KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า => ทุกอย่างที่เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน => ข้อความที่เริ่มโดย: samarn ที่ พฤศจิกายน 21, 2008, 04:23:06 PM



หัวข้อ: ต้นไม้ในพุทธประวัติ : ไผ่ (Bamboo)
เริ่มหัวข้อโดย: samarn ที่ พฤศจิกายน 21, 2008, 04:23:06 PM
ไผ่ (Bamboo)

ไม้ไผ่นับว่ามีความสำคัญในพุทธศาสนาอยู่มากเพราะเป็นพระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า ?เวฬุวนาราม? โดยพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ถวาย ต่อมาพระอรหันต์ จำนวน 1,250 รูป ได้มาเฝ้า พระพุทธเจ้าที่พระเจ้าที่พระอารามนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือนสาม พระองค์ได้ถือเอาวันนี้เป็นวันประกาศ หลักสามประการของพระพุทธศาสนา เรียกว่า ?โอวาทปาฏิโมก? ชาวพุทธจึงได้ถือว่าวันนี้เป็น วันสำคัญเรียกว่า ?วันมาฆบูชา? สืบเนื่องกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

ไม้ไผ่มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด กล่าวกันว่าในโลกนี้มีไม้ไผ่ประมาณ 1,250 ชนิด ส่วนหนึ่งไม้ไผ่จะขึ้น
ได้ดีในประเทศที่มีอากาศร้อน ประเทศไทยและอินเดียก็มีลักษณะทางดินฟ้าอากาศใกล้เคียงกัน ดังนั้น จำนวนและชนิดของไม้ไผ่ในประเทศไทยและอินเดียก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก ในประเทศไทย เท่าที่มีผู้สำรวจแล้วปรากฏว่ามีอยู่ด้วยกัน 40 ชนิด ตามทางสัณนิษฐานแล้ว ?เวฬุวนาราม? ควรจะเป็นที่ราบลุ่ม ใช้เป็นทำเลสำหรับสร้างวัด ไม้ไผ่ที่ขึ้นในที่ราบและมีร่มใบพอจะใช้เป็นที่อาศัยได้ ก็มีอยู่ 2 ? 3 ชนิด เช่น ไม้ไผ่ไร่ (Gigntochloa albociliata Munro) ซึ่งเป็นไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ ขึ้นเป็นกอแน่น ไม่มีหนาม เมื่อถางใต้โคนแล้ว ก็ใช้เป็นที่พักผ่อนได้อย่างสบาย ชนิดต่อไปก็อาจเป็นไม้ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (Bambusa arundinacea  willd.) ก็ขึ้นอยู่ในที่ราบเช่นกัน ชอบขึ้นเป็นกอใหญ่ เป็นกลุ่มติดต่อกันไปเป็นบริเวณกว้าง แต่มีข้อเสียอยู่ที่ว่าเป็นไผ่ ที่มีหนามและมีเรียวซึ่งเต็มไปด้วยหนามออกมานอกกอเกะกะไปหมด ไผ่ป่าแต่ละกอล้วนเป็นกอใหญ่ ๆ ถ้าหากจะริดเรียวไผ่ที่โคนออก ก็จะใช้เป็นที่พำนักได้อย่างดี ซ้ำไผ่ป่ายังทำหน้าที่ป้องกันสัตว์อื่น ๆไม่ให้มารบกวน ด้วย ไผ่อีกชนิดหนึ่งซึ่งควรจะสัณนิษฐานว่าเป็นเวฬุวนารามไว้ด้วยก็คือ ไผ่สีสุก (Bambusa flexuosa Munro) ที่คนไทยนิยมปลูกไว้สำหรับใช้ไม้และใช้หน่อสำหรับรับประทาน เป็นไผ่ที่ชอบขึ้นตามที่ราบ มีกอใหญ่และลำยาว สามารถให้ร่มได้ดี แต่การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของไผ่สีสุกไม่ค่อยดี นอกจากจะมีผู้นำไปปลูกไว้ ส่วนไม้ไผ่อื่น ๆ นั้นก็เป็นไผ่ที่ชอบขึ้นบนลาดเขา ซึ่งไม่ใช่ทำเลที่เหมาะสำหรับสร้างวัดวาอาราม ที่นี้จึงไม่ขอกล่าวถึง


(http://i233.photobucket.com/albums/ee89/micsci/multiply/pok-pud.jpg)