แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 242
76  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย องค์ในหลวง รัชกาลที่9 ทรงสนธนาธรรมกับพระสงฆ์ เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2016, 06:51:23 AM



ต่อไปนี้เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงปฏิสันถารกับพระอินทรวิชยาจารย์
เจ้าอาวาสวัดคะตึกเชียงมั่น และหลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งข้าพเจ้า (พระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ)
ได้มีโอกาสช่วยหลวงพ่อถวายพระพรด้วย ข้อความนี้ข้าพเจ้าบันทึกไว้หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้วดังนี้
ในหลวง : หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้หรือ
หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาตมาประจำอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์
ในหลวง : อยากไปหาหลวงพ่อเหมือนกัน แต่หาเวลาไม่ค่อยได้ ได้ทราบว่าเข้าพบหลวงพ่อยาก
หลวงพ่อเกษม : พระราชาเสด็จไปป่าช้าเป็นการไม่สะดวก เพราะสถานที่ไม่เรียบร้อย
อาตมาภาพจึงมารอเสด็จที่นี่ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสบายดีหรือ
ในหลวง : สบายดี
หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระชนมายุเท่าไร
ในหลวง : ได้ ๕๐ ปี
หลวงพ่อเกษม : อาตมาภาพได้ ๖๗ ปี
ในหลวง : หลวงพ่ออยู่ตามป่ามีความสงบ ย่อมจะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากกว่าพระที่วัดในเมือง
ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการปกครองและงานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะอยู่ป่าไม่มีภารกิจอย่างอื่น
แต่ก็ขึ้นอยู่กับศีลบริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อศีลบริสุทธิ์จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ไม่ครอบงำก็ปฏิบัติได้
ในหลวง : การปฏิบัติอย่างพระมีเวลามากย่อมจะได้ผลเร็ว ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อยมีภารกิจมาก จะปฏิบัติอย่างหลวงพ่อก็ไม่อาจทำได้ แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เราจะหั่นแลกช่วงเวลาช่วงเช้าให้สั้นเข้าจะได้ไหม คือ ซอยเวลาออกจากหนึ่งชั่วโมงเป็นครึ่งชั่วโมง จากครึ่งชั่วโมงเป็นสิบนาที หรือห้านาที แต่ให้ได้ผล คือ ได้รับความสุขเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นั่งรถยนต์จากเชียงใหม่มาลำปางก็สามารถปฏิบัติได้ หรือระหว่างที่มาอยู่ในพิธีนี้มีช่วงที่ว่างอยู่ ก็ปฏิบัติเป็นระยะไป อย่างนี้จะถูกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อยากจะเรียนถาม

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร จะปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ ถ้าแบ่งเวลาได้
ในหลวง : ไม่ถึงแบ่งเวลาต่างหากออกมาทีเดียว ก็อาศัยเวลาขณะที่ออกมาทำงานอย่างอื่นอยู่นั้นแหละ
ได้หรือไม่ คือ ใช้สติอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ ทำงานด้วยความรอบคอบให้สติตั้งอยู่ตลอดเวลา
หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรทรงปฏิบัติอย่างนั้นถูกแล้ว การที่มหาบพิตรเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติงานอย่างนี้
ก็เรียกว่าได้ทรงเจริญเมตตาในพรหมวิหารอยู่
ในหลวง : ก็คิดว่าเป็นอย่างนั้น เช่นว่ามาตัดลูกนิมิตนี้ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ด้วยขี้เกียจมาจึงมีกำลังใจมา
และเมื่อได้โอกาสได้เรียนถามพระสงฆ์ว่า การปฏิบัติธรรมเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นตอนๆ อย่างนี้จะได้ผลไหม อุปมาเหมือนช่างทาสีผนังโบสถ์
เขาทาทางนี้ดีแล้วพัก ทาทางโน้นดีแล้วพัก ทำอยู่อย่างนี้ก็เสร็จได้ แต่ต้องใช้เวลาหน่อย จึงอยากเรียนถามว่าปฏิบัติอย่างนี้จะมีผลสำเร็จไหม
หลวงพ่อเกษม : ปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้โดยอาศัยหลัก ๓ อย่าง คือ มีศีลบริสุทธิ์ ทำบุญในชาติปางก่อนไว้มาก มีบาปน้อย ขอถวายพระพร
เจ้าคุณฯ : ได้ตามขั้นของสมาธิ คือ อุปจารสมาธิได้สมาธิเป็นแต่เฉียดๆ ขณิกสมาธิ ได้สมาธิเป็นขณะๆ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ได้สมาธิแน่วแน่ดิ่งลงไปได้นานๆ (อธิบายละเอียดกว่าที่บันทึกนี้)
ในหลวง : ครับ ที่หลวงพ่อว่ามีศีลบริสุทธิ์ ชาติก่อนทำบุญไว้มาก อยากทราบว่าผมเกิดเป็นอะไร
ได้ทำอะไรไว้บ้างจึงได้มาเป็นอย่างนี้ (หลวงพ่อยิ้มและนิ่ง แล้วหันมาทางข้าพเจ้าบอกว่าตอบยาก)
ข้าพเจ้า : ขอถวายพระพร หลวงพ่อไม่อาจจะพยากรณ์ถวายมหาบพิตรได้
เจ้าคุณฯ : หลวงพ่ออาจจะเกรงพระราชหฤทัยมหาบพิตรก็ได้ ขอถวายพระพร
ในหลวง : หลวงพ่อไม่ต้องเกรงใจว่าเป็นพระราชา ขอให้ถือว่าสนทนาธรรมก็แล้วกันยินดีรับฟังมีคนพูดกันว่า ชาติก่อนผมเกิดเป็นนักรบมีบริวารมาก ถ้าเป็นอย่างนั้น ศีล ๕ จะบริสุทธิ์ได้อย่างไร ? การเป็นนักรบนั้นจะต้องได้ฆ่าคนสงสัยอยู่ (หลวงพ่อหันมากระซิบกับข้าพเจ้าว่า เอใครทำนายถวายท่านอย่างนั้นก็ไม่รู้ เราไม่รู้ เราไม่มีอตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ตอบยาก ต้องหลวงพ่อเมืองซิ)
ข้าพเจ้า : ขอถวายพระพร หลวงพ่อยืนยันว่า มหาบพิตรมีศีลบริสุทธิ์และทรงมีบุญมาก
ในหลวง : เรื่องบุญกับกุศลนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง ตามที่รู้ผู้ทำบุญ หรือผู้มีบุญได้ผลแค่เทวดาอยู่สวรรค์ ผู้มีกุศลหรือทำกุศล มีผลให้ได้นิพพาน ถ้าอย่างนั้นที่ว่าพระราชามีบุญมากก็คงได้แค่เป็นเทวดา อยู่บนสวรรค์เท่านั้นไม่ได้นิพพาน ทำไมเราไม่พูดถึงกุศลกันมากๆ บ้าง หลวงพ่อสอนให้คนปฏิบัติธรรมตามแนวปฏิบัติของหลวงพ่อบ้างหรือเปล่า
หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาตมาภาพได้ทราบว่าที่วัดปากน้ำ วัดมหาธาตุ ก็มีสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน มหาบพิตรเคยเสด็จไปบ้างไหม
ในหลวง : ทราบ แต่ไม่เคยไป หลวงพ่อสอนอย่างไร อยากฟังบ้างและอยากได้เป็นแนวปฏิบัติเอาอย่างนี้ ได้ไหม มีเครื่องหรือเปล่า (นายชุมพลกระซิบข้าพเจ้าว่า...มีเทป)
ข้าพเจ้า : ขอถวายพระพร เครื่องเทปของวัดมี
ในหลวง : ขอให้หลวงพ่อสอนตามแนวของหลวงพ่อที่เคยสอน จะสอนอะไรก็ได้
หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มีเป็นประเภทภาษิตคติธรรมต่างๆ
ในหลวง : อะไรก็ได้ ขอให้เป็นคำสอนก็ใช้ได้
หลวงพ่อเกษม : ได้ ขอถวายพระพร
ในหลวง : ขอนมัสการลา (ทรงกราบแล้วเสด็จพระราชดำเนินถึงประตูพระอุโบสถ เสด็จกลับมาที่หลวงพ่ออีก)
แล้วตรัสว่า “หลวงพ่อจำหมอดนัยได้ไหม เคยส่งมาพยาบาลหลวงพ่อที่คราวหลวงพ่ออาพาธมาหลายปีแล้ว ผมจะให้เขานำเครื่องบันทึกมา”
หลวงพ่อเกษม : จำได้ ขอถวายพระพร
(หมายเหตุ : เจ้าคุณฯ หมายถึง เจ้าคุณพระอินทรวิชยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดคะตึกเชียงมั่น)
“สัพเพ ชนา สุชิโต โหนตุ”
หลวงพ่อเกษม เขมโก
(คัดลอกมาจาก : หนังสือหลวงพ่อเกษม เขมโก)


ขอบพระคุณพี่แมว Supani FB: https://www.facebook.com/supanimaew?fref=nf
77  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย องค์ในหลวง รัชกาลที่9 ทรงสนธนาธรรมกับพระสงฆ์ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2016, 10:16:00 AM


บทพระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมจากความทรงจำของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย จากหนังสือ ฐานิยปูชา
ในหลวง : เมื่อสักครู่นี้ นั่งมาในเครื่องบิน มันฉุกคิดขึ้นมาว่าคฤหัสถ์ที่สำเร็จพระอรหันต์แล้ว
ทำไมจึงต้องด่วนนิพพานเสียภายใน 7 วัน พระอรหันต์ท่านก็ปล่อยวางเบญจขันธ์หมดแล้ว จะอยู่ไปจนชั่วอายุขัยไม่ได้หรือ ?
หลวงพ่อพุธ : ขอถวายพระพร พระมหาบพิตร อาตมภาพขอพระราชทานวโรกาสถามปัญหาพระมหาบพิตร
ในหลวง : พระคุณเจ้าจะถามอะไรก็ถาม ถ้าตอบได้ก็จะตอบ ตอบไม่ได้ ก็ต้องโยนคืนให้พระคุณเจ้าเป็นผู้ตอบ

หลวงพ่อพุธ : พระมหาบพิตร แร่ธาตุต่างๆในจักรวาลนี้ ในเมื่อมันมาบรรจบกันเข้า มันเกิดระเบิดหรือสลายตัวมีไหม มหาบพิตร
ในหลวง : มี
หลวงพ่อพุธ : อันนั้นเป็นกฎธรรมชาติของแร่ธาตุใช่ไหม
ในหลวง : ใช่
หลวงพ่อพุธ : ถ้าอย่างนั้น คฤหัสถ์ซึ่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วต้องนิพพานภายใน 7 วัน ก็เป็นกฎธรรมชาติของความเป็นพระอรหันต์เป็นเช่นนั้น
คุณธรรมความเป็นพระอรหันต์จะไปสถิตอยู่ในสันดานของคฤหัสถ์นั้นไม่ได้ ต้องนิพพานภายใน 7 วันถ้าไม่อุปสมบท อันนี้คือกฎธรรมชาติ
อาตมาภาพถวายคำตอบอย่างนี้ พอได้ความหรือไม่พระมหาบพิตร
ในหลวง : แจ่มดี
หลวงพ่อพุธ : ขอถวายพระพร ทำไมพระมหาบพิตรจึงรับสั่งถามอาตมภาพอย่างนี้
ในหลวง : กระผมไปทางภาคเหนือ ไปถามครูบาอาจารย์ทางเหนือ ท่านตอบว่า พระอรหันต์ท่านเบื่อหน่ายในเบญจขันธ์
จึงได้ด่วนนิพพานเสียภายใน 7 วัน จึงทำให้สงสัยว่า พระอรหันต์ท่านก็ปล่อยวางหมดแล้ว
ยังจะมีความเบื่อหน่ายด้วยหรือ จึงได้พกเอาปัญหามาถามพระคุณเจ้า
78  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย องค์ในหลวง รัชกาลที่9 ทรงสนธนาธรรมกับพระสงฆ์ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2016, 10:14:43 AM
ครั้งหนึ่ง "หลวงปู่ชอบ ฐานสโม" ได้ไปเยี่ยม "หลวงปู่ขาว อนาลโย" ที่วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู

พอดีวันนั้น เจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังแจ้งมาที่วัดถ้ำกลองเพลว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปเยี่ยมหลวงปู่ขาวที่วัดในวันนี้
หลวงปู่ชอบได้ยินดังนั้นจึงกราบลาหลวงปู่ขาวกลับวัด แต่หลวงปู่ขาวไม่ยอม
บอกว่าให้อยู่เป็นเพื่อนกันก่อน หลวงปู่ชอบบอกว่า ท่านคุยกับพระเจ้าแผ่นดินไม่เป็น
หลวงปู่ขาวจึงบอกว่า ท่านก็คุยไม่เป็นเหมือนกัน เลยต้องขอให้อยู่เป็นเพื่อนกันก่อน
(หมายเหตุ : ตอนนั้นหลวงปู่ชอบและหลวงปู่ขาวต่างก็ยังไม่เคยพบเจอกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก่อนเลยทั้งคู่)
ในที่สุด หลวงปู่ชอบจึงจำเป็นต้องอยู่เป็นเพื่อนหลวงปู่ขาวด้วย

วันนั้น หลวงปู่ทั้งสองนั่งรอรับเสด็จอยู่ที่เก้าอี้ในวัด... และนั่งรออยู่อย่างนั้น จนกระทั่งเวลาเย็นก็ยังคงคอยอยู่อย่างนั้น ...
ท้ายที่สุด หลวงปู่ทั้งสองก็เลยถามกันเองว่า
"ทำไมถึงยังไม่มาสักที... รอนานแล้ว?"
"เห็นแต่ทหารพ่อลูกเนาะ!"
พระเณรลูกศิษย์ที่นั่งอยู่ด้วยในที่นั้น เมื่อได้ยินเช่นนั้นก็เลยบอกกับหลวงปู่ทั้งสองว่า
"ก็ทหารสองพ่อลูกนั่นแหละ...ในหลวงกับลูกชายท่าน!"
เมื่อหลวงปู่ทั้งสองรู้ความจริงเข้าเท่านั้นแหละ...ก็ถึงกับหัวร่องอหายทั้งคู่เลยทีเดียว
ลูกศิษย์สงสัยก็เลยถามหลวงปู่ทั้งสองว่า ทำไมถึงไม่รู้ว่า...ทหารสองพ่อลูกนั่นแหละคือพระเจ้าแผ่นดินกับพระโอรส?
หลวงปู่ขาวตอบว่า
"นึกว่าจะมีขบวนแห่นำมา!!"
ส่วนหลวงปู่ชอบตอบว่า
"นึกว่าจะใส่ชฎา!!"
79  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย องค์ในหลวง รัชกาลที่9 ทรงสนธนาธรรมกับพระสงฆ์ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2016, 06:54:52 AM


พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมระหว่าง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" กับ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ"

ในหลวง : หนังสือสอนพระพุทธศาสนายากเกินไปแก่สมองเด็ก ... ให้เด็กเล็กๆ จำประวัติมากเกินไป
สมเด็จญาณฯ : กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดหลักสูตร
ในหลวง : อย่างสอนอริยสัจแก่เด็กเล็กๆ เหมือนจะให้เด็กเป็นพระอรหันต์ จะทำให้เด็กเข้าใจได้อย่างไร ... น่าจะสอนบทธรรมง่ายๆ ที่เป็นประโยชน์ในการอบรมเด็กด้วย เช่น ความเพียร และน่าจะจัดเป็นหลักสูตรสูงขึ้นไปโดยลำดับ แทรกพุทธประวัติ นิทานชาดก บทสอนศาสนาคฤหัสถ์ได้ มีจัดไว้ทำนองนี้ ... น่าจะทำแจกหรือมีจำหน่ายถูกๆ ของกระทรวงก็ปล่อยเป็นส่วนของกระทรวง
สมเด็จญาณฯ : จะนำกระแสพระราชดำรินี้ไปจัดทำ แต่การเขียนเรื่องให้เด็กอ่านนั้น...เขียนแล้วคิดว่าง่าย...เด็กเข้าใจ ครั้นไปลองสอนกับเด็ก...คือให้เด็กอ่าน เด็กก็ไม่เข้าใจ
ในหลวง : ถ้าประสงค์จะทดสอบก็ได้ ... เขียนส่งไปให้ทูลกระหม่อม เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ อ่าน ถ้าจะทดสอบอายุน้อยกว่านั้นก็ได้
**********
ในหลวง : การปฏิบัติตนให้เหมาะเป็นการยาก ต้องทำสองอย่างพร้อมๆ กัน อย่างหนึ่งต้องให้มีภาคภูมิ อีกอย่างต้องให้สุภาพ มิให้เป็นหยิ่งหรือที่เรียกกันว่า "เบ่ง" และในสมัยประชาธิปไตยก็ต้องให้เหมาะสม...เข้ากันได้กับประชาชน
สมเด็จญาณฯ : ตามที่ได้ฟัง...ได้ยินแต่เสียงชื่นชมในพระบารมี
ในหลวง : ต้องคอยสังเกตเป็นบทเรียนและแก้ไขเรื่อยมา เมื่อคราวเสด็จภาคอีสาน วันหนึ่งเหนื่อยมาก...หน้าบึ้ง กลับที่พักแล้วก็นึกขึ้นได้ว่า ราษฎรได้มีโอกาสเห็นเราเพียงครั้งเดียว ให้เขาเห็นหน้าบึ้งไม่ดี ต่อจากนั้น ถึงจะเหนื่อยมากก็ต้องพยายามไม่ทำหน้าบึ้ง ต้องทำชื่นบาน
**************
ในหลวง : เมื่อคราวเสด็จทางภาคใต้ วันหนึ่งไม่สบาย แต่ถ้างด...ไม่ไป...ก็จะเสียหาย ... ต้องไป ครั้นไปแล้วกลับมาก็สบายดี ... จะเป็นเพราะกำลังใจใช่ไหม?
สมเด็จญาณฯ : (ทูลรับ แล้วทูลว่า) ฝึกบ่อยๆ กำลังใจจะมากยิ่งขึ้น
ในหลวง : ทำสมาธิอย่างไร?
สมเด็จญาณฯ : คือทำใจให้ตั้งมั่น แน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว จะทำอะไรทุกๆ อย่าง ต้องมีใจเป็นสมาธิ ในทางปฏิบัติจึงต้องใช้สมาธิทั้งนั้น แต่มักมีคนเข้าใจว่า...ทำสมาธิต้องนั่งหลับตา
ในหลวง : นั่งทำพิธี...รู้สึกว่า เวลาปฏิบัติราชกิจต้องสำรวมพระราชหฤทัย เช่น คราวพระราชทานกระบี่นักเรียนนายร้อย เพียงหยิบให้ ถ้าไม่สำรวมใจมีผิด สำรวมใจอยู่ก็ทำไม่ผิด
ในหลวง : ทำสมาธิ...มองเห็นภาพต่างๆ เป็นจริงหรือ?
สมเด็จญาณฯ : โดยมากไม่จริง ... ภาพที่เห็นมักเป็นนิมิต คือ ภาพที่เกิดจากสัญญา หรือที่เรียกว่า "ภาพอุปาทาน" คือ ได้เคยคิดเคยเห็นมาแล้วเก็บไว้ในใจ ครั้นทำสมาธิ ใจแน่วแน่ สิ่งที่เก็บไว้ในใจนั้นก็ปรากฏขึ้นมา เหมือนอย่างที่เห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นเทวดา ถามว่า เทวดารูปร่างอย่างไร ตามคำตอบก็คล้ายกับเทวดาที่ผนังโบสถ์ แต่ที่เป็นจริงก็มี
ในหลวง : เหมือนอย่างดูของหาย... มองเห็น... มีพระดูได้?
สมเด็จญาณฯ : ถ้ามองเห็น...ถูกต้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น...ก็ต้องรับว่าเป็นจริง เพราะมีข้อพิสูจน์
ในหลวง : "หายตัว" เป็นจริง...หรือเป็นการสะกดจิตไม่ให้เห็น?
สมเด็จญาณฯ : อาจเป็นการสะกดจิต ... แต่การล่องหนทะลุกำแพงออกไป ถ้าเป็นจริงก็จะต้องทำตัวอย่างไรให้เล็ดลอดออกไปได้
ในหลวง : มีในพระพุทธศาสนาหรือเปล่า?
สมเด็จญาณฯ : มีแสดงไว้ แต่ไม่ใช่พระพุทธศาสนาโดยตรง ... มีแสดงไว้ก่อนในตำรับทางพราหมณ์
ในหลวง : แต่มีแสดงไว้ในพระพุทธศาสนาด้วย?
สมเด็จญาณฯ : (ทูลรับพระราชดำรัส)
ในหลวง : อยู่ในที่นี้แล้วสะกดจิตคนที่อยู่ในที่อื่นได้ไหม?
สมเด็จญาณฯ : เคยพบแต่ที่แสดงไว้ว่าอยู่ในที่เดียวกัน
ในหลวง : พระเครื่องคุ้มกันได้จริงไหม? ... คุ้มกันได้เพราะใจเชื่อมั่นว่ามีพระเครื่องอยู่กับตัวหรืออย่างไร?
สมเด็จญาณฯ : เป็นเครื่องทำให้ใจเชื่อมั่น
ในหลวง : ถ้าใจเชื่อมั่นแล้วก็ไม่จำเป็นหรือ?
สมเด็จญาณฯ : ไม่จำเป็น ... แต่ก็มีเชื่อกันว่า พระเครื่องให้อยู่คงจริง คือ ผู้ที่มีอยู่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม หรือมิได้คำนึงถึง แต่พระเครื่องก็คงคุ้มกันผู้ที่ไม่เชื่อก็มี
ในหลวง : ก็เชื่อ ... มีคนให้...รับมาไว้ เขาก็ยินดี ... แต่วันนี้ไม่ได้ติดมา
ที่มา : บันทึกส่วนพระองค์ ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ) บันทึกเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕, หนังสือ "ธรรมหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", บรรณาธิการโดย รศ.สุเชาว์ พลอยชุม
80  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย องค์ในหลวง รัชกาลที่9 ทรงสนธนาธรรมกับพระสงฆ์ เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2016, 10:34:58 AM


พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว โดย พล.ต.อ.วิสิษฐ์ เดชกุญชร

"ผู้ที่เคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานหรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่เป็นเวลานานๆ เช่น ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรคงจะได้เห็นด้วยความพิศวงทุกคนด้วยกันว่า พระเจ้าอยู่หัวนั้นเมื่อทรงประทับนั่งลงแล้ว จะประทับอยู่ในพระอิริยาบถนั้น ตั้งแต่เริ่มพิธีไปจนกระทั่งจบ ไม่ทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถเลย นอกจากนั้นยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียะกิจอย่างกระฉับกระเฉงต่อเนื่อง ไม่มีอาการที่แสดงว่าทรงเหนื่อยหรือทรงเบื่อเลย ผมเคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร พิธีนั้นยาวประมาณ 4 ชั่วโมง และมีบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาเฝ้าฯรับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นจำนวนหลายพันคนได้เห็นเหตุการณ์เช่นนั้น
แต่ผมได้เห็นมากกว่านั้นคือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับไปถึงพระตำหนักจิตรลดารโหฐานในตอนค่ำวันนั้น พระเจ้าอยู่หัวยังทรงออกพระกำลังบริหารพระวรกายด้วยการวิ่งในศาลาดุสิตาลัยอีก ในการประกอบพระราชกรณียะกิจอื่นๆ ก็เช่นกัน พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติด้วยพระอาการที่แสดงว่าเอาพระทัยจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียะกิจนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ทรงเหนื่อยหรือเบื่อหน่าย เช่น ในการทรงดนตรีที่ใครๆ มักจะนึกว่าเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย เป็นต้น
ผมเคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงดนตรีตั้งแต่หัวค่ำจนสว่าง โดยทรงนั่งไม่ลุกเลยแม้แต่จะเพื่อเสด็จฯไปสรง ในขณะที่นักดนตรีอื่นๆ ลงกราบแล้วถอยหลังลุกไปเข้าห้องน้ำกันเป็นครั้งคราวทุกคน ในการทรงเรือใบก็เช่นกัน ทรงจดจ่ออยู่กับการบังคับเรืออย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ ครั้งหนึ่งเคยเสด็จออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นเรือใบเข้าฝั่ง ตรัสกับผู้มาเฝ้าฯอยู่ด้วยความฉงนว่า เพราะเรือใบพระที่นั่งแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาแข่งเรือใบถือว่าฟาวล์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น แสดงว่าการทรงดนตรีก็ดี ทรงเรือใบก็ดี สำหรับพระเจ้าอยู่หัวเป็นงานอีกชนิดหนึ่งที่จะต้องทำด้วยความจดจ่อและต่อเนื่องไปจนเสร็จเหมือนกัน พระราชกรณียะกิจอื่นๆ นั้น ทั้งน้อยและใหญ่ทรงปฏิบัติแบบเดียวกัน คือ ด้วยการเอาพระราชหฤทัยจดจ่อไม่ทรงยอมให้ขาดจังหวะจนกว่าจะเสร็จและไม่ทิ้งขว้าง แบบทำๆ หยุดๆ เพราะฉะนั้นจึงจะเห็นว่าพระราชกรณียะกิจทั้งหลายนั้นสำเร็จลุล่วงไปเป็นส่วนใหญ่ ผมไปรู้เอาหลังจากการเข้ารับราชการในตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำอยู่ไม่นานนักว่า ที่ทรงสามารถจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียะกิจได้เช่นนั้นก็เพราะพระสมาธิ
ผมไม่ทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงดำริฝึกสมาธิตั้งแต่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ.2499 เมื่อทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ( วัดพระแก้ว ) หลังจากทรงผนวชแล้วประทับจำพรรษาอยู่ที่พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอยู่ในสมณะเพศเป็นเวลา 15 วัน
ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาจารย์ ทรงเลือกสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ( เมื่อครั้งยังเป็นพระโสภณคณาภรณ์ ) ให้เป็นพระอภิบาล ( พระพี่เลี้ยง ) ของพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่ทราบกันดีว่าแม้จะทรงมีเวลาน้อย แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และคงจะได้ทรงฝึกเจริญพระกรรมฐานในโอกาสนั้นด้วย
เมื่อผมเข้าเป็นตำรวจพระราชสำนักประจำปี พ.ศ.2513 นั้น ปรากฏว่าการศึกษาและปฏิบัติสมาธิหรือกรรมฐานในราชสำนักกำลังดำเนินอยู่แล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติเป็นประจำ และข้าราชบริพารหลายคนทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารก็กำลังเจริญรอยตามพระยุคลบาทอยู่ ด้วยการฝึกสมาธิอย่างขะมักเขม้น ผมไม่ได้ตั้งใจจะฝึกสมาธิแม้ว่าจะเคยศึกษามาก่อน โดยเฉพาะจากหนังสือของอาจารย์พุทธทาสภิกขุ
แต่ระหว่างตามเสด็จโดยรถไฟจากกรุงเทพมหานครไปอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ.2515 เป็นการเดินทางไกลกว่าที่ผมคิด หนังสือเล่มเดียวที่เตรียมไปอ่านฆ่าเวลาบนรถไฟก็อ่านจบเล่มเสียตั้งแต่กลางทาง ขณะนั้นผมเห็นนายทหารราชองครักษ์ประจำที่ถวายหน้าที่รักษาความปลอดภัยร่วมกันสองนาย ใช้เวลาว่างนั่งหลับตาทำสมาธิ จึงลองทำดูบ้าง โดยใช้อานาปานสติ ( กำหนดรู้แต่เพียงว่ากำลังหายใจเข้าและหายใจออก ) อันเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ และท่านพุทธทาสแนะนำ ปรากฏว่าจิตสงบเร็วกว่าที่ผมคาด และเห็นนิมิตเป็นภาพสีสวยๆ งามๆ มากมาย และเป็นเวลาค่อนข้างนานด้วย ตั้งแต่นั้นมาผมก็ติดสมาธิและเป็นอีกผู้หนึ่งที่ปฏิบัติสมาธิมาเป็นประจำจนถึงทุกวันนี้
เมื่อความทราบถึงพระกรรณว่าผมเริ่มปฏิบัติสมาธิ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำรัสแนะนำด้วยพระองค์เอง ผมจึงได้รู้ว่าพระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัวนั้นก้าวหน้าไปแล้วเป็นอันมาก รับสั่งเล่าเองว่า แม้จะใช้อานาปานสติเป็นอุบายในการทำสมาธิ แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงไม่สามารถที่จะกำหนดพระอาสาสะ ( ลมหายใจเข้า ) และพระปัสสาสะ ( ลมหายใจออก ) ได้แต่ลำพังต้องทรงนับกำกับ วิธีนับของพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงทำดังนี้
หายใจเข้าครั้งที่หนึ่งนับหนึ่ง หายใจเข้าครั้งที่สองนับสอง หายใจเข้าครั้งที่สามนับสาม หายใจเข้าครั้งที่สี่นับสี่ หายใจเข้าครั้งที่ห้านับห้า เมื่อถึงห้าแล้วหากจิตยังไม่สงบก็นับถอยหลังจากห้าลงมาหาหนึ่ง แล้วนับจากหนึ่งขึ้นไปหาห้าใหม่ กลับไปกลับมาเช่นนั้น จนกว่าจิตจะสงบ รับสั่งว่าที่เห็นพระองค์ประทับอยู่นิ่งๆ นั้น พระจิตทรงอยู่กับ “ หนึ่งเข้า หนึ่งออก “ ตลอดเวลา
พระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาเรื่องสมาธิด้วยการรวบรวมและประมวลคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกท่าน แล้วก็ทรงพระราชทานประมวลคำสอนนั้นแก่ผู้ที่ทรงทราบว่ากำลังปฏิบัติสมาธิอยู่ ครั้งหนึ่งทรงพระกรุณาพระราชทานแถบบันทึกเสียงของสมเด็จพระญาณสังวรฯให้ผม รับสั่งว่าเป็นเทปบันทึกการแสดงธรรมเรื่องฉักกสูตร ( คือพระสูตรว่าด้วยธรรมหมวด 6 รวม 6 ข้อ ซึ่งอธิบายความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวมีตนของสิ่งต่างๆ มีอายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ ผัสสะ เวทนา และตัณหา พระสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ) และทรงแนะนำให้ผมฟังธรรมบทนั้น ผมรับพระราชทานแถบ
บันทึกเสียงม้วนนั้นมาแล้วก็เอาไปใส่เครื่องบันทึกเสียงแล้วเปิดฟัง ฟังไปได้ไม่ทันหมดม้วนก็ปิดแล้วก็เก็บเอาไว้ไม่ได้ฟังอีก
หลังจากนั้นไม่นานนักได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชทานกระแสรับสั่งถามว่า ฟังเทปของสมเด็จฯแล้วหรือยัง เป็นอย่างไร ผมไม่อาจจะกราบบังคมทูลความอันเป็นเท็จได้ ต้องกราบบังคมทูลตามตรงว่า ฟังได้ไม่ทันจบม้วนก็ได้หยุดฟังเสียง
แล้วตรัสถามต่อไปถึงเหตุผลที่ผมไม่ได้ฟังให้จบ และผมก็จำเป็นต้องกราบทูลตรงๆ ว่า สมเด็จฯเทศน์ฟังไม่สนุก พูดขาดเป็นวรรคเป็นห้วงๆ เนื่องจากสมเด็จฯพิถีพิถันในการใช้ถ้อยคำ และประโยคเทศน์ของท่านนั้นถ้าเอามาพิมพ์ก็จะอ่านได้สบายกว่าฟัง พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า ที่ฟังสมเด็จฯเทศน์ไม่รู้เรื่องนั้นก็เพราะคิดไปก่อนใช่หรือไม่ ว่าสมเด็จฯท่านพูดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ครั้นท่านพูดช้ากว่าที่คิด หรือพูดออกมาแล้วไม่ตรงกับที่คาดหมายจึงเบื่อ เมื่อผมนิ่งไม่กราบบังคมทูลตอบ ทรงแนะนำว่าให้กลับไปทำใหม่ คราวนี้อย่าคิดไปก่อน ว่าสมเด็จฯจะพูดอย่างไร สมเด็จฯหยุดก็ให้หยุดด้วย
ผมกลับมาทำตามพระราชกระแสรับสั่ง เปิดเครื่องบันทึกเสียงฟังเทศน์ของสมเด็จฯจากเครื่องบันทึกเสียงม้วนนั้นใหม่ตั้งแต่ต้นฟังด้วยสมาธิ สมเด็จฯหยุดตรงไหนผมก็หยุดตรงนั้น และไม่คิดไปก่อนว่าสมเด็จฯจะพูดอย่างไร คราวนี้ผมฟังได้จนจบและเห็นว่าจริงดังพระราชดำรัส เทปบันทึกเสียงม้วนนั้นเป็นม้วนที่ดีที่สุดม้วนหนึ่ง
ครั้งหนึ่งหลังจากที่นั่งสมาธิแล้ว ผมได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและกราบบังคมทูลประสบการณ์ที่ได้จากการนั่งสมาธิ ผมกราบบังคมทูลว่า ขณะที่นั่งสมาธิครั้งนั้นรู้สึกว่าตัวเองลอยขึ้นจากพื้นสูงประมาณศอกหนึ่ง ทีแรกก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ครั้นหัวเริ่มคล้อยลงไปข้างหน้าทำท่าทางเหมือนจะตีลังกา ผมก็ตกใจและต้องเลิกสมาธิ พระเจ้าอยู่หัวทรงวิจารณ์ว่า ถ้าหากสติยังอยู่ยังรู้ตัวว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ควรเลิก แต่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามสภาพนั้นอีก
ครั้งหนึ่งหลังจากทำสมาธิแล้วผมกราบบังคมทูลว่า พอจิตสงบผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังเลื่อนต่ำลงไปในท่อขนาดใหญ่ คือตัวผมและที่ปลายข้างล่าง ผมแลเห็นแสงสว่างเป็นจุดเล็กๆ แสดงว่าท่อยาวมากกลัวจะหลุดออกจากท่อจึงเลิกทำสมาธิ รับสั่งเช่นเดียวกันว่า หากยังรู้ตัว ( มีสติ ) อยู่ก็ไม่ควรเลิก ถึงหากหลุดออกนอกท่อไปก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่สติยังอยู่และรู้ว่ากำลังเกิดอะไรกับตน
ต่อมาภายหลังจากการศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกท่าน และโดยเฉพาะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสสอนให้ “ ดำรงสติให้มั่น “ ในเวลาทำสมาธิ
ในส่วนที่เกี่ยวกับพระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัวเคยตรัสเล่าให้ผมฟังว่า ครั้งหนึ่งขณะกำลังทำสมาธิอยู่พระจิตสงบและเกิดนิมิต
ในนิมิตนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นพระกร(แขนท่อนล่าง ) ลอกออกทีละชิ้นๆ ตั้งแต่จากพระตจะ (หนัง) ลงไปถึงพระอัฐิ
( กระดูก )
พระเจ้าอยู่หัวทรงประยุกต์พระสมาธิในการประกอบพระราชกรณียะกิจทุกอย่างทั้งน้อยและใหญ่ จึงทรงสามารถเผชิญกับพระราชภาระอันหนักในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ได้โดยไม่สะทกสะท้านหรือหวั่นไหว ไม่ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าไปไกลๆ อย่างเลื่อนลอยและเปล่าประโยชน์ ไม่ทรงอาลัยอดีตหรืออนาคต ไม่ทรงเสียเวลาหวั่นไหวไปกับความสำเร็จ หรือความล้มเหลวอันเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ทรงสนพระราชหฤทัยอยู่แต่กับพระราชกรณียะกิจเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น
ในฐานะที่เกิดมาเป็นพลเมืองของประเทศที่มีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เป็นพระประมุข และในฐานะที่ทุกคนมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงเมืองไทยนี้ให้เป็นที่ร่มเย็นของเราและของลูกหลานของเรา จึงสมควรที่เราจะเจริญรอยประพฤติตามพระยุคลบาทด้วยการศึกษาและปฏิบัติสมาธิกันอย่างจริงจัง และนำสมาธิมาประยุกต์ในการดำเนินชีวิต เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา"
81  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย องค์ในหลวง รัชกาลที่9 ทรงสนธนาธรรมกับพระสงฆ์ เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2016, 10:31:56 AM

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน สนทนากับในหลวง

หลวงพ่อสรุปว่า นี่เป็นอันว่าน้ำพระทัยของพระองค์ ไม่ทรงสะเทือนในคำนินทาและสรรเสริญ ก็ทรงอุเบกขาเป็นอย่างยิ่ง
ฉะนั้นถ้าหากว่าวันนี้ อาตมาจะถวายพระพร ให้ทรงอยู่ในด้านของพรหมวิหาร ๔ ก็เห็นว่าจะไม่มีผล เพราะว่าความดี ๔ ประการนี้
พระองค์ทรงมีแล้วเรียบร้อยทุกประการ
ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมมาพุทธเจ้าตรัสว่า “นัตถิ โลเก อนินทิโต” ซึ่งแปลเป็นใจความว่า
“คนไม่ถูกนินทาเลย ไม่มีในโลกนี้”
ฉะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ว่าจะมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชานิกรของพระองค์เพียงใดก็ตามที
พระราชจริยาวัตรของพระองค์ ก็ย่อมไม่เป็นที่ที่ถูกใจของบุคคลบางพวก บางคณะ อาจจะมีอยู
ในครั้งหนึ่ง อาตมาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ได้ปรารภกับพระองค์ถึงภารกิจที่อาตมาทำว่า
“การทำการสงเคราะห์ ปวงชนชาวไทย ตามกำลังที่จะรวบรวมได้ จากบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ ทำการแจกอาหารการบริโภค ยารักษาโรค สร้างโรงเรียนตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ แต่การกระทำแบบนี้ กลับมีคนบางพวกบอกว่า อาตมาเป็นพระการเมือง”

พระองค์ก็ตรัสว่า
“ผมก็ทราบเหมือนกัน เขาว่าหลวงพ่อเป็นพระการเมือง”
แต่พระองค์ก็ทรงถามว่า
“หลวงพ่อมีความรู้สึกยังไง”
ก็เลยถวายพระพรไปว่า
“อาตมาไม่มีความรู้สึกอะไร เพราะถือว่าอาตมาไม่เคยสมัครสภาผู้แทนราษฏร และก็ไม่เคยอยากจะเป็นรัฐมนตรี
เขาจะหาว่าการเมืองหรือการบ้านก็ช่าง ถือว่าเฉย ๆ ถือตามหลักพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า “นินทา ปสังสา”
ขึ้นชื่อว่า นินทาและสรรเสริญ เป็นของธรรมดาของโลก อาตมาไม่หนักใจในคำนินทาและสรรเสริญ เพราะไม่มีความสงสัย”

ต่อนี้พระบาทมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสว่า
“ผมก็เหมือนกันแหละขอรับ เมื่อก่อนนี้เขาลือว่าผมฆ่าพี่ แต่เวลานี้เขาลือกันว่าผมฆ่าพ่อตา”
ความจริงช่วงหลัง อาตมาไม่ทราบจึงกราบทูลว่า
“การลือที่ว่าฆ่าพ่อตานั้น มีความหมายเป็นยังไง”
พระองค์ก็ตรัสบอกว่า
“เขาลือกันว่าพ่อตาผมเป็นไข้ ผมเอาเหล้ากรอกปาก แล้วเลยพาพ่อตาไปวิ่ง พ่อตาก็เลยตาย”
แล้วจึงได้ทูลถามพระองค์ว่า
“แล้วมหาบพิตร มีความรู้สึกยังไง ในเมื่อคำนินทาปรากฏขึ้น”
พระองค์ก็ตรัสว่า
“เรื่อย ๆ ขอรับ”

ก็หมายความว่า ใครจะว่ายังไงก็ช่าง ความดีหรือความชั่วที่จะมีขึ้นได้อาศัยการกระทำเป็นสำคัญ
แล้วเมื่อเราทำความดีแล้วใครจะว่าชั่ว เราก็ไม่ชั่วไปตาม ถ้าเราทำความชั่ว ใครจะสรรเสริญว่าดี เราก็ไม่ดีไปตาม
นี่เป็นอันว่าน้ำพระทัยของพระองค์ ไม่ทรงสะเทือนในคำนินทาและสรรเสริญ ก็ทรงอุเบกขาเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นถ้าหากว่าวันนี้ (ประมาณปี ๒๕๓๓) อาตมาจะถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงอยู่ในด้านของพรหมวิหาร ๔
ก็เห็นว่าจะไม่มีผล เพราะว่าความดี ๔ ประการนี้ พระองค์ทรงมีแล้วเรียบร้อยทุกประการ

จากหนังสือ ธัมมวิโมกข์ ฉบับพิเศษ พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ หน้า ๗๙
82  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย พระอาจารย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2016, 06:55:10 AM


พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมในความต่างของ“สาวกภูมิ” กับ “พุทธภูมิ”ที่ หลวงตามหาบัวถวายตอบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙
เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปกราบนมัสการหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เพื่อนิมนต์เชิญหลวงตามหาบัวไปงานพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวัง ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมกับหลวงตามหาบัว ซึ่งพระอาจารย์ภูสิต ขันติธโร (พระอุปัฏฐากหลวงตามหาบัว) เป็นผู้บันทึกจากความทรงจำ ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว :
หลวงปู่ครับ “สาวกภูมิ” กับ “พุทธภูมิ” ต่างกันอย่างไร ?
หลวงตามหาบัว :
พุทธภูมิก็เหมือนดั่งเรานั่งรถไฟ นั่งรถไฟไปเชียงใหม่ หรือนั่งรถไฟไปอุดรฯ นั่นแหละ...พุทธภูมิ แต่ถ้าเรานั่งจักรยานมา หรือนั่งมอเตอร์ไซค์ ขี่มอเตอร์ไซค์ไป นั่นแหละ...สาวกภูมิ
เพราะฉะนั้น การเป็นพุทธภูมิก็คือการนำคนไปได้เยอะๆ ส่วนสาวกภูมินั้นนำไปได้น้อยๆ ไม่ได้มากนัก อย่างเก่งก็ ๑ คน หรือ ๓-๔ คน ก็ว่ากันไป นั่นคือสาวกภูมิ เข้าใจไหมล่ะ พ่อหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว :
เข้าใจแล้วหลวงปู่... แล้ว “นิพพาน” เป็นอย่างไรนะ หลวงปู่ ?
หลวงตามหาบัว :
อ้อ...พ่อหลวง เหมือนพ่อหลวงมาวัดป่าบ้านตาดนี่แหละ รู้ไหมว่าวัดป่าบ้านตาดอยู่ตรงไหน อยู่บนกุฏินี่เหรอ วัดป่าบ้านตาดอยู่ไหนล่ะ แต่พอพระมหากษัตริย์มาถึงนี่แล้ว บริเวณนี้ทั้งหมดคือวัดป่าบ้านตาดนี่แหละ แต่จะชี้ลงไปว่าที่กุฏิอาตมาก็ไม่ใช่ ที่กุฏิพระก็ไม่ใช่ ที่ศาลาก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ทั้งหมด แต่เมื่อรวมกันทั้งหมดในกำแพงวัดนี้นี่แหละคือวัดป่าบ้านตาด นี่แหละ...พระนิพพานก็มีความหมายแบบเดียวกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว :
ขอบารมีหลวงปู่ช่วยต่ออายุให้แม่หลวง (สมเด็จย่า)
หลวงตามหาบัว :
พ่อหลวงนั่นแหละก็จัดการเองได้ ขอเองได้ จัดการเอง อาตมาต่อให้ไม่ได้หรอก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว :
เอาล่ะ... ได้เวลาแล้ว จะกลับแล้ว หลวงปู่มีอะไรจะบอกไหม ?
หลวงตามหาบัว :
การเป็นพุทธภูมิ สร้างบารมีเพื่อความเป็นพุทธะ พอจบพุทธภูมิได้ก็เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าก็มีพุทธกิจ ๕ คือ ตอนเช้าบิณฑบาต ตอนบ่ายสอนคหบดีมนุษย์ทั่วไป ตกเย็นสอนนักบวช สมณชีพราหมณ์ ตอนกลางคืนแก้ปัญหาเทวดา พอมาตอนเช้ามืดเล็งญาณดูสัตว์โลก สัตว์โลกตัวไหนมีกิเลสเบาบางพอที่จะบรรลุธรรมได้ ท่านก็จะเล็งญาณดู รีบไปโปรดก่อน
พระพุทธเจ้าสร้างบารมีพุทธภูมิจนได้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็มีพระพุทธกิจ ๕ อย่างนี้ แต่...ไม่รู้ว่าพ่อหลวงแม่หลวงของประเทศไทยปรารถนาอะไร ทำงานกันจนไม่มีเวลาจะพักผ่อน เอาล่ะๆ อาตมาจะให้พร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว :
อยากให้ท่านอาจารย์อยู่กับหลวงปู่ไปนานๆ
พระอาจารย์ภูสิต ขันติธโร :
เจริญพร มหาบพิตร ... อาตมาก็อยากจะอยู่ แต่ถ้าถึงเวลาที่อาตมาจะต้องเอาตัวเองให้รอด อาตมาก็ขอเอาตัวเองให้รอดก่อน เพราะทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงเวลาไปก็ต้องไปเหมือนกัน
กิตติ ทีนิวส์ คัดลอก
ติดตามเรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับเหล่าพระอริยสงฆ์อีกมากมายได้ในหนังสือ “มหาบพิตร :
ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ” โดย “วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์”
ที่มา : http://panyayan.tnews.co.th/contents/210912/
83  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะ ที่ถ่ายทอดโดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี เมื่อ: ตุลาคม 30, 2016, 09:43:07 PM
...การเจริญสติต้อง
"ทำอย่างต่อเนื่อง" ตั้งแต่ตื่นจนหลับ
พอมีเวลาว่างก็นั่งหลับตา
แล้วก็เจริญสติต่อ
.
...ถ้าสติมีกำลัง "ดึงจิต" ให้อยู่กับ
อารมณ์ของการภาวนาได้
ก็จะเข้าสู่ความสงบได้
.
...พอจิต "สงบเต็มที่"
ก็จะว่าง..จะเย็นจะสบาย
ไม่มีความคิดปรุงแต่ง
เป็นอุเบกขา..มีอารมณ์เดียว
ที่เรียกว่า"สักแต่ว่ารู้ รู้เฉยๆ"
.
...แต่..ไม่มีอะไรให้รู้ "รู้ว่ามีแต่ความว่าง"
ปล่อยให้อยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ
อย่างนี้เรียกว่า.."สมาธิ"
เป็นสมาธิที่ถูกต้อง..เป็นสัมมาสมาธิ..
.
..เป็นสมาธิที่จะสนับสนุน
การเจริญปัญญาต่อไป
แต่..ตอนที่สงบนิ่งนี้
ไม่ใช่เวลาที่จะเจริญปัญญา
.
...เป็นการเจริญสมาธิ
ปล่อยให้สงบให้นานที่สุด
ถ้าจิตสงบได้นาน
ก็จะมีกำลังที่จะ..
"ต่อสู้กับกิเลสตัณหา"ได้มาก
..........................................
.
คัดลอกการแสดงธรรม
ธรรมะบนเขา 30/9/2555
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
84  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / งานกฐิน สร้างวัด ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างพระพุทธรูป บริจาคโลหิต เพื่อการกุศล ช่วยเหลือ / Re: พิธีทอดถวายกฐิน ตกค้าง ประจำปี 2559 ณ วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ เมื่อ: ตุลาคม 26, 2016, 10:22:26 PM

สถานะการทำรายการ   ธนาคารได้ทำรายการของท่านเรียบร้อยแล้ว
หมายเลขอ้างอิง   TRTR161026360160219

รายละเอียดการทำรายการ
จากบัญชี   784-2-xxxxx-ป
เพื่อเข้าบัญชี   008-2-04722-2 พระอาจารย์เยื้อน สุรินทร์
ชื่อบัญชี   พระราชวิสุทธิมุนี
จำนวนเงิน (บาท)   500.00
ค่าธรรมเนียม (บาท)   0.00
วันที่โอนเงิน   26/10/2016
บันทึกช่วยจำ   ทำบุญกฐิน วัดเขาศาลา สุรินทร์
85  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / งานกฐิน สร้างวัด ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างพระพุทธรูป บริจาคโลหิต เพื่อการกุศล ช่วยเหลือ / พิธีทอดถวายกฐิน ตกค้าง ประจำปี 2559 ณ วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ เมื่อ: ตุลาคม 26, 2016, 10:22:16 PM
ขอเรียนเชิญศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล
ให้ทราบงานบุญมหากุศล
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559
ณ วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร
อ.บัวเชด จ.สุรินทร์
โดย้รับเมตตาจาก พระพรหมวิสุทธาจารย์
กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต)
รองแม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหาร
เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
และได้รับเกียรติจากท่านอรรถพร สิงหวิชัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
เป็นประธานฝ่ายฆารวาส
ในพิธีเบิกเนตร เจริญจิตภาวนา มหาพุทธาภิเษกพระพุทธไสยาสน์ ปางโปรดอสุรทราหู
และพิธีทอดถวายกฐิน ตกค้าง ประจำปี 2559
เพื่อเป็นพระราชกุศลน้อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ
จึงขอเรียนเชิญเป็นเจ้าภาพร่วมในพิธีเบิกเนตร เจริญจิตภาวนา มหาพุทธาภิเษกพระพุทธไสยาสน์ ปางโปรดอสุรทราหู
และพิธีทอดถวายกฐิน ตกค้าง ประจำปี 2559 ดังกล่าว
มาโดยพร้อมเพรียงกันนะครับ
สาธุๆๆ
86  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / งานกฐิน สร้างวัด ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างพระพุทธรูป บริจาคโลหิต เพื่อการกุศล ช่วยเหลือ / ร่วมทำบุญงานกฐิน 2559 กับองค์หลวงปู่ไม เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 05:39:16 PM
ร่วมทำบุญงานกฐิน 2559 กับองค์หลวงปู่ไม

สถานะการทำรายการ   ธนาคารได้ทำรายการของท่านเรียบร้อยแล้ว
หมายเลขอ้างอิง   TRTR161013333650145

รายละเอียดการทำรายการ
จากบัญชี   784-ป-ปปปปป-ว Save
เพื่อเข้าบัญชี   695-2-12778-9 พระกิตติอุดมญาณ ทำบุญกฐิน
ชื่อบัญชี   พระ กิตติอุดมญาณ จันทร์เหล็ก
จำนวนเงิน (บาท)   600.00
ค่าธรรมเนียม (บาท)   0.00
วันที่โอนเงิน   13/10/2016
87  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / รวมบทสวดมนต์ เพือทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ / Re: บทสวดพระธารณะปริตรคาถา พร้อมคำแปล เมื่อ: ตุลาคม 13, 2016, 03:59:51 PM
https://www.youtube.com/watch?v=CGvK8_yn_Ts
88  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / งานกฐิน สร้างวัด ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างพระพุทธรูป บริจาคโลหิต เพื่อการกุศล ช่วยเหลือ / Re: ถวายผ้าป่าเพื่อสร้างอุทยานธรรมหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 09:38:20 PM
ทาง Kammatan.com ร่วมทำบุญไปแล้วเมื่อ 7 ตค 2559
: )
89  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / งานกฐิน สร้างวัด ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างพระพุทธรูป บริจาคโลหิต เพื่อการกุศล ช่วยเหลือ / ถวายผ้าป่าเพื่อสร้างอุทยานธรรมหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 09:34:15 PM


ขอเชิญร่วมงานแสดงมุทิตาจิตครบรอบอายุวัฒนมงคล ๘๕ ปี พระราชวรคุณ (หลวงปู่สมศักดิ์ (โพธิ์) ปัณฑิโต)
ศิษย์ผู้ใหญ่ในองค์ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล และร่วมถวายผ้าป่าเพื่อสร้างอุทยานธรรมหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
(หลังพิธีแสดงมุทิตาจิตฯ) ณ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
ในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ และจันทร์ที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๙

ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญได้ที่
ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุรินทร์
เลขที่บัญชี 017-1-13920-1
ชื่อบัญชี อุทยานธรรมหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จ.สุรินทร์ โดยพระราชวรคุณ
อนุโมทนาสาธุครับผม
90  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 11:13:59 AM
"เรื่องศพที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พาปฏิบัติ"

ครั้งหนึ่ง มีเหตุเด็กผู้ชายป่วยไข้ตายลง ชื่อเด็กชาย นงค์ นามสกุล จันทะวงษา อายุประมาณ ๖ ขวบ เป็นไข้ตายอยู่ที่กระท่อมเถียงนา เพราะเป็นหน้ากำลังดำนากัน ตามปกติพ่อแม่ในชนบทบ้านนอกทางภาคอีสานสมัยนั้น เมื่อถึงหน้าฤดูทำนาก็ต้องหอบลูกจูงหลานไปนาด้วย แม้ลูกหลานจะป่วยไข้ แต่พอเอาไปได้ก็ต้องเอาไป เพื่อจะได้เยียวยารักษากันไป พร้อมกับทำนาไปด้วยเพื่อจะเร่งงานนาให้เสร็จทันกับฤดูกาล แต่วันนั้นบังเอิญเด็กมีไข้ขึ้นสูง เยียวยาไม่ทัน ในที่สุดก็ตาย ทำให้พ่อแม่พี่น้องมีความเศร้าโศกเสียใจมาก

เมื่อตายแล้วพ่อแม่ญาติพี่น้องต้องการจะให้นำศพเด็กเข้าไปทำบุญที่บ้าน แต่มาขัดข้องเรื่องของความคิดเห็นตามประเพณีโบราณว่า คนที่ตายในทุ่งในป่าห้ามไม่ให้เอาผ่านเข้าบ้าน โบราณท่านถือ และอีกอย่าง คนตายโหงหรือตายอย่างกะทันหัน เช่น ตายจากอุบัติเหตุ ผูกคอตาย ฆ่ากันตาย ยิงกันตาย เหล่านี้เป็นต้น โบราณท่านห้าม ไม่ให้หามผ่านเข้าบ้าน และห้ามเผา ให้ฝังครบสามปีแล้วจึงขุดเอากระดูกขึ้นมาเผาได้ เลยทำให้ชาวบ้านหนองผือสมัยนั้นถกเถียงกันไปถกเถียงกันมา ในที่สุดญาติโยมจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษาสอบถามกับท่านพระอาจารย์มั่น

ท่านได้แก้ความสงสัยนี้ให้แก่ญาติโยมบ้านหนองผือ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า

“พวกหมูป่า อีเก้งกวาง ที่ยิงตายในกลางป่ายังเอามาเข้าบ้านเรือนได้ นี่มันคนตายแท้ๆ ทำไมจะเอาเข้าบ้านเข้าเรือนไม่ได้”

ดังนั้น ญาติโยมชาวบ้านจึงนิ่งเงียบไป ทำให้หูตาสว่างขึ้นมา สุดท้ายก็นำเอาศพเด็กชายคนนำเข้าไปทำบุญที่บ้าน และเผาเหมือนกันกับศพของคนตายตามปกติธรรมดาทุกอย่าง ภายหลังต่อมาชาวบ้านหนองผือจึงไม่ค่อยถือในเรื่องนี้เป็นสำคัญ คนตายทุกประเภทจึงทำเหมือนกันหมด

สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพำนักอยู่สำนักวัดป่าบ้านหนองผือช่วงระยะ ๕ พรรษานั้น มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น คือมีพระที่จำพรรษาอยู่ด้วยท่านมรณภาพลง ๒ รูป คือ พระอาจารย์สอ กับ พระอาจารย์เนียม แต่มรณภาพลงคนละเดือน โดยเฉพาะพระอาจารย์เนียมมรณภาพเมื่อตอนเช้าด้วยอาการสงบ ท่านพระอาจารย์มั่นก็ทราบเรื่องทุกอย่าง พอตอนเช้า ท่านพระอาจารย์มั่นก็พาพระเณรไปบิณฑบาตภายในหมู่บ้านตามปกติ ในขณะที่ท่านกำลังบิณฑบาตอยู่นั้น ท่านพูดขึ้นเป็นสำเนียงอีสานว่า

“ท่านเนียมฮู้แล้วน้อ พ่อออกแม่ออก ท่านเนียมฮู้แล้วน้อ”

ท่านพูดอย่างนั้นไปเรื่อย ๆ กับกลุ่มญาติโยมที่รอใส่บาตรทุกกลุ่ม จนสุดสายบิณฑบาต คำพูดของท่านนั้นหมายความว่า พระอาจารย์เนียมอยู่กับที่แล้ว ไม่กระดุกกระดิกแล้ว หรือตายแล้ว ซึ่งญาติโยมตอนนั้นบางคนก็เข้าใจ บางคนก็ไม่เข้าใจความหมาย ภายหลังจึงเข้าใจชัดว่าพระอาจารย์เนียมมรณภาพแล้วเมื่อเช้านี้

เมื่อญาติโยมทั้งหลายได้ทราบอย่างนั้นแล้วจึงบอกต่อ ๆ กันไป แล้วพากันเตรียมตัวไปที่วัดในเช้าวันนั้น

สำหรับท่านพระอาจารย์มั่นพร้อมทั้งพระเณรบิณฑบาตเสร็จแล้วกลับถึงวัด ล้างเท้าขึ้นบนศาลาหอฉัน วางบาตรบนเชิงบาตร ลดผ้าห่ม คลี่ผ้าสังฆาฏิที่ซ้อนออก ห่มเฉพาะจีวรเฉวียงบ่าเรียบร้อยแล้วพับเก็บผ้าสังฆาฏิ จึงเข้าประจำที่ฉัน เตรียมจัดแจกอาหารลงบาตร เพราะมีโยมตามส่งอาหารที่วัดด้วย เสร็จแล้วอนุโมทนายถาสัพพีตามปกติ จึงพร้อมกันลงมือฉัน

ฝ่ายพวกชาวบ้านญาติโยมภายในหมู่บ้านที่จะมาวัดในเช้าวันนั้น ก็กำลังบอกกล่าวป่าวร้องให้ผู้คนประชาชนไปที่วัด เพื่อจะได้จัดเตรียมเอาเครื่องใช้ไม้สอยและอุปกรณ์จำเป็นในการที่จะทำงานฌาปนกิจศพตามประเพณี ทั้งคนเฒ่าคนแก่ หนุ่ม ๆ แข็งแรงก็ให้ไปด้วย ผู้มีมีดพร้า ขวานจอบ เสียม ก็ให้เอาไปด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้ไปปราบพื้นที่ที่จะทำเป็นที่เผาศพชั่วคราว สำหรับพวกที่มีพร้ามีขวานให้ไปตัดไม้ที่มีขนาดให้หน่อย ยาวประมาณ ๒ วากว่า ๆ มาทำเป็นไม้ข่มเหง (ไม้ข่มเหง สำหรับพาดข้างหีบศพบนเชิงตะกอนเพื่อกันไม่ให้ศพตกจากเชิงตะกอนว่าไม้ข่มเหง) หรือไม้ข่มหีบศพที่อยู่บนกองฟอนไม่ให้ตกลงมาจากกองฟอนขณะไฟกำลังลุกไหม้อยู่

ส่วนคนเฒ่าคนแก่รู้หลักในการที่จะทำเกี่ยวกับศพ ก็เตรียมฝ้ายพื้นบ้านพร้อมด้ายสายสิญจน์เพื่อนำไปมัดตราสัง ภูไท (ชื่อชนกลุ่มหนึ่งของจังหวัดสกลนครที่อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีนิสัยรักสงบ อยู่กันเป็นกลุ่มตามเชิงเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผิวขาวเหลือง มีภาษาพูดเฉพาะ เข่น ชาวบ้านหนองผือ เป็นต้น) เรียกว่า มัดสามย่าน (คือห่อศพด้วยเสื่อแล้วมัดเป็นสามเปลาะ โดยมัดตรงคอ ตรงกลางและตรงข้อเท้า) นอกจากนั้นก็มีธูปเทียน ดอกไม้ กะบองขี้ไต้ น้ำมันก๊าด พร้อมทั้งหม้อดินสำหรับใส่กระดูกหลังจากเผาเสร็จ เป็นต้น

ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นนั้น เมื่อฉันจังหันเสร็จและทำสรีรกิจส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว ได้ลุกจากอาสนะที่นั่ง เดินลงจากศาลาหอฉันไปที่กุฏิศพพระอาจารย์เนียม พระเณรทั้งหลายก็ติดตามท่านไปด้วย ไปถึงท่านก็สั่งการต่างๆ ตามที่ท่านคิดไว้แล้ว คือคล้าย ๆ กับว่าท่านจะเอาศพของพระอาจารย์เนียมเป็นเครื่องสอนคนรุ่นหลัง หรือทอดสะพานให้คนรุ่นหลัง ๆ ทั้งพระเณร พร้อมทั้งญาติโยมชาวบ้านหนองผือเอาเป็นคติตัวอย่าง

ท่านจึงไปยืนทางด้านบนศีรษะของศพแล้วก้มลงใช้มือทั้งสองจับมุมเสื่อทั้งสองข้างของศพ ทำท่าทางจะยกศพขึ้นอย่างขึงขังจริงจัง พระเณรทั้งหลายเห็นกิริยาอาการของท่านอย่างนั้นแล้ว จึงเข้าใจความหมายว่าท่านต้องการจะให้ยกศพหามไปที่กองฟอนเดี๋ยวนั้น โดยไม่ต้องตกแต่งศพหรือทำโลงใส่เลย

ดังนั้น พระเณรทั้งหลายจึงพากันกรูเข้าไปช่วยยกศพนั้นจากมือท่าน หามไปที่กองฟอนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัด เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเห็นว่าพระเณรทั้งหลายเข้าช่วยหามมากแล้ว ท่านจึงปล่อยให้พระจัดการหามกันเอง ท่านเพียงแต่คอยสั่งการตามหลังเท่านั้น แล้วท่านก็เดินตามหลังขบวนหามศพนั้นไป ในตอนนี้พวกญาติโยมชาวบ้านกำลังทยอยเข้ามาที่บริเวณวัด

ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นกำลังเดินไปอยู่นั้น ได้มีโยมผู้ชายคนหนึ่งเดินถือฝ้ายพื้นบ้านเข้ามาหาท่าน ท่านเห็นจึงหยุดเดินและถามขึ้นว่า

“พ่อออก ฝ้ายนั่นเอามาเฮ็ดอีหยัง..? ” (หมายความว่าโยมจะเอาฝ้ายนั้นมาทำอะไร)

โยมนั้นก็ตอบท่านว่า “เอามามัดสามย่านแหล่วข้าน้อย” (มัดตราสัง)

ท่านพูดขึ้นทันทีว่า “ผูกมัดมันเฮ็ดอีหยัง มันสิดิ้นรนไปไส มันฮู้พอแฮงแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้นไว้ใช้อย่างอื่นสิยังมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ่มซะซือ”

(หมายความว่า ผูกมัดทำไม ศพมันจะดิ้นไปไหนเพราะตายแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้นไว้ใช้อย่างอื่นยังจะมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ้งเสียเปล่าๆ)

โยมคนนั้นก็เลยหมดท่า พูดจาอะไรไม่ออก เก็บฝ้ายนั้นแล้วเดินตามหลังท่านพระอาจารย์มั่นเข้าไปยังที่ที่เผาศพพระอาจารย์เนียม

เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเดินไปถึงที่เผาศพแล้ว มีโยมหนุ่ม ๆ แข็งแรงกำลังแบกหามท่อนไม้ใหญ่พอประมาณ ยาว ๒ วากว่าๆ (ทางนี้เรียกว่าไม้ข่มเหง) มาที่กองฟอน ท่านพระอาจารย์มั่นเหลือบไปเห็นจึงพูดขึ้นทันทีว่า

“แบกมาเฮ็ดหยังไม้นั่น... ? ” (หมายความว่า แบกมาทำไมไม้ท่อนนั้น)

พวกโยมก็ตอบท่านว่า “มาข่มเหงแหล่วข้าน้อย” (หมายความว่า เอาไม้นั้นมาข่มศพบนกองฟอนเพื่อไมให้ศพตกออกจากกองไฟ)

ท่านจึงพูดขึ้นอีกว่า “สิข่มเหงมันเฮ็ดหยังอีก ตายพอแฮงแล้ว ย่านมันดิ้นหนีไปไส” (หมายความว่า จะไปข่มเหงทำไมอีกเพราะตายแล้ว กลัวศพจะดิ้นหนีไปไหน)

พวกโยมได้ฟังเช่นนั้นก็เลยวางท่อนไม้เหล่านั้นทิ้งไว้ที่พุ่มไม้ข้าง ๆ นั้นเอง แล้วมานั่งลงคอยสังเกตการณ์ต่อไป

ก่อนเผานั้น ท่านพระอาจารย์มั่นสั่งให้พลิกศพตะแคงขวา แล้วตรวจตราดูบริขารในศพโดยที่ไม่ได้ตบแต่งศพแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงมีจีวรของศพปกปิดอยู่เท่านั้น แล้วท่านก็เหลือบไปเห็นสายรัดประคดเอวของศพ จึงดึงออกมาโยนไปให้พระที่อยู่ใกล้ ๆ พร้อมกับพูดว่า

“นี่ประคดไหม ใครไม่มีก็เอาไปใช้เสีย”

แล้วท่านก็พาพระเณรสวดมาติกาบังสุกุล จนจบลง แล้วจึงให้ตาปะขาวจุดไฟใส่กระบองแล้วยื่นให้ท่าน เมื่อท่านรับแล้วพิจารณาครู่หนึ่งจึงไปวางไฟลงใต้ฟืนในกองฟอน ไม่นานไฟก็ติดลุกไหม้ขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นเปลวโพลงสูงขึ้น สูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วในที่สุดไฟเริ่มใหม่ทั้งฟืนทั้งศพ ทำให้ศพที่ถูกไฟไหม้อยู่นั้นมีน้ำมันหยดหยาดย้อยถูกเปลวไฟเป็นประกายวูบวาบพร้อมกับเสียงดังพรึบ ๆ พรั่บ ๆ ไปทั่ว จนที่สุดคงเหลือแต่เถ้าถ่านกับกองกระดูกเท่านั้น เอง

ส่วนท่านพระอาจารย์มั่น เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้วจังหันหน้าเดินออกมาข้างนอก ปล่อยให้ญาติโยมดูแลเอง ในขณะที่ท่านกำลังเดินออกมา ท่านเหลือบไปเห็นโยมผู้ชายคนหนึ่งถือหม้อดินใหญ่ขนาดกลางกำลังเดินเข้ามาหาท่าน ท่านจึงถามโยมคนนั้นทันทีว่า

“พ่อออก เอาหม้อนั้นมาเฮ็ดหยัง” (หมายความว่า โยมเอาหม้อดินนั้นมาทำอะไร)

โยมคนนั้นตอบท่านว่า “เอามาใส่กระดูกแหล่วข้าน้อย” (หมายความว่า เอามาใส่กระดูกขอรับ)

ท่านจึงชี้นิ้วลงบนพื้นดินพร้อมกับถามโยมคนนั้นว่า “อันนี้แม่นหยัง” (หมายความว่า อันนี้คืออะไร)

โยมตอบท่านว่า “ดินขอรับ”

ท่านจึงชี้นิ้วไปที่หม้อดินที่โยมถืออยู่พร้อมกับถามอีกว่า “นั่นเด้..เขาเอาอีหยังเฮ็ด” (หมายความว่า นั้นเขาทำด้วยอะไร)

โยมตอบท่านว่า “ดิน ข้าน้อย”

ท่านจึงสรุปลงพร้อมกับชี้นิ้วทำท่าทางให้ดูว่า “นั่นก็ดิน นี่ก็ดิน ขุดลงนี้แล้วจึงกวาด..ลงนี่ มันสิบ่ดีกว่าหรือ” (หมายความว่าหม้อใบนั้นก็ทำด้วยดิน ตรงพื้นนี้ก็ดิน ขุดเป็นหลุมแล้วให้กวาดกระดูกและเถ้าถ่านต่าง ๆ ลงด้วยกันจะไม่ดีกว่าหรือ) ท่านจึงบอกให้โยมนั้นเอาหม้อไปเก็บไว้ใช้ โดยบอกว่า

“ให้เอาหม้อใบนั้นไปใช้ต้มแกงอย่างอื่นยังจะมีประโยชน์กว่าที่จะเอามาใส่กระดูก”

เมื่อโยมได้ฟังเช่นนั้น จึงนำหม้อดินไปเก็บไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 242