
เราดีกว่าเขา เห็นว่าเราเสมอเขา เห็นว่าเราโง่กว่าเขา ซึ่งเป็นความเห็นที่ผิดทั้งนั้น
แต่ว่าท่านเห็นแล้ว ท่านก็รู้มันด้วยปัญญา เกิดขึ้นแล้ว มันก็ดับไปของมัน เห็นว่าตัวดีกว่าเขา
นี้ก็ไม่ใช่ เห็นว่าตัวเสมอเขา ก็ไม่ใช่ เห็นว่าตัวนี่โง่กว่าเขา ก็ไม่ใช่ ความเห็นที่เป็นสัมมาทิฐินี่
มันต้องตัดต้นตัดปลายหมด มันจะไปตรงไหนล่ะ เห็นว่าเราดีกว่าเพื่อน เราก็ทะนงตัว
มันมีอยู่ในนั้นแหละ แต่ว่ามันยังไม่รู้จัก ยังไม่มีปัญญา เห็นว่าเราเสมอกับเพื่อน
มันก็ตีเสมอกันเท่านั้น เห็นว่าเราเลวกว่าเขา มันก็ตกใจคิดอาภัพอับจน มันมีอุปาทานในขันธ์ ๕ จึงเกิดภพเกิดชาติ

หลวงปู่ชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 11, 2014, 12:55:40 AM
"ตามความเป็นจริงแล้ว โลกที่เราอยู่นี้
ไม่มีอะไรทำไมใครเลย ไม่มีอะไร
จะเป็นที่วิตก-วิจารย์เลย ไม่มีอะไร
ที่น่าจะร้องไห้ หรือหัวเราะ

เพราะมันเป็นเรื่องอย่างนั้นธรรมดาๆ
แต่เราพูดธรรมดาได้ แต่มองไม่เห็นธรรมดา

แต่ถ้าเรารู้ธรรมะสม่ำเสมอ ไม่มีอะไร เป็นอะไรแล้ว
มันเกิด มันดับ ของมันอยู่อย่างนั้น เราก็สงบ"

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 11, 2014, 12:10:17 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20140111120957_luangpu_cha222.jpg)

" บางคนถือเอาการไปเที่ยววัดว่าเป็นบุญ ถ้าอานิสงส์ของการเข้าวัดเกิดเพราะกายอย่างเดียว
พวกกระรอก กระแต นก หนู หรือสัตว์อื่น ๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในวัด ก็น่าจะได้บุญมากกว่าคนซึ่งมักจะอยู่ไม่นานเลย

มันสำคัญที่ใจ ถ้าโยมมาถวายจังหันหรือจำศีล แต่มาคุยกันเรื่องทางโลก เอาเรื่องนั้นเรื่องนี้มาพูดกัน
ก็เท่ากับเอาโลกมาทับวัด มาวัดต้องเข้าใจความหมายและจุดมุ่งหมายของการเข้าวัดอย่างแท้จริง "


หลวงปู่ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 15, 2014, 02:56:40 PM
"...การตามดูใจของเราเองนี่น่าสนใจมาก ใจที่ยังไม่ได้ฝึก
มันก็คอยวิ่งไปตามนิสัยความเคยชินที่ยังไม่ได้อบรม
มันเต้นคึกคักไปตามเรื่องตามราวตามความคะนอง
เพราะมันยังไม่เคยฝึก ดังนั้นจงฝึกใจของตนเอง..."


หลวงปู่ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 15, 2014, 03:14:03 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20130201104307_luangpu_cha.jpg)

ในวาระ ครบรอบ 22 ปี ของการละสังขาร ขององค์หลวงปู่ชา ในวันที่ 16 มกราคม 2557 นี้ 
ทางเว็บ kammatan.com ร่วมทำบุญโรงทาน ที่วัดหนองป่าพง ในวัน อาจารยบูชาแด่องค์หลวงปู่ชา ไปด้วยนะครับ
อนุโมทนาสาธุ ครับผม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 21, 2014, 10:49:05 PM
"เราควรชวนกันเข้าหาธรรมะ
อย่าหันหลังให้ธรรมะ
ถ้าไม่สนใจธรรมะ
มันก็เหมือนกับเราหันหลังให้บ่อน้ำที่เย็นๆ
แล้วไปหันหน้าเข้ากองไฟใหญ่ๆ"

หลวงปู่ชา สุภทฺโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 09, 2014, 03:32:39 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20140209153958_nongprapong.jpg)
เห็นทุกข์ทำให้เกิดปัญญา

ทุกข์ เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์ คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวทุกข์ อยากหนีทุกข์
ไม่อยากให้มีทุกข์เลย ความจริงทุกข์นี่แหละจะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์

สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เราประมาท

หลวงปู่ชา สุภทฺโท

ขอบคุณรูปนี้จาก : พี่ไต๋ painaima.com


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 10, 2014, 10:33:17 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20140210223433_luangpu_cha.jpg)

สมมุติว่า ถ้าเราจะปลูกต้นไม้
เราต้องคอยดูแล โดยหมั่นรดน้ำ พรวนดิน
ดายหญ้า และล้อมรั้วกันอันตรายให้
หน้าที่ของเรา มีเพียงแค่นี้ ทำให้ครบ ทำให้ดีที่สุด

ส่วนผล ที่ต้นไม้จะให้นั้น บางชนิด ๑ ปี ให้ผล
บางชนิด ๓ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี นั่น เป็นเรื่องของเขา
เป็นเรื่องของต้นไม้เขาเอง

หน้าที่ของเรานั้น "ทำเหตุ" ให้ดีที่สุดเท่านั้น
ส่วน "ผล" ที่จะได้รับเป็นเรื่องของเขา
ถ้าเราดำเนินชีวิต โดยมีการ "ปล่อยวาง" เช่นนี้แล้ว
ทุกข์ ก็ไม่รุมล้อมเรา

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2014, 08:42:39 PM
" เหมือนชาวประมงที่ออกไปทอดแหนั่นหละ
ทอดแหออกไปถูกปลาตัวใหญ่ เจ้าของผู้ทอดแหจะคิดอย่างไร
ก็กลัว กลัวปลาจะออกจากแหไปเสีย
เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจมันก็ดิ้นรนขึ้น ระวังมาก บังคับมาก
ตะครุบไปตะครุบมาอยู่นั่นแหละ ประเดี๋ยวปลากันก็ออกจากแหไปเสีย
เพราะไปตะครุบมันแรงเกินไปอย่างนั้น

โบราณท่านพูดถึงเรื่องอันนี้
ท่านว่า ค่อยๆ ทำมัน แต่อย่าไปห่างจากมัน
นี่คือปฏิปทาของเรา ค่อยๆ คลำมันไปเรื่อยๆ อย่างนั้นแหละ
อย่าปล่อยมันหรือไม่อยากรู้มัน ต้องรู้ ต้องรู้เรื่องของมัน
พยายามทำมันไปเรื่อยๆ ให้ปฏิปทา ขี้เกียจเราก็ทำ ไม่ขี้เกียจเราก็ทำ
เรียกว่าการปฏิบัติต้องทำไปเรื่อยๆ อย่างนี้

ถ้าหากว่าเราขยัน ขยันเพราะความเชื่อ มันมีศรัทธา แต่ปัญญาไม่มี
ถ้าเป็นอย่างนี้ ขยันไปๆ แล้วมันก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมากมาย
ขยันไปนานๆ เข้า แต่มันไม่ถูกทาง มันก็ไม่สงบระงับ ทีนี้ก็จะเกิดความคิดว่า
เรานี้บุญน้อยหรือวาสนาน้อย หรือคิดไปว่ามนุษย์ในโลกนี้คงทำไม่ได้หรอก
แล้วก็เลยหยุดเลิกทำ เลิกปฏิบัติ
ถ้าเกิดความคิดอย่างนี้เมื่อใด ขอให้ระวังให้มาก
ให้มีขันติ ความอดทน ให้ทำไปเรื่อยๆ เหมือนกับเราจับปลาตัวใหญ่
ก็ให้ค่อยๆ คลำมันไปเรื่อยๆ ปลามันก็จะไม่ดิ้นแรง
ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ ไม่หยุด
ไม่ช้าปลาก็จะหมดกำลัง มันก็จับง่าย จับให้ถนัดมือเลย
ถ้าเรารีบจนเกินไปปลามันก็จะหนีดิ้นออกจากแหเท่านั้น "

หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 03, 2014, 10:52:44 PM
คนเราบางคน บางทีก็อยากจะเอาบุญ
เช่น ผ้ายังสกปรกอยู่...ยังไม่ได้ทำความสะอาด
แต่อยากจะย้อมสีซะแล้ว
ลองเอาผ้าเช็ดเท้าที่ยังไม่ได้ฟอกไปย้อมสีดูซิ...มันจะสวยไหม ?
การไม่กระทำบาปนั้น...มันเลิศที่สุด
บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้
แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั่นนะ
มันยากที่สุด
การจะละความชั่ว ไม่กระทำผิด...มันยาก
"การทำบุญ" โจรมันก็ทำได้ มันเป็น..."ปลายเหตุ"
"การไม่กระทำบาป" ทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะ เป็น..."ต้นเหตุ"

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 19, 2014, 02:08:23 PM
การทำบุญที่สูงสุดคือการทำใจให้เป็นบุญ
เป็นสิ่งสำคัญมาก
เมื่อเราทำใจให้เป็นบุญ
เราก็ไม่ต้องไปกอบโกยอะไรให้มากมาย
วัตถุสิ่งของต่างๆ เอาพอสมควร
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ท่านให้มีธรรมไว้ในใจ

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 01, 2014, 08:23:35 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20121025173635_ajan_cha21.jpg)

ผิดในถูก

เราเห็นแล้วว่า ถ้วยใบนี้ เอาไว้ที่ไหน...มันก็ต้องแตก
จานนี่ เอาไว้ที่ไหน...ก็ต้องแตก
แต่เราก็ต้องสอนเด็กว่า ล้างให้มันสะอาด เก็บไว้ให้ดี
เราก็ต้องสอนเด็กอย่างนี้ ตามสมมุติอย่างนี้ เพื่อเราจะใช้ถ้วยนี้นาน ๆ
อันนี้เรารู้จักธรรมะ เอาธรรมะมาปฏิบัติ
ถ้าเห็นว่า อันนี้มันจะแตกอยู่แล้ว
เราบอก เออ! ช่างมันเถอะลูก กินแล้วก็ไม่ต้องล้างมันหรอก
จะตกก็ช่างมันเถอะ ไม่ใช่ของเราหรอก
เอาทิ้งไว้ที่ไหนก็ได้ มันจะแตกอยู่แล้ว อย่างนี้ก็เป็นคนโง่ไป
ถ้าเราเป็น "ผู้รู้สมมุติ" อันนี้
เมื่อมันเจ็บไข้...ก็หาหยูกยาให้มันกิน
เมื่อมันร้อน...ก็อาบน้ำให้มัน
เมื่อมันเย็น...ก็หาความอบอุ่นให้มัน
เมื่อมันหิว...ก็หาข้าวให้มันกิน แต่ให้เรารู้ว่า ให้ข้าวมันกิน...มันก็จะตายอยู่
แต่ในเวลานี้ ยังไม่ถึงคราวจะตาย
เหมือนถ้วยใบนี้...ยังไม่แตก
ก็รักษาถ้วยใบนี้...ให้มัน "เกิดประโยชน์" เสียก่อน

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 03, 2014, 08:03:54 PM
"If we see suffering then we don't have suffering." - Ajahn Chah

"เห็นทุกข์ ไม่มีทุกข์"

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 25, 2014, 09:56:54 PM
หิวกามจนตายเหมือนบุรุษหนึ่งหิวน้ำจัด
เพราะเดินทางไกลมาขอน้ำกิน
เจ้าของน้ำก็บอกว่าน้ำนี้จะกินก็ได้ สีมันก็ดี กลิ่นมันก็ดีรสมันก็ดี
แต่ว่ากินเข้าไปแล้วมันเมานะบอกให้รู้เสียก่อน
เมาจนตายหรือเจ็บเจียนตายนั่นแหละ
แต่บุรุษผู้หิวน้ำก็ไม่ฟังเพราะหิวมาก
เหมือนคนไข้หลังผ่าตัดที่ถูกหมอบังคับให้อดน้ำก็ร้องขอน้ำกิน
คนหิวในกามก็เหมือนกัน หิวในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ล้วนเป็นพิษ
พระพุทธเจ้าทรงบอกไว้ว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์นั้น มันเป็นพิษ เป็นบ่วง ก็ไม่ฟังกัน
เหมือนกับบุรุษผู้หิวน้ำผู้นั้น
ที่ไม่ยอมพังคำเตือนเพราะความหิวกระหายมันมีมาก
ถึงจะต้องทุกข์ยากลำบากเพียงใดก็ขอให้ได้กินน้ำเถอะ
เมื่อได้กินได้ดื่มแล้วมันจะเมาจนตายหรือเจียนตายก็ช่างมัน
จับจอกน้ำได้ก็ดื่มเอา ๆ เหมือนกับคนหิวในกามก็กินรูป
กินเสียง กินกลิ่น กินรส กินโผฏฐัพพะ กินธรรมารมณ์ รู้สึกอร่อยมาก
ก็กินเอา ๆ หยุดไม่ได้ กินจนตาย ตายคากาม"

หลวงพ่อชา สุภทฺโท
วัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 25, 2014, 09:57:31 PM
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อถามพระหนุ่มผู้ร้อนผ้าเหลือง ลูกศิษย์ก้มหน้างุด หน้าแดงและตัวสั่นนิด ๆ
“เออ ! มันหลงน้อ ไอ้โลภ โกรธ หลงนี่เลิกไม่ได้ซักทีน้อ ความงามมันงามอยู่แค่ตานี่นะ
ต้องดูให้ดี ๆ ความหลงมันก็หลงอยู่ที่จิตใจนี้ มันไม่ภาวนานะ งามหนัง หลงหนังเรอะ
ดูดี ๆ ซิ ข้างล่างมันมีอะไร ดูดีแล้วเหรอ จิตใจมันเป็นยังไงนักหนา จะไม่ให้มันพ้นเชียวเหรอ
ทุกข์พวกนี้น่ะ อยากเข้าคุกอีกเหรอ รักรูขี้เขาเหรอ นี่สองรู รูขี้ ไม่ล้างละก็เหม็นคลุ้งเลยนะ
 ไม่เชื่อเหรอ ขี้มูกไหลอยู่น่ะ ไม่รู้ว่าหลงรูขี้เขาด้วยซ้ำ รูขี้เขาทุกขุมขน ทั่วใบหน้า
บ้าแท้ ๆ ยังจะหลงมันอีก ยังอยากกลับไปตายที่เก่าอีก ยังไม่พออีกเหรอ"

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 25, 2014, 10:00:01 PM
ขอของดีไปสู้กระสุน
ทหารคนหนึ่งไปกราบขอพระเครื่องกันกระสุน
จากหลวงพ่อ ท่านบอกหน้าตาเฉยว่า
"เอาองค์นั้นดีกว่า เวลายิงกันก็อุ้มไปด้วย"
ท่านชี้ไปที่พระประธาน

หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 26, 2014, 10:51:56 PM
“สูตรแก้ความคิดถึงแฟน”
มีพระภิกษุชาวต่างชาติรูปนึง เป็นศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภัทโท อยู่ที่วัดป่านานาชาติ
วันหนึ่ง...ท่านได้มากราบขอคำปรึกษาจากหลวงปู่ชา ว่าภาวนาไม่ได้ไม่สงบ เพราะเอาแต่คิดถึงหน้าแฟนเก่า
หลวงปู่ชา จึงให้อุบาย โดยบอกกับภิกษุรูปนั้นว่า... “ให้คุณเขียนจดหมายไปถึงแฟนเก่าของคุณ ขอให้เธอช่วยถ่ายอุจจาระ ใส่ขวดเล็ก ๆ ส่งกลับมา แล้วให้คุณเก็บขวดอุจจาระนั้นติดตัวใส่ย่ามไว้นะ จะไปไหนก็ให้นำติดตัวไปด้วย เวลาคิดถึงแฟน ก็ให้หยิบขวดนั้นมาเปิดฝาออกแล้วดมดูนะ..”
สูตรแก้ความคิดถึงแฟน ของหลวงปู่ชานี้ ท่านสอนตรง ๆ ให้ผู้มาฝึกฝนเป็นลูกศิษย์ของท่านได้พิจารณา ให้แก้กามราคะที่มันคอยกำเริบออก เป็นสูตรที่ครูบาอาจารย์เมตตาสอนให้กับศิษย์ที่ต้องการจะหลุดพ้นจากกามกิเลส . . . ส า ธุ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 06, 2014, 12:13:07 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20130904224223_luangpu_cha.jpg)

บางทีมีความสุข บางทีมันมีความทุข์
บางทีสบาย บางทีรำคาญ
บางทีรักคนโน้น บางทีเกลียดคนนี้
… นี้คือ "ธรรมะ"

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 06, 2014, 11:13:58 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20130317000258_487483_133945183453036_1781537683_n.jpg)

ผู้ใดมี "สติ" อยู่ทุกเวลา
ผู้นั้นก็จะได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

หลวงพ่อชา สุภทฺโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 11, 2014, 08:35:24 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20141011083412_luangpu_cha.jpg)

“ถ้าท่านยึดติดอยู่กับภาวะจิตที่สงบ ท่านจะเป็นทุกข์เมื่อจิตไม่สงบ
ฉะนั้นจงปล่อยวางหมดทุกสิ่งแม้แต่ความสงบ”

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 11, 2014, 08:38:34 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20141011083726_luangpu_cha2.jpg)

“คนจะบรรลุธรรม จะได้เห็นธรรมะ ต้องรู้จักว่าธรรมะอยู่ตรงไหนเสียก่อน
ธรรมะที่แท้จริงอยู่ที่ไหน อยู่ที่นี่ อยู่ที่กาย อยู่ที่ใจ
ให้เอาใจนี้พิจารณากาย นี้เป็นหลักการพิจารณา”

หลวงพ่อชา สุภุทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 11, 2014, 08:53:03 AM
คนเราเมื่อจะทำความดีนั้นน่ะ ไม่ต้องให้คนอื่นเห็น บางคนทำคุณงามความดีก็ต้องการอยากจะให้คนอื่นเห็น
ให้คนอื่นเป็นพยาน จึงจะดีอกดีใจ อันนั้นก็ดีอยู่ แต่ว่ามันยังไม่จริง ไม่บรรลุถึงความจริง...จริง ๆ
ไอ้ความจริงนั้นแม้เราจะไปลอบทำอยู่คนเดียว ทำความชั่วมันก็ชั่วอยู่นั่นแหละ ทำความดีอยู่คนเดียวไม่มีใครเห็น
มันก็ยังดีอยู่นั่นเอง มันเป็นเสียอย่างนั้น ไม่ต้องว่าเราทำความชั่วคนเห็นแล้ว มันจะเพิ่มชั่วขึ้นมาอีก
 ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อเราทำความดีจริงเมื่อคนเห็นแล้ว มันจะเพิ่มความดีขึ้นมาอีก มันก็ไม่เป็นอย่างนั้น"

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 12, 2014, 12:40:12 PM
“วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานให้เกิดปัญญา มันไม่มาก มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ให้ว่าไปเถอะ เขี่ยมันออกไปเสีย เรื่องมันไม่เที่ยง อะไรเกิดขึ้นมา ก็สอบอารมณ์เจ้าของ
 ดีนี่ก็ไม่แน่ ชั่วนี้ก็ไม่แน่นะ ได้มานี่ก็ไม่แน่นะ เสียไปนี่ก็ไม่แน่นะ เขี่ยไปเขี่ยมาอย่างนี้
สักวันหนึ่งมันจะเกิดความแน่ขึ้นมา นี่แหละทำให้ปัญญาเกิดแหละ ไม่ต้องไปเรียนอภิธรรม
ความเป็นจริงรู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันก็รู้เรื่องแล้ว เราไม่ยึดมั่นถือมั่น เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
เท่านี้จิตมันก็สงบ เห็นชัดเข้าไป ท่านจึงว่าปฏิบัติไม่ผิด ถ้ารู้หลัก เอาสองอย่างนี้เท่านั้น
มีสติสัมปชัญญะ ปัญญา เกิดเพราะว่าเราใช้คำบริกรรมว่าอนิจจังทุกขังอนัตตา ว่ามันไม่แน่
ถ้าคุณทั้งหลายเห็นว่าไม่แน่เกิดขึ้น คุณจะสงบ คุณจะสบาย แล้วความโกรธเกิดขึ้น
มาคุณจะทิ้งเดี๋ยวนั้น ความรักชังเกิดขึ้น ก็จะทิ้งเดี๋ยวนั้นแหละ เพราะมันไม่แน่ จิตของคุณก็สงบ เท่านั้น..”

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 12, 2014, 12:46:41 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20141012124118_luangpu_cha3.jpg)

ความยึดมั่นถือมั่นในตัวของเราก็เหมือนการแบกก้อนหินหนักเอาไว้ พอคิดว่าจะปล่อย "ตัวเรา" ก็เกิดความกลัวว่าปล่อยไปแล้วก็จะไม่มีอะไรเหลือ เหมือนกับที่ไม่ยอมปล่อยก้อนหินก้อนนั้น แต่ในที่สุดเมื่อปล่อยมันไปได้ เราก็จะรู้สึกเองถึงความเบาสบายในการที่ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น

การเห็นทุกข์เห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆมาก ก็เหมือนกับการแบกก้อนหินที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ต้องคอยพะว้าพะวงประคับประคองอยู่ตลอดเวลา เพราะใจที่ยึดเพียงตัวเดียว

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 23, 2014, 10:28:15 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20141011083412_luangpu_cha.jpg)

คนรู้จักโลกก็เหมือนกัน
โลกมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเอง
"ทาง" นั้นก็เป็นโลก โลกนั้นก็คือ หนทาง
ถึงแม้ว่าเราเดินต่อมันก็ไม่สิ้นสุดสักที
โลกไม่ได้ทำให้เราทุกข์ เราทุกข์เอง
ฉะนั้นจึงมาแก้ที่เรา ใจเรานี้มันหลงโลก ไม่ใช่โลกหลงเรา
เรามันหลงโลกเข้าใจไหม ?
ถ้าว่าอาหารทั้งหลาย ถ้ามันอร่อย ไม่ใช่อาหารมันหลงเรา
เรามันหลงอร่อยอันนั้น หลงหวาน หลงเปรี้ยว
หวานก็พอดีของมัน เปรี้ยวก็พอดีของมัน มันเป็นของพอดี

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว
มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด

หลวงปู่ชา สุภทฺโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 02, 2014, 09:16:22 PM
ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานนับเป็นหลายๆ ชั่วโมง
บางคนคิดว่า ยิ่งนั่งภาวนานานเท่าใด
ก็จะยิ่ง เกิดปัญญามากเท่านั้น
ผมเคยเห็นไก่ กกอยู่ในรังของมัน
ทั้งวัน นับเป็นวันๆ
ปัญญาที่แท้ เกิดจากการที่
เรา" มีสติ"ในทุกๆ อิริยาบถ

การฝึกปฏิบัติของท่าน
ต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้า
และต้องปฏิบัติ ให้ต่อเนื่องไป
จนกระทั่งนอนหลับไป

อย่าไปห่วง ว่าท่านต้อง"นั่งภาวนา"ให้นานๆ
สิ่งสำคัญก็คือ ท่าน เพียงแต่"เฝ้าดู"
ไม่ว่าท่านจะเดินอยู่ หรือนั่งอยู่
หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่
แต่ละคน ต่างก็มีทางชีวิตของตนเอง
บางคนต้องตายเมื่อมีอายุ ๕๐ ปี
บางคนเมื่ออายุ ๖๕ ปี
และบางคนเมื่ออายุ ๙๐ ปี

ฉันใดก็ฉันนั้น
ปฏิปทาของท่านทั้งหลายก็ไม่เหมือนกัน
อย่าคิดมาก หรือกังวลใจในเรื่องนี้เลย
จงพยายามมีสติและปล่อยทุกสิ่ง
ให้เป็นไปตามปกติของมัน
แล้วจิตของท่านก็จะสงบมากขึ้นๆ

ในสิ่งแวดล้อมทั้งปวง
มันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำใสในป่า
ที่ซึ่งบรรดาสัตว์ป่าที่สวยงามและหายาก
จะมาดื่มน้ำในสระนั้น
ท่านจะเข้าใจถึงสภาวะธรรม
ของสิ่งทั้งปวงในโลกอย่างแจ่มชัด
ท่านจะได้เห็นความอัศจรรย์
และแปลกประหลาดทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไป
แต่ท่านก็จะยังคงสงบอยู่เช่นเดิม
ปัญญาทั้งหลายจะบังเกิดขึ้น
และท่านจะรู้ทันมันได้ทันที
นี่แหละคือศานติสุขของพระพุทธเจ้า

หลวงปู่ชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 22, 2014, 05:44:51 PM
"..เปรียบน้ำฝน มันเป็นน้ำที่สะอาด มันจะมีความใสที่สะอาดปกติดี
ถ้าหากเราเอาสีเขียว สีเหลืองใส่เข้าไป น้ำมันก็เป็นสีเหลือง สีเขียว
จิตใจเรานี้เช่นกัน ฉันนั้น เมื่อมันถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจมันก็สบาย ถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็ไม่สบาย..

เหมือนกับใบไม้..ที่มันถูกลม มันก็กวัดแกว่ง เอาแน่นอนไม่ได้ ดอกไม้ ผลไม้
มันก็ถูกลมเหมือนกัน ถูกลมมาพัดมันก็ตกไปเลย..ไม่มีสุก
จิตใจมนุษย์เรานี้ก็เหมือนกัน ถูกอารมณ์มาพัดไป ถูกอารมณ์มาฉุดไป มาดึงไป ตกไป ก็เหมือนกันกับผลไม้.."

หลวงปู่ชา สุภทฺโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 22, 2014, 05:45:27 PM
ตามที่ได้ทราบข่าว
มีพระนักปริยัติบางรูป
ท่านค้นคว้าตามตำรา
เพราะได้เรียนมามาก
อาตมาว่าทดลองดูเถอะ
การกางแบบ กางตำราทำนี่
ถึงเวลาเรียน เรียนตามแบบ
แต่เวลารบ รบนอกแบบ
ไปรบตามแบบมันสู้ข้าศึกไม่ไหว
ถ้าเอากันจริงจังแล้วต้องรบนอกแบบ
เรื่องมันเป็นอย่างนั้น
ตำรานั้น ท่านทำไว้
พอเป็นตัวอย่างเท่านั้น
บางทีอาจทำให้เสียสติก็ได้
เพราะพูดไปตามสัญญา สังขาร
ท่านไม่เข้าใจว่าสังขารมันปรุงแต่งทั้งนั้น
เดี๋ยวนี้ลงไปพื้นบาดาลโน่น
ไปพบปะพญานาค
เวลาขึ้นมาก็พูดกับพญานาค
พูดภาษาพญานาค
พวกเราไปฟังมันไม่ใช่ภาษาพวกเรา
มันก็เป็นบ้าเท่านั้นเอง ครูบาอาจารย์ท่านไม่ให้ทำอย่างนั้น
เรานึกว่าจะดิบจะดี มันไม่ใช่อย่างนั้น
ที่ท่านพาทำนี้มีแต่ส่วนละส่วน
ถอนเรื่องทิฏฐิมานะ
เรื่องเนื้อเรื่องตัวทั้งนั้น
อาตมาว่าการปฏิบัตินี้ก็ยากอยู่
ถึงอย่างไรก็อย่าทิ้งครูทิ้งอาจารย์
เรื่องจิตเรื่องสมาธินี่หลงมากจริงๆ
เพราะสิ่งที่ไม่ควรจะเป็นไปได้
แต่มันเป็นขึ้นมาได้เราจะว่าอย่างไร
อาตมาก็ระวังตัวเองเสมอ

หลวงปู่ชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 27, 2014, 03:50:24 PM
ถ้าเรามีสติอยู่มีสัมปชัญญะอยู่
มีความรู้ตัวอยู่เสมอแล้ว
ก็คือเราได้ประพฤติปฏิบัติธรรม
อยู่ตลอดกาลตลอดเวลา
ดังนั้นไม่ควรคิดว่าธรรมะอยู่ไกล
ถ้าเราเห็นสิ่งเหล่านี้
สักแต่ว่าเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เท่านี้ปัญญามันก็เกิด
ถ้าอารมณ์สุขขึ้นมา ทุกข์ขึ้นมา
ชอบใจขึ้นมา ไม่ชอบใจขึ้นมา
เรานึกเห็นมันทุกอย่างว่ามันก็เท่านั้นแหละ
สุขมันก็เท่านั้นแหละ ทุกข์มันก็เท่านั้นแหละ
ก็แปลว่าเราเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว
เมื่อเห็นแล้วเราไม่ยึดไม่ถือ
คลี่คลายจากราคะ โทสะ โมหะ อยู่เรื่อยไป
เรียกได้ว่าเราปฏิบัติอยู่
ทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งยืนเดินนั่งนอน
มีความรู้อยู่ มีความเห็นอยู่
มีความพร้อมเพรียงอยู่
มีความปฏิบัติอยู่ พิจารณาอยู่
ภาวนาอยู่ตลอดเวลา

หลวงพ่อชา สุภทฺโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 28, 2014, 05:34:49 AM
"...ทั้งรูป ทั้งนาม สิ่งทั้งหลาย ที่จิตไปคิด
ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสังขารทั้งหมด
เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง เมื่อรู้แล้วท่านให้ละ
ให้รู้สิ่งเหล่านี้ตามเป็นจริง
ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทุกข์ ก็ไม่วางสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว
สิ่งเหล่านี้ก็เป็นของหลอกลวง สมกับที่พระศาสดาตรัส
ว่า จิตนี้ไม่มีอะไร ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายตามใคร
จิตเป็นเสรี รุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเรื่องราวต่างๆ
เข้าไปอยู่ในที่นั้น ที่จะมีเรื่องราวก็เพราะ
มันหลงสังขารนี่เอง หลงอัตตานี่เอง
พระศาสดาจึงให้มองดูจิตของเรา
เบื้องแรกมันมีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดด้วย
มิได้ตายด้วย ถูกอารมณ์ดีมากระทบ ก็มิได้ดีด้วย
ถูกอารมณ์ร้ายมากระทบ ก็มิได้ร้ายด้วย
เพราะรู้ตัวของตัวอย่างชัดเจนแล้ว รู้ว่าสภาวะเหล่านี้
ไม่เป็นแก่นสาร ท่านเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านให้รอบรู้ของท่านอยู่อย่างนี้...."

กุญแจภาวนา หลวงปู่ชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 28, 2014, 05:44:10 AM
ทำกรรมฐานให้ทำเหมือนระฆัง
ระฆังเอามันมาตั้งมันก็เฉย ดูเหมือนเสียงมันไม่มีนะ สงบเสียง
เมื่อเหตุเกิดมากระทบขึ้น เสียงก็เกิดขึ้นมา ถ้าเอาตั้งไว้เฉยๆมันไม่มีเสียง นักปฏิบัติก็เหมือนกัน
ต้องเป็นคนมักน้อยอย่างนั้น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
เหตุเกิดขึ้นก็แก้ทุกข์ได้ทันท่วงที ชนะด้วยปัญญาของเรา
ถ้าอยู่ธรรมดาก็เฉยอย่างนี้เหมือนไม่มีเสียง
ให้ทำอย่างนี้เมื่อถูกปัญหา เมื่ออะไรมากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น
เดี๋ยวก็มีเสียงขึ้นมา มีปัญญา ปุ๊ปขึ้นมาเหมือนกัน
เมื่อแก้ปัญหาแล้วก็หยุดตัวไปเหมือนระฆัง
เมื่อหยุดตีแล้วก็หมดเสียง ตั้งไว้เฉยๆ
จากหนังสือ ความผิดในความถูก

หลวงปู่ชา สุภัทโท หน้าที่ ๑๘๖


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 28, 2014, 11:55:09 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20141228235450_ajancha2.jpg)
สาขาวัดหนองป่าพง ที่ประเทศอังกฤษ

"เมื่อตอนหลวงพ่อชา ได้เดินทางมาประเทศอังกฤษ คณะลูกศิษย์พระที่เดินทางติดตามมาด้วยมีตั๋วเครื่องบินไป-กลับทุกองค์ เช้าวันหนึ่งหลวงพ่อชา เรียกเราเข้าไปหา แล้วพูดว่า'สุเมโธ ให้อยู่นี่แหล่ะ ไม่ต้องกลับ อยู่เพื่อสั่งสอนชาวอังกฤษต่อไป"

"เราฟังหลวงพ่อแล้วก็ช็อค ตกใจมาก
เพราะไม่คาดคิดมาก่อนว่าต้องมาอยู่ประเทศอังกฤษ
หลวงพ่อก็สั่งให้เราทิ้งตั๋วเครื่องบินขากลับ
และอยู่ต่อที่นี้ จะปล่อยให้เราอยู่ที่นี้
เราก็ฝืนและข่มความรู้สึกอันนั้น
ให้ตั้งใจทำตามที่หลวงพ่อท่านสั่งให้ดีที่สุด
ตามธรรมวินัยที่ทำได้
เนื่องจากเราตั้งใจถวายชีวิตต่อหลวงพ่อชาแล้ว"

พระอาจารย์สุเมโธเกิดความกังวลใจเกี่ยวกับการดำรงเพศบรรพชิต ในประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะเรื่องการรักษาพระวินัยและข้อวัตรปฏิบัติ จึงหาโอกาสเข้าไปกราบเรียนปรึกษาหลวงพ่อชา

"เวลาเราสงสัยว่า 'เราจะอยู่อย่างไร ถ้าเราไม่มีเงิน คนอังกฤษก็คงจะไม่รู้เรื่อง บิณฑบาตร ใส่บาตร ถวายทาน ทำบุญ วัฒนธรรมต่างกัน ออกบิณฑบาตรคงจะไม่มีใครรู้เรื่อง เราจะรับอาหารจากใคร จะฉันอาหารอย่างไร' แต่หลวงพ่อชา ก็ถามกลับมาว่า 'ที่ประเทศอังกฤษจะไม่มีคนดีเลยเหรอ คนอังกฤษจะไม่มีคนใจดี คนใจบุญเลยเหรอ "

คำถามที่หลวงพ่อชาย้อนถามพระอาจารย์สุเมโธดังกล่าว "เราก็พิจารณาว่า 'สงสัยมีอยู่' ท่านก็ว่า'ไปได้นะ' แล้วก็จับใจเรา" นับเป็นคำตอบที่ยุติคำถาม กลับกลายเป็นแรงผลักดันให้เกิดพลังปัญญาอันชาญฉลาด

สามารถมองข้ามปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่เป็นปัจจัยภายนอกได้ ทำให้คลายความกังวล และยึดถือข้อนี้เป็นธรรมนูญปฏิบัติสืบมาว่า 'ไม่ว่าประเทศอังกฤษ หรือประเทศอื่นใดก็ตามย่อมมีคนที่มีจิตใจดีงามอาศัยอยู่ หากเพียงคนเหล่านั้นแค่ล่วงรู้ถึงล่วงรู้ถึงวัตถุประสงค์และธรรมเนียมปฏิบัติของเรา เขาย่อมพร้อมให้การสนับสนุน ด้านปัจจัยสี่และส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างไม่มีข้อกังขา

"เราก็เห็นว่าหลวงพ่อชี้ทางที่ดี เราเคยคิดว่า ความดีอยู่ที่เมืองไทย เราเห็นความดีเป็นเรื่องเมืองไทย เป็นชาวพุทธอยู่เมืองไทย เป็นเรื่องคนชาวบ้านอยู่ใกล้วัดหนองป่าพง แต่เราไม่เคยคิดเปิดกว้าง เหมือนที่หลวงพ่อแนะนำ"

คำถามของหลวงพ่อชา ได้ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ มีมุมมองกว้างไกลมากขึ้น เห็นว่าการสืบทอดพระพุทธศาสนามิได้จำกัดเพียงอาศัยศรัทธาของชาวพุทธไทยเท่านั้น หลักธรรมที่แท้จริงคือการมีน้ำใจและตั้งอยู่ในความดี นี่คือหลักความจริงอันเป็นสากลของมนุษย์ทั่วโลก

"เมื่อเราได้ไปอยู่ในประเทศอังกฤษแล้ว ก็ได้เห็นนานาจิตตัง มีอยู่หลายประเภท เห็นของแปลกแล้วไม่ชอบก็มี ถ้าเห็นพระภิกษุบิณฑบาตร อาจมีคนสงสัยบ้าง เยาะเย้ยบ้าง รังเกียจบ้าง หรือไม่สนใจ รู้สึกเฉยบ้าง บางคนเห็นมีความเอ็นดูสงสารเข้ามาให้ถามให้ความช่วยเหลือแล้วเกิดศรัทธา บ้างก็สงสัยว่าพระองค์นี้ทำอย่างนี้ทำไม จะช่วยท่านได้อย่างไร บ้างก็สงสัย ว่าเป็นขอทานหรืออยากได้เงิน เราก็บอกว่า 'เรารับเงินไม่ได้' บางคนก็ซื้ออาหารมาถวายเหมือนกัน ที่จริงนั้นจิตของมนุษย์แท้ๆนั้น เป็นสิ่งบริสุทธิและเป็นธรรมอยู่แล้ว"

ก่อนที่หลวงพ่อชาจะกลับเมืองไทย ท่านก็ได้เน้นย้ำให้ศิษย์ของท่านอยู่อย่างสมถะภายใต้พระธรรมวินัย เพื่อรักษาแบบอย่างของวัดป่าอย่างที่เคยถือปฏิบัติในประเทศไทย เพื่อร่วมกันรักษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบไป

"หลวงพ่อชา ต้องการให้เรารักษาแบบอย่าง ที่เราเคยถือปฏิบัติที่วัดป่าเมืองไทย ท่านต้องการให้เราอยู่กันอย่างธรรมดา ภายใต้พระธรรมวินัย"

"หลวงพ่อชาปล่อยให้เราต้องอยู่ที่ประเทศอังกฤษต่อไป
เมื่อเราไปถึงสนามบินเพื่อจะส่งหลวงพ่อกลับเมืองไทย
ก็แยกกับหลวงพ่อที่ช่องทางเดินของผู้โดยสารขาออก
พอหลวงพ่อท่านเดินหายเข้าไปข้างในเพื่อขึ้นเครื่องบินแล้ว
เราก็รู้สึกเหมือนเด็กกำพร้าพ่อแม่ไม่มีแล้ว"

ช่วงเวลา 10 ปี ที่เราได้อยู่กับหลวงพ่อชา ที่วัดหนองป่าพง
ถือเป็นช่วงเวลาของความเปลี่ยนแปลง
จากคนที่ไร้ความสุข วุ่นวาย สับสน
ไปเป็นคนที่เชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้า"

หลวงพ่อชาปรารภไว้เสมอว่า
"การมาก็เป็นของธรรมดา
การไปก็เป็นของธรรมดา
ถ้าเราตั้งอยู่ในพระธรรมวินัยแล้ว
เหมือนเราไม่ได้จากกัน"


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 06, 2015, 12:46:47 PM
"บางคนถือเอาการไปเที่ยววัดว่าเป็นบุญ ถ้าอานิสงส์ของการเข้าวัดเกิดเพราะกายอย่างเดียว
พวกกระรอก กระแต นก หนู หรือสัตว์อื่น ๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในวัด ก็น่าจะได้บุญมากกว่าคนซึ่งมักจะอยู่ไม่นานเลย

มันสำคัญที่ใจ ถ้าโยมมาถวายจังหันหรือจำศีล แต่มาคุยกันเรื่องทางโลก
เอาเรื่องนั้นเรื่องนี้มาพูดกัน ก็เท่ากับเอาโลกมาทับวัด มาวัดต้องเข้าใจความหมายและจุดมุ่งหมายของการเข้าวัดอย่างแท้จริง"

...หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี...


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 07, 2015, 09:12:47 PM
ธรรมะก็เรื่องเดียวอย่างนี้ เรื่องอุปมาให้ฟัง เพราะว่ามันไม่มีอะไร
ธรรมะมันไม่เป็นกลมไม่เป็นเหลี่ยม มันไม่รู้จัก นอกจากจะเปรียบเทียบอย่างนี้ ถ้าเข้าใจอันนี้ก็เข้าใจธรรมะ มันเป็นเสียอย่างนี้
อย่าเข้าใจว่าธรรมะมันอยู่ห่างจากเรา มันอยู่กับเราเป็นเรื่องของเรานี่แหละ ลองดูซิ
เดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ เดี๋ยวก็พอใจบ้าง เดี๋ยวก็โกรธคนนั้น เดี๋ยวก็เกลียดคนนี้ ธรรมะทั้งนั้นแหละโยม
ให้ดูเจ้าของนี้ว่า อะไรมันพยายามจะให้ทุกข์เกิดนั่นแหละ ทำแล้วมันทุกข์นั่นแหละแก้ไขใหม่ แก้ไขใหม่มันยังไม่เห็นชัด ถ้ามันเห็นชัดแล้วมันไม่มีทุกข์ เหตุมันดับอยู่แล้ว ฆ่าตัวสมุทัยแล้ว เหตุแห่งทุกข์ก็ไม่มี ถ้าทุกข์ยังเกิดอยู่ ถ้ายังไม่รู้ มันยังทนทุกข์อยู่ อันนั้นไม่ถูกหรอก
ดูเอาง่ายๆ มันจะติดตรงไหน เมื่อไหร่มันทุกข์เกินไป นั่นแหละมันผิดแล้ว เมื่อไหร่มันสุขจนเหิมใจเกินไป นั่นแหละมันผิดแล้ว มันจะมาจากไหน ก็ช่างมันเถอะ รวมมันเลยทีเดียว นั่นแหละค้นหา ถ้าเป็นเช่นนี้ โยมจะมีสติอยู่ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ไปมาสารพัดอย่างถ้าโยมมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ ถ้าโยมรู้อยู่ โยมจะต้องรู้ผิดรู้ถูกโยมจะต้องรู้จักดีใจเสียใจทุกอย่าง เมื่อโยมรู้จักก็จะรู้วิธีแก้ไขแก้ไขมันโดยที่ว่ามันไม่มีทุกข์ ไม่ให้มันมีทุกข์

- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
พระธรรมเทศนา "น้ำไหลนิ่ง"

~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
Don't think that the Dhamma is far away from you. It lies right with you, all around. Take a look... one minute happy, the next sad, the next angry... it's all Dhamma.
Whenever you're suffering too much, right there you're wrong. Whenever you're so happy you're floating in the clouds... there... wrong again!
- Ajahn Chah -
A Dhamma Talk "Still, Flowing Water"


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 19, 2015, 06:22:33 AM
"...ทั้งรูป ทั้งนาม สิ่งทั้งหลาย ที่จิตไปคิด
ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสังขารทั้งหมด
เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง เมื่อรู้แล้วท่านให้ละ
ให้รู้สิ่งเหล่านี้ตามเป็นจริง
ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทุกข์ ก็ไม่วางสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว
สิ่งเหล่านี้ก็เป็นของหลอกลวง สมกับที่พระศาสดาตรัส
ว่า จิตนี้ไม่มีอะไร ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายตามใคร
จิตเป็นเสรี รุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเรื่องราวต่างๆ
เข้าไปอยู่ในที่นั้น ที่จะมีเรื่องราวก็เพราะ
มันหลงสังขารนี่เอง หลงอัตตานี่เอง
พระศาสดาจึงให้มองดูจิตของเรา
เบื้องแรกมันมีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดด้วย
มิได้ตายด้วย ถูกอารมณ์ดีมากระทบ ก็มิได้ดีด้วย
ถูกอารมณ์ร้ายมากระทบ ก็มิได้ร้ายด้วย
เพราะรู้ตัวของตัวอย่างชัดเจนแล้ว รู้ว่าสภาวะเหล่านี้
ไม่เป็นแก่นสาร ท่านเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านให้รอบรู้ของท่านอยู่อย่างนี้...."

หลวงปู่ชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2015, 11:44:27 PM
ธรรมะคือยาขนานเอก
ป ฏิ บั ติ ส ม่ำ เ ส ม อ
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

บางคนคิดว่า การปฏิบัติกรรมฐานคือ
การเดินจงกรมและนั่งสมาธิเท่านั้น

แต่หลวงพ่อเน้นว่าการปฏิบัติอยู่ที่สติมากกว่าที่อิริยาบถ

อย่างที่ท่านเทศน์ในตอนหนึ่งว่า

“ไม่ใช่เดินเพียร นั่งเพียร แต่รู้เพียร”

คือ ฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมทุกอิริยาบถ
ไม่ใช่เฉพาะเวลานั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมเท่านั้นเคล็ดลับของท่านก็คือ

ปฏิบัติเรื่อยไปอย่างสม่ำเสมอ
ไม่เคร่งเกินไป แต่ก็ไม่หย่อน
ให้พอดีแก่การขัดเกลากิเลส
จึงจะเรียกว่า เป็นสัมมาปฏิปทา เพราะว่า

“การทำความเพียร ไม่ได้ขีดขั้น
จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ได้ทั้งหมดนั้น
แม้กวาดลานวัดอยู่ก็บรรลุธรรมะได้
แม้แต่เพียงมองเห็นแสงพยับแดดเท่านั้น ก็บรรลุธรรมะได้

จะต้องมีสติพร้อมอยู่เสมอ
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
เพราะมันมีโอกาสที่จะบรรลุธรรมอยู่ตลอดเวลา
อยู่ทุกสถานที่ เมื่อเราตั้งใจพิจารณาอยู่”

นี่คือปฏิปทาในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ใช่ทำเป็นเวลา แต่ต้องทำตลอดเวลา
อย่างที่หลวงพ่อท่านเรียกว่า “สติจำกาล”
ปฏิปทาที่ไม่ติดต่อสม่ำเสมอนั้นหลวงพ่อเปรียบเทียบว่า

“เหมือนหยดน้ำที่ไม่ต่อเนื่องกัน”

การฝึกสติของเราก็เช่นเดียวกัน
นาน ๆ นึกขึ้นได้ก็ตั้งสติเสียทีหนึ่ง
เราก็จะมีสติที่ขาดเป็นช่วง ๆ เหมือนหยดน้ำ

ถ้าเราพยายามระลึกรู้อยู่เสมอ
มีสติในทุกการที่ทำ คำที่พูด และความรู้สึกนึกคิด
เราก็จะเป็นผู้มีสติตลอดเวลา ไม่เผลอ
เหมือนหยดน้ำที่ต่อกันเป็นสายน้ำ”

ที่มา : ธรรมอุปมา-พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2015, 01:03:35 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20141012124118_luangpu_cha3.jpg)

ได้ไปเห็นแมงมุมเป็นตัวอย่าง แมงมุมทำรังของมันเหมือนข่าย มันสานข่ายไปขึงไว้ตามช่องต่างๆ
เราไปนั่งพิจารณาดู มันทำข่ายขึงไว้เหมือนจอหนัง เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันเอง
 เงียบอยู่ตรงกลางข่าย ไม่วิ่งไปไหน พอมีแมลงวันหรือแมลงอื่นๆ บินผ่านข่ายของมัน

พอถูกข่ายเท่านั้นข่ายก็สะเทือน พอข่ายสะเทือนปุ๊บ มันก็วิ่งออกจากรังทันที ไปจับตัวแมลงไว้เป็นอาหาร
เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวไว้ที่กลางข่ายตามเดิม ไม่ว่าจะมีผึ้งหรือแมลงอื่นใดมาถูกข่ายของมัน
 พอข่ายสะเทือน มันก็วิ่งออกมาจับแมลงนั้น แล้วก็กลับไปเกาะนิ่งอยู่ที่ตรงกลางข่าย ไม่ให้ใครเห็นทุกทีไป

พอได้เห็นแมงมุมทำอย่างนั้น เราก็มีปัญญาแล้ว อายตนะทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้ ใจอยู่ตรงกลาง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย แผ่พังพานออกไป อารมณ์นั้นเหมือนแมลงต่างๆ พอรูปมา ก็มาถึงตา เสียงมา
ก็มาถึงหู กลิ่นมา ก็มาถึงจมูก รสมา ก็มาถึงลิ้น โผฏฐัพพะมาก็มาถึงกาย ใจเป็นผู้รู้จักมันก็สะเทือนถึงใจ เท่านี้ก็เกิดปัญญาแล้ว

เราจะอยู่ด้วยการเก็บตัวไว้ เหมือนแมงมุม ที่เก็บตัวไว้ในข่ายของมัน ไม่ต้องไปไหน
พอแมลงต่างๆ มาผ่านข่าย ก็ทำให้สะเทือนถึงตัว รู้สึกได้ ก็ออกไปจับแมลงไว้ แล้วก็กลับไปอยู่ที่เดิม

ไม่แตกต่างอะไรกับใจของเราเลย อยู่ตรงนี้ ให้อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยความระมัดระวัง
อยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยความคิดที่ถูกต้อง เราอยู่ตรงนี้ เมื่อไม่มีอะไร เราก็อยู่เฉยๆ แต่ไม่ใช่อยู่ด้วยความประมาท

ถึงเราจะไม่เดินจงกรม ไม่นั่งสมาธิ ไม่อะไรก็ช่างเถิด แต่เราอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยความระมัดระวัง
 อยู่ด้วยปัญญา ไม่ใช่อยู่ด้วยความประมาท นี่เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่เราจะนั่งตลอดวันตลอดคืน
เอาแต่พอกำลังของเรา ตามสมควรแก่ร่างกายของเรา

แต่เรื่องจิตนี้ เป็นของสำคัญมาก ให้รู้อายตนะว่า มันส่งส่ายเข้ามาเป็นอย่างไร ให้รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้
เหมือนแมงมุมที่พอข่ายสะเทือน มันก็วิ่งไปจับเอาตัวแมลงได้ทันที

ฉะนั้น เมื่ออารมณ์มากระทบอายตนะ มันก็มาถึงจิตทันที เมื่อไปจับผ่านทุกข์
ก็ให้เห็นมันโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้วจะเอามันไว้ที่ไหนล่ะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เหล่านี้ ก็เอาไปไว้เป็นอาหารของจิตของเรา ถ้าทำได้อย่างนี้มันก็หมดเท่านั้นแหละ

จิตที่มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอาหาร เป็นจิตที่กำหนดรู้ เมื่อรู้ว่า อันนั้นเป็นอนิจจัง
มันไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ก็ไม่ใช่เราแล้ว ดูมันให้ชัด มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์
มันไม่เป็นแก่นสาร จะเอามันไปทำไม มันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของเรา จะไปเอาอะไรกับมัน มันก็หมดตรงนี้

ดูแมงมุมแล้ว ก็น้อมเข้ามาหาจิตของเรา เราก็เหมือนกันเท่านั้น ถ้าจิตเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็วาง
ไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์อีกแล้ว ถ้าเห็นชัดได้อย่างนี้ มันก็ได้ความเท่านั้นแหละ
 จะทำอะไรๆ อยู่ก็สบาย ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว มีแต่การภาวนาจะเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น

ถ้าทำอย่างนี้อยู่ด้วยความระมัดระวัง ก็เป็นการที่เราจะพ้นจากวัฏสารได้ ที่เรายังไม่พ้นจากวัฏสงสาร
 ก็เพราะยังปรารถนาอะไรๆ อยู่ทั้งนั้น การไม่ทำผิด ไม่ทำบาปนั้น มันอยู่ในระดับศีลธรรม เวลาสวดมนต์ก็ว่า
ขออย่าให้พลัดพรากจากของที่รักที่ชอบใจ อย่างนี้มันเป็นธรรมของเด็กน้อย เป็นธรรมของคนที่ยังปล่อยอะไรไม่ได้
 นี่คือความปรารถนาของคน ปรารถนาให้อายุยืน ปรารถนาไม่อยากตาย ปรารถนาไม่อยากเป็นโรค
 ปรารถนาไม่อยากอย่างนั้นอย่างนี้ นี่แหละความปรารถนาของคน

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2015, 01:04:09 PM
วันหนึ่งพระเซ็นนั่งประชุมกัน ธงที่ปักอยู่ข้างนอกก็โบกปลิวอยู่ไปมา พระเซ็นสององค์ก็เกิดปัญหาขึ้นว่า ทำไมธงจึงโบกปลิวไปมา องค์หนึ่งว่าเพราะมีลม อีกองค์ก็ว่า เพราะมีธงต่างหาก ต่างก็โต้เถียงโดยยึดความคิดเห็นของตน
อาจารย์ก็เลยตัดสินว่า มีความเห็นผิดด้วยกันทั้งคู่ เพราะความจริงแล้วธงก็ไม่มี ลมก็ไม่มี

นี่ต้องปฏิบัติให้ได้อย่างนี้ อย่าให้มีลม อย่าให้มีธง ถ้ามีธงก็ต้องมีลม ถ้ามีลมก็ต้องมีธง
มันก็เลยจบกันไม่ได้สักที น่าเอาเรื่องนี้มาพิจารณา วางให้มันว่างจากลม ว่างจากธง ความเกิดไม่มี
ความแก่ไม่มี ความเจ็บความตายไม่มี มันว่าง ที่เราเข้าใจว่าธง เข้าใจว่าลมนั้น
มันเป็นแต่ความรู้สึกที่สมมติขึ้นมาเท่านั้น ความจริงมันไม่มี น่าจะเอาไปฝึกใจของเรา

ในความว่างนั้น มัจจุราชตามไม่ทันความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ตามไม่ทัน มันหมดเรื่อง

ถ้าไปเห็นว่า มีธงอยู่ ก็ต้องมีลมมาพัด ถ้ามีลมอยู่ ก็ต้องไปพัดธง มันไม่จบสักที
เพราะความเห็นผิด แต่ถ้าเป็นสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบแล้ว ลมก็ไม่มี ธงก็ไม่มี ก็เลยหมด
หมดเรา หมดเขา หมดความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย หมดทุกอย่าง

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2015, 01:06:40 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20121203085528_watnong.jpg)

ในเรื่องของกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น รูปอะไรก็ไม่จับใจเท่ารูปผู้หญิง
ผู้หญิงรูปร่างบาดตา ก็ชวนมองอยู่แล้ว ยิ่งเดินซอกแซกๆ ก็ยิ่งมองเพลิน

เสียงอะไรจะมาจับใจเท่าเสียงผู้หญิง เป็นไม่มี มันบาดถึงหัวใจ กลิ่นก็เหมือนกัน
กลิ่นอะไรก็ไม่เหมือนกลิ่นผู้หญิง ติดกลิ่นอื่นก็ไม่เท่าติดกลิ่นผู้หญิง มันเป็นอย่างนั้น

รสอะไรก็ไม่เหมือน รสข้าว รสแกง รสสารพัดก็ไม่เทียบเท่ารสผู้หญิง หลงติดเข้าไปแล้วถอนได้ยาก
เพราะมันเป็นกาม โผฏฐัพพะก็เช่นกัน จับต้องอะไรก็ไม่ทำให้มึนเมาปั่นป่วน จนหัวชนกันเหมือนกับจับต้องผู้หญิง

ฉะนั้น เมื่อลูกท้าวพญาที่ไปเรียนวิชากับอาจารย์ตักศิลาจนจบแล้ว จะลาอาจารย์กลับบ้าน
อาจารย์จึงสอนว่า เวทย์มนต์กลมายาอะไรๆ ก็สอนให้บอกให้จนหมดแล้ว เมื่อกลับไปครองบ้านครองเมืองแล้ว
 มีอะไรมาก็ไม่ต้องกลัว จะสู้ได้หมดทั้งนั้น จะมีสัตว์ประเภทใดมาก็ไม่ต้องกลัว ไม่ว่าจะเป็นสัตว์มีฟันอยู่ในปาก
หรือมีเขาอยู่บนหัว มีงวง มีงา ก็คุ้มกันได้ทั้งสิ้น แต่ไม่รับรองอยู่เฉพาะสัตว์จำพวกหนึ่ง ที่เขาไม่ได้อยู่บนหัว
แต่หากไปอยู่ที่หน้าอก สัตว์ชนิดนี้ไม่มีมนต์ชนิดใดจะคุ้มกันได้ มีแต่จะต้องคุ้มกันตัวเอง รู้จักไหม
สัตว์ที่มีเขาอยู่หน้าอกนั่นแหละ ท่านจึงให้รักษาตัวเอาเอง

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2015, 01:07:15 PM
ผู้หญิงก็มีผู้ชายเป็นอุปสรรค ผู้ชายก็มีผู้หญิงเป็นอุปสรรค มันพอปานกัน
ถ้าผู้ชายอยู่กับผู้ชายด้วยกัน มันก็ไม่มีอะไร หรือผู้หญิงอยู่กับผู้หญิงด้วยกัน
มันก็อย่างนั้นแหละ แต่พอผู้ชายไปเห็นผู้หญิงเข้า หัวใจมันเต้นติ๊กตั๊กๆ
ผู้หญิงเห็นผู้ชายเข้าก็เหมือนกัน หัวใจก็เต้นติ๊กตั๊กๆ เพราะมันดึงดูดซึ่งกันและกัน

นี่ก็เพราะไม่เห็นโทษของมัน หากไม่เห็นโทษแล้ว ก็ละไม่ได้ ต้องเห็นโทษในกามและเห็นประโยชน์ในการละกามแล้ว
จึงจะทำได้ หากปฏิบัติยังไม่พ้น แต่พยายามอดทนปฏิบัติต่อไป ก็เรียกว่าทำได้ในเพียงระดับของศีลธรรม
แต่ถ้าปฏิบัติได้เห็นชัดแล้ว จะไม่ต้องอดทนเลย ที่มันยากมันลำบากก็เพราะยังไม่เห็น

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2015, 12:53:32 PM
ท่านเป็นพระอรหันต์หรือเปล่า ?

• โยม :

ท่านเป็นพระอรหันต์หรือเปล่าคะ?

• หลวงพ่อชา :

ต้นไม้ผลิดอกออกผล
มีนกมาเกาะกิ่งไม้แล้วจิกกินผลไม้นั้น
จะหวานหรือเปรี้ยว
เป็นเรื่องของของนกที่จะรู้ได้
แต่ต้นไม้ไม่รู้อะไรเลย

อย่าเป็นพระพุทธเจ้าเลย
อย่าเป็นอรหันต์
อย่าเป็นพระโพธิสัตว์
อย่าเป็นอะไรเลย

การเป็นอะไรก็มีแต่ความทุกข์เท่านั้นแหละ
เราไม่มีความจำเป็นต้องเป็นอะไรสักอย่าง

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 28, 2015, 09:33:13 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20150228093253_luangpu_cha.jpg)

หลายปีที่แล้วมา หลวงพ่อชา ลงไปเยี่ยมวัดชิตเฮิร์สท์ที่อังกฤษ
มีอุบาสกคนหนึ่งที่เคยศึกษาธรรมะฝ่ายมหายาน
มาถามหลวงพ่อชา เรื่องการปฏิบัติว่า
“คนที่ปฏิบัติเพื่อเป็นอรหันต์ กับคนปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์
อันไหนจะดีกว่ากัน อันไหนสูงกว่ากัน”
หลวงพ่อชาตอบว่า “อย่าเป็นอะไรเลย
พระอรหันต์ก็อย่าเป็นเลย
พระโพธิสัตว์ก็อย่าเป็นเลย
แม้พระพุทธเจ้าก็อย่าเป็นเลย
เป็นอะไรแล้วก็ต้องเป็นทุกข์ทันที”
คืออย่าเป็นคนดี อย่าไปถึงระดับนั้น
เป็นคน อย่าเป็นคนดี
ถ้าเป็นคนดีแล้วต้องรำคาญคนไม่ดี
ทุกวันนี้คนที่ไม่ดีมากกว่าคนดีเยอะ
ไปที่ไหนก็กลุ้มใจ มีแต่ความไม่พอใจ
เหมือนกับคนที่สูบบุหรี่เลิกแล้วดูคนอื่นสูบ
ก็ไปเทศน์ให้เขาฟัง นี่เรียกว่าติดดี
ท่านไม่ให้ติด แม้จะเป็นความดีท่านก็ไม่ให้เราติด
เพราะว่าความติดเป็นทุกข์ สร้างความทุกข์ใจ

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 28, 2015, 09:34:53 AM
เหมือนชาวประมงที่ออกไปทอดแหนั่นหละ
ทอดแหออกไปถูกปลาตัวใหญ่ เจ้าของผู้ทอดแหจะคิดอย่างไร
ก็กลัว กลัวปลาจะออกจากแหไปเสีย
เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจมันก็ดิ้นรนขึ้น ระวังมาก บังคับมาก
ตะครุบไปตะครุบมาอยู่นั่นแหละ ประเดี๋ยวปลากันก็ออกจากแหไปเสีย
เพราะไปตะครุบมันแรงเกินไปอย่างนั้น
โบราณท่านพูดถึงเรื่องอันนี้
ท่านว่า ค่อยๆ ทำมัน แต่อย่าไปห่างจากมัน
นี่คือปฏิปทาของเรา ค่อยๆ คลำมันไปเรื่อยๆ อย่างนั้นแหละ
อย่าปล่อยมันหรือไม่อยากรู้มัน ต้องรู้ ต้องรู้เรื่องของมัน
พยายามทำมันไปเรื่อยๆ ให้ปฏิปทา ขี้เกียจเราก็ทำ ไม่ขี้เกียจเราก็ทำ
เรียกว่าการปฏิบัติต้องทำไปเรื่อยๆ อย่างนี้
ถ้าหากว่าเราขยัน ขยันเพราะความเชื่อ มันมีศรัทธา แต่ปัญญาไม่มี
ถ้าเป็นอย่างนี้ ขยันไปๆ แล้วมันก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมากมาย
ขยันไปนานๆ เข้า แต่มันไม่ถูกทาง มันก็ไม่สงบระงับ ทีนี้ก็จะเกิดความคิดว่า
เรานี้บุญน้อยหรือวาสนาน้อย หรือคิดไปว่ามนุษย์ในโลกนี้คงทำไม่ได้หรอก
แล้วก็เลยหยุดเลิกทำ เลิกปฏิบัติ
ถ้าเกิดความคิดอย่างนี้เมื่อใด ขอให้ระวังให้มาก
ให้มีขันติ ความอดทน ให้ทำไปเรื่อยๆ เหมือนกับเราจับปลาตัวใหญ่
ก็ให้ค่อยๆ คลำมันไปเรื่อยๆ ปลามันก็จะไม่ดิ้นแรง
ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ ไม่หยุด
ไม่ช้าปลาก็จะหมดกำลัง มันก็จับง่าย จับให้ถนัดมือเลย
ถ้าเรารีบจนเกินไปปลามันก็จะหนีดิ้นออกจากแหเท่านั้น
หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 17, 2015, 08:47:17 PM
"...ตอนยังหนุ่ม ๆ ครั้งแรกอยู่คนเดียวเข้าใจว่าเป็นโสดไม่สบาย หาคู่ครองเรือนมันจะสบาย
เลยหาคู่ครองมาครองเรือนให้ เอาของ ๒ อย่างมารวมกันมันก็กระทบกันอยู่แล้ว
อยู่คนเดียวมันเงียบเกินไปไม่สบายแล้วเอาคน ๒ คนมาอยู่ด้วยกันมันก็กระทบกันก๊อก ๆ แก๊ก ๆ นั่นแหละ
ลูกเกิดมาครั้งแรกตัวเล็ก ๆ พ่อแม่ก็ตั้งใจว่าลูกเราเมื่อมันโตขึ้นมาขนาดหนึ่งเราก็สบายหรอก
ก็เลี้ยงมันไป ๓ คน ๔ คน ๕ คน นึกว่ามันโตเราจะสบาย

เมื่อมันโตมาแล้วมันยิ่งหนัก เหมือนกับแบกท่อนไม้อันหนึ่งเล็กอันหนึ่งใหญ่ ทิ้งท่อนเล็กแล้ว
แบกเอาท่อนใหญ่นึกว่ามันจะเบาก็ยิ่งหนัก ลูกเราตอนเด็ก ๆ มันไม่กวนเท่าไรหรอกโยม
มันกวนถามกินข้าวกับกล้วยเมื่อมันโตขึ้นมานีมันถามเอารถมอเตอร์ไซค์ มันถามเอารถเก๋ง
เอาละความรักลูกจะปฏิเสธไม่ได้ ก็พยายามหามันก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่ให้มันก็เป็นทุกข์ บางทีพ่อแม่ทะเลาะกัน
“อย่าพึ่งไปซื้อให้มันเลยรถนี่ มันยังไม่มีเงิน”

แต่ความรักลูกก็ต้องไปกู้คนอื่นมา เห็นอะไรก็อยากซื้อมากินแต่ก็อด
กลัวมันจะหมดเปลืองหลายอย่างต่อมาก็มีการศึกษาเล่าเรียน เข้ามันเรียนจบเราก็จะสบายหรอก
เรียนมันจบไม่เป็นหรอก มันจะจบอะไร? เรียนไม่มีจบหรอก ทางพุทธศาสนานี้เรียนจบ
ศาสตร์อี่นนอกนั้นมันเรียนต่อไปเรื่อย ๆ เรียนไม่จบ เอาไปเอามาก็เลยวุ่นเท่านั้นแหละ
บ้านหนึ่งเรียน ๔ คน ๕ คน 'ตาย' พ่อแม่ทะเลาะกันไม่มีวันเว้นละอย่างนั้น

ไอ้ความทุกข์มันเกิดมาภายหลังเราไม่เห็นนึกว่ามันจะไม่เป็นอย่างนี้ เมึ่อมันมาถึงเข้าแล้วจึงรู้ว่า
โอ! มันเป็นทุกข์ ทุกข์อย่างนั้นจึงมองเห็นยาก ทุกข์ในตัวของเรานะโยม.."

โอวาทธรรมคำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
_/\_ _/\_ _/\_


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 03, 2015, 06:35:24 PM
สาขาวัดหนองป่าพง

ลูกชายนักธุรกิจใหญ่มีชื่อเสียงระดับประเทศคนหนึ่งเพิ่งสำเร็จการศึกษากลับมาจากเมืองนอก ยังไม่ทันทำงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันก็ถูกผู้เป็นแม่ขอร้องให้บวชเรียนเสียก่อน เพื่อเห็นแก่แม่..บัณฑิตใหม่หมาดๆจากเมืองนอกจึงบวชอย่างเสียไม่ได้ เมื่อบวชที่วัดใหญ่ในกรุงเทพฯแห่งหนึ่งเสร็จแล้ว ผู้เป็นแม่จึงพาไปฝากให้จำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อชาที่วัดหนองป่าพง พระหนุ่มการศึกษาสูงมาจากตระกูลผู้ดีมีแต่ความสุขสบาย เมื่อมาอยู่วัดป่ากว่าจะปรับตัวได้จึงใช้เวลานานเป็นแรมเดือน

แต่ก็นั่นแหละกว่าจะนิ่งก็ทำเอาพระร่วมวัดหลายรูปพลอยอิดหนาระอาใจไปตามๆกัน ปัญหาที่ทำให้พระทั้งวัดเหนื่อยหน่ายจนนึกระอาก็เพราะพระใหม่มีนิสัยชอบจับผิด และชอบอวดรู้ยกหู ชูหางตัวเองอยู่เป็นประจำ วันแรกที่มาอยู่วัดป่าก็นึกเหยียดพระเจ้าถิ่นทั้งหลายว่าไม่ได้รับการศึกษาสูงเหมือนอย่างตน ออกบิณฑบาตได้อาหารท้องถิ่นมาก็ทำท่าว่าจะฉันไม่ลง เห็นที่วัดใช้ตะเกียงน้ำมันก ๊าดแทนไฟฟ้าก็วิพากษ์วิจารณ์เสียเป็นการใหญ่หาว่าล้าสมัย ไม่รู้จักใช้เทคโนโลยี่ ตอนหัวค่ำมีการทำวัตรสวดมนต์เย็นก็บ่นว่า ทำวัตรนานเหลือเกินกว่าจะสิ้นสุดยุติได้ก็นั่งจนขาเป็นเหน็บชา

ครั้นพอถึงเวรตัวเองล้างห้องน้ำเข้าบ้างก็ทำท่าจะล้างอย่างขอไปทีล้างไปบ่นไป ประเภทตูจบปริญญาโทมาจากเมืองนอก ต้องมาเข้าเวรล้างห้องน้ำร่วมกับใครก็ไม่รู้ โอ้ชีวิต! ความสำรวยหยิบโหย่งทำให้พระใหม่ไม่พอใจสิ่งนั้นสิ่งนี้ถือดี ว่าตัวเองมีชาติตระกูลสูง มีการศึกษาสูงกว่าใครในวัดนั้น ผิวพรรณก็ดูสะอาดสะอ้านชวนเจริญศรัทธากว่าพระรูปไหนทั้งหมด มองตัวเองเปรียบกับพระรูปอื่นแล้วช่างรู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าทุกประตู นึกแล้วก็ยิ้มกระหยิ่มอยู่ในใจกลับเข้ากุฏิเมื่อไหร่ ก็เอาปากกามาขีดเครื่องหมายกากบาทบนปฏิทิน นับถอยหลังรอวันสึกด้วยใจจดจ่อ

อยู่มาได้พักใหญ่พระใหม่อดีตนักเรียนนอกก็สังเกตเห็นว่า ท่านเจ้าอาวาสวัดป่าแห่งนี้ไม่ค่อยพูดไม่ค่อยจา ซ้ำนานๆครั้งจะออกมาให้โอวาทกับลูกศิษย์เสียทีหนึ่ง วันๆไม่เห็นท่านทำอะไรเอาแต่กวาดใบไม้ เก็บขยะ ซักผ้าเอง (เณรน้อยก็มีไม่รู้จักใช้) สอนก็ไม่สอน การบริหารวัดก็มอบให้ท่านรองเจ้าอาวาสเป็นคนจัดการไปเสียทุกอย่าง เห็นแล้วเลยนึกร้อนวิชา เสนอให้ปรับโน่นลดนี่สารพัดที่ตัวเองเห็นว่าไม่เข้าท่าล้าสมัย รวมทั้งให้เสนอให้วัดใช้ไฟฟ้าแทนตะเกียงด้วย อีกข้อหนึ่งเพราะตนเห็นว่ายุคสมัยก้าวไกลมามากแล้ว ไม่ควรจะทำตนเป็นคนหลังเขาให้คนอื่นเขาดูถูก อีกหนึ่งในข้อวิจารณ์จุดด้อยของวัดทั้งหลายเหล่านั้น พระใหม่เสนอให้หลวงพ่อเจ้าอาวาส มีปฏิสัมพันธ์ กับพระลูกวัดให้มากขึ้นกว่านี้ สอนให้มากขึ้นเทศน์ให้มากขึ้น และแนะนำว่าคนระดับผู้บริหารไม่ควรจะทำงาน อย่างการซักจีวรเองเป็นต้นด้วยตนเอง ควรจะกระจายอำนาจมอบงานให้คนอื่นทำดีกว่า

เย็นวันนั้นเป็นวันพระสิบห้าค่ำหลังจากทำวัตรเย็นที่โบสถ์เสร็จ หลวงพ่อชาท่านไม่ลืมที่จะหยิบข้อเสนอแนะจากพระใหม่มาอ่าน ให้พระหนุ่ม สามเณรน้อย ทั้งหลายฟังแต่ท่านไม่บอกว่าพระรูปไหนเป็นคนเขียน อ่านจบแล้วหลวงพ่อก็ยิ้มอย่างมีเมตตาแล้วชี้ให้ภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยทั้งหลายดูหมาขี้เรื้อนตัวหนึ่ง ที่นอนอยู่ใต้ม้าหินอ่อนตัวหนึ่งจากใต้ต้นอโศกที่อยู่ ใกล้ๆ แล้วกล่าวว่า

"เธอทั้งหลายเห็นหมาขี้เรือนตัวนั้นหรือไม่ เจ้าหมาตัวนั้นน่ะมันเป็นขี้เรื้อน คันไปทั้งตัว ฉันเห็นมันวิ่งวุ่น ไป มาทั้งวัน เดี๋ยวก็วิ่งไปนอนตรงนั้นเดี๋ยวก็ย้ายมานอนตรงนี้ อยู่ที่ไหนก็อยู่ไม่ได้นานเพราะมันคัน แต่พวกเธอรู้ไหม เจ้าหมาตัวนั้นน่ะมันไปนอนที่ไหนมันก็นึกด่าสถานที่นั้นอยู่ในใจ หาว่าแต่ละที่ไม่ได้ดั่งใจตัวเองสักอย่าง นอนที่ไหนก็ไม่หายคัน สถานที่เหล่านั้นช่างสกปรกสิ้นดี

คิดอย่างนี้แล้วมันจึงวิ่งหาที่ที่ตัวเองนอนแล้วจะไม่คัน แต่หาเท่าไหร่มันก็หาไม่พบสักที เลยต้องวิ่งไปทางนี้ทางโน้นอยู่ทั้งวัน เจ้าหมาโง่ตัวนั้นมันหารู้สักนิดไม่ว่า เจ้าสาเหตุแห่งอาการคันนั้นหาใช่เกิดจากสถานที่เหล่านั้นแต่อย่างใดไม่ แต่สาเหตุแห่งอาการคันอยู่ที่โรคของตัวมันเองนั่นต่างหาก

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ท่านเห็นไหมว่าเมื่อตอนเย็นวันนี้ หมาป่าตัวหนึ่งมันเดินอยู่ที่นี่ เห็นไหม? มันจะยืนอยู่มันก็เป็นทุกข์ มันจะวิ่งไปมันก็เป็นทุกข์ มันจะนั่งอยู่ก็เป็นทุกข์ มันจะนอนอยู่ก็เป็นทุกข์ เข้าไปในโพรงไม้มันก็เป็นทุกข์ จะเข้าไปอยู่ในถ้ำก็ไม่สบาย มันก็เป็นทุกข์ เพราะมันเห็นว่าการยืนอยู่นี้ไม่ดี การนั่งไม่ดี การนอนไม่ดี พุ่มไม้นี้ไม่ดี โพรงไม้นี้ไม่ดี ถ้ำนี้ไม่ดี มันก็วิ่งอยู่ตลอดเวลานั้น

ความเป็นจริงหมาป่าตัวนั้นมันเป็นขี้เรื้อน มันไม่ใช่เป็นเพราะพุ่มไม้ หรือโพรงไม้หรือถ้ำ หรือการยืน การเดิน การนั่ง การนอน มันไม่สบายเพราะมันเป็นขี้เรื้อน"

พระภิกษุทั้งหลายนี้ก็เหมือนกัน ความไม่สบายนั้นคือ ความเห็นผิดที่มีอยู่ ไปยึดธรรมที่มีพิษไว้มันก็เดือดร้อน ไม่สำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย แล้วก็ไปโทษแต่สิ่งอื่น ไม่รู้เรื่องของเจ้าของเอง ไปอยู่วัดหนองป่าพงก็ไม่สบาย ไปอยู่อเมริกาก็ไม่สบาย ไปอยู่กรุงลอนดอนก็ไม่สบาย ไปอยู่วัดป่าบุ่งหวายก็ไม่สบาย ไปอยู่ทุก ๆ สาขาก็ไม่สบาย ที่ไหนก็ไม่สบาย

นี่ก็คือความเห็นผิดนั้นยังมีอยู่ในตัวเรานั่นเอง มีความเห็นผิด ยังไปยึดมั่นถือมั่นในธรรมอันมีพิษไว้ในใจของเราอยู่ อยู่ที่ไหนก็ไม่สบายทั้งนั้น นั่นคือเหมือนกันกับสุนัขนั้น ถ้าหากโรคเรื้อนมันหายแล้ว มันจะอยู่ที่ไหนมันก็สบาย อยู่กลางแจ้งมันก็สบาย อยู่ในป่ามันก็สบายอย่างนี้ ผมนึกอยู่บ่อย ๆ แล้วผมก็นำมาสอนพวกท่านทั้งหลายอยู่เรื่อย เพราะธรรมตรงนี้มันเป็นประโยชน์มาก"
หลังจากนั้นหลวงพ่อชาก็นำนั่งสมาธิ ถือเนสัชชิกตลอดทั้งคืน

ขณะที่ทุกรูปนั่งหลับตาภาวนาอย่างสงบนั้น ในใจของพระใหม่กลับร้อนเร่าผิดปกติ นอกสงบ แต่ในวุ่นวาย นึกอย่างไรก็มองเห็นตัวเองไม่ต่างไปจากหมาขี้เรื้อนที่หลวงพ่อชี้ให้ดู ยิ่งนั่งสมาธินานๆ ยิ่งคันคะเยอในหัวใจ ทั้งอายทั้งสมเพชตัวเอง

นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาพระใหม่อดีตนักเรียนนอกก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน จากคนพูดมากกลายเป็นคนพูดน้อย จากคนที่หยิ่งยโสกลายเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน จากคนที่ชอบจับผิดคนอื่นกลายเป็นคนที่หันมาจับผิดตัวเอง เมื่อออกพรรษาแล้วโยมแม่มาขอให้ลาสิกขา เพื่อกลับไปสืบต่อธุรกิจจากครอบครัว ท่านก็ยังไม่ยอมสึก

อาตมาเป็นหมาขี้เรื้อนขออยู่รักษาโรคจนกว่าจะหายคันกับครูบาอาจารย์ที่นี่อีกสักหนึ่งพรรษาโยมแม่ได้ฟังแล้วก็ได้แต่ยกมืออนุโมทนาสาธุการกราบลาพระลูกชายแล้ว ก็เดินออกจากวัดไปขึ้นรถพลางนึกถามตัวเองอยู่ในใจว่า คำว่า หมาขี้เรื้อน ของพระลูกชาย หมายความว่าอย่างไรกันแน่หนอ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 10, 2015, 10:41:55 AM
"..วันคืนมันล่วงไปๆ พระพุทธองค์ท่านสอนไว้ว่า
บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ? บัดนี้เราคิดอะไรอยู่ ?
เราคิดผิดอยู่หรือคิดถูก ?

ก็หมายความว่า..พระพุทธเจ้าของเรา
ท่านให้เราพิจารณาตัวเอง ว่าเราเป็นอย่างไร ?

ความชั่วทั้งหลายในใจของเรานั้นยังมีอยู่หรือไม่ ?
ถ้ามีก็เขี่ยมันออกเสีย! พยายามเขี่ยมันออก! .."

หลวงปู่ชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 10, 2015, 10:44:12 AM
การประพฤติปฏิบัติเหมือนกันกับบุรุษที่ไปสีไฟ ได้ฟังท่านบอกว่า
เอาไม้ไผ่สองอันมาสีกันเข้าไปเถอะ แล้วจะมีไฟเกิดขึ้น บุรุษนั้นก็จับไม้ไผ่เข้าสองอัน
 สีกันเข้า แต่ใจร้อน สีไปได้หน่อย ก็อยากให้มันเป็นไฟ ใจก็เร่งอยู่เรื่อย ให้เป็นไฟเร็ว
แต่ไฟก็ไม่เกิดสักที บุรุษนั้นก็เกิดความขี้เกียจแล้วก็หยุดพัก แล้วจึงลองสีอีกนิด
แล้วก็หยุดพัก ความร้อนที่พอมีอยู่บ้าง ก็หายไปล่ะซิ เพราะความร้อนมันไม่ติดต่อกัน

ถ้าทำไปเรื่อย ๆ อย่างนี้ เหนื่อยก็หยุด มีแต่เหนื่อยอย่างเดียวก็พอได้ แต่มีขี้เกียจปนเข้าด้วย
เลยไปกันใหญ่ แล้วบุรุษนั้นก็หาว่าไฟไม่มี ไม่เอาไฟ ก็ทิ้ง เลิก ไม่สีอีก แล้วก็ไปเที่ยวประกาศว่า
 ไฟไม่มี ทำอย่างนี้ไม่ได้ ไม่มีไฟหรอก เขาได้ลองทำแล้ว

หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 26, 2015, 04:35:06 PM
สาขาวัดหนองป่าพง
"เมื่อ(เข้าใจว่า)บรรลุธรรม"

ในระหว่างพรรษาที่สี่
อาตมากำลังเร่งความเพียร
อยู่ในวัดป่าที่กันดารทางภาคอีสาน

กลางดึกคืนวันหนึ่ง
ระหว่างการเดินจงกรมที่ยาวนาน
จิตของอาตมาแจ่มใสเป็นพิเศษ

ความรู้อันลึกซึ้งไหลรินเข้ามาเป็นระลอกๆ
ราวกับน้ำตกที่ไหลลงมาจากยอดเขา

อาตมาสามารถเข้าใจสิ่งลึกลับต่างๆ
ซึ่งไม่เคยเข้าถึงมาก่อน
และแล้วสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้บังเกิดขึ้น

อาตมารู้สึกอัศจรรย์ใจ
เกินกว่าจะพรรณนาได้
‘ถึงแล้ว! นี่แหละความหลุดพ้น’

ความสุขที่เกิดขึ้น
เป็นสิ่งที่อาตมาไม่เคยพบมาก่อน
ปีติสุขเกิดขึ้นอย่างมาก
พร้อมๆ กับความสงบวิเวก

อาตมาภาวนาต่อจนดึกดื่น
จำวัดเพียงนิดเดียว
และยังตื่นก่อนระฆังเรียกเข้าศาลาตอนตีสามอีกด้วย

โดยปกติแล้ว
การนั่งสมาธิตั้งแต่ตีสาม
ในป่าซึ่งร้อนและอบอ้าวนี้
อาตมามักจะต้องต่อสู้กับความเซื่องซึม
และความง่วงเหงาหาวนอน
แต่ไม่ใช่วันนี้

อาตมานั่งตัวตรงโดยไม่ต้องบังคับ
สติคมชัดราวกับมีดผ่าตัด
และสมาธิสามารถรวมได้อย่างง่ายดาย

การบรรลุธรรมนี่ช่างวิเศษเสียเหลือเกิน
และช่างน่าเสียดาย
ที่การบรรลุธรรมของอาตมาอยู่ได้ไม่นาน.......

ที่ภาคอีสานในสมัยนั้น
(มีข้อที่เกี่ยวกับ)เรื่องอาหารการกิน
เช่น ครั้งหนึ่ง อาหารมื้อเดียวในวันนั้นของเรา
มีเพียงข้าวเหนียวหนึ่งปั้น
ปะหน้าด้วยกบต้มตัวขนาดกลางๆ
ไม่มีผัก ไม่มีผลไม้
มีแต่ข้าวหน้ากบแค่นั้นเองสำหรับทั้งวัน

อาตมาเริ่มฉันเนื้อตรงขาก่อน
แล้วต่อด้วยเครื่องในกบ

พระที่นั่งข้างๆ อาตมา
ก็เริ่มจับที่อวัยวะของกบ
โชคไม่ดีนักที่ท่านไปกดเข้า
ที่กระเพาะปัสสาวะของกบ
ซึ่งยังมีน้ำอยู่ภายใน
เจ้ากบมันก็เลยเยี่ยวรดข้าวของท่านไปทั่ว
ท่านเลยเลิกฉัน

โดยปกติแล้ว
อาหารหลักของพวกเราทุกวัน
คือ แกงเผ็ดปลาร้า ซึ่งทำมาจากปลาร้า

ปลาเล็กๆ ที่ถูกจับได้ในช่วงหน้าฝน
จะถูกหมักไว้ในไหดิน
เพื่อจะเก็บไว้กินตลอดปี

อาตมาเคยพบไหอย่างนั้นครั้งหนึ่ง
ตอนทำความสะอาดครัวของวัด
มันมีหนอนคลานยั้วเยี้ยเต็มไปหมด
อาตมาก็เลยจะเอามันไปทิ้ง

แต่ผู้ใหญ่บ้านซึ่งมีการศึกษา
และมีความประณีตที่สุดในหมู่บ้านเห็นเข้าเสียก่อน
จึงห้ามอาตมาไม่ให้เอาไหปลาร้าไปโยนทิ้ง

อาตมาค้านว่า “แต่มันมีหนอนอยู่ในนั้นนะ!”

เขาตอบอาตมาว่า “ก็ยิ่งอร่อยน่ะซิ”
แล้วก็ดึงเอาไหนั้นไปจากอาตมา

วันรุ่งขึ้นพวกเราก็ได้ฉันแกงเผ็ดปลาร้า
เป็นอาหารมื้อเดียวของเรา

ในวันที่อาตมาบรรลุธรรมนั้น
อาตมาแปลกใจที่เห็นแกงถึงสองหม้อ
ที่จะมาช่วยชูรสข้าวเหนียวของเรา
หม้อหนึ่งก็เป็นแกงเผ็ดปลาร้าเหม็นๆ เช่นเคย
ส่วนอีกหม้อหนึ่งเป็นแกงหมู

อาตมาคิดในใจอีกว่า
วันนี้แหละ อาตมาจะได้ฉันอาหารดีๆ สักมื้อ
ฉลองการบรรลุธรรมของอาตมา

ท่านเจ้าอาวาสตักอาหารของท่านก่อนหน้าอาตมา
ท่านตัดแกงเผ็ดหมูที่ดูน่าอร่อยนั้นสามทัพพีใหญ่ๆ

‘ตะกละ’ อาตมานึกตำหนิท่านในใจ
ยังเหลืออีกเยอะสำหรับอาตมา
แต่แล้ว ก่อนที่ท่านจะส่งหม้อให้อาตมา
ท่านก็ยกแกงเผ็ดหมูที่ดูน่ากินจนน้ำลายไหลนี้
เทลงไปรวมในหม้อแกงเผ็ดปลาร้า
แถมท่านยังคนมันเข้าด้วยกัน
และพูดว่า “ยังไงมันก็เหมือนๆ กัน”

อาตมาพูดอะไรไม่ออกเลย
อาตมาโกรธ ถ้าท่านคิดจริงๆ ว่า
‘ยังไงมันก็เหมือนๆ กัน’

แล้วทำไมท่านจึงตักแกงเผ็ดหมู
ไปเสียสามช้อนพูนๆ สำหรับตัวท่านเองก่อนเล่า
ก่อนที่จะผสมกันน่ะ?

ปากกับใจไม่ตรงกันนี่
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านน่ะเป็นลูกชาวบ้าน
ที่เติบโตมากับแกงเผ็ดปลาร้าเหม็นๆ
แล้วท่านก็น่าจะชอบมันด้วย
คนจอมปลอม! ไอ้หมู! ไอ้ขี้โกง!

และแล้ว อาตมาก็ฉุกคิดขึ้นได้
ผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว
ย่อมไม่เลือกอาหาร
ว่าชอบนั่น ไม่ชอบนี่

ย่อมไม่โกรธ
และไม่เรียกเจ้าอาวาสของตน
แม้จะเรียกในใจก็ตามว่า หมู!

อาตมาน่ะเกิดอาการโกรธแน่ๆ
และนั่นย่อมหมายความว่า ...
ตายแล้ว อาตมายังไม่ได้บรรลุธรรมจริงน่ะสิ

ไฟโทสะของอาตมามอดลงทันที
ด้วยความเศร้าสลด
เมฆหมอกหนาทึบแห่งความท้อแท้หมดหวัง
เคลื่อนเข้าสู่ใจของอาตมา
บดบังแสงอาทิตย์แห่งการบรรลุธรรมเสียจนมืดมิด

ด้วยความซึมเศร้าทุกข์ระทม
อาตมาตักแกงเผ็ดหมูและปลาร้าเหม็นๆ สองช้อน
ราดลงไปบนข้าวของอาตมา
อาตมาไม่สนแล้วล่ะว่าจะกินอะไร
อาตมาหมดกำลังใจจริงๆ

การที่ได้รู้ว่า
เรายังไม่ได้บรรลุธรรมสักหน่อยนั้น
ทำให้อาตมาเซ็งไปทั้งวันเลยทีเดียว

พระอาจารย์ พรหมวังโส
(ลูกศิษย์หลวงพ่อชา )


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 08:59:29 AM
ภาวนา คือ การกระทำอย่างไร
คือ เอาไปพิจารณาให้มันรอบคอบ
พิจารณาแล้ว พิจารณาอีก
จนให้มันมีเหตุมีผลเกิดขึ้นในที่นั้นตามเป็นจริง
/พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 17, 2015, 01:16:21 PM
คนจะบรรลุธรรมะ จะได้เห็นธรรมะ
ต้องรู้จักว่า ธรรมะอยู่ตรงไหนเสียก่อน
ธรรมะที่แท้จริงอยู่ที่ไหน อยู่ที่นี่ อยู่ที่กาย อยู่ที่ใจนี้
ให้เอาใจนี้พิจารณากาย นี้เป็นหลักของการพิจารณา

/พระโพธิญาณเถร(ชา สุภัทโท)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 21, 2015, 06:39:10 PM
หน้าที่ของเรานั้น ทำเหตุให้ดีที่สุดเท่านั้น
ส่วนผลที่จะได้รับ เป็นเรื่องของเขา... ถ้าเราดำเนินชีวิตโดยการปล่อยวางเช่นนี้แล้ว... ทุกข์ก็ไม่รุมล้อมเรา...

ธรรมโอวาท หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 06, 2015, 09:00:57 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20150906085927_luangpu_cha.jpg)

“พวกเราทั้งหลายจึงเป็นผู้ที่มีโชคมีบุญมากเพราะเมื่อมองไปที่สัตว์ทั้งหลายแล้ว จะเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เช่น วัว ควาย หมู หมา เป็นต้น เป็นสัตว์ที่อาภัพมาก เพราะไม่มีโอกาสที่จะเรียนธรรม ไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติธรรม ไม่มีโอกาสที่จะรู้ธรรม ฉะนั้นก็หมดโอกาสที่จะพ้นทุกข์ จึงเรียกว่าเป็นสัตว์ที่อาภัพ เป็นสัตว์ที่ต้องเสวยกรรมอยู่ ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทั้งหลายจึงไม่ควรทำตัวให้เป็นมนุษย์ที่อาภัพ คือไม่มีข้อประพฤติ ไม่มีข้อปฏิบัติ อย่าให้เป็นคนอาภัพ คือ คนหมดหวังจากมรรค ผลนิพพาน หมดหวังจากคุณงามความดี อย่าไปคิดว่าเราหมดหวังเสียแล้ว ถ้าคิดอย่างนั้น จะเป็นคนอาภัพเหมือนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย คือไม่อยู่ในข่ายของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น เมื่อมนุษย์เป็นผู้มีบุญวาสนาบารมีเช่นนี้แล้ว จึงควรที่จะปรับปรุงความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นของตนให้อยู่ในธรรม จะได้รู้ธรรม เห็นธรรม ในชาติกำเนิดที่เป็นมนุษย์นี้ ให้สมกับที่เกิดมาเป็นสัตว์ที่ควรตรัสรู้ธรรมได้...”

พระธรรมคำสอนโดย
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี
(พ.ศ.๒๔๖๑ - ๒๕๓๕)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 16, 2015, 08:40:08 AM
คนทั้งโลกจะให้เขาพูดถูกใจเรา...มีไหม
จะมาทำถูกใจเราทุกคน...มีไหม
เมื่อไม่มี...เราก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลาถ้าเราไม่ปล่อยวาง

‪#‎หลวงพ่อชา‬ สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 08, 2015, 08:54:21 AM
ประสบการณ์การรู้ธรรม ๓ วาระ
ถ้าเราจะหยุดก็หยุดเอาเฉย ๆ นี่แหละ ต่อมาจึงหยุดพัก หยุดแต่การนั่งเท่านั้น ใจเหมือนเก่ายังไม่หยุด เลยดึงเอาหมอนลูกหนึ่งมาวางไว้ ตั้งใจจะพักผ่อน เมื่อเอนกายลงจิตยังสงบอยู่อย่างเดิม พอศีรษะจะถึงหมอน มีอาการน้อมในใจไม่รู้มันน้อมไปไหน แต่มันน้อมเข้าไป น้อมเข้าไป คล้ายกับมีสายไฟอันหนึ่งไปถูกสวิตช์ไฟเข้า ไปดันกับสวิตช์อันนั้น กายก็ระเบิดเสียงดังมาก ความรู้ที่มีอยู่นั้นละเอียดที่สุด พอมันผ่านตรงจุดนั้นก็หลุดเข้าไปข้างในโน้น ไปอยู่ข้างในจึงไม่มีอะไร แม้อะไร ๆ ทั้งปวงก็ส่งเข้าไปไม่ได้ ส่งเข้าไปไม่ถึง ไม่มีอะไรเข้าไปถึง หยุดอยู่ข้างในสักพักหนึ่งก็ถอยออกมา คำว่าถอยออกมานี้ ไม่ใช่ว่าเราจะให้มันถอยออกมาหรอก เราเป็นเพียงผู้ดูเฉย ๆ เราเป็นเพียงผู้รู้เท่านั้น อาการเหล่านี้เป็นออกมา ๆ ก็มาถึงปกติจิตธรรมดา เมื่อเป็นปกติดังเดิมแล้ว คำถามก็มีขึ้นว่า "นี่มันอะไร?" คำตอบเกิดขึ้นว่า "สิ่งเหล่านี้ของเป็นเอง ไม่ต้องสงสัยมัน" พูดเท่านี้จิตก็ยอม เมื่อหยุดอยู่พักหนึ่งก็น้อมเข้าไปอีก เราไม่ได้น้อม มันน้อมเอง พอน้อมเข้าไป ๆ ก็ไปถูกสวิตช์ไฟดังเก่า ครั้งที่สองนี้ร่างกายแตกละเอียดหมดหลุดเข้าไปข้างในอีก เงียบ ยิ่งเก่งกว่าเก่า ไม่มีอะไรส่งเข้าไปถึง เข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมันพอสมควร แล้วก็ถอยออกมาตามสภาวะของมัน ในเวลานั้นมันเป็นอัตโนมัติ มิได้แต่งว่า จงเป็นอย่างนั้น จงเป็นอย่างนี้ จงออกอย่างนี้ จงเข้าอย่างนั้น ไม่มี เราเป็นเพียงผู้ทำความรู้ ดูอยู่เฉย ๆ มันก็ถอยออกมาถึงปกติ มิได้สงสัย แล้วก็นั่งพิจารณาน้อมเข้าไปอีก ครั้งที่สามนี้โลกแตกละเอียดหมด ทั้งพื้นปฐพี แผ่นดิน แผ่นหญ้า ต้นไม้ ภูเขา โลก เป็นอากาศธาตุหมด ไม่มีคน หมดไปเลย ตอนสุดท้ายนี้ไม่มีอะไร เมื่อเข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมัน ไม่รู้ว่ามันอยู่อย่างไร ดูยาก พูดยาก ของสิ่งนี้ไม่มีอะไรจะมาเปรียบปานได้เลย นานที่สุดอยู่ในนั้น พอถึงกำหนดเวลาก็ถอนออกมา คำว่า ถอน เราก็มิได้ถอนหรอก มันถอนของมันเอง เราเป็นผู้ดูเท่านั้น ก็เลยออกมาเป็นปกติ สามขณะนี้ ใครจะเรียกว่าอะไร ใครรู้ เราจะเรียกอะไรเล่า
พลิกโลกพลิกแผ่นดิน
ที่เล่ามานี้เรื่องจิตตามธรรมชาติทั้งนั้น อาตมามิได้กล่าวถึงจิต ถึงเจตสิก ไม่ต้องอะไรทั้งนั้น มีศรัทธาทำเข้าไปจริง ๆ เอาชีวิตเป็นเดิมพัน เมื่อถึงวาระที่เป็นอย่างนี้ออกมาแล้ว โลกนี้ แผ่นดิ้นนี้มันพลิกไปหมด ความรู้ความเห็นมันแปลกไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ในระยะนั้นถ้าคนอื่นเห็น อาจจะว่าเราเป็นบ้าจริง ๆ ถ้าผู้ควบคุมสติไม่ดีอาจเป็นบ้าได้นะ เพราะมันไม่เหมือนเก่าสักอย่างเลย เห็นคนในโลกไม่เหมือนเก่า แต่มันก็เป็นเราผู้เดียวเท่านั้น แปลกไปหมดทุกอย่าง ความนึกคิดทั้งหลายทั้งปวงนั้นเขาคิดไปทางโน้น แต่เราคิดไปทางนี้ เขาพูดมาทางนี้ เราพูดไปทางโน้น เขาขึ้นทางโน้น เราลงทางนี้ มันต่างกับมนุษย์ไปหมด มันก็เป็นของมันเรื่อย ๆ ไป ท่านมหาลองไปทำดูเถอะ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปดูไกลอะไรหรอก ดูจิตของเราต่อ ๆ ไป มันอาจหาญที่สุด อาจหาญมาก นี่คือเรื่องกำลังของจิต เรื่องกำลังของจิตมันเป็นได้ถึงขนาดนี้
หลวงพ่อชา สุภัทโท
จากเทศนาธรรมเรื่อง"กุญแจภาวนา"


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 08, 2015, 09:24:02 AM
สภาวธรรม เกิดเอง เป็นเอง พอดี

วันหนึ่งขณะที่เดินจงกรมอยู่ เวลาประมาณห้าทุ่มกว่า รู้สึกแปลก ๆ มันแปลกมาแต่ตอนกลางวันแล้ว รู้สึกว่าไม่คิดมาก มีอาการสบาย ๆ เขามีงานอยู่ในหมู่บ้าน ไกลประมาณสิบเส้นจากที่พักซึ่งเป็นวัดป่าเมื่อเดินจงกรมเมื่อยแล้ว เลยมานั่งที่กระท่อม มีฝ่าแถบตองบังอยู่ เวลานั่งรู้สึกว่าคู้ขาเข้าเกือบไม่ทัน เอ๊ะ จิตมันอยากสงบ มันเป็นเองของมันพอนั่งจิตก็สงบจริง ๆ รู้สึกตัวหนักแน่น เสียงเขาร้องรำอยู่ในบ้าน มิใช่ว่าจะไม่ได้ยิน ยังได้ยินอยู่ แต่จะทำให้ไม่ได้ยินก็ได้ แปลกเหมือนกัน เมื่อไม่เอาใจใส่ก็เงียบไม่ได้ยิน จะให้ได้ยินก็ได้ ไม่รู้สึกรำคาญ ภายในจิตเหมือนวัตถุสองอย่างตั้งอยู่ไม่ติดกัน ดูจิตกับอารมณ์ตั้งอยู่คนละส่วน เหมือนกระโถนกับกาน้ำนี่ ก็เลยเข้าใจว่า เรื่องจิตเป็นสมาธินี่ ถ้าน้อมไปก็ได้ยินเสียง ถ้าว่างก็เงียบ ถ้ามันมีเสียงขึ้นก็ดูตัวผู้รู้ ขาดกันคนละส่วนจึงพิจารณาว่า "ถ้าไม่ใช่อย่างนี้ มันจะใช่ตรงไหนอีก" มันเป็นอย่างนี้ไม่ติดกันเลย ได้พิจารณาอย่างนี้เรื่อย ๆ จึงเข้าใจว่า อ้อ! อันนี้ก็สำคัญเหมือนกัน เรียกว่า สันตติ คือ ความสืบต่อ ขาดมันเลยเป็นสันติ แต่ก่อนมันเป็นสันตติ ทีนี้เลยกลายเป็นสันติออกมา จึงนั่งทำความเพียรต่อไป จิตในขณะที่นั่งทำความเพียรคราวนั้น ไม่ได้เอาใจใส่ในสิ่งอื่นเลย ถ้าเราจะหยุดความเพียรก็หยุดได้ตามสบาย เมื่อเราหยุดความเพียร เจ้าเกียจคร้านไหม เจ้าเหนื่อยไหม เจ้ารำคาญไหม เปล่า ไม่มี ตอบไม่ได้ ของเหล่านี้ไม่มีในจิต มีแต่ความพอดีหมดทุกอย่างในนั้น

หลวงพ่อชา สุภัทโท
จากเทศนาธรรมเรื่อง"กุญแจภาวนา"


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 15, 2015, 11:47:37 AM
"ให้เราพิจารณาดู ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราไม่หนีมัน มันก็หนีเรา
คนก็เหมือนกัน เราไม่จากเขา เขาก็จากเรา มันอยู่ที่ใครไปก่อนใครเท่านั้นเอง
บางทีวัตถุก็ไปก่อนเรา บางทีเราก็ไปก่อนวัตถุ
บางทีคนใกล้ชิดเราเขาก็ไปก่อน บางทีเราไปก่อนเขา
มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของกรรม"
...หลวงปู่ชา สุภทฺโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 17, 2015, 09:36:57 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20140111120957_luangpu_cha222.jpg)
เรื่อง "นักเรียนนอกผู้กลายเป็น หมาขี้เรื้อน"

(ปกิณกธรรม หลวงพ่อชา สุภัทโท)
ลูกชายนักธุรกิจใหญ่มีชื่อเสียงระดับประเทศคนหนึ่งเพิ่งสำเร็จการศึกษากลับมาจากเมืองนอก
ยังไม่ทันทำงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันก็ถูกผู้เป็นแม่ขอร้องให้บวชเรียนเสียก่อน เพื่อเห็นแก่แม่
บัณฑิตใหม่หมาดๆจากเมืองนอกจึงบวชอย่างเสียไม่ได้ เมื่อบวชที่วัดใหญ่ในกรุงเทพฯแห่งหนึ่งเสร็จแล้ว
ผู้เป็นแม่จึงพาไปฝากให้จำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อชาที่วัดหนองป่าพง พระหนุ่มการศึกษาสูงมาจากตระกูลผู้ดีมีแต่ความสุขสบาย
เมื่อมาอยู่วัดป่ากว่าจะปรับตัวได้จึงใช้เวลานานเป็นแรมเดือน

แต่ก็นั่นแหละกว่าจะนิ่งก็ทำเอาพระร่วมวัดหลายรูปพลอยอิดหนาระอาใจไปตามๆกัน
ปัญหาที่ทำให้พระทั้งวัดเหนื่อยหน่ายจนนึกระอาก็เพราะพระใหม่มีนิสัยชอบจับผิด
และชอบอวดรู้ยกหู ชูหางตัวเองอยู่เป็นประจำ วันแรกที่มาอยู่วัดป่าก็นึกเหยียดพระเจ้าถิ่นทั้งหลายว่าไม่ได้รับการศึกษาสูงเหมือนอย่างตน
ออกบิณฑบาตได้อาหารท้องถิ่นมาก็ทำท่าว่าจะฉันไม่ลง เห็นที่วัดใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าดแทนไฟฟ้าก็วิพากษ์วิจารณ์เสียเป็นการใหญ่หาว่าล้าสมัย
ไม่รู้จักใช้เทคโนโลยี่ ตอนหัวค่ำมีการทำวัตรสวดมนต์เย็นก็บ่นว่า ทำวัตรนานเหลือเกินกว่าจะสิ้นสุดยุติได้ก็นั่งจนขาเป็นเหน็บชา

ครั้นพอถึงเวรตัวเองล้างห้องน้ำเข้าบ้างก็ทำท่าจะล้างอย่างขอไปทีล้างไปบ่นไป ประเภทตูจบปริญญาโทมาจากเมืองนอก
ต้องมาเข้าเวรล้างห้องน้ำร่วมกับใครก็ไม่รู้ โอ้ชีวิต! ความสำรวยหยิบโหย่งทำให้พระใหม่ไม่พอใจสิ่งนั้นสิ่งนี้ถือดี
ว่าตัวเองมีชาติตระกูลสูง มีการศึกษาสูงกว่าใครในวัดนั้น ผิวพรรณก็ดูสะอาดสะอ้านชวนเจริญศรัทธากว่าพระรูปไหนทั้งหมด
มองตัวเองเปรียบกับพระรูปอื่นแล้วช่างรู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าทุกประตู นึกแล้วก็ยิ้มกระหยิ่มอยู่ในใจกลับเข้ากุฏิเมื่อไหร่
ก็เอาปากกามาขีดเครื่องหมายกากบาทบนปฏิทิน นับถอยหลังรอวันสึกด้วยใจจดจ่อ

อยู่มาได้พักใหญ่พระใหม่อดีตนักเรียนนอกก็สังเกตเห็นว่า ท่านเจ้าอาวาสวัดป่าแห่งนี้ไม่ค่อยพูดไม่ค่อยจา
ซ้ำนานๆครั้งจะออกมาให้โอวาทกับลูกศิษย์เสียทีหนึ่ง วันๆไม่เห็นท่านทำอะไรเอาแต่กวาดใบไม้ เก็บขยะ
ซักผ้าเอง (เณรน้อยก็มีไม่รู้จักใช้) สอนก็ไม่สอน การบริหารวัดก็มอบให้ท่านรองเจ้าอาวาสเป็นคนจัดการไปเสียทุกอย่าง
เห็นแล้วเลยนึกร้อนวิชา เสนอให้ปรับโน่นลดนี่สารพัดที่ตัวเองเห็นว่าไม่เข้าท่าล้าสมัย รวมทั้งให้เสนอให้วัดใช้ไฟฟ้าแทนตะเกียงด้วย

อีกข้อหนึ่งเพราะตนเห็นว่ายุคสมัยก้าวไกลมามากแล้ว ไม่ควรจะทำตนเป็นคนหลังเขาให้คนอื่นเขาดูถูก
อีกหนึ่งในข้อวิจารณ์จุดด้อยของวัดทั้งหลายเหล่านั้น พระใหม่เสนอให้หลวงพ่อเจ้าอาวาส มีปฏิสัมพันธ์
กับพระลูกวัดให้มากขึ้นกว่านี้ สอนให้มากขึ้นเทศน์ให้มากขึ้น และแนะนำว่าคนระดับผู้บริหารไม่ควรจะทำงาน
อย่างการซักจีวรเองเป็นต้นด้วยตนเอง ควรจะกระจายอำนาจมอบงานให้คนอื่นทำดีกว่า

เย็นวันนั้นเป็นวันพระสิบห้าค่ำหลังจากทำวัตรเย็นที่โบสถ์เสร็จ หลวงพ่อชาท่านไม่ลืมที่จะหยิบข้อเสนอแนะจากพระใหม่มาอ่าน
ให้พระหนุ่ม สามเณรน้อย ทั้งหลายฟังแต่ท่านไม่บอกว่าพระรูปไหนเป็นคนเขียน
อ่านจบแล้วหลวงพ่อก็ยิ้มอย่างมีเมตตาแล้วชี้ให้ภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยทั้งหลายดูหมาขี้เรื้อนตัวหนึ่ง
ที่นอนอยู่ใต้ม้าหินอ่อนตัวหนึ่งจากใต้ต้นอโศกที่อยู่ ใกล้ๆ แล้วกล่าวว่า

"เธอทั้งหลายเห็นหมาขี้เรือนตัวนั้นหรือไม่ เจ้าหมาตัวนั้นน่ะมันเป็นขี้เรื้อน คันไปทั้งตัว ฉันเห็นมันวิ่งวุ่น ไป มาทั้งวัน
เดี๋ยวก็วิ่งไปนอนตรงนั้นเดี๋ยวก็ย้ายมานอนตรงนี้ อยู่ที่ไหนก็อยู่ไม่ได้นานเพราะมันคัน แต่พวกเธอรู้ไหม
เจ้าหมาตัวนั้นน่ะมันไปนอนที่ไหนมันก็นึกด่าสถานที่นั้นอยู่ในใจ หาว่าแต่ละที่ไม่ได้ดั่งใจตัวเองสักอย่าง
นอนที่ไหนก็ไม่หายคัน สถานที่เหล่านั้นช่างสกปรกสิ้นดี คิดอย่างนี้แล้วมันจึงวิ่งหาที่ที่ตัวเองนอนแล้วจะไม่คัน
แต่หาเท่าไหร่มันก็หาไม่พบสักที เลยต้องวิ่งไปทางนี้ทางโน้นอยู่ทั้งวัน เจ้าหมาโง่ตัวนั้นมันหารู้สักนิดไม่ว่า
เจ้าสาเหตุแห่งอาการคันนั้นหาใช่เกิดจากสถานที่เหล่านั้นแต่อย่างใดไม่ แต่สาเหตุแห่งอาการคันอยู่ที่โรคของตัวมันเองนั่นต่างหาก

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ท่านเห็นไหมว่าเมื่อตอนเย็นวันนี้ หมาป่าตัวหนึ่งมันเดินอยู่ที่นี่ เห็นไหม?
มันจะยืนอยู่มันก็เป็นทุกข์ มันจะวิ่งไปมันก็เป็นทุกข์ มันจะนั่งอยู่ก็เป็นทุกข์ มันจะนอนอยู่ก็เป็นทุกข์ เข้าไปในโพรงไม้มันก็เป็นทุกข์
จะเข้าไปอยู่ในถ้ำก็ไม่สบาย มันก็เป็นทุกข์ เพราะมันเห็นว่าการยืนอยู่นี้ไม่ดี การนั่งไม่ดี การนอนไม่ดี พุ่มไม้นี้ไม่ดี
โพรงไม้นี้ไม่ดี ถ้ำนี้ไม่ดี มันก็วิ่งอยู่ตลอดเวลานั้น ความเป็นจริงหมาป่าตัวนั้นมันเป็นขี้เรื้อน มันไม่ใช่เป็นเพราะพุ่มไม้
หรือโพรงไม้หรือถ้ำ หรือการยืน การเดิน การนั่ง การนอน มันไม่สบายเพราะมันเป็นขี้เรื้อน"

พระภิกษุทั้งหลายนี้ก็เหมือนกัน ความไม่สบายนั้นคือ ความเห็นผิดที่มีอยู่ ไปยึดธรรมที่มีพิษไว้มันก็เดือดร้อน
ไม่สำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย แล้วก็ไปโทษแต่สิ่งอื่น ไม่รู้เรื่องของเจ้าของเอง ไปอยู่วัดหนองป่าพงก็ไม่สบาย
ไปอยู่อเมริกาก็ไม่สบาย ไปอยู่กรุงลอนดอนก็ไม่สบาย ไปอยู่วัดป่าบุ่งหวายก็ไม่สบาย ไปอยู่ทุก ๆ สาขาก็ไม่สบาย ที่ไหนก็ไม่สบาย

นี่ก็คือความเห็นผิดนั้นยังมีอยู่ในตัวเรานั่นเอง มีความเห็นผิด ยังไปยึดมั่นถือมั่นในธรรมอันมีพิษไว้ในใจของเราอยู่
อยู่ที่ไหนก็ไม่สบายทั้งนั้น นั่นคือเหมือนกันกับสุนัขนั้น ถ้าหากโรคเรื้อนมันหายแล้ว มันจะอยู่ที่ไหนมันก็สบาย
อยู่กลางแจ้งมันก็สบาย อยู่ในป่ามันก็สบายอย่างนี้ ผมนึกอยู่บ่อย ๆ แล้วผมก็นำมาสอนพวกท่านทั้งหลายอยู่เรื่อย
เพราะธรรมตรงนี้มันเป็นประโยชน์มาก"

หลังจากนั้นหลวงพ่อชาก็นำนั่งสมาธิ ถือเนสัชชิกตลอดทั้งคืน
ขณะที่ทุกรูปนั่งหลับตาภาวนาอย่างสงบนั้น ในใจของพระใหม่กลับร้อนเร่าผิดปกติ นอกสงบ แต่ในวุ่นวาย
นึกอย่างไรก็มองเห็นตัวเองไม่ต่างไปจากหมาขี้เรื้อนที่หลวงพ่อชี้ให้ดู ยิ่งนั่งสมาธินานๆ ยิ่งคันคะเยอในหัวใจ ทั้งอายทั้งสมเพชตัวเอง

นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาพระใหม่อดีตนักเรียนนอกก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน จากคนพูดมากกลายเป็นคนพูดน้อย
จากคนที่หยิ่งยโสกลายเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน จากคนที่ชอบจับผิดคนอื่นกลายเป็นคนที่หันมาจับผิดตัวเอง
เมื่อออกพรรษาแล้วโยมแม่มาขอให้ลาสิกขา เพื่อกลับไปสืบต่อธุรกิจจากครอบครัว ท่านก็ยังไม่ยอมสึก
อาตมาเป็นหมาขี้เรื้อนขออยู่รักษาโรคจนกว่าจะหายคันกับครูบาอาจารย์ที่นี่อีกสักหนึ่งพรรษา
โยมแม่ได้ฟังแล้วก็ได้แต่ยกมืออนุโมทนาสาธุการกราบลาพระลูกชายแล้ว
ก็เดินออกจากวัดไปขึ้นรถพลางนึกถามตัวเองอยู่ในใจว่า คำว่า หมาขี้เรื้อน ของพระลูกชาย หมายความว่าอย่างไรกันแน่หนอ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 01, 2015, 10:24:21 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20151201222409_luangpu_cha.jpg)

+++ไฟไหม้ น้ำท่วม+++

พระพุทธองค์ท่านก็ทรงสอนว่า ร่างกายจิตใจมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น
มันจะไม่เป็นไปอย่างอื่น คือ เริ่มเกิดขึ้นมาแล้วก็แก่ แก่มาแล้วก็เจ็บ เจ็บมาแล้วก็ตาย
อันนี้เป็นความจริงเหลือเกิน ซึ่งคุณยายก็พบอยู่ในปัจจุบันนี้ มันก็เป็นสัจธรรมอยู่แล้ว
 ก็มองดูมันด้วยปัญญาให้เห็นมันเสียเท่านั้น

ถึงแม้ว่าไฟมันจะมาไหม้บ้านของเราก็ตาม ถึงแม้ว่าน้ำมันจะท่วมบ้านของเราก็ตาม ก็ให้มันเป็นเฉพาะบ้าน
เฉพาะเรือน ถ้าไฟมันไหม้ ก็อย่าให้มันไหม้หัวใจเรา ถ้าน้ำมันท่วมก็อย่าให้มันท่วมหัวใจเรา ให้มันท่วมแต่บ้าน
ให้มันไหม้แต่บ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกกายของเรา ส่วนจิตใจของเรานั้น ให้มันมีการปล่อยวางเพราะในเวลานี้มันสมควรแล้ว
 มันสมควรที่จะปล่อยแล้ว

...หลวงพ่อชา สุภัทโท...


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 05, 2016, 01:49:01 PM
คำสอนหลวงพ่อชา สุภัทโท เรื่อง “คนเลี้ยงไก่”

มีคนเลี้ยงไก่ 2 คน

คนที่ 1 ---> ทุกเช้าจะเอาตะกร้า เข้าไปใน โรงเรือนเลี้ยงไก่ แล้วก็ เก็บ "ขี้ไก่" ใส่ตะกร้ากลับบ้าน!! แล้วทิ้งไข่ไก่ ให้เน่าไว้ในโรงเรือน เมื่อเขาเอาขี้ไก่กลับถึงบ้าน ทั้งบ้านก็เหม็นหึ่ง ไปด้วยกลิ่นขึ้ไก่ !!! คนทั้งบ้านต้องทนกับกลิ่นเหม็น!!!

คนที่ 2 ---> เอาตะกร้าเข้าไปในโรงเรือนเลี้ยงไก่ เก็บไข่ไก่ใส่ตะกร้าเอากลับบ้าน เขาเอาไข่ไก่ลงเจียว กลิ่นหอมอบอวลไปทั่วบ้าน คนทั้งบ้านได้กินไข่เจียวแสนอร่อย ไข่ไก่ที่เหลือ เขาก็เอาไปขาย แล้วได้เงินมาใช้จ่ายในบ้าน ทุกคนในบ้านมีความสุขมาก

ในชีวิตของเรา พวกเราเป็นคน เก็บ "ไข่ไก่ "หรือ เก็บ "ขี้ไก่"

เราเป็นคนเก็บ "ขี้ไก่" โดยเฝ้าแต่เก็บ เรื่องร้ายๆ แย่ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตเราไว้ในหัวของเรา และมีความทุกข์ตลอดเวลาที่คิดถึงมัน!!!

หรือเราเป็นคนที่เก็บ "ไข่ไก่" เราจดจำสิ่งที่ดีๆที่เกิดในชีวิตของเรา และมีความสุขทุกครั้งที่คิดถึงมัน!!

คนเราส่วนใหญ่ชอบเป็นคนเก็บ "ขี้ไก่" เราถึงต้องเป็นทุกข์ตลอดเวลา เรื่องความเสียใจ ความผิดพลาด ความเจ็บใจ มักจะติดอยู่ในใจของเรานานเท่านาน

*****************************

หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 15, 2016, 09:13:30 AM
ทุน ที่ ไ ม่ มีวัน ห ม ด

หลังจากที่หลวงพ่อชา สุภทฺโท ได้ริเริ่มบุกเบิกวัดหนองป่าพงแต่พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นต้นมา วัดนี้ก็ค่อยๆ
เติบโตจนกลายเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
เป็นเหตุให้มีผู้คนหลั่งไหลมาจาริกบุญศึกษาธรรมที่วัดนี้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
จนลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งมีความคิดว่าวัดหนองป่าพงควรมีมูลนิธิเหมือนอย่างวัดอื่นบ้าง เพื่อวัดจะได้มีทุนดำเนินงานอย่างมั่นคง
เมื่อลูกศิษย์นำความดังกล่าวไปปรึกษาหลวงพ่อ ประโยคแรกที่ท่านตอบก็คือ
“อย่างนั้นก็ดีอยู่ แต่ผมคิดว่ามันยังไม่ถูกต้อง” แล้วท่านก็ให้ความเห็นต่อว่า
“ถ้าพวกท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วคงจะไม่อด พระพุทธเจ้าท่านก็ยังไม่เคยมีมูลนิธิเลย
ท่านก็โกนหัวปลงผมทำอะไรเหมือนพวกเรา ท่านก็ยังอยู่ได้ท่านได้ปูทางไว้ให้แล้ว เราก็เดินตามทางก็น่าจะพอไปได้นะ”

แล้วหลวงพ่อก็สรุปว่า
“บาตรกับจีวรนี่แหละ มูลนิธิที่พระพุทธเจ้าตั้งไว้ให้เรา กินไม่หมดหรอก”
หลวงพ่อชาเป็นอยู่อย่างมักน้อยสันโดษมาก กุฏิของท่านแทบจะโล่ง เพราะมีแต่เตียงนอนและของใช้ที่จำเป็น
เช่น กระโถนไม่มีของใช้ฟุ่มเฟือยเลย ส่วนวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ญาติโยมนำมาถวายอยู่เสมอนั้น
ท่านก็ส่งต่อไปให้ลูกศิษย์ตามวัดสาขาต่างๆ หมด
ท่านไม่เคยมีบัญชีเงินฝากส่วนตัว ปัจจัยหรือเงินทำบุญที่โยมถวายนั้น ท่านให้เป็นของกลางหมด
“เราพอกิน พออยู่แล้วจะมากอะไรทำไมนะ กินข้าวมือเดียว” ท่านเคยพูดให้ฟัง
บ่อยครั้งที่โยมมาตัดพ้อต่อว่า เพราะได้ปวารณาถวายปัจจัยไว้ให้ท่านใช้ในกิจส่วนตัว
แต่หลวงพ่อไม่เคยเรียกใช้สักทีท่านเคยปรารภกับลูกศิษย์ว่า
“ยิ่งเขามาปวารณาแล้ว ผมยิ่งกลัว”
คราวหนึ่งมีผู้เอารถไปถวายหลวงพ่อ รบเร้าให้หลวงพ่อรับให้ได้โดยขับมาจอดหลังกุฏิท่าน
แล้วเอากุญแจใส่ย่ามท่านไว้แต่ปรากฏว่าหลวงพ่อไม่เคยไปดูรถคันนั้นเลย พอออกจากกุฏิท่านจะเดินไปทางอื่น
จะไปในเมือง ท่านก็ขึ้นรถคันอื่น หลังจากนั้น ๗วัน ท่านก็เรียกโยมคนหนึ่งมาหา แล้วบอกว่า
.
“ไปบอกเขาเอารถกลับคืนไปนะ เอามาถวายข้อย ข้อยก็รับไปแล้ว เดี๋ยวนี้ข้อยจะส่งคืน มันไม่ใช่ของพระ”
อีกครั้งหนึ่ง หลวงพ่อจะไปวัดถ้ำแสงเพชร ลูกศิษย์ที่มีรถส่วนตัวคันงามยี่ห้อดัง
ต่างแย่งกันนิมนต์ให้ท่านขึ้นรถของตนซึ่งจอดเรียงรายอยู่ที่ลานวัดให้ได้หลวงพ่อกวาดตาดูสักครู่ ก็ชี้มือไปที่รถเก่าบุโรทั่งคันหนึ่งพร้อมกับพูดว่า
“ไปคันนั้น”
เจ้าของได้ยินเช่นนั้นก็ดีใจสุดขีด รีบเปิดประตูนิมนต์ให้หลวงพ่อนั่ง
ว่ากันว่าการเดินทางวันนั้นใช้เวลานานกว่าปกติเพราะขบวนรถคันงามความเร็วสูงต้องค่อยๆ ขับตามหลังรถโกโรโกโสไปโดยดุษณีภาพ

หลวงพ่อชา สุภัทโท
จากหนังสือลำธารริมลานธรรม เรียบเรียงโดย พระไพศาล วิสาโล


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 02, 2016, 11:06:10 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20141011083412_luangpu_cha.jpg)

เรื่อง "นิพพิทา ความเบื่อหน่ายคลายเมา"
ธรรมคำสอน พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
คำว่า "เบื่อ" ไม่ใช่เบื่ออย่างที่คนเขาเบื่อกัน คือ “เบื่ออย่างที่ไม่อยากรู้ไม่อยากเห็น” ไม่อยากพูดด้วย
เพราะไม่ชอบมัน ถ้ามันเป็นอะไรไป ก็ยิ่งนึกสมน้ำหน้า ไม่ใช่เบื่ออย่างนี้ เบื่ออย่างนี้ “เป็นอุปาทาน”
เพราะ “ความรู้ไม่ทั่วถึง” แล้วเกิดความอิจฉาพยาบาท “เกิดความยึดมั่นถือมั่น” ในสิ่งที่เรียกว่า "เบื่อ" นั่นเอง

"เบื่อ" ในที่นี้ ต้องเบื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ.. “เบื่อโดยไม่มีความเกลียด” “ไม่มีความรัก”
หากมีอารมณ์ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ อันใดเกิดขึ้นมาก็เห็นทันทีเห็นว่า “มันไม่เที่ยง” เบื่ออย่างนี้ จึงเรียกว่า "นิพพิทา"
คือความเบื่อหน่ายคลายจาก “กำหนัดรักใคร่” ในอารมณ์อันนั้น ไม่ไปสำคัญมั่นหมายใน “อารมณ์เหล่านั้น”
ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นและไม่ไปสำคัญมั่นหมายในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จนเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 08, 2016, 06:49:53 AM
เราเห็นแล้วว่า ถ้วยใบนี้ เอาไว้ที่ไหน...มันก็ต้องแตก
จานนี่ เอาไว้ที่ไหน...ก็ต้องแตก
แต่เราก็ต้องสอนเด็กว่า ล้างให้มันสะอาด เก็บไว้ให้ดี
เราก็ต้องสอนเด็กอย่างนี้ ตามสมมุติอย่างนี้ เพื่อเราจะใช้ถ้วยนี้นาน ๆ
อันนี้เรารู้จักธรรมะ เอาธรรมะมาปฏิบัติ
ถ้าเห็นว่า อันนี้มันจะแตกอยู่แล้ว
เราบอก เออ! ช่างมันเถอะลูก กินแล้วก็ไม่ต้องล้างมันหรอก
จะตกก็ช่างมันเถอะ ไม่ใช่ของเราหรอก
เอาทิ้งไว้ที่ไหนก็ได้ มันจะแตกอยู่แล้ว อย่างนี้ก็เป็นคนโง่ไป
ถ้าเราเป็น "ผู้รู้สมมุติ" อันนี้
เมื่อมันเจ็บไข้...ก็หาหยูกยาให้มันกิน
เมื่อมันร้อน...ก็อาบน้ำให้มัน
เมื่อมันเย็น...ก็หาความอบอุ่นให้มัน
เมื่อมันหิว...ก็หาข้าวให้มันกิน
แต่ให้เรารู้ว่า ให้ข้าวมันกิน...มันก็จะตายอยู่
แต่ในเวลานี้ ยังไม่ถึงคราวจะตาย
เหมือนถ้วยใบนี้...ยังไม่แตก
ก็รักษาถ้วยใบนี้...ให้มัน "เกิดประโยชน์" เสียก่อน
หลวงพ่อชา สุภัทโท


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 11, 2016, 09:49:17 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20160411214848_luangpu_cha.jpg)

บางคนเกิดมามีชีวิตเหมือนไก่ตัวหนึ่งเท่านั้น ไก่เกิดมาโตขึ้นมีลูก พาลูกๆ คุ้ยเขี่ยหากินไปตามเรื่องราว ตกเย็นนอน เช้ามาก็กระโจนลงดินร้องกุ๊กๆ ออกหากินไป ตอนเย็นก็กลับมานอนอีกวันๆ หนึ่งทำอยู่อย่างนี้ ถ้ามนุษย์ใช้ชีวิตแบบนี้ ชีวิตจะมีประโยชน์อะไรไหม? ไม่มีประโยชน์ ก็เหมือนกับสัตว์ที่ไม่มีปัญญาเท่านั้นเอง คนเลี้ยงไก่ เขาจับมันยกขึ้นดูทุกวันๆ เอาอาหารให้กินเรื่อยๆ ไก่ก็นึกว่าเขารักเรา แต่เจ้าของเขาคิดว่านี่มันหนักเท่าไหร่แล้ว? พอจะเอาไปขายได้หรือยัง? เจ้าไก่ไม่รู้เรื่อง พอสอง-สามเดือนต่อมา เอาแล้ว...เขาเอาไปตลาดแล้ว
.
คนเราอยู่กันทุกวันนี้ก็คล้ายๆ อย่างนั้น ไม่ค่อยได้นึกถึงอันตรายชีวิต เพราะมัวแต่หลงไม่รู้เรื่องชีวิตตัวเอง จึงเหมือนกับไก่ในเข่งที่เขากำลังเอาไปขาย เขายกขึ้นรถก็ยังขันโอ๊กๆ สนุกสนาน ไปถึงที่แล้วเขาจับถอนขน ก็นึกว่าเขาทำความสะอาดให้ มันโง่ขนาดนั้น พอมีดเชือดเข้าไป โอ้!...มันตายนี่นะ ไม่เห็นชีวิตตัวเองไม่รู้จักแก้ไข จึงตายไปโดยไม่มีประโยชน์
.
เราทุกคนก็เหมือนกัน ไม่รู้จักพอ ดิ้นรนไปทุกสิ่งทุกอย่าง ดิ้นรนในการทำมาหากิน หาชื่อเสียงเกียรติยศ แต่หาในทางที่ชอบก็ยังดีนะ บางคนดิ้นรนไปอิจฉาพยาบาทเขา มันไม่ค่อยดี คนขาดการฟังธรรมก็เป็นอย่างนั้น มันโง่ไปเรื่อยแหละ เราอิจฉาคนอื่นอยู่ ก็หาว่าเขาอิจฉาเรา คนพวกนี้ไม่ค่อยรู้จักตนเอง เป็นปทปรมะบุคคล พระพุทธองค์ท่านไม่สอนคนจำพวกนี้ เพราะมันสอนไม่ได้เป็นคนที่ถูกท่านทิ้ง
.
ปทปรมะบุคคล ไม่ใช่คนไม่มีความรู้นะ เป็นคนมีความรู้อยู่ แต่ไม่ทำตามใคร ไม่ยอมเชื่อใคร ตาสีตาสา ไม่ได้เรียนหนังสือ...โง่! แต่ว่าเขาฟังถ้าครูบาอาจารย์แนะนำให้ทำอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างนี้ เขาก็ทำ ไม่โต้แย้งอะไรมาก นี่เป็นคนไม่ค่อยมีความรู้แต่พอสอนได้
.
แต่คนรู้แล้วไม่ทำ เป็นปทปรมะบุคคล เป็นคนใช้ไม่ได้ เพราะขาดธรรมะ ไม่สนใจธรรมะ
.
หลวงปู่ชา สุภัทโท