หัวข้อ: ต้นไม้ในพุทธประวัติ : ต้นไทรนิโครธ (Ficus bengalensis L.) เริ่มหัวข้อโดย: samarn ที่ พฤศจิกายน 21, 2008, 04:13:51 PM ต้นไทรนิโครธ (Ficus bengalensis L.)
ต้นไทรนิโครธหรือเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า ?บันฮัน? และตามภาษาฮินดูว่า ?บาร์คาด? ตามพระพุทธประวัติ กล่าวว่าหลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว ได้ทรงประทับอยู่ ณ ภายใต้ร่มโพธิ์ต่อไปอีก 7 วัน จึงได้ทรงย้าย ไปประทับต่อที่ใต้ร่มไทรนิโครธอีก 7 วัน ไทรนิโครธ เป็นพันธุ์ไม้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับโพธิ์ กร่างและมะเดื่อ คือสกุล (genus) มะเดื่อ (Ficus) ในวงศ์(Family) ไทร(Moraceae) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ลำต้นเป็นพูพอนมาก มีกิ่งก้านสาขาไม่แพ้ต้นโพธิ์เช่นกัน ปลายกิ่งจะห้อยลู่ลง ทำให้เกิดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ ตามลำต้นและกิ่ง จะมีรากอากาศห้อยย้อยลงมามาก ซึ่งรากอากาศนี้จะเจริญเติบโต เป็นลำต้นต่อไปได้อีกด้วย ฉะนั้นบางทีจะทำให้เกิดเป็นหลืบสลับซับซ้อน ดูเป็นฉากเป็นห้องพัก กำบังลม ? ฝนได้ ้อย่างดี และคงจะเป็นเพราะเหตุนี้กระมังพระพุทธเจ้าจึงทรงเสด็จ ประทับเพราะอาจจะเป็นได้ว่าในช่วงนั้นมีฝนตก และลมแรง ก็เป็นได้ ตามกิ่งอ่อนจะมีขนนุ่ม ๆ หนาแน่น ตามใบอ่อนก็มีขนแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านท้องใบ แต่พอใบแก่ขนจะหลุดร่วงไปหมด ใบจะติดเวียนกัน เป็นกลุ่มตามปลาย ๆ กิ่ง เมื่อทิ้งใบจะปรากฏรอยแผลใบเด่นชัด ใบรูปไข่ กว้าง 10 ? 14 ซม. ยาว 15 ? 20 ซม. ปลายใบมน โคนใบโค้งกว้าง ๆ หรือหยักเว้าเข้าเล็กน้อย เนื้อใบหนา แขนงใบมีระหว่าง 4 ? 6 คู่ ก้านใบอวบ ยาว 2 ? 5 ซม. ผลกลม โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ? 1.5 ซม. ผลจะติดแนบอยู่กับกิ่ง และแต่ละผลจะมีกาบ 2 ? 4 กาบ เมื่อผลแก่จะมีสีแดงคล้ำ ๆ หรือสีเลือดหมู เป็นอาหารของสัตว์พวกนกได้เป็นอย่างดี ไทรนิโครธ ขึ้นกระจายทั่วไปในย่านเอเชียเขตร้อน อาจจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หรือกระจายห่าง ๆ ตามพื้นที่ที่ค่อนข้าง ชุ่มชื้น ไม่เลือกชนิดดิน และสามารถอยู่ได้ในที่น้ำท่วมชั่วคราวได้ การขยายพันธุ์ก็โดยอาศัยเมล็ด ซึ่งสัตว์ ์จำพวกนกจะพากันมากินแล้วบินไปถ่ายมูลที่อื่น ไทรนิโครธก็จะไปขึ้นที่นั้น จึงเป็นเหตุให้การแพร่พันธุ์เป็นไป อย่างกว้างขวางมาก นอกจากนี้ยังอาจจะใช้วิธีชำหรือตอนกิ่งนำไปปลูกก็ได้ โดยปกติมักนิยมปลูกไว้ตาม วัดวาอารามและตามสวนสาธารณะที่มีเนื้อที่กว้าง ๆ เพื่อใช้เป็นที่พักของพุทธศาสนิกชน ตลอดจนเป็นที่อาศัย และแหล่งอาหารของนกกาต่าง ๆ แต่ตามบ้านเรือนและตามชายถนนแล้วไม่ค่อยนิยมปลูกกันเพราะเนื่องจาก กิ่งก้านของไทรนิโครธใหญ่โตและอาจมีอันตรายเมื่อมีพายุพัดในบางโอกาส ทำให้ไม่ปลอดภัยต่อเสาไฟ หรือหลังคาบ้านก็เป็นได้ ความจริงไทรในอินเดียก็มีมากมายหลายชนิด บางชนิดก็มีพุ่มหนาแน่นเหมาะที่จะใช้เป็นที่พักอาศัยในระหว่าง การเดินทาง เช่นกัน เช่น ไทรย้อย ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Ficus bengnalensis L. และยางอินเดีย ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Ficus elastica Roxb. ex Hornem เป็นต้น ฉะนั้นถ้าจะให้กำหนดว่า ไทรชนิดไหนแน่ที่พระพุทธเจ้า ทรงนั่งประทับนั้นคงจะลำบาก แต่โดยคำนึงเอาว่าไทรนิโครธนั้นมีดาษดื่นและกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ประกอบกับมีลำต้นปลอมที่เกิดจากรากอากาศล้อมเป็นปริมณฑล ก็คงเหมาะแก่การพักพิงและหลบภัยธรรมชาติ ก็คงเหมาะแก่การพักพิงและหลบภัยธรรมชาติได้มากกว่าไทรชนิดอื่น ๆ และชื่อทางพฤกษศาตร์ยังมีชื่อพ้องกับ Ficus indica L. ซึ่งหมายถึงไทรอินเดียอีกด้วย จึงมีผู้เขียนเกี่ยวกับไม้พระพุทธประวัติหลายท่านกำหนด เอาไทรนิโครธเป็นหลักไว้ก่อน และคำว่านิโครธคงจะแผลงมาจากนิโรธ ก็หมายถึงการพ้นจากบ่วงทุกข์ บ่วงกิเลส ก็อาจเป็นได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ชนะมาร (กิเลส) แล้ว จึงทรงประสงค์จะไปประทับที่ใต้ต้นนิโครธก็เป็นได้ (http://i233.photobucket.com/albums/ee89/micsci/multiply/pok-pud.jpg) |