KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 => กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 => ข้อความที่เริ่มโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 28, 2014, 03:15:01 PM



หัวข้อ: แนะนำวิธีการเดินจงกรม โดยคุณมาลี ปาละวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 28, 2014, 03:15:01 PM
แนะนำวิธีการเดินจงกรม โดยคุณมาลี ปาละวงศ์

http://www.youtube.com/watch?v=lZ5F3BICubM#t=11 (http://www.youtube.com/watch?v=lZ5F3BICubM#t=11)

เวลาที่เราเดิน ที่หัวจงกรม มือไม่ไขว้หน้า มือไม่ไขว้หลัง แต่ไม่ใช่หมายความว่าถูกสำหรับทุกคน แล้วเหมาะกับทุกคน

เวลาที่เราเดิน คุณเดินช็อปปิงท่าไหน คุณเดินท่านั้น คุณเดินเข้าห้องน้ำท่าไหน เดินท่านั้น เราถึงจะเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง การเดินจงกรมเป็นกรรมฐานที่เคลื่อนไหว หลวงปู่ดูลย์ท่านเขียนไว้ในหนังสือท่านเลย “สมาธิที่หยั่งลงถึงความสงบแล้วด้วยการเดินจงกรม จะมีกำลังมากกว่านั่งหรือนอน” แล้วเราสามารถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงๆ

หลายๆ ท่านที่เดินจงกรมแล้ว ลองกลับไปสังเกตว่า เรารู้สึกตัวได้จริงไหม ถ้าการเดินจงกรมของคุณถูกต้อง เวลาที่คุณอยู่ในชีวิตประจำวัน แค่เท้าขยับ จิตมีสติตื่น เราเรียกว่า alert ตื่นขึ้นเลย คุณนั่งอยู่บนโต๊ะทำงาน แค่คุณสะบัดปากกา จิตจะตื่นเลย ถ้าคุณถูกต้อง แต่ถ้าคุณไปสังเกตแล้วมันไม่เกิดอาการเหล่านี้เลย ให้ดูไว้ก่อน เราต้องผิดตรงไหนสักอย่างหนึ่ง

วิธีที่ผิด ส่วนใหญ่ที่หัวจงกรมกับท้ายจงกรม ก่อนเดิน มือไม่ไขว้หน้า มือไม่ไขว้หลัง คุณวางอย่างที่คุณเดินในชีวิตประจำวัน อย่างเวลาคุณเดินข้ามถนน ก่อนเดิน ทำความรู้สึกตัว

ทำความรู้สึกตัวเป็นอย่างไร ทุกคนลองหลับตา จะให้ลองรู้ว่ารู้สึกตัวเป็นอย่างไร รู้สึกไหมว่าเย็น ถ้ารู้สึกพยักหน้า พยักหน้าขึ้นลงก็ได้ ส่ายหน้าก็ได้ ให้หลับตาเพราะไม่อย่างนั้นเดี๋ยวคุณจะรู้สึกว่าคุณเห็นด้วยตาเนื้อ ความรู้สึกตัว คือความรู้สึกข้างใน เรารู้จากจิต พยักหน้าขึ้นลงเลยค่ะ เอาสบายๆ ไม่ต้องบังคับว่าต้องเป็นจังหวะ ขวาซ้ายก็ได้ แล้วแต่ชอบแบบไหน ลองดู

ลองยิ้ม แล้วเปิดตา เปิดด้วยความสดใสเพราะเรายิ้ม รู้สึกตัวเป็นแบบนั้น ไม่ใช่ต้องแน่นๆ ต้องชัดๆ ต้องดีๆ นึกออกไหมนักภาวนา เวลาดูลม รู้สึกต้องชัดๆ รู้สึกว่าต้องดีๆ เอาแค่นี้ ความรู้สึกตัวคือแบบนี้ เรารู้สึกถึงตัวนี้ว่ายืนอยู่ เหมือนที่ในขณะนี้ทุกท่านรู้สึกว่าตัวนี้นั่งอยู่ แค่รู้สึกแค่นั้น เย็น รู้ว่ามันเย็น แค่นี้จบแล้ว จากนั้นคุณเดิน…

(ลุกขึ้นเดินให้ดู)

เดินท่าไหนเดินท่านั้น
พอถึงปลายจงกรม
หยุด
ยังไม่ทำอะไร แค่รู้สึกว่าตัวนี้หยุดแล้ว ตัวนี้ยืนอยู่ แล้วก็หมุน
ธรรมชาติ ไม่ต้องมีจังหวะ ไม่ต้องมีบัลลังก์ รู้สึกตัว

พอรู้สึกตัวเสร็จ ยังไม่เดิน ถ้าคุณหมุนแล้วคุณเดินเลยตอนนี้จิตกระเด็นเลย เพราะเดินด้วยความโลภ เพราะจิตไปก่อนกาย กายกับใจเนื่องกัน คุณทำความรู้สึกตัว ตัวนี้ยืนอยู่ แล้วเราก็เดิน

คำถามยอดฮิตที่คนจะถามตลอด ว่าระหว่างเดิน เอาจิตไปไว้ตรงไหน ?
ในระหว่างที่เราเดิน จิตจะมาเห็นกายที่เดิน เราก็รู้ว่าเห็นกาย จิตจะเห็นว่าไหลไปคิด ก็รู้ว่าไหลไปคิด แล้วแต่ว่าตอนนั้นอะไรเด่น จิตตอนนั้นถ้าอะไรเด่น รู้ว่ามันเด่น เราไม่สนใจ เพราะในระหว่างนั้นเป็นเวลาที่เรามารู้ความจริงของกายกับใจ

ทีนี้เวลาเราเดินไปสักพัก เดี๋ยวสติจะค่อยๆ กลับ สติจะถี่ขึ้นๆ เราจะเห็นเลย เดี๋ยวมันก็ไหลไปคิด พอไหลไปคิดบ่อยๆ เราดูไม่ทันแล้วตอนนั้นกลับมาดูเลยว่าจิตเค้าฟุ้งซ่าน พอจิตเค้าฟุ้งซ่านแล้วเป็นยังไง ไปดูเลยว่าไม่ชอบ ใจเราไม่ชอบฟุ้งซ่าน ไม่ใช่ไปดึงกลับมา นึกออกไหม พอดึงกลับมามันจะแน่น ให้เรารู้แบบนี้ แล้วเราก็เดินเล่นๆ อย่างนี้ ธรรมะนะ ธรรมชาติ ธรรมด๊าธรรมดาของกายกับใจเรา ไม่ใช่ของคนอื่น ไม่ใช่ไปดูคนอื่น เราดูตัวเรา

เพราะฉะนั้นเราเดินไปแบบนี้ รูปเคลื่อนไหว ใจเราเป็นคนดู เราเห็นตัวนี้เดินเหมือนหุ่นยนต์ แล้วเราก็หยุด ทำความรู้สึกตัว ตัวนี้ยืนอยู่
หมุน แล้วก็รู้สึกตัว แล้วก็เดิน เดินธรรมชาตินี่ล่ะ

ทีนี้อย่าคาดหวังว่า เวลาเราเดินแล้วจิตต้องสงบ จิตต้องไม่ฟุ้งซ่าน วันหนึ่งเราทำงานทั้งวัน นึกออกไหม เดี๋ยวเรื่องนั้นก็ผุด ลูกคนนั้นบอกนี่ ลูกค้าคนนี้จะเอานั่น เดี๋ยวพรุ่งนี้ลูกน้องเราจะเอานี่ พรุ่งนี้เราต้องประชุม นี่มันจะไหลไปคิดแบบนี้ เรามีหน้าที่รู้ว่าเค้าไหลไปคิด ไม่ได้มีหน้าที่ให้รู้ว่าต้องสงบ ต้องไม่คิด ทำแบบนี้ล่ะ

หลวงพ่อขอแค่วันละ 10 นาทีแค่นี้ เวลาที่เราทำรูปแบบสำคัญคือความต่อเนื่อง ไม่ใช่ปริมาณ บางคนตั้งใจเลยพรรษานี้ฉันจะทำวันละ 1 ชั่วโมง นึกออกไหม พอทำวันละชั่วโมง 3 วันแรกทำได้ 7 วันแรกทำได้ พอวันที่ 10 เริ่มจะไม่ถึงชั่วโมงแล้ว แต่ก็ยังชั่วโมงอยู่ เพราะว่าเราตั้งไว้ แต่ตอนนั้นคุณจะทำด้วยความอึดอัดมาก ทำด้วยความกดข่ม มันไม่สบายแล้ว พอไม่สบายมันจะไม่เห็นสภาวะจริงๆ ของกายกับใจว่าเขาทำงานอย่างไร นึกออกไหม เพราะฉะนั้นในทางกลับกัน สมมติว่าพรรษานี้ ฉันจะทำทุกวัน ทำทุกวันเลย หลวงพ่อบอกขอ 10 นาทีใช่ไหม เราจะทำ 10 นาที วันนี้เราทำได้ 15 นาที อีก 5 นาทีเป็นกำไร หยอดกระปุกไว้ก่อน แต่ถ้าคนทำชั่วโมงหนึ่งนะ เกิดหย่อนเหลือ 45 นาที จิตมันยังเศร้าหมองอยู่เลย นึกออกไหม แต่ถ้าทำ 10 นาที ทำได้ 15 นาที ใจเป็นอย่างไร อิ่มบุญ นึกออกไหม นี่ทำได้ตั้ง 15 แล้วนะ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะทำอีก คนที่ทำถูกหลัก จิตจะมีฉันทะ แล้วคราวนี้ล่ะ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มาเอง