KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery => แนะนำวัดเก่า พาเที่ยววัด และตำนาน ประวัติของวัด => ข้อความที่เริ่มโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2015, 01:16:55 PM



หัวข้อ: วัดภูมินทร์ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2015, 01:16:55 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150224173823_img_4108.jpg)
วัดภูมินทร์
วัดภูมินทร์ อยู่ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั่งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่าน นอกจากนี้ฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุดสมัยที่ผ่านมาความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ คือ เป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจัตุรมุข (กรมศิลปากร ได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจัตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน ภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปกรรมไทลื้อ ที่เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150224173835_img_4121.jpg)
ประวัติของวัด
ตามพงศาวดารเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ หลังจากที่พระองค์ทรงครองนครน่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่า เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างแต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2410 หลังจากที่สร้างมา 271 ปี โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน โปรดให้ซ่อมแซมครั้งใหญ่แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2418 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150224173922_img_4133.jpg)
สิ่งน่าสนใจ
วิหารจัตุรมุข เป็นงานสถาปัตยกรรมล้านนาแบบพิเศษ ที่มีความงดงามอยู่อย่างลงตัว โดยนำโบสถ์และวิหารมาสร้างรวมเข้าเป็นอาคารเดียวกัน รูปจัตุรมุข มีบันได และประตูออกทั้งสี่ทิศ ที่ราวบันไดเป็นปูนปั้นรูปพญานาค หันเศียรนาคขึ้นสู่เบื้องบน ภายในวิหารมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ หันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน บ่ายพระพักตร์สู่ประตูทางเข้าทั้งสี่ทิศ เบื้องหลังพระปฤษฎางค์เป็นฐานเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150224173951_img_4141.jpg)
จิตรกรรมฝาผนัง  ภาพวาดปรากฏอยู่บนผนังด้านในวิหารจัตุรมุขทั้งสี่ด้าน ผนังด้านทิศเหนือ ตะวันออก และใต้ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย มีพระสาวกนั่งข้างละสององค์ สันนิษฐานว่าคงเป็นตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนา และต่ำลงมาได้เขียนเป็นภาพขนาดเล็กเล่าเรื่อง “คันธกุมารชาดก”ต่อเนื่องกันตลอดทั้งสามด้าน ส่วนผนังด้านทิศตะวันตก ตอนบนเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานในปางไสยาสน์ มีพระสาวกแสดงอาการเศร้าโศกอยู่สี่องค์ ตอนล่างลงมาเป็นภาพเล่าเรื่อง “พระเตมีราชชาดก” นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมซึ่งโดดเด่นเป็นพิเศษคือ ภาพเหมือนบุคคลและภาพวิถีชีวิตชาวน่านในอดีต ที่น่าสนใจ ได้แก่

1. ภาพบริเวณยอดเสาซ้ายมือของประตูด้านทิศตะวันออก นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพเหมือนของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
ผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้

2. ภาพผนังขวามือของประตูทางทิศเหนือ เป็นภาพชายหญิงกลุ่มหนึ่งยืนหยอกเย้า เกี้ยวพาราสีกัน แสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่และการแต่งกายในอดีต สังเกตว่าช่างได้ใส่อารมณ์ความรู้สึกลงบนใบหน้าคนในภาพอยู่างเต็มที่ ซึ่งต่างกับงานจิตรกรรมฝาผนังในภาคกลางอยู่างสิ้นเชิง เป็นภาพที่มีชื่อเสียงและงดงามมาก พลาดชมไม่ได้

3. ภาพที่ยอดเสาขวามือของประตูด้านทิศตะวันตก เป็นภาพชายวัยกลางคนมีเคราดก ใบหน้าคล้ายชาวตะวันตก สวมเสื้อสีแดง สวมหมวก และสะพายย่าม สันนิษฐานว่าเป็นมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150224173847_img_4122.jpg)
4. ภาพบนผนังซ้ายมือของประตูด้านทิศตะวันตก เป็นรูปชายหนู่มหญิงสาวกำลังเกี้ยวพาราสีกัน ชายเปลือยอก เห็นรอยสักเต็มไปทั้งแขน ไหล่ หน้าอก พุง และหน้าขา เป็นการสักตามสมัยนิยม อันเป็นที่มาของการเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ลาวพุงดำ” ตำแหน่งของภาพจงใจเขียนให้อยู่ข้างหลังประตู และเขียนอยู่างประณีตมาก น่าจะเป็นภาพเหมือนของช่างวาดเอง ภาพนี้จัดเป็นภาพชิ้นเยี่ยม

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150224174006_img_4147.jpg)
5. ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่ จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำ ไปป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน

6. ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง

7. ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ” ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150224174120_img_4153.jpg)
8. ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น

ที่ตั้ง ในตัวเมือง ต. ในเวียง อ. เมือง ใกล้ภิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดน่าน


หัวข้อ: Re: วัดภูมินทร์ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2015, 01:28:27 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150224173901_img_4125.jpg)
อีกมุมภายในอุโบสถ ครับผม

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150224173936_img_4139.jpg)

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150226132324_img_4107.jpg)
ด้านหน้าอุโบสถ

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150226132357_img_4131.jpg)

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150226132511_img_4115.jpg)

ดูรูปเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://www.kammatan.com/gallary/index.php?x=browse&category=117 (http://www.kammatan.com/gallary/index.php?x=browse&category=117)