หัวข้อ: วาทะดังตฤณ รวบรวมจากเว็บธรรมะ ต่างๆ เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 06, 2012, 01:24:07 pm • เนื้อแท้ของการเวียนว่ายตายเกิดนั้น
ไม่มีใครทำอะไรใคร มีแต่คนก่อกรรมให้ตัวเองเป็นอย่างไรกันทั้งสิ้น • จุดเริ่มต้นและผู้สร้างไม่มี มีแต่กฎว่าถ้าเหตุสว่างผลก็สว่าง ถ้าเหตุมืดผลก็มืด ... นี่คือแก่นอันเป็นยอดหนึ่งของศาสนาที่แสดงความจริง • ความตั้งใจที่จะทำบุญทำกุศลสม่ำเสมอไม่ขาดนั้น ก็จะส่งผลดีอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน • รางวัลที่ดีที่สุดของการอยู่ในวินัยอันสว่าง ก็คือชีวิตที่สว่างขึ้นนั่นเองครับ • Google อาจช่วยให้คุณได้คําตอบที่ดีที่สุดในชีวิต แต่ไม่อาจช่วยให้คุณตั้งคําถามที่เป็นประโยชน์สูงสุดกับชีวิต • เรามีทุกคำตอบที่ดีที่สุดอยู่บน Internet ปัญหาคือเราไม่ค่อยมีคำถามที่ดีที่สุดอยู่ในใจ • หนังสือที่ดีที่สุดไม่มี มีแต่การอ่านที่ดีที่สุด การอ่านที่ดีที่สุด คือการอ่านเพื่อทำให้ชีวิตจริงดีขึ้น • ชาวพุทธที่เข้าถึงปัญญาแบบพุทธ จะรู้ว่าความฉลาดสูงสุดไม่ใช่เลข I.Q. สูงสุด แต่เป็นการรู้จักโจทย์สำคัญสูงสุด และได้คำตอบเป็นประโยชน์สูงสุด ตามรอยบาทพระศาสดา • ความฉลาดแบบพุทธเริ่มต้นจากความสามารถจำแนกจิตของตนเอง ว่ากำลังมืดหรือสว่าง กำลังเป็นทุกข์หรือเป็นสุขจากการคิดอย่างไร พูดแบบไหน เพราะเมื่อฉลาดแบบพุทธแล้ว บุคคลย่อมมีแก่ใจเลือกก่อกรรมอันเป็นคุณ เป็นความเย็นสบาย และเลิกก่อกรรมอันเป็นโทษ เป็นความเดือดร้อนเสียได้จริง มีสิทธิ์พบทั้งสวรรค์และนิพพานในที่สุด : ตอนแรกผมทำความเข้าใจกับคำตอบของพระสารีบุตรแล้วยังไม่เข้าใจ ต่อเมื่อเห็นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าจะนับว่าฉลาดอย่างแท้จริง ต้องรู้ว่ากรรมใดเป็นคุณ กรรมใดเป็นโทษ อะไรไม่เที่ยง อะไรเป็นทางแห่งบรมสุข (นิพพาน) : แล้วเริ่มสังเกตตนเอง พบว่าเมื่อรู้วาระจิตของตัวเองมากขึ้น มีความสามารถในการจำแนกว่าขณะนี้จิตขุ่นมัวเป็นอกุศล หรือกำลังสดใสเป็นกุศล : แรกๆอาจไม่มีผลอะไร แต่บ่อยเข้าก็ทราบที่มาที่ไป ว่าเพราะหมกมุ่นตรึกนึกในทางไม่ดี จึงเกิดความมืดขึ้นในภายใน และเพราะเล็งแลแง่ดี จึงเกิดความสว่างขึ้นมาแทน เลยไม่ค่อยอยากก่อเหตุทางใจ กระทำใจให้เป็นหลุมดำด้วยความตรึกนึกอันเป็นอกุศล : สังเกตจิตซ้ำไปซ้ำมา ผ่านเดือน ผ่านปี ตอนนี้ก็นับได้หลายสิบปี ก็พบความจริงอีกว่าที่เบาบางลงเรื่อยๆ คือความรู้สึกหวงจิต (สำนวนพระป่าครูบาอาจารย์ท่านว่า "กลัวไม่มีจิต") ก็จิตดับไปเป็นดวงๆ เดี๋ยวมืด เดี๋ยวสว่างตลอดเวลาอยู่แล้ว จะไปหวงมันทำไม จะไปกลัวอะไร เมื่อเลิกกลัวไม่มีจิต ก็เลิกกลัวไม่มีตัวตนไปด้วย ความโง่ค่อยๆถอนตัว ตัวเรากับความโง่ต่างอยากอำลากันและกันในที่สุด : เมื่อยังไม่สามารถจำแนกจิต ท่านก็ให้สร้างจิตที่เป็นกุศลขึ้นมาเพื่อดูง่ายก่อน หมั่นทำทาน แน่วแน่ในการรักษาศีล จิตที่ผ่องใสสว่างย่อมดูง่ายว่ากำลังเป็นอย่างนี้อยู่ หรือแปรเป็นหม่นหมองแค่ไหนแล้ว กับทั้งไม่อยากถือสาความเลวร้ายของชาวโลก ที่หมั่นสร้างเหตุแห่งความทุกข์ด้วยการทำร้ายตนเอง ทำร้ายคนอื่น ทำร้ายเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันด้วย : ความฉลาดในการจำแนกจิตตนจิตท่าน ดีกว่าความฉลาดเลข ฉลาดสังคม ฉลาดการเงิน และฉลาดอะไรๆทั้งหมด เพราะฉลาดแบบนี้เท่านั้น ที่บรรลุที่สุดแห่งความฉลาดแล้ว ก็เป็นสุขเลย ไม่กลับทุกข์กลับโศกอีก... ขอบพระคุณสำหรับธรรมะ จาก คุณดังตฤณ DUNGTRIN ครับผม หัวข้อ: Re: วาทะดังตฤณ รวบรวมจากเว็บธรรมะ ต่างๆ เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 18, 2012, 03:15:54 pm ตามหลักพุทธเรา วิธีสะเดาะเคราะห์ที่ดีที่สุด
หรืออีกนัยหนึ่งวิธีโบกย้ายเงาราหูออกไปจากหลังของเรา ก็คือทำจิตให้เย็นมีสติให้มาก อาศัยเหตุการณ์ที่เราเพิ่งเผชิญมานั่นแหละเป็นบทฝึก ยิ่งเร่าร้อนกระวนกระวายมากเพียงใด เมื่อสามารถระงับเสียได้ ... ก็จะรู้ซึ้งถึงคุณค่าความเย็นมากขึ้นเพียงนั้น : เมื่อใดใจเย็น เมื่อนั้นแปลว่าราหูจะยังครอบหัว ครอบตัว ครอบแขน ครอบขา ก็จะไม่อาจครอบใจเราได้ ต่อให้ต้องตายไปเดี๋ยวนั้น คุณก็จะได้ดีกว่าที่เป็น ได้เย็นกว่าที่เคย เพราะดับความกระวนกระวายในภพเก่าลงสนิทแล้ว • หลักแก้กรรมก็คล้ายๆหลักซักผ้านั่นเอง เผลอปล่อยให้ผ้าดำที่ตรงไหน ก็ไปแก้ที่ตรงนั้น ไม่ใช่ไปแก้ที่ตรงอื่น อย่าแก้กรรมหนึ่งด้วยการอ้างความดีอื่นมากลบเกลื่อน • แก้กรรม คือทำให้วันนี้ดีขึ้นกว่าเมื่อวาน ไม่ใช่ขุดเมื่อวานมาทำพิธีให้วันนี้สูญเปล่า • เกือบทุกคนมีกรรมดำบางอย่างที่ส่งผลร้ายอย่างสำคัญอยู่เห็นๆ ขอเพียงมีศรัทธา มีความเชื่อว่าถ้าเปลี่ยนกรรมดำอย่างใหญ่ที่สำคัญๆนั้นได้ ชีวิตเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เอาแค่นั้นพอ • แต่ละคนมาตกอยู่ในร่องชะตาอย่างนั้นอย่างนี้ก็ด้วยกรรมเก่า ถ้าเราเรียนรู้ว่าเรื่องร้ายที่เกิดขึ้นแต่ละอย่าง เป็นผลจากกรรมดำประเภทไหน ก็เพียงเปลี่ยนนิสัย เปลี่ยนความเคยชินที่จะก่อกรรมดำนั้นเป็นกรรมขาวขั้วตรงข้าม ในที่สุดก็เกิดภาวะกรรมชนะกรรมให้เห็นเอง • อะไรจะมีค่าไปกว่าการมีจิตที่ดีขึ้น ในเมื่อจิตคือสิ่งที่คุณต้องทนรำคาญหรือชื่นชมยินดีอยู่ตลอดวันตลอดคืน และจิตนี่เองเป็นต้นเค้าของกรรมทั้งปวง เมื่อจิตสว่างย่อมปรารถนาที่จะทำกรรมขาว สุคติย่อมเป็นที่หวัง เมื่อจิตมืดย่อมใคร่ที่จะทำกรรมดำ ทุคติย่อมเป็นที่หวัง : สรุปคือขอเพียงจิตคุณดีอย่างเดียว อะไรอย่างอื่นที่จะตามมาก็ดีหมด หากการเปลี่ยนแปลงของคุณเข้าลึกมาได้ถึงจิต ก็แปลว่าทั้งปัจจุบันและอนาคตไม่มีอะไรน่าห่วงอีกแล้ว http://www.youtube.com/watch?v=i76IjMkC42Q ขอบพระคุณข้อมูลจาก คุณดังตฤณ นะครับผม หัวข้อ: Re: วาทะดังตฤณ รวบรวมจากเว็บธรรมะ ต่างๆ เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 18, 2012, 03:16:43 pm พิจารณาอสุภะ
http://www.youtube.com/watch?v=gIy99b-Joa0&feature=related หัวข้อ: Re: วาทะดังตฤณ รวบรวมจากเว็บธรรมะ ต่างๆ เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 18, 2012, 07:30:44 pm • ความฉลาดแบบพุทธ
เริ่มต้นจากความสามารถจำแนกจิตของตนเองว่ากำลังมืดหรือสว่าง กำลังเป็นทุกข์หรือเป็นสุขจากการคิดอย่างไร พูดแบบไหน เพราะเมื่อฉลาดแบบพุทธแล้ว บุคคลย่อมมีแก่ใจเลือกก่อกรรมอันเป็นคุณ ... เป็นความเย็นสบาย และเลิกก่อกรรมอันเป็นโทษ เป็นความเดือดร้อนเสียได้จริง มีสิทธิ์พบทั้งสวรรค์และนิพพานในที่สุด : ตอนแรกผมทำความเข้าใจกับคำตอบของพระสารีบุตรแล้วยังไม่เข้าใจ ต่อเมื่อเห็นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าจะนับว่าฉลาดอย่างแท้จริง ต้องรู้ว่ากรรมใดเป็นคุณ กรรมใดเป็นโทษ อะไรไม่เที่ยง อะไรเป็นทางแห่งบรมสุข (นิพพาน) : แล้วเริ่มสังเกตตนเอง พบว่าเมื่อรู้วาระจิตของตัวเองมากขึ้น มีความสามารถในการจำแนกว่าขณะนี้จิตขุ่นมัวเป็นอกุศล หรือกำลังสดใสเป็นกุศล แรกๆอาจไม่มีผลอะไร แต่บ่อยเข้าก็ทราบที่มาที่ไป : ว่าเพราะหมกมุ่นตรึกนึกในทางไม่ดี จึงเกิดความมืดขึ้นในภายใน และเพราะเล็งแลแง่ดี จึงเกิดความสว่างขึ้นมาแทน เลยไม่ค่อยอยากก่อเหตุทางใจ กระทำใจให้เป็นหลุมดำด้วยความตรึกนึกอันเป็นอกุศล : เมื่อยังไม่สามารถจำแนกจิต ท่านก็ให้สร้างจิตที่เป็นกุศลขึ้นมาเพื่อดูง่ายก่อน หมั่นทำทาน แน่วแน่ในการรักษาศีล จิตที่ผ่องใสสว่างย่อมดูง่ายว่ากำลังเป็นอย่างนี้อยู่ หรือแปรเป็นหม่นหมองแค่ไหนแล้ว กับทั้งไม่อยากถือสาความเลวร้ายของชาวโลก ที่หมั่นสร้างเหตุแห่งความทุกข์ด้วยการทำร้ายตนเอง ทำร้ายคนอื่น ทำร้ายเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันด้วย • ความฉลาดในการจำแนกจิตตนจิตท่าน ดีกว่าความฉลาดเลข ฉลาดสังคม ฉลาดการเงิน และฉลาดอะไรๆทั้งหมด เพราะฉลาดแบบนี้เท่านั้น ที่บรรลุที่สุดแห่งความฉลาดแล้ว ก็เป็นสุขเลย ไม่กลับทุกข์กลับโศกอีก |