•• ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา ••สังฆบิดร ผู้อร่ามในธรรมและศีลาจารวัตร
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา
“สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อมฺพโร อัมพร ประสัตถพงศ์)”เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ขณะมีสิริอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๖๘ ขึ้นเป็น
“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”องค์ประมุขแห่งสังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สืบต่อจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง
สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต
ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต
วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ
ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ
พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร
ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช”••••••••••••••••••••••••••
คำแปล-คำอ่านพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ
๑. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(สม-เด็ด-พระ-อะ-ริ-ยะ-วง-สา-คะ-ตะ-ยาน)
: สมเด็จพระผู้มีญาณสืบมาแต่วงศ์พระอริยเจ้า
๒. สุขุมธรรมวิธานธำรง
(สุ-ขุม-ทำ-มะ-วิ-ทาน-ทำ-รง)
: ทรงเป็นผู้มีธรรมวิธีอันละเอียดอ่อน
๓. สกลมหาสงฆปริณายก
(สะ-กน-ละ-มะ-หา-สง-คะ-ปะ-ริ-นา-ยก)
: ทรงเป็นผู้นำพระสงฆ์หมู่ใหญ่ทั้งปวง
๔. ตรีปิฎกธราจารย
(ตรี-ปิ-ดก-ทะ-รา-จาน)
: ทรงเป็นอาจารย์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระปริยัติธรรม คือ พระไตรปิฎก
๕. อัมพราภิธานสังฆวิสุต
(อำ-พะ-รา-พิ-ทาน-สัง-คะ-วิ-สุด)
: ปรากฏพระนามฉายาในทางสงฆ์ว่า “อมฺพโร”
๖. ปาพจนุตตมสาสนโสภณ
(ปา-พด-จะ-นุด-ตะ-มะ-สาด-สะ-นะ-โส-พน)
: ทรงงดงามในพระศาสนาด้วยทรงพระปรีชากว้างขวาง
ในพระอุดมปาพจน์คือพระธรรมวินัย
๗. กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต
(กิด-ติ-นิ-ระ-มน-คุ-รุ-ถา-นี-ยะ-บัน-ดิด)
: ทรงดำรงพระเกียรติโดยปราศจากมลทิน และทรงเป็นครู
๘. วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ
(วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-นะ-ริด-ปะ-สัน-นา-พิ-สิด-ตะ-ประ-กาด)
: สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาด้วยเหตุที่ทรงพระราชศรัทธา เลื่อมใส
๙. วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ
(วิ-สา-ระ-ทะ-นาด-ทำ-มะ-ทู-ตา-พิ-วุด)
: ทรงเป็นที่พึ่งผู้แกล้วกล้าและมีพระปรีชาฉลาดเฉลียว
ทรงเป็นผู้ยังความเจริญแก่กิจการพระธรรมทูต
๑๐. ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร
(ทด-สะ-มิน-สม-มุด-ปะ-ถม-สะ-กน-ละ-คะ-นา-ทิ-เบด)
: ทรงเป็นใหญ่ในสงฆ์ทั้งปวง (คือทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช)
พระองค์แรกที่ได้รับพระราชทานสถาปนาในรัชกาลที่ ๑๐
๑๑. ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ
(ปะ-วิด-ทะ-เนด-ตะ-โย-พาด-วาด-สะ-นะ-วง-สะ-วิ-วัด)
: ทรงยังแสงสว่างแห่งแบบอย่างอันดีงามให้บังเกิด
โดยเจริญรอยตามสมเด็จพระอุปัชฌายะ
คือสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร)
๑๒. พุทธบริษัทคารวสถาน
(พุด-ทะ-บอ-ริ-สัด-คา-ระ-วะ-สะ-ถาน)
: ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพของพุทธบริษัท
๑๓. วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร
(วิ-บูน-สี-ละ-สะ-มา-จาน-ระ-วัด-วิ-ปัด-สะ-นะ-สุน-ทอน)
: ทรงงดงามในพระวิปัสสานาธุระ ทรงพระศีลาจารวัตรอันไพบูลย์
๑๔. ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ
(ชิน-นะ-วอน-มะ-หา-มุ-นี-วง-สา-นุ-สิด)
: ทรงเป็นอนุศิษย์ผู้สืบวงศ์สมณะมาแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
๑๕. บวรธรรมบพิตร
(บอ-วอน-ทำ-มะ-บอ-พิด)
: ทรงเป็นเจ้าผู้ประเสริฐในทางธรรม
๑๖. สมเด็จพระสังฆราช
(สม-เด็ด-พระ-สัง-คะ-ราด)
: ทรงเป็นราชาแห่งหมู่สงฆ์
ที่มา : หนังสือพระประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=53651••••••••••••••••••••••••••
•• คำเรียกตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช” มี ๓ อย่าง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51799•• ประวัติและความสำคัญ “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม”
ที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช องค์สังฆบิดรถึง ๓ พระองค์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19364•• พระประวัติ ปฏิปทา และพระนิพนธิ์
สมเด็จพระสังฆราชไทย ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=22••••••••••••••••••••••••••
ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ขอพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เสด็จสถิตเป็นบุณยฐาน
และเป็นประทีปธรรม ของปวงพุทธบริษัทตลอดไป
เกล้ากระหม่อม ทีมงานเว็บธรรมจักร
www.dhammajak.net