แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 65
76  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: มีนาคม 01, 2015, 12:07:50 PM

ที่หายไปนานก็เนื่องด้วยอาการเจ็บหลังน่ะครับ ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว
ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
เลยลองรับดูไว้ แถมได้ฝึกได้เจริญสติปัฏฐานสี่ในหมวดเวทนานุปัสสนาโดยตรง ซึ่งตัวเองยังไม่ชำนาญทางหมวดนี้นักครับ
แต่ก็ไปหาหมอเป็นพักๆเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดครับ
ตอนนี้หายแล้วครับ แล้วจะมาเล่าต่อว่าระหว่างที่เจ็บนั้นผมทำอะไรและดำเนินชีวิตอย่างไรบ้างครับ


 
77  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2015, 03:08:36 PM
พอดีมีโอกาสเลยขอโอกาสปลีกวิเวกตามดูเวทนาอยู่เป็นเวลาหลายเดือนครับ

เพิ่งกลับเข้ามาสู่การใช้ชีวิตโดยปกติครับ

เดี๋ยวหาเวลามาคุยเล่าสู่กันฟังครับ   ยิ้ม
78  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: ธันวาคม 21, 2014, 10:11:02 PM

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูหนาวอากาศเปลี่ยนแปลง รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

ส่วนตัวเองช่วงนี้ฝึกฝน เวทนานุปัสสนา ต่อครับ
79  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 03:40:22 PM


ทิฏฐิทั้ง ๖๒ ประการนี้เป็น มิจฉาทิฏฐิทั้งสิ้นครับ

               ด้วยอานุภาพแห่งพระสูตรอันประเสริฐใด ที่พระสยัมภูได้ทรงแสดงแล้ว
               แผ่นดินได้ไหวหลายครั้งอย่างนี้ ขอบัณฑิตทั้งหลายจงศึกษาโดยเคารพ
               ซึ่งอรรถธรรมของพระสูตรนั้น อันมีชื่อว่า พรหมชาลสูตร ในพระศาสนานี้
               แล้วปฏิบัติโดยอุบายอันแยบคาย เทอญ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค


 


80  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 03:34:13 PM

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๖๒ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยเหตุ ๖๒ ประการนี้เท่านั้น
หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว
ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น
และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น
ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

จบทิฏฐิ ๖๒.

 
81  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 03:21:39 PM

ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน
ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ

ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบันบัญญัติว่า
นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ?

๕๘. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณห้า
ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง.
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

๕๙. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะ
กามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และ
ความคับใจ
ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน อันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้

๖๐. (๓) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ
แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่าปฐมฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีวิตกและวิจารอยู่ ท่านผู้เจริญ
เพราะอัตตานี้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

๖๑. (๔) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ
แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ทุติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีปีติเป็นเหตุให้จิตกระเหิมอยู่
เพราะอัตตานี้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติเสวยสุขอยู่
ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบัน เป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

๖๒. (๕) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ
แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ตติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยจิตยังคำนึงถึงสุขอยู่
เพราะอัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้
ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน
ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๕ ประการนี้เท่านั้น
หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี

 
82  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 03:12:38 PM

อุจเฉททิฏฐิ ๗

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ
ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า ขาดสูญย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๗ ประการ?

๕๑. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด
เพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิดฉะนั้น
อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.
๕๒. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์
มีรูป เป็นกามาพจร บริโภคกวฬิงการาหาร ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้
ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้นท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้า
แต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
๕๓. (๓) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นอีกที่เป็น
ทิพย์ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบครัน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ท่านยังไม่รู้
ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานี้
จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.
๕๔. (๔) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึง
ชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา
เพราะไม่ใส่ใจในนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
๕๕. (๕) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้น
วิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ
เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด
อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
๕๖. (๖) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึง
ชั้นอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ ว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก
อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็น
อันขาดสูญอย่างเด็ดขาด
พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
๕๗. (๗) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึง
ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (มีอารมณ์ว่า นั่นละเอียด นั่นประณีต ๑-) เพราะล่วงอากิญ-
*จัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็น
อัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้า
แต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า ขาดสูญย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งมีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๗ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว
ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น
และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลายกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริงจึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

 
83  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 03:02:14 PM
เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ
ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ย่อมบัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ประการ?
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย

๔๓. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๔. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๕. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๖. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๗. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๘. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๙. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่สัญญาก็มิใช่.
๕๐. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง
มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ย่อมบัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว
ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

 
84  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 02:53:58 PM

อสัญญีทิฏฐิ ๘

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ?
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย

๓๕. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๖. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๗. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๘. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๙. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๔๐. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๔๑. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๔๒. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญาด้วยเหตุ ๘ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว
ย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย
เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลายกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริงจึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

 
85  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / ประชาสัมพันธ์ บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ ธรรม / Re: ขอข้อมูล คำคมธรรมะภาษาไทย/อังกฤษ เพื่อเขียนเป็นข้อคิดติดตามต้นไม้สำนักสงฆ์ เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 01:18:17 PM
"ลดความอยากให้น้อยลง แล้วความสุขจะเพิ่มขึ้น"

"Reduce want and then You will feel Happier"


ชีวิตของเรา ก็คือ เงาของความคิด - Our lives are shadows of our thoughts

คำคมธรรมมะของ ท่าน ว. วชิรเมธี มีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ท่าน ผมจำชื่อหนังสือไม่ได้ มีประมาณ200 กว่าคำคมครับ

ว่างๆจะลองหาดูนะครับ
86  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / ประชาสัมพันธ์ บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ ธรรม / Re: ขอข้อมูล คำคมธรรมะภาษาไทย/อังกฤษ เพื่อเขียนเป็นข้อคิดติดตามต้นไม้สำนักสงฆ์ เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 01:08:56 PM
 
พระพุทธพจน์
 
“คนใดเป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา และเป็นนักเลงการพนัน ผลาญทรัพย์ที่ตนหามาได้ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม”
 
———————————————————————
 
“เราเกิดมา นินทา สรรเสริญก็ดี อย่าไปรับเอามาหมักไว้ในใจปล่อยผ่านไปเสีย”
 
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
 
———————————————————————
 
เมื่อหลงติดสุข ก็คือหลงติดทุกข์
เพราะสุข ทุกข์ มาจากใจดวงเดียวกัน
 
หลวงปู่ขาว อนาลโย
 
———————————————————————
 
หลวงพ่อชา สุภัทโท
 
เรื่องที่ผ่านไปแล้ว มันก็ผ่านไปแล้วเหมือนวันวาน อย่าเก็บเอามาเป็นหนามทิ่มแทงตัวเองอีกเลย
 
———————————————————————
 
“ข้าศึกใด ๆ ใน โลกนี้ ไม่มี อำนาจ ลึกลับ แหลมคม เหมือน ข้าศึก ภายใน ใจเรา ผู้ใด ชนะ ข้าศึก คือ ตัวเราคนเดียว ได้แล้ว ผู้นั้น ย่อมเป็น ผู้ประเสริฐกว่า ดีกว่า ชนะ ชนหมู่มาก นับโข”
 
หลวงปู่เนียม วัดน้อย
 
———————————————————————
 
การเป็นคนดี คบคนดี อยู่ท่ามกลางคนดี ในสถานที่ที่ดีงาม ย่อมเป็นมงคลกับชีวิตเสมอ…
 
———————————————————————
 
ไม่มีอะไรทำให้ใจปิดและสติปัญญาคับแคบ มองเห็นแค่ปลายจมูก ได้มากเท่ากับความยึดติดถือมั่นในความถูกต้องของตน ผลก็คือทำผิดโดยไม่รู้ตัว และทั้ง ๆ ที่ทำผิดก็ยังเชื่อว่าตนเองทำถูก ซึ่งก็หนุนส่งให้ทำผิดมากขึ้น โดยยากที่จะยอมรับผิด
 
พระไพศาล วิสาโล
 
———————————————————————
 
ในทุกครั้งที่จิตตกหรือมีความทุกข์มารุมล้อม ให้พวกเราทั้งหลายจงทำความดีให้มากๆยิ่งขึ้น อยู่ใน ทาน ศีล ภาวนา เมื่อเหตุและปัจจัยดี ผลที่ตามมาย่อมดีเสมอ
 
คำคมธรรมะ สะกิดใจ


87  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / อวิชชา สัญโญชน์ เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 12:39:19 PM

อวิชชาสัญโญชน์ เป็นไฉน?
             

ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต

ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความจริง
ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ
ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์แจ้ง

ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหลอวิชชา

โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

นี้เรียกว่า อวิชชาสัญโญชน์.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

 
88  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / ประชาสัมพันธ์ บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ ธรรม / Re: ขอข้อมูล คำคมธรรมะภาษาไทย/อังกฤษ เพื่อเขียนเป็นข้อคิดติดตามต้นไม้สำนักสงฆ์ เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 11:20:15 AM

ขออนุญาตย้ายโพสต์มาไว้ที่นี่นะครับพระคุณเจ้า
89  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / ย้ายแล้ว: ขอข้อมูล คำคมธรรมะภาษาไทย/อังกฤษ เพื่อเขียนเป็นข้อคิดติดตามต้นไม้สำนักสงฆ์ เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 11:18:25 AM
หัวข้อนี้ได้ถูกย้ายไปบอร์ด ประชาสัมพันธ์ บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ ธรรม .

http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=2341.0
90  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2014, 10:42:34 AM
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๔๔ ประการ

ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต
มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการ?

สัญญีทิฏฐิ ๑๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ.

ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ?

สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย

๑๙. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๐. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๑. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๒. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๓. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๔. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๕. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๖. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๗. (๙) อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๘. (๑๐) อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๙. (๑๑) อัตตาที่มีสัญญาย่อมเบา ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๐. (๑๒) อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๑. (๑๓) อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๒. (๑๔) อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๓. (๑๕) อัตตาที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๔. (๑๖) อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๑๖ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว
ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้ชัดยิ่งกว่านั้น
ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย
เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ

 
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 65