แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 13 14 [15]
211  ความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า / ประวัติของพระพุทธสาวก สมัยพุทธกาล / พระกังขาเรวตะเถระ เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2008, 02:45:17 PM
ท่านพระกังขาเรวตะ เกิดในตระกูลอันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นอันมากในพระนครสาวัตถี เดิมชื่อว่า เรวตะ เป็นคนมีศรัทธา วันหนึ่งในเวลาหลังภัตตาหาร มหาชนชวนกันไปสู่พระเชตวันมหาวิหารเพื่อจะฟังพระธรรมเทศนา เรวตุนั้นก็ได้ไปกับมหาชน ครั้นถึงแล้วได้นั่งอยู่ท้ายสุดของบริษัท พระบรมศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพิกถา พรรณนาถึงทานการให้เป็นต้น ในเวลาจบเทศนา เรวตะบังเกิดความเลื่อมใส มีความปรารถนาจะบวชในพระธรรมวินัย ครั้นได้อุปสมบทเป็นภิกษุสมความประสงค์แล้ว ก็อุตส่าห์เรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระบรมศาสดาเป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญเพียรในกรรมฐานจนได้สำเร็จโลกิยฌาน กระทำฌานที่ตนได้แล้วนั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนากรรมฐานสืบไปกระทั่งได้สำเร็จพระอรหัตตผลในที่สุด

     ท่านพระเรวตะนั้น มักบังเกิดความสงสัยในกัปปิยวัตถุ คือ สิ่งของที่ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ เป็นของควรแก่บรรพชิตพึงบริโภคใช้สอยอยู่เนือง ๆ เมื่อท่านได้กัปปิวัตถุอันใดมาแล้ว ก็ให้คิดสงสัยอยู่ต่อเมื่อพิจารณาเห็นว่าเป็นของควรแก่บรรพชิตโดยถ่องแท้แล้วจึงบริโภคใช้สอยกัปปิยวัตถุนั้น ด้วยเหตุนี้คำว่า กังขา ซึ่งแปลว่า ความสงสัย จึงได้นำหน้าชื่อของท่านเป็น กังขาเรวตะ พระกังขาเรวตะนี้เป็นผู้ชำนาญในฌานสมาบัติอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ท่านเข้าสู่ฌานสมาบัติ อันเป็นพุทธวิสัยได้เกือบทั้งหมด ฌานสมาบัติอันเป็นพุทธวิสัยที่ท่านละเว้นเข้าไม่ได้มีน้อยยิ่งนัก

     ท่านพระกังขาเรวตเถระ ได้รับยกย่องสรรเสริญจากพระบรมศาสดา ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในฌานสมาบัติ เมื่อท่านดำรงอายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
212  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ประวัติของพระอริยสงฆ์ สาวกที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รวมทั้งปฏิปทาในการปฏิบัติ / พระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2008, 04:19:44 PM


พระพยอม กัลยาโณ
วัดสวนแก้ว นนทบุรี

พระพิศาลธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ) นามเดิม พยอม จั่นเพชร เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๙๒ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี บรรพชาเมื่อ เมษายน ๒๕๐๒ และอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๓ ณ วัดสังวรณ์วิมลไพบูรย์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สำเร็จการศึกษา น.ธ.เอก ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรม แล้วจึงได้กลับมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนา วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักเทศน์และพระผู้เสียสละ ดังกวีนิพนธ์ โดย อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

พระผู้สร้างผู้ทำนำคนทุกข์       ให้รู้ทางสร้างสุขพึ่งตนได้
เอาเหงื่อต่างน้ำมนต์พ้นพิษภัย   เอาชนะทุกข์ได้ด้วยการงาน
เป็นที่พระพิศาลธรรมพาที       เป็นพระดีที่รักของชาวบ้าน
ไม่ออกนอกแก่นธรรมนอกตำนาน   ท่านอาจารย์พระพยอม กัลยาโณ


ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี




ที่มา :  ธรรมะไทย   http://www.dhammathai.org/sounds/phayom.php
213  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ประวัติของพระอริยสงฆ์ สาวกที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รวมทั้งปฏิปทาในการปฏิบัติ / หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ อัตโนประวัติ การปฏิบัติธรรมของท่าน เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2008, 03:59:40 PM


๏ อัตโนประวัติ

"พระพรหมังคลาจารย์" หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปคือ "หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ" มีนามเดิมว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๔ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ที่ ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง มีชื่อเล่นว่า ขาว แต่คุณแม่เรียกว่า หมา เป็นบุตรของนายวัน - นางคล้าย เสน่ห์เจริญ (จุลบุษรา) มีพี่สาว ๒ คนชื่อ ขำ อนุวงศ์ และดำ บุญวิสูตร (เสียชีวิตทั้งคู่) พี่ชาย ๑ คนชื่อ พ่วง (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก) น้องสาว ๑ คนชื่อ หนูกลิ่น กฤตรัชตนันท์ (ยังมีชีวิตอยู่)

วัยเด็ก พ.ศ.๒๔๖๒ เข้าศึกษาชั้น ป.๑ เมื่ออายุย่างเข้า ๘ ขวบ ที่โรงเรียนประจำอำเภอเมือง จ.พัทลุง โรงเรียนนี้มีครูใหญ่ชื่อเลี่ยง เวชรังษี และมีครูดำ ม่องกี้, ครูเปลื้อง กาญจโนภาส, ครูฉัตร โสภณ เป็นครูสอน เรียนจบชั้น ป.๓ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดในการศึกษาสมัยนั้นแล้วย้ายไปศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุง ซึ่งนักเรียนเป็นชายล้วน (สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ) เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๓ หลังโรงเรียนเปิดภาคเรียน ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม มีครูโชติ เหมรักษ์ ต่อมาเป็นขุนวิจารณ์จรรยา เป็นครูใหญ่

เนื่องจากโรงเรียนอยู่ไกลบ้าน จึงอาศัยวัดยางซึ่งอยู่ใกล้โรงเรียนเป็นที่พักจนจบ ม.๓ ขณะเรียน ม.๔ ต่อได้ครึ่งปี บิดาป่วยจึงต้องลาออกมาช่วยเหลือครอบครัว

พ.ศ.๒๔๗๐ ขณะอายุ ๑๖ ปี ติดตามหลวงลุงพุ่ม ธมฺมทินฺโน วัดคูหาสวรรค์ จ.พัทลุง ไปปีนัง มาเลเซีย แล้วกลับมาทำงานเหมืองแร่และสวนยางที่ภูเก็ตได้ค่าจ้างวันละ ๙๐ สตางค์




๏ การศึกษาหาหลักธรรม

พ.ศ.๒๔๗๒ อายุ ๑๘ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดอุปนันทาราม ต.เขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนอง เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๒ มีพระครูพิพัฒน์สมาจารย์ ต่อมาเป็นพระรนังควินัยมุนีวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้เป็นครูใหญ่ในโรงเรียนประชาบาล เงินเดือนๆ ละ ๒๕ บาท และเรียนนักธรรมไปพร้อมกันโดยสอบนักธรรมตรีได้ที่ ๑ ทั้งมณฑลภูเก็ต จนพระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (ทนง บุนนาค) เจ้าเมืองภูเก็ตขณะนั้น ถวายรางวัลผ้าไตร ๑ ไตร นาฬิกา ๑ เรือน หัวข้อกระทู้ธรรมในการสอบครั้งนั้นว่า น สิยา โลกวฑฺฒโน ไม่พึงเป็นคนรกโลก

พ.ศ.๒๔๗๔ อายุ ๒๐ ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดนางลาด ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๔ มีพระครูจรูญกรณีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาพลัด วัดคูหาสวรรค์ จ.พัทลุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูเคว็จ วัดคูหาสวรรค์ จ.พัทลุง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปญฺญานนฺโท

พ.ศ.๒๔๗๕ เทศน์ครั้งแรก ที่วัดปากนคร จ.นครศรีธรรมราช

พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๖ ศึกษาภาษาบาลีที่วัดสามพระยา กรุงเทพฯ จนสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค แล้วเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ ๒) จึงไม่ได้เรียนต่อ





๏ สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ

พ.ศ.๒๔๘๐ ไปจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับท่านพุทธทาส และท่าน บ.ช.เขมาภิรัต (พระราชญาณกวี อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร วัดขันเงิน) เป็นสามสหายธรรมร่วมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา และหลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา





๏ ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่

พ.ศ.๒๔๙๒ ไป จ. เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๒ เริ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการปาฐกถาธรรม โดยสร้างโรงมุงใบตองขึ้นในที่ของชาวบ้าน (พุทธสถานเชียงใหม่ในปัจจุบัน) เทศน์ทุกวันอาทิตย์วันพระ ออกเทศน์ตามหมู่บ้านโดยรถยนต์ติดเครื่องขยายเสียง และเขียนเรื่องลงหนังสือพิมพ์ชาวเหนือจนมีชื่อเสียงขึ้นที่เชียงใหม่ ในนาม "ภิกขุปัญญานันทะ" ผู้สนับสนุนคนสำคัญคือเจ้าชื่นสิโรรส โดยอยู่จำพรรษาที่วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นานถึง ๑๑ ปี (พ.ศ.๒๔๙๒ - ๒๕๐๒)

พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นประธานก่อตั้งพุทธนิคม จ.เชียงใหม่ และประธานมูลนิธิ "ชาวพุทธมูลนิธิ" วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

- ในยุคนี้เองที่หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิ "เมตตาศึกษา" ที่วัดเจดีย์หลวง ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย





๏ สร้างวัดชลประทานรังสฤษฎ์

ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของหลวงพ่อ จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในหลวงพ่อ และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษฎ์" ที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบัน

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานอ่านพระราชกฤษฎีกายุบวัดโบสถ์ และวัดเชิงท่า แล้วย้ายมารวมกันที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ พระธรรมวิสุทธาจารย์ (เสงี่ยม) ต่อมาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพ ฯ เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี ประกาศแต่งตั้งพระปัญญานันทมุนี จากวัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ เป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดชลประทานรังสฤษฏ์

- เริ่มปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ให้เป็นไปเพื่อส่งเสริมสติปัญญา ตามหลักการ เป็นระเบียบ เรียบง่าย ประหยัด ได้ประโยชน์

- เป็นผู้ริเริ่มการแสดงปาฐกถาธรรมวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์

- ได้ดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่างๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ จนถึงปัจจุบัน

- นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของโลกเป็นประจำอีกด้วย

- โดยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้งด้านศาสนาสังคมสงเคราะห์ตลอดจนงานด้านวิชาการ ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมาย และเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาล กรมชลประทาน ๘๐ ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่

แม้ว่าคำสอนของหลวงพ่อจะเป็นคำสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่นในพระรัตนตรัย หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เป็นหนึ่งในบรรดาภิกษุผู้มีชื่อเสียง และเปี่ยมด้วยคุณธรรมเมตตาธรรม ผู้นำคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมสำหรับชนทุกชั้นที่จะเข้าถึง หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย" ในปัจจุบัน





๏ งานด้านการปกครอง

พ.ศ.๒๕๐๓ - ปัจจุบัน เป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

พ.ศ.๒๕๐๖ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ กรุงเทพ ฯ ทรงแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ และได้บวชหม่อมหลวงชอบ อิศรศักดิ์ เป็นคนแรก เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๖

- เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๙ (ตรัง กระปี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา พัทลุง นราธิวาส สตูล ปัตตานี ยะลา)

พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

พ.ศ.๒๕๑๗ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพ ฯ ทรงแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๘ (สงขลา พัทลุง นราธิวาส สตูล ปัตตานี ยะลา) เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๗ โดยพระธรรมปัญญาบดี วัดคูหาสวรรค์ จ.พัทลุง เป็นเจ้าคณะภาค ๑๘

พ.ศ.๒๕๑๘ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ ทรงแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทสามัญ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๘

พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นประธานอำนวยการก่อตั้งศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา วัดชลประทานรังสฤษฏ์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔

- เป็นประธานมูลนิธิภิกขุปัญญานันทะ

- เป็นประธานมูลนิธิวัดชลประทานรังสฤษฏ์ (ที่ระลึก ๘๐ ปี ปัญญานันทะ)

พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นประธานมูลนิธิท่านพุทธทาส





๏ งานด้านการศึกษา

พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นเจ้าสำนักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลีวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ระดับอนุบาล ประถม มัธยมศึกษา

พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นผู้อำนวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาทของวัดชลประทานรังสฤษฏ์

- เป็นผู้อำนวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฏ์





๏ งานด้านการเผยแผ่

พ.ศ.๒๔๙๒ - ๒๕๐๒ เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมประจำวันพระและวันอาทิตย์ ณ พุทธนิคม สวนพุทธธรรม วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นองค์แสดงธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์

- เป็นผู้ริเริ่มการทำบุญ ฟังธรรมในวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์

- เป็นผู้ก่อตั้งทุนพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน

พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นผู้อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ ๑๖/๒๕๑๘, รุ่นที่ ๑๗/๒๕๑๙ จากกระทรวงยุติธรรม

พ.ศ.๒๕๒๑ เริ่มแสดงปาฐกถาธรรมทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน เวลา ๘.๐๐ น.- ๘.๓๐ น.ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ถ่ายทอดเสียงทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๑

พ.ศ.๒๕๒๔ ริเริ่มบวชพระนวกะประจำเดือนในวัดชลประทานรังสฤษฏ์

- ริเริ่มโครงการพระธรรมทายาท อบรมพระภิกษุให้เป็นนักเผยแผ่ธรรมะที่ดี

พ.ศ.๒๕๒๕ ริเริ่มโครงการส่งหนังสือธรรมะเป็น ส.ค.ส. ปีใหม่

พ.ศ.๒๕๒๙ ไปร่วมประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์อาเซียนเพื่อสันติภาพ ครั้งที่ ๗ ณ ประเทศประชาธิปไตยประชาชนลาว

พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นผู้ริเริ่มจัดค่ายคุณธรรมแก่เยาวชนตามโรงเรียนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ฯลฯ





๏ งานด้านการเผยแผ่และศาสนากิจในต่างประเทศ

พ.ศ.๒๔๗๖ ร่วมคณะพระภิกษุใจสิงห์ รวม ๔๕ รูป ธุดงค์ไปเผยแผ่ธรรมที่พม่ากับ พระโลกนาถ ภิกษุชาวอิตาลี โดยในหลวงรัชกาลที่ ๗ พระราชทานอุปถัมภ์รูปละ ๕๐ บาท พร้อมหนังสือเดินทาง

พ.ศ.๒๔๙๗ เดินทางไปเผยแผ่ธรรมและช่วยเหลือกิจการพุทธศาสนาในต่างประเทศ อาทิเช่น ในทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมัน ฯลฯ และร่วมประชุมกับขบวนการศีลธรรมโลก (M.R.A.) ที่เมืองโคซ์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จนหลวงพ่อได้ชื่อว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป

พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

พ.ศ.๒๕๓๖ ไปร่วมประชุมและบรรยายในการประชุมสภาศาสนาโลก ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม - ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๖





๏ งานด้านสาธารณูปการ

พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นประธานในการก่อสร้างกุฏิสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นที่อยู่แก่พระภิกษุผู้บวชใหม่

พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธธรรม และเป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์

พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นประธานก่อสร้างกุฏิสองหลังเป็นกุฏิทรงไทยประยุกต์





๏ งานด้านสาธารณประโยชน์

พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ (ตึก ๘๐ ปี ปัญญานันทะ) โรงพยาบาลชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี สิ้นทุนทรัพย์ ๒๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองร้อยยี่สิบล้านบาท)

- เป็นประธานมูลนิธิแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง และหาทุนสร้างศูนย์ฝึกอบรมมูลนิธิแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สิ้Ũ
214  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / การรักษาจิตคล้ายดูแลควาย เมื่อ: ตุลาคม 24, 2008, 09:48:12 AM
"คนเลี้ยงควาย" (การรักษาจิตคล้ายดูแลควาย)
โดย "พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก" วัดป่าสุนันทวราราม




 เวลาเลี้ยงควาย
เราปล่อยควายให้เดินไปตามถนน
เจ้าของก็เดินตามหลังควาย สบาย ๆ?
สองข้างทางเป็นไร่นา
บางครั้งควายเดินออกนอกถนน
ไปกินข้าวในนาของเพื่อนบ้าน
เจ้าของก็ต้องตีบ้าง กระตุกเชือกบ้าง
ให้ควายกลับขึ้นมาบนถนนใหม่
เมื่อควายเรียบร้อย
เดินบนถนนก็เดินตามหลังควายสบาย ๆ
เมื่อควายเข้าไปในนากินต้นข้าว
รีบดึงควายให้กลับออกมาบนถนน
ทำอยู่อย่างนั้นเรื่อย ๆ ไป
เจ้าของควาย คือ สติ
ควาย คือ จิต
ถนน คือ ลมหายใจ
ถนนยาว ๆ คือ ลมหายใจยาว ๆ
ต้นข้าว คือ นิวรณ์ 5
เอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ
พยายามกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
ติดต่อกันสม่ำเสมอ
เหมือนเอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ
ความรู้สึกอยู่ที่ไหน จิตก็อยู่ที่นั่น
เมื่อสติรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
จิตก็อยู่ที่นั่น ขาดสติเมื่อไร
จิตก็คิดไปต่าง ๆ นานา
ตามกิเลส ตัณหา ตามนิวรณ์?ก็รีบต่อสติ
กำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
อานาปานสติ ขั้นที่ 1-2
เมื่อจิตคิดออกไป
รีบเรียกมาอยู่ที่ลมหายใจออกยาว
ลมหายใจเข้ายาว
หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ สบาย ๆ
การเจริญอานาปานสติเหมือนกับคนเลี้ยงควาย
คอยควบคุมควายให้เดินบนถนน
หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ สบาย ๆมีสติรู้อยู่กับลมหายใจ
ให้ติดต่อกันตลอดสาย
215  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / ภาษาขอม กับพระพุทธศาสนา เมื่อ: ตุลาคม 20, 2008, 11:16:54 AM




ปี 2546 ผมได้มีโอกาศสำรวจข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ตำบลห้วยสำราญ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และได้พบกับปู่อินทร์ หงส์โสภา ผู้เฒ่าผู้แกของหมู่บ้านที่มีความรู้เรื่องอักษรขอม มีความสามารถมากมาย และมีตำราที่ปู่อินทร์เขียนไว้ ทั้งตำรายา ตำราเลขยันต์ และอื่นๆ ซึ่งเขียนด้วยอักษรขอม และอักษรไทยปัจจุบัน



ภาษาขอม คือภาษาโบราณที่ใช้สื่อสารกันในดินแดนสุวรรณภูมิ ปัจจุบันเหลือหลักฐานให้เห็นเพียงภาษาเขียน เรียกกันว่า อักษรขอม แบ่งออก 3 ประเภท
1. อักษรขอมบาลี
2. อักษรขอมเขมร
3. อักษรขอมไทย

การศึกษาบาลีในประเทศไทยในสมัยโบราณ กุลบุตรเริ่มต้นด้วยการเรียนอักษรขอมก่อน เพราะภาษาบาลีที่จารใบลานใช้อักษรขอม ผู้เรียนต้องเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ท่องสูตรมูล ซึ่งมีทั้งภาคมคธและพากย์ไทยล้วนใช้อักษรขอม

อักษรขอมในพระพุทธศาสนาปรากฏจารึกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ถือว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การรับรองพระพุทธวจนะ จึงได้รับความนิยมในการใช้เขียนเทศน์ วรรณคดีไทย เช่น มหาชาติคำหลวง , มหาชาติ 13 กัณฑ์ ,  ปฐมสมโพธิกถา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ตำราไสยศาสตร์ เลขยันตร์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์ ต่าง ๆ ตลอดจน ตำรามหาพิสัยสงคราม ก็ล้วนแต่ใช้อักษรขอม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวคิดที่ว่าเดิมไทยใช้อักษร 2 แบบ คืออักษรไทยที่ชาวบ้านใช้ และอักษรธรรมที่ใช้ในวัด คือ อักษรขอม



เนื้อหาบางส่วนนี้ท่านสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ จากพิพิธภัณฑ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หน้า: 1 ... 13 14 [15]