หัวข้อ: พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต้องถอดจิตหลุดพ้นของท่านออกจากขันธ์ 5 ไม่งั้นนิพพานไม่ได้ เริ่มหัวข้อโดย: phonsakw ที่ กรกฎาคม 08, 2012, 03:15:42 pm คุณไทยเพียวครับ
มีเพียงผู้เดียวที่หลีกหนีความตายได้ คือ ผู้เป็นพระพุทธเจ้าครับ เพราะมีหลักอยู่ว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ย่อมต้องถอดจิตหลุดพ้นของท่านออกจากขันธ์ 5 เอง เพราะบุญบารมีท่านสูงสุด ใครจะฆ่าหรือทำลายขันธ์ 5 ของท่านก็ไม่ได้ หลักฐาน 1: "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงชีวิตตถาคต ด้วยความพยายามของผู้อื่นนั่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วย ความพยายามของผู้อื่น" (พระไตรปิฎก เล่ม 7 พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค 2) หลักฐาน 2: “อย่าเลยอานนท์ บารมีเราได้สร้างมาดีแล้ว ไม่มีใครสามารถปลงชีวิตของตถาคตได้ ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉานหรือมนุษย์หรือเทวดามารพรหมใด ๆ” หลักฐาน 3: จุนทะ! สูกรมัททวะ ที่เหลือนี้ท่านจงฝังเสียในบ่อ เราไม่มองเห็นใครในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ที่บริโภคแล้ว จักให้ย่อยได้, นอกจากตถาคต” = มีแต่ตถาคตเท่านั้น ที่พิษอะไรก็ทำอะไรท่านไม่ได้ ถามว่า 1. เมื่อพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ไม่สามารถตายได้ด้วยการกระทำของผู้อื่น และพระตถาคตทั้งหลายย่อมตายด้วยอะไรล่ะครับถึงจะปรินิพพานได้ ......ตถาคตทั้งหลายย่อมฆ่า หรือทำลายร่างกายของตัวตายเองใช่หรือเปล่า? คือ ถอดจิตหลุดพ้นของท่านออกจากขันธ์ 5 เอง 2. ใครหรืออะไรจะฆ่าโคตมะพระพุทธเจ้าย่อมไม่ได้ สูกรมัททวะ ซึ่งเป็นอาหารพิษแก่มนุษย์ และแม่เหล่า เทพ พรหม กินเข้าไปแล้ว เสร็จแน่(ไม่ย่อย) นอกจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กินแล้ว(ย่อยได้) และไม่เป็นพิษกับพระองค์ด้วย นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า หากพระองค์ประสงค์จะอยู่ต่อพระองค์สามารถเจริญอิทธิบาท4และจะมีชีวิตดำรงค์อยู่ต่อไปอีกได้ตลอดกัป อ่านคำยืนยันของพระพุทธองค์นะครับ ดูก่อน...อานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคตได้เจริญแล้ว ได้ทำให้มากแล้ว ได้ทำให้เป็นยานแล้วได้ทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว, ดูก่อน...อานนท์ ตถาคตนั้น เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป.....ดังนี้.... สรุป ด้วยท่อนสุดท้าย "อานนท์ ตถาคตนั้น เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป" นี่ก็คือพระพุทธองค์ไม่ได้หวังอยู่ต่อ เพราะพระพุทธองค์ท่านไปรับบิณฑบาทของพยามารไว้แล้วว่าจะปรินิพพาน |