KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน => ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา => ข้อความที่เริ่มโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 02, 2012, 02:45:05 PM



หัวข้อ: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 02, 2012, 02:45:05 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20121002144446_2.jpg)

ยาพิษ ไม่ได้เป็นโทษอยู่ที่ยา มันเป็นโทษที่ตัวเราเองหรือผู้ที่กินเข้าไป
เพราะ ความโง่ คืออวิชชาไม่รู้จักพิจารณาว่าสิ่งใดดีหรือชั่ว คือผู้ไม่รู้เท่าในอารมณ์ 5

ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะเรื่องยาพิษ โดย ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 05, 2012, 09:12:31 PM
"..เราบอกกับตัวเองว่า อยากได้ความสุข
แต่ เราก็โดดเข้าไปสู่กองไฟร้อน
เรารู้ว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นยาพิษ แต่เราก็ดื่มมันเข้าไป
นี่แหละ เป็นการทรยศต่อตัวเอง.."

หลวงพ่อลี ธัมมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะเรื่องยาพิษ โดย ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2013, 03:26:44 PM
"ความสุขที่แท้จริงนั้น ย่อมเกิดจาก บุญกุศลคือความสงบที่เกิดขึ้นในจิตใจ
ใจที่พ้นจากทุกข์โทษความดิ้นรน ไม่มีกระสับกระส่ายเดือดร้อนกระวนกระวายถ้าใครมานั่งหลงโลกติดโลก
ว่ามันเป็นของดีวิเศษวิโสอยู่นั่นมิใช่นิสัยของบัณฑิต ผู้ใฝ่ใจในธรรมของพระพุทธเจ้า"

เพราะฉะนั้น เราจงพากันตั้งอกตั้งใจประกอบบุญกุศลเพื่อจะให้เป็นทางที่พ้นไปจากโลกนี้
นั่นแหละจะเป็นหนทางที่ถูกต้อง

...........ท่านพ่อลี ธมฺมธโร........


หัวข้อ: Re: ธรรมะเรื่องยาพิษ โดย ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 17, 2013, 08:41:02 PM
สมาธิ คือจิตที่แน่นอยู่ในอารมณ์เดียวเรียกว่า “สมถะ” จิตที่ไม่ติดต่อกับสิ่งใด
มีความสะอาด ปราศจากอารมณ์ภายนอก มีสติสัมปชัญญะ รู้รอบคอบ
ปลดปล่อยอารมณ์เสียได้ เรียกว่า “วิปัสสนา” เมื่อสมาธิซึ่งประกอบด้วยวิปัสสนาเกิดขึ้น
ความเป็นใหญ่ เป็นอิสระในตัวทั้ง ๕ อย่างก็จะบังเกิดขึ้นพร้อมกันคือ

๑. ”สัททินทรีย์” ศรัทธาความเชื่อก็เข้มแข็งมั่นคง ใครจะมาพูดดีหรือไม่ดีอย่างไร ใจก็ไม่หวั่นไหว

๒. “วิริยินทรีย์” ความพากเพียรก็แก่กล้า ถึงใครจะมาสอนให้หรือไม่สอนให้ ก็ทำไปเรื่อย ไม่ท้อถอยหรือหยุดหย่อน

๓. “สตินทรีย์” สติก็เป็นใหญ่ เป็นมหาสติ ไม่ต้องไปข่มไปบังคับ มันก็แผ่จ้ากระจายไปทั่วตัวเหมือนต้นไม้ใหญ่
กิ่งก้านใบของมันย่อมจะแผ่สาขาลงมาคลุมลำต้นของมันไว้ และพัดกระพือขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครไปจับเขย่าหรือดึงยอดมันลงมา
ความรู้ของเราก็จะจ้าไปหมด ทั้งยืนเดิน นั่ง นอนทุกอิริยาบถ มันรู้ของมันได้เองโดยไม่ต้องไปนึก
ความรู้รอบอย่างนี้แหละเรียกว่า ”มหาสติปัฏฐาน”

๔. “สมาธินทรีย์” สมาธิของเราก็เป็นใหญ่ จะทำอะไร ๆ อยู่ก็ตาม จิตก็ไม่มีวอกแวก ถึงจะพูด
จะคุยกันให้ปากอ้าออกไปตั้งวา ใจก็คงที่เป็นปกติอยู่ กายมันจะอยากกิน อยากนอน อยากนั่ง
อยากยืน อยากเดิน อยากวิ่ง อยากนึก อยากคิด อยากพูด อยากทำก็ทำไป ช่างมัน หรือว่ากายมันจะเจ็บ
จะป่วย จะปวด จะเมื่อยที่ตรงไหนก็ให้มันเป็นไป จิตใจก็ตั้งเที่ยงอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่วอกแวกไปทางอื่น

๕ “ปัญญินทริย์” ปัญญาความฉลาดรู้ก็เป็นให้เกิดขึ้นในตนเอง
อาจสามารถที่จะทำดวงจิตของตนให้บรรลุธรรมสำเร็จมรรคผลเป็นโสดา สกิทาคา อนาคาจนถึง อรหันต์ ก็ได้

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จ.สุมทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะเรื่องยาพิษ โดย ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 25, 2013, 12:51:10 PM
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ

บุคคลที่จะพ้นไปจากโลก บรรลุถึงพระนิพพาน ต้องอาศัยความเพียรเป็นรากเหง้า
ความเพียรจัดเป็นเครื่องดึงดูด ผลักดันบุคคลผู้นั้น ให้ก้าวไปสู่พระนิพพาน นี่พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะเรื่องยาพิษ โดย ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 24, 2013, 11:27:55 PM
"พุทโธ ธมฺโม สงฺโฆ"นั้น
เป็นเพียงวัตถุหรือเครื่องหมายของพระ
ไม่ใช่องค์พระจริง ๆ ส่วนองค์พระจริง ๆ นั้นคือ "สติ"

โอวาทธรรมโดย
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะเรื่องยาพิษ โดย ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 10, 2013, 08:14:48 PM
"รักษาศีล ๘ ก็กลัวจะหิวข้าวเย็น
กลัวจะไม่ได้ทาน้ำอบหอม
กลัวไม่ได้นอนเบาะฟูกสบาย
จะนั่งสมาธิ ก็กลัวเมื่อย เลยไม่กล้า ทำความดี
นี่แหละ เป็นการรักตัวเองไม่จริง
เป็นการเบียดเบียนตัวเอง โดยมองไม่เห็นแล"

โอวาทธรรม
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะเรื่องยาพิษ โดย ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 13, 2013, 10:22:05 PM
"ผู้จะต้องถึง มรรค ผล นิพพาน ได้นั้น
จะต้อง "ทำทางใจ" ถ้าไม่ทำทางนี้แล้ว
จะทำ การกุศลสักเท่าไร
ก็ถึง มรรค ผล นิพพาน ไม่ได้

นิพพานนี้ จะต้องถึงด้วย
ข้อปฏิบัติทางใจ เท่านั้น
ที่เรียกว่า "ศีล สมาธิ ปัญญา"
ศีล เป็นเหตุ แห่งสมาธิ
สมาธิ เป็นเหตุ แห่งปัญญา
ปัญญา เป็นเหตุ แห่งวิมุตติ

"สมาธิ" เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นที่ตั้ง
แห่ง "ปัญญา-และ-ญาณ"
อันเป็นองค์สำคัญ ของมรรค
แต่จะขาดสมาธิไม่ได้ ถ้าขาดแล้ว
ก็ได้แต่ จะคิดๆ นึกๆ เอา ฟุ้งซ่านไปต่างๆ
ปราศจาก หลักฐานสำคัญ"

โอวาทธรรม
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ



หัวข้อ: Re: ธรรมะเรื่องยาพิษ โดย ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 22, 2013, 09:59:34 PM
@..ลักษณะของ "อริยะบุคคลโสดาปัตติผล"..@

แม้ก่อนหน้าจะชั่วเลวมาขนาดไหน แต่ปัจจุบัน
ปฏิบัติธรรมจนถึงขั้น"โสดาบัน" ย่อมพ้นจากนรก
ไม่ลงนรก ไม่ต้องไปเกิดในภูมิที่ทรมาน
ปิดอบายภูมิทั้ง4คือ นรก เปรต อสุรกาย
สัตว์เดรัจฉาน

"โสดา" แปลว่า เป็นผู้เข้าถึงกระแสธรรม คือ
ปากช่องของพระนิพพานขั้นแรก
ถ้าจะย่นกล่าวก็คือ เป็นผู้ตัดสังโยชน์ 3 ที่หยาบๆ
ได้ขาดเป็น"สมุจเฉทประหาร"

-เป็นผู้มี "ศรัทธา ความเชื่อ เลื่อมใส" ในคุณ
"พระรัตนตรัย" อย่างมั่นคง-->นี้หนึ่ง

-เป็นผู้ที่มี "จาคะธรรม" ประจำใจ ไม่ประมาท
ไม่ลุแก่ความหลง-->นี้หนึ่ง

-เป็นผู้มี "ศีล" เป็นที่รักของตนยิ่งกว่าชีวิต
ตลอดทั้งชีวิตนี้รักษาศีล5ไม่ด่างพร้อย
เป็นอย่างน้อย "รักศีล"ยิ่งกว่าชีวิตตน
ยอมตายดีกว่าถ้าจะให้ผิดศีล-->นี้หนึ่ง

-เป็นผู้ไม่มีใจเจตนา ที่จะทำชั่วอันหยาบคาย อีกได้เลย
แต่ชั่วก็มีอยู่ คือ เป็นของเดิมที่ยังค้างอยู่
แต่ถึงอย่างนั้น ก็มิได้ให้อกุศลขึ้นหน้าได้อีก

-อธิบายสังโยชน์ 3 ที่"พระโสดาบัน"ละได้นั้น คือ-

1. "สักกายทิฏฐิ"
ถอนความคิดเห็นผิด อันเป็นเหตุให้เข้ายึดถือในรูป
คือ สกลกาย นั้น ว่า เป็น ตัวตน เสียได้

2. "วิจิกิจฉา"
ถอน"ความสงสัยลังเลใจ"ในนามรูป และ
สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้แล้ว
ใครจะมาคัดค้านว่า "ความตรัสรู้ไม่มี ว่าการ
ปฏิบัติด้วย"ศีล สมาธิ ปัญญาไม่ได้ทำให้ถึง
มรรคผลนิพพานเลย" หากมีใครมากล่าวตู่เช่นนี้

แต่"ปัญญาของโสดาเห็นแน่แล้ว" ท่านมิได้
เชื่อคำเช่นนั้นเลยคือ เป็นผู้มีความเห็นเป็น
อกาลิโก มรรคผลไม่มีกาล ปัจจัตตัง
รู้เฉพาะตัวอย่างเดียว เชื่อแน่ไม่สงสัย
มีความรู้มั่นไม่เหลวไหล

3. "สีลัพพตปรามาส"
ถอนความเชื่อถืออันศักดิ์สิทธิ์แห่งนามรูป
ภายนอกและภายใน ไม่ลูบคลำศีลพรต
ของตนอีก (กิริยามารยาท) ทำอะไรย่อมรู้เหตุ
และผลเสมอ มิได้ทำด้วยความมืด เพราะเป็น
ผู้เชื่อกรรมการกระทำของตน เป็นใหญ่ด้วย

"กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม" ที่ตนทำนี้
"ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" เชื่อมั่นต่อคุณ
"พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์" ที่ปรากฏในตน
"ไม่ลูบคลำในศีล"ของตนอีกต่อไป เป็นผู้มีศีล
บริสุทธิ์มิได้เศร้าหมองเลย

ตัดสังโยชน์ 3 ด้วย"ศีล สมาธิ ปัญญา"
ที่"กาย วาจา ใจ" ดับลง..

_/|\____โอวาทธรรม ท่านพ่อลี ธมฺมธโร______/|\_


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 21, 2013, 11:19:23 AM
พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ เรื่องของการอ้อนวอน
ร้องขอ หรือ ให้กันได้ ทุกคน จะต้อง ทำ
ด้วยตน ของตนเอง จึงจะได้รับผล

นิพพานนี้ จะต้องถึงด้วย ข้อปฏิบัติ
ทางใจเท่านั้น ที่เรียกว่า "ศีล สมาธิ ปัญญา"

ท่านพ่อลี ธัมมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 11, 2014, 12:50:35 AM
"เราบอกกับตัวเองว่า อยากได้ความสุข
แต่เราก็โดดเข้าไปสู่กองไฟร้อน
เรารู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็นยาพิษ แต่เราก็ดื่มมันเข้าไป
นี่แหละ เป็นการทรยศต่อตัวเอง"

ท่านพ่อลี ธัมมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 15, 2014, 04:05:17 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20140115160453_luangpor_lee.jpg)

" ถ้าใครไม่จริงกับพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาก็ไม่จริงกับผู้นั้น
และผู้นั้นก็รู้จักพระพุทธศาสนาที่แท้จริงไม่ได้
เหตุนั้น ท่านจึงสอนให้ทำสิ่งใดด้วยการทำจริง
ทานก็ทานให้จริง ศีลก็ศีลให้จริง
ภาวนาก็ภาวนาให้จริง อย่าทำเล่น ๆ
แล้วผลแห่งความจริงก็ย่อมจะเกิด
จากการกระทำเหล่านี้ ไม่ต้องสงสัย "


ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 10, 2014, 10:32:11 PM
" ถ้าเราปรารถนาจะได้ความสุขอันเป็นยอดของมหาสมบัติทั้งปวง
ก็ต้องกระทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา ให้พร้อมบริบูรณ์ "

ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 10, 2014, 11:40:27 PM
๔๘๗.) ชีวิตที่เกิดกษัตริย์เมืองลังกาวัฎฏคามิณี พ.ศ.๔๓๓ ปี ได้อุปถัมภ์ทำสังคายานาครั้งที่ ๕ ได้นิมนต์พระสงฆ์เถระทั้งสองฝ่าย ๖,๐๐๐ รูปมาร่วมกันชำระบันทึกพระไตรปิฎก แต่ก่อนนั้นมุขปาฐะท่องจำกันมา และในช่วงนั้นก็เกิดสงครามแย่งชิงราชบัลลังค์ บ้านเมืองวุ่นวาย ต้องหลบไปอยู่ภูเขาวัดของพระมหาเถระหมู่หนึ่ง
ในบริเวณวัดนั้นมีน้ำหนองใหญ่ เขากั้นเป็นชลประทานไว้ หมู่พระเณรก็ใช้น้ำหนองนั้นอาบใช้อยู่กิน แบ่งเขตของภิกษุณี นางสิกขามานาออกไป พวกนางสิกขามานาและคนข้าวัดก็ทำการเพาะปลูกเอาไว้กินกันเอง อยู่กับพระเณรในวัดนั้น จนบ้านเมืองสงบลงขาดผู้ครองเมืองจึงได้มาขอให้กลับไป ครองราชย์ก็จะเรื่องอะไร เครือญาติเชื้อพระวงศ์แก่งแย่งกัน เราก็ประกาศว่า ข้าฯไม่อยากได้ไม่ต้องการที่จะเป็นหรอกกษัตริย์ ใครอยากได้ก็จงเป็นเถิด ว่าแล้วได้ม้าขี่พร้อมมหาอำมาตย์คนหนึ่งก็หนีออกไปด้วยกัน ไปถึงวัดแล้วพระเณรท่านห้ามมิให้บวช ให้รออยู่ก่อน จนกว่าบ้านเมืองจะสงบ กลับออกไปครองบ้านเมือง บูรณะบ้านเมือง จัดการจนบ้านเมืองสงบปกติดีแล้วก็มา จัดการเรื่องศาสนาชำระพระไตรปิฎก จารึกบันทึกเอาไว้

จารึกพระพุทธพจน์ก่อน แล้วก็จารึกพระวินัย ใช้เวลาอยู่ ๑๑ เดือนจึงแล้วเสร็จบริบูรณ์ จากนั้นก็บูรณะปฏิสังขรณ์ สร้างวัดวาอาราม บรรจุพระไตรปิฎกเอาไว้หลายสิบแห่งรวมอยู่นั้นได้ ๑๗ ปีจึงหยุด พระเถระผู้เป็นหัวหน้าชื่อ พุทธรักขิตตเถระ เป็นคนสูงใหญ่ล่ำสัน ผิวดำแดง เป็นผู้แม่นยำมากในพระธรรม พระวินัย เป็นพระอรหันต์แบบปฏิสัมภิทัปปัตโต อีก ๒ องค์นั้น พระธรรมรักขิตตเถระองค์นี้เก่งพระสูตรพระพุทธพจน์อีกองค์หนึ่ง พระสังฆรักขิตตเถระ เก่งในพระวินัย พระเถระเจ้า ๓ องค์นี้เป็น ๓ พี่น้อง เป็นญาติทางแม่ของพระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นละ พระเถระพากันไปนิพพาน เหลือแต่วัฎฏคามิณีและอำมาตย์และม้าตัวนั้น เวียนว่ายตายเกิด เร่ร่อนอยู่ในโลกทุกข์ หาทางออกจากทุกข์ต่อไป ”

๔๘๘.) “ สังคยานาครั้งที่ ๓ นั้นผู้ข้าฯ เกิดเป็นหลานของพระเจ้าอโศกมหาราชได้ช่วย เหลือในการงานต่าง ๆ ในครั้งนั้น ท่านอาจารย์ลี (ธมฺมธโร) วัดอโศการามเกิดเป็นพระเจ้าอโศกเมืองปาฎลีบุตร แคว้นมคธ ทำอยู่ ๙ เดือน แต่เดือน ๘ - ๙ - ๑๐ - ๑๑ - ๑๒ - ๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ ย่างเข้าเมษาหน้าร้อนจึงแล้วเสร็จจัดของถวายสงฆ์ ๖,๐๐๐ รูปทั้งภิกษุณีอีก หมู่พระเถระในที่ประชุมสังคยานาคัดเลือกเอา ๑,๐๐๐ รูปนอกนั้นอยู่รอบนอก สาเหตุมาจากสงครามมาหลายปี บ้านเมืองเดือดร้อน ผู้คนไม่อยากเป็นทหารก็เลยหนีเข้าบวช
ปลอมเป็นพระเป็นนักบวชในลัทธิต่าง ๆ บวชปลอมแล้วก็ตั้งอยู่กันเป็นหมู่เป็นก๊ก อิเหละเขละขละไปตามเรื่อง ชอบอย่างใดก็อยู่ไปกินไปอย่างนั้น จึงได้นิมนต์พระโมคคัลลีบุตรมาช่วย คัดเลือกพระจริงพระปลอม ให้พวกปลอมตัวสึกไป แต่ในครั้งนี้ได้ชำระพระวินัยก่อน แล้วชำระพระสูตร พระอภิธรรม ชำระไปได้เท่าใดแล้ว ก็ให้จัดสอนให้พระสงฆ์สามเณร ภิกษุณีสิกขามานา อุบาสกอุบาสิกา พากันท่องจำทรงไว้ พระวินัยใครพอใจก็ให้ท่องไว้ ให้มีลำดับอายุ ๓ ระดับ
อายุแก่
อายุปานกลาง
อายุยังน้อยยังหนุ่ม
ใครพอใจพระสูตรก็เป็นหมู่พระสูตร
ใครพอใจพระอภิธรรมก็เป็นหมู่พระอภิธรรม
๙ เดือนแล้วเสร็จ แล้วจากนั้นก็ส่งพระธรรมทูตไปในทิศต่าง ๆ ตำราเขากล่าวไว้ ๘ สาย แต่ที่จริงกระจายออกไปมากกว่านั้น ก่อสร้างวัดวาอารามนับได้ครบ ๘๔,๐๐๐ วัดแล้วก่อสร้างที่เก็บรักษาพระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ ให้กระจายไป แต่ละรายก็จัดให้ไปครบทั้ง ๓ หมู่

ท่านอาจารย์ลี พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้เป็นลุงจ่ายเงินออกไปจนหมดคลังหลวงบำรุงพระพุทธศาสนา หมู่เศรษฐี คหบดี สละทรัพย์เข้าคลังคงที่มาอีก เริ่มตั้งแต่นับ พ.ศ มาเรื่อยมา มีพระเจ้าอโศกมหาราชองค์เดียวองค์นี้ล่ะที่ตั้งใจในพระศาสนา แต่ก่อนที่จะมาเป็นมหาราชธรรมได้ก็ใช้ดาบตัดคอคนจนนับมิได้ เกิดตายว่ายเวียนมาจนถึงท่านอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม นั่นล่ะชีวิตของเพิ่นจึงได้เกี่ยวข้องกับพระธาตุของพุทธะ ของพระอรหันต์ บาปฆ่าคนเหล่านั้น มาชีวิตนี้อายุสั้น ๕๕ ปี เพราะอานิสงส์ทำสงครามของเพิ่น ”

***คัดจากธรรมประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ : วัยสุดท้ายบ่พ่ายแพ้แก่ตน


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 13, 2014, 10:33:48 PM
" อย่า หายใจเปล่า
ให้หายใจเอา "พุทโธ" เข้าออก
เหมือนน้ำไหลเข้าไปในร่างกาย
ใจของเรา ก็จะเย็นสบาย เป็นสุข "

ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 03, 2014, 08:11:14 PM
"ท่านพ่อมีคาถาอะไรดีๆ ก็สอนให้ผมด้วย"
ท่านพ่อลี ธัมมธโร ตอบว่า
"คาถานั้นมีอยู่ แต่สู้ใจเราไม่ได้ ให้ตั้งใจบำเพ็ญเพียรให้สำเร็จคุณธรรม
เมื่อเราทำความเพียรอย่างสูงสุด เสียสละชีวิตแล้ว จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็ขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีของแต่ละคน"

ท่านพ่อลี ธัมมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 21, 2014, 12:31:59 PM
“ตัวเรา เปรียบเหมือนต้นไม้ ความยึดถือคือเถาวัลย์ ถ้าเรายินดีในรูป
มันก็มัดตา ยินดีในเสียง มันก็มัดหู ยินดีในธัมมารมณ์ มันก็มัดใจ
เมื่อเราถูกมัดทั้งหมด เราก็ต้องตาย บางคนตายไม่ทันใจ ยังต้องมัดคอตัวเองก็มี”

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 26, 2014, 09:26:08 PM
ความดีของโลกจะวิเศษวิโสอย่างไร ก็ไม่นานดอก แล้วมันก็ต้องแยกกันกับเรา
ไม่เหมือนสุขในทางธรรม คือ จิตสุข มันย่อมจะติดกับตัวเราไปเสมอ

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 01, 2014, 03:43:27 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/index.php?showimage=1629)

ในการนั่งภาวนาให้ทำลมให้แคบที่สุด อย่าให้จิตไปอยู่นอกตัว ถ้าเราเอาจิตไปอยู่กับคนอื่นสิ่งอื่น เราก็จะต้องได้รู้แต่เรื่องของคนอื่นสิ่งอื่น ส่วนเรื่องของตัวเองก็เลยไม่ได้รู้ได้เห็นอะไรเลย
       
       เราอยู่ใกล้กับสิ่งใดจะต้องสนใจกับสิ่งนั้น เราอยู่ใกล้คนใด ก็จะต้องสนใจกับคนนั้นให้มากที่สุด คนใดนั่งใกล้เรา ต้องสนทนาปราศรัยกับเขา อย่านั่งเป็นใบ้ ทำความคุ้นเคยสนิทสนมกับเขาไว้ ถ้าเราไม่พูดคุยทำไมตรีกับเขาไว้บ้าง เขาก็จะต้องไม่ชอบเรา และกลายเป็นศัตรูของเราไป นี้ฉันใด เรื่องร่างกายของเรานี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
       
       ธาตุเหล่านี้ก็ย่อมเปรียบเหมือนกับญาติหรือมิตรสหายของเรา เพราะเรานั่งนอนยืนเดินไปทางไหน เขาก็ติดตามเราไปทุกแห่ง ฉะนั้น เราต้องสนใจทำความรู้จักคุ้นเคยกับเขาไว้มากกว่าคนอื่น
       
       เมื่อสนิทสนมกันแล้ว นานๆไปเขาก็จะรักเราและช่วยเหลือเราได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเรามีมิตรที่ดีและซื่อตรงเช่นนี้ เราก็ย่อมจะปลอดภัยและมีความสุข
       
       ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่ เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษาให้มีความรู้สักเท่าไรๆ ก็ไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้ สู้การเรียนจิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆนี้ไม่ได้
       
       เรื่องของโลกยิ่งเรียนก็ยิ่งกว้าง เรื่องของธรรมยิ่งรู้ก็ยิ่งแคบ และรู้แคบเท่าไรก็ยิ่งดี ถ้ารู้กว้างออกไปมักฟุ้งซ่าน เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบ
       
       ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับการเดินไปในหนทางที่แคบๆ ย่อมจะไม่มีใครเดินสวนทางเข้ามาชนกับเราได้ ส่วนคนเดินตามหลังนี้ช่างเขา เมื่อไม่มีใครสวนทางเข้ามาข้างหน้าแล้ว คนที่จะเดินบังหน้าเราก็ไม่มี เราก็จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าออกไปได้ไกลที่สุด
       
       ฉันใด ผู้ทำจิตใจให้แคบเข้าละเอียดเข้า ก็จะเกิดความวิเวกสงบ เกิดแสงและเกิดวิปัสสนาญาณ มองเห็นอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ทุกอย่าง เหตุนั้น ท่านจึงว่าผู้มีวิปัสสนาญาณ เป็นผู้มีสายตาอันไกล
       
       คนที่ส่งจิตออกไปอยู่นอกตัว เปรียบเทียบกับคนที่เดินไปตามถนนกว้างๆ ถนนกว้างนั้น อย่าว่าแต่คนจะสวนทางเข้ามาได้เลย แม้แต่สุนัข และสัตว์ตัวโตๆ มันก็เดินสวนเข้ามาได้ ฉะนั้น จึงไม่ปลอดภัย จิตผู้นั้นก็จะมีแต่ความฟุ้งซ่าน เต็มไปด้วยนิวรณธรรม หาความสงบมิได้
       
       การทำจิตให้แคบ เปรียบอีกอย่างหนึ่งก็เหมือนกับการขุดหลุม ถ้าเราขุดหลุมเล็กๆ ก็ย่อมจะขุดได้ลึกและเร็วกว่าหลุมกว้างๆ ความเหน็ดเหนื่อยก็มีน้อย กำลังก็ไม่สึกหรอ ย่อมได้ผลดีกว่ากัน
       
       หรือจะเปรียบอีกอย่างหนึ่งก็เหมือนกับแม่น้ำ ถ้ากว้างมากก็มักไหลช้า และไม่แรง ถ้าแคบก็จะไหลเร็วและแรงด้วย หรือน้ำฝนที่ตกลงในที่กว้างย่อมกระจายไปทั่วในที่ต่างๆ น้ำก็จะไม่ขังในพื้นที่เหล่านั้นได้เท่าไร
       
       ถ้าตกลงมาเฉพาะในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแต่เพียงแห่งเดียวแล้ว มิช้าก็อาจจะท่วมท้นหัวคันนาได้ ฉันใด อำนาจแห่งจิตก็เช่นเดียวกัน ถ้ายิ่งแคบและละเอียดมากเท่าไร ก็ยิ่งมีกำลังแรงและคุณภาพสูงยิ่งขึ้น
       
       ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้เอาจิตมาจดจ่ออยู่กับลมหายใจอย่างเดียว ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องราวอื่นๆ ให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ในลมหายใจอย่างเดียว ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องราวอื่นๆ ให้มีสติสัมปชัญญะ อยู่ในลมเท่านั้น มันจะไม่ดี จะโง่ จะมืด จะหนาวอย่างไรก็ช่างมัน มุ่งดูลมอย่างเดียวจนจิตเป็นเอกัคคตารมณ์
       
       ต่อไปความรู้ก็จะผุดขึ้นในตัวของมันเอง ไม่ต้องไปนั่งคิดถึงว่าอะไรมันจะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความรู้เขาจะบอกเรื่องราวเหล่านี้แก่เราเองอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ไม่ใช่ความรู้ตามสัญญาที่ได้ยินเขาบอกเล่า แต่เป็นความรู้ซึ่งเกิดจากวิปัสสนาปัญญา
       
       จิตและลมของเรานี้มีอยู่ถึง ๕ ชั้น
       ชั้นที่ ๑ ลมหยาบที่สุด ได้แก่ ลมที่เราหายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” อยู่ขณะนี้
       ชั้นที่ ๒ ลมที่หายใจผ่านลำคอเข้าไป แล้วเชื่อมต่อกับธาตุต่างๆภายใน เกิดความสบายหรือไม่สบาย
       ชั้นที่ ๓ ลมหยุดนิ่งอยู่กับที่หมด ไม่วิ่งไปมา ทุกๆส่วนในร่างกายที่เคยวิ่งขึ้นบนลงล่างก็หยุดวิ่ง ที่เคยไปข้างหน้า มาข้างหลังก็ไม่ไปไม่มา ที่เคยพัดในลำไส้ก็ไม่พัด ฯลฯ หยุดนิ่งสงบหมด
       ชั้นที่ ๔ ลมที่ทำให้เกิดความเย็นและเกิดแสง
       ชั้นที่ ๕ ลมละเอียดสุขุมมากจนเป็นปรมาณูแทรกแซงไปได้ทั่วโลก มีอำนาจ ความเร็วและแรงมาก
       
       รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นี้ก็อยู่อย่างละ ๕ ชั้น เหมือนๆกัน เช่น เสียงหยาบ ชั้นที่ ๑ ก็ได้แก่ เวลาพูดจบแล้วดับไป ชั้นที่ ๒ พูดไปแล้วยังดังอยู่ถึง ๒-๓ นาที จึงจะดับ ชั้นที่ ๓ อยู่ได้นานมากแล้วจึงหายไป ชั้นที่ ๔ พูดแล้วถึงพรหมโลก ยมโลก และชั้นที่ ๕ เป็นเสียงทิพย์ พูดแล้วได้ยินอยู่เสมอ พูด ๑๐๐ ครั้ง ก็มีอยู่ทั้ง ๑๐๐ ครั้ง เสียงไม่สูญไปจากโลก เพราะอำนาจแห่งความละเอียด จึงสามารถแทรกแซงได้อยู่ได้ทุกปรมาณูในอากาศ
       
       ฉะนั้น ท่านจึงว่า รูป รส กลิ่น เสียง ไม่สูญไปจากโลก เพราะโลกนี้เปรียบเหมือนกับจานเสียงที่อัดเสียงอะไรๆไว้ได้ทุกอย่าง รูป รส กลิ่น เสียง หรือกรรมดี กรรมชั่วอันใดก็ดีที่เรากระทำไว้ในโลก มันย่อมจะย้อนกลับมาหาเราเมื่อตายทั้งหมด
       
       เหตุนั้น ท่านจึงว่า “บุญบาป” ไม่สูญหายไปไหน คงติดอยู่ในโลกนี้เสมอ จิตละเอียดที่สุดซึ่งเปรียบเหมือน “ปรมาณู” นั้น มีอำนาจความแรง เหมือนกับดินระเบิดที่จมลงในพื้นแผ่นดิน แล้วก็สามารถระเบิดทำลายมนุษย์ให้ย่อยยับพินาศไปได้ ฉันใด จิตละเอียดที่จมลงในลม ก็สามารถระเบิดคนสัตว์ให้พินาศย่อยยับเช่นเดียวกัน คือ เมื่อจิตละเอียดถึงที่สุดถึงขั้นนี้แล้ว ความรู้สึกในตัวตนของเราก็จะดับสิ้นไปไม่มีเหลือ จิตนั้นก็จะหมดความยึดถือในอัตภาพร่างกายตัวตนคนสัตว์ใดๆทั้งสิ้น จึงเหมือนกับ “ปรมาณู” ที่ทำลายสัตว์ทั้งหลายฉันนั้น
       
       “วิตก” คือ การกำหนดลมหายใจ เปรียบเหมือนกับเราป้อนข้าวไปในปาก
       
       “วิจาร” คือ ขยาย แต่ง ปรับปรุงลมหายใจ เปรียบเหมือนกับเราเคี้ยวอาหาร ถ้าเราเคี้ยวให้ละเอียดๆ แล้วกลืนลงไป อาหารนั้นก็จะย่อยง่าย และเป็นประโยชน์แก่ร่างกายได้มาก
       
       การย่อยนั้นเป็นหน้าที่ของธรรมชาติร่างกาย ส่วนการเคี้ยวเราต้องช่วยจึงเกิดผล ถ้าเรากลั่นกรองละเอียดได้เท่าไร ก็ยิ่งได้ผลดีขึ้นเท่านั้น เพราะของสิ่งใดละเอียด สิ่งนั้นย่อมมีคุณภาพสูง
       
       การทำลมละเอียดนั้น จิตก็จะต้องละเอียดตาม และกายก็ละเอียดด้วย ฉะนั้น พระบางองค์ที่นั่งเจริญกรรมฐานอยู่จนลมละเอียดจิตละเอียด กายของท่านจึงละเอียดเล็กลงๆ จนสามารถลอดซี่กรงหน้าต่างเข้าไปนั่งอยู่ในโบสถ์หรือวิหารได้ ทั้งๆที่ปิดประตูหน้าต่างอยู่ ดังนี้ก็มี นี่ก็เป็นอำนาจของลมละเอียดอย่างหนึ่ง
       
       วัตถุใดที่มีความสามารถมากๆ ย่อมเป็นเหตุให้คุณภาพสูงขึ้นกว่าเดิม เช่น เกลือนี้ถ้าเรานำมากลั่นกรองมากๆเข้า รสเค็มของเกลือนั้นจะกลายเป็นรสหวานไปได้ หรือน้ำตาลซึ่งเดิมรสหวานและเปรี้ยวๆนิดหน่อย แต่ถ้ากลั่นมากเข้าๆ ก็จะกลายเป็นรสขมไปได้
       
       เหตุนั้น ท่านจึงว่าไม่มีอะไรเป็นของเที่ยง แต่อะไรจะเที่ยงหรือไม่เที่ยงนี้ เราก็ไม่ต้องไปนึกถึงมัน เพราะเมื่อเราทำจิตใจแคบและละเอียด จนเกิดเป็นญาณความรู้ขึ้นในตนแล้ว อาการทั้งหลายจะบอกให้เรารู้เห็นเองในสิ่งเหล่านี้ เพียงตั้งใจทำจริงอย่างเดียว แล้วในที่สุดก็จะต้องเห็นผลแห่งความจริง...
       
       (เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของเรื่อง “ลมกับจิต” ในหนังสือ “เรื่องของลม”)
       
       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 165 กันยายน 2557 โดย พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 15, 2014, 09:20:02 PM
ตัวอย่างเช่นมีคนสองคนเป็นเพื่อนกัน วันหนึ่งเป็นวัน ๘ ค่ำ ชาวบ้านผู้มีศรัทธาได้ยินเสียงฆ้องเสียงระฆัง
ก็ตื่นขึ้นแต่ดึก จะไปฟังเทศน์ ทำบุญใส่บาตร มาดำริในใจอย่างนี้ ทีนี้เพื่อนคนหนึ่งคิดว่าถ้าเราไปทำบุญใส่บาตร
กลับมาจากวัดก็จะไม่มีอะไรจะกิน ทีนี้เราไปทอดแหดีกว่าเพื่อนคนที่ไปทอดแหนั้นก็ได้ช่วยหุงข้าว
จัดแจงอาหารการบริโภค ให้เพื่อนคนหนึ่งไปใส่บาตรไปฟังเทศน์รับศีล
เพื่อนคนที่ไปใส่บาตร ฟังเทศน์รับศีลนั้น เวลาไปนั่งฟังเทศน์ดวงจิตกระหวัดถึงแต่บาป
ว่าเพื่อนเราไปทอดแหนั้นจะได้ปลามากินไหมหนอตอนเย็นนี้ มาคิดอยู่อย่างนี้ มานึกอยู่อย่างนี้
เลยต้องการอยากได้กินแกงปลาซึ่งเพื่อนไปทอดแหอยู่กลางห้วยกลางหนอง ใส่บาตรอยู่ก็คิด
นั่งฟังเทศน์อยู่ก็นึก แต่ไม่นึกจะไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นแต่นึกว่าถ้าเพื่อนได้มาจะได้กิน
แต่เพื่อนคนที่ไปทอดแหนั้นน่ะ แกก็เอาใจไปฝักใฝ่ ว่าเพื่อนเราไปใส่บาตร ป่านนี้ใส่บาตรหรือยังหนอ
เพื่อนคนที่ไปรับศีล ป่านนี้เขาคงจะรับศีลกันแล้ว เพื่อนผู้ฟังเทศน์ก็คงจะได้บุญ มัวแต่นึกอยู่อย่างนี้แหละ
ด้วยอำนาจแห่งเจตนารมณ์ที่เป็นกุศล ทอดแหไม่ได้สักตัว ปลาไม่ติดแหสักตัว
พอได้ยินเสียงที่เขาตีฆ้องโหม่งเสียงหมุ่ยขึ้นครั้งหนึ่ง แกก็วางแห สาธุทุกคราวไปจนค่ำ
มัวแต่ไปงมอยู่ในทางบุญทางกุศล ผลที่ทำบาปไม่สำเร็จ คนที่ไปทำบุญมัวแต่ไปงมอยู่แต่จะกินปลากับเพื่อน
เลยไม่ได้บุญอีกแหละ บุญที่ควรเกิดขึ้นเกือบไม่มีเลย ไม่สมกับที่ลงทุนไปใส่บาตร ไม่คุ้ม
ไม่สมกับที่ลงทุนไปรักษาศีล ไม่คุ้ม จิตมันวิบัติ ไม่สมกับที่ไปฟังเทศน์นั่งพนมมือ ไม่คุ้มกัน สู้เพื่อนที่ไปทำบาป แต่ไม่มีเจตนาไม่ได้

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 15, 2014, 09:21:03 PM
เมื่อสัญญาผ่านเข้ามา ก็ปล่อยให้ผ่านไปตามเรื่องของมัน ความรู้ของเราก็ให้เฉยอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว
ข้อที่ว่าใจเราไปอย่างนั้นไปอย่างนี้มันก็ไม่ใช่ตัวจริง เป็นเพียงแต่สัญญามันพาไป เท่านั้น
สัญญา นี้เปรียบเหมือนกับ “เงา” ส่วนตัวจริงของมันนั้นก็คือ “จิต” ต่างหาก
ถ้ากายของเราเฉยไม่มีอาการเคลื่อนไหวไปมาแล้ว เงาของเราจะเคลื่อนไหวไปได้อย่างไร?
เพราะกายของเรามันไหวไม่อยู่นิ่ง เงาของเราจึงไหวไปด้วย และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
เราจะไปจับเอาเงามาอย่างไร? เงานี้จะจับมันก็ยาก จะละมันก็ยาก จะตั้งให้เที่ยงก็ยาก
ความรู้ที่เป็นตัวปัจจุบัน นั่นแหละคือ “ตัวจริง” ส่วนความรู้ที่เป็นไปตามสัญญานั้น ก็คือ “เงา”

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 15, 2014, 09:22:00 PM
คนเราประมาทในบุญเล็กน้อย เมื่อตายไปแล้ว จะมาทำบุญกุศลน่ะ
มันยากนัก ยากยังไง กายก็ไม่เหมือนกายมนุษย์ จะมาพูดกับมนุษย์ก็ไม่ได้
จะมาใส่บาตรทำบุญก็ไม่ได้ อย่างดีก็เพียงมายืนคอยอนุโมทนาเท่านั้น
ถ้าใครตาดีก็เห็น ใครตาไม่ดีก็ไม่พบพาน ถ้าใครมีภูมิรู้ในทางจิต
ก็พอจะแนะนำสั่งสอนกันบ้าง ถ้าไม่มีคนเช่นนั้น
เทวดาก็ไม่มีหนทางที่จะบำเพ็ญคุณงามความดีต่อได้เลย นี่มันเป็นอย่างนี้

ท่านพ่อลี ธํมมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 16, 2014, 06:51:28 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20141016185220_tanpor_lee.jpg)

บำเพ็ญทาน เปรียบเหมือน กินข้าว
บำเพ็ญศีล เปรียบเหมือน กินของหวาน
บำเพ็ญภาวนา เปรียบเหมือน กินน้ำ
การเจริญภาวนา เรียกว่า "เก็บบุญมากิน"
ถ้าเราไม่เก็บมากิน มันก็จะบูดเน่าเสียหมด
ถ้าไม่กลืนเข้าไปในหัวอกหัวใจมันก็ไม่อิ่ม
"ตา" ได้เห็นครูบาอาจารย์ พระเจ้าพระสงฆ์
"หู" ได้ฟังเทศน์ฟังธรรม
"จมูก" ได้กลิ่นธูปเทียนดอกไม้
"ปาก"ได้สวดมนต์
"ใจ" ได้เจริญเมตตาภาวนา
"บุญกุศล" จะไหลเข้าดวงจิตดวงใจ

ท่านพ่อลี ธมมธโร วัดอโศการาม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 16, 2014, 06:53:31 PM
โลก เขาเอาสุขทางกายเป็นใหญ่
จิตใจจะทุกข์อย่างไร ก็ช่างมัน
แต่ธรรม เอาสุขทางใจเป็นใหญ่
เพราะถือว่าใจเป็นส่วนสำคัญยิ่ง

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศกการาม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 18, 2014, 09:47:45 PM
เราบอกกับตัวเองว่า อยากได้ความสุข
แต่เราก็โดดเข้าไปสู่กองไฟร้อน
เรารู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็นยาพิษ แต่เราก็ดื่มมันเข้าไป
นี่แหละ เป็นการทรยศต่อตัวเอง

ท่านพ่อลี ธัมมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 18, 2014, 09:51:43 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20141018214907_tanpor_lee2.jpg)

ความงามของต้นไม้ ไม่งามจากความสะอาด
ผัก หญ้า งามจากสิ่งสกปรก จากดิน จากปุ๋ย จากของสกปรก
ผู้มีจิตเจริญสมาธิ มันก็งาม คือสิ่งที่ไม่ดีผ่านเข้ามามันยิ่งเจริญ
แต่ก่อน สิ่งไม่ดีผ่านเข้ามา แย่ ต้องมีสิ่งดีมาสู่ จึงเจริญ
แต่สำหรับผู้มีจิตเป็นสมาธิ มันกลับช่วยให้ดี เพราะความไม่ดี
เช่นนินทาไม่ดี ทุกข์ไม่ดี ไม่ทำความกระเทือนต่อผู้มีสมาธิ
ยิ่งเสื่อมยศ เสื่อมลาภ ยิ่งมีทุกข์มาก ยิ่งเจริญมาก
ยิ่งเบื่อหน่าย เป็นเหตุผลักดันจิตให้เจริญยิ่งๆขึ้น บางทีเจริญด้วยนินทา เหมือนถูกมีดถาก ยิ่งถากยิ่งดี
บางทีเสื่อมลาภ ยิ่งวิเศษ แต่คนสามัญไม่ดี จิตตก
เพราะต้องการลาภ แต่ถ้าจิตเป็นสัมมาสมาธิ มันคลายออก
ทำให้ไม่ยินดีในเรื่องลาภ เห็นเป็นเครื่องฆ่าคน ทำให้มีมานะ
ผู้มีจิตเป็นสมาธิต้องดีอย่างนี้ คนไหนจะมาลบเหลี่ยม ลบชื่อเรา
เช่น เขาเรียกเราว่า หมา ยิ่งสบาย ยิ้มแย้ม เพราะหมา มันไม่มีตะราง
ไม่มีกฏหมาย เขาเรียกเจ้าคุณ ไม่ค่อยชอบ เกะกะ แข้งขายาว
แต่คนหลงๆ เขาชอบ คนจิตเป็น"สัมมาสมาธิ" เขาลดยศยิ่งสบายใจ เขาราดด้วยของสกปรก
ยิ่งงาม เมื่อผู้ใดมีสติ มีสมาธิ ไม่มีหวั่น ยิ่งเจริญขึ้นเรื่อย

ท่านพ่อลี ธมมธโร วัดอโศการาม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 18, 2014, 09:53:40 PM
ถ้าเราปรารถนาจะได้รับความสุข อันเป็นยอดมหาสมบัติทั้งปวง
ก็ต้องกระทำจิต ให้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา
ให้พร้อมบริบูรณ์ เราจะต้องเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง
อันเป็นวัตถุ ภายใน และ ภายนอก
ที่เป็นของๆเรา ออกถวายบูชาพระพุทธเจ้า
ให้หมดสิ้น แม้แต่ชีวิตร่างกายของตัวเอง
เราไม่เอาอะไรเหลือติดตัวไปเลย แม้เท่าปลายนิ้วมือ
นี่แหละ เราจะได้รับมหากุศลตามความปรารถนา "

ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 18, 2014, 09:59:23 PM
ถ้าเราปรารถนาจะได้รับความสุข อันเป็นยอดมหาสมบัติทั้งปวง
ก็ต้องกระทำจิต ให้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา
ให้พร้อมบริบูรณ์ เราจะต้องเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง
อันเป็นวัตถุ ภายใน และ ภายนอก
ที่เป็นของๆเรา ออกถวายบูชาพระพุทธเจ้า
ให้หมดสิ้น แม้แต่ชีวิตร่างกายของตัวเอง
เราไม่เอาอะไรเหลือติดตัวไปเลย แม้เท่าปลายนิ้วมือ
นี่แหละ เราจะได้รับมหากุศลตามความปรารถนา "

ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 19, 2014, 07:46:42 AM
"นกบินจากไป ไม่ทิ้งรอยเท้าไว้ในอากาศ
ผู้ทำความดีจริง ควรไม่หวัง ลาภ สักการะ แม้ด้วยศรัทธา"

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 19, 2014, 07:47:39 AM
“ตัวเรา เปรียบเหมือนต้นไม้ ความยึดถือคือเถาวัลย์
ถ้าเรายินดีในรูป มันก็มัดตา ยินดีในเสียง มันก็มัดหู ยินดีในธัมมารมณ์
มันก็มัดใจ เมื่อเราถูกมัดทั้งหมด เราก็ต้องตาย บางคนตายไม่ทันใจ ยังต้องมัดคอตัวเองก็มี”
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 19, 2014, 07:48:52 AM
"คนเราอยากได้ความสุข แต่ไม่รู้จักทำความดี ถ้าเราจะตั้งใจจริงๆ
เพื่อทำความดีแล้ว ไม่ต้องเอามากมายอะไรดอก..ความดี
นั้นถ้ามันทำดีจริงๆแล้วเพียง ๕ นาทีเท่านั้น ก็สามารถทำให้เย็นใจไปได้ตลอดชีวิต"

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 08, 2014, 08:09:23 PM
เมื่อสัญญาผ่านเข้ามา ก็ปล่อยให้ผ่านไปตามเรื่องของมัน ความรู้ของเราก็ให้เฉยอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว
ข้อที่ว่าใจเราไปอย่างนั้นไปอย่างนี้มันก็ไม่ใช่ตัวจริง เป็นเพียงแต่สัญญามันพาไป เท่านั้น
สัญญา นี้เปรียบเหมือนกับ “เงา” ส่วนตัวจริงของมันนั้นก็คือ “จิต” ต่างหาก
ถ้ากายของเราเฉยไม่มีอาการเคลื่อนไหวไปมาแล้ว เงาของเราจะเคลื่อนไหวไปได้อย่างไร?
เพราะกายของเรามันไหวไม่อยู่นิ่ง เงาของเราจึงไหวไปด้วย และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
เราจะไปจับเอาเงามาอย่างไร? เงานี้จะจับมันก็ยาก จะละมันก็ยาก จะตั้งให้เที่ยงก็ยาก
ความรู้ที่เป็นตัวปัจจุบัน นั่นแหละคือ “ตัวจริง” ส่วนความรู้ที่เป็นไปตามสัญญานั้น ก็คือ “เงา”

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 08, 2014, 08:10:10 PM
ธรรมดาที่เราต้มน้ำนั้น มีอยู่ ๒ ประการ
ประการหนึ่ง ถ้าไฟมันแรง มันเดือดมากเป็นเหตุให้น้ำเป็นไอมาก เดือดท่วมหม้อ ไฟเราดับ
บางคราวไฟมันอ่อน น้ำไม่เดือด ไอไม่เกิด บางคราวก็พอดีๆ ไม่อ่อนมากนัก
ไม่แรงมากนักเป็นพอปานกลาง เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ไฟเราก็พอดีพอเหมาะ พอเกิดไปขึ้น
ไม่ถึงกับจะต้องไปดันฝาละมีให้เปิด แต่มันมีไอออกมาตามหม้อตามไหที่เรากลั่น
ไอที่มันออกมามันกลายเป็นน้ำจืด อันนี้แหละท่านจึงให้สังเกตดู
เมื่อเราต่อสู้ การอยากให้มันเป็นมากๆ ใจของเราก็ไม่สงบ ลมก็กำเริบไม่ละเอียด นี่คือความอยากเข้าไปแทรก
บางคราวก็อ่อนเกินไป นั่งสงบใจ ลมก็ละเอียด เบา หลับไปเลย อย่างนี้ก็ไม่สุก
เราต้องปรุงให้ดี ให้พอเหมาะพอสม ให้มีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่เป็นนิจ
ดวงจิตเราจะอยู่กับลมหยาบเราก็ทราบ ดวงจิตจะอยู่กับลมละเอียดเราก็ทราบ
เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะประจำอยู่โดยอาการเช่นนี้ ผลที่มันเกิดขึ้นนั้นก็คือได้แก่ ปีติ กายก็สบาย กายเบา กายสงบ กายก็เยือกเย็น
ดวงจิตนั้นก็รู้สึกว่าอิ่มหนำสำราญเบิกบานใสแจ๋วอยู่ในองค์สมาธิ

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 26, 2014, 09:54:13 PM
"เมื่อทำดีแล้วใครจะว่าอะไรก็ช่างเขา
ต้องคิดว่านั่นเป็นสมบัติของเขา ไม่ใช่ของเรา
ส่วนความดีที่เราทำก็ย่อมอยู่ที่ตัวเรา
"คนทำผิด" นั้นดีกว่า "คนไม่ทำ"
ทำผิดยังแก้ให้ถูกได้
แต่คนไม่ทำนี่สิ...ไม่รู้จะไปแก้อย่างไร
เพราะไม่รู้ว่าตนเป็นคนผิดหรือคนถูก
การไม่ทำนั่นก็ผิดอยู่ในตัวแล้ว"

ท่านพ่อลี ธัมมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2015, 07:33:59 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20150225193345_tanpor_lee.jpg)

ดวงจิตที่เจือปนอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์
นั่นก็เหมือนกับเรือที่ถูกลมพายุอันพัดมาจากข้างหลัง
ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวาทั้ง ๘ ด้าน ๘ ทิศ
มันก็จะไม่ทำให้เรือตั้งตรงอยู่ได้ มีแต่จะทำให้เรือจมลง
ไฟที่จะใช้สอยก็ดับหมดด้วยอำนาจความแรงของกระแสลมที่พัดมานั้น
สัญญานี้เหมือนกับระลอกคลื่นที่วิ่งไปมาในมหาสมุทร
ใจนั้นก็เปรียบเหมือนปลาที่ดำผุดดำว่ายอยู่ในน้ำ
ธรรมดาของปลาย่อมเห็นน้ำเป็นของสนุกเพลิดเพลินฉันใด
บุคคลผู้หนาแน่นไปด้วยอวิชชาก็ย่อมเห็นเรื่องยุ่งๆ
เป็นของเพลิดเพลิน เป็นของสนุก
เหมือนกับปลาที่เห็นคลื่นในน้ำเค็มเป็นของสนุกสนานสำหรับตัวมันฉันนั้น
ตราบใดที่เราทำความสงบให้เรื่องต่างๆ บรรเทาเบาบางไปจากใจได้
ก็ย่อมทำอารมณ์ของเราให้เป็นไปใน “กัมมัฏฐาน”
คือ ฝังแต่ พุทธานุสติ เป็นเบื้องต้น
จนถึง สังฆานุสติ เป็นปริโยสานไว้ในจิตใจ
เมื่อเป็นไปดังนี้ก็จะถ่ายอารมณ์ที่ชั่วให้หมดไปจากใจได้
เหมือนกับเราถ่ายของที่ไม่มีประโยชน์ออกจากเรือ
และนำของที่มีประโยชน์เข้ามาใส่แทน
ถึงเรือนั้นจะหนักก็ตาม แต่ใจของเราเบาอย่างนี้
ภาระทั้งหลายก็น้อยลง สัญญาต่างๆ ก็ไม่มี นิวรณ์ก็ไม่ปรากฏ
ดวงจิตก็จะเข้าไปสู่ “กัมมัฏฐาน” ได้ทันที

ท่านพ่อลี ธัมมธโร
จากหนังสือแนวทางวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ๒.
พิมพ์ครั้งที่ ๑. ชมรมกัลยาณธรรม. ๒๕๕๓ : หน้า ๑๒๙-๑๓๐.


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 22, 2015, 09:15:56 AM
“นิวรณ์” แท้จริงมันก็มีอยู่กับตัวเราเสมอ ถึงจะเรียนก็มี ไม่เรียนก็มี
นิวรณ์นี้มันมีอำนาจ อิทธิพลมาก
เพราะเป็นเครื่องกลบเกลื่อนดวงจิตของเราไม่ให้ก้าวขึ้นสู่ความดีได้
เส้นทางของนิวรณ์ที่จะไหลมาสู่เรา ก็คือ
“สัญญาอดีต” อันได้แก่เรื่องราวต่างๆ ทั้งดีทั้งชั่ว
ทั้งของเราของเขาซึ่งเป็นอดีตทั้งหมดเส้นหนึ่ง
อีกเส้นหนึ่งคือ “สัญญาอนาคต”
นับแต่เรื่องที่คิดไปตั้งแต่วันพรุ่งนี้จนถึงวันตาย
ซึ่งเราอาจเดาอาจคิดไปด้วยความผิดพลาดทั้งหมดทั้ง ๒ ทาง
นี้เป็นเส้นทางที่ไหลมาจากนิวรณ์ทั้งสิ้น
ฉะนั้น เรื่องอดีต อนาคต ก็ต้องวางไว้ก่อน ยกจิตของเราขึ้นสู่องค์ภาวนา
คือ นึกถึงลมหายใจของลมอันเป็นส่วนปัจจุบันของรูป ปัจจุบันของนาม
ได้แก่ “ตัวรู้” เมื่อเราทำได้เช่นนี้
จิตของเราก็จะเหมือนกับลูกโป่งที่ลอยอยู่ในอากาศ
เพียงตัดเชือกเส้นเดียวเท่านั้นเราก็จะหลุดได้
คือ เมื่อตัดสัญญาขาด จิตของเราก็จะเข้าไปสู่องค์ภาวนาได้ทันที
ใจก็ไม่มีอาการอึดอัด มีแต่ความโปร่งสบาย
ใจก็สูงเหมือนลูกโป่งที่ถูกตัดเชือกออกจากก้อนหินที่ผูกไว้
สิ่งที่จะตามขึ้นไปทำลายรบกวนก็ยาก
เพราะธรรมดาขี้ฝุ่นนั้นก็จะกลบได้แต่เพียงแค่ศีรษะคนเท่านั้น
ที่มันจะปลิวขึ้นไปกลบถึงยอดภูเขา หรือยอดไม้สูงๆ นั้นย่อมไม่ได้
ฉะนั้น เมื่อจิตของเราสูงขึ้นแล้ว
นิวรณ์ทั้งหลายก็ไม่สามารถจะกลบจิตของเราให้เศร้าหมองได้

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 22, 2015, 09:05:22 PM
“โลก” เขาเอาสุขทางกายเป็นใหญ่ จิตใจจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน
แต่ “ธรรม” เอาสุขทางใจเป็นใหญ่ เพราะถือว่าใจเป็นส่วนสำคัญยิ่ง
ร่างกายภายนอกถือว่าเป็นส่วนต่ำ
มีแต่คอยนำความทุกข์ เดือดร้อนและความเสื่อมความเลวมาให้
“ร่างกาย” เป็นเหมือนงูเห่า หรือ อสรพิษ ที่นำมาแต่ความเจ็บปวดเมื่อยเหน็บมาให้
หรือมิฉะนั้นก็เหมือน “เด็ก” เดี๋ยวก็อ้อน เดี๋ยวก็ดี
กวนอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่หยุดหย่อน บางคราวก็ดี บางคราวก็ร้าย
คนที่ทำแต่ “บุญ” แต่ไม่ได้ทำ “หลักของใจ” ไว้
ก็เปรียบเหมือนกับคนที่มีที่ดินแต่ไม่มีโฉนด
จะซื้อจะขายเป็นเงินเป็นทองก็ได้ดอก แต่มันอาจจะถูกเขาฉ้อโกงได้
เพราะไม่มีเสาหลักปักเขตไว้
คนที่มีศีล มีทาน แต่ไม่มี “ภาวนา” คือ หลักของใจ
ก็เท่ากับถือศาสนาเพียงครึ่งเดียว
เหมือนคนที่อาบน้ำแค่บั้นเอว ไม่ได้รดลงมาแต่ศีรษะ
ก็ย่อมจะไม่ได้รับความเย็นทั่วตัวเพราะไม่เย็นถึงจิตถึงใจ

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 29, 2015, 01:25:46 PM
“โลก” เขาเอาสุขทางกายเป็นใหญ่ จิตใจจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน แต่ “ธรรม”
เอาสุขทางใจเป็นใหญ่ เพราะถือว่าใจเป็นส่วนสำคัญยิ่ง ร่างกายภายนอกถือว่าเป็นส่วนต่ำ
มีแต่คอยนำความทุกข์ เดือดร้อนและความเสื่อมความเลวมาให้ “ร่างกาย” เป็นเหมือนงูเห่า
หรือ อสรพิษ ที่นำมาแต่ความเจ็บปวดเมื่อยเหน็บมาให้ หรือมิฉะนั้นก็เหมือน “เด็ก” เดี๋ยวก็อ้อน
เดี๋ยวก็ดี กวนอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่หยุดหย่อน บางคราวก็ดี บางคราวก็ร้าย

คนที่ทำแต่ “บุญ” แต่ไม่ได้ทำ “หลักของใจ” ไว้ก็เปรียบเหมือนกับคนที่มีที่ดินแต่ไม่มีโฉนด
จะซื้อจะขายเป็นเงินเป็นทองก็ได้ดอก แต่มันอาจจะถูกเขาฉ้อโกงได้ เพราะไม่มีเสาหลักปักเขตไว้

คนที่มีศีล มีทาน แต่ไม่มี “ภาวนา” คือ หลักของใจ ก็เท่ากับถือศาสนาเพียงครึ่งเดียว
เหมือนคนที่อาบน้ำแค่บั้นเอว ไม่ได้รดลงมาแต่ศีรษะ ก็ย่อมจะไม่ได้รับความเย็นทั่วตัวเพราะไม่เย็นถึงจิตถึงใจ
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 25, 2015, 08:44:25 PM
จิตใจของเรา เหมือนขันหรือตุ่มน้ำ ขันนั้นถ้าปากมันหนาข้างบางข้างก็ย่อมตั้งตรงไม่ได้
น้ำก็จะต้องหก หรือตุ่มมันเอียง มันแตกร้าว น้ำก็ขังอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน ฉันใดก็ดี
บุญกุศลที่จะไหลมาขังอยู่ในจิตใจของเราไ้ด้เต็มเปี่ยมก็ด้วยการทำจิตให้เที่ยง ไม่ตกไปในสัญญา
อดีต อนาคตทั้งดีและชั่ว บุญกุศลซึ่งเปรียบเหมือนน้ำบาดาล หรือน้ำตก
ก็จะไหลซึมซาบมาหล่อเลี้ยงกายใจของเราอยู่เสมอไม่ขาดสาย ไม่มีเวลาหยุด เป็น "อกาลิโก" ให้ผลไม่มีกาล
การปรับปรุงจิตใจนั้น เราตอ้งคอยตรวจตราดูว่า ส่วนใดควรแก้ไข
ส่วนใดควรเพิ่มเติม ส่วนใดควรปล่อยวาง จะแก้ไปอย่างเดียวก็ไม่ได้
จะปล่อยไปอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูว่า สิ่งใดควรแก่ข้อปฏิบัติของเรา เราก็ทำ
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 08, 2015, 10:31:23 PM
ท่านพ่อลี ธัมมธโร เป็นศิษย์ที่ท่านพระอาจารย์มั่นเมตตาและให้การยกย่องเป็นพิเศษว่า
“มีพลังจิตสูง เป็นผู้เด็ดเดี่ยว อาจหาญ เฉียบขาด ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยธรรม”
และหลวงตามหาบัว ได้กล่าวถึงท่านพ่อลีด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ว่า
“เรามองดูท่านพ่อลีทีแรกเราก็เลื่อมใสเลยนะ
ท่านเป็นผู้มีบุญวาสนาจริง ๆ น่าชมเชย น่าเคารพ น่าเลื่อมใส มีสง่าราศี สง่าผ่าเผย องอาจกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวจริงจังเป็นนักเสียสละ
ท่านพระอาจารย์มั่นโปรดที่จะสนทนาและเมตตามากไม่เคยตำหนิอะไรเลย มีแต่ยกย่องชมเชย”
ท่านพ่อลีนับว่าเป็นพระเถระที่มีพลังอำนาจจิตสูงและสำคัญยิ่งรูปหนึ่ง ในสายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่ประสบความสำเร็จทั้งในทางธรรมและทางโลก
ท่านได้บรรลุภูมิธรรมในขั้นสูงสุด
และองค์ท่านทราบว่า อดีตชาติ ได้เกี่ยวข้องกับจอมจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่คือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” โดยตรง
ครั้งแรกที่ท่านพ่อลีเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ในปี ๒๔๖๙ ท่านพระอาจารย์มั่นได้สอนบทภาวนาสั้น ๆ ว่า “พุทโธ” คำเดียว และสั่งให้ไปอยู่ป่ากับพระอาจารย์สิงห์และพระอาจารย์มหาปิ่น ที่เสนาสนะป่าบ้านท่าวังหิน อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
ปี ๒๔๗๔ ได้มีโอกาสพบกับท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดบรมนิวาสอีกครั้ง ท่านพระอาจารย์มั่นได้สอนธรรมใจความสั้นๆ ว่า
“ขีณา ชาติ วุสิตํ พฺรหฺมจริยนฺติ”
พระอริยะเจ้าขีณาสพทั้งหลาย ท่านทำตนให้เป็นผู้พ้นจากอาสวะแล้ว มีความสุข นั่นคือพรหมจรรย์อันประเสริฐ
จากนั้น ในกลางปี ๒๔๗๔ ท่านได้ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปจำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
ท่านพ่อลีเล่าว่า.....ในขณะอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ได้ออกบิณฑบาตกับท่านพระอาจารย์มั่นเป็นนิจ ขณะเดินบิณฑบาตท่านได้สอนกรรมฐานเตือนใจอยู่เสมอ
พอเห็นหญิงสาวสวย ๆ งาม ๆ ผ่านมา ท่านบอกว่า “มองดูให้ดีสิ นั่นเป็นอย่างไร สวยไหม งามไหม ดูให้ดี ๆ ดูเข้าไปข้างใน มูตรคูถทั้งนั้น”
ไม่ว่าท่านจะเห็นอะไร เซ่น บ้านหรือถนน สัตว์หรือสิ่งของท่านก็จะให้โอวาทพร่ำสอนเตือนใจท่านพ่อลีทุกวี่ทุกวัน
จีวรใหม่ สบงใหม่ ที่คนเขาเอามาถวาย ท่านพระอาจารย์มั่นไม่ให้ท่านพ่อลีใช้ ให้ใช้สบงเก่า ๆ ขาด ๆ วิ่น ๆ เอามาปะชุนใช้ผืนที่มีสีสันสดสวย หรือขาว ท่านพระอาจารย์มั่นให้เอาไปทำลายสีเดิม แล้วย้อมด้วยแก่นขนุน
วันหนึ่งท่านพ่อลีได้เดินตามท่านพระอาจารย์มั่นไปบิณฑบาตถึงที่แห่งหนึ่ง ท่านเอาเท้าของท่านเตะกางเกงขาดที่เขาทิ้งไว้ข้างถนน แล้วก้มลงเก็บกางเกงขาดตัวนั้นเหน็บไว้ใต้จีวร เมื่อกลับถึงกุฎีแล้ว ท่านก็นำเอาไปซักแล้วพาดไว้ที่ราวตากผ้าแห่งหนึ่ง
ต่อมาวันหลังได้เห็นกางเกงขาดตัวนั้น ได้กลายเป็นถุงย่ามใบน้อยและสายรัดประคดเอวที่เย็บด้วยมืออันกะทัดรัด
ท่านบอกว่า
“ท่านลี...ถุงย่ามใบนี้และรัดประคดอันนี้เอาไปใช้ซะ”
แล้วท่านพ่อลีได้กล่าวสรุปในเรื่องนี้ไว้ว่า
“การได้ปฏิบัติท่านพระอาจารย์มั่นนี้เป็นการดีที่สุด
แต่ก็ยากที่สุด
ต้องยอมฝึกหัดทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นนักสังเกตที่ดีและละเอียดรอบคอบจึงจะอยู่กับท่านได้
..เวลาเดินบนพื้นกระดานทำเสียงดังก็ไม่ได้
..เดินไปแล้วมีรอยเท้าติดพื้นก็ไม่ได้
..เวลากลืนน้ำมีเสียงดังก็ไม่ได้
..เวลาเปิดประตูมีเสียงดังก็ไม่ได้
..เวลาจะตากผ้า เก็บผ้า พับผ้า ปูที่นั่ง ที่นอน เป็นต้น
ทุกสิ่งทุกอย่างต้องทำอย่างเป็นผู้มีวิชา
ต้องละเอียดลออรอบคอบเรียบร้อย ทำอย่างตั้งใจ
ถ้าไม่ตั้งใจจะต้องถูกไล่หนีกลางพรรษา
แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องอดทน พยายามใช้ความสังเกตของตน”
บางวันเมื่อฉันแล้ว จัดแจงเก็บบาตร เก็บจีวร ผ้าปูนั่ง ปูนอน กระโถน กาน้ำ หมอน ฯลฯ และทุกสิ่งทุกอย่างในห้องของท่าน ต้องเข้าไปจัดไว้ก่อน ท่านเข้าไปข้างใน จัดเสร็จแล้วก็จดจำไว้ในใจ แล้วรีบกลับออกไปอยู่ในห้องของตน ซึ่งกั้นไว้ด้วยใบตองเจาะช่องฝาไว้พอมองเห็นบริขารและตัวท่านได้ เมื่อท่านเข้าไปในห้องแล้ว เห็นท่านมองข้างล่างข้างบน ตรวจตราบริวารของท่าน บางอย่างท่านก็หยิบย้ายที่ บางอย่างท่านก็ปล่อยไว้ที่เดิมไม่จับต้อง เราก็ต้องคอยมองดูแล้วจดจำไว้วันหลังก็ทำใหม่จัดใหม่ ให้ถูกต้องอย่างที่เห็นท่านทำเอง
ต่อมาวันหลังเมื่อเข้าไปจัดเสร็จแล้วก็กลับเข้าห้องของตนมองลอดช่องฝาสังเกตดูว่า เวลาท่านเข้าไปในห้อง ท่านเข้าไปแล้วนั่งนิ่ง มองซ้ายมองขวา มองหน้ามองหลัง มองดูข้างบนข้างล่างแล้วก็ไม่จับต้องอะไรอีก ผ้าปูนอนก็ไม่กลับ แล้วท่านก็กราบสวดมนต์ไหว้พระสักครู่หนึ่งท่านก็จำวัด
เมื่อเห็นเช่นนี้ ก็ดีใจว่าเราได้ปฏิบัติเป็นที่ถูกอกถูกใจท่านนอกจากเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้
ในการนั่งสมาธิก็ดี เดินจงกรมก็ดี ก็ได้ฝึกหัดจากท่านไปจนเป็นที่พอใจทุกอย่าง
แต่ก็เอาอย่างท่านได้อย่างมากเพียง ๖๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ท่านพระอาจารย์มั่นสั่งผ่านพ่อลีว่า ให้ช่วยท่านในเรื่องสืบทอดข้อวัตรปฏิบัติ เพราะท่านมองไม่ใคร่เห็นใครที่จะช่วยได้
และสั่งกำชับเป็นพิเศษว่า “จังหวัดเชียงใหม่นี้เป็นสถานที่อาศัยวิเวกของบรรดานักปราชญ์ในกาลก่อน ฉะนั้น ก่อนที่ท่านพ่อลีจะออกจากจังหวัดนี้ให้ปฏิบัติตาม ๓ ข้อ
๑) ให้ไปพักวิเวกอยู่บนยอดดอยขะม้อ จังหวัดลำพูน
๒) ให้ไปพักวิเวกในถ้ำบวบทอง จังหวัดเชียงใหม่
๓) ให้ไปพักวิเวกอยู่ในถ้ำเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
พ่อลีท่านกล่าวว่า “...ผู้ปฏิบัติธรรม จะต้องมีการเสียสละไม่เห็นแก่ตัว บุคคลใดมีธรรมอันพอจะช่วยให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่ไม่ช่วย พระพุทธเจ้าย่อมไม่สรรเสริญบุคคลชนิดนั้นและตัวเราเองก็ติเตียนตัวเราเอง
ถ้าหากเราจะทำอย่างนั้นบ้าง เราก็สบายไปนานแล้วไม่ต้องมาลำบากอย่างนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไปนี่ก็เพราะเห็นแก่ศาสนาเป็นส่วนใหญ่”
หลวงตามหาบัว ได้กล่าวถึงหลวงปู่มั่นกล่าวชมและต้อนรับท่านพ่อลี ในคราวท่านพ่อลีไปพักที่วัดบ้านหนองผือ จังหวัดสกลนครว่า..
“หลวงปู่มั่นชมตลอดว่า “ท่านลี..นี่..เด็ดเดี่ยวมาก” เพราะท่านพ่อลีเคยอยู่กับท่านมานาน
หลวงตาเล่าต่อไปอีกตอนหนึ่งว่า “....พอท่านพ่อลีไปนมัสการหลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ หลวงปู่มั่นก็สั่งเรา (หลวงตา) ว่า
“ไปจัดที่พักในป่าให้ท่านลีนะท่านลีไม่ได้อยู่ในป่ามานานแล้วกระดูกหมูกระดูกวัวเต็มคออยู่นี่เห็นมั๊ย?”
ท่านพูดอย่างนี้แสดงว่าท่านเมตตากันนะ ภายนอกฟังไม่ได้ภายในลึกลับอยู่ด้วยกัน
เราอยู่กับท่านมาแสนนาน ท่านก็ไม่เคยบอกให้เราไปจัดเสนาสนะให้องค์อื่นเลย
พอตอนเช้าฉันเสร็จ เราเข้าไปจัดที่พักในป่าก่อนแล้วหลวงปู่มั่นท่านเดินด้อม ๆ ตามไปดู
กิริยาแบบนี้ ๆ ท่านไม่เคยทำกับองค์ไหนเลย
ท่านเข้าไปดูเอง แล้วถามเราว่า “ไหน...ไหน..จัดตรงไหนให้ท่านลีล่ะ”
แล้วท่านก็มองโน่นมองนี่ แล้วพูดแบบสบายว่า “เออ! เข้าท่าดีนะ
คือ เราเอาเตียงไปวางให้เรียบร้อยให้ท่านพักสบาย ๆ หน่อย
นี่คือท่านพ่อลี ท่านได้รับการต้อนรับพิเศษจากหลวงปู่มั่นเสมอมา”
เรื่องราวที่กล่าวมานี้ ผู้เขียนคิดว่า “เป็นตอนที่สำคัญมาก”
เราได้เห็นธรรมกิริยา และธัมโมชปัญญา ที่อาจารย์กับศิษย์ปฏิบัติต่อกันดุจดังพ่อกับลูกน้อย
เห็นความเป็นมาตั้งแต่เบื้องต้น ! ท่ามกลาง ! และที่สุด !
..กว่าท่านจะได้มาเป็นครูบาอาจารย์ของพวกเรา
ช่างลำบากยากเย็นเหลือเกิน !
ท่านฆ่าฟันอะไรมาบ้าง แทบเป็นแทบตาย
และไม่ง่ายเลยที่ใครจะทำอย่างท่านได้
เพราะนี่คือสุดยอดแห่งพระอริยสงฆ์รูปหนึ่งในยุคปัจจุบัน
ธรรมะทะลุโลก ของท่านพ่อลี ธมฺมธโร
พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร ผู้รวบรวม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 08, 2015, 10:35:57 PM
....กลางคืนวันหนึ่ง หลังงานฉลองกึ่งพุทธกาลจบลง... ณ กุฎีปุณณสถาน ที่วัดอโศการาม ท่านพ่อลียังร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า ท่านได้ปรารภกับพระอาจารย์แดง ธมฺมรกฺขิโตซึ่งเป็นพระลูกศิษย์ เรื่องอายุขัยคือการสิ้นสุดแห่งชีวิตว่า
“ท่านแดง...อายุ ๕๕ ปี ผมต้องตาย ชีวิตถึงคราวสิ้นสุด ให้ท่านอยู่ช่วยดูแลหมู่คณะที่วัดอโศฯ เมื่อผมตายไปแล้ว ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งพาอาศัยของหมู่เพื่อน”
การกล่าวในครั้งนี้ ท่านกล่าวก่อนมรณภาพเป็นเวลาหลายปี
จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ท่านพ่อลีได้ไปนอนป่วยอยู่โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า ธนบุรี ท่านเรียกพระอาจารย์แดงมาหาแล้วกล่าวย้ำว่า
“เราอายุ ๕๕ จะลาตายแล้ว”
“ตายยังไงครับ... ท่านพ่อ”
“ก็ตายขาดลมหายใจ นะสิถามได้ ก็เราเคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือ ”
“ผมลืมไปแล้ว แต่เมื่อท่านพ่อทักขึ้นผมก็จำได้ ทำไมท่านพ่อจะต้องตายด้วย ไม่ตายไม่ได้หรือ? ”
“เราได้รับนิมนต์เขาแล้ว..เสียดายที่จะอยู่ต่อไปอีกไม่ได้นานเกิดมาได้มีโอกาสช่วยพระศาสนาน้อยเหลือเกิน คิดแล้วก็ยังไม่อยากตายเลย..เพราะเห็นแก่ประโยชน์คนอื่น..ส่วนเราเองไม่ได้มีปัญหาในการเกิดการตาย”
“รับนิมนต์ใคร”
“รับนิมนต์เทวดา เขาอาราธนา”
“เขาอาราธนาไปทำไม”
“เขาอาราธนาไปสอนมนต์ให้”
“ไปสอนมนต์อะไรครับ ช่วยสอนให้ผมด้วย”
“มนต์ก็ไม่มีอะไรมาก พรหมวิหาร ๔ ของเรานี้แหละ แต่คนอื่นสอนมันไม่ขลัง ต้องให้เราสอนมันถึงขลัง เขาบอกอย่างนี้"
“ผมขออาราธนาท่านพ่อไว้ อย่าเพิ่งตายเลย”
“เราได้ตกลงรับอาราธนาเขาแล้ว อยู่ไม่ได้”
“ท่านพ่อครับ ไม่มีวิธีอื่นบ้างเลยหรือ ที่จะสามารถต่ออายุไปได้อีก”
ท่านพ่อลีเล่าถึงรอยต่อแห่งชีวิตอันมีความเป็นความตายเป็นเครื่องเดิมพันว่า...
“วิธีนั้นมี แต่เรื่องมันผ่านเป็นอดีตไปแล้ว เราจะหวนกลับมาเป็นอย่างเดิมไม่ได้ หลักธรรมหลักความจริงท่านใช้ปัจจุบันเป็นเครื่องตัดสิน
พวกเธอจำได้ไหม?..ในสมัยประชุมคณะกรรมการจะสร้างเจดีย์ และโบสถ์ เราปรารภให้สร้างพระเจดีย์เสียก่อน แต่ไม่มีลูกศิษย์คนใดกล้ารับงานนี้
บางคนเขาคิดเอาเองว่า ถ้าสร้างเสร็จแล้วเราจะหนีเข้าป่าบ้าง ตายบ้าง (เพราะท่านไม่ได้บอกพวกเขาถึงเหตุว่าการสร้างพระเจดีย์จะต่ออายุท่านได้)
กรรมการที่ประชุมมีความเห็นว่า สร้างโบสถ์ก่อน ก็เป็นอันตกลง ซึ่งเขาไม้รู้จักจุดลึกในชีวิตของเรา การที่จะมาแก้ไขสิ่งที่ล่วงเลยมา มันก็สายเสียแล้ว”
แล้วท่านพ่อลีกล่าวย้ำว่า
“...ก็พวกเธอเกาไม่ตรงที่คัน ต่อให้มีโบสถ์ตั้ง ๒๐ หลัง ก็ไม่เท่ากับสร้างพระเจดีย์เพียงหนึ่งองค์..ท่านเอ๊ย!”
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หมดหวังในชีวิตของท่านพ่ออีกต่อไป
พระอาจารย์แดงจึงเรียนท่านว่า “เมื่อตายไปแล้ว ก็ขอให้ท่านพ่อมาช่วยเหลือวัดอโศการาม”
ท่านพ่อลีก็หัวเราะ ฮึ ๆ ตอบว่า “เราก็เป็นห่วงเหมือนกัน คิดว่าจะคายอะไรไว้ให้เขากินกัน แต่ชีวิตก็จวนเสียแล้ว ก็ให้พวกยังอยู่หากินกันไป ถ้าไม่มีปัญญาก็ช่างมัน”
และได้เรียนถามท่านอีกว่า “ท่านพ่อมีคาถาอะไรดี ๆ ก็สอนให้ผมด้วย”
ท่านพ่อลีตอบว่า “คาถานั้นมีอยู่ แต่สู้ใจเราไม่ได้ ให้ตั้งใจบำเพ็ญเพียรให้สำเร็จคุณธรรม เมื่อเราทำความเพียรอย่างสูงสุดเสียสละชีวิตแล้ว จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีของแต่ละคน”
นี้เป็นเพียงบทสนทนาสั้น ๆ (ฉบับเต็มจะตีพิมพ์ในหนังสืองานฉลองพระธุตังคเจดีย์) แต่เต็มไปด้วยความหมายแห่งผู้ปฎิบัติธรรมได้เต็มขั้นเต็มภูมิ

สรีรร่างท่านพ่อลีที่มรณภาพอย่างสงบ เมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๔
ชีวิตพระอริยเจ้าจึงเป็นชีวิตที่สมบูรณ์แบบจริง ๆ
ท่านไม่ได้นอนรอความตาย
ท่านทราบเรื่องความตาย
ตายแล้วไปไหน หลังจากตายจะไปทำอะไร
ได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน
และคำว่า “พระนิพพาน” เป็นอย่างไร สุขสบายดีไหม ท่านรู้ทะลุปรุโปร่ง ไม่ต้องคิดหาคำตอบมาถกเถียงให้เมื่อยกราม
เพราะพระนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ท่านประสบพบเห็นเองอยู่
ท่านมีชีวิตอยู่ก็เป็น “สอุปาทิเสสนิพพาน”
ตายไปก็เป็น “อนุปาทิเสสนิพพาน”
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “พระนิพพาน อันผู้บรรลุเห็นได้เองไม่ขึ้นกับกาล แต่เป็นของรู้ได้เฉพาะตน”
“..ผู้บรรลุพระนิพพาน..จะมีชีวิตอยู่ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าโศก..เพราะมองเห็นที่หมายข้างหน้าแล้ว
...ความตายเรา (ตถาคต) ก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งร่างกายนี้ อย่างมีสติสัมปชัญญะ มีสติมั่น..เรารอท่าเวลาตาย เหมือนคนรับจ้างทำงานเสร็จแล้ว รอรับค่าจ้าง...(เสร็จกิจพรหมจรรย์..รอตายไปอนุปาทิเสสนิพพาน)
ในเรื่องบางอย่างพวกเราผู้เป็นปุถุชนไม่รู้ แต่จะไปอวดเก่งกว่าท่านผู้รู้จริงไม่ได้ อย่างเรื่องท่านพ่อลี ถ้าบรรดาศิษย์เชื่อฟังท่านเสียหน่อย ท่านก็ยังจะมีชีวิตที่ยืนยาวกว่านี้ ไม่ต้องมาเสียใจทีหลังอย่างนี้
ในเรื่องแบบนี้มีหลักฐานยืนยันได้ ในสมัยพุทธกาล ก่อนพระพุทธเจ้าจะทรงปลงพระชนมายุสังขาร..แล้วปรินิพพาน ถ้าเพียงพระอานนท์อาราธนานิมนต์ให้พระองค์ดำรงพระชนม์อยู่โปรดเวไนยสัตว์ต่อไป พระพุทธองค์จะทรงห้ามเสียสองครั้งครั้งที่สามพระองค์จะทรงรับอาราธนานิมนต์..และทรงอยู่ต่อไปได้อีกถึง ๑๒๐ ปี...เพราะทรงบำเพ็ญอิทธิบาทภาวนามาเป็นอย่างดี
ในสมัยปัจจุบันผู้เขียนขอยกตัวอย่าง ในปี ๒๕๔๐ หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านป่วยหนัก ผลที่หมอตรวจที่วัดป่าบ้านตาด ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น ที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ
เป็นที่แน่นอนว่าท่านป่วยเป็น “โรคมะเร็งลำไส้” ขั้นสุดท้าย
หมอบอกว่า ท่านจะต้องตายก่อนเข้าพรรษาปีนั้นอย่างแน่นอน
ท่านได้นิมิตภาวนาในเรื่องนี้ก่อนแล้ว
แล้วต่อมาในปีเดียวกัน มีคนนิมนต์ให้ท่านอยู่ช่วยชาติบ้านเมือง
ท่านจึงประกาศตั้งโครงการช่วยชาติ..
โรคได้หายเป็นปลิดทิ้งเพราะอานิสงส์นั้นเท่าทุกวันนี้
แล้วท่านได้ยาดีอะไรมารักษา?
ก็ตอบได้ว่า เป็นยาวิเศษที่เทวดานำมาถวายโดยบันดาลผ่านทางมนุษย์เป็นผู้ประกอบ
ยาเทวดาเป็นยาแบบไหนหนอ?
ผู้เขียนขอไขปริศนา..ที่หลวงตาได้เล่าเฉพาะที่โรงน้ำร้อนวัดป่าบ้านตาดต้นปี ๒๕๕๐ นี้เอง
คือตามปกติท่านจะไม่เล่าเรื่องลึกลับลี้เร้นเหล่านี้ เพราะท่านว่า เป็นปัจจัตตัง รู้เห็นเฉพาะตน การนำออกมาเผยแผ่บางคนอาจไม่เข้าใจ เกิดการตำหนิลบหลู่เป็นการก่อกรรมแก่เขาได้
ท่านเล่าว่า คราวหนึ่งท่านอยู่ในป่าลึกเพียงรูปเดียว เร่งความเพียรภาวนาอดอาหารเป็นเวลาหลายวัน ร่างกายซูบซีดผอมเหลืองเรี่ยวแรงหดหายเหลือแต่ใจอันดวงเด่นมีพลังมหาศาลข้างในหมุนไปด้วยธรรมจักรตลอดวันคืน แต่พลังกายเหนื่อยล้าเต็มที
ขณะที่ท่านเดินจงกรมพิจารณาธรรมบางประการในยามค่ำคืน เทพธิดาตนหนึ่งได้ปรากฏกายเข้ามานั่งกราบไหว้ข้างบริเวณทางจงกรม เฝ้ารักษาอยู่โดยตลอดด้วยความเป็นห่วงเป็นใย
แล้วนางเทพธิดาจึงกราบเรียนท่านว่า
“..เขาเคยเป็นแม่ของท่านในอดีตชาติ เกี่ยวข้องกันมานาน
บัดนี้ได้มาเจอกัน ดีใจเป็นอย่างยิ่ง เห็นท่านซูบผอมซีดเซียวก็อยากมาช่วยเหลือด้วยการถวายอาหารทิพย์อันจะทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าสดชื่นขึ้น ขอให้ท่านเห็นแก่ความสัมพันธ์เก่าในอดีตชาติที่เคยเป็นแม่เป็นลูกโปรดเมตตารับอาหารทิพย์เถิด”
หลวงตาท่านตอบว่า “...เวลานี้เป็นเวลาวิกาลโภชน์ (เลยเที่ยง) รับภัตตาหารไม่ได้”
“อาหารนี้ไม่มีสี ไม่มีรส เป็นอาหารพิเศษ ไม่ต้องกินด้วยปากเพียงไล้ไปตามร่างกาย การไล้นั้นก็ไม่ต้องถูกเนื้อต้องตัว..ก็ถือว่าได้ดื่มด่ำรสของทิพย์แล้ว” นางเทพธิดากล่าวสาธยาย
“แม้ถึงกระนั้นก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเจตนานั้นแหละเป็นตัวกรรมคือการกระทำ...
..แม้เป็นอาหารทิพย์ ก็ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถึงไม่มีใครเห็น เราก็รู้อยู่แก่ใจ ใจนี่แหละเป็นตัวพาสร้างเวรสร้างกรรมมิใช่อวัยวะอื่นใด”
เมื่อหลวงตาท่านพูดจบ ก็ก้าวเดินจงกรมต่อไป ท่ามกลางความเงียบในไพรสณฑ์ นางเทพธิดาก็นั่งเฝ้าอยู่อย่างนั้น ไม่ยอมเคลื่อนร่างที่เบาเหมือนปุยนุ่นไปไหน เพ่งมองท่านด้วยความห่วงใยและภูมิใจที่มีพระลูกชายเป็นพระอริยสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อความพ้นทุกข์
แล้วนางจึงกราบเรียนท่านว่า “พรุ่งนี้เช้าจะนำอาหารทิพย์มาถวายใหม่ ”
พอรุ่งเช้านางเทพธิดาได้มานั่งรออยู่หน้ากุฏิหลังน้อยมุงด้วยหญ้า กิริยาแช่มช้อยงดงาม หาสตรีใดในโลกเหมือนหรือเพียงเทียบเทียมมิมีได้
สตรีที่เขาว่าสวยที่สุดในโลก เป็นนางงามจักรวาล เมื่อเทียบกับนางเทพธิดาแล้วก็เหมือนลิงโก๊กตัวหนึ่งเท่านั้น..
น่าขำจริง ๆ โลกมนุษย์เอย..
เมื่อพระหลวงตาเห็นดังนั้นจึงถามนางว่า..การที่เธอมานั่งอยู่หน้ากุฏิเราตั้งแต่เช้าเช่นนี้ ใครมาเห็นเข้า เดี๋ยวจะเข้าใจผิดเอาได้ว่าพระอยู่กับผู้หญิงสองต่อสอง ข้อครหาต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้
นางตอบว่า “ท่าน..ไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องนั้น ไม่มีใครสามารถเห็นฉันได้..นอกจากท่านเท่านั้น นี่เป็นเทพเนรมิตเพื่อมาถวายอาหารทิพย์แก่ท่านได้ง่ายขึ้นเท่านั้น”
“ถวาย ก็ถวายมาสิ..” หลวงตาตวาดนางเทพธิดาหน่อย ๆ
นางจึงบอกให้ท่านนั่งนิ่ง ๆ ครู่หนึ่ง การถวายอาหารทิพย์ก็เป็นอันเริ่มขึ้นและจบลง
ร่างกายของท่านกระปรี้กระเปร่าอย่างเห็นได้ชัด
เหมือนปลาขาดน้ำแล้วพลันได้น้ำ
เหมือนคนหิวกระหายมานานวัน พลันมาเจอบ่อน้ำอันใสสะอาด
ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณที่ซีดเซียวกลับผุดผ่อง หายเมื่อยหายหิว
ปฏิบัติภาวนาต่อไปได้อีกหลายวันโดยไม่ต้องมีอาหารตกท้อง..อยู่เย็นสบายคลายความทุกข์กังวล
นี่คืออาหารเทวดา ยาเทวดาก็คงทำนองนี้เหมือนกัน
เพราะนั้นเป็นของวิเศษ.. ที่มนุษย์ผู้ศีลน้อย ธรรมน้อยจะไม่มีวันได้พบพานเป็นอันขาด..เว้นแต่ในนิทานหลอกเด็กเท่านั้น!!
ท่านพ่อลีเองก็เคยรับอาหารบิณฑบาตจากเทวดาที่ดอยขะม้อ จังหวัดลำพูน ท่านผู้สนใจโปรดติดตามจากหนังสือเล่มใหญ่ในวาระฉลองพระธุตังคเจดีย์ ที่วัดอโศการาม ก็แล้วกัน
นี่แหละท่านทั้งหลาย! พระพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกเป็นที่อัศจรรย์อย่างหาที่สุดมิได้ ท่านเป็นผู้นำจิตวิญญาณและชีวิตจิตใจของเราผู้ศรัทธาทั้งหลาย
เหมือนโคจ่าฝูงที่นำพวกเราผู้พยายามเพื่อธรรมเป็นเครื่องพ้นทุกข์ ว่ายตัดกระแสน้ำคือกิเลสอันเชี่ยวกราก อันเป็นห้วงน้ำใหญ่มีอันตรายมาก ข้ามขึ้นถึงฝั่งอันราบเรียบเป็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์ เกษมสำราญไม่มีเวรภัยถึงเมือง “อุดมบุรี” (อุดมธรรม) และ “นิพพานนคร” โดยปลอดภัย
ธรรมะทะลุโลก ของท่านพ่อลี ธมฺมธโร
พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร ผู้รวบรวม


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 21, 2015, 11:45:11 AM
"ในเรื่องของกรรมนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ถ้าเราไม่ทำกับเขา เขาย่อมไม่ทำกับเรา
เพราะเราเคยได้เบียดเบียนเขาไว้ก่อน เราจึงต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นจากเขาบ้าง
สัตว์ทั้งหลายที่เราได้เบียดเบียนชีวิตเขามาเป็นอาหารนั้น ความจริงเขาไม่ได้เต็มใจให้ชีวิตแก่เราเลย
แต่เราก็กดขี่ข่มเหงบีบคั้นเขามาฆ่ากินด้วยประการต่างๆ ถึงแม้เราจะไม่ได้ฆ่าเอง
แต่ก็มีส่วนแบ่งในการกระทำบาปของผู้ที่เขาฆ่ามาให้เรากิน
ฉะนั้น ท่านจึงว่า บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่กับคนกิน เมื่อเป็นดังนี้
พวกสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็คงจะต้องมาทวงหนี้ชีวิตเลือดเนื้อของเขาในวันหนึ่ง
ถ้าเราไม่มีทรัพย์ คือบุญกุศลสำหรับใช้หนี้เขา เราก็จะต้องลำบากหน่อยเวลาใกล้ตาย"


ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 09:28:54 AM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20150712092838_11695759_874281772625112_3978465586849264907_n.jpg)

“โลกุตตรศีล เป็นขั้นแรกของพระนิพพาน ถึงแม้จะเวียนว่ายตายเกิด ก็ยังเป็นคนพิเศษอยู่
ผิดจากมนุษย์ธรรมดา ใครปฏิบัติได้เช่นนั้นนับว่าเป็นผู้มีโชคลาภ มีทรัพย์อันแน่นอน
เปรียบเหมือนแท่งทอง ย่อมใช้ประโยชน์ได้ทั่วไปในโลก ไม่เหมือนธนบัตรหรือเงินตรา
ซึ่งมีขอบเขตจำกัดที่จะต้องใช้กันภายในประเทศนั้นๆ ส่วนทองใช้ได้ทั่วทุกสถาน
เพราะเป็นทรัพย์พิเศษก้อนหนึ่งของมนุษย์ นี้ฉันใด ใจที่เป็นศีลเป็นธรรม
ย่อมใช้ได้ในโลกนี้ และโลกอื่น จึงจัดว่าเป็นผู้ได้อริยทรัพย์อันประเสริฐของนักปฏิบัติในทางศาสนา...”

ธรรมโอวาทโดย
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
(พ.ศ. ๒๔๔๙ – ๒๕๐๔)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 16, 2015, 01:18:41 PM
"คนเรานั้น ถ้าสุขสบายแล้วก็มักจะประมาท และไม่ใครมีปัญญา ตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นเป็นเมืองที่อัตคัดมาก
จะปลูกผลหมากผลไม้ก็ไม่งาม แผ่นดินก็เต็มไปด้วยภูเขาไฟ ซึ่งมีการระเบิดบ่อยๆ ครั้งจนคนนอนตาไม่หลับ
 ทำให้ต้องขวนขวายระมัดระวังตัว คอยหนีภัยอยู่เสมอ จึงทำให้เป็นผุ้ตื่นตัวมีปัญญา
แก้ไขความทุกข์ยากของตนและประเทศชาติให้ไปสู่ความเจริญ คนมีสุขมากแล้วมักโง่
เพราะไม่รู้จักขวนขวายหาวิธีกำจัดทุกข์"...

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 17, 2015, 01:11:03 PM
"พุทธานุสสติโดยอาศัยลมหายใจ"

ดวงจิตคือ "มโนธาตุ" และธรรมดาของจิตนั้นก็มีความเร็วยิ่งกว่าลมในอากาศซึ่งมีอาการไหวไปมา และสะเทือนขึ้นลงอยู่เสมอ ไม่คงที่ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้มีสติเข้าไปอาศัยอยู่ในดวงจิตเพื่อจะได้แก้จุดเสียให้เป็นดีเรียกว่า "ภาวนา"

คือ ให้กำหนดลมหายใจและระลึกถึง "พุทธคุณ"นี้ข้อหนึ่ง พุทธคุณนี้โดยพยัญชนะ ไม่จำเป็นต้องวิจาร ให้รู้แต่เพียงคำพูดที่เรานึกกันอยู่ว่า "พุทโธๆ"นี้เสียก่อน

"พุทโธ" เป็นชื่อของ "สติ" "พุทธะ" หมายความว่า รู้ แต่เพียงแค่นึกพุทโธนี้ก็ยังไม่สำเร็จรูปขององค์ภาวนา การนึกนี้ เวลานึก็ต้องประคองคำพูด ให้มีส่วนเสมอเท่ากับลมหายใจของเราด้วย คือ หายใจให้พอดี พองาม ไม่ช้านัก ไม่เร็วนัก สุดแล้วแต่ลมตามธรรมชาติ เราก็นึกอนุโลมไปตามลมหายใจ ปรับปรุงการนึกของเราให้กลมกลืนกับลม นี่จึงจะแสดงว่า เป็นการถูกต้องกับองค์ภาวนา

นี้เป็น "พุทธานุสสติ" คือ นึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยย่อๆ โดยอาศัย "ลม" เป็นเครื่องหมายอันหนึ่งและ "สติ" เป็นผู้นึก เมื่อสติของเราได้แนบแน่นอยู่กับลมกับจิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเช่นนี้ อายตนะส่วนอื่นๆก็จะสงบราบคาบ ดวงจิตของเราก็จะค่อยๆสงบขึ้นทีละน้อยๆ นี่ก็เรียกว่า ตั้งอยู่ใน "อารักขกัมมัฏฐาน"*ข้อหนึ่ง

การภาวนาเช่นนี้ ก็คือ "พุทธานุสสติ" ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า คือ นึกโดยการปฏิบัติ การนึกเช่นนี้ย่อมจะให้ผลแก่พุทธบริษัททุกเหล่า

"พระอาจารย์ลี ธัมมธโร"
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

*อารักขกัมมัฏฐานหรืออารักขกรรมฐาน กรรมฐานที่ควรรักษาไว้เป็นนิจนี้
ข้อ ๑) พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ข้อ ๒) เมตตา แผ่จิตออกไปด้วยความใคร่
ความปรารถนาสุขประโยชน์แก่บุคคลแก่สัตว์ทั้งหลาย
ข้อ ๓) อสุภะ พิจารณากายนี้ว่าไม่งดงาม
และข้อ ๔ ) มรณสติ ระลึกถึงความตาย

....

คัดลอกจาก
หนังสือแนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน เล่ม ๒
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร. มกราคม, ๒๕๕๓. หน้า ๘๙-๙๐


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 14, 2015, 08:49:03 AM
มหัศจรรย์ท่านพ่อลี

กุฏิท่านพ่อลีสมัยนั้น ท่านห้ามคนพลุกพล่านผ่านไปมา แม้แต่พระเณรที่ไม่เกี่ยวข้องท่านก็ไม่ให้เข้าไปในเขตกุฏิของท่าน
ท่านมีรั้วและประตูไม้กั้นไว้อย่างมิดชิด มิให้ใครเข้าไปได้ มีกลอนมีกุญแจปิดอย่างดี แล้วท่านจะเขียนป้ายเป็นลายมือท่านตัวใหญ่ๆ
เบ้อเริ่มเทิ่มติดไว้ว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นที่พักจิต ปิดอารมณ์ สงบใจ ห้ามใครเข้าไป ผู้ใดอยากพบ จงนั่งรอที่ศาลา
และภาวนาพุทโธๆ 'ท่านพ่อๆ กำลังรอ ขอให้ออกมาที'...”

ท่านพระอาจารย์บุญกู้ อนุวฑฺฒโน กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า
“เป็นที่น่าอัศจรรย์ ไม่มีพระที่ใดในโลกปัจจุบันสามารถทำเช่นนั้นได้ เพียงคนที่มาหาท่าน ทำตามที่ท่านสั่ง
ภาวนาตามที่ท่านบอก ท่านจะออกมาหาเอง เหมือนเห็นด้วยตาเนื้อ”
บางครั้งคนมาฟังเทศน์ท่านพ่อลี เขามักจะเอาไปตีเป็นหวย ท่านพ่อลีฉันบิณฑบาตกับข้าว ๒ ตะกร้า เขาก็เอาไปตีเป็นหวย ท่านบอกว่า

“จะไม่บอกให้คนได้รู้ว่าเราชอบอาหารอะไร เพราะถ้าบอกเขาก็จะไปตีหวย”
ท่านใช้คนทำงานวัด เขาก็เอาไปตีหวยถูกบ่อยๆ ท่านให้ทัศนะในเรื่องนี้ไว้ว่า
“เรื่องหวยเป็นเรื่องของโชค คนที่จะมีโชคเป็นพื้นฐาน ต้องเป็นคนเคยทำทานมาก่อน คนทำทานป้องกันการตกนรกไม่ได้
จะป้องกันนรกได้จะต้องรักษาศีล มีศีลกับทานแล้วต้องภาวนา เมื่อรู้จักภาวนาเขาจะละเลิกความบ้าหวยได้เอง”
ท่านสามารถยกระดับของคนที่เคยติดหวยให้หายได้ ท่านบอกว่า

“จะสอนคนต้องทำเป็นขั้นเป็นตอน มิใช่จะสอนเขาทีเดียว ต้องค่อยๆ สอน เพราะถ้าเอาธรรมะสูงๆ ไปสอน เขาก็ตั้งรับไม่ทัน”
เมื่อท่านอบรมพระอยู่บนศาลา ท่านมักจะบอกว่า
“วันนี้จะมีคนนั้น คนนี้มาหา ให้พระรอต้อนรับเขา แล้วก็เป็นจริงตามนั้น”

ท่านกล่าวว่า
“กระแสจิตก็เหมือนกับกระแสคลื่นวิทยุ ถ้าใครมีเครื่องรับก็สามารถเปิดรับคลื่นได้ จิตก็เหมือนกัน
คนจะมาหาเรา เขาก็ส่งจิตมาก่อน ส่งความคิดถึงมาก่อน เรามีเครื่องรับ เราก็สามารถรับรู้ความคิดของเขาได้”
ขณะที่ท่านอบรมพระ มีญาติของผู้ต้องหาคดีสำคัญเข้าไปหาท่านขอให้ท่านช่วยเหลือ เพราะเชื่อว่าท่านสามารถช่วยได้ เขาอ้างว่า
“ผู้ต้องหาถูกใส่ร้าย” ท่านตอบทันทีว่า
“ไม่จริง ผู้ต้องหาไม่รับความจริง คนไม่จริงกับเรา เราก็ไม่จริงด้วย ถ้าจะให้เราช่วย ต้องจริงกับเรา อย่าเที่ยวมาโกหก”

แล้วท่านก็สอนต่อไปอีกว่า
“พระอย่างเรามีเทวดาอารักขา เปรียบเหมือนเจ้านายใหญ่มีองครักษ์รักษา ถ้าใครมาทำร้ายเจ้านายเขา
องครักษ์ต้องป้องกัน พระอย่างเรามีเทวดารักษา ถ้าใครมาทำไม่ดี ระวังนะ เทวดาจะทำร้ายเอา”
ท่านไปพม่า อินเดีย ท่านสามารถสื่อสารให้เขาเข้าใจ จนชาวพม่าชาวอินเดียศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ท่านบอกว่า
“ใช้วิชาดูจิต ดูใจ เชื้อชาติภาษาไหน รู้กันไปหมด ไม่ต้องกังวล”

จาก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=36505 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=36505)


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 07, 2015, 08:19:17 PM

เรื่อง "สำคัญตนว่าเป็นคนฉลาด แต่ชอบกลืนกินอารมณ์ที่ชั่ว"
(คติธรรม ท่านพ่อลี ธัมมธโร)

คนที่จิตยังไม่สูงเต็มที่ เมื่อใครเขาด่าว่าอะไรก็มักเก็บไปคิด คนเราโดยมากสำคัญตนว่าเป็นคนฉลาด
แต่ชอบกลืนกินอารมณ์ที่ชั่ว อารมณ์ชั่วเปรียบเหมือนกับเศษอาหารที่เขาคายออกแล้ว
ถ้าเป็นคนอดอยากยากจนจริงๆ จำเป็นจะต้องขอเขากิน ก็ควรกลืนกินแต่อารมณ์ที่ดี เปรียบเหมือนอาหารที่ไม่เป็นเศษของใคร
แต่ถึงกระนั้นก็ยังอยู่ในลักษณะที่ยากจน นี่เป็นลักษณะของคนโง่ ไม่ใช่คนฉลาด เพราะความดีอยู่กับตัวเองแท้ๆ
แต่ไพล่ไปเก็บเอาความชั่วที่คนอื่นเขามา เช่นนี้ก็ย่อมเป็นการผิดทาง ที่ถูกนั้น ใครจะว่าอะไรก็ช่างเขา
ต้องคิดว่านั่นเป็นสมบัติของเขา ไม่ใช่ของเรา ส่วนความดีที่เราทำก็ย่อมอยู่ที่ตัวเรา ให้คิดเหมือนมะม่วงที่เป็นหนอน
คนฉลาดเขาก็เลือกกินแต่ตรงเนื้อที่ดีๆ ส่วนที่เน่าที่เสียก็ปล่อยให้บุ้งหนอนมันกินของมันไปเพราะเป็นวิสัยของมัน
ส่วนเราก็อย่าไปอยู่จำพวกบุ้งหนอนด้วย

อย่างนี้เรียกว่า ผู้นั้นเป็น “มนุสฺโส” คือ มีใจสูงขึ้น เหมือนกับเราอยู่บนศาลาก็ย่อมพ้นจากสัตว์เดรัจฉาน
เช่น แมว สุนัข ที่จะมารบกวน มันจะกระโดดขึ้นมาตะครุบเราก็ไม่ได้ ถ้าเราอยู่บนพื้นดินเราก็จะต้องถูกแดดบ้าง
 ฝนบ้าง และอันตรายต่างๆ ก็มารบกวนได้ คือ ยังปนเปกับคนพาลบ้าง บัณฑิตบ้าง ฉันใดก็ดี
การประพฤติปฏิบัติธรรมของนักปราชญ์ ท่านจึงต้องรู้จักเลือกเฟ้นแต่สิ่งที่ดี ท่านไม่ยอมเก็บของเสียมาบริโภค
เพราะของเสียนั้นเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว ก็เกิดพิษเน่าบูดให้โทษแก่ร่างกาย ส่วนของดีเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว
ไม่มีโทษ มีแต่จะเกิดประโยชน์แก่ร่างกายอย่างเดียว

คัดลอกจาก พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน ๒


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 23, 2016, 01:56:50 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20141018214907_tanpor_lee2.jpg)

“ท่านพ่อลี ระลึกชาติ”

ท่านพ่อลี เล่าว่า.... เมื่อเราเกิดมาได้เพียง ๙ วัน มีอาการร้องไห้กระจองอแงรบกวนพ่อแม่เป็นอย่างมาก ไม่มีใครสามารถจะเลี้ยงให้ถูกใจได้ เป็นเด็กที่เลี้ยงยาก ซุกซนที่สุด มักร้องไห้เอาแต่ใจเสมอ เมื่อโยมแม่ออกไฟได้ ๓ วัน เราเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคบนศีรษะ ไม่ยอมกินไม่ยอมนอนเป็นเวลาหลายวัน
“อันโรคเจ็บป่วยบนศีรษะที่เป็นมาตั้งแต่เกิด” นั้น เป็นบุพพกรรมมาตั้งแต่อดีตชาติที่เคยพรากชีวิตสัตว์ไว้ เราเคยเกิดเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่รบได้ชัยชนะมาทั้ง ๔ ทิศ ได้สร้างกรรมหนักหน่วงด้วยการฆ่ามนุษย์ ทรมานนักโทษด้วยเครื่องบีบศีรษะ และเครื่องทรมานอื่น ๆ อันเป็นเครื่องทรมานที่สุดแสนจะทารุณ เพื่อให้เขายอมรับผิดและพูดความจริงถึงความลับของอริราชศัตรู แต่การได้ชัยชนะเหล่านั้นมา กลับเป็นการสร้างเวรกรรมที่ไม่มีวันจะจบสิ้น.... ส่งผลให้ชาติปัจจุบัน เราต้องมีอาการปวดศีรษะและจะอายุสั้น เพราะเราได้ฆ่ามนุษย์ไว้มากในชาติที่เป็นกษัตริย์นั้น
เนื่องจากท่านพ่อลี ธมฺมธโร ได้เคยปรารภถึงเรื่องในอดีตชาติ ก่อนที่จะมาเกิดในชาตินี้ ซึ่งเป็นชาติสุดท้ายของท่านไว้ว่า
ท่านเคยเกิดเป็นชาวจังหวัดจันทบุรี มีฐานะมั่งคั่งพรั่งพร้อม มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบาย เป็นบุตรชายคนที่สอง พ่อแม่รักถนอมดั่งดวงใจ
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาประวัติของท่านพ่อมาถึงตรงนี้จึงเกิดความคิดสะกิดใจ ใคร่รู้ใคร่เห็นในชาติที่ท่านเกิดครั้งนั้น ว่าน่าจะมีอะไรที่น่าสนใจมากกว่านี้ สมควรที่จะไขปริศนาความลี้ลับแห่งภพชาติหนหลังของท่าน อันจะเป็นกุญแจไขไปสู่ประตูแห่งนรกสวรรค์ และพระนิพพานได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้จึงพยายามสืบค้นหาความจริงยืนยันในเรื่องนี้ เมื่อเป็นที่แน่ใจแล้ว ผู้เขียนและทีมงานจึงเดินทางไปพบกับคุณลุงสถิต ไมตรีเวช ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของท่านพ่อลีทันที ณ บ้านเลขที่ ๖๒๙/๑๒๐ ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
เมื่อคุณลุงสถิต ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสรรพากร จังหวัดสระบุรี ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ ได้เข้าใจถึงสาเหตุที่พวกเรามาพบแล้ว คุณลุงจึงเริ่มเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่พอจะจำได้ให้พวกเราฟังว่า
ชาติก่อนนั้นท่านพ่อลีเป็นน้องชายของพ่อผม คือ ขุนแพทย์ไพบูลย์ (ไพบูลย์ ไมตรีเวช) ทั้งคู่เป็นบุตรของ ก๋ง (ปู่) จันทร์ และคุณย่าฮ้วย ไมตรีเวช ซึ่งเป็นคนรวย มีที่ดินและห้องแถวให้เช่าอยู่จังหวัดจันทบุรี แต่ย่าเป็นคนมีนิสัยค่อนข้างหนักไปทางตระหนี่ถี่เหนียว ไม่ชอบทำบุญสุนทานอะไรเลย
ชาตินั้นท่านพ่อลีอายุสั้นมาก ตายตอนอายุได้แค่ ๘ ขวบเท่านั้น ท่านตายไปได้ไม่กี่ปีท่านก็มาเกิดใหม่อีกในชาตินี้ คุณแม่และพี่ชายของท่านยังมีชีวิตอยู่ เรียกได้ว่า “ทวิภพ” คือ “ท่านเป็นคน ๒ ภพ” คือตายแล้วเกิดใหม่ พ่อแม่เก่าและญาติพี่น้องก็ยังคงอยู่ เป็นเรื่องน่าพิศวง
ฉะนั้นผมซึ่งเป็นหลานของท่านจึงทันได้พบท่านและพอรู้เรื่องราวจากพ่อผมเล่าให้ผมฟังว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านพ่อลีซึ่งบวชเป็นพระแล้ว ได้มาหาย่าที่บ้าน ย่าก็รู้สึกแปลกใจสงสัยว่าพระมาทำไม? ไม่ได้รู้จักกันซักหน่อย ด้วยความที่ย่าเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวมาก ก็กลัวว่าพระจะมาขอเรี่ยไรเงิน จึงถามท่านพ่อว่า
“ท่านชื่ออะไร? มาจากไหน? มาทำไม?”
ท่านพ่อท่านก็ไม่มีลีลามาก ท่านก็พูดโต้ง ๆ ซื่อ ๆ ว่า
“อาตมาชื่อ ‘ลี’ มาจากวัดป่าคลองกุ้ง มาหาคุณแม่ คุณแม่เป็นโยมแม่ของอาตมาเมื่อชาติปางก่อน” คุณย่าได้ฟังดังนั้นก็ตกใจ ไม่เชื่อ คิดว่าท่านพ่อลีมาหลอก เพราะทราบว่า “ตัวเป็นคนรวย คงอยากได้เงินได้สมบัติละสิ”
ในส่วนตัวผมคิดว่า ท่านหวังจะมาโปรดให้คุณย่ารู้จักทำบุญทำทานเสียบ้าง อายุมากแล้ว ตอนนั้นก็อายุตั้ง ๗๙ ปี ยังไม่รู้จักการให้ทานรักษาศีลสักเท่าไร...งกที่สุด
จากนั้นท่านพ่อจึงบอกว่า “โยมแม่” อาตมาไม่ได้หวังอะไรในสมบัติของโยมเลย โปรดฟังอาตมาก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าสิ่งที่อาตมาพูดเป็นความจริงหรือความเท็จหรือแต่งเรื่องขึ้นมา
คุณย่า จึงเรียกพ่อผมมาฟังด้วย เพราะฟังคนเดียวเดี๋ยวโดนพระหลอก
ท่านพ่อลีจึงเล่าเรื่องแต่ปางก่อนอย่างช้า ๆ ว่า .... “โยมแม่จำได้ไหมว่า ไฟเคยไหม้ที่ตลาดของเรา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ตอนนั้นอาตมาอายุได้เพียง ๘ ปี โดนไฟครอกพุพองไหม้เกรียมไปทั้งร่าง โยมแม่ร้องไห้แทบเป็นแทบตาย เบื้องต้นอาตมายังไม่ตาย โยมแม่เฝ้าถนอมรักษาอยู่นานวัน หลังจากนั้นไม่นานอาตมาก็ถึงแก่ความตายตอนอายุ ๘ ปี
หลังจากตายไป ๔ ปี คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ อาตมาก็มาเกิดใหม่ที่จังหวัดอุบลฯ ตอนนี้แม่ที่อุบลฯ ก็ตายแล้ว อาตมาอยากตอบแทนบุญคุณแม่ที่ยังไม่ตาย คือ แม่ที่นั่งอยู่ต่อหน้าต่อตาอาตมานี้เอง
คุณย่าฮ้วยและพ่อผมนั่งฟังนิ่ง พยายามลำดับเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต ตามที่ท่านพ่อลีเล่า ถึงแม้เรื่องนี้จะผ่านมานานแล้ว แต่คุณย่ายังจำฝังใจไม่มีวันลืมเลือนในเหตุการณ์ครั้งนั้น ถ้าหากท่านพ่อลีเล่าผิดนิดเดียวนั้นแสดงว่าหาข้อมูลมาโกหก
แม้ที่ท่านพ่อลีพูดมานั้นจะถูกต้องทุกเรื่อง แต่ก็มิได้ทำให้คุณย่าฮ้วยเชื่อและลงใจ แกก็ยังลังเลที่จะเชื่อว่าเป็นลูกของตัวจริง ๆ
ท่านพ่อลี จ้องหน้าคุณย่าด้วยสายตาคบกริบและพูดอย่างหนักแน่นว่า... “โยมแม่!... อาตมาลืมบอกไปเรื่องหนึ่ง คือตอนที่อาตมาเป็นเด็ก ในครั้งนั้นอาตมามีแผลเป็นอยู่ตรงขาด้านซ้าย ซึ่งเกิดจากตอนเป็นเด็กซุกซนมาก ขามีแผลเหวอะหวะ คุณแม่ยังเอายามาคอยทาให้ เรื่องนี้นอกจากคุณแม่และพี่ชายและอาตมาแล้วคงไม่มีใครอาจรู้ได้”
คุณย่าฮ้วยกับพ่อผมได้ฟังดังนั้น เหมือนฟ้าดินถล่มภายในดวงใจ ถึงกับน้ำตาไหล ย่าฮ้วยจ้องมองท่านพ่อลีด้วยนัยตาแห่งความอ่อนโยนอันสื่อมาจากความรักเอ็นดูของแม่ สงสารท่านพ่อลีเป็นกำลัง ถ้าไม่ใช่พระ คุณย่าคงเข้าไปโอบกอดท่านแล้ว
“แม่... เรื่องในครอบครัวนี้ไม่มีใครจะสามารถรู้ได้ นอกจากพวกเราเอง” พ่อผมพูดขึ้น
“โถ...ลูกแม่” ย่าฮ้วยอุทานพร้อมทั้งน้ำตาที่ไหลออกมาเป็นสาย
“พระท่านสอน บุญบาปมี ชาติหน้ามีจริง นรกสวรรค์มีจริงแท้ ๆ” ย่าฮ้วยอุทานอีกครั้ง “บุญค้ำจุนแท้ ๆ ที่ได้พบกัน” ย่าฮ้วยพร่ำรำพันแล้วรำพันเล่า
และท่านพ่อลีก็ได้เล่าเรื่องต่าง ๆ ในอดีตมากมายให้ย่าฮ้วยฟัง เสียดายผมจำมาจากพ่อไม่ได้หมด คุณลุงสถิตบ่นเสียดาย “ผมสรุปสั้น ๆ ก็แล้วกันว่าคุณย่าเชื่อสนิท”
จากนั้นท่านพ่อก็ไป ๆ มา ๆ ที่บ้านย่าฮ้วยเป็นประจำ มาดูแลย่า เช่น ยามเวลาย่าเจ็บป่วยก็ส่งคนมาช่วยดูแล ส่วนท่านก็มาถามไถ่ว่า เป็นไงบ้างโยมแม่และหาของมาฝากมาให้เสมอ
คุณย่าก็ยิ่งรักท่านพ่อลี รักมาก ๆ รักเหมือนลูกในไส้ พวกเราทั้งตระกูลก็รักท่าน กาลต่อมาคุณย่ากราบขออ้อนวอนให้ท่านสึกมารับทรัพย์มรดก ท่านก็ไม่สึก
ท่านพ่อลีตอบว่าถ้าจะให้ก็ไม่ต้องให้ส่วนตัวหรอก ทำบุญไปเลย ให้วัดไปเลย อาตมาไม่เอา คุณย่าเห็นว่าท่านพ่อมีความตั้งใจอย่างนั้นจริง ๆ จึงทำตามที่ท่านพ่อบอก
ที่จำได้ย่ายกสมบัติที่มีให้วัด ยกที่ให้โรงเรียน ส่วนหนึ่งของวัดป่าคลองกุ้งก็เป็นที่ย่า ติดกับบ้านที่ย่าอยู่มีสวนมะม่วงด้วย ผมเคยทานข้าวที่บ้าน แล้วไปนั่งส้วมที่สวนมะม่วง ใกล้กันมาก แหงนหน้ามีแต่มะม่วง เก็บมะม่วงได้ เพราะส้วมสมัยนั้นไม่มีหลังคา
พ่อผมก็ยินดีที่ย่าเอาสมบัติส่วนของท่านพ่อลีทำบุญถวายวัดไป เพราะพ่อก็แน่ใจว่าท่านพ่อลีคือน้องชาย ที่ตายไปตอนอายุได้ ๘ ขวบจริง ๆ
ต่อมาภายหลัง พ่อกับย่ามาอยู่ที่บางคล้า แปดริ้ว พ่อมาเป็นคหบดีที่นี่ ย่ามาตายที่บางคล้า ยังไม่ทันเผาศพย่า พ่อก็ตายอีก
พอท่านพ่อทราบข่าว ก็มาที่บางคล้า ถามไถ่ลูกหลานว่าเป็นยังไง ทำบุญยังไง งานศพคุณย่ากับงานศพพ่อทำที่วัดแจ้งเป็นงานใหญ่มาก ท่านพ่อลีแข็งขันมาก ท่านมาจูงศพให้เอง ทำเหมือนกับท่านเป็นเจ้าภาพองค์หนึ่ง ท่านมาจากเมืองจันท์ฯ มากันหลายคน ท่านนั่งตรงที่ตั้งศพ คนจันท์ฯ ก็จะนั่งอยู่ข้าง ๆ ความที่เราไม่รู้ประสีประสา ความคารวะอะไรเราก็ไม่รู้เรื่อง ได้แต่สงสัยว่าแหมเขาคอยอะไรนะ สักพักท่านพ่อคายชานหมาก เขาก็รีบรับมาแบ่งกัน แล้วก็บอกว่าอมเข้าไปแล้วจะรู้สึกคล้าย ๆ อมพิมเสน จะเย็น แต่ท่านไม่เห็นให้ผมเลย ผมก็คิดว่าเอ...เคี้ยวกันเองก็ได้ ทำไมต้องคอยจากที่ท่านคายออกมา
ท่านพ่อลีมีปานดำที่ลิ้น ลิ้นของท่านดำ
ฉะนั้นชานหมากของท่านจึง “เฮี้ยน!” (ขลัง) ต้องแย่งกัน
ถ้ามีใครขออะไรท่าน ท่านจะบอกว่าให้นั่ง “พุทโธ”
ตอนที่ย่าตาย มีปัญหาจัดการเรื่องมรดกไม่ลงตัว พี่น้องมีปากมีเสียงกันนิดหน่อย พอท่านพ่อลีขอ ก็เลิก ๆ กันไป ท่านสอนไม่ให้โลภ
ท่านเคยมาเยี่ยมผม ท่านก็ถามสบายดีไหม ถ่ายรูปดีไหม ขยัน ๆ เน้อ
ตอนนั้นผมเปิดร้ายถ่ายรูป ท่านก็พูดธรรมดา ไม่เคยสอนไม่เคยให้อะไรมาก ไม่ให้คาถาด้วย ก่อนที่ท่านจะกลับเมืองจันท์ ท่านมาเยี่ยม คืนนั้นถ่ายรูปท่านตอนประมาณ ๒-๓ ทุ่ม รูปที่ท่านนั่ง ผมเป็นคนถ่ายที่บ้านผม สมัยนั้นใช้กล้องใหญ่ถ่าย กล้องแบบขาตั้ง คลุมหัวแล้วก็หมุน
สมัยนั้นกล้องเล็ก ๆ ไม่ค่อยมีหรอก ไฟก็ไม่มีต้องใช้ตะเกียงเจ้าพายุ แล้วก็รีบล้างให้ท่าน ไม่สะดวกเหมือนสมัยนี้ ท่านจะลงอักขระที่รูปให้ ก็เหลืออยู่แผ่นเดียวรูปนี้ ตอนท่านมาอยู่วัดอโศการาม ผมได้ไปหาท่าน ท่านให้พระดินที่ท่านสร้างพร้อมกับยันต์ หน้าท่านพ่อลีคล้ายพ่อผมมากเลย กราม เกริมอะไรนี่ เหมือนมาก ทุกวันที่ ๒๓ เมษายน ผมต้องไปทำบุญที่วัดอโศฯ ทุกปี บูชารูปมาบ้าง ผมเคารพนับถือท่านพ่อลีมาก
เนื้อหา คัดลอกมาจาก www.watasokaram.org