พระราชกรณียกิจของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ภูมิพโลภิกฺขุ) ธรรมราชา ทรงผนวช

พระราชกรณียกิจของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ภูมิพโลภิกฺขุ) ธรรมราชา

ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 88 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2559 หากจะย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปี
ที่พระองค์ทรงผนวช เมื่อวัน จันทร์ที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 ซึ่งเป็นวันที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยและ
จดจำในดวงใจของพสกนิกร ชาวไทยทุกคน ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 แห่งบรมราชจักรีวงศ์
ได้ทรงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงพระผนวชในบวรพระพุทธศาสนา

พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะ
ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา
ซึ่งพิธีบรรพชาอุปสมบทนั้นได้มีบันทึกไว้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้…

%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87_%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%8a2

พ ร ะ ร า ช พิ ธี บ ร ร พ ช า อุ ป ส ม บ ท (ชมภาพยนตร์ส่วนพระองค์เนื่องในพระราชพิธีบรรพชาอุปสมบท )

ลุถึงวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 เป็นวันที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย และจดจำในดวงใจของพสกนิกรชาวไทยทุกคน
ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ จักได้ทรงสละราชสมบัติ เสด็จออกทรงพระผนวชในบวรพระพุทธศาสนา
โดยทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระราชพิธีบรรพชาอุปสมบทของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิ ราชเจ้า อันจัดเป็นพระราชพิธีมหามงคลอันยิ่งใหญ่
เริ่มขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 เวลา 14.00 น.


สมเด็จย่าทรงจรดพระกรรบิดเปลื้องพระเกศา ให้ในหลวงรัชกาลที่9

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งมายังวัดพระศรี รัตนศาสดาราม
ครั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ทรงพระดำเนินสู่ที่เปลื้องเครื่องหลังพระอุโบสถ เสร็จแล้ว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ทรงจรดพระกรรบิดเปลื้องพระเกศาเป็นพระฤกษ์ (ใช้กรรไกรขริบเส้นผมเป็นปฐมฤกษ์) จากนั้นเจ้าพนักงานภูษามาลาถวายต่อจนเสร็จ

559000011027010

ครั้น เวลา 15.00 น. ล่วงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเศวตพัสตร์ตามแบบผู้แสวงอุปสมบท
ทรงพระดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถทางพระทวารหลังแล้วเสด็จออกหน้าพระฉาก ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
พระสัมพุทธพรรณี และพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว
ทรงรับผ้าไตรและบาตรสำหรับทรงอุปสมบท จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปประทับในท่ามลาง
สังฆสมาคมในพระอุโบสถ มีพระสงฆ์ผู้จะนั่งหัตถบาส จำนวน 30 รูป อยู่ด้านเหนือ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร
ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ (อุปัชฌาย์) และถวายศีล สมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร เป็นพระราชอนุสาวนาจารย์

ภายในพระอุโบสถทางด้านใต้ มีพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมมนตรี คณะรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นอกจากนั้น เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ที่ชานพระอุโบสถทั้งหน้าหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงถวายเครื่องราชสักการะแด่สมเด็จพระสังฆราชผู้เป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ แล้วทรงขอบรรพชา

%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87_%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%8a3

สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ทรงถวายโอวาทสำหรับบรรพชาความว่า

“บัดนี้ สมเด็จพระบรมบพิตรทรงมีพระราชศรัทธาความเชื่อ พระราชปสาทะความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ได้ทรงขอบรรพชาอุปสมบท รวมความว่า บวชในพระพุทธศาสนาตามพระราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นบรมราชจักรีวงศ์
และตามแบบของกษัตริย์ก่อนๆ เพราะฉะนั้น จึงควรน้อมพระราชหฤทัยระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระบรมศาสดา ประกาศพระศาสนา
และทรงระลึกถึงพระธรรม คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประกาศสัจจะความจริงอันไม่แปรปรวน

และระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระ พุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วได้ความเชื่อความเลื่อมใส
ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจนได้ดบรรลุถึงคุณพิเศษในพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะฉะนั้น
ในบัดนี้ จงตั้งพระราชหฤทัยระลึกถึงคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่าศาสนธรรมอันประกาศสัจธรรม ธรรมะที่เป็นจริง
และระลึกถึงพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า เช่นนี้ จึงควรบวชในพระพุทธศาสนา

การบวชในพระพุทธศาสนา ท่านสอนให้เรียน “ตจปัญจกกัมมัฏฐาน” กัมมัฏฐานที่มีหนังเป็นที่ 5 เพราะฉะนั้น
จงตั้งพระทัยทรงว่าตามไปโดยบทพระบาลีก่อน เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกศา
จงศึกษาให้รู้เนื้อความ เกศา ได้แก่ ผมที่งอกอยู่บนศีรษะ โลมา ได้แก่ขนที่งอกอยู่ทั่วตัว เว้นแต่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า นะขา
ได้แก่เล็บที่งอกอยู่ตามปลายมือ ปลายเท้า ทันตา ได้แก่ฟันที่งอกอยู่ในกระดูกคางเบื้องล่าง เบื้องบน สำหรับบดเคี้ยวอาหาร
ตะโจ ได้แก่หนังที่หุ้มอยู่ทั่ว ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ ถ้าทิ้งอยู่ตามที่ของมันก็จะปฏิกูลโสโครก เพราะธุลีละอองที่จับบ้าง
ออกมาจากร่างกายเดิมบ้าง เพราะฉะนั้น บุคคลจึงต้องชำระล้างขัดสีตกแต่งของหอมเข้าอบกลิ่นเพื่อแก้กันปฏิกูลโสโครก

ถึงเช่นนั้นก็ไม่สามารถจะแก้กันให้เด็ดขาดไปได้ เพียงแต่ปะทะปะทังไว้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เป็นของปฏิกูลโสโครกอย่างไรก็คงแสดงปฏิกูลโสโครก น่าเกลียดออกมาอย่างนั้น ให้เห็นอยู่เป็นธรรมดา
แต่คนไม่พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง จะหลงรักหลงเกลียด แล้วก็ประทุษร้ายกัน เมื่อใช้พระปัญญาพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ทั้ง 5
เป็นของปฏิกูลโสโครกน่าเกลียด ก็พึงยึดรักษาอารมณ์อันนั้นไว้ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งสมาธิและเป็นที่ตั้งแห่งปัญญาต่อไป

ในบัดนี้ จะถวายผ้ากาสายะ เพื่อได้ครองอุปสมบท” แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าในพระฉากเพื่อ
ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับไตรสรณคมน์และศีลจากสมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัชฌายาจารย์
สำเร็จบรรพชากิจเป็นสามเณรแล้ว ทรงขอนิสัย สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัชฌายาจารย์ ถวายพระสมณนามว่า “ภูมิพโล”
ทรงขออุปสมบท พระสงฆ์ถวายการอุปสมบท โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์
และพระศาสนโศภณ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์

เมื่อ ทรงรับอุปสมบทเสร็จเป็นอันดำรงภิกษุภาวะโดยสมบูรณ์แล้ว สมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร พระราชอนุสาวนาจารย์
ถวายอนุศาสน์ จากนั้นพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายไทยธรรม ไตรแพร และย่าม แด่พระราชอุปัชฌายาจารย์
พระราชกรรมวาจาจารย์ พระราชอนุสาวนาจารย์ และพระหัตถบาส ทั้ง 30 รูป เสร็จแล้วทรงรับประเคนผ้าไตรและ
เครื่องบริขารของหลวงจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ทรงรับประเคนผ้าไตรและเครื่องบริขารจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และทรงรับประเคนดอกไม้ ธูป เทียน
จากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงถวายในนามของพระบรมวงศานุวงศ์
และทรงรับจากพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี ในนามของคณะองคมนตรี
จากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในนามของคณะรัฐมนตรีและข้าราชการทุกฝ่าย
จากพลเอกพระประจนปัจจานึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในนามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประชาชน เสร็จแล้วทรงหลั่งทักษิโณทก
จากนั้น พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระอุโบสถไปประทับรถยนต์พระที่นั่งที่ประตูเกยหลัง
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมด้วย พระโศภนคณาภรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยง
(พระโศภนคณาภรณ์ ปัจจุบันคือ สมเด็จญาณสังญาณสัง สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงประกอบพิธีตามขัตติยราชประเพณี
โดยมีพระเถระฝ่ายธรรมยุตนั่งหัตถบาส 15 รูป
เมื่อเสร็จพระราชพิธีอุปสมบทกรรม ในเวลา 17.43 น. แล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชพระราชอุปชฌายาจารย์ ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างทางมีพสกนิกรมาคอยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชมพระบารมีแน่นขนัดทั้งสอง ฟากถนน จนรถยนต์พระที่นั่งต้องเคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงเศษ จึงเสด็จถึงวัดบวรนิเวศวิหาร

ครั้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อเวลา 19.30 น. แล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถทรงนมัสการพระพุทธชินสีห์ ทรงสักการะพระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และพระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แล้วทรงจุดธูปเทียนอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว โดยมีพระเถรานุเถระทั้งในวัดบวรนิเวศวิหารและวัดอื่นๆ เฝ้ารับเสด็จ

จากนั้น เสด็จขึ้นพระตำหนักจันทร์ ทรงสักการะพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้าทั้งสองพระองค์และเสด็จระราชดำเนิน
เข้าสู่ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูป เทียน อุทิศพระราชกุศลถวาย
เสร็จแล้วเสด็จขึ้นพระตำหนักปั้นหย่า ทรงนมัสการ พระพุทธสมุทนินนาท และพระพุทธมหานาคชินนะ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระตำหนักทรงพรต ทรงทำพินทุกัปอธิษฐานและทรงวิกัปไตรจีวร แล้วเสด็จออก ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ถวายดอกไม้ ธูป เทียน ส่วนพระองค์ แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช ณ พระตำหนักปัญจบเบญจมา
ทรงถวายดอกไม้ ธูป เทียน  สมเด็จพระสังฆราช ในโอกาสนี้ สมเด็จพระสังฆราชประทานพระโอวาท ความว่า

“การทรง ผนวชวันนี้ เป็นประโยชน์มาก สำหรับคนผู้นับถือพระพุทธศาสนา เพราะเขายินดีกันมาก แต่ว่าที่จะได้เป็นประโยชน์สำหรับพระองค์เองนั้น ต้องประพฤติปฏิบัติธรรมวินัย คือ บวชด้วยกายอย่างหนึ่ง บวชด้วยใจอย่างหนึ่ง ถ้าทั้ง 2 อย่างผสมกันเข้าแล้ว จะเป็นกุศล

การ บวชด้วยกายนั้น ต้องทำพิธีในที่ประชุมสงฆ์ แต่การบวชด้วยใจ ต้องตั้งพระราชหฤทัยเรียนพระพุทธศาสนาในพระวินัย
ทรงอ่านดูข้อบังคับที่จะไม่ประพฤติล่วงและในธรรมะ ทรงศึกษาเพื่อปฏิบัติตามฝึกหัดพระราชหฤทัยให้สงบระงับ

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อทรงผนวชเสร็จแล้วมีพระออกไปบอกอนุศาสน์ อนุศาสน์ แปลว่า คำสอนในลำดับถึงเมื่อบวชเสร็จก็ต้องสอน
แม้เป็นภาษาบาลี ก็ต้องสอนกัน พระพุทธบัญญัติ พระพุทธภาษิตก็สอนอย่างนั้น แต่การสอนอนุศาสน์ในครั้งพุทธกาล เมื่อพูดภาษาบาลี
เขาก็รู้กันแต่มาสมัยนี้ พระพุทธศาสนาแพร่หลายมาถึงประเทศเรา ซึ่งไม่ใช้ภาษามคธ ผู้ไม่ได้เรียนภาษามคธก็ฟังไม่รู้เรื่อง
เพราะฉะนั้น ควรทรงศึกษาเสียให้เข้าพระทัย

ข้อต้นท่านสอนว่า ผู้บวชต้องอาศัยบิณฑบาตเขาเลี้ยงชีวิต แต่ว่าไม่บังคับ ถ้าจะมีอดิเรกลาภอื่น ๆ ที่เขาถวายก็ใช้ได้

ข้อที่ 2 ท่านสอนให้ใช้ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่เขาทิ้งเปื้อนฝุ่นแล้วเก็บมาซัก มาย้อม มาเย็บ คือทำเป็นกระทง ๆ อย่างที่ใช้กันนี้
แต่ว่าไม่บังคับ ถ้าจะมีอดิเรกจีวรที่ได้มาโดยชอบธรรมก็ใช้ได้

ข้อที่ 3 ท่านสอนให้อาศัยยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า เพราะคนเราต้องเจ็บ เมื่อเจ็บแล้วก็ต้องกินยา ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าเป็นยาถ่ายด้วย
และเป็นยาแก้ไข้ด้วย แต่ไม่บังคับโดยเด็ดขาด เป็นแต่ว่าถ้าไม่ได้อดิเรกลาภ คือยาอื่น ก็ให้ใช้ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า

ข้อที่ 4 ท่านสอนให้อาศัยเรือนว่างเปล่าให้อาศัยโคนไม้เป็นที่อยู่ แต่ไม่ได้ห้ามเด็ดขาด ถ้ามีอดิเรกลาภคือกุฏิที่อยู่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ใช้ได้
คือต้องรู้ว่าพระแต่ก่อนนั้นฝืดเคืองมาก ต้องอาศัยปัจจัยทั้ง 4 นี้เป็นอยู่
แลจงเว้นข้อห้าม 4 อย่างที่สำคัญล่วงเข้าแล้ว ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุเรียกว่าต้องปาราชิก

559000011027009

วันนี้สอนแต่เพียงเท่านี้ก่อน ถวายหนังสือไป หนังสือนวโกวาท ถ้ามีเวลาควรทรงอ่าน ทรงอ่านวินัยให้จบเสียก่อน
และอ่านให้เข้าพระทัย เพื่อจะได้ประพฤติตาม ถ้าไม่เข้าพระทัยก็รับสั่งถามพระพี่เลี้ยง

ส่วนธรรมะ อธิบายไว้ในโอวาทแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้ามีเวลาควรทรงอ่าน เพื่อฝึกหัดพระราชหฤทัยให้สงบระงับให้เป็นการบวช
ด้วยพระราชหฤทัยด้วย บวชด้วยพระกายด้วย วันนี้พอกันที ทรงเหน็ดเหนื่อยมามากแล้ว”

559000011027008

ครั้งทรงสดับพระโอวาทสมเด็จพระสังฆราชแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับขึ้นพระตำหนักปั้นหย่า
ในการพระราชกุศลขึ้นพระตำหนักนั้น หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งรับสนองพระมหากรุณาธิคุณทำหน้าที่
เป็นไวยาวัจกรประจำพระองค์เป็นผู้อาราธนาศีล พระราชาคณะวัดบวรนิเวศวิหาร คือพระพรหมมุนี พระรัตนธัชมุนี พระโศภนคณาจารย์
พระมหานายก พระจุลนายก พระสาธุศีลสังวร พระปัญญาภิมณฑมุนี เจริญพระพุทธมนต์
เสร็จแล้วเสด็จสู่ที่ประทับ และเข้าที่พระบรรทมในเวลา 24.30 น.

https://www.facebook.com/byduangkamol/videos/1315057795180461/
ในหลวงรัชกาลที่ 9 เข้ากราบหลวงตามหาบัว

อ่านเพิ่มเติมที่ => http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=532.0

 

Comments

comments